Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181781
ทั้งหมด:13493020
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 242, 243, 244 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2021 6:51 am    Post subject: Reply with quote

รายงาน: เร่งเครื่อง รถไฟฟ้าหลากสี ส่งท้ายปี 64
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, November 27, 2021 05:47
* อนัญญา จั่นมาลี

Click on the image for full size

กระทรวงคมนาคม เร่งก่อสร้างโครง การรถไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างกันหลายเส้นทางเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างครบครัน แม้มีหลายโครงการเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่าบางเส้นทางสะดุดกลางทาง อย่างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ที่ยังไม่สามารถเปิดประมูลได้และยังไม่ได้ข้อยุติเสียที ล่าสุดศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้รับคำฟ้องคดีประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในกรณีที่ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกได้ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมบางขุนนนท์ โดยจะนัดไต่สวนมูลฟ้อง 3 วัน ในวันที่ 14, 20 และ 24 ธันวาคมนี้

ที่ผ่านมา รฟม. ได้ยกเลิกการประกวดราคาในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 และมีแผนที่จะเริ่มประกาศประกวดราคาอีกครั้งหนึ่ง แต่กลับถูกบริษัทเอกชนสกัดยื่นฟ้องคดีสายสีส้มเพิ่มเติม อีก 2 คดี คือ
1.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการล้มประมูลเนื่องจากเป็นการทำละเมิด และขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้คณะกรรมการคัดเลือกและ รฟม. มีการดำเนินการคัดเลือกเอกชนหรือเปิดประมูลใหม่และ
2.ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญาคดีทุจริตประพฤติมิชอบกลาง กรณีที่ผู้ว่าการรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกได้ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก

ไม่เพียงเท่านั้น รฟม.ได้เสนอการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯต่อที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แต่กลับพบว่าในที่ประชุมมีคณะกรรมการบางรายไม่เห็นด้วยในการเปิดประมูลรอบนี้ และเห็นควรให้คดีต่างๆ ที่อยู่ในศาลปกครองและศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้ข้อยุติเสียก่อน ทำให้ปัจจุบันโครงการฯยังไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ อีกทั้งไทม์ไลน์ที่รฟม.ระบุไว้ก่อนหน้านี้กลับคาดเคลื่อนไปหมด ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเปิดให้บริการทั้งเส้นทางได้

ขณะสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ปัจจุบันรฟม.ได้ปรับปรุงร่างทีโออาร์กลับมาใช้เกณฑ์ด้านราคาตามเดิม

ด้านความคืบหน้าสายสีแดง เริ่มจัดเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.2564 ปัจจุบันมียอดผู้โดยสาร โดยเฉลี่ยวันละ 6,105 คน ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่สูงถึง 13% โดยกำหนดอัตราค่าโดยสาร ใน 3 ปีแรกจะมีค่าแรกเข้า 12 บาท และ ค่าโดยสาร 1.50 บาทต่อกิโลเมตร เบื้องต้น รฟท. พิจารณากำหนดแนวทางเพื่อลดภาระทางการเงิน รวมทั้งแนวทางการผ่อนผันดอกเบี้ยใน 3 ปีแรกของการเปิดให้บริการ

ฟากสายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.) ปัจจุบันรฟม.ได้ดำเนินการส่งมอบพื้นที่ให้กับบริษัทนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) แล้วเสร็จ โดยการส่งมอบพื้นที่สถานีสุดท้าย คือ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งสถานีล่าสุดคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาเห็นชอบรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว โดยกลางปี 2565 จะส่งมอบขบวนรถครบทั้งหมด 42 ขบวนและพร้อมเปิดให้บริการ ปลายปี 2565 ส่วนสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร (กม.) รฟม.ได้ส่งมอบพื้นที่เกือบครบ 100% แล้ว คาดว่าเปิดให้บริการภายในกลางปี 2565

ปิดท้ายสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี ปัจจุบันในส่วนของการก่อสร้างฐานรากตอม่อร่วมกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร-นวมินทร์ - ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) ที่อยู่ระหว่างรอแผนงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจาก กทพ. ติดปัญหาการก่อสร้างทางด่วนช่วงเกษตรศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถเสนอโครงการต่อได้

ทั้งนี้ รฟม.ระบุว่า การประมูลสายสีน้ำตาลของ รฟม.จะต้องเปิดประมูลร่วมกับทางด่วนขั้นที่ 2 ของ กทพ. รวมทั้งการก่อสร้างโครงการฯจะต้องหาเอกชนผู้รับจ้างรายเดียวกัน ซึ่ง กทพ.จะเป็นผู้พิจารณาต่อไป

หากโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผน จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางในไทยสอดรับแผนเปิดประเทศ

"ทุกเส้นทางหากเปิดให้บริการได้ตามแผน จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทย"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/11/2021 8:09 am    Post subject: Reply with quote

จ้างออกแบบ'โมโนเรลสีน้ำตาล'เตรียมเอกสารประมูลสร้างปี68
Source - เดลินิวส์
Monday, November 29, 2021 07:45

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม. เตรียมประกวดราคาจ้างที่ปรึกษาทบทวน และปรับปรุงรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาจัดหาเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะทบทวนแล้วเสร็จเดือน ก.ย. 65 จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการ PPP พิจารณาเดือน มิ.ย. 66 และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเดือน ก.ย. 66 ก่อนเปิดประมูลได้ผู้รับจ้างปี 68 ใช้เวลาก่อสร้าง 39 เดือน เปิดบริการปี 71

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 20 สถานี พื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (6 สถานี) โดยฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตวางบนคานขวาง และ Bearing Shoe ออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อ 25-30 เมตร

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. มีมติอนุมัติให้ รฟม. ก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีกรอบวงเงินรวม 1,470 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่างานก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 จำนวน 1,418 ล้านบาท (รวมค่า Provisional Sum) และ ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 52 ล้านบาท

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะเริ่มจากแยก แครายมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่าน จุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริ และถนนรามคำแหง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สายได้แก่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีส้ม เบื้องต้นคาดการณ์ว่าปีแรกของการเปิดบริการจะมีปริมาณผู้โดยสารราว 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
https://web.facebook.com/TransportDailynews/posts/3057000034521494
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/11/2021 11:48 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เดินหน้าโมโนเรล สีน้ำตาลสี่หมื่นล้านปี66
กรุงเทพธุรกิจ 29 พ.ย. 2564 เวลา 10:27 น.

Click on the image for full size

รฟม.ลุยโมโนเรลสายสีน้ำตาลแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) กว่า 4.8 หมื่นล้านบาท คาดเสนอ ครม.ปี66 เชื่อมรถไฟฟ้า 7 สาย มั่นใจปีแรกผู้โดยสาร 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยระบุว่า ขณะนี้ รฟม.ได้เริ่มต้นดำเนินการในขั้นตอนเตรียมประกวดราคาจัดหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าวแล้ว โดยอยู่ระหว่างเตรียมประกวดราคาในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อจ้างที่ปรึกษาทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล การศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) เบื้องต้นของฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe ออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อประมาณ 25 – 30 เมตร

“การจ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบและจัดทำเอกสารประกวดราคา รฟม.คาดว่าจะแล้วเสร็จราวเดือน ก.ย.2565 หลังจากนั้นจะเสนอโครงการตามขั้นตอนเอกชนร่วมลงทุนรัฐ (พีพีพี) ภายใน มิ.ย.2566 เบื้องต้นประเมินว่าขั้นตอนทั้งหมดจะแล้วเสร็จ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ก.ย.2566 เริ่มประกวดราคาทันทีในปี 2566 - 2567 ได้ตัวผู้รับจ้างในปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 39 เดือน เพื่อเปิดให้บริการในปี 2571”

Click on the image for full size

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ผลการศึกษาเบื้องต้นประเมินวงเงินลงทุนอยู่ที่ 48,386 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 20,864 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 19,013 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,255 ล้านบาท โดยโครงการนี้เมื่อพัฒนาร่วมกับระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกันแล้ว รถไฟฟ้าจะให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ 22.3% ขณะที่ทางด่วนให้ผลตอบแทน 38.9% ถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน

อีกทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ประกอบด้วย สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีส้ม เบื้องต้น รฟม.คาดการณ์ว่าปีแรกของการเปิดให้บริการ จะมีปริมาณผู้โดยสารราว 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2021 11:49 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.จ้างทบทวนออกแบบโมโนเรลสายใหม่”สีน้ำตาล”
*”แคราย-ลำสาลี” 22กม.เชื่อมรถไฟฟ้า 7สาย
*เตรียมเอกสารประมูลPPPวงเงิน4.8หมื่นล้าน
*ชงบอร์ดปีหน้าแพลนสร้างปี 68เปิดบริการ71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3057000034521494
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2021 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รายงาน: เร่งเครื่อง รถไฟฟ้าหลากสี ส่งท้ายปี 64
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, November 27, 2021 05:47
* อนัญญา จั่นมาลี

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ

อัพเดท ความคืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี ส่งท้ายปี 64
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.

ที่ผ่านมาระบบขนส่งทางรางในกรุงเทพอย่าง โครงการรถไฟฟ้าหลายเส้นทางเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กระทรวงคมนาคมวางไว้ จะทำให้ทุกส้นทางสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันได้อย่างเป็นระบบ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างครบครัน
https://www.thansettakij.com/economy/504964
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/12/2021 7:10 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

อัพเดท ความคืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี ส่งท้ายปี 64
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.
ที่ผ่านมาระบบขนส่งทางรางในกรุงเทพอย่าง โครงการรถไฟฟ้าหลายเส้นทางเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กระทรวงคมนาคมวางไว้ จะทำให้ทุกส้นทางสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันได้อย่างเป็นระบบ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างครบครัน
https://www.thansettakij.com/economy/504964

อัพเดตรถไฟฟ้า 11 เส้นทาง 7 ปี 'ประยุทธ์' ทุ่ม 1.5 ล้านล้าน
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 11, 2021 05:29

Click on the image for full size

7 ปีของรัฐบาลในยุค "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทุ่มเม็ดเงินมหาศาลในการวางโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล ตอกเสาเข็ม-มุงหลังคาสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์รวมระบบรางเร็ว-รางด่วน 1.5 ล้านล้านบาท

การบริหารจัดการรถไฟฟ้า ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 11 เส้นทาง ประกอบด้วย สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเหลือง สีม่วง สีเทา สีน้ำตาล สีฟ้า และสีทอง

โดยทยอยเปิดให้บริการประชาชนปีละ 30-40 กม.ในช่วงปี 2565-67 และอยู่ระหว่างก่อสร้าง การประกวดราคา และศึกษาการลงทุน ร่วมระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) อีกหลายโครงการ

มหากาพย์สายสีเขียว

ทว่า มหากาพย์การต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเป็นหนังม้วนยาว แม้จะเบ็ดเสร็จตั้งแต่ยุคบิ๊กตู่-พล.อ.หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่ไม่สะเด็ดน้ำ

อย่างไรก็ดี สายสีเขียวส่วนต่อขยาย สายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดเพิ่ม 7 สถานี โดยที่ พล.อ.ประยุทธ์ไปกดปุ่มเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563

รวมถึงสายสีเขียวเข้ม ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ เปิดให้บริการแล้วแต่ยังคง "ขึ้นฟรี" เพราะยัง "ปิดดีล" สัมปทาน สายสีเขียวตลอดเส้นทาง 30 ปี "ไม่ลงตัว"

ส่วนต่อขยายสายสีแดงถึงไฮสปีดเทรน

ขณะที่โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงประกอบด้วย สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร 10 สถานี และสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร 3 สถานี เปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564

ขณะที่โครงการสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช มีแนวคิดจาก "เจ้ากระทรวงราชรถ" จะนำงาน โยธามาก่อสร้างก่อน อยู่ระหว่างศึกษาของ ร.ฟ.ท. คาดว่าจะรู้ผลต้นปี 2565 ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง ซึ่งเป็น "พื้นที่ทับซ้อน" กับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 3 สนามบิน รอต่อเป็นคิวท้าย ๆ

นอกจากนี้ เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายแล้วเสร็จในอนาคตจะให้บริการโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เต็มรูปแบบ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ

โครงการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 วงเงิน 21,197 ล้านบาท เป็นระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อจากระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ

จุดเริ่มต้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 แนวเส้นทางต่อจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่สถานีหลักสอง

ลักษณะเส้นทางเป็นทางยกระดับไปตามเกาะกลางของถนนเพชรเกษม ข้ามแยกเพชรเกษม-พุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งจะมีโครงการสะพานข้ามแยกในอนาคต

จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงเพื่อลดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงบริเวณหน้าโรงไฟฟ้าบางกอกน้อย แล้วจึงยกระดับขึ้นไปยังสถานีพุทธมณฑลสาย 2 (BS21) และยกระดับเพิ่มขึ้นเพื่อข้ามโครงการสะพานข้ามแยกไปยังสถานีทวีวัฒนา (BS22)

คงระดับเดิมต่อไปจนถึงสิ้นสุดโครงการผ่านสถานีพุทธมณฑลสาย 3 (BS23) ข้ามแยกเพชรเกษม-พุทธมณฑลสาย 3 และโครงการสะพานข้ามทางแยกวิ่งข้ามทางแยกมาเจริญ (ซอยเพชรเกษม 81) และโครงการสะพานข้ามแยกเข้าสู่สถานีพุทธมณฑลสาย 4 (BS24) ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของโครงการ โดยจะมีอาคารจอดแล้วจรทั้ง 2 ฝั่งของสถานี รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี และอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง

ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เงินลงทุน 3,920 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 10,870 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้า 6,407 ล้านบาท รวม 21,197 ล้านบาท

สายสีม่วงรอเคาะผู้ชนะการประมูล

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 78,712 ล้านบาท ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร 17 สถานี 10 สถานีใต้ดิน ระยะทาง 13.6 กิโลเมตร 7 สถานียกระดับ ระยะทาง 10.0 กิโลเมตร

ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดจำหน่ายเอกสารการประกวดราคา (TOR) ระหว่างวันที่ 11 พ.ย.- 24 ธ.ค. 64 และจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 27 ธ.ค. 64 คาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูล และลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูลได้ประมาณเดือน ก.พ. 65 โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570

ส้ม-ชมพู-เหลือง คืบ 80%

ขณะที่สายสีส้ม-ชมพู-เหลือง สถานะการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2564 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.57 กิโลเมตร 113,279 ล้านบาท ความก้าวหน้างานโยธา 88.46% ส่วนงานระบบรวมในการประมูลงานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 122,041 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2570

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร 53,490 ล้านบาท ความก้าวหน้างานโยธา 84.45% และความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 80.62% เท่ากับความก้าวหน้าโดยรวม 82.96% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร 51,810 ล้านบาท ความก้าวหน้างานโยธา 89.51% และความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 84.91% เท่ากับความก้าวหน้าโดยรวม 87.52% คาดว่าจะเปิดให้บริการช่วงกลางปี 2565

รางเบา-โมโนเรลศึกษา 4 เส้นทาง

โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) สายสีเทา 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทางรวม 16.3 กม. วงเงินการก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท มีสถานีทั้งหมด 15 สถานี ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-พระราม 3 และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3- ท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 40 กม. ทั้ง 3 ระยะอยู่ระหว่างรอผลศึกษาจบสิงหาคม-กันยายน 2565 คาดจะเปิดให้บริการได้ในปี 2573

โครงการรถไฟฟ้า monorail สายสีน้ำตาล ช่วงแครายลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทางรวม 22.1 กิโลเมตร รวม 20 สถานี วงเงินลงทุน 48,386 ล้านบาท แบ่งออกเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 20,864 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 19,013 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,255 ล้านบาท

เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนทางรางจำนวน 7 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ บริเวณแยกแคราย โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงฯ ที่แยกบางเขน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวฯ ที่แยกเกษตรฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาฯ ที่แยกทางต่างระดับศรีรัช โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และสีเหลืองฯ ที่แยกลำสาลี

ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2567 โดยจะเปิดให้บริการในปี 2570

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการก่อสร้างฐานรากตอม่อร่วมกับ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย- ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร-นวมินทร์) จึงต้องรอผลการเจรจากับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อน

โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) สายสีฟ้า ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กม. วงเงิน ลงทุน 27,892 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งมีการจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการ ใหม่ช่วงกลางปี 2564 คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2565 จากนั้น กทม.จะนำเสนอโครงการตามขั้นตอนให้ กระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในปี 2566

โครงการรถไฟฟ้าขนาดรองสายสีทองระยะที่ 1 ช่วงกรุงธนบุรีคลองสาน ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร 3 สถานี 13,520 ล้านบาท ทดลองเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564

โดยมีแผนระยะที่ 2 ก่อสร้างสถานีอีก 1 สถานี บริเวณด้านหลังอนุสรณ์สถานงานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และส่วนต่อ ขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2021 8:21 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:

อัพเดท ความคืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี ส่งท้ายปี 64
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.
ที่ผ่านมาระบบขนส่งทางรางในกรุงเทพอย่าง โครงการรถไฟฟ้าหลายเส้นทางเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กระทรวงคมนาคมวางไว้ จะทำให้ทุกส้นทางสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันได้อย่างเป็นระบบ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างครบครัน
https://www.thansettakij.com/economy/504964

อัพเดตรถไฟฟ้า 11 เส้นทาง 7 ปี 'ประยุทธ์' ทุ่ม 1.5 ล้านล้าน
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 11, 2021 05:29


ลิงก์มาแล้วครับ

อัพเดตรถไฟฟ้า 11 เส้นทาง 7 ปี “ประยุทธ์” ทุ่ม 1.5 ล้านล้าน
การเมือง
วันเสาร์ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น.
https://www.prachachat.net/politics/news-819192
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2021 11:47 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ลิงก์มาแล้วครับ

อัพเดตรถไฟฟ้า 11 เส้นทาง 7 ปี “ประยุทธ์” ทุ่ม 1.5 ล้านล้าน
การเมือง
วันเสาร์ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น.
https://www.prachachat.net/politics/news-819192

เปิดความคืบหน้าแผนพัฒนาระบบรางทั่วประเทศ ชี้ 7 ปีลงทุนแล้ว 1.5 ล้านล.
เดลินิวส์ 12 ธันวาคม 2564 11:05 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

โฆษกรัฐบาล เผยความคืบหน้าระบบรางในเมืองและภูมิภาค ล่าสุดในเมืองเปิดให้บริการรถไฟฟ้าแล้ว 11 สาย 211.94 กิโลเมตร 137 สถานี พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบรางในภูมิภาครวม 6 จังหวัด “บิ๊กตู่” เร่งเดินหน้ายกระดับโลจิสติกส์ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าภาพรวมการเปิดบริการรถไฟฟ้า ว่า หลังจากได้มีการเปิดให้บริการเพิ่มเติมอีก 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) และสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ณ ตอนนี้ มีรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วทั้งหมด 11 สาย รวมระยะทาง 211.94  กิโลเมตร จำนวน 137 สถานี นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กม. วงเงินลงทุน 50,970.63 ล้านบาท ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยภาพรวมก่อสร้างไปแล้ว 81.94% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้ผลักดันให้การลงทุนและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีโครงการด้านการโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 14 สายทาง ระยะทาง 547.65 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 โครงการ (112.20 กม.) อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 โครงการ (37 กม.) อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP อีก 6 โครงการ (93.59 กม.) และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมโครงการ 10 โครงการ (98.68 กม.)

นายธนกร กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังเดินหน้าพัฒนาระบบรางในภูมิภาครวม 6 จังหวัด (81.55 กม.) อาทิ
    โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ .เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี,
    โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง,
    โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์,
    โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.พิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก,
    โครงการระบบขนส่งสาธารณะ หาดใหญ่ จ.สงขลา (Monorail) ช่วงคลองหวะ-สถานีรถตู้,
    โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ขอนแก่น (Light Rail Transit : LRT)  สายสีแดง ช่วงสำราญ-ท่าพระ
โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบการก่อสร้าง

ส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ 473 กม. วงเงินลงทุนรวม 403,957.36 ล้านบาท ได้แก่ กรุงเทพฯ -นครราชสีมา (253 กม.) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (220 กม.) อยู่ระหว่างเตรียมขออนุมัติโครงการ (2565) จำนวน 1 โครงการ คือ นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. วงเงินลงทุน 252,347.59 ล้านบาท

“การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของไทย 7 ปีที่ผ่านมา คือปี 2557- 2563 รัฐบาลได้มีการลงทุนในระบบรางรวม 1,508,648 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้เร่งรัดให้ดำเนินการตามแผนงาน ขณะเดียวกันให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการใหม่ ๆ เพิ่มเติมให้เกิดการเชื่อมต่อทางคมนาคมขนส่งที่ไร้รอยต่อ เพื่อยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อคมนาคมขนส่งทั้งในประเทศและในภูมิภาค ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”


--------


รัฐบาลแจงระบบรางในเมืองเปิดรถไฟฟ้าแล้ว 11 สาย 211.94 กม. 137 สถานี ยกระดับโลจิสติกส์
เผยแพร่: 12 ธ.ค. 2564 09:55 ปรับปรุง: 12 ธ.ค. 2564 09:55 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

โฆษกรัฐบาล เผย ความคืบหน้าระบบรางในเมือง เปิดให้บริการรถไฟฟ้าแล้ว 11 สาย 211.94 กิโลเมตร 137 สถานี “นายก” เร่งเดินหน้ายกระดับโลจิสติกส์เมืองและภูมิภาค เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

วันนี้ (12ธ.ค.) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยความคืบหน้าภาพรวมความสำเร็จการเปิดบริการ รถไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 2 สาย ได้แก่
    รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) และ
    สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)

ซึ่งเริ่มเปิดให้ทดลองใช้บริการเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

ณ ตอนนี้ มีรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วทั้งหมด 11 สาย รวมระยะทาง 211.94 กิโลเมตร จำนวน137 สถานี นอกจากนี้ ยังมี
    โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กม. วงเงินลงทุน 50,970.63 ลบ. ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยภาพรวมก่อสร้างไปแล้ว 81.94% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565


ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผลักดันให้การลงทุนและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการคมนาคมขนส่งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ
โดยมีโครงการด้านการโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 14 สายทาง ระยะทาง 547.65 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 โครงการ (112.20 กม.) อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 โครงการ (37 กม.) อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP 6 โครงการ (93.59 กม.) อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมโครงการ 10 โครงการ (98.68 กม.)

นายธนกร กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังเดินหน้าพัฒนาระบบรางในภูมิภาครวม 6 จังหวัด (81.55 กม.) อาทิ โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ .เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี /โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง /โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ /โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.พิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก โครงการระบบขนส่งสาธารณะ หาดใหญ่ จ.สงขลา (Monorail) ช่วงคลองหวะ-สถานีรถตู้ โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ขอนแก่น (Light Rail Transit : LRT) สายสีแดง ช่วงสำราญ-ท่าพระ โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบการก่อสร้าง และอยู่ระหว่างดำเนินการ PPP

ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ 473 กม. วงเงินลงทุนรวม 403,957.36 ล้านบาท ได้แก่
    กรุงเทพฯ -นครราชสีมา (253 กม.) และ
    รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (220 กม.)
    อยู่ระหว่างเตรียมขออนุมัติโครงการ (2565) จำนวน 1 โครงการ 355 กม.วงเงินลงทุน 252,347.59 ล้านบาท นครราชสีมา-หนองคาย (355กม.)

“การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของไทยโดยเฉพาะระบบรางเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของท่านนายกฯ ที่สอดคล้องแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2560-2579) โดย 7 ปีที่ผ่านมาพ.ศ.2557- 2563 รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการลงทุนในระบบรางรวม 1,508,648 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้เร่งรัดให้ดำเนินการตามแผนงาน ขณะเดียวกันให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการใหม่ๆเพิ่มเติมให้เกิดการเชื่อมต่อทางคมนาคมขนส่งที่ไร้รอยต่อ เพื่อยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อคมนาคมขนส่งทั้งในประเทศและในภูมิภาค ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นายธนกร กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2021 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯเร่งยกระดับโลจิสติกส์ ‘รถไฟฟ้า’เปิดบริการแล้ว 11 สาย พัฒนาระบบราง 6 จังหวัด
วันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.35 น.

โฆษกรัฐบาลเผยความคืบหน้าระบบรางในเมือง เปิดให้บริการรถไฟฟ้าแล้ว 11 สาย 211.94 กิโลเมตร 137 สถานี “นายกฯ” เร่งเดินหน้ายกระดับโลจิสติกส์เมืองและภูมิภาค เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

12 ธันวาคม 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าภาพรวมความสำเร็จการเปิดบริการรถไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) และสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ซึ่งเริ่มเปิดให้ทดลองใช้บริการเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ตอนนี้ มีรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วทั้งหมด 11 สาย รวมระยะทาง 211.94 กิโลเมตร จำนวน137 สถานี


นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กม. วงเงินลงทุน 50,970.63 ลบ. ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยภาพรวมก่อสร้างไปแล้ว 81.94% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565



ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผลักดันให้การลงทุนและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการคมนาคมขนส่งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ โดยมีโครงการด้านการโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 14 สายทาง ระยะทาง 547.65 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 โครงการ (112.20 กม.) อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 โครงการ (37 กม.) อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP 6 โครงการ (93.59 กม.) อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมโครงการ 10 โครงการ (98.68 กม.)

นายธนกร กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังเดินหน้าพัฒนาระบบรางในภูมิภาครวม 6 จังหวัด (81.55 กม.) อาทิ โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ .เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี /โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง /โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ /โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.พิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก

โครงการระบบขนส่งสาธารณะ หาดใหญ่ จ.สงขลา (Monorail) ช่วงคลองหวะ-สถานีรถตู้ โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ขอนแก่น (Light Rail Transit : LRT) สายสีแดง ช่วงสำราญ-ท่าพระ โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบการก่อสร้าง และอยู่ระหว่างดำเนินการ PPP ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ 473 กม. วงเงินลงทุนรวม 403,957.36 ล้านบาท ได้แก่ กรุงเทพฯ -นครราชสีมา (253 กม.) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (220 กม.) อยู่ระหว่างเตรียมขออนุมัติโครงการ (2565) จำนวน 1 โครงการ 355 กม.วงเงินลงทุน 252,347.59 ล้านบาท นครราชสีมา-หนองคาย (355กม.)

“การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของไทยโดยเฉพาะระบบรางเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของท่านนายกฯ ที่สอดคล้องแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2560-2579) โดย 7 ปีที่ผ่านมาพ.ศ.2557- 2563 รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ได้มีการลงทุนในระบบรางรวม 1,508,648 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้เร่งรัดให้ดำเนินการตามแผนงาน ขณะเดียวกันให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการใหม่ๆเพิ่มเติมให้เกิดการเชื่อมต่อทางคมนาคมขนส่งที่ไร้รอยต่อ เพื่อยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อคมนาคมขนส่งทั้งในประเทศและในภูมิภาค ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นายธนกร กล่าว


‘บิ๊กตู่’เร่งรถไฟฟ้า ปีหน้าเปิดวิ่ง 2 สาย/ลุยโครงข่ายตจว.
หน้าโลกธุรกิจ
วันจันทร์ ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยความคืบหน้าภาพรวมความสำเร็จการเปิดบริการ รถไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) และสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ซึ่งเริ่มเปิดให้ทดลองใช้บริการเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ ณ ตอนนี้ มีรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วทั้งหมด 11 สาย รวมระยะทาง211.94 กิโลเมตร จำนวน 137 สถานี

นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กม. วงเงินลงทุน 50,970.63 ลบ. ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยภาพรวมก่อสร้างไปแล้ว 81.94% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปีหน้า


ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผลักดันให้การลงทุนและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการคมนาคมขนส่งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ โดยมีโครงการด้านการโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 14 สายทาง ระยะทาง 547.65 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 โครงการ (112.20 กม.) อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 โครงการ (37 กม.) อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP 6 โครงการ (93.59 กม.) อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมโครงการ 10 โครงการ (98.68 กม.)



นายธนกรกล่าวว่า รัฐบาลยังเดินหน้าพัฒนาระบบรางในภูมิภาครวม 6 จังหวัด (81.55 กม.) อาทิ โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี/โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง /โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.พิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก โครงการระบบขนส่งสาธารณะหาดใหญ่ จ.สงขลา (Monorail) ช่วงคลองหวะ-สถานีรถตู้ โครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ขอนแก่น (Light Rail Transit : LRT) สายสีแดงช่วงสำราญ-ท่าพระ โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบการก่อสร้าง และอยู่ระหว่างดำเนินการ PPP

ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ 473 กม. วงเงินลงทุนรวม 403,957.36 ล้านบาท ได้แก่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา (253 กม.) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (220 กม.) อยู่ระหว่างเตรียมขออนุมัติโครงการ (2565) จำนวน 1 โครงการ355 กม.วงเงินลงทุน 252,347.59 ล้านบาทนครราชสีมา-หนองคาย (355กม.) โดย 7 ปีที่ผ่านมา พ.ศ.2557-2563 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ได้มีการลงทุนในระบบรางรวม 1,508,648 ล้านบาท เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อคมนาคมขนส่งทั้งในประเทศและในภูมิภาค

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สาย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล “สายสีเหลือง” (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. และโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล “สายสีชมพู” (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. คาดว่าจะเปิดให้บริการในปีหน้า

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. มีการเปิดวิ่งทดสอบระบบครั้งแรก ของรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู จากศูนย์ซ่อมบำรุงมีนบุรี (Depot) ถึงสถานีบางชันแล้ว



Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ลิงก์มาแล้วครับ

อัพเดตรถไฟฟ้า 11 เส้นทาง 7 ปี “ประยุทธ์” ทุ่ม 1.5 ล้านล้าน
การเมือง
วันเสาร์ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น.
https://www.prachachat.net/politics/news-819192

เปิดความคืบหน้าแผนพัฒนาระบบรางทั่วประเทศ ชี้ 7 ปีลงทุนแล้ว 1.5 ล้านล.
เดลินิวส์ 12 ธันวาคม 2564 11:05 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

--------


รัฐบาลแจงระบบรางในเมืองเปิดรถไฟฟ้าแล้ว 11 สาย 211.94 กม. 137 สถานี ยกระดับโลจิสติกส์
เผยแพร่: 12 ธ.ค. 2564 09:55 ปรับปรุง: 12 ธ.ค. 2564 09:55 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2021 1:04 am    Post subject: Reply with quote

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามการดำเนินงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง
วันที่ 12 ธันวาคม 2564 นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการตรวจสอบ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วย นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ ศูนย์ซ่อมบำรุง และสถานีแยกลำสาลี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ณ สถานีแยกลำสาลี และสถานีกลันตัน โดยมี กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ผู้รับสัมปทาน/ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ร่วมให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปภาพรวมการดำเนินงานโครงการฯ โดยปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีความก้าวหน้างานโยธา 88.46% โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีความก้าวหน้างานโยธา 89.51% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 84.91% และความก้าวหน้าโดยรวม 87.52% (ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564)
ในการนี้ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ได้ตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการรถไฟฟ้าทั้งสองสาย พบว่า เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน EIA และได้กำชับให้ดำเนินการตามมาตรการฯในระหว่างการก่อสร้าง การลดฝุ่น PM2.5 การระบายน้ำ การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ รฟม. ได้กำกับให้ผู้รับสัมปทาน/ผู้รับจ้างฯ ดำเนินการตามมาตรการฯ อย่างเข้มงวด โดยจัดรถดูดฝุ่นล้างพื้นถนนบริเวณแนวก่อสร้างอยู่เสมอ ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร/รถบรรทุกที่ใช้ในงานก่อสร้างไม่ให้มีควันดำ/ควันขาว ห้ามไม่ให้ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้หากไม่มีการปฏิบัติงาน ปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างให้มิดชิด ตลอดจนพิจารณาคืนผิวจราจรให้มากที่สุด โดยประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการเพิ่มความคล่องตัวของการจัดจราจร เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรติดขัด อันเป็นสาเหตุหลักของการสะสมปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องปล่อยละอองน้ำระบบ High Pressure เพื่อกำจัดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้าง ช่วยบรรเทามลพิษทางอากาศเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
ทั้งนี้ รฟม. จะเร่งรัดงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่แก่ประชาชนได้โดยเร็วที่สุด อันจะเป็นการบรรเทามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างยั่งยืน
Cr: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4701495506564024
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 242, 243, 244 ... 277, 278, 279  Next
Page 243 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©