RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179869
ทั้งหมด:13491101
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2021 8:59 pm    Post subject: Reply with quote


ชางต่างชาติกล่าวคำอำลาหัวลำโพงไว้ล่วงหน้า
https://www.youtube.com/watch?v=TI_hYoWjtds
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2021 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ยืนยันไม่รื้อหัวลำโพง พร้อมเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/5219862844695211

หัวลำโพง ต้นทางเดินรถไฟไปไกลทุกภาค
กำเนิดสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพง แต่รถไฟจะมีสถานีอย่างเดียวก็ไม่สามารถวิ่งบริการได้ วันนี้เราจะพาไปย้อนดูประวัติการเดินรถไฟ ตั้งแต่ยุคหัวรถจักรไอน้ำ จนถึงปัจจุบัน
CR : MCOT (ข่าวค่ำ 25 พ.ย. 64)
https://www.facebook.com/watch/?v=258949862932884


ย้อนรำลึก 105 ปี ตำนานหัวลำโพง
สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพง เป็นศูนย์กลางให้บริการระบบรางของประเทศมากว่า 100 ปี และกำลังก้าวสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ วันนี้จะพาไปย้อนดูจุดกำเนิด คุณค่า และความเปลี่ยนแปลง ที่สถานีแห่งนี้มีให้กับสังคมไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา
CR : MCOT (ข่าวค่ำ 24 พ.ย.64)
https://www.facebook.com/watch/?v=4537256136327556

Mongwin wrote:
รฟท.ยันไม่รื้อหัวลำโพง พร้อมเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
เผยแพร่: 27 พ.ย. 2564 12:00 ปรับปรุง: 27 พ.ย. 2564 12:00 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2021 4:05 am    Post subject: Reply with quote

สั่งเปิดเวทีรับฟังความเห็นการเดินรถไฟเข้าหัวลำโพง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันเสาร์ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 12:10 น.

กระแสต้านปิดหัวลำโพง ดังกระหึ่ม ! การรถไฟฯ ยืนยันไม่รื้อหัวลำโพง พร้อมเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน

เสียงต่อต้านการหยุดเดินรถเข้าสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)ดัง กระหึ่ม ถึงหูพลเอกประยุทธื จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หลังจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบาย ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) หยุดนำขบวนรถไฟเข้าสู่สถานีหัวลำโพง นับตั้งแต่วันที่23ธันวาคม2564เป็นต้นไป สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้กับประชาชนผู้คุ้นเคยเคยสัญจรไปมาหาสู่กันในระแวกนั้น โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย




อีกทั้งกระทบต่อหลายอาชีพหลายชีวิต ทั้ง พ่อค้าแม่ค้า รถรับจ้างในย่านนั้น ขณะเดียวกันยังมีแผนแปลงโฉมพื้นที่โดยรอบสถานีหัวลำโพง120ไร่พัฒนาเชิงพาณิยช์ โดยอ้างในวันแถลงข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่าการรถไฟตกอยู่ในภาวะขาดทุนเพิ่มขึ้นกว่า6แสนล้านบาท ซึ่งหลายฝ่ายทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ นักการเมือง นักอนุรักษ์ และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรฟท. มองว่าฟังไม่ขึ้นเพราะยังมีที่ดินอีกมากของการรถไฟที่พร้อมกว่าพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่ามายาวนานกว่า 105ปี ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้




ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการเร่งเปิดเวทีสาธารณะเปิดรับฟังความคิดเห็นประเด็นการเดินรถเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ย้ำไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน สำหรับการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงนั้น สามารถสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ ในอนาคต


นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และความกังวลถึงเรื่องดังกล่าวว่า

ยืนยันจะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพงหรือปิดให้บริการแต่อย่างใด โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ ดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนตามนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว

สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟหัวลำโพงในอนาคตนั้น การรถไฟฯ ได้มีการตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อบริหารที่ดินของการการรถไฟฯ ทุกแปลง โดยจากการประเมินรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณหัวลำโพงในอนาคต ระยะเวลา 30 ปี

พบว่า จะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่องที่ประมาณ 150,000 ล้านบาท – 160,000 ล้านบาท



ส่วนปัญหาเรื่องการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหานี้มานานแล้วจึงได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จจึงเห็นควรให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และ การรถไฟฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุป เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน

นอกจากนี้ทางกระทรวงคมนาคมยังได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ ฟีดเดอร์ เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการอำนวยความสะดวกและยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่พี่น้องประชาชนอีกด้วย
https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/politics/756999/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2021 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

อย่าเท ! ผู้โดยสารรถไฟ
Samart Ratchapolsitte
วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 08:58 น.

หากกระทรวงคมนาคมห้ามไม่ให้รถไฟวิ่งเข้า-ออกหัวลำโพง ค่าเดินทางของผู้โดยสารรถไฟชานเมืองจากรังสิต-หัวลำโพง จะพุ่งกระฉูดจาก 6 บาท เป็น 46 บาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 6.7 เท่า เป็นภาระหนักของผู้หาเช้ากินค่ำ น่าเห็นใจยิ่งนัก
1. ปัจจุบันค่าเดินทางจากรังสิต-หัวลำโพง โดยรถไฟชานเมืองถูกมาก !
ผู้ที่อยู่อาศัยแถวรังสิตและทำงานแถวหัวลำโพง หากต้องการประหยัดค่าเดินทางและเวลา มักเลือกเดินทางโดยรถไฟชานเมืองจากสถานีรังสิตเข้าสู่สถานีหัวลำโพง ซึ่งมีค่าโดยสารถูกเพียง 6 บาทเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 60 นาที เป็นการลดภาระค่าครองชีพ และประหยัดเวลาเดินทางได้อย่างดี
2. หากห้ามไม่ให้รถไฟชานเมืองวิ่งเข้า-ออกหัวลำโพง ผู้โดยสารจะทำอย่างไร ?
หากกระทรวงคมนาคมห้ามไม่ให้รถไฟวิ่งเข้า-ออกสถานีหัวลำโพง โดยให้ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองลงรถไฟที่สถานีบางซื่อ เขาต้องเสียค่าโดยสารจากสถานีรังสิต-สถานีบางซื่อ 4 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที จากนั้นเขาจะต้องเดินทางต่อไปยังสถานีหัวลำโพง ถ้าเขาต้องการไปให้ทันเวลาทำงาน เขาต้องใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหรือ MRT จากสถานีบางซื่อ-สถานีหัวลำโพง ค่าโดยสาร 42 บาท ใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่เขาต้องเสียเวลารอขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่ออีกประมาณ 10-15 นาที
ดังนั้น เขาต้องเสียค่าเดินทางจากสถานีรังสิต-สถานีหัวลำโพง รวมทั้งหมด 46 บาท (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เขาเสียเพียง 6 บาท) รวมค่าเดินทางไป-กลับ 92 บาทต่อวัน ค่าเดินทางนี้ยังไม่รวมค่ารถมอเตอร์ไซค์ และ/หรือค่ารถเมล์ ทำให้เป็นภาระหนักในการดำรงชีพของเขา
3. ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองสายอื่นก็อ่วมเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างข้างต้นเป็นการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟชานเมืองสายเหนือและสายอีสานเท่านั้น สำหรับผู้โดยสารรถไฟชานเมืองสายใต้ หากเขาต้องลงรถไฟที่สถานีบางซื่อ เขาก็ต้องเดินทางต่อไปให้ถึงสถานีหัวลำโพง เช่นเดียวกันกับผู้โดยสารรถไฟชานเมืองสายตะวันออก หากเขาต้องลงรถไฟที่สถานีมักกะสัน เขาก็ต้องเดินทางต่อไปให้ถึงสถานีหัวลำโพง ทำให้เขาต้องเสียค่าเดินทางและเวลาเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก
4. รถไฟชานเมืองบางขบวนต้องจอดที่ชานเมือง ไม่ให้เข้าบางซื่อ !
การรถไฟฯ วางแผนที่จะให้รถไฟชานเมืองสายเหนือและสายอีสานบางขบวนจอดที่สถานีดอนเมือง สายใต้บางขบวนจอดที่สถานีตลิ่งชัน ไม่ให้เข้าสถานีบางซื่อ จากสถานีดอนเมืองหรือสถานีตลิ่งชัน ผู้โดยสารจะต้องใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงวิ่งเข้าสู่สถานีบางซื่อ และจากสถานีบางซื่อจะต้องใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งเข้าสู่สถานีหัวลำโพง ทำให้ต้องเสียค่าเดินทางเพิ่มขึ้นอีกมาก
เช่น เดิมเสียค่าเดินทางจากดอนเมือง-หัวลำโพง โดยรถไฟชานเมือง 5 บาท แต่ถ้าใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงจากดอนเมือง-บางซื่อ จะเสียค่าโดยสาร 33 บาท และใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากบางซื่อ-หัวลำโพง ค่าโดยสาร 42 บาท รวมเป็นค่าเดินทางจากดอนเมือง-หัวลำโพง 75 บาท (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยเสียเพียง 5 บาท) รวมค่าเดินทางไป-กลับ 150 บาทต่อวัน ค่าเดินทางนี้ยังไม่รวมค่ารถมอเตอร์ไซค์ และ/หรือค่ารถเมล์
5. ผู้โดยสารที่เคยลงรถไฟที่สามเสน รพ.รามาธิบดี และยมราช จะเดือดร้อน !
ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองที่เคยลงรถไฟที่สถานีสามเสน ป้ายหยุดรถ รพ.รามาธิบดี และป้ายหยุดรถยมราชจะเดือดร้อน เพราะไม่สามารถลงรถไฟรายทางได้อีกต่อไป เนื่องจากจะไม่มีรถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพง ทำให้เขาต้องเสียค่าเดินทางและเวลาเพิ่มขึ้น น่าเห็นใจมากโดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางมาหาหมอที่ รพ.รามาธิบดี
6. รถไฟทางไกลทุกขบวนต้องจอดที่บางซื่อ
รถไฟทางไกลสายเหนือ สายอีสาน และสายใต้ทุกขบวนจะต้องจอดที่บางซื่อ บางขบวนต้องจอดที่สถานีบางซื่อเก่า บางขบวนต้องจอดที่สถานีบางซื่อใหม่ จากสถานีบางซื่อผู้โดยสารที่เคยลงรถไฟที่สถานีสามเสน และสถานีหัวลำโพง จะใช้รถอะไรเพื่อให้สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ผู้โดยสารเหล่านี้มีสัมภาระมาด้วย หากจะใช้รถไฟฟ้าก็คงไม่สะดวก เพราะในชั่วโมงเร่งด่วนรถไฟฟ้าจะมีผู้โดยสารแน่น ทำให้เขาต้องรอรถไฟฟ้านาน ถ้าจะใช้รถแท็กซี่จะต้องเสียค่าโดยสารแพง
7. ข้อเสนอแนะ
ผมขอเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาดังนี้
7.1 ให้รถไฟวิ่งเข้า-ออกหัวลำโพงได้ ไม่ต้องห่วงว่าจะทำให้รถติดที่จุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนน เพราะการรถไฟฯ กำลังจะก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินจากบางซื่อ-หัวลำโพง ทำให้ไม่มีจุดตัด
7.2 ใช้สถานีหัวลำโพงควบคู่กับสถานีกลางบางซื่อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร ใครอยู่ใกล้หัวลำโพงก็ใช้หัวลำโพง ใครอยู่ใกล้บางซื่อก็ใช้บางซื่อ
ทั้งหมดนี้ ด้วยความห่วงใยผู้โดยสารรถไฟทุกคน ไม่อยากเห็นใครต้องถูกเท !




Wisarut wrote:
ตอนนี้มีข่าวแว่วว่า ตั้งแต่ 23 ธันวาคม 2564 การจัดขบวนรถใหม่จะเป็นแบบนี้


ส่วนรถธรรมดา เป็นแบบนี้เพราะ ยังไม่มีระบบห้องน้ำแบบปิดบนรถชั้นสาม

ธ. 201/202 จะเป็น ดอนเมือง - พิษณุโลก
ธ. 207/208 จะเป็น ดอนเมือง - นครสวรรค์
ธ. 209/210 จะเป็น ดอนเมือง - บ้านตาคลี เวลาใหม่
ธ. 211/212 จะเป็น ดอนเมือง - ตะพานหิน
ธ. 233/234 จะเป็น ดอนเมือง - สุรินทร์
ธ. 261/262 จะเป็น สถานีชุมทางบางซื่อ <-> หัวหิน

ส่วนรถชานเมือง จัดการเดินรถแบบนี้
ช. 303/304 จะเป็น ดอนเมือง - ลพบุรี
ช. 339/340 จะเป็น ดอนเมือง - แก่งคอย

เท็จจริงประการใดขึ้นกับผู้ที่คาบข่าวมาให้กระผม

ผมว่าการจัดการเดินรถ แบบ นี้ โดยเฉพาะรถธรรมดาและรถสายใต้เป็นการฆ่าตัวตายทางการเมืองชัดเลย ดูเหมือนท่านจะไม่เคยเรียนรู้ว่า รฟท. เคยทำแบบที่คล้ายกันนี้มาแล้ว เมื่อปี 2497 และก็โดนด่าเปิ่ง จนตั้งกระทู้กันในสภาอย่างดุเดือด จนต้องเลิกเมื่อปี 2498
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/11/2021 8:00 am    Post subject: Reply with quote

"หัวลำโพง" กับธรรมาภิบาลนโยบายสาธารณะ | บัณฑิต นิจถาวร
By ดร.บัณฑิต นิจถาวร | เศรษฐศาสตร์บัณฑิต
กรุงเทพธุรกิจ 29 พ.ย. 2564 เวลา 6:04 น.

ข่าวการหยุดใช้สถานีรถไฟหัวลำโพงที่จะเริ่มในเดือนธันวาคม สร้างความไม่สบายใจให้กับคนจำนวนมาก เพราะไม่ชัดเจนว่าอนาคตอะไรจะเกิดขึ้นกับสถานีรถไฟหัวลำโพง จะยังอยู่หรือไม่

หัวลำโพงคือสัญลักษณ์ของความเป็นประเทศ ที่คนไทยภูมิใจและอยากให้เป็นสาธารณสมบัติของชาติ ด้วยเหตุนี้ การตัดสินใจเกี่ยวกับหัวลำโพงจึงเป็นนโยบายสาธารณะที่สำคัญ เพราะกระทบความรู้สึกคนทั้งประเทศ รวมทั้งมีคำถามมากมายในเรื่อง อำนาจตามกฎหมาย ธรรมาภิบาลของการทำนโยบายสาธารณะ และวิธีแก้ปัญหาของหน่วยงานรัฐที่สร้างผลกระทบต่อสังคม นี่คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้

การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่การดำเนินงานมีผลขาดทุนก่อให้เกิดหนี้สินจำนวนมาก ระยะหลังมีข่าวว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะแก้ปัญหาโดยเอาพื้นที่ของการรถไฟไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้ มีการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อการนี้ และล่าสุดจะปิดการให้บริการของสถานีรถไฟหัวลำโพงเพื่อปูทางไปสู่การใช้พื้นที่

การตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตัดสินใจเชิงนโยบายที่มีได้ทั้งถูกและผิด มีทั้งผลดีและผลเสีย จึงจำเป็นที่กระบวนการทำนโยบายต้องรอบคอบ ระมัดระวัง มองประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และมีธรรมาภิบาลในทุกขั้นตอนของการทำนโยบาย นั้นคือ การมีส่วนร่วม การรับผิดรับชอบในเรื่องที่ตัดสินใจ ความโปร่งใส การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และความเป็นธรรม นี่คือห้าประเด็นธรรมาภิบาลของการทำนโยบายสาธารณะที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

การมีส่วนร่วม หมายถึง มีขั้นตอนรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และให้โอกาสผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งกรณีหัวลำโพง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญคือ พนักงานการรถไฟ ชุมชนในพื้นที่หัวลำโพง และ ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ใช้บริการของสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นประจำ

ความรับผิดรับชอบในการตัดสินใจ หมายถึง การสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า การตัดสินใจมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล บนข้อมูลที่ถูกต้อง มีการวิเคราะห์ผลดีผลเสียของการตัดสินใจเป็นอย่างดี มีระบบบริหารความเสี่ยงที่จะรองรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

ความโปร่งใส หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลและกระบวนการที่ใช้ในการตัดสินใจ ทั้งข้อมูลการเงิน ฐานะการเงินของหน่วยงานรัฐ ประมาณการการเงิน แผนชัดเจนว่าโครงการจะทำอะไร หน้าตาของโครงการเมื่อเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร จะใช้พื้นที่อย่างไร ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจว่าทำโดยคณะกรรมการชุดไหน มีใครบ้างเป็นกรรมการ และใช้อำนาจอะไร

การปฏิบัติตามกฎหมาย คือ การสร้างความเชื่อมั่นว่า หน่วยงานรัฐมีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำโครงการ และถ้าอำนาจที่มีเป็นการตีความโดยหน่วยงานเองว่ามีอำนาจ การตีความก็ควรมีการตรวจเช็คยืนยันและรับรองการตีความโดยหน่วยงานกฎหมายภายนอก เช่น สำนักงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง และสำนักงานกฤษฎีกา

ความเป็นธรรม หมายถึง การตัดสินใจให้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจ และหน่วยงานมีวิธีแก้ไข ชดเชย หรือ ดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าไม่ถึงใจกลางเมืองมีความเดือดร้อน

นี่คือห้าประเด็นสำคัญด้านธรรมาภิบาลของการทำนโยบายสาธารณะ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องให้ความสำคัญและดำเนินการในประเด็นเหล่านี้ เพื่อความชัดเจน ความถูกต้องในการทำงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก

กรณี “หัวลำโพง” ให้ข้อคิดสำคัญหลายเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับการรักษาสาธารณสมบัติของชาติ และการแก้ปัญหาของหน่วยงานรัฐที่สร้างผลกระทบข้างเคียงต่อส่วนรวม

เรื่องแรก การป้องกันสาธารณสมบัติของชาติไม่ให้ถูกรื้อถอน ทำลาย ดัดแปลง หรือ ปรับปรุงอย่างไม่ถูกต้อง เป็นหน้าที่ร่วมกันของคนในสังคมที่ต้องช่วยกัน เพื่อรักษาและจรรโลงไว้ซึ่งสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศ ล่าสุดมีข่าวว่ากรมศิลปากรจะขอขึ้นทะเบียนสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นโบราณสถาน ซึ่งในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่บริหารหรือเป็นเจ้าของสถานที่

เรื่องนี้ ประชาชนทุกคนควรสนับสนุน ช่วยกันเข้าชื่อให้สถานีหัวลำโพงเป็นโบราณสถานของประเทศอย่างเป็นทางการ อย่าลืมว่า มติ ครม.ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการตัดสินใจที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายบริหาร และเปลี่ยนแปลงได้

นอกจากนี้ เราต้องนึกถึงการจัดตั้งองค์กรกึ่งรัฐกึ่งเอกชนที่จะมีหน้าที่ดูแล ปกป้อง ซ่อมแซมและรักษาไว้ซึ่งโบราณสถานของประเทศ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นและศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้โดยสมัครใจ คล้ายกรณีสิงคโปร์ที่จัดตั้ง National Heritage Broad หรือคณะกรรมการมรดกชาติ ขึ้นมาทำหน้าที่

สอง การแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจที่มีผลดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง ต้องแก้ที่การดำเนินงาน ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหา ไม่ใช่เอาทรัพย์สินที่หน่วยงานมีไปหารายได้มาล้างหนี้ เพราะถ้าการบริหารจัดการไม่มีการแก้ไขให้ดีขึ้น การขาดทุนก็จะมีต่อไปไม่จบสิ้น ประชาชนก็ไม่ได้บริการที่ดี แต่ทรัพย์สินที่มีได้ถูกขายหรือแปลงสภาพไปแล้วและเรียกกลับคืนมาไม่ได้ ดังนั้น ปัญหาอยู่ตรงไหนต้องแก้ตรงนั้น

ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้คือ การรถไฟของอังกฤษที่มีปัญหา รัฐบาลสมัยนางมาร์กาเรต แทตเชอร์ เป็นนายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาโดยการเปิดเสรีให้ภาคเอกชนเข้ามาแข่งขันประกอบธุรกิจรถไฟ บนโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม ผลคือ ธุรกิจรถไฟกลับมาได้ ประชาชนได้ประโยชน์จากการให้บริการที่ดีขึ้น และ สถานีรถไฟเก่าแก่เป็นร้อยๆ ปีกลางกรุงลอนดอนทั้งหมด เช่น สถานี Euston สถานี Paddington สถานี Waterloo ก็อยู่เป็นศักดิ์ศรีและความสง่างามของประเทศต่อไป ไม่ได้ถูกแปลงสภาพหรือถูกนำไปให้เอกชนเช่าพื้นที่หาประโยชน์

ท้ายสุดที่ต้องระวังมากสำหรับบ้านเราคือ มีความเสี่ยงที่การแก้ปัญหาไม่ตรงจุดของหน่วยงานรัฐ จะสร้างแรงจูงใจหรือเป็นตัวอย่างให้ข้าราชการไม่สนใจทำหน้าที่หลักขององค์กรให้ถูกต้อง คือการให้บริการประชาชนและไม่ขาดทุน แต่มุ่งจะเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แทนซึ่งไม่ใช่งานขององค์กรหรือระบบราชการ

นี่คือประเด็นที่ต้องช่วยกันคิดและป้องกัน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2021 10:24 am    Post subject: Reply with quote

ห่วงปิดหัวลำโพงกระทบบานปลาย นายกฯ สั่งเร่งเปิดเวทีรับฟังทุกภาคส่วน
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 9:12 น.

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ห่วงปิดหัวลำโพง ประชาชนเดือดร้อน สั่งเร่งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน เพื่อการดำเนินการอย่างรอบคอบ

29 พ.ย. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้หารือถึงผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อพัฒนาพื้นที่ และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาการดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่งผลกระทบถึงประชาชนน้อยที่สุด โดยให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น


ทางกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เร่งดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุปการใช้งาน และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน



โดยการพัฒนาพื้นที่จะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง และจากการประเมินรายได้ในอนาคตในระยะเวลา 30 ปี พบว่าจะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง



สำหรับปัญหาการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหา และวางแนวทางแก้ไขโดยได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคมโดยเฉพาะระบบราง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จ จึงให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม



อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการอำนวยความสะดวกและเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน



"นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนให้ทั่วถึง" โฆษกรัฐบาล กล่าวพร้อมยืนยันว่า



รัฐบาลตั้งมั่นตามแนวนโยบายที่จะดำเนินการด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

//---------------------------------------------


ไม่ทุบทิ้ง‘หัวลำโพง’!เปิดโมเดลลดผลกระทบปชช. คาด 30 ปีโกยรายได้ 8 แสนล้าน
หน้า โลกธุรกิจ
วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 08.08 น.

นายกฯห่วงใยประชาชนได้รับผลกระทบปิด ‘หัวลำโพง’ สั่งการให้เร่งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนเพื่อการดำเนินการอย่างรอบคอบ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน

29 พฤศจิกายน 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สั่งการให้หารือถึงผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อพัฒนาพื้นที่ และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลกระทบถึงประชาชนน้อยที่สุด โดยให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น ทางกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เร่งดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา หาข้อสรุปการใช้งาน และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน




“การพัฒนาพื้นที่จะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง และจากการประเมินรายได้ในอนาคตในระยะเวลา 30 ปี พบว่า จะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท จะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง” นายธนกร กล่าว


นายธนกร กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพฯชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหา และวางแนวทางแก้ไขโดยได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จ จึงให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการอำนวยความสะดวกและเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน นายกรัฐมนตรีห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนให้ทั่วถึง ยืนยันว่ารัฐบาลตั้งมั่นตามแนวนโยบายที่จะดำเนินการด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2021 10:47 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสายสีแดงผู้โดยสารทะลุ 1 หมื่นคน-รฟท.เร่งถก “หยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 08:38 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 08:38 น.



รถไฟสีแดงผู้โดยสารทะลุ 1 หมื่นคน วันนี้ (29 พ.ย.) ​เริ่มเก็บค่าโดยสาร ขณะที่ รฟท.เร่งเปิดเวทีฟังความเห็นใน ธ.ค.นี้ถกปิดหัวลำโพง ลุ้นฝ่ายนโยบายยอมให้ 22 ขบวนเข้าหัวลำโพงไปก่อนบรรเทาความเดือดร้อน ชี้ยังมีประชาชนใช้บริการมาก

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (29 พ.ย.) รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร และถือเป็นการเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการวันแรก หลังจากที่มีการทดลองเดินรถ (Soft Opening) และให้ประชาชนได้ร่วมใช้บริการฟรี มาเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2564 โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้า 12 บาท สูงสุด 42 บาท หรือเฉลี่ย 1.50 บาทต่อกิโลเมตร โดยจะใช้อัตรานี้ในช่วง 3 ปีแรก

ปัจจุบันผู้โดยสารรถไฟสายสีแดงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และมีการเปิดประเทศ โดยวันศุกร์ที่ 26 พ.ย. 2564 มีผู้โดยสาร 10,602 คน, วันเสาร์ที่ 27 พ.ย. 2564 มีจำนวน 11,180 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นเดือน พ.ย.ที่มีเฉลี่ย 6,105 คน/วัน

@เร่งจัดเวทีฟังความเห็น “ปิดหัวลำโพง”

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสต่อต้านไม่เห็นด้วยกับการยุติการเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายหลังจากมีการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ ที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมระบบรางของประเทศ อีกทั้งเพื่อไม่ให้มีจุดตัดทางรถไฟกับถนนในเมืองเพื่อแก้ปัญหาจราจรในพื้นที่ชั้นใน รวมถึงเพื่อเร่งรัดการนำที่ดิน 120 ไร่ของสถานีหัวลำโพงมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ให้ รฟท.แก้ปัญหาหนี้สินและขาดทุน

ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ รฟท.หารือร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และกระทรวงคมนาคม เร่งจัดเวทีสาธารณะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุป โดยเชิญผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้าน รวมถึงผู้ที่อาจจะยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น นางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพและสิทธิผู้บริโภค, นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นต้น โดยเบื้องต้นคาดว่าจะจัดเวทีรับฟังความเห็นในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ ขณะที่กระทรวงคมนาคมต้องการให้ รฟท.เร่งดำเนินการให้เร็วขึ้นอีก

@ ต่อรองวิ่ง 22 ขบวนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ตามแผนการปรับตารางเดินรถไฟเดิมที่คณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ที่มี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานได้เคยเห็นชอบแล้ว คือตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 จะมีการปรับตารางขบวนรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล โดยปรับลดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวน/วัน ซึ่งเป็นรถไฟชานเมืองสายเหนือ สายอีสาน สายตะวันออก สายใต้ ซึ่งมีประชาชนใช้บริการในช่วงเช้าและเย็นจำนวนมาก เพื่อลดผลกระทบ ส่วนขบวนรถทางไกลเชิงพาณิชย์จะย้ายไปใช้สถานีกลางบางซื่อทั้งหมด

นอกจากจะลดผลกระทบแล้ว ยังเป็นการให้ประชาชนได้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ขณะที่เชื่อว่าสถานีกลางบางซื่อยังต้องมีการปรับปรุงอีกหลายส่วน ก็จะมีเวลาในการดำเนินการไปพร้อมๆ กันในช่วงเปลี่ยนผ่าน

เบื้องต้นตามแผนที่ รฟท.เสนอ คือ เดินรถเข้าหัวลำโพง 22 ขบวนต่อวันไปก่อนตามแผนเดิม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะสายตะวันออกที่มีผู้โดยสารค่อนข้างมาก การเยียวยาโดยจัดรถเมล์ให้เชื่อมต่อไปยังปลายทางอาจจะไม่สะดวกนัก โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับตารางเดินรถในบางขบวนที่อาจจะมีการปรับรวมขบวนลงได้อีกเพื่อลดปัญหาที่จุดตัดถนนลงได้อีกตามนโยบาย

ทั้งนี้ หากจะย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น รฟท.มีแผนเบื้องต้นว่าแม้จะมีการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ แต่จะยังคงให้บริการเดินรถไฟที่สถานีหัวลำโพงต่อไป เนื่องจากมีความจำเป็นเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนเข้ามายังพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังมีรถไฟที่เป็นรถจักรดีเซลที่ยังไม่สามารถใช้สถานีกลางบางซื่อได้ เพราะจะมีปัญหามลพิษยังต้องวิ่งเข้าหัวลำโพง และบางส่วนต้องใช้สถานีบางซื่อเดิมไปก่อน ในระหว่างนั้นจะมีการเร่งจัดหารถจักรไฟฟ้าด้วย


X


แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่มีการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. มีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงระยะหนึ่ง ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจประชาชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/11/2021 11:37 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ห่วงปิดหัวลำโพงกระทบบานปลาย นายกฯ สั่งเร่งเปิดเวทีรับฟังทุกภาคส่วน
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 9:12 น.

นายกฯ ห่วงใยประชาชนได้รับผลกระทบปิดหัวลำโพง สั่งการให้เร่งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน
เผยแพร่: 29 พ.ย. 2564 10:52 ปรับปรุง: 29 พ.ย. 2564 10:52 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ห่วงใยประชาชนได้รับผลกระทบปิดหัวลำโพง สั่งการให้เร่งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนเพื่อการดำเนินการอย่างรอบคอบ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน

วันนี้ (29 พ.ย.) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้หารือถึงผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อพัฒนาพื้นที่ และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลกระทบถึงประชาชนน้อยที่สุด โดยให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น

ทางกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เร่งดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุปการใช้งานและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน โดยการพัฒนาพื้นที่จะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง และจากการประเมินรายได้ในอนาคตในระยะเวลา 30 ปี พบว่าจะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง

นายธนกร กล่าวว่า สำหรับปัญหาการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหา และวางแนวทางแก้ไขโดยได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จจึงให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการอำนวยความสะดวกและเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน นายกรัฐมนตรีห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนให้ทั่วถึง นอกจากนี้ โฆษกรัฐบาลยืนยันว่า รัฐบาลตั้งมั่นตามแนวนโยบายที่จะดำเนินการด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/11/2021 7:03 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นชมความเปลี่ยนแปลง สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง
เดลินิวส์ 30 พฤศจิกายน 2564 7:00 น.
Special Report

Click on the image for full size

หลังจากมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และความกังวลใจถึงอนาคตของ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่เป็นอีกสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานคร มายาวนานกว่า 105 ปี กันไปต่าง ๆ นานาจนทำให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องออกมา ยืนยันจะไม่มีการทุบ หรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง หรือปิดให้บริการแต่อย่างใด ที่สำคัญ  รฟท. ยังต้องดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนตามนโยบายของรัฐบาล

Click on the image for full size
ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดีดิลก

เส้นทางเชื่อมโยงเมืองเก่า-ใหม่

ทีมข่าว 1/4  Special Report มีโอกาสได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ประธานสาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้สนับสนุนให้ ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ เข้าไปทำโครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาเพื่อวางกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ร่วมกับ ผศ.ธิป ศรีสกุลไชยรัก สถาบันอาศรมศิลป์ และ ดร.ภัทร ยืนยง ร่วมกับนักวิจัยจาก 5 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันอาศรมศิลป์ ร่วมกันดำเนินการวิจัยเพื่อหา ทิศทางอนาคตของหัวลำโพงในศตวรรษใหม่ ทีมวิจัยได้มีความเห็นร่วมกันว่า หากมีการย้ายจากหัวลำโพงไปยัง สถานีกลางบางซื่อ จะทำให้ระบบโลจิสติกส์ มีการเปลี่ยนแปลงการเดินทางของผู้ใช้บริการ ทั้งผู้ใช้บริการเส้นทางระยะสั้นและระยะยาว ผู้เดินทางประจำและนักท่องเที่ยว ส่วนสถานีกลางบางซื่อ จะเป็น สถานีหลัก หรือ Grand Station ที่รวมระบบขนส่งทุกอย่าง เป็นผลดีต่อระบบการคมนาคมของประเทศ

อย่างไรก็ดีในส่วนสถานีหัวลำโพง ยังคงมีศักยภาพเป็นพื้นที่รวมการคมนาคม สำหรับคนเมืองและนักท่องเที่ยว สามารถเชื่อมโยงทางบก-ทางน้ำ-ใต้ดิน รวมถึงเชื่อมโยงเมืองเก่าและเมืองใหม่ เพราะเป็นศูนย์กลางคมนาคม มีทั้ง ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์ประจำทาง และ เรือในคลองผดุงกรุงเกษม อีกทั้งยังมีศักยภาพให้ รถไฟบางขบวน โดยเฉพาะรถไฟสายตะวันออก เดินรถไฟได้ เพื่อรองรับคนทำงานชานเมือง ลดค่าใช้จ่ายของผู้คนในการเดินทาง และลดจำนวนรถยนต์ที่เข้ามาในกรุงเทพฯ ซึ่งมีรูปแบบลักษณะเดียวกับในต่างประเทศ ที่แม้มีการสร้างสถานีหลัก (Grand Station) แห่งใหม่ แต่สถานีเดิมที่อยู่กลางเมืองยังมีรถไฟเข้า-ออก เช่นกัน เพื่อประโยชน์ของประชาชน นักท่องเที่ยว และทำให้สถานีรถไฟเดิมเป็น พิพิธภัณฑ์แบบมีชีวิต

การใช้ประโยชน์อาคารและพื้นที่ภายใน อาจมีการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารและพื้นที่ภายนอกอาคารสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งยังมีศักยภาพในการเป็นพื้นที่ใช้สอยครอบคลุมในมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สามารถรองรับกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของคนทุกวัย สามารถสร้างรายได้ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานที่ดูแลสถานี     

การประกอบอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานี ส่งผลกระทบต่อผู้มีอาชีพ หรือหารายได้จากผู้ใช้บริการเดินทางโดยรถไฟ การขนส่ง รวมถึง ชุมชน ผู้ประกอบธุรกิจรอบ ๆ สถานี ซึ่งสถานีหัวลำโพงยังมีศักยภาพในการเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมอาชีพและการประกอบธุรกิจโดยรอบ

Click on the image for full size

โมเดลการอนุรักษ์สร้างคุณค่า

จากการวิจัยแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง จากกระบวนการวิจัยที่เน้นการสื่อสารสองทาง ผ่านกิจกรรมและการจัดเวทีต่าง ๆ ประชาชนเป็นทั้ง ผู้ร่วมคิด คือ มีส่วนร่วมในการออกแบบในฐานะ ผู้ใช้ประโยชน์ เพราะทุกคนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็น ผู้รับผิดชอบ คือเมื่อใช้ประโยชน์แล้วต้องช่วยกันรักษาสมบัติของคนไทยทุกคน ชัดเจนว่า ประชาชนเห็นสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นสมบัติของคนไทยทุกคน

โดยเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 9 ภาคส่วน จำนวนมากกว่า 1,300 คน มีความคิดเห็นประกอบด้วย ระบบโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่สถานีหัวลำโพง ที่เป็นศูนย์กลางการเดินทางที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบลงตัว ทั้งทางบก ทางน้ำ และใต้ดิน สำหรับคนทั่วไปและนักท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร โดยสามารถใช้รถส่วนตัวหรือรถสาธารณะ รถไฟฟ้า BTS รถใต้ดิน MRT ขึ้นลงเรือที่ท่าน้ำคลองผดุงกรุงเกษมที่อยู่บริเวณหน้าสถานีหัวลำโพง รวมถึงสามารถเดินทางด้วยรถส่วนตัวหรือรถสาธารณะหรือ BTS, MRT ไปยังสนามบินได้อีกด้วย

การใช้ประโยชน์จากอาคารและพื้นที่ในภาพรวม โดยการใช้งานและประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่และอาคารต่าง ๆ ในสถานีรถไฟหัวลําโพง จํานวน 121 ไร่ ที่ได้รับคัดเลือกมาจํานวน 3 แนวคิด ซึ่งแต่ละรูปแบบมีการผสมผสานการแบ่งพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ อย่างมีส่วนร่วมในสัดส่วนที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีระยะเวลาการคืนทุนที่แตกต่างกัน โดยอยู่ระหว่างช่วง 6-15 ปีดังนี้

แนวคิดที่ 1 เน้นการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ โดยแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ออกเป็นพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 30 พื้นที่กิจกรรม ร้อยละ 12 พื้นที่สร้างสรรค์ ร้อยละ 10 พื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร้อยละ 30 และพื้นที่อนุรักษ์ ร้อยละ 18  แนวคิดที่ 2 เน้นการพัฒนาอย่างสมดุลระหว่างเชิงอนุรักษ์และเชิงธุรกิจ โดยแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ออกเป็นพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 16 พื้นที่กิจกรรม ร้อยละ 18 พื้นที่สร้างสรรค์ ร้อยละ 18 พื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร้อยละ 30 และ พื้นที่อนุรักษ์ ร้อยละ 18 และ แนวคิดที่ 3 เน้นพัฒนาเชิงธุรกิจ โดยแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ออกเป็นพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 12 พื้นที่กิจกรรม ร้อยละ 18 พื้นที่สร้างสรรค์  ร้อยละ 12 พื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร้อยละ 40 และพื้นที่อนุรักษ์ ร้อยละ 1

Click on the image for full size

ศูนย์กลางครบถ้วนทุกวงจร

ขณะเดียวกันในเชิงการท่องเที่ยว สถานีรถไฟหัวลำโพง ยังสามารถเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและการท่องเที่ยวได้โดยการการเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบสถานีรถไฟ จากการศึกษาประกอบด้วย 4 เส้นทาง ที่เชื่อมโยงจากสถานีรถไฟหัวลําโพงไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง 4 เส้นทางคือ 1.หัวลําโพง – ถนนเจริญกรุง 2.หัวลําโพง–ชุมชนวัดดวงแข และชุมชนตรอกสลักหิน 3.หัวลําโพง–เยาวราช และ 4.หัวลําโพง–ตลาดน้อย  ภายใต้แนวคิด “จากคุณค่าสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยววัฒนธรรมสร้างสรรค์” โดยเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

โอกาสในอนาคตของสถานีหัวลำโพง สมควรจะต้องยกระดับเป็นสถานที่สำคัญระดับสากล  เช่น การจัดประกวดแบบในระดับนานาชาติ รวมถึงยกระดับเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น พัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียวทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ในอาคาร รอบอาคาร และพื้นที่โดยรอบ เป็นพื้นที่ใช้พลังงานทางเลือก ในการประกอบการ เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในการผลิตไฟฟ้าใช้

นับเป็นเรื่องที่น่าจับตายิ่งนัก อนาคตของสถานี สถานีรถไฟหัวลำโพง ที่อยู่เคียงคู่กรุงเทพมหานคร มายาวนานจะได้รับการพัฒนาแปลงโฉมให้ออกมาได้ตามที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่ !!


-----------


คอลัมน์ กวนน้ำให้ใส: หัวลำโพงคือสถานีรถไฟความงามที่มีคุณค่า
Source - แนวหน้า
Tuesday, November 30, 2021 06:14

เกี่ยวกับ "อนาคตของหัวลำโพง"

1. ล่าสุด การรถไฟฯ ยืนยันไม่รื้อหัวลำโพง และพร้อมจะเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และความกังวลถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยืนยันจะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพงหรือปิดให้บริการแต่อย่างใด

โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ ดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนตามนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว

ปัญหาเรื่องการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหานี้มานานแล้วจึงได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อ ขยายในอนาคต เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จจึงเห็นควรให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และ การรถไฟฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุป เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ทางกระทรวงคมนาคมยังได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ ฟีดเดอร์ เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการอำนวยความสะดวกและยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่พี่น้องประชาชนอีกด้วย

2. เป็นที่ชัดเจนว่า ไม่รื้อ และไม่ปิดสถานีรถไฟหัวลำโพงขอบคุณนายกฯ พลเอกประยุทธ์ ที่กำชับติดตามเรื่องนี้ จนมีการ เปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย จากเดิม "ไม่รื้อ" แต่จะ "ปิดให้บริการรถไฟ"

เป็น "ไม่รื้อ" และ "ไม่ปิด" และขอบคุณกระทรวงคมนาคมที่มีท่าทีจะเปิดรับฟังความคิดเห็นและทางเลือกเชิงนโยบายว่าจะจัดการอย่างไรต่อไป

3. ข้อคิดความเห็นที่น่าสนใจ "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" เป็นผู้มีประสบการณ์ความรู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ตั้งแต่ต้น ล่าสุด ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจเพิ่มเติม

สรุปบางประเด็น ดังนี้ - ปัจจุบันค่าเดินทางจากรังสิต-หัวลำโพง โดยรถไฟชานเมืองถูกมาก จากสถานีรังสิตเข้าสู่สถานีหัวลำโพง มีค่าโดยสารถูกเพียง 6 บาทเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 60 นาที เป็นการลดภาระค่าครองชีพ และประหยัดเวลาเดินทางได้อย่างดี

- หากห้ามไม่ให้รถไฟชานเมืองวิ่งเข้า-ออกหัวลำโพง ผู้โดยสารจะเดือดร้อน ต้องเสียค่าโดยสารจากสถานีรังสิต-สถานีบางซื่อ 4 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที จากนั้นเขาจะต้องเดินทางต่อไปยังสถานีหัวลำโพง ถ้าเขาต้องการไปให้ทันเวลาทำงาน เขาต้องใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหรือ MRT จากสถานีบางซื่อสถานีหัวลำโพง ค่าโดยสาร 42 บาท ใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่เขาต้องเสียเวลารอขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่ออีกประมาณ 10-15 นาที

- ผู้โดยสารที่เคยลงรถไฟที่สามเสน รพ.รามาธิบดี และยมราช จะเดือดร้อน เพราะไม่สามารถลงรถไฟรายทางได้อีกต่อไป เนื่องจากจะไม่มีรถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพง ทำให้เขาต้องเสียค่าเดินทางและเวลาเพิ่มขึ้น

- รถไฟทางไกลสายเหนือ สายอีสาน และสายใต้ทุกขบวนจะต้องจอดที่บางซื่อ บางขบวนต้องจอดที่สถานีบางซื่อเก่า บางขบวนต้องจอดที่สถานีบางซื่อใหม่ จากสถานีบางซื่อผู้โดยสารที่เคยลงรถไฟที่สถานีสามเสน และสถานีหัวลำโพง จะใช้รถอะไรเพื่อให้สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ผู้โดยสารเหล่านี้มีสัมภาระมาด้วย หากจะใช้รถไฟฟ้าก็คงไม่สะดวก เพราะในชั่วโมงเร่งด่วนรถไฟฟ้าจะมีผู้โดยสารแน่น ทำให้เขาต้องรอรถไฟฟ้านาน ถ้าจะใช้รถแท็กซี่จะต้องเสียค่าโดยสารแพง

- ข้อเสนอแนะ "ผม (ดร.สามารถ) ขอเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาดังนี้

1.ให้รถไฟวิ่งเข้า-ออกหัวลำโพงได้ ไม่ต้องห่วงว่าจะทำให้รถติดที่จุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนน เพราะการรถไฟฯ กำลังจะก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินจากบางซื่อ-หัวลำโพง ทำให้ไม่มีจุดตัด

2. ใช้สถานีหัวลำโพงควบคู่กับสถานีกลางบางซื่อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร ใครอยู่ใกล้หัวลำโพงก็ใช้หัวลำโพง ใครอยู่ใกล้บางซื่อก็ใช้บางซื่อ

ทั้งหมดนี้ ด้วยความห่วงใยผู้โดยสารรถไฟทุกคน ไม่อยากเห็นใครต้องถูกเท !"

เป็นข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ เป็นรูปธรรม เป็นประโยชน์มาก หวังว่า ร.ฟ.ท. กระทรวงคมนาคม จะพิจารณา หรือคิดหาทางเลือกที่สามารถ ตอบโจทย์เหล่านี้ด้วย

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 30 พ.ย. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2021 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ห่วงประชาชนได้รับผลกระทบ "ปิดหัวลำโพง"
หน้าข่าวสังคม
29 พฤศจิกายน 2564

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯมีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนให้ทั่วถึง

29 พฤศจิกายน 2564 จากการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อพัฒนาพื้นที่ และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลกระทบถึงประชาชนน้อยที่สุด โดยให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน



นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้หารือถึงผลกระทบนั้น ทางกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เร่งดำเนินการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและหาข้อสรุปการใช้งานและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างแท้จริง



ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน โดยการพัฒนาพื้นที่จะไม่มีการทุบหรือรื้อทิ้งสิ่งปลูกสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง และจากการประเมินรายได้ในอนาคตในระยะเวลา 30 ปี พบว่าจะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง

นายธนกร กล่าวว่า สำหรับปัญหาการเดินรถไฟเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหา และวางแนวทางแก้ไขโดยได้พัฒนาโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จจึงให้มีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างเป็นรูปธรรม


อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดทำระบบขนส่งมวลชนรอง เช่น รถเมล์ ขสมก. รวมถึงประสานงานกับภาคเอกชนที่มีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในการอำนวยความสะดวกและเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน นายกรัฐมนตรีห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนให้ทั่วถึง

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ห่วงปิดหัวลำโพงกระทบบานปลาย นายกฯ สั่งเร่งเปิดเวทีรับฟังทุกภาคส่วน
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 9:12 น.

นายกฯ ห่วงใยประชาชนได้รับผลกระทบปิดหัวลำโพง สั่งการให้เร่งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน
เผยแพร่: 29 พ.ย. 2564 10:52 ปรับปรุง: 29 พ.ย. 2564 10:52 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 31, 32, 33  Next
Page 16 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©