RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180010
ทั้งหมด:13491242
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 30, 31, 32  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2021 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดเบื้องต้น รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ
เชื่อมสู่กลางเมือง เพียง 30 นาทีสู่ทองหล่อ!!! พร้อมเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 5 สาย!!!

30 พฤศจิกายน 2564 เวลา 19:12 น.
เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนทื่ผ่านมา มีการเปิดรับฟังความ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) ซึ่งเป็นการนำเอาโครงการเดิมที่เคยศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) เมื่อนานมาแล้ว ตาม M-Map ซึ่งสายนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กทม.
จึงมีการกลับมา Update ผลการศึกษา และความคุ้มค่าของโครงการ รวมถึงการทำ EIA ของโครงการอีกครั้งหนึ่ง


คลิปประชาสัมพันธ์โครงการ
https://www.youtube.com/watch?v=X9wUjBITUPA
https://www.youtube.com/watch?v=XHs0MogNzgs
—————————
รายละเอียดโครงการ
เดิมรถไฟฟ้าสายสีเทา เป็นเส้นทางที่แบ่งโครงการเป็น 2 ช่วงคือ
- วัชรพล - ทองหล่อ
- พระโขนง - ท่าพระ
ซึ่งจะมีการแบ่งก่อสร้างเป็นเฟสๆ ซึ่งเฟส 1 คือ ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ ที่ผมจะรายละเอียดมาเล่าให้วันนี้….
- แนวเส้นทาง ระยะทางรวม 16.3 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้นโครงการ ที่สถานีวัชรพล ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณ สามเหลี่ยมทางยกระดับ มุ่งหน้าไปทางด่วนรามอินทรา - อาจณรงค์ ใกล้กับตลาดเลียบด่วน
ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีวัชรพล เช่นกัน
จากนั้นรถไฟฟ้าจะข้ามทางด่วนมาก่อสร้างอยู่ฝั่งขาออกของถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ยาวไปจนตัดกับถนนเกษตร-นวมินทร์ จะมีสถานีคลองลำเจียก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ของ รฟม. สถานีต่างระดับฉลองรัช
มุ่งหน้าต่อไปบนถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ไปจนถึงถนนลาดพร้าว จะเป็นสถานีฉลองรัช ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว 71
จากนั้นก็มุ่งหน้าต่อมาบนถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ไปจนตัดกับถนนพระราม 9 เป็นสถานีพระราม 9 ซึ่งจะตัดกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีวัดพระราม 9
แล้วก็มุ่งหน้าต่อ จนไปตัดกับถนนเพชรบุรี แล้วเลี้ยวขวา และเลี้ยวซ้ายบนถนนสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) จากนั้นก็มุ่งหน้าตรงมาจนสิ้นสุดโครงการที่ สถานีทองหล่อ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) สถานีทองหล่อ
- รูปแบบสถานี
สถานีแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ
1. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) เสากลาง มี 3 ชั้น ช่วงวิ่งบนคู่ขนานถนนประดิษฐ์มนูญธรรม 10 สถานี
2. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) เสาคร่อมถนน มี 4 ชั้น ช่วงคร่อมถนนเพชรบุรี
3. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) เสาคร่อมถนน มี 3 ชั้น ช่วงคร่อมถนนสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ)
4. ชานชาลากลาง (Central Platform) เสาคร่อม มี 3 ชั้น ที่สถานีต้นทางและปลายทาง
- สถานีในโครงการ ทั้งหมด 15 สถานี
1. วัชรพล - interchange กะ สายสีชมพู
2. นวลจันทร์
3. เกษตรนวมินทร์
4. คลองลำเจียก - interchange กับสายสีน้ำตาล
5. โยธินพัฒนา
6. ลาดพร้าว 87
7. สังคมสงเคราะห์
8. ฉลองรัช - interchange กะ สายสีเหลือง
9. ศรีวรา
10. ประชาอุทิศ
11. พระราม 9 - interchange กะ สายสีส้ม
12. เพชรบุรี-ทองหล่อ - จริงๆ เชือมกะสถานีคลองตันได้ ถ้ามีการสร้างสถานีสายสีแดงที่คลองตัน
13. แจ่มจันทร์
14. ทองหล่อ 10
15. ทองหล่อ - interchange กะ สายสีเขียว
—————————
รูปแบบรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการ
ในรายละเอียดเบื้องต้นออกแบบให้เป็น Monorail เพื่อความคล่องตัว และลดปัญหาระหว่างก่อสร้าง
แต่ในรายละเอียดยังไม่ได้เลือกขนาดของรูปแบบ Monorail ชัดเจน เนื่องจากต้องดูปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในอนาคตก่อน
ซึ่งตอนนี้ยังเป็นขนาด 8,000 - 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง (คาดว่าน่าจะเป็น Heavy Monorail แบบ สายสีชมพู และเหลือง)
ทางวิ่งก็จะออกมาในรูปแบบทางวิ่งคอนกรีต (Guide way beam) เหมือนกับรถไฟฟ้า Monorail สายสีชมพู และเหลือง ที่กำลังสร้างอยู่ ซึ่งใช้เวลาสร้างเร็วมากกกก (ไม่รวมเวลาเข้าพื้นที่ไม่ได้นะ)
ออกแบบความเร็วให้บริการสูงสุด 80 กิโลเมตร ซึ่งความเร็วในการให้บริการเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ซึ่งจากความเร็วเฉลี่ย จะใช้เวลาในการให้บริการ ไป-กลับ ครบ 1 รอบ 61 นาที หรือ เดินทางจากต้นทาง-ปลายทาง แค่ 30 นาที!!!
ลองคิดดูว่า จากรามอินทรา-ทองหล่อ แค่ 30 นาที!!! ปัจจุบัน ชั่วโมงจะพ้นพระราม 9 รึยัง….
—————————
ประเด็นข้อกังวลในเส้นทาง
- จุดตัดกับทางด่วนขั้นที่ 3 (N3) ซึ่งจะตัดกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลด้วยเช่นกัน
ในโครงการให้ข้อมูลว่าทำการขออนุญาต การทางพิเศษในการใช้พื้นที่ก่อสร้างที่จะทับซ้อนกับต่างระดับฉลองรัชแล้ว
*** แต่จากภาพผมไม่โอเคกับการทำสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและเทา แยกกันห่างกันเป็นร้อยเมตรเลย มันควรจะอยู่ข้างกัน หรือซ้อทับกันไปเลย!!!
- เสารถไฟฟ้าต้องไม่กีดขวางทางเท้า ต้องมีทางเท้าอย่างน้อย 1.5 เมตร!!!
- การจัดจราจรระหว่างก่อสร้าง บนถนน เพชรบุรี และทองหล่อ จะมีใช้เลนกลางในการก่อสร้างถ้าจำเป็น
—————————
ส่วนที่สำคัญที่สุด แล้วจะคุ้มค่ามั้ย??? เอาเงินจากไหนมาลงทุน???
ในโครงการชี้เป้าไปเลยว่าเป็นโครงการร่วมทุน (PPP) แน่นอน แต่ยังไม่สรุปว่าจะเป็นการร่วมทุนแบบไหน เช่น
- PPP Net Cost (แบบ BTS/สายสีน้ำเงิน)
- PPP Gross Cost (แบบสายสีม่วง)
- PPP Modified Gross Cost
มีเรื่องประเด็นความเป็นเจ้าของ ระหว่าง BTO (แบบสายสีน้ำเงิน) หรือ BOT (แบบ BTS)
ซึ่งสุดท้ายเราก็ต้องมาดูว่าแบบไหนรัฐบาลและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ในจุดที่เอกชนยอมรับได้ในการลงทุน
—————————
ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากในเว็บไซด์โครงการ
https://www.greyline-ppp.com
คลิปประชุม ประชาสัมพันธ์โครงการครั้งที่ 1
https://www.youtube.com/watch?v=XHs0MogNzgs
—————————
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2021 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

มาแล้ววว LRTรถไฟฟ้าสายใหม่”บางนา-สุวรรณภูมิ”
*กทม.จัดฟังเสียงเอกชนชวนร่วมทุน PPP วันนี้
*19.7กม.14สถานียกระดับ(ลอยฟ้า)ตลอดเส้น
*เชื่อมโยงการเดินทางกรุงเทพ-สมุทรปราการ
*เพิ่มทางเลือกไวๆ”บางนา-ตราดเข้าสนามบิน”
*แพลนให้บริการปีแรก 72ผู้โดยสาร 5.6หมื่น
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069199946634836

ลงรายละเอียดLRT"บางนา-สุวรรณภูมิ"1.3 แสนล้าน
*กทม.เร่งสรุปผลศึกษาชงครม.ปี66เริ่มสร้าง67
*เปิดบริการเฟสแรกปี 72วิ่งฉิว19.7กม.ใน 1ชม.
*สกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว&เหลือง
*ค่าโดยสารสตาร์ทที่17.5บาทสูงสุด45-48บาท
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069372529950911
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2021 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
มาแล้ววว LRTรถไฟฟ้าสายใหม่”บางนา-สุวรรณภูมิ”
*กทม.จัดฟังเสียงเอกชนชวนร่วมทุน PPP วันนี้
*19.7กม.14สถานียกระดับ(ลอยฟ้า)ตลอดเส้น
*เชื่อมโยงการเดินทางกรุงเทพ-สมุทรปราการ
*เพิ่มทางเลือกไวๆ”บางนา-ตราดเข้าสนามบิน”
*แพลนให้บริการปีแรก 72ผู้โดยสาร 5.6หมื่น
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069199946634836

ลงรายละเอียดLRT"บางนา-สุวรรณภูมิ"1.3 แสนล้าน
*กทม.เร่งสรุปผลศึกษาชงครม.ปี66เริ่มสร้าง67
*เปิดบริการเฟสแรกปี 72วิ่งฉิว19.7กม.ใน 1ชม.
*สกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว&เหลือง
*ค่าโดยสารสตาร์ทที่17.5บาทสูงสุด45-48บาท
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069372529950911

กทม. เร่งสรุป “LRT บางนา-สุวรรณภูมิ” 2.7 หมื่นล้าน ชงประมูล-สร้างปี66
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 ธันวาคม 2564 - 15:20 น.

กทม. เร่งสรุป “LRT บางนา-สุวรรณภูมิ” วงเงิน 27,892 ล้านบาท ชงประมูล-สร้างปี 66

Click on the image for full size

วันที่ 16 ธ.ค. 2564 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาและทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding Seminar) โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 27,892 ล้านบาท

เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการ ด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การเงินการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการลงทุนและความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปประกอบการศึกษาและจัดทำโครงการ ให้มีความเหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากนักลงทุนภาคเอกชน สถาบันทางการเงิน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการสัมมนา

ในการสัมมนาครั้งนี้ ที่ปรึกษาฯ ได้นำเสนอผลการศึกษาข้อมูลโครงการและรูปแบบการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

โครงการระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 14 สถานี เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และจ.สมุทรปราการ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร และระยะที่ 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ จำนวน 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร

โดยรูปแบบของสถานีแบ่งการออกแบบเป็น 3 ประเภท ดังนี้
    ประเภท A สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาเดี่ยว มีจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีประภามนตรี สถานีบางนา-ตราด 7 สถานีศรีเอี่ยม สถานีบางนา-ตราด 6 สถานีบางแก้ว สถานีบางสลุด สถานีกิ่งแก้ว สถานีมหาวิทยาลัยเกริก สถานีสุวรรณภูมิใต้

    ประเภท B สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาคู่ จะก่อสร้างในกรณีที่ไม่สามารถวางตำแหน่งเสาเดี่ยวได้ โครงการจำเป็นต้องออกแบบสถานีให้รองรับด้วยโครงสร้างเสาคู่ มีจำนวน
    4 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา-ตราด 25 สถานีเปรมฤทัย สถานีกาญจนาภิเษก สถานีธนาซิตี้

    ประเภท C สถานีระดับดิน จะออกแบบตามข้อจำกัดด้านกายภาพของพื้นที่ โดยชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ระดับดิน สามารถเดินเชื่อมกับสถานีบางนาของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ด้วยสะพานลอยยกระดับ (Skywalk) มีจำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา
สำหรับรูปแบบของการพัฒนาโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป – กลับ 1 ชั่วโมง, 1 ขบวนสูงสุด มี 4 ตู้ สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000 – 30,000 คน/ชั่วโมง

โดยคาดว่าเมื่อเปิดให้บริการในปี 2572 จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการประมาณ 56,170 คน-เที่ยว/วัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 113,979 คน-เที่ยว/วัน และในปี 2578 กรณีบมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 138,984 คน-เที่ยว/วัน

ทั้งนี้ โครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
    1.PPP Net Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด โดยเอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินการและบำรุงรักษา เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับโครงการ โดยรัฐให้สิทธิ์แก่เอกชนเป็นผู้รับรายได้และเอกชนจ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งของรายได้แก่รัฐ

    2.PPP Gross Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด โดยเอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินการและบำรุงรักษา เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นที่จำเป็น ส่วนรัฐเป็นผู้รับรายได้ผ่านเอกชนและเป็นผู้กำหนดจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้าง ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

    3.PPP Modified Gross Cost ในช่วงลงทุนก่อสร้าง รัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้เอกชนก่อสร้างงานโยธาของโครงการทั้งหมด เอกชนเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ ส่วนช่วงดำเนินงานและบำรุงรักษา เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ และการลงทุนอื่นที่จำเป็น รัฐเป็นผู้รับรายได้ผ่านเอกชนและกำหนดจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้าง ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาณร่วมลงทุนและได้รับผลตอบแทนพิเศษเพื่อเติมภายใต้กลไกการแบ่งผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้ตกลงกัน

สรุปผลต้นปี 65 ประมูลปี 67

ปัจจุบันโครงการมีความพร้อมในการดำเนินการสูงโดยกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะสามารถสรุปผลการศึกษารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมได้ ภายในต้นปี 2565 พร้อมเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการภายในปี 2566 คาดว่าจะสามารถเปิดให้ภาคเอกชนยื่นข้อเสนอประมูลได้ ในช่วงปี 2567 ใช้เวลาเวนคืนที่ดินและก่อสร้าง ทั้งสิ้นประมาณ 4 ปี ระหว่าง ปี 2568 – 2571 คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2572

ทั้งนี้ โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะช่วยอำนวยความสะดวก พร้อมเติมเต็มโครงข่ายการเดินทางระบบรางให้มีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ที่สถานีบางนา และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงพัฒนาการ – สำโรง ที่สถานีศรีเอี่ยม และเชื่อมต่อ เพื่อเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ที่สถานีสุวรรณภูมิใต้

โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-สุวรรณภูมิเป็นโครงการที่เข้ามาแก้ไขปัญหาบริเวณ แยกบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2021 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
มาแล้ววว LRTรถไฟฟ้าสายใหม่”บางนา-สุวรรณภูมิ”
*กทม.จัดฟังเสียงเอกชนชวนร่วมทุน PPP วันนี้
*19.7กม.14สถานียกระดับ(ลอยฟ้า)ตลอดเส้น
*เชื่อมโยงการเดินทางกรุงเทพ-สมุทรปราการ
*เพิ่มทางเลือกไวๆ”บางนา-ตราดเข้าสนามบิน”
*แพลนให้บริการปีแรก 72ผู้โดยสาร 5.6หมื่น
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069199946634836

ลงรายละเอียดLRT"บางนา-สุวรรณภูมิ"1.3 แสนล้าน
*กทม.เร่งสรุปผลศึกษาชงครม.ปี66เริ่มสร้าง67
*เปิดบริการเฟสแรกปี 72วิ่งฉิว19.7กม.ใน 1ชม.
*สกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว&เหลือง
*ค่าโดยสารสตาร์ทที่17.5บาทสูงสุด45-48บาท
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069372529950911

กทม. เร่งสรุป “LRT บางนา-สุวรรณภูมิ” 2.7 หมื่นล้าน ชงประมูล-สร้างปี66
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 ธันวาคม 2564 - 15:20 น.

กทม. เร่งสรุป “LRT บางนา-สุวรรณภูมิ” วงเงิน 27,892 ล้านบาท ชงประมูล-สร้างปี 66

Click on the image for full size

วันที่ 16 ธ.ค. 2564 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาและทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding Seminar) โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 27,892 ล้านบาท


งานนี้รถไฟฟ้า LRT สายสุวรรณภูมิ ได้เลือกใช้สีเงินเสียด้วย
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/472460427574370
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2021 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
มาแล้ววว LRTรถไฟฟ้าสายใหม่”บางนา-สุวรรณภูมิ”
*กทม.จัดฟังเสียงเอกชนชวนร่วมทุน PPP วันนี้
*19.7กม.14สถานียกระดับ(ลอยฟ้า)ตลอดเส้น
*เชื่อมโยงการเดินทางกรุงเทพ-สมุทรปราการ
*เพิ่มทางเลือกไวๆ”บางนา-ตราดเข้าสนามบิน”
*แพลนให้บริการปีแรก 72ผู้โดยสาร 5.6หมื่น
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069199946634836

ลงรายละเอียดLRT"บางนา-สุวรรณภูมิ"1.3 แสนล้าน
*กทม.เร่งสรุปผลศึกษาชงครม.ปี66เริ่มสร้าง67
*เปิดบริการเฟสแรกปี 72วิ่งฉิว19.7กม.ใน 1ชม.
*สกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว&เหลือง
*ค่าโดยสารสตาร์ทที่17.5บาทสูงสุด45-48บาท
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069372529950911

Market Sounding โครงการรถไฟฟ้า สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ l สำนักการจราจรและขนส่ง l 15 ธ.ค. 64
Dec 16, 2021
Daoreuk Channel

วีดิทัศน์ประกอบงาน Market Sounding โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วันที่ 15 ธันวาคม 2564

โดย กระทรวงคมนาคม


https://www.youtube.com/watch?v=v7-rHbSIeEY

รถไฟฟ้า'บางนา-สุวรรณภูมิ'ได้ใช้ปี72เก็บ17.5-48บาท
Source - เดลินิวส์
Friday, December 17, 2021 04:58

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร(กทม.) จัดประชุมสัมมนาและทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายสาธิต มาลัยธรรม ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า โครงการระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุนประมาณ 1.3 แสนล้านบาท มี 14 สถานีเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ

แบ่งเป็น 2 ระยะ (เฟส) เฟส 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. และเฟส 2 ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี 5.1 กม. เป็นยกระดับทั้งหมด จะสรุปผลการศึกษาฯเดือน ก.พ. 65 เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในปี 66 เปิดประมูลปี 67ได้ผู้รับจ้างปี 68 ก่อสร้าง 4 ปี (ปี 68-71) เปิดบริการเฟส 1 ปี 72

นายสาธิต กล่าวต่อว่า รูปแบบโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเบาขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็ว 80 กม./ชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชม., 1 ขบวนสูงสุด มี 4 ตู้ รองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชม. คาดว่าเมื่อเปิดบริการปี 72 จะมีผู้โดยสาร 56,170 คน-เที่ยว/วัน และปี 76 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 113,979 คน-เที่ยว/วัน และปี 78 หากบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดบริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 138,984 คน-เที่ยว/วัน

นายสาธิต กล่าวอีกว่าส่วนอัตราค่าโดยสารนั้น ใช้หลักเกณฑ์คิดตามระยะทางเหมือนรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ โดยค่าแรกเข้าอยู่ที่ 14.5 บาท และคิดตามระยะทาง 2.4 บาทต่อกม. เก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ทั้งนี้เป็นราคาที่คิดในปัจจุบันแต่รถไฟฟ้าเปิดให้บริการปี 72 จึงทำให้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ 2.5% โดยค่าแรกเข้าจะอยู่ที่ 17.5 บาท และค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 45-48 บาท อย่างไรก็ตามคาดการณ์ตลอด 50 ปี รถไฟฟ้า LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะมีผู้โดยสาร 4.7 พันล้านคน-เที่ยว/วัน และมีรายได้จาก ผู้โดยสารประมาณ 3.76 แสนล้านบาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 ธ.ค. 2564


ต้อนรับLRT'บางนา-สุวรรณภูมิ'รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายแรก
Source - เดลินิวส์
Sunday, December 19, 2021 05:02
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

ยินดีต้อนรับรถไฟฟ้าสายใหม่ล่าสุด เมื่อกรุงเทพมหานคร(กทม.) จัดประชุมสัมมนาและทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค

โดยนำเสนอข้อมูลโครงการ ด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การเงินการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการลงทุน และความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนของรัฐ และเอกชน (PPP) พร้อมรับฟังความคิดเห็น จากทุกภาคส่วนเพื่อนำไปประกอบการศึกษา และจัดทำโครงการให้เหมาะสม ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ

นายสาธิต มาลัยธรรม ที่ปรึกษาโครงการฯ บอกว่า โครงการระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุนประมาณ 1.3 แสนล้านบาท มี 14 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ (เฟส) ประกอบด้วย เฟสที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. และเฟสที่ 2 ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กม.

จะสรุปผลการศึกษาฯ แล้วเสร็จประมาณเดือน ก.พ. 65 จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในปี 66 เปิดประมูลปี 67 ได้ผู้รับจ้างปี 68 ก่อสร้าง 4 ปี (ปี 68-71) เปิดบริการเฟสที่ 1 ปี 72

รูปแบบโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเบายกระดับตลอดเส้นทาง ขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็ว 80 กม./ชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชม., 1 ขบวนสูงสุด มี 4 ตู้ รองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชม. คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการในปี 72 จะมีประชาชนใช้บริการ 56,170 คน-เที่ยว/วัน และปี 76 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 113,979 คน-เที่ยว/วัน และในปี 78 หากบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 138,984 คน-เที่ยว/วัน 2576 และจะเพิ่มเป็น 3.95 แสนคน-เที่ยวต่อวันในปี 2611 และสูงขึ้นเป็น 4.98 แสนคน-เที่ยวต่อวันในปี 2621

ส่วนอัตราค่าโดยสารใช้หลักเกณฑ์การคิดตามระยะทางเหมือนกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ โดยค่าแรกเข้าอยู่ที่ 14.5 บาท และคิดตามระยะทาง 2.4 บาทต่อกม. เก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 42 บาท แต่เป็นราคาที่คิดในปัจจุบัน เมื่อรถไฟฟ้าเปิดบริการปี 72 จึงทำให้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ 2.5% โดยค่าแรกเข้าจะอยู่ที่ 17.5 บาท และค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 45-48 บาท

คาดการณ์ตลอด 50 ปีรถไฟฟ้า LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะมีผู้โดยสาร 4.7 พันล้านคน-เที่ยว/วัน และมีรายได้จากผู้โดยสารประมาณ 3.76 แสนล้านบาท

นายสาธิต บอกด้วยว่า รถไฟฟ้า LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางให้ประชาชน พร้อมเติมเต็มโครงข่ายการเดินทางระบบรางให้สมบูรณ์ และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีบางนา และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงพัฒนาการ-สำโรง ที่สถานีศรีเอี่ยม รวมทั้งเชื่อมสู่เข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ที่สถานีสุวรรณภูมิใต้ ในการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว และสายสีเหลือง จะจัดทำสะพานลอยยกระดับ (Skywalk) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารด้วย

สำหรับแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณสี่แยกบางนา จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออกตามทางคู่ขนานถนนบางนา-ตราด ผ่านทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม เข้าสู่เขต จ.สมุทรปราการ ผ่านทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก ทางแยกต่างระดับกิ่งแก้ว และบริเวณด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ ที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามถนนสุวรรณภูมิ 3 มาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้

แนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เบื้องต้นมี 3 รูปแบบ ได้แก่
1. รูปแบบ PPP Net Cost รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนซื้อรถไฟฟ้า และก่อสร้างงานระบบ โดยรัฐให้สิทธิเอกชนเป็นผู้รับรายได้ และเอกชนจ่ายค่าสัมปทาน หรือส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ
2.รูปแบบ PPP Gross Cost รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนซื้อรถไฟฟ้า และก่อสร้างงานระบบ รัฐรับรายได้ผ่านเอกชน และจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้างตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

และ 3.รูปแบบ PPP Modified Gross Cost รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนซื้อรถไฟฟ้า และก่อสร้างงานระบบ รัฐรับรายได้ผ่านเอกชน และจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้างตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน และได้รับผลตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมภายใต้กลไกการแบ่งผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้ตกลงกัน

ถ้าทำได้ตามไทม์ไลน์ คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าน้องใหม่เฟสแรกจากแยกบางนา-ธนาซิตี้ ปี 72 จดบันทึกเป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายแรกของไทย จากปัจจุบันที่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสและเอ็มอาร์ทีเป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง&ชมพูเป็นโมโนเรลสายแรก (ขนาดเบาแต่ใช้รางเดี่ยว).

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2564 (กรอบบ่าย)


Last edited by Mongwin on 21/12/2021 8:23 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2021 9:04 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้น เลิก-ไม่เลิก'บีอาร์ที' 11 ปีมีแต่ขาดทุน เชียร์สร้างรถไฟฟ้า 'พระราม3-ท่าพระ'
Source - มติชน
Monday, December 20, 2021 08:07
ประเสริฐ จารึก

เมื่อโครงการไปต่อไม่ไหวคงต้องถึงเวลาปิดฉาก สำหรับ "รถโดยสารด่วนพิเศษ" หรือ BRT สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร สายแรกของประเทศไทย ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท

ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์หาเสียงของ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ที่จุดประกายขึ้นเมื่อปี 2548 ตามแผนเริ่มก่อสร้างในปี 2550 และเปิดใช้บริการในปี 2551-2552

แต่ไม่ราบรื่นอย่างที่คิด แม้โครงการจะสร้างเสร็จ ยังต้องฝ่าด่านความไม่โปร่งใสในการซื้อรถที่แพง กว่าจะเคลียร์ลงตัวและเปิดบริการเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2553 ก็หืดขึ้นคอ

เปิดปูมทำไม'กทม.'ถึงต้องถอดใจ

หลังเปิดบริการไปแล้วยังคงมีปัญหาไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะเมื่อโครงการ "ไม่ด่วนสมชื่อ" จากกายภาพถนนไม่เอื้อต่อการเดินรถ ถึงแม้กันเลนพิเศษไว้ให้ BRT วิ่งโดยเฉพาะ ยังต้องหยุดรอสัญญาณไฟการจราจรเหมือนเช่นรถปกติทั่วไป ขณะเดียวกันยังมีรถชนิดอื่นเข้ามาวิ่งในเลนอย่างที่ไม่สามารถเลี่ยงได้

ขณะที่ผลการดำเนินงานเรียกได้ว่าหลุดเป้าทั้งผู้โดยสารและรายได้ ทำให้ "ผู้บริหาร กทม." ยุคคุณชายหมู "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ที่มารับไม้ต่อจาก "อภิรักษ์" มีมติจะยกเลิกโครงการหลังสิ้นสุดสัญญาจ้างกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC ในเดือนเมษายน 2560

โดย "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" ระบุว่า สาเหตุที่ยกเลิกเนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อย ไม่เป็นไปตามประมาณการที่วางไว้ทำให้โครงการขาดทุน แนวโน้มจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 3 ช่วงพระราม 3-ท่าพระ ระยะทาง 11.5. กิโลเมตร ที่จะสร้างในอนาคต แต่ระหว่างนี้จะนำระบบอื่นมาวิ่งทดแทนไปก่อน ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษา

"ต้องเปลี่ยนเป็นระบบรางถึงจะดึงคนใช้บริการได้เพิ่มขึ้น เพราะจุคนได้มากกว่าและไม่เสียเลนถนน"
ต่อมาในปี 2560 หลัง "บิ๊กวิน" พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ขึ้นเป็นพ่อเมืองเสาชิงช้าแทน "คุณชายหมู" ออกมาย้ำอีกครั้ง กทม.จะยุติโครงการหลังบริหารมา 6 ปี ตั้งแต่เปิดในปี 2553 ขาดทุนร่วม 1,000 ล้านบาท เนื่องจากผู้โดยสารไม่เป็นตามเป้า 30,000 เที่ยวคนต่อวัน มีคนใช้บริการอยู่ที่ 20,000 เที่ยวคนต่อวันเท่านั้น

ขณะที่ "กทม." ต้องควักงบประมาณอุดหนุนโครงการปีละ 200 กว่าล้านบาท ให้ บจก.กรุงเทพธนาคม หรือ KT วิสาหกิจ กทม. เพื่อจ่ายค่าจ้างให้ BTSC ผู้ติดตั้งระบบจัดหารถ 25 คัน และเดินรถให้ 7 ปี

แต่พลันที่มีเสียงทัดทานจากบิ๊กรัฐบาลให้ "กทม." เดินหน้ารถ BRT ต่อ "พล.ต.อ.อัศวิน" จึงเปิดประมูลใหม่ และได้ BTSC เป็นผู้รับสัมปทานเดินรถอีกครั้ง เป็นระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ในครั้งนี้ "กทม." ปลดเปลื้องภาระบนบ่าให้ "BTSC" รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด แลกกับรายได้ค่าโดยสารที่เก็บ 15 บาทตลอดสาย

เปลี่ยนแน่'BRT'เป็น'รถไฟฟ้า'ลุยศึกษาโครงการปี2566

ล่าสุด "สกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า กทม.จะยกเลิก BRT เพื่อเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าสายสีเทาจะสร้างเฟส 3 จากพระราม 3-ท่าพระแทน ก่อนหน้านี้ กทม.เคยจะยกเลิกการให้บริการไปแล้วหลังประสบปัญหาขาดทุน แต่ประชาชนที่ใช้บริการไม่ยอม ทาง BTSC ผู้รับจ้างเดินรถจึงยังรับดำเนินการต่อ

"โครงการรถเมล์ BRT ยกเลิกแน่แต่ยังไม่รู้ปีไหน ขึ้นอยู่กับนโยบาย จะยกเลิกก่อนหรือหลังสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทาเสร็จ"

ด้าน "ประพาส เหลืองศิรินภา" ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านโครงการ BRT เป็นระบบรถไฟฟ้า ต้องรอสายสีเทาสร้างเสร็จ โดยในปี 2566 สจส.จะของบประมาณ กทม.ศึกษาความเหมาะสมโครงการว่าระบบที่เหมาะสมจะเป็นรถไฟฟ้าไร้ราง (ART) หรือโมโนเรล (ระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง) รวมถึงเส้นทางวิ่งจะต้องให้สอดคล้องคลองช่องนนทรีที่ปรับโฉมใหม่เป็นสวนสาธารณะและแหล่งพักผ่อนด้วย ต้องดูผลการศึกษาในทุกมิติรวมถึงการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
    "หลังมีการระบาดโควิด-19 ทำให้มีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 6,000-8,000 เที่ยวคนต่อวัน จากเดิมอยู่ที่ 15,000-20,000 เที่ยวคนต่อวัน ช่วงรอรถไฟฟ้า รถ BRT ยังต้องมีอยู่ เพราะถนนสายนี้ไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับการเดินทางของประชาชน ส่วนที่ BTS จะครบกำหนดสัญญาเดินรถในปี 2566 คงต้องรอฟังนโยบายอีกครั้ง หากให้เดินรถต่อจะขยายสัญญาและใบอนุญาตเดินรถ BRT"

"ประพาส" กล่าวอีกว่า ระบบรถไฟฟ้าที่จะมาแทน BRT หากเป็นระบบ ART จะลงทุนประมาณ 240 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ขณะที่ระบบโมโนเรลจะลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการศึกษาความเป็นไปได้ว่าจะเป็นระบบไหนที่เหมาะสมที่สุด หากได้งบประมาณปี 2566 จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 8 เดือน จากนั้นจะเป็นขั้นตอนเปิดร่วมทุนรูปแบบ PPP หลังได้เอกชนมาลงทุนจะใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดใช้ในปี 2572-2573

สำหรับแนวเส้นทางจะใช้แนว BRT เดิม วิ่งไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ผ่านแยกถนนจันทน์ แยกนราราม 3 เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 3 ลอดใต้สะพานพระราม 9 เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก ขึ้นสะพานพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่แยกถนนรัชดาภิเษก-ถนนราชพฤกษ์

ขณะที่สถานีในเบื้องต้นจะใช้สถานี BRT เดิม 12 สถานี ได้แก่ สถานีสาทรจะเชื่อมกับบีทีเอสช่องนนทรี อาคารสงเคราะห์ เทคนิคกรุงเทพ ถนนจันทน์ นราราม 3 วัดด่าน วัดปริวาส วัดดอกไม้ สะพานพระราม 9 เจริญราษฎร์ สะพานพระราม 3 และราชพฤกษ์ จะเชื่อมกับบีทีเอสตลาดพลู

11 ปีขาดทุนปีละ 100-200 ล้านBTS รอฟังนโยบาย'เลิก-ไม่เลิก'

เมื่อพลิกดูผลการดำเนินการตลอด 11 ปีที่ผ่านมา แหล่งข่าวจาก กทม.เปิดเผยว่า ปีนี้เป็นปีที่ 11 ที่โครงการ BRT เปิดบริการ ประสบปัญหาขาดทุนทุกปีเนื่องจากจำนวนผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ 30,000 เที่ยวคนต่อวัน ถือว่าเป็นโครงการที่ดีถ้าหาก กทม.สามารถดำเนินการได้ตามคอนเซ็ปต์ครบถ้วนเหมือนต่างประเทศ

แต่ด้วยสภาพถนนในกรุงเทพฯมีปัญหาการจราจรติดขัด และยังมีช่วงสะพานเป็นคอขวดไม่สามารถจะแยกช่องจราจรเป็นการเฉพาะได้ อีกทั้งไม่สามารถปล่อยสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยกให้เป็นไฟเขียวเพื่อให้ BRT วิ่งได้ตลอด ขณะที่การห้ามไม่ให้รถอื่นเข้ามาวิ่งในช่องก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน
    "การเดินรถ BRT ปัจจุบันยังต้องรอสัญญาณไฟจราจรและมีรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ เข้ามาวิ่งในเลนในบางช่วงที่รถติดเลยทำให้การบริการล่าช้า ไม่สามารถทำเวลาได้ ทำให้ผู้โดยสารรอนาน"

ด้านปริมาณผู้โดยสาร แหล่งข่าวกล่าวว่า ในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 15,000-17,000 เที่ยวคนต่อวัน ในปี 2563 เริ่มลดลงหลังมีการระบาดของโควิด-19 โดยเดือนมกราคมอยู่ที่ 16,649 เที่ยวคนต่อวัน กุมภาพันธ์ 16,476 เที่ยวคนต่อวัน มีนาคม 11,452 เที่ยวคนต่อวัน เมษายน 5,050 เที่ยวคนต่อวัน พฤษภาคม 6,609 เที่ยวคนต่อวัน มิถุนายน 8,299 เที่ยวคนต่อวัน กรกฎาคม 11,617 เที่ยวคนต่อวัน สิงหาคม 13,024 เที่ยวคนต่อวัน กันยายน 13,570 เที่ยวคนต่อวัน ตุลาคม 13,222 เที่ยวคนต่อวัน พฤศจิกายน 12,196 เที่ยวคนต่อวัน และธันวาคม 11,198 เที่ยวคนต่อวัน

ส่วนปี 2564 ยอดผู้โดยสารลดลงมาก โดยเดือนมกราคมอยู่ที่ 7,043 เที่ยวคนต่อวัน กุมภาพันธ์ 9,065 เที่ยวคนต่อวัน มีนาคม 10,379 เที่ยวคนต่อวัน เมษายน 6,564 เที่ยวคนต่อวัน พฤษภาคม 4,827 เที่ยวคนต่อวัน มิถุนายน 5,266 เที่ยวคนต่อวัน กรกฎาคม 3,795 เที่ยวคนต่อวัน สิงหาคม 3,795 เที่ยวคนต่อวัน กันยายน 3,905 เที่ยวคนต่อวัน ตุลาคม 4,764 เที่ยวคนต่อวัน พฤศจิกายน 5,706 เที่ยวคนต่อวัน และธันวาคม 6,014 เที่ยวคนต่อวัน

สอดคล้องกับ "สุรพงษ์ เลาหะอัญญา" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าวว่า หลังรับสัมปทานเดินรถ BRT ตั้งแต่ปี 2560 ผลการดำเนินงานขาดทุนปีละ 100 กว่าล้านบาท ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการไม่ถึง 10,000 เที่ยวคนต่อวัน จากก่อนโควิด-19 มีผู้ใช้บริการกว่า 10,000 เที่ยวคนต่อวัน หลังสัญญาเดินรถจะสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2566 คงต้องรอดูนโยบาย กทม.จะเดินหน้าต่อหรือยกเลิกโครงการ เนื่องจากมีแผนจะลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทา
    "เราได้ลงทุนซ่อมบำรุงครั้งใหญ่รถ 25 คันไปแล้ว ยังสามารถใช้งานได้อีกหลายปี รวมถึงปรับปรุงการบริการต่างๆ ส่วนการเดินรถในเส้นทางก็มีปัญหาบ้าง เช่น ยังมีรถอื่นวิ่งเข้ามาในเลน ต้องหยุดรอสัญญาณไฟบริเวณทางแยก"

'ทีดีอาร์ไอ'แนะกทม.ทบทวนโครงการเชียร์พัฒนา'รถไฟฟ้า'จะตอบโจทย์มากกว่า

ในเมื่อโครงการขาดทุนมีปัญหาสารพัด แล้วทางออกของโครงการควรจะเป็นอย่างไร มีข้อคิดเห็นจาก "สุเมธ องกิตติกุล" ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า รถ BRT เปิดบริการมา 11 ปี คงต้องถึงเวลาที่ กทม.ต้องมาทบทวนโครงการ จะปรับเปลี่ยนเป็นระบบอะไร หากเป็นรถไฟฟ้า ด้วยพื้นที่มีศักยภาพค่อนข้างสูงในการพัฒนา จะตอบโจทย์มากกว่า BRT เพราะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้
    "น่าเสียดายโครงการ ในแง่ของผู้โดยสารไม่ถึงกับแย่มาก แต่เวลาศึกษาความเป็นไปได้โครงการ ซึ่งใช้เงินลงทุนสูง ทำให้จำเป็นต้องมีผู้โดยสารระดับหนึ่งถึงจะทำให้โครงการคุ้มทุน เลยเป็นปัญหา ถามว่าความที่เป็นระบบรถเมล์ด่วนมีผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันหลักหมื่นคน ก็ค่อนข้างสูงในระดับหนึ่ง ถึงจะไม่เท่ารถไฟฟ้า เมื่อเทียบกับรถเมล์ธรรมดาถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง"

"สุเมธ" วิเคราะห์ปัญหาของ BRT เนื่องจากเป็นการเดินทางโดยรถประจำทางแบบด่วน วิ่งระดับดิน ทำให้ติดสัญญาณไฟการจราจร จึงทำความเร็วได้ไม่ 100% แต่ถือว่าไม่ถึงกับแย่เท่าไหร่ ยังวิ่งได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วงมีช่องทางพิเศษให้วิ่ง

ดังนั้น เรื่องคุณภาพการให้บริการถือว่าใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเป็นระบบรถเมล์ทำให้การกระตุ้นการลงทุนพัฒนาพื้นที่โดยรอบไม่เกิดขึ้นเหมือนกับรถไฟฟ้า เนื่องจากรถ BRT ยังไม่ดึงดูดคนมากนัก แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบรถไฟฟ้า เชื่อว่าการพัฒนาจะตามมาอย่างแน่นอน ไม่ว่าศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม
    "เป็นการพิสูจน์แล้วว่าการมี BRT 11 ปี พื้นที่ไม่มีการพัฒนาตาม นั่นหมายความว่า เป็นการให้บริการเฉพาะคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้ไปในพื้นที่มีความหนาแน่นประชากรสูง ที่คนจะมาใช้มาก จึงไม่ได้ช่วยให้เกิดมีการพัฒนาพื้นที่เพิ่มเติม ผมคิดว่าเป็นบทเรียนอันหนึ่งที่น่าสนใจของ BRT ประเทศไทย ซึ่งต่างจากต่างประเทศ ต่างจากการพัฒนารถไฟฟ้าที่เมื่อจะพัฒนาจะมีการคาดการณ์การพัฒนาพื้นที่ใหม่ๆ ตามมาด้วย นี่คือสิ่งที่เป็นข้อต่าง เลยทำให้ BRT จึงไม่น่าจะคุ้มทุน"

"สุเมธ" ยังแนะว่า ถ้าจะทำโครงการ BRT ตามรูปแบบของ กทม.ที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานมีทางวิ่งและสถานี เป็นเงิน 1,000 กว่าล้านบาท เป็นการลงทุนที่ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยเต็มที่อย่างที่คาดหวังไว้ หากจะพัฒนาอาจจะลงทุนพัฒนาระบบรถเมล์ให้ดี พร้อมป้ายจุดจอด และสิ่งอำนวยความสะดวกจะดีกว่าเพราะใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ถ้าเปลี่ยนก็ต้องเป็นรถไฟฟ้าไปเลยจะดีกว่านานาทรรศนะ'คนใช้บริการ'ขอเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง

ด้านเสียงสะท้อนของผู้ใช้บริการต่อรถเมล์ด่วน BRT มีหลากหลาย เริ่มจาก "ราเมศ" อายุ 24 ปี พนักงานบริษัทเอกชน กล่าวว่า พื้นเพเป็นคนจังหวัดพิจิตร แต่มาพักอาศัยอยู่พระราม 3 จะนั่งรถ BRT จากวัดดอกไม้มาต่อบีทีเอสช่องนนทรีไปทำงานที่อารีย์ ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็นคนใช้บริการมาก และรอนาน 10-15 นาที เพราะรถติด และมีบางช่วงที่รถวิ่งเข้ามาในเลน
    "ดีกว่านั่งรถเมล์ที่รอนาน คนใช้เยอะ ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย เทียบกับรถเมล์ก็พอๆ กัน หาก กทม.จะยกเลิกต้องมีระบบมารองรับ และทำเป็นรถไฟฟ้าได้ก็จะดีกว่า"

"ยุวดี" อายุ 70 ปี เล่าว่า ใช้บริการ BRT บ่อยเพราะผ่านหน้าบ้าน การบริการก็ดี สะอาด สะดวกกว่านั่งรถเมล์ ค่าโดยสารไม่แพงมาก ถ้า กทม.จะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าสายสีเทาก็ยิ่งดี จะได้สะดวกมากขึ้น

"นิจธิรา" อายุ 28 ปี บอกว่า ใช้บริการ BRT มานานตั้งแต่เรียนอยู่ ม.4 จะใช้เดือนละ 2 ครั้ง นั่ง 4 สถานี จากบ้านที่ถนนจันทน์มายังสาทร จากที่ใช้บริการค่อนข้างรอนาน 10-20 นาที และไม่รู้เวลาที่แน่นอน เพราะรถติดระหว่างทาง อีกทั้งไม่เห็นด้วยที่เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย อยากให้เก็บตามระยะทาง เพราะคนนั่งยาวจะคุ้มกว่าคนที่นั่งไม่กี่สถานี
    "เท่าที่ใช้บริการมาถือว่าดีกว่านั่งรถเมล์ หาก กทม.จะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าก็จะดี น่าจะตอบโจทย์คนใช้บริการมากกว่านี้ เพราะย่านพระราม 3 ยังไม่มีรถไฟฟ้าเลย"

ปิดท้ายที่ "บุญญารัตน์" อายุ 21 ปี บอกว่า ใช้บริการ BRT สัปดาห์ละ 2 ครั้ง นั่งจากบ้านมาต่อบีทีเอสไปหาเพื่อนที่สยามสแควร์ ถือว่าสะดวก แต่มีปัญหาคือรอรถนาน เนื่องจากมีรถติดบางช่วงและที่นั่งน้อย ส่วนค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายก็ไม่แพงมาก เนื่องจากนั่ง 8 สถานี เมื่อเทียบกับรถเมล์ปรับอากาศก็คุ้มกว่า

"อยากให้ กทม.เพิ่มรอบวิ่งมากขึ้นจะได้ไม่รอนาน ขณะที่สถานีผู้โดยสารมีติดแอร์แค่สถานีสาทร ส่วนสถานีอื่นจะค่อนข้างร้อนอบอ้าว อยากให้มาช่วยดูตรงนี้ด้วย"
คงต้องลุ้นถึงที่สุดแล้ว "กทม." จะหาทางออกกับโปรเจ็กต์นี้อย่างไร ในช่วงรอการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถไฟฟ้าสายสีเทา ในเมื่อโครงการขาดทุนบักโกรก แถมยังไม่ตอบโจทย์คนกรุงเทพฯได้มากนัก

ที่มา: นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 21 ธ.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2021 7:12 am    Post subject: Reply with quote

ปีเสือ'กทม.'เร่งสรุปแผนแม่บทLRTบางนา
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 25, 2021 05:51

คืบทีละกระดึ๊บ กทม.เร่งสรุปมาสเตอร์แพลนรถไฟฟ้า "LRT บางนาสุวรรณภูมิ" 2.78 หมื่นล้านต้นปี'65 ชงประมูลสร้างปี'66

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กลางเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา กทม.ได้จัดสัมมนาทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (market sounding seminar) โครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (light rail transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุน 27,892 ล้านบาท

โดยที่ปรึกษาโครงการนำเสนอผลศึกษาข้อมูลโครงการและรูปแบบการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า ดังนี้ โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มี 14 สถานี เชื่อมต่อการเดินทางกรุงเทพฯ กับ จ.สมุทรปราการ โดยเป็น 2 เฟส เริ่มจากเฟส 1 ช่วงแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร, เฟส 2 จาก ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร

รูปแบบสถานีแบ่ง 3 ประเภท คือ

"ประเภท A" สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาเดี่ยว 9 สถานี ได้แก่ สถานีประภามนตรี สถานีบางนา-ตราด 7 สถานีศรีเอี่ยม สถานีบางนา-ตราด 6 สถานีบางแก้ว สถานีบางสลุด สถานีกิ่งแก้ว สถานีมหาวิทยาลัยเกริก สถานีสุวรรณภูมิใต้

"ประเภท B" สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาคู่ จะก่อสร้างในกรณีที่ไม่สามารถวางตำแหน่งเสาเดี่ยวได้ 4 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา-ตราด 2 สถานีเปรมฤทัย สถานีกาญจนาภิเษก สถานีธนาซิตี้

"ประเภท C" สถานีระดับดิน ออกแบบตามข้อจำกัดด้านกายภาพของพื้นที่ โดยชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ระดับดิน มี 1 สถานีที่สถานีบางนา สามารถใช้สกายวอล์กเดินเชื่อมกับสถานีบางนาของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสได้

รูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 เมตร ความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ 1 ชั่วโมง, 1 ขบวนสูงสุดมี 4 ตู้ รองรับผู้โดยสาร 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง เมื่อเปิดให้บริการในปี 2572 คาดว่ามีประชาชนเข้ามาใช้บริการ 56,170 คน-เที่ยว/วัน ปี 2576 เพิ่มเป็น 113,979 คน-เที่ยว/วัน และในปี 2578 กรณี บมจ.ท่าอากาศ ยานไทย (AOT) เปิดให้บริการท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิด้านทิศใต้ คาดว่าผู้ใช้บริการเพิ่มเป็น 138,984 คน-เที่ยว/วัน

สำหรับการลงทุน เปิดโอกาสให้เอกชนร่วมดำเนินงานใน 3 ลักษณะ

1.PPP net cost รัฐเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนก่อสร้างงานโยธาโครงการทั้งหมด และเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ, ดำเนินการและบำรุงรักษาเอกชน โดยรัฐให้สิทธิ์แก่เอกชนเป็นผู้รับรายได้และเอกชนจ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้แก่รัฐ

2.PPP gross cost รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด และเป็นผู้ซื้อรถไฟและก่อสร้างงานระบบ รัฐเป็นผู้รับรายได้ผ่านเอกชนและเป็น ผู้กำหนดจ่ายผลประโยชน์แก่เอกชนในรูปแบบค่าจ้าง ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

3.PPP modified gross cost ลักษณะคล้ายกับ PPP gross cost มีเงื่อนไขแตกต่างในเรื่องเอกชนจะได้รับผลตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมภายใต้กลไกการแบ่งผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้ตกลงกัน

นายประพาสกล่าวว่า ปัจจุบันโครงการมีความพร้อมในการดำเนินการสูง คาดว่า จะสรุปรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมได้ภายในต้นปี 2565 พร้อมเสนอขออนุมัติโครงการภายในปี 2566 ไทม์ไลน์ จากนั้นเปิดให้เอกชนยื่นประมูลในปี 2567 ใช้เวลาเวนคืนที่ดินและก่อสร้าง 4 ปี (2568-2571) คาดว่าเปิดให้บริการปี 2572

ในอนาคต LRT บางนา-สุวรรณภูมิมีจุดเชื่อมต่อกับ 3 รถไฟฟ้า ได้แก่ สายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีบางนา, สายสีเหลือง พัฒนาการ-สำโรง ที่สถานีศรีเอี่ยม และเชื่อมต่อเพื่อเข้าสู่สนามบิน สุวรรณภูมิ ที่สถานีสุวรรณภูมิใต้

บรรยายใต้ภาพ

ตั้งไข่ - โครงการรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางใหม่ "LRT บางนา-สุวรรณภูมิ" แผนบนกระดาษ มี 14 สถานี ประมาณการเงินลงทุน 2.78 หมื่นล้านบาท ผู้ใช้บริการต้องอดใจรออีกนิด เพราะไทม์ไลน์เริ่มเปิดประมูลในปี 2567

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 - 29 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2021 9:06 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปีเสือ'กทม.'เร่งสรุปแผนแม่บทLRTบางนา
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 25, 2021 05:51


ลิงก์มาแล้วครับ:
กทม.เร่งสรุป “LRT บางนา-สุวรรณภูมิ” 2.7 หมื่นล้าน ชงประมูล-สร้างปี’66
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 ธันวาคม 2564 - 15:20 น.

https://www.prachachat.net/property/news-822812

รู้จักกับ “รถไฟฟ้าสายสีเงิน” Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ กับ 10 เรื่องที่ต้องรู้!
โดย LivingPop Team
15 ธันวาคม 2564

— ข้อที่ 1 —
รถไฟฟ้าสายสีเงิน
ใช่ครับ จากที่เราเห็นๆ กันในข่าวว่ารถไฟฟ้าสายนี้มักจะถูกเรียกว่ารถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน หรือถ้าเก่ากว่านั้นเราก็อาจจะเคยเห็นในแผนที่ masterplan เวอร์ชันเก่าเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นสีเขียวคล้ายๆ BTS สายสุขุมวิทบ้าง แต่จากการศึกษาครั้งนี้ ได้มีการบัญญัติให้รถไฟฟ้าสายนี้เป็น สีเงิน

เข้าใจว่าด้วยความที่รถไฟฟ้าสายนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ก็คงจะอยากใช้สีให้คล้องจองกับ “รถไฟฟ้าสายสีทอง” ซึ่งก็เป็นสายของ กทม. เช่นกันครับ

— ข้อที่ 2 —
รถไฟฟ้าสายนี้อยู่ตรงไหนของกรุงเทพฯ
สำหรับแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเงิน Light Rail สายบางนา-สุวรรณภูมิ จะอยู่บนถนนเทพรัตน หรือชื่อเดิมก็คือ ถนนบางนา-ตราด นั่นเอง โดยจะเริ่มตั้งแต่หัวถนนตรงแยกบางนา ยาวไปจนถึงทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วเลี้ยวเข้าสนามบินไปสิ้นสุดที่ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารผู้โดยสารทิศใต้

มีระยะทางรวมโดยประมาณ 19.7 กิโลเมตร มีสถานี 14 สถานี โดยจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่ อยู่บริเวณด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ ใกล้กับทางเข้าสนามบินครับ


— ข้อที่ 3 —
แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ ไม่ได้สร้างพร้อมกันทีเดียวทั้งสาย
จากข้อที่แล้วที่เราพูดถึงภาพรวมของแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเงิน จะเห็นว่าช่วงปลายจะมีการเลี้ยวเข้าไปในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในปัจจุบัน ทาง AOT ยังไม่ได้มีแผนจะสร้างอาคารผู้โดยสารฝั่งทิศใต้ในเร็วๆ นี้ ทางโครงการรถไฟฟ้าสายนี้จึงมีการแบ่งช่วงก่อสร้างเป็น 2 ระยะครับ

โดยช่วงที่ 1 จะมีระยะทางประมาณ 14.6 กิโลเมตร เริ่มจากแยกบางนา มาจนถึงสถานีธนาซิตี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง ในช่วงนี้จะมีสถานีจำนวน 12 สถานี

ส่วนช่วงที่ 2 ระยะทางประมาณ 5.1 กิโลเมตร ที่เป็นช่วงเลี้ยวซ้ายจากถนนเทพรัตน ตรงเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ จะมีการก่อสร้างในภายหลัง เมื่อมีการพัฒนาสนามบินในฝั่งทิศใต้ โดยจะมีสถานีเพิ่มเติมมา 2 สถานี

— ข้อที่ 4 —
ใช้ขบวนรถไฟล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก แต่เล็กกว่า MRT
จากการศึกษาโครงการเมื่อปี 2556 ได้มีการออกแบบระบบรถไฟเบื้องต้นเอาไว้ให้เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา หรือ Light Rail ซึ่งในไทยอาจจะยังไม่คุ้นเคยเพราะเรายังไม่ได้มีการใช้งานรถไฟฟ้าสเกลนี้ครับ

เรามาทำความรู้จักกับชนิดของระบบรถไฟฟ้า Metro ในเมืองกันก่อน โดยทั่วไปมักจะมีการจัดประเภทเอาไว้ตาม “ความจุในการขนส่งผู้โดยสาร” ครับ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ MRT และ LRT

MRT หรือ Mass Rapid Transit คือระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความจุสูง ความถี่ขบวนรถสูง สามารถรองรับการขนส่งผู้โดยสารได้ปริมาณมากๆ ถึง 50,000-80,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง
LRT หรือ Light Rail Transit คือระบบรางแบบที่เล็กกว่า MRT โดยจะสามารถรองรับการขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 10,000-50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ตัวอย่างเช่นโมโนเรลสายสีเหลืองของเรา มีตัวเลขสูงสุดอยู่ที่ 48,000 ครับ
ซึ่งจริงๆ LRT จะหมายความรวมหมดไม่ว่าจะเป็น Tram (รถราง), Monorail แบบสายสีเหลืองและชมพู, APM แบบสายสีทอง และรถไฟที่วิ่งบนรางคู่ที่เป็นเหล็กคล้ายๆ MRT แต่มีขนาดของระบบที่เล็กกว่า ก็นับเป็น LRT ด้วยเช่นกันครับ

โดยรถไฟฟ้าสายบางนา-สุวรรณภูมิสายนี้ ในการออกแบบได้เลือกใช้ระบบ Light Rail รางคู่-ทางคู่ รูกแบบคล้ายๆ รถไฟฟ้า LRT ในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในปัจจุบันมีให้บริการอยู่ 3 สาย ตัวอย่างในภาพจะเป็น LRT สาย Kelana Jaya Line ซึ่งใช้รถไฟฟ้า Bombardier Innovia Metro 300 ที่เป็นซีรี่ส์เดียวกับ Monorail สายสีเหลือง-ชมพู และ APM สายสีทอง ที่เราใช้กันเลยครับ แต่ทั้งนี้ในการศึกษา PPP ซึ่งจะมีการสอบถามความสนใจจากภาคเอกชนที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ อาจจะมีการเสนอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบอื่นก็ได้ครับ


— ข้อที่ 5 —
จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น
ทีนี้เรามาดูกันครับ ว่ารถไฟฟ้า Light Rail สายบางนา-สุวรรณภูมิ จะมีจุดเชื่อมต่อกับสายอื่นที่ไหนได้บ้าง โดยรถไฟฟ้าสายนี้จะมีจุดเชื่อมต่ออยู่ 2 สถานี ก็คือ “สถานีบางนา” และ “สถานีวัดศรีเอี่ยม” ครับ

🟢 สถานีบางนา – เชื่อมต่อ BTS สายสุขุมวิท
สถานีบางนาจะเป็นสถานีต้นทาง โดยจะมีการทำสกายวอล์กยาว 150 เมตร ไปเชื่อมกับปลายทางลงของระบบสกายวอล์กเดิมที่สร้างเชื่อม BTS สถานีอุดมสุขกับสถานีบางนาครับ โดยทางโครงการจะมีการติดตั้งทางเดินเลื่อนอัตโนมัติบนสกายวอล์กที่สร้างใหม่ (150 เมตร) นี้ด้วย แต่นอกนั้นไม่ได้มีแผนการพัฒนาหรือปรับปรุงสภาพของสกายวอล์กเดิมรวมอยู่ในโครงการนี้นะครับ

ทีนี้ก่อนที่จะไปข้อต่อไป เราอยากแวะมาให้ทุกคนเห็น “สภาพพพพ” ของสกายวอล์กบริเวณแยกบางนากันสักนิดนึงครับ

ใครที่ผ่านไปผ่านมาแถวแยกบางนาก็คงจะเห็นว่าแยกนี้มีถนน ทางด่วน รถไฟฟ้า ซ้อนทับกันหลายชั้นมาก ก็เลยทำให้เป็นอุปสรรคในการจะสร้างสะพานลอยหรือเรียกสวยๆ ว่าสกายวอล์ก เชื่อมทางเท้าจากด้านต่างๆ เข้าหากัน โดยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทาง กทม. ได้สร้างสกายวอล์กเสร็จสมบูรณ์ สามารถเดินเชื่อมต่อจาก BTS บางนา ไปจนถึง BTS อุดมสุขได้ แต่จะเรียกว่าสมบูรณ์แบบที่สามารถใช้งานได้สะดวกก็คงไม่เต็มปากเท่าไหร่ เพราะตัวสะพานทางเดินมีทั้งขั้นบันได ทางช่วงกว้างบ้าง แคบบ้าง มีหลังคาบ้างไม่มีหลังคาบ้าง เรียกว่าเป็นทางเดิน trail ที่มีอุปสรรคไปตลอดทาง โดยเฉพาะคนแก่ คนท้อง คนพิการ คนน้ำหนักเยอะ หรือกระทั่งคนปกติที่ต้องเดินเชื่อมระยะทางเป็นกิโลๆ ก็คงเหนื่อยกับการเดินผ่านทางนี้

อย่างที่เราบอกว่าในโครงการนี้ไม่ได้มีการบอกว่าจะปรับปรุงเส้นทางเดินที่มีอยู่เดิม มีเพียงการสร้างทางเดินจากตัวสถานีมาแปะกับของเดิมเท่านั้น

🟡 สถานีวัดศรีเอี่ยม – เชื่อมต่อ Monorail สายสีเหลือง
สถานีนี้จะมีทางเดินยาวประมาณ 180 เมตร เชื่อมต่อเข้ากับสถานีศรีเอี่ยมของสายสีเหลืองครับ รวมถึงบริเวณสถานีนี้ก็ยังมีอาคารจอดรถของสายสีเหลืองตั้งอยู่ด้วยนะ เป็นจุดเชื่อมต่อที่ค่อนข้างสะดวกพอสมควรเลยครับ

— ข้อที่ 6 —
ทางรถไฟฟ้าจะปักเสาตรงไหน?
แนวเส้นทางของรถไฟฟ้า Light Rail สายบางนา-สุวรรณภูมิ หลักๆ จะปักเสาอยู่บนร่องคูน้ำที่คั่นระหว่างทางหลักกับทางคู่ขนานในฝั่งขาออกของถนนเทพรัตน (บางนา-ตราด) โดยจะมีบางช่วงที่จะหลบไปอยู่ชิดฝั่งทางเท้า เช่น ช่วงที่มีด่านเก็บเงินหรือทางขึ้นลงทางด่วน

โดยตัวสถานีรถไฟฟ้าก็จะอยู่ตำแหน่งร่องคูน้ำเช่นเดียวกัน แต่ตัวเสาของบางสถานีก็จะมีเสาแบบคร่อมถนน ที่มีเสาไปปักอยู่บนทางเท้าด้วยครับ รวมถึงบันไดทางขึ้นลงสถานี ก็จะอยู่บนทางเท้า ไม่ได้เวนคืนที่ดินทำเป็นอาคารขึ้นลงแบบหลายๆ สายที่กำลังสร้างใหม่ในปัจจุบัน

จากแบบที่ทางบริษํทที่ปรึกษานำเสนอในที่ประชุม ทำให้เราเห็นว่าบางจุดเหลือทางเท้าแค่ 1.55 เมตรเท่านั้นเอง!…

— ข้อที่ 7 —
ระดับรางรถไฟ สูงกว่าระดับพื้นถนนของทางด่วน!
ใครที่ผ่านไปผ่านมาเส้นเทพรัตน บางนา-ตราด คงจะเคยว้าวกับความสูงชะลูดของทางด่วนบูรพาวิถีใช่ไหมครับ… และในอนาคตรถไฟฟ้าสายนี้จะมาทำสถิติความสูงตีคู่กับไปกับทางด่วน เพราะมีความสูงมากกว่าถึง 2 เมตร!

เรามาดูตัวเลขชัดๆ กันครับ
🚗 ทางด่วนบูรพาวิถี มีความสูงจากระดับดินถึงพื้นถนนเฉลี่ยประมาณ 19 เมตร
🚈 รถไฟฟ้า Light Rail ช่วงบางนา-กาญจนาภิเษก มีความสูงจากพื้นดินถึงสันรางประมาณ 20 เมตร
🚈 รถไฟฟ้า Light Rail ช่วงกาญจนาภิเษก-แยกสนามบินสุรรณภูมิ มีความสูงจากพื้นดินถึงสันรางประมาณ 16.5 เมตร
🚈 ช่วงทีรถไฟฟ้าข้ามทางแยกต่างระดับวัดสลุต (Mega Bangna) มีความสูงจากพื้นดินถึงสันราง 23 เมตร

— ข้อที่ 8 —
ชื่อสถานียังไม่นิ่ง อาจมีการเปลี่ยนแปลง
ข้อนี้เป็นเรื่งที่เรายกมือสอบถามทางผู้จัดการโครงการไป ด้วยความสงสัยว่าชื่อสถานีหลายๆ สถานีค่อนข้างแปลก ทั้งสถานีที่ใช้ชื่อสถานที่ของเอกชน สถานีที่ใช้ชื่อไม่ตรงกับสถานี interchange อื่น เช่น “สถานีวัดศรีเอี่ยม” ที่ชื่อดันไม่ตรงกับสายสีเหลืองที่เขาชื่อ “สถานีศรีเอี่ยม” หรือสถานี “บางนา-ตราด” ตามด้วยเลข กม. หรือเลขซอย ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนเทพรัตนไปแล้ว

ทางโครงการบอกว่า “อาจจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีอีกทีนึง” ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเหมือน BTS ส่วนต่อขยาย ที่มีการเปลี่ยนชื่อสถานีในช่วงสุดท้ายก่อนการเปิดบริการครับ


— ข้อที่ 9 —
ตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษา PPP
อย่างที่ติดค้างเอาไว้ตอนแรกครับ ที่เราบอกไว้ว่าตอนนี้โครงการอยู่ระหว่างการศึกษา PPP ทีนี้เรามาดูกันว่า PPP เนี่ยคืออะไร?

ก่อนอื่นมาดูแบบแรกกันก่อน คือ “ภาครัฐทำเอง” คือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจดำเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่การก่อสร้าง การจัดหาขบวนรถไฟ การติดตั้งระบบเดินรถไฟ และการให้บริการตลอดจนการซ่อมบำรุงระบบ ยกตัวอย่างเช่น Airport Rail Link

ส่วน PPP ย่อมาจาก Public Private Partnership เป็นชื่อเรียกของวิธีการร่วมลงทุนในโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนครับ โดยจะแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เราจะยกตัวอย่างแบบง่ายๆ ประมาณนี้ครับ

โดยแบบ PPP ทั้ง 3 รูปแบบนั้น การก่อสร้าง การจัดหาขบวนรถไฟ ติดตั้งระบบเดินรถไฟ จะเป็นรัฐ และ/หรือ เอกชนร่วมกันลงทุน โดยรัฐอาจจ่ายค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างบางส่วน หรือค่าก่อสร้างทั้งหมด ตามแต่มูลค่าโครงการและความคุ้มทุน แต่จุดที่แตกต่างกันคือการแบ่งรายได้ที่ได้รับจากโครงการครับ โดยที่

📍 PPP Net Cost
เอกชนรับรายได้ (ไม่ว่าจะกำไร/ขาดทุน) แล้วจ่ายคืนให้รัฐในรูปแบบของส่วนแบ่ง หรือค่าสัมปทาน ที่จะมีการกำหนดสูตรคำนวณไว้ในสัญญา ยกตัวอย่างเช่น BTS สายสุขุมวิทและสายสีลม MRT สายสีน้ำเงิน เหลือง และชมพูครับ

📍 PPP Gross Cost
รัฐรับรายได้ โดยเอกชนจะรับหน้าที่เดินรถให้ได้ตามจำนวนรอบที่กำหนด รวมถึงการให้บริการและการบำรุงรักษา และจ่ายค่าจ้างให้เอกชน ตัวอย่างเช่น MRT สายสีม่วง

📍 PPP Modified Gross Cost
คล้ายกับ PPP Gross Cost แต่อาจจะมีเงื่อนไขจูงใจเพิ่มเติม เช่น ให้ส่วนแบ่งรายได้ เป็นต้น อาจจะใช้ในกรณีที่โครงการไม่น่าลงทุน แต่มีผลดีทางเศรษฐกิจ

— ข้อที่ 10 —
Timeline การดำเนินการ
มาถึงข้อสุดท้ายที่หลายคนน่าจะอย่างรู้กันว่า “แล้วจะได้ใช้เมื่อไหร่?” เราหยิบ timeline จากเอกสารการประชุมมาให้ดูกันครับ

ปีที่คาดว่าจะเปิดบริการ คือปี 2572 หรือนับจากนี้ไปอีก 8 ปี

https://www.facebook.com/LifeAtStation/posts/962588801315231
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/472460427574370
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2022 9:32 am    Post subject: Reply with quote

บิ๊กทุนชิง LRT 'บางนา-สุวรรณภูมิ' 2.7 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, January 12, 2022 05:52

บิ๊กทุนสนรถไฟฟ้า LRT สายบางนาสุวรรณภูมิ วงเงิน 2.7 หมื่นล้าน เชื่อมสายสีเหลือง-สีเขียวของกทม. หลังเปิดฟังความเห็นจ่อชงมท.-บอร์ดPPP เคาะมี.ค.เม.ย. 65 ลุ้นคชก.ไฟเขียวอีไอเอ

หลังจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) จัดสัมมนาทดสอบความสนใจภาคเอกชนลงทุน (market sounding seminar) โครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ก่อสร้าง รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (light rail transit) หรือ LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมูลค่า 27,892 ล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

รายงานข่าวกทม. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างที่ปรึกษารวบรวมเอกสารข้อมูลและความเห็นจากนักลงทุนทุกภาคส่วน เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย (มท.) คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) พิจารณาเห็นชอบ ภายใน 3 เดือน (มีนาคมหรือเมษายน 2565) และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน 2565
    "จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชนในครั้งนี้พบว่ามีนักลงทุนหลายท่านที่ให้ความสนใจ เนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการฯ ผ่านพื้นที่บริเวณถนนสายบางนา-ตราด เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าสู่ใจกลางเมือง รวมทั้งบริเวณ 2 ข้างทางของถนนสายนี้มีความเจริญอย่างต่อเนื่อง"
โครงการฯ จะเปิดประมูลลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบงานระบบซ่อมบำรุงและการบริหารจัดการเดินรถ หากผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่ายแล้ว หลังจากนั้นกทม.จะจัดทำร่างเอกสารการประกวดราคา (RFP) เพื่อดำเนินการหาผู้รับจ้าง คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในกลางปี 2566 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการ ปี 2572

ขณะนี้รออนุมัติการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ จากคณะกรรมการชำนาญการ (คชก.) ส่วนการเวนคืนที่ดินหากหลีกเลี่ยงการเวนคืนไม่ได้กทม.จะให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบการจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้างทางขึ้น-ลง ของสถานีต่อไป

โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิ มีจำนวน 14 สถานีเชื่อมต่อการเดินทางกรุงเทพฯกับจ.สมุทรปราการ โดยเป็น 2 เฟสเริ่มจากเฟส 1 ช่วงแยกบางนาธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร, เฟส 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร โดยรูปแบบของสถานีแบ่งการออกแบบเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภท A สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาเดี่ยว มีจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีประภามนตรี สถานี บางนา-ตราด 7 สถานีศรีเอี่ยม สถานีบางนา-ตราด 6 สถานีบาง แก้ว สถานีบางสลุด สถานีกิ่งแก้วสถานีมหาวิทยาลัยเกริก สถานีสุวรรณภูมิใต้

ประเภท B สถานียกระดับที่รองรับด้วยเสาคู่ จะก่อสร้างในกรณีที่ไม่สามารถวางตำแหน่งเสาเดี่ยวได้ โครงการจำเป็นต้องออกแบบสถานีให้รองรับด้วยโครงสร้างเสาคู่ มีจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา-ตราด 25 สถานีเปรมฤทัย สถานีกาญจนาภิเษก สถานีธนาซิตี้

ประเภท C สถานีระดับดินจะออกแบบตามข้อจำกัดด้านกายภาพของพื้นที่ โดยชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ระดับดิน สามารถเดินเชื่อมกับสถานีบางนาของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ด้วยสะพานลอยยกระดับ (Skywalk) มีจำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีบางนา

ทั้งนี้รูปแบบของการพัฒนาโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติความ เร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ 1 ชั่วโมง, 1 ขบวนสูงสุด มี 4 ตู้ สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการในปี 2572 จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการประมาณ 80,000- 100,000คน ต่อเที่ยวต่อวัน และปี 2576 จะเพิ่มสูงขึ้นราว 113,979 คนต่อเที่ยวต่อวัน และในปี 2578 กรณี บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) เปิดให้บริการท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 138,984 คน-เที่ยวต่อวัน

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2022 7:55 am    Post subject: Reply with quote

'เฮียริ่ง'เอกชน ลุยสายสีเทา 3หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, January 19, 2022 05:27

Click on the image for full size

กทม.เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชน สร้างรถ ไฟฟ้าสายสีเทา 3 หมื่นล้าน เริ่มปลายเดือนม.ค.-ก.พ.นี้ จ่อชงบอร์ด PPP-ครม.ไฟเขียว ภายในปี 65 คาดเปิดประมูลปลายปี 66 เล็งของงบปี 66 กว่า 40 ล้านบาท ศึกษาเฟส 2 รับขนส่งมวลชนระบบรอง

กทม.เร่งรัดก่อสร้างโครง การรถไฟฟ้าสายสีเทา ซึ่งเป็นเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ช่วยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ เข้าสู่ใจกลางเมือง อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

รายงานข่าวจากกรุงเทพ มหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กทม.ได้จัดประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการงานจ้างที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) รถไฟฟ้าสายสีเทาระยะทาง 39.91 กิโลเมตร วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยใช้ผลการศึกษาความเป็นไปได้ เบื้องต้นกทม.ได้นำผลการศึกษาอัพเดตให้เป็นปัจจุบันทั้งด้านกายภาพ,ด้านผลตอบทางเศรษฐกิจและ ผลตอบแทนทางการเงิน ขณะนี้กทม.อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลเพื่อจัดสัมมนาทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (market sounding seminar) โครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายเดือนมกราคมนี้หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565

หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนแล้ว ทางกทม. จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากนักลงทุนทั้งหมดเสนอต่อผู้ว่ากทม.กระทรวงมหาดไทย (มท.) คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาเห็นชอบภายในปี 2565

ส่วนรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)ปัจจุบันได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว แต่ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากจากคณะกรรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) หากผ่านความเห็นชอบแล้ว กทม.จะดำเนินการจัดทำร่างเอกสารการประกวดราคา (RFP) คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างกว่า 3 ปี ใช้รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี เปิดให้บริการปี 2570

"เราพยายามเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างโครงการฯโดยเร็ว เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเกิดขึ้นโดยเร็ว ส่วนเวนคืนที่ดิน เราจะหลีกเลี่ยงดำเนินการ เนื่องจากการเวนคืนที่ดินของกทม. จะมีระยะเวลาดำเนินการ ทำให้กทม.ต้องลดผลกระทบต่อประชาชนและระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างที่ล่าช้า

รายงานจากกทม. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ตามแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ จะใช้รูปแบบรถไฟฟ้าโมโนเรล ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-ลุมพินี และระยะที่ 3 ช่วงลุมพินี-ท่าพระแต่ปัจจุบันกทม.มีแผนจะก่อสร้างระยะที่ 2 และระยะที่ 3 รวมกัน เพื่อไม่ให้การก่อสร้างบางช่วงมีปัญหาติดขัด โดยคาดว่าจะใช้รูปแบบการก่อสร้างเป็นระบบขนส่งมวลชนรอง ซึ่งกทม.จะของบประมาณปี 2566 วงเงินกว่า 40 ล้านบาท เพื่อจ้างที่ปรึกษาจัดทำโครงการศึกษาและวิเคราะห์รถ ไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 2 ซึ่งจะต้องดูผลการศึกษาอีกครั้งว่าจะใช้รูปแบบการก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล, รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม),รถโดยสารประจำทางอัจฉริยะเออาร์ที (ART)

แนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ โดยมีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสี ชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรมผ่านซอยนวลจันทร์ ข้ามสะพานเกษตรนวมินทร์เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 จากนั้นข้ามเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วง Missing Link บางซื่อ-หัวหมาก เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้าย เข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ)เพื่อสิ้นสุดเส้นทางช่วงแรกที่สถานีทองหล่อ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

แนวเส้นทางในระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-ลุมพินี มีจุดเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพระโขนง จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระรามที่ 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และสถานีลุมพินี ขณะที่แนวเส้นทางในระยะที่ 3 ช่วงลุมพินี-ท่าพระ มีจุดเริ่มต้นจากสถานีลุมพินีแล้วเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทรไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ที่จะยกเลิกโครงการ เมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาไปจนถึงปลายทางสถานีราชพฤกษ์ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกจุดหนึ่งที่สถานีตลาดพลู แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 - 22 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 30, 31, 32  Next
Page 27 of 32

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©