RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180075
ทั้งหมด:13491307
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 426, 427, 428 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2021 7:19 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

รายงาน: อัพเดต 4 ปี ไฮสปีดเทรนไทย-จีน ไซต์ก่อสร้าง 7 สัญญา 'กทม.-โคราช' คืบ 2.73%
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, November 24, 2021 04:54
กีรติ เอมมาโนชญ์

เมกะโปรเจ็กต์ไฮสปีดเทรนไทย-จีนเพียงชั่วพริบตากำลังจะครบ 4 ปี หลังจากตอกเข็มต้นแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560

"ประชาชาติธุรกิจ" ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร วงเงินลงทุนโครงการ 179,413 ล้านบาท

ตามแผนงานแบ่งการก่อสร้างงานโยธาของโครงการไว้ 14 สัญญา ไม่รวมงานระบบ

เฟสแรก กทม.-โคราช 253 กม.

รายละเอียดการเปิดไซต์ก่อสร้างเฟสแรก 253 กิโลเมตร มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อวิ่งตรงไปทางทิศเหนือในเส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ผ่านสนามบินดอนเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์

จากนั้นวิ่งตรงไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือไปจนถึงชุมทางบ้านภาชี แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปใช้เส้นทางรถไฟสายอีสานไปตลอดทางจนถึงสถานีแก่งคอย ซึ่งจะเป็นสถานีชุมทางที่แยกสายไปเชื่อมต่อเข้ากับสายตะวันออกที่สถานีฉะเชิงเทรา จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและสิ้นสุดเส้นทาง ในเฟสแรกที่สถานีนครราชสีมา ตั้งอยู่ บริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม

เบ็ดเสร็จใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯมุ่งหน้านครราชสีมา 1.30 ชั่วโมง ตามแผนกำหนดเปิดให้บริการในปี 2569

สถานีอยุธยารอยื่น HIA

อย่างไรก็ตาม "แพลนนิ่ง" ที่กำหนดเปิดให้บริการในปี 2569 ยังต้องลุ้นว่า "แพลน" แล้วจะ "นิ่ง" หรือไม่ เพราะมีการเลื่อนกำหนดล่าช้าจากเป้าหมายเดิมที่เคยวางแผนเปิดให้บริการในปี 2567 มาแล้ว

โดยเหตุผลของการเลื่อนกำหนดเปิด 2 ปี มีทั้งการปรับแบบสถานีอยุธยา (สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทางเพียง 13.30 กิโลเมตร) ซึ่ง"ยูเนสโก- องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ" ยื่น โนติสด้วยข้อเป็นห่วงการก่อสร้างสถานีอยุธยาในประเด็นดีไซน์ตัวสถานีจะกระทบทัศนียภาพและความเป็นมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

มีผลทำให้สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพพระแก้วดังกล่าวที่มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,913 ล้านบาท ต้องเบรกการก่อสร้างเพื่อเคลียร์ปัญหาให้จบ ล่าสุดอยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA-Heritage Impact Assessment) เพื่อส่งต่อให้ ยูเนสโกแอปพรูฟด้วย

ติดหล่มค้านผลประมูล 3-1

อีกเรื่องมาจากกรณีฟ้องคัดค้านผลการประมูลสัญญาที่ 3-1 งานโยธาช่วงแก่งคอย-กลางดง กับช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30 กิโลเมตร ราคากลาง 11,386 ล้านบาท ระหว่างกิจการร่วมค้า BPHB-TIM SEKATA JV (บจ.นภาก่อสร้าง, บจ.บิน่า พูรี่ เอสดิเอ็น บีเอชดี, นายชาตรี เขมาวชิรา) กับกลุ่มกิจการร่วมค้า ITD-CREC NO.10.JV (บจ.ไชน่า เรลเวย์ รับเบอร์เทน เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป (CREC) พันธมิตร ITD)

ล่าสุดศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อเดือนกันยายน 2564 ตัดสิทธิกลุ่ม BPHB ขาดคุณสมบัติในการประมูล แม้เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ตามขั้นตอนอยู่ระหว่างการรอชี้ขาดจากศาลปกครองสูงสุดซึ่งคำพิพากษาถือเป็นสิ้นสุด

ทั้งนี้ 2 ปัจจัยอาจทำให้โครงการหยุดชะงักไปบ้าง แต่ภาพรวมสัญญางานโยธาถือว่ารัฐบาลได้ทยอยเข็นลงนามเกือบครบทุกสัญญาและทยอยลงมือก่อสร้างแล้ว

อัพเดต 14 สัญญางานโยธา

สำหรับสถานะของ 14 สัญญา แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1.ก่อสร้างเสร็จ 1 สัญญา
2.ขั้นตอนประกวดราคา 3 สัญญา
3.ลงนามสัญญาแล้วเตรียมเปิดไซต์ก่อสร้าง 3 สัญญา และ
4.อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 สัญญา


รายละเอียดมีดังนี้

"1.ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา" ได้แก่ สัญญา 1-1 งานก่อสร้างคันทางระดับดินช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 362 ล้านบาท

"2.ขั้นตอนการประกวดราคา 3 สัญญา" ประกอบด้วย
2.1 สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดงกับปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร วงเงิน 9,348 ล้านบาท สถานะรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

2.2 สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กิโลเมตร ติดปัญหาพื้นที่ก่อสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

2.3 สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร วงเงิน 9,913 ล้านบาท มี ITD เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ติดปัญหารอเสนอรายงาน HIA สถานีอยุธยา

"3.ลงนามในสัญญาแล้วและเตรียมการก่อสร้าง 3 สัญญา" ได้แก่

3.1 สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,570 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด
3.2 สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย (depot) วงเงิน 6,573 ล้านบาท มี ITD เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด

และ 3.3 สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้วสระบุรี ระยะทาง 31.6 กิโลเมตร วงเงิน 9,429 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิคฯเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด

ก่อสร้างช้ากว่าแผน 0.83%

"4.อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 สัญญา" โดยภาพรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2564 มีความคืบหน้าการก่อสร้าง 2.73% ล่าช้าจากแผนงาน 0.83% โดยทั้ง 7 สัญญามีความคืบหน้าดังนี้

4.1 สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท บจ.ซีวิล คอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ เป็นผู้ดำเนินการงานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 74.26% ล่าช้ากว่าแผน 25% โดยหมดสัญญาการก่อสร้างไปแล้ว ล่าสุดเอกชนอยู่ระหว่างขอต่อสัญญางานก่อสร้างรอบที่ 2

4.2 สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์ มวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร วงเงิน 4,279.33 ล้านบาท มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้รับเหมาคืบหน้าแล้ว 0.14% ล่าช้ากว่าแผน 2.43% มีระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา 3 เมษายน 2567

4.3 สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้าลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กิโลเมตร วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.ไทย เอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม เป็นผู้ดำเนินการงานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 0.59% ล่าช้ากว่าแผน 4.96% สิ้นสุดสัญญา 4 กุมภาพันธ์ 2567

4.4 สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว กับช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กิโลเมตร วงเงิน 9,848 ล้านบาท มี ITD เป็นผู้ดำเนินการงานก่อสร้าง 8.74% เร็วกว่าแผน 3.64% สิ้นสุดสัญญา 11 มกราคม 2567

4.5 สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.38 กิโลเมตร วงเงิน 7,750 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า SPTK (นภาก่อสร้างร่วมกับรับเหมามาเลเซีย) เป็นผู้ดำเนินการ คืบหน้าแล้ว 1.69% ล่าช้ากว่าแผน 3.42% สิ้นสุดสัญญา 11 มกราคม 2567

4.6 สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กิโลเมตร วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่นฯ, บจ.เอ.เอส.แอส โซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ) เป็นผู้ดำเนินการ คืบหน้าแล้ว 0.19% ล่าช้ากว่าแผน 1.28% สิ้นสุดสัญญาวันที่ 16 สิงหาคม 2567

และ 4.7 สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรีแก่งคอย 12.99 กิโลเมตร วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บมจ.ซีวิลเอนจีเนียริง เป็นผู้ดำเนินการ คืบหน้าแล้ว 4.84% เร็วกว่าแผน 0.14% สิ้นสุดสัญญา 4 กุมภาพันธ์ 2567

1 ปีเศษ "งานระบบ" ไม่ลงตัว

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากที่ได้ลงนามสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) วงเงิน 50,633.5 ล้านบาท ระหว่าง ร.ฟ.ท.กับ บจ.ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบจ. ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างเจรจากับผู้รับเหมาจีนถึงการส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP-Notice to Proceed) อีก 2 ฉบับ ก่อนหน้านี้ได้ส่งมอบหนังสือ NTP ในส่วนงานออกแบบระบบทั้งหมดและขบวนรถไฟ วงเงิน 700-800 ล้านบาท มีความคืบหน้าอยู่ระหว่างการปรับแก้แบบร่วมกันอยู่

ส่วน NTP อีก 2 ฉบับ ได้แก่ "งานติดตั้ง" วงเงินกว่า 40,000 ล้านบาท ต้องรอให้งานออกแบบระบบและขบวนรถเสร็จสิ้นก่อน คาดว่าจะส่งมอบหนังสือ NTP ได้ในปี 2565 นี้

"งานฝึกอบรม" วงเงิน 1,000 ล้านบาท มีการจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูง หลังจากนั้น คาดว่าจะสามารถออก NTP ได้ภายใน 1-2 ปีหน้า

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 - 28 พ.ย. 2564


Last edited by Mongwin on 26/11/2021 9:23 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2021 1:57 pm    Post subject: Reply with quote

“อู่ตะเภา” ลุยพื้นที่อุตฯการบิน ดึงเอกชนลงทุน 1.2 หมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 24 พ.ย. 2564 เวลา 8:30 น.

“อู่ตะเภา” ลุยพื้นที่อุตฯการบิน ดึงเอกชนลงทุน 1.2 หมื่นล้าน
สกพอ.ลุยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน ATZ 905 ไร่ 7 ธ.ค.นี้ จัดมาร์เก็ตซาวดิ้งดึงเอกชนลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท ปั้นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มอบสัญญาเช่า 30 ปี ตั้งเป้าเริ่มขั้นตอนคัดเลือกปี 2565 หวังแล้วเสร็จซัพพอร์ตเมืองการบินในปี 2568


นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน (ATZ) โดยระบุว่า สกพอ.วางแผนพัฒนาพื้นที่ 905 ไร่ เพื่อรองรับการลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบิน สนับสนุนท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยาน

โดยขณะนี้ สกพอ.เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น International Market Sounding ในวันที่ 7 ธ.ค.2564 เพื่อชี้แจงรายละเอียดของแผนพัฒนาโครงการดังกล่าว เชิญชวนนักลงทุนและสำรวจความต้องการ โดย สกพอ.มีเป้าหมายให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในลักษณะเช่าพื้นที่พัฒนากิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบิน อาทิ กิจกรรมซ่อมบำรุง (MRO) กิจกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน (OEM) และกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านการบิน

“ตอนนี้เราเชิญนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ รวมไปถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังข้อมูลรวมประมาณ 50-60 ราย โดยการจัดมาร์เก็ตซาวดิ้งครั้งแรกนี้จะเป็นการชี้แจงถึงรายละเอียดโครงการและเชิญชวน หลังจากนั้นอีก 2-3 เดือน เราจะจัดครั้งที่ 2 คัดเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่มีความต้องการลงทุนในโครงการเข้าร่วมรับฟังรายละเอียดและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม” นายโชคชัย กล่าว

แบ่งพัฒนาพื้นที่ 4 โซน

สำหรับการพัฒนาพื้นที่ในโครงการ ATZ แบ่งออกเป็น

1.พื้นที่สำหรับการก่อสร้างลานจอดอากาศยานที่รองรับกิจกรรมศูนย์ซ่อมอากาศยานและอำนวยการเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการบินประมาณ 323 ไร่ อยู่ภายใต้คความรับผิดชอบของกองทัพเรือ

2.กิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน (Aviation Technical Zone : ATZ) ประมาณ 375 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวได้สำรองไว้สำหรับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ประมาณ 100 ไร่ กรณีที่การบินไทยดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO)

3.พื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอุปกรณ์สนับสนุนการบิน (Aviation Support Equipment Center) ประมาณ 50 ไร่

4.พื้นที่พัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากาศยานและพื้นที่ส่วนกลาง 157 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนนี้สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) จะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเบื้องต้นได้ส่งแผนพัฒนาโครงการมาแล้ว อยู่ระหว่างทบทวนวงเงินการลงทุน จากที่ประเมินไว้ราว 1,500 ล้านบาท


ทั้งนี้ สกพอ.จะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในส่วนของพื้นที่กลุ่ม 2 กิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน และกลุ่ม 3 พื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอุปกรณ์สนับสนุนการบิน โดยประเมินมูลค่าที่เอกชนต้องลงทุนอยู่ที่ราว 12,000 ล้านบาท สกพอ.จะให้สัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปี จึงคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้ภาครัฐจากการให้เช่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท

อีกทั้งจะเพิ่มอัตราการจ้างงานประเภทแรงงานทักษะชั้นสูงด้านอุตสาหกรรมการบินกว่า 3,000 ตำแหน่ง เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ นำไปสู่การยกระดับการศึกษาในอุตสาหกรรมการบิน

คัดเลือกเอกชนเข้าลงทุนปีหน้า

นายโชคชัย กล่าวว่า ขณะนี้ สกพอ.อยู่ระหว่างออกแบบจัดทำแผนแม่บทและวางผังภายในพื้นที่กิจกรรม ATZ คาดว่าหลังจากจัดทำมาร์เก็ตซาวดิ้งแล้วเสร็จ จะเริ่มดำเนินการคัดเลือกเอกชนผู้เช่าได้ภายในปี 2565 หลังจากนั้นเอกชนจะสามารถเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างโครงการทันทีในปี 2566 และพร้อมเปิดให้บริการในปี 2568 พร้อมกับการเปิดให้บริการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

“ผมมั่นใจว่าเอกชนจะสนใจเข้าร่วมลงทุนในโครงการ ATZ เพราะในช่วงที่ผ่านมามีเอกชนไทยแสดงความต้องการลงทุนแล้ว 2-3 ราย ประกอบกับไทยยังเป็นเดสติเนชั่นที่สายการบินมั่นใจ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดการเดินทาง ธุรกิจการบินก็ต้องยอมรับว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์กระทบจากปัจจัยภายนอก จะได้รับผลกระทบทันที แต่ก็สามารถฟื้นตัวเร็ว ซึ่งประเมินว่าการบินจะเริ่มฟื้นตัวในปี 2567 ซึ่งศูนย์ซ่อมก็จะทันรองรับพอดี” นายโชคชัย กล่าว

อีกทั้งธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยานในไทยยังถือว่ามีโอกาสสูง จากจำนวนเครื่องบินที่ใช้ในไทยมีมากกว่า 150-200 ลำ และขณะนี้มีเพียงสายการบินไทยที่มีศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการซ่อมอากาศยานลำตัวกว้าง ขณะที่อากาศยานที่ให้บริการในไทยปัจจุบันมีสายการบินเลือกใช้อากาศยานลำตัวแคบค่อนข้างมาก ดังนั้นเป็นโอกาสหากนักลงทุนจะเข้ามาลงทุนรองรับดีมานด์

“ยูทีเอ”ออกแบบเทอร์มินอล

นายโชคชัย เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ด้วยว่า ปัจจุบันบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ได้ส่งรายงานแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) ไปยังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ตรวจสอบและอนุมัติแล้ว โดยขณะนี้ UTA อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดอาคารผู้โดยสาร

อีกทั้งยังหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน ได้ข้อสรุปถึงการก่อสร้างรถไฟในพื้นที่อาคารผู้โดยสาร ซึ่งทาง UTA จะลงทุนส่วนนี้ก่อน หลังจากนั้นบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะชดเชยค่าก่อสร้างภายหลัง

ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สกพอ.ประเมินว่าจะสามารถออกเอกสารอนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ให้เอกชนเริ่มก่อสร้างได้ในปลายไตรมาส 1 ของปี 2565 ถือเป็นการเริ่มนับสัญญาสัมปทาน 50 ปี แบ่งเป็น ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี และเริ่มบริหารกิจการ 47 ปี ส่วนกรณีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับทราบข้อมูลว่าทาง UTA ยืนยันไม่มีการเจรจาเรื่องเยียวยา อาจเพราะประเมินแล้วว่าโครงการจะเปิดให้บริการในปี 2568 ซึ่งการเดินทางเริ่มฟื้นตัว

“ผมมั่นใจในเอกชนกลุ่มนี้ เพราะ UTA มีสายการบินบางกอกแอร์เวย์สให้บริการธุรกิจการบินอยู่แล้ว บีทีเอสก็มีความแข็งแกร่งในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน และซิโนไทยก็มีความเชี่ยวชาญเรื่องงานก่อสร้าง มั่นใจว่าโครงการนี้จะเปิดให้บริการเป็นไปตามแผนในปี 2568” นายโชคชัย กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2021 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

$13.5 B THAILAND Northeastern High-Speed Rail: Bangkok to Nong Khai Line
25 Nov 2021
ASEAN Analytics


https://www.youtube.com/watch?v=EOxlFqW3SSA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2021 9:43 am    Post subject: Reply with quote

กพอ. ให้รฟท.สรุปผลกระทบโควิดไฮสปีดเทรน l เศรษฐกิจ Insight 26 พ.ย.64
Nov 26, 2021
TNN Online

กพอ. ให้รฟท.สรุปผลกระทบโควิดไฮสปีดเทรน ก่อนพิจารณาเยียวยาให้เอกชน


https://www.youtube.com/watch?v=2Feu7d93HX8


----------


‘คณิศ’ คาด ม.ค.65 เคาะรื้อสัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน
กรุงเทพธุรกิจ 26 พ.ย. 2564 เวลา 14:36 น.

งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่มีปัญหาเพราะ รฟท.ได้ส่งมอบพื้นที่แล้ว 98% คือพื้นที่แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ -สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และคาดว่าในเดือนมกราคม 2565 จะส่งมอบในส่วนที่เหลือ


https://www.youtube.com/watch?v=mUvDbdA_SaY

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ กพอ.
คณิศ แสงสุพรรณ ระบุ กรณีบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา ในส่วนการจ่ายเงินเพื่อแลกกับการโอนสิทธิและทรัพย์สิน รวมถึงการบริหารรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นเงิน 10,671 ล้านบาท เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด 19 ซึ่งได้พิจารณาพบว่าจำนวนผู้โดยสารรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยมีจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือ 9 พันคน/วัน จากเดิมมีจำนวน 7.9 หมื่นคน/วัน

ปัจจุบันภาครัฐอยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบและวิธีแก้ไข ซึ่งตามกระบวนการได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือรฟท. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ และคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาร่วมหารือเพื่อหาข้อเท็จจริง จากผลกระทบนอกเหนือสัญญา และพิจารณาว่าจะแก้ไขอย่างไร และจะมีการแก้ไขสัญญาหรือไม่ โดยให้ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน หรือไม่เกินเดือนมกราคม 2565 และหากมีการแก้ไขสัญญา จะต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม เอกชนได้จ่ายเงินมาแล้ว 1,067 ล้านบาท หรือ 10% ของวงเงินที่ต้องจ่าย

ส่วนงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่มีปัญหาเพราะ รฟท.ได้ส่งมอบพื้นที่แล้ว 98% คือพื้นที่แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ -สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และคาดว่าในเดือนมกราคม 2565 จะส่งมอบในส่วนที่เหลือ

ขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานหลักในพื้นที่ EEC ได้ดำเนินครบ 4 โครงการ มูลค่าการลงทุนสูงถึง 654,921 ล้านบาท เป็นการลงทุนภาคเอกชน 416,080 ล้านบาท และเป็นการลงทุนของภาครัฐ 238,841 ล้านบาท โดยเอกชนให้ผลตอบแทนภาครัฐ 440,193 ล้านบาท รัฐได้ผลตอบแทนสุทธิ 201,352 ล้านบาท

ทั้ง 4 โครงการ ประกอบด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เงินลงทุน 276,561 ล้านบาท โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก เงินลงทุน 204,240 ล้านบาท โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 เงินลงทุน 64,905 ล้านบาท และโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เงินลงทุน 110,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2021 3:17 am    Post subject: Reply with quote

New มักกะสัน!!!! โฉมหน้าใหม่ภายใต้การดูแลของ #AERA1
ทางเท้าเรียบ ถนนเนียน ยกระดับคุณภาพการให้บริการ พร้อมลุยรถไฟ #3สนามบิน
วันนี้ขอเอาภาพการปรับปรุงพื้นที่รอบสถานี ARL มักกะสัน ซึ่งได้มีการเปลี่ยนมือจาก การรถไฟ มาเป็น AERA 1 (บริษัทลูกของ CP ที่เข้ามาบริหาร ARL และรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ในอนาคต)
ซึ่งตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ก็มีการส่งมอบ ARL ให้ AERA 1 เป็นผู้ดูแล
หลายๆคนก็น่าจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของ ARL ในตัวสถานี และพื้นที่โดยรอบไปมากกกก อันนี้ก็ต้องยอมรับและยกเครดิตให้เค้า
หนึ่งในนั้นคือการปรับปรุงพื้นที่ในสถานี ARL มักกะสัน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและการเชื่อมต่อของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ปัจจุบันมีการปรับปรุงพื้นที่รอบสถานีมักกะสันไปมาจนผิดหูผิดตาเลย ทั้งฟุตบาท และถนน ที่ปรับปรุงใหม่เอี่ยม….
—————————
ใครสนใจรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินดูได้จาก series รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1319969245108218
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/11/2021 6:00 am    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย สัญญาที่ 2-1 : HSR 2-1 (64-11-25) by CCSP
Nov 28, 2021
High Speed


https://www.youtube.com/watch?v=5uE2Y3bZ4CQ



------



โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา เดือน พฤศจิกายน 2564
Nov 27, 2021
กิจการร่วมค้า SPTK


https://www.youtube.com/watch?v=3B0yeLTOmK0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/11/2021 11:43 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดจีน-ลาว”เปิดใช้ 2ธ.ค.64 เกมส์เคลื่อนกลยุทธ์โลจิสติกส์ภูมิภาค
กรุงเทพธุรกิจ 29 พ.ย. 2564 เวลา 9:21 น.

ไฮสปีดจีน-ลาว”เปิดใช้ 2ธ.ค.64 เกมส์เคลื่อนกลยุทธ์โลจิสติกส์ภูมิภาค
รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) จากคุนหมิง-เวียงจันทน์ สปป.ลาว จะเริ่มเปิดให้บริการ วันที่ 2 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นการนับหนึ่งทางประวัติศาสตร์โลจิติกส์ของภูมิภาค

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโอกาสเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างไทยและรถไฟลาว - จีน โดยระบุว่า โครงการรถไฟไทย - ลาว - จีน เป็นอีกหนึ่งโครงการในเส้นทาง One Belt One Road ซึ่งในส่วนของไทยได้มีความร่วมมือพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย – จีน เส้นทางเชื่อมโยงจากกรุงเทพฯ – นครราชสีมา - หนองคาย ขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง การก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงนครราชสีมา - ขอนแก่นแล้ว และจากช่วงขอนแก่น - หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบพร้อมจัดทำวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

Click on the image for full size

“การเตรียมความพร้อมเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างรถไฟลาว - จีน ที่จะเปิดให้บริการวันที่ 2 ธ.ค.นี้ ฝ่ายไทยได้มีการดำเนินงานในส่วนของระบบขนส่งทางถนนเตรียมพร้อมรองรับสินค้าเพื่อไปสู่จุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าในจังหวัดหนองคาย”

นอกจากนี้ภายในเดือน พ.ย.2564 จะมีการประชุมไตรภาคีเพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย - ลาว – จีน และการพัฒนาสะพานรถไฟแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร เป็นสะพานรถไฟที่มีทั้งทางขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร

“สะพานที่มีอยู่ใช้ข้ามระบบรถและรถไฟด้วย จะมีปัญหาเรื่องการบริหารสล็อต และโครงสร้างสะพานรับน้ำหนักได้ 20 ตันต่อตู้ขบวน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโครงการนี้ ก็กำลังเจรจาจะสร้างสะพานเพิ่มเติมเพื่อรองรับรถไฟเพิ่ม แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะจีนอยากเป็นเจ้าภาพทั้งหมด เอาบริษัทก่อสร้างจีนเข้ามา และเขาจะลงทุน แต่ฝ่ายไทยและสปป.ลาวยืนยันจะใช้แนวทางปฏิบัติเดิม คือไทยสำรวจออกแบบและใช้งบคนละครึ่งกับสปป.ลาวในการพัฒนา”

ส่วนกรณีรถไฟของลาวสร้างมาถึงชายแดนไทย หากจะให้เกิดการเดินทางแบบไร้รอยต่อ เชื่อมระบบรถไฟวิ่งต่อเนื่องเข้าหากันคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากรางรถไฟของทางลาวมีขนาด 1.435 เมตร แต่ของไทยมีขนาด 1 เมตร ดังนั้นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือการหาแผนสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ทำการเปลี่ยนสับขบวน กระทรวงฯ ยืนยันว่าเรื่องของรถไฟไทยจีน ปัจจุบันกระทรวงฯ มีวิธีบริหารจัดการ ระบบเชื่อมกันไม่ได้อยู่แล้ว แต่มีหลากหลายวิธีในการบริหารจัดการให้การขนส่งไม่ติดขัด

ทั้งนี้ ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องของจังหวัดหนองคาย ทดลองขบวนรถไฟขนส่งสินค้าความยาว 25 แคร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้งเพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าจากรถไฟลาว - จีน อีกทั้ง ยังวางแผนเดินรถขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเพื่อรองรับการขยายตัวของการขนส่ง เพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเป็นวันละ 16 ขบวน

ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ระยะแรก จะให้บริการเฉพาะการขนส่งสินค้าเท่านั้น เน้นเฉพาะรูปแบบสินค้าเทกองของบริษัทจากจีนที่เข้าไปลงทุน ใน สปป.ลาว เช่น ยางพารา มันสำปะหลังแห้ง เกลืออุตสาหกรรม และสินแร่ เป็นต้น

โดยขณะนี้ ยังมีกลุ่มสินค้าเกษตรที่ยังไม่สามารถนำเข้าไปยังจีนผ่านด่านรถไฟโม่ฮาน 8 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น ธัญพืช ผลไม้ สัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ต้นกล้า ไม้ซุง และสินค้าสัตว์และพืชที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากสินค้าดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบ ณ สถานที่ควบคุมตรวจสอบเฉพาะสำหรับสินค้านำเข้าบริเวณด่านรถไฟโม่ฮานของจีน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการตรวจรับสถานที่จากสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of China Customs-GACC)

อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาว-จีน ประกาศให้มีการขนส่งสินค้าอย่างเป็นทางการแล้ว เชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการไทยสนใจจะส่งออกสินค้าเกษตรด้วยรถไฟมากขึ้นอย่างแน่นอน แต่ในระยะแรก อาจยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ เนื่องจากต้องมีการกำหนดและหารือในรายละเอียดต่างๆ ร่วมกัน อาทิ การตรวจสอบ ณ สถานที่ควบคุมตรวจสอบเฉพาะสำหรับสินค้านำเข้าบริเวณด่านรถไฟโม่ฮานของจีนที่ยังไม่พร้อมให้บริการ

สำหรับการใช้บริการขนส่งสินค้าเกษตรที่จะใช้เส้นทางรถไฟลาว – จีน ของผู้ประกอบการไทยนั้น จะเป็นการใช้เส้นทางจากด่านหนองคายข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ไปจนถึงสถานีขนส่งสินค้าเวียงจันทน์ใต้ เพื่อโหลดสินค้าขึ้นรถไฟสายลาว-จีนส่งไปยังปลายทางที่จีน ซึ่งการขนส่งด้วยรถไฟสามารถร่นระยะเวลาการขนส่งได้จาก 2 วันเหลือ 10-15 ชั่วโมง และลดการสูญเสียจากการขนส่งทางรถบรรทุกอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/11/2021 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
Nov 29, 2021
กิจการร่วมค้า SPTK


https://www.youtube.com/watch?v=W0LLUnUMRZk


-------


สะพัดวงการรับเหมา ซีพีซุ่มเจรจาแก้สัญญาใหม่ “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน”
หน้าแรก เศรษฐกิจ
Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 01 ธ.ค. 2564 เวลา 7:00 น.

สะพัดวงการรับเหมา ไฮสปีดเทรน "ได้คืบจะเอาศอก" หลังแก้สัญญาแอร์พอร์ตลิงก์ยืดจ่ายค่าสิทธิบริหาร ดอดเจรจาสัญญาก่อสร้างโครงการใหม่ ดึงเงินชดเชยค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกว่าแสนล้านบาท มาใช้ก่อน หลังปิดดีลสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ไม่ลงตัว

แหล่งข่าววงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผยว่า กลุ่มซีพี.เพิ่งประสบผลสำเร็จในการดำเนินการควบรวมธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ระหว่างบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง เจ้าของธุรกิจ ซี.พี. เฟรชมาร์ท และ 7-11 และแมคโคร กับเทสโก้ โลตัส จนยังผลให้กลุ่มซี.พี.ที่มีส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีก-ค้าส่งกว่า 80% โดยที่หน่วยงานกำกับดูแลอย่างคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.)ไม่มีการทัดทานใด ๆ และจนถึงปัจจุบันก็ยังคงไม่มีการติดตามตรวจสอบว่า ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพตลาดค้าปลีก ค้าส่งและประชาชนอย่างไร

ล่าสุดทำความตกลงกับบริษัท เทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชัน หรือ”ดีแทค” เพื่อกรุยทางไปสู่การควบรวมกิจการ "ทรูและดีแทค" ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์ของสังคม ด้วยหวั่นเกรงว่าจะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยถูกครอบงำและผูกขาด เหลือผู้ให้บริการอยู่เพียง 2 ค่ายใหญ่ ทำให้ปราศจากการแข่งขัน และมีแนวโน้มที่ผู้ใช้บริการจะถูกเอาเปรียบ

อีกทั้ง ช่วงที่ผ่านมากลุ่มซีพี.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เอเซีย เอราวัณ จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ก็เพิ่งประสบความสำเร็จในการขอแก้ไขสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล และการรถไฟฯ ในการขอยืดเวลาจ่ายค่าสิทธิ์รับโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาท จากที่ต้องจ่ายให้การรถไฟภายในวันที่ 24 ต.ค.64 โดยบริษัทได้ขอยืดเวลาการจ่ายค่าสิทธิ์ดังกล่าวออกไปอีก 10 ปี ด้วยข้อโครงการได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และ วิกฤตโควิด- 19 ทำให้จำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าประมาณการที่คาดไว้ แต่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 19 ต.ค.64 ที่ผ่านมา ได้เห็นขอบให้ขยายเวลาจ่ายค่าสิทธิ์ไปเพียง 6 ปี ทั้งที่บริษัทเอกชนยังไม่ได้เข้าไปบริการโครงการแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้หลายฝ่ายจึงเชื่อว่า กลุ่มทุนรายนี้ คงจะพยายามขอแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อขอให้รัฐจ่ายเงินชดเชยเงินค่าก่อสร้างที่บริษัทขอรับการสนับสนุนจำนวน 1.17 แสนล้านออกมาใช้ก่อนแน่ จากเงื่อนไขการประมูล TOR และสัญญากำหนดไว้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยการก่อสร้างให้บริษัทผู้รับสัมปทานหลังเปิดให้บริการไปแล้ว (ประมาณปีที่ 6 ขึ้นไป)

แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยเฉพาะในส่วนของการระดมทุนของบริษัท เอเซีย เอราวันจำกัด ที่มีกลุ่มทุนซีพี เป็นแกนนำนั้นพบว่า แม้บริษัทจะลงนามในสัญญากับการรถไฟฯไปตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.62 แต่จนถึงขณะนี้ที่เวลาล่วงเลยมากว่า 2 ปี บริษัทยังไม่สามารถเจรจาทำความตกลงกับสถาบันการเงินที่เป็นแหล่งเงินกู้ให้กับโครงการได้

"ตามไทม์ไลน์นั้น บริษัท เอเซียเอราวัณจะต้องระดมทุนกว่า 200,000 ล้านบาท แต่จนถึงขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถปิดดีลเซ็นสัญญากับแหล่งเงินกู้ได้ เพราะสถาบันที่เคยแสดงความจำนงให้การสนับสนุนโครงการนี้ ตั้งเงื่อนไขเอาไว้สุดเข้มงวด ทำให้บริษัทอยู่ในสภาพหืดจับหายใจไม่ทั่วท้อง จึงเชื่อแน่ว่ากลุ่มซีพี คงจะพยายามหาทางเจรจาเพื่อขอแก้ไขสัญญาสัมปทานกับภาครัฐ เพื่อขอให้รัฐจ่ายเงินชดเชยค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่รัฐจะให้การสนับสนุน จำนวน 117,000 ล้านบาท ออกมาใช้ก่อน"

นอกจากนี้ หากย้อนไปดูข้อเสนอของกิจการร่วมค้า CPH ในช่วงเจรจาจัดทำร่างสัญญาโครงการ ภายหลังจากที่การรถไฟฯ ประกาศให้เป็นผู้ชนะประมูลไปเมื่อวันที่ 12 พ.ย.2561 และ ครม.ได้รับทราบผลการประมูลไปแล้ว แต่กว่าที่การรถไฟฯ และกลุ่มซีพี.จะเจรจาจัดทำร่างสัญญาโครงการกันลงตัว ก็ใช้เวลาเจรจายืดเยื้อกันมาเป็นปี กว่าจะลงนามในสัญญากันได้ เมื่อวันที่ 24 ต.ค.62

มูลเหตุการเจรจาจัดทำร่างสัญญายืดเยื้อไปนั้น ก็เพราะบริษัทได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมนอกขอบเขตเงื่อนไขการประมูล(TOR ) มาถึง 12 ข้อด้วยกัน โดย 1 ในข้อเสนอที่ว่าก็คือการขอให้รัฐบาลจ่ายชดเชยการก่อสร้างที่รัฐจะให้การสนับสนุนจำนวน 117,000 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปีที่ 1-6 จากเงื่อนไข TOR ที่รัฐบาลจะจ่ายเงินขดเชยให้หลังเปิดให้บริการไปแล้ว

"จากสถานการณ์ทางการเงินที่กำลังบีบเค้นกลุ่มซีพี.อยู่ในเวลานี้ จึงเชื่อแน่ว่า บริษัทคงจะหาหนทางเจรจาพลิกช่อง เพื่อขอให้รัฐจ่ายเงินชดเชยการก่อสร้างโครงการออกมาใช้ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องที่กำลังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน "

แหล่งข่าวระดับสูงในการรถไฟ เปิดเผยว่า แม้จะมีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะร้องขอให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยการก่อสร้างให้ก่อน แต่เรื่องดังกล่าวคงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเอง การรถไฟฯคงไม่สามารถอนุมัติให้ได้แต่ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจ

"ลำพังแค่ที่คณะรัฐมนตรี(ครม. ) อนุมัติให้บริษัทยืดเวลาจ่ายค่าสิทธิ์รับโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ออกไป 6 ปี สังคมก็วิพากษ์วิจารณ์รถไฟกันอย่างหนักว่า เอื้อประโยชน์แก่เอกชนมากพออยู่แล้ว เพราะบริษัทยังไม่ได้รับโอนโครงการ ในการเข้าไปบริหาร แต่กลับมาขอแก้ไขสัญญาไปก่อนแล้ว หากบริษัทยังได้คืบจะเอาศอกมาขอแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมอีก เชื่อแน่ว่าคนในการรถไฟฯและสังคมคงรับไม่ได้แน่ เพราะในขณะที่การรถไฟฯยังแบกหนี้สินสะสมอยู่กว่า 1.6 แสนล้าน แต่รัฐบาลกลับเอื้ออาทรยอมผ่อนปรนขยายเวลาจ่ายหนี้ให้กับบริษัทเอกชน ทั้งที่เงินส่วนนี้ควรจะได้เข้ามาช่วยเหลือกิจการรถไฟได้

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า กรณีที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือซีพี ซึ่งเป็นเอกชนคู่สัญญาในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ขอขยายเวลาจ่ายค่าสิทธิ์แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาทนั้น ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นหากเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา ตามกระบวนการทางรฟท.และคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาจะร่วมหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรและจะมีการแก้ไขสัญญาหรือไม่ หากต้องดำเนินการแก้ไขสัญญาจะต้องเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ โดยมีระยะเวลาดำเนินการภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ที่ผ่านมาเอกชนได้ชำระเงินค่างวดแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จำนวน 1,067 ล้านบาท หรือ 10% ของวงเงินที่ต้องจ่าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2021 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

[คืบหน้า] งานก่อสร้างสัญญาที่3-5 รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตอนโคกกรวด นครราชสีมา [ประจำเดือนธันวาคม 64]
Dec 1, 2021
nanny official


https://www.youtube.com/watch?v=PFZcTBEBf_k

#งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทยจีน
สัญญาที่3-5
งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา
ระยะทาง 13.69 กม. (8.51 ไมล์)
รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา
ก่อสร้างโดย:กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท
บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2021 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

สะพัดวงการรับเหมา ซีพีซุ่มเจรจาแก้สัญญาใหม่ “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน”
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพุธ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 7:00 น.

สะพัดวงการรับเหมา ไฮสปีดเทรน "ได้คืบจะเอาศอก" หลังแก้สัญญาแอร์พอร์ตลิงก์ยืดจ่ายค่าสิทธิบริหาร ดอดเจรจาสัญญาก่อสร้างโครงการใหม่ ดึงเงินชดเชยค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกว่าแสนล้านบาท มาใช้ก่อน หลังปิดดีลสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ไม่ลงตัว

แหล่งข่าววงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผยว่า กลุ่มซีพี.เพิ่งประสบผลสำเร็จในการดำเนินการควบรวมธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ระหว่างบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง เจ้าของธุรกิจ ซี.พี. เฟรชมาร์ท และ 7-11 และแมคโคร กับเทสโก้ โลตัส จนยังผลให้กลุ่มซี.พี.ที่มีส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีก-ค้าส่งกว่า 80% โดยที่หน่วยงานกำกับดูแลอย่างคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.)ไม่มีการทัดทานใด ๆ และจนถึงปัจจุบันก็ยังคงไม่มีการติดตามตรวจสอบว่า ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพตลาดค้าปลีก ค้าส่งและประชาชนอย่างไร







ล่าสุดทำความตกลงกับบริษัท เทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชัน หรือ”ดีแทค” เพื่อกรุยทางไปสู่การควบรวมกิจการ "ทรูและดีแทค" ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์ของสังคม ด้วยหวั่นเกรงว่าจะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยถูกครอบงำและผูกขาด เหลือผู้ให้บริการอยู่เพียง 2 ค่ายใหญ่ ทำให้ปราศจากการแข่งขัน และมีแนวโน้มที่ผู้ใช้บริการจะถูกเอาเปรียบ







อีกทั้ง ช่วงที่ผ่านมากลุ่มซีพี.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เอเซีย เอราวัณ จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ก็เพิ่งประสบความสำเร็จในการขอแก้ไขสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล และการรถไฟฯ ในการขอยืดเวลาจ่ายค่าสิทธิ์รับโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาท จากที่ต้องจ่ายให้การรถไฟภายในวันที่ 24 ต.ค.64 โดยบริษัทได้ขอยืดเวลาการจ่ายค่าสิทธิ์ดังกล่าวออกไปอีก 10 ปี ด้วยข้อโครงการได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และ วิกฤตโควิด- 19 ทำให้จำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าประมาณการที่คาดไว้ แต่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 19 ต.ค.64 ที่ผ่านมา ได้เห็นขอบให้ขยายเวลาจ่ายค่าสิทธิ์ไปเพียง 6 ปี ทั้งที่บริษัทเอกชนยังไม่ได้เข้าไปบริการโครงการแต่อย่างใด







ด้วยเหตุนี้หลายฝ่ายจึงเชื่อว่า กลุ่มทุนรายนี้ คงจะพยายามขอแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อขอให้รัฐจ่ายเงินชดเชยเงินค่าก่อสร้างที่บริษัทขอรับการสนับสนุนจำนวน 1.17 แสนล้านออกมาใช้ก่อนแน่ จากเงื่อนไขการประมูล TOR และสัญญากำหนดไว้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยการก่อสร้างให้บริษัทผู้รับสัมปทานหลังเปิดให้บริการไปแล้ว (ประมาณปีที่ 6 ขึ้นไป)


แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยเฉพาะในส่วนของการระดมทุนของบริษัท เอเซีย เอราวันจำกัด ที่มีกลุ่มทุนซีพี เป็นแกนนำนั้นพบว่า แม้บริษัทจะลงนามในสัญญากับการรถไฟฯไปตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.62 แต่จนถึงขณะนี้ที่เวลาล่วงเลยมากว่า 2 ปี บริษัทยังไม่สามารถเจรจาทำความตกลงกับสถาบันการเงินที่เป็นแหล่งเงินกู้ให้กับโครงการได้






"ตามไทม์ไลน์นั้น บริษัท เอเซียเอราวัณจะต้องระดมทุนกว่า 200,000 ล้านบาท แต่จนถึงขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถปิดดีลเซ็นสัญญากับแหล่งเงินกู้ได้ เพราะสถาบันที่เคยแสดงความจำนงให้การสนับสนุนโครงการนี้ ตั้งเงื่อนไขเอาไว้สุดเข้มงวด ทำให้บริษัทอยู่ในสภาพหืดจับหายใจไม่ทั่วท้อง จึงเชื่อแน่ว่ากลุ่มซีพี คงจะพยายามหาทางเจรจาเพื่อขอแก้ไขสัญญาสัมปทานกับภาครัฐ เพื่อขอให้รัฐจ่ายเงินชดเชยค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่รัฐจะให้การสนับสนุน จำนวน 117,000 ล้านบาท ออกมาใช้ก่อน"








นอกจากนี้ หากย้อนไปดูข้อเสนอของกิจการร่วมค้า CPH ในช่วงเจรจาจัดทำร่างสัญญาโครงการ ภายหลังจากที่การรถไฟฯ ประกาศให้เป็นผู้ชนะประมูลไปเมื่อวันที่ 12 พ.ย.2561 และ ครม.ได้รับทราบผลการประมูลไปแล้ว แต่กว่าที่การรถไฟฯ และกลุ่มซีพี.จะเจรจาจัดทำร่างสัญญาโครงการกันลงตัว ก็ใช้เวลาเจรจายืดเยื้อกันมาเป็นปี กว่าจะลงนามในสัญญากันได้ เมื่อวันที่ 24 ต.ค.62






มูลเหตุการเจรจาจัดทำร่างสัญญายืดเยื้อไปนั้น ก็เพราะบริษัทได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมนอกขอบเขตเงื่อนไขการประมูล(TOR ) มาถึง 12 ข้อด้วยกัน โดย 1 ในข้อเสนอที่ว่าก็คือการขอให้รัฐบาลจ่ายชดเชยการก่อสร้างที่รัฐจะให้การสนับสนุนจำนวน 117,000 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปีที่ 1-6 จากเงื่อนไข TOR ที่รัฐบาลจะจ่ายเงินขดเชยให้หลังเปิดให้บริการไปแล้ว


"จากสถานการณ์ทางการเงินที่กำลังบีบเค้นกลุ่มซีพี.อยู่ในเวลานี้ จึงเชื่อแน่ว่า บริษัทคงจะหาหนทางเจรจาพลิกช่อง เพื่อขอให้รัฐจ่ายเงินชดเชยการก่อสร้างโครงการออกมาใช้ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องที่กำลังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน "






แหล่งข่าวระดับสูงในการรถไฟ เปิดเผยว่า แม้จะมีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะร้องขอให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยการก่อสร้างให้ก่อน แต่เรื่องดังกล่าวคงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเอง การรถไฟฯคงไม่สามารถอนุมัติให้ได้แต่ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจ






"ลำพังแค่ที่คณะรัฐมนตรี(ครม. ) อนุมัติให้บริษัทยืดเวลาจ่ายค่าสิทธิ์รับโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ออกไป 6 ปี สังคมก็วิพากษ์วิจารณ์รถไฟกันอย่างหนักว่า เอื้อประโยชน์แก่เอกชนมากพออยู่แล้ว เพราะบริษัทยังไม่ได้รับโอนโครงการ ในการเข้าไปบริหาร แต่กลับมาขอแก้ไขสัญญาไปก่อนแล้ว หากบริษัทยังได้คืบจะเอาศอกมาขอแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมอีก เชื่อแน่ว่าคนในการรถไฟฯและสังคมคงรับไม่ได้แน่ เพราะในขณะที่การรถไฟฯยังแบกหนี้สินสะสมอยู่กว่า 1.6 แสนล้าน แต่รัฐบาลกลับเอื้ออาทรยอมผ่อนปรนขยายเวลาจ่ายหนี้ให้กับบริษัทเอกชน ทั้งที่เงินส่วนนี้ควรจะได้เข้ามาช่วยเหลือกิจการรถไฟได้








นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า กรณีที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือซีพี ซึ่งเป็นเอกชนคู่สัญญาในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ขอขยายเวลาจ่ายค่าสิทธิ์แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาทนั้น ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นหากเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา ตามกระบวนการทางรฟท.และคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาจะร่วมหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรและจะมีการแก้ไขสัญญาหรือไม่ หากต้องดำเนินการแก้ไขสัญญาจะต้องเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ โดยมีระยะเวลาดำเนินการภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ที่ผ่านมาเอกชนได้ชำระเงินค่างวดแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จำนวน 1,067 ล้านบาท หรือ 10% ของวงเงินที่ต้องจ่าย
https://www.facebook.com/thansettakij/photos/a.483607434992150/5083528571666657/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 426, 427, 428 ... 542, 543, 544  Next
Page 427 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©