RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179738
ทั้งหมด:13490970
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความรู้สึกกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความรู้สึกกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2018 10:57 pm    Post subject: Reply with quote

'BTS เสียบ่อย ใครควรทำอย่างไร?’
คอลัมน์ ขอ ชัด ชัด โดย อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี
วันจันทร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 02.00 น.


รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 หรือ สายสุขุมวิท หรือ สายสีเขียวอ่อน ตั้งแต่สถานีหมอชิต ถึงสถานีอ่อนนุช ปัจจุบันได้มีการเดินรถถึงสถานีสำโรง และสายที่ 2 หรือ สายสนามกีฬา - สาทร หรือสายสีเขียว ปัจจุบันได้มีการเดินรถถึงสถานีบางหว้า ที่ถนนเพชรเกษม ที่เราเรียกกันว่ารถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) รถไฟฟ้า
สองสายแรกของไทยที่เปิดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2542 จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลากว่า 18 ปีแล้ว



การเดินรถไฟฟ้า BTS ทั้งสองสายที่ผ่านมาในอดีตไม่ค่อยจะมีปัญหาสักเท่าไร จากสถิติปี 2010 เกิดปัญหา 5 ครั้ง, ปี 2011 เกิดปัญหา 9 ครั้ง, ปี 2012 เกิดปัญหา 3 ครั้ง, ปี 2013 เกิดปัญหา 2 ครั้ง, ปี 2014 เกิดปัญหา 5 ครั้ง, ปี 2015 เกิดปัญหา 2 ครั้ง แต่เพิ่งมาเกิดเหตุขัดข้องมากขึ้นในระยะหลังตั้งแต่ปี 2016 เกิดปัญหา 24 ครั้ง, ปี 2017 เกิดปัญหา 46 ครั้ง จนมาถึงปีนี้มีปัญหากันอยู่เรื่อยๆ ทุกเดือน โดยเฉพาะช่วง 1-2 เดือนมานี้ และมักจะเกิดช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้าตั้งแต่ 07.00-09.00 น. และตอนเย็น 17.00-19.00 น. ถึงขนาดบีทีเอสต้องเปิดให้ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเข้างานสายหรือลากันกันเลยทีเดียว จนถึงขนาดลองให้ดีแทคปิดเสาสัญญาณไปบริเวณเส้นทางเดินรถไฟฟ้าแต่ยังมีปัญหาเช่นเดิม จึงเกิดเป็นคำถามว่า ใครควรจะทำอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้

ก็ต้องไขข้อข้องใจให้ทราบกันก่อนว่า ระบบรถไฟฟ้า BTS ส่วนสำคัญอยู่ที่ระบบอาณัติสัญญาณ ที่จะใช้บอกว่าแต่ละขบวนจะใช้เวลาเดินรถเท่าใด ระยะห่างเท่าไร รวมถึงการควบคุมความเร็วด้วย เป็นการสื่อสารในระบบไร้สาย โดยคลื่นความถี่ที่ BTS ใช้อยู่ในคลื่นความถี่ช่วง 2,400-2500เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ประชาชนใช้กันอยู่โดยทั่วไปโดยไม่ต้องขออนุญาต เป็นที่รู้กันว่าเดี๋ยวนี้มีทั้ง อินเตอร์เนตไวไฟ บลูทูธ สัญญาณไมโครเวฟลิงก์ เพียบเลย เดิมรถไฟฟ้า BTS มีการสื่อสารกันในย่านความถี่นี้ก็ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก แต่เป็นเพราะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง เมื่อคนใช้ช่องสัญญาณมากขึ้น จึงเป็นผลให้รถไฟฟ้า BTS มีปัญหามากขึ้นในระยะหลัง

ปกติรถไฟฟ้าหรือรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วโลก มักจะใช้คลื่นสัญญาณของตัวเองที่ไม่ได้ปะปนกับคลื่นสัญญาณที่คนทั่วไปใช้ แต่ปัญหาในลักษณะนี้ก็เคยเกิดขึ้นในต่างประเทศเช่นกัน อย่างปี 2012 การรถไฟมหานครเสิ่นเจิ้นเขียนจดหมายถึงหน่วยงานกำกับคลื่นความถี่ของจีน เพื่อขออนุญาตบล็อกสัญญาณ 3G ในระบบรถไฟใต้ดิน หลังจากระบบรถไฟถูกรบกวนหลายครั้ง เพราะผู้ใช้จำนวนมากปล่อยคลื่น Wi-Fi ไปด้วย

สำหรับประเทศไทย รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นของกรุงเทพมหานคร (กทม.) การบริหารจัดการแบ่งเป็นสองส่วนคือ 1.ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สาทร เป็นสัญญาสัมปทานโดยมอบให้บริษัทระบบขนส่งมวลชน จำกัด (มหาชน) (BTS) เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นเวลา 30 ปี และ 2.ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทจากอ่อนนุช - ถึงสถานีสำโรง และส่วนต่อขยายสายสนามกีฬาแห่งชาติ - สถานีบางหว้า
ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (วิสาหกิจที่ กทม.เป็นผู้ถือหุ้น 99.98 เปอร์เซ็นต์) เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ ซึ่งบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ก็ได้
ว่าจ้าง BTS เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ เป็นเวลา 30 ปี

จะเห็นได้ว่าระบบรถไฟฟ้าทั้งสองส่วนมี BTS เป็นคู่สัญญาผู้รับผิดชอบต่อจากกรุงเทพมหานคร และพบว่าภายใต้เงื่อนไขสัญญาบริหารรถไฟฟ้าทั้งสองส่วน “BTS จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการให้บริการ ความสะดวก ความปลอดภัยที่ต่ำกว่ามาตรฐานไม่ได้” รวมทั้งค่าปรับรายวันหากบริษัทไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อกำหนดด้วย ซึ่ง “กทม.จะต้องใช้มาตรการควบคุมดังกล่าวเพื่อกำกับดูแลให้ผู้รับจ้างปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาอย่างเคร่งครัด”...ขีดเส้นใต้ 500 ครั้ง “ต่ำกว่ามาตรฐานไม่ได้”

แค่ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็ทราบกันอยู่แล้วว่าปัญหาเกิดขึ้นมากแค่ไหน จากที่ผมได้สาธยายไปตอนต้นแล้ว แม้ทาง กทม. จะขู่ไว้เมื่อปลายเดือนที่แล้วว่าจะปรับ BTS ประมาณ 1.8 ล้านบาท แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเสียค่าปรับกันกี่ครั้งแล้ว ซึ่งต้องให้ กทม. แถลงชี้แจงรายละเอียด ทั้งนี้ กสทช. หน่วยงานรัฐผู้จัดสรรคลื่นความถี่ก็ให้ข่าวว่าได้เตรียมคลื่นความถี่ช่วง 800-900 เมกะเฮิรตซ์ เอาไว้ให้แล้วด้วย

คำถาม เมื่อไร ใครเป็นเจ้าภาพ ใครจ่ายเงิน สรุป ใครควรจะทำอะไรกันในงานนี้ หากมีความจำเป็นต้องย้ายคลื่นความถี่ ผมจึงขอร่วมคิดว่าใครน่าจะทำอะไรกันบ้าง

1.กทม.จะต้องขอสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่ 800-900 เมกะเฮิรตซ์ ต่อ กสทช. ในฐานะหน่วยงานรัฐ และ กสทช. เอง ก็ต้องให้กทม.ใช้คลื่นฟรีในฐานะหน่วยงานรัฐด้วยเช่นกัน เหมือนกับการขอใช้คลื่นความถี่ฟรี เพื่อสื่อสารผ่านวิทยุกันภายในของกทม.

2.กทม. โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จะต้องปรับ BTS ให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้ ไม่ใช่แค่การขู่เท่านั้น เพราะว่าการปรับจะเป็นเครื่องต่อรองกับ BTS ในทันที

3.BTS อาจมีลูกเล่นได้คือ หากจำเป็นต้องย้ายคลื่นความถี่ เจ้าของกิจการคือ กทม. โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด อาจเป็นฝ่ายต้องจ่ายเงิน ไม่ใช่ BTS เป็นคนจ่าย แต่ทางออกแบบนี้คงเกิดได้ยากหน่อย คงอยู่ที่ กทม. จะให้คำตอบยังไง หากเอาตามนี้ กทม. ก็จะเสียประโยชน์ และกว่าจะได้แก้ปัญหาก็จะล่าช้าอีกเพราะต้องไปตั้งของบใหม่

เรื่องนี้ผมคิดว่า จะต้องใช้วิธีการทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ควบคู่กัน เรื่องค่าเสียหายก็ต้องปรับ การปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณก็ต้องทำ ปัญหาว่า “ทำอย่างไรประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด” งานนี้อยู่ที่ชั้นเชิงต่อรองที่ดี ต้องมีทั้งพระเดชและพระคุณ หากทาง BTS จะให้กทม.ออกเงินย้ายคลื่นสัญญาณเองทั้งหมด กทม.คงต้องปรับค่าเสียหายกับ BTS อย่างเต็มที่เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องได้รับความร่วมมือกันหลายฝ่าย ทั้ง กทม. กรุงเทพธนาคม BTS และกสทช. หากจะเล่นง่ายหวังจะให้ กทม. เป็นผู้จ่ายเงินเพียงฝ่ายเดียว การแก้ปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้นภายในเร็วๆ นี้แน่ เพราะมิได้เขียนไว้ในงบประมาณปี 2561 แต่ตอนนี้กทม.อยู่ในระหว่างพิจารณาข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี 2562 กันอยู่พอดี ก็ต้องรอชมวิธีการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าในคราวนี้ว่า กทม.จะเล่นง่ายยอมจ่ายเองและช้าด้วย หรือจะใช้ศาสตร์และศิลป์ของวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ต่อรองกับ BTS เพราะหากมองให้ลึกถึงสัญญาที่ทำไว้ก็กำหนดชัดเจนว่า “มาตรฐานการเดินรถ” เป็นสิ่งที่ BTS ต้องรับผิดชอบ จะปฏิเสธไม่ได้...อย่าลืม

การบริหารกรุงเทพมหานคร ต้องดูแลผู้อยู่อาศัยและแขกผู้มาเยือนกว่า 10 ล้านคน ปัญหาเกิดขึ้นได้ทุกวัน ผู้บริหารต้องกล้าตัดสินใจ แก้ปัญหา ด้วยความรวดเร็ว สุจริต เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ฝากบทความนี้ไว้พิจารณาด้วยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2018 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

เปลี่ยนไปแล้ว! หญิงพิการถ่ายรูปสะท้อนสังคมไทย แย่งคนพิการใช้ลิฟท์
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561 13:25


ภาพของหญิงพิการโดนคนร่างกายปกติแย่งใช้ลิฟท์ของสถานีรถไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกโซเชียล พร้อมคอมเมนต์มีเหตุการณ์เช่นนี้ทุกที่

วันนี้ (26 ส.ค.) เพจ "คิดดี 4.0" ได้โพสต์รูปภาพสะท้อนสังคมไทยในยุคปัจจุบัน หลังมีหญิงพิการรายหนึ่งนั่งอยู่บนรถวีลแชร์เพื่อรอใช้บริการลิฟท์ของสถานี้รถไฟฟ้า บีทีเอส แห่งหนึ่ง พร้อมกับมีผู้โดยสารที่ร่างกายปกติยืนรออยู่หน้าลิฟท์อีกจำนวนหนึ่ง เมื่อถึงเวลาลิฟท์มา ปรากฎว่าผู้ที่มีร่างกายครบสมบูรณ์กลับแย่งเข้าไปใช้บริการของลิฟท์ ทำให้สาวพิการต้องรอใช้ลิฟท์ครั้งต่อไป แม้จะมีป้ายที่มีข้อความว่า "โปรดเอื้อเฟื้อลิฟต์แก่คนพิการ" ติดอยู่ก็ตาม

อย่างไรก็ตามเพจ "คิดดี 4.0" ได้ระขุข้อความว่า "คนพิการต้องเดินทางไปทำงานเจอเหตุการณ์แบบนี้ทุกวัน เลยให้เพื่อนแอบถ่ายภาพพฤติกรรมของคนไทย คนที่บอกว่ามีจิตใจดีงาม โอบอ้อมอารีย์ ไม่มีการใช้ตัวแสดงแทน แซงจริง เบียดจริงไร้น้ำใจ ไร้มนุษยธรรมจริงๆ"

จากโพสต์ดังกล่าวทำให้มีชาวเน็ตเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์นี้เป็นอย่างมาก
https://www.facebook.com/kiddee4.0/posts/455663911587492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2019 3:26 pm    Post subject: Reply with quote

หนุ่มยืนพิงเสารถไฟฟ้าบีทีเอส คนเตือน งงผิดตรงไหนแถมชี้หน้าด่าคนเตือนกลับ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 24 เมษายน 2562 13:00



เหตุการณ์หนุ่มยืนพิงเสารถไฟฟ้าบีทีเอส จนคนออกมาเตือนแต่ไม่สำนึกด่ากลับ ล่าสุดทางบีทีเอสย้ำไม่ใช่แค่เรื่องความสะดวก แต่เป็นเรื่องของความปลอดภัยด้วย

จากกรณี เมื่อวันที่ (23 เม.ย.) กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อยู่ขณะนี้ โดยในทวิตเตอร์มีการแชร์สตอรี่ของชายคนหนึ่ง ซึ่งแคปภาพการแชทคุยกับเพื่อนผ่านอินสตาแกรม โดยเพื่อนของชายคนดังกล่าวได้บอกว่า เดินเข้าไปในรถไฟฟ้าบีทีเอสและ "ยืนพิงเสาที่คนจับ" ก่อนจะมีคนมาสะกิดเตือนถึง 2 รอบ และเตือนว่าอย่าพิงเสา ชายคนดังกล่าวเล่าอีกว่า ตอนจะลงจากรถไฟฟ้าตนเองได้ชี้หน้าบอกคนเตือน และบอกไปว่า "อยู่เฉยๆ อย่าเสือก" ก่อนจะโดนอีกฝ่ายบอกว่านิสัยไม่ดีเลย ซึ่งเจ้าตัวงงว่าพิงเสาไปทำให้อีกฝ่ายเดือดร้อนอะไร พร้อมสอบถามเพื่อนว่าตนเองผิดอะไร และถ้าเป็นเพื่อนเจอเหตุการณ์ดังกล่าวจะทำยังไง

ทั้งนี้ ภาพจากสตอรี่ดังกล่าวถูกแชร์ไปทั่วโลกออนไลน์หลายคนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เพราะประเด็นการยืนพิงเสาในรถสาธารณะอยู่เรื่อยๆ เพราะการยืนพิงเสาทำให้ผู้โดยสารคนอื่นไม่มีที่ยึดจับเวลารถเคลื่อนที่ ขณะเดียวกันจากการตรวจสอบพบว่าชายคนดังกล่าวเคยมีชื่อร่วมโครงการหนุ่มโสดหล่อในฝันชื่อดัง ซึ่งทำเอาหลายคนผิดหวังกับพฤติกรรมและความคิดของชายคนดังกล่าวเป็นอย่างมาก

ล่าสุด วันนี้ (24 เม.ย.) ทวิตเตอร์ “BTS skytrain” ได้ออกมาเปิดเผยเพิ่มเติมว่า “06.50 น. ขบวนรถให้บริการทุกสถานีทั้งสายสีลม และสายสุขุมวิทครับ มีประเด็นร้อนเรื่องการยืนพิงเสาในรถไฟฟ้า ขอเรียนให้ทราบว่า ห่วง เสา และราวในขบวนรถ ไม่ใช่แค่ความสะดวก แต่เป็นเรื่องของความปลอดภัยด้วยครับ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2019 6:07 am    Post subject: Reply with quote

⚠️ ช่วง ไขปัญหาดราม่า
BKKTrains
13 ตุลาคม 2562

🚈 หลังจากพายุฮากีบิส พัดผ่านประเทศญี่ปุ่นไป ประเทศญี่ปุ่นฟื้นตัวได้รวดเร็ว เพราะมีมาตรการณ์รองรับที่ดี เนื่องจากเขาเจอภัยพิบัติบ่อย จึงมีคู่มือ มีแนวปฏิบัติ เพื่อป้องกันความเสียหายหรือลดความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติที่เขาต้องเจอ

🚈 แต่เมื่อไปส่องคอมเม้นต์ตามโพสในเพจต่างๆ ยังมีคนไทยบางส่วนยังไม่ทราบว่าในประเทศไทย ก็มีมาตรการณ์ป้องกันภัยพิบัติในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อยู่แล้ว รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย วันนี้เลยอยากจะขอมา #บอกเล่า ว่า เรื่องเข้าใจผิดต่างๆ ความจริงมันเป็นอย่างไรนะครับ

📣📣📣

🚈 เรื่องแรก เรื่องอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม แหมมม บางคนก็เม้นท์เอาสนุกเลยนะครับ ว่าบ้านเราไม่มี แค่เห็นรูป Flood Board แบบอัตโนมัติในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของประเทศญี่ปุ่น ที่แชร์กันในโลกโซเชียล ก็มาหาว่าของบ้านเราไม่มีเสียอย่างนั้น

🚈 ความจริง รถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทย มีการออกแบบเพื่อป้องกันความเสียหายจากเหตุอุทกภัยไว้เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเหตุน้ำท่วม น้ำไม่เข้าสถานีอย่างแน่นอน โดยการออกแบบเพื่อป้องกันน้ำท่วมสถานี จะมีการออกแบบไว้ 2 ขั้น

🚈 ขั้นแรกเลย ที่ทางเข้าสถานีใต้ดินทุกสถานี คุณผู้อ่านอาจจะเห็นว่าเป็นบันไดขึ้นไปสูงพอสมควร ก่อนที่จะเจอบันไดเลื่อนลงไปยังสถานีด้านล่าง ขั้นบันไดที่เห็นนั่นแหละครับ เขาออกแบบให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดใน กทม. บันทึกย้อนหลังไป 200 ปี และยังเผื่อไว้ให้สูงกว่าอีก 1 เมตร ดังนั้น ต่อให้น้ำมาขนาดไหน ยังไง๊ ยังไง ก็ไม่ท่วมเข้าไปภายในสถานีอย่างแน่นอน

🚈 แต่ถ้าหากน้ำมาเยอะกว่าที่คาดการณ์ไว้ ที่บริเวณซุ้มทางเข้าสถานี ตรงที่ติดประตูบานเหล็กม้วน หรือ Roller Shutter จะมีจุดติดตั้ง Flood Board หรือ Stop Log เพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประเมินแล้วว่า ระดับน้ำอาจจะสูงกว่าระดับน้ำสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ จะดำเนินการติดตั้ง Flood Board ที่ทางเข้าเพิ่มเติมครับผม

🚈 และนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา ตัว Flood Board เคยมีการติดตั้งเพื่อใช้งานจริงเพียงครั้งเดียว ในช่วงปลายปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์มหาอุทภัยในพื้นที่ภาคกลางครับ แต่ระดับน้ำที่ท่วมในเขตที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินตั้งอยู่ ก็ยังมีระดับไม่สูงเกินกว่าขั้นบันไดครับผม

🚈 สำหรับการฝึกซ้อมการติดตั้ง Flood Board เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำครับ ดังนั้นไม่ต้องห่วงครับ หากเกิดเหตุการณ์ในประเทศไทยขึ้นมา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตั้ง Flood Board เพื่อป้องกันน้ำท่วมได้อย่างแน่นอนครับ

🚈 นอกจากนี้ ขั้นบันไดที่ออกแบบไว้ให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดใน กทม. ที่เคยมีการบันทึกไว้ ยังมีการใช้กับการออกแบบสถานียกระดับ ในส่วนของทางขึ้นลงที่เป็นบันไดเลื่อน และลิฟต์ (ยกเว้นลิฟต์ของสถานี BTS ที่ กทม. ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติม) หรือแม้กระทั่ง อาคารทางเข้าสถานีของสายสีม่วง ก็จะมีการยกพื้นสูงไว้ครับ

📣📣📣

🚈 เรื่องต่อมา จากภาพรถไฟ Shinkansen รุ่น E7/W7 จมน้ำ ใน Depot ที่จังหวัด Nagano รายละเอียดทางเพจเราขอไม่พูดถึงนะครับ ซึ่งทางญี่ปุ่นคงมีวิธีดำเนินการกับรถไฟเหล่านั้นต่อไป อาจจะซ่อมแซม หรือปลดระวาง หากปลดระวาง เขาก็อาจจะดำเนินการ Scrap มันทิ้ง หรือบริจาคให้ สถาบันการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา หรือเอาไปตั้งโชว์ในพิพิธภัณฑ์ หรือเอาไปทำอะไรก็ตามแต่ ต้องติดตามดูกันต่อไปครับ

🚈 แต่ที่ทีมงานเพจเรา และเพื่อนแอดมินอีกหลายๆ เพจ ไปเจอมา คือบอกให้ขายให้ประเทศไทยเป็นของมือสอง เนื่องจาก “ประเทศไทยซื้อรถไฟมือสองมาใช้เป็นประจำ” อันนี้อยากจะขอแก้ข่าวนะครับ

🚈 ในประเทศไทย มีการนำรถไฟมือสองจากญี่ปุ่นมาใช้งานก็จริง แต่เป็นส่วนน้อยมาก และที่นำเข้ามาจะเป็นรถไฟของ รฟท. ที่ใช้ในวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น รถไฟจัดเฉพาะ VIP ที่ดัดแปลงมาจากรถไฟ Blue Trains ของ JR West หรือรถไฟตู้นอนบางตู้เท่านั้น

🚈 แต่รถไฟฟ้าในประเทศไทยทั้งหมด ทุกสายทุกระบบนั้น เป็น “รถไฟมือหนึ่ง” ประกอบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดครับ ไม่มีการซื้อ “รถไฟฟ้ามือสอง” จากประเทศอื่นๆ มาใช้งานแต่อย่างใดครับ

🚈 อย่างภาพประกอบในโพสนี้ เป็นภาพการประกอบรถไฟฟ้า BTS Siemens-Bozankaya EMU ในโรงงานของบริษัท Bozankaya เมือง Ankara ประเทศตุรกีครับ

📣📣📣

⚠️ ต่อไปนี้ใครบอกว่า รถไฟฟ้าใต้ดินของไทยไม่มีระบบป้องกันน้ำท่วม เพราะไม่มี Flood Board แบบออโต้เหมือนญี่ปุ่น หรือ รถไฟฟ้าในเมืองไทยใช้รถไฟมือสองจากเมืองนอก เราจะเรียกพวกไปช่วยกัน "ตีมือ" คนเม้นท์เลย

🙏 หลังจากอ่านโพสนี้แล้ว อย่าลืม 👍 กดไลค์ (Like) ➡️ กดแชร์ (Share) ⭐️ กดติดดาว (See First) ให้เพจของเราด้วยนะครับ เพื่อจะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ๆ รวมถึงสาระความรู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้าในประเทศไทยครับ 🇹🇭

📣 ปุกาดๆ ตอนนี้ทางเพจเรามี Twitter แล้วนะฮะ สามารถติดตามได้ที่ Twitter : @BKKTrains ครับผม

🙏 ขอขอบคุณภาพประกอบการติดตั้ง Flood Board จากไทยรัฐ และภาพรถไฟฟ้า BTS ในโรงงาน Bozankaya จาก www.wowturkey.com ครับผม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2021 2:26 pm    Post subject: Reply with quote

บัวหลวงย้ำ BTSGIF ยังน่าลงทุน แม้โควิดกระทบราคาประเมินลดลง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 00:19
ปรับปรุง: 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 00:19

นายพรชลิต พลอยกระจ่าง รองกรรมการผู้จัดการ Head of Real Estate & Infrastructure Investment บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) เปิดเผยว่า จำนวนผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้า BTS (เฉพาะส่วนหลัก สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน) ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ล่าสุดเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ 6.7 ล้านเที่ยว ลดลง 46.4% จากเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้น 93.6% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งปี 2563/2564 (เดือนเมษายน 2563-มีนาคม 2564) อยู่ที่ 124.9 ล้านเที่ยว ลดลง 47.3% จากปี 2562/2563 ซึ่งมี 236.9 ล้านเที่ยว

ทั้งนี้ กองทุน BTSGIF ได้ทำการประเมินทรัพย์สินเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งบริษัทประเมินทรัพย์สินได้ทำการประเมินเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 โดยปรับปรุงประมาณการรายได้และรายจ่ายสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 และปีอื่นๆ หลังจากนั้น พร้อมทั้งให้ราคาประเมินใหม่ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 อยู่ที่ 44,790 ล้านบาท ลดลงจากการประเมินครั้งก่อนหน้า 5,520 ล้านบาท

“โดยปกติมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนลงทุนในปัจจุบันจะลดลงตามอายุของสิทธิในรายได้สุทธิตามสัญญาสัมปทานที่จะหมดอายุในปี 2572 อยู่แล้ว แต่เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสมมติฐานค่าโดยสารและการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง เราจึงต้องนำปัจจัยเหล่านี้มาใช้ในการประเมินทรัพย์สินครั้งนี้เพิ่มเติมด้วย เพื่อให้ผู้ลงทุนเห็นภาพที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งเป็นการตีมูลค่าทางบัญชีที่ไม่ได้มีผลต่อการดำเนินงาน ขณะที่ราคาหน่วยลงทุนในปัจจุบันอยู่ต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิมาก ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน” นายพรชลิตกล่าว

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย มีการกระจายวัคซีนให้ประชาชนในวงกว้าง กองทุน BTSGIF เชื่อมั่นว่าจำนวนผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้า BTS จะทยอยกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการใช้ระบบขนส่งมวลชนที่อำนวยความสะดวกให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อภายในเมืองและเชื่อมต่อกับเขตเมืองชั้นนอกได้รวดเร็ว ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อการดำเนินงานในอนาคตได้

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่สถานการณ์แพร่ระบาดยังมีอยู่ ในฐานะที่ BTSGIF เป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงร่วมมือกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องผลกระทบค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้โดยสาร ด้วยการออกมาตรการดูแลผู้โดยสารเป็นครั้งที่ 3 ขยายเวลาบัตรโดยสารที่มีเที่ยวเดินทางในบัตรหมดอายุในช่วงตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน จนถึง 31 พฤษภาคม 2564 ซึ่งผู้โดยสารสามารถทยอยนำบัตรโดยสารมาติดต่อขอรับสิทธิ์ขยายเวลาเที่ยวเดินทางได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 ธันวาคม 2564 (และเที่ยวเดินทางนี้จะมีอายุ 30 วัน นับตั้งแต่การใช้ครั้งแรก)

นายพรชลิตกล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจเกือบทุกประเภท รวมถึงการใช้ชีวิตของทุกๆ คน โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและท่องเที่ยว ซึ่ง BTSGIF ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่เราพร้อมยืนเคียงข้างประชาชนในการก้าวผ่านความท้าทายครั้งนี้ไปด้วยกัน เราขอร่วมเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายสู้ไปด้วยกัน และขอขอบพระคุณบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่งที่เสียสละเป็นด่านหน้าในการรับมือกับการแพร่ระบาด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2021 8:49 pm    Post subject: Reply with quote

สภาองค์กรผู้บริโภค วอน “บีทีเอส” นำตั๋วเดือนกลับมาใช้
อสังหาริมทรัพย์
วันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:21 น.


เลขาฯ สภาองค์กรของผู้บริโภค ชงบอร์ดบริหาร บีทีเอส นำตั๋วเดือนกลับมาใช้ ชี้ช่วยผู้บริโภคประหยัดค่าโดยสารได้

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่รถไฟฟ้าสายสีเขียว (บีทีเอส) ออกประกาศแจ้งผู้ใช้บริการว่าจะยกเลิกโปรโมชันเที่ยวเดินทาง 30 วัน และสามารถซื้อหรือเติมเที่ยวเดินทางได้ถึง 30 กันยายน 2564 เป็นวันสุดท้าย ขณะเดียวกันสภาองค์กรของผู้บริโภคระบุว่าการยกเลิกดังกล่าวกระทบผู้บริโภคเป็นอย่างมาก จึงเสนอให้รัฐเจรจากับเอกชนควบคุมราคาให้เหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วนั้น


บีทีเอส ยกเลิกตั๋วเดินทางเที่ยว 30 วัน ชี้พฤติกรรมผู้โดยสารเปลี่ยน
กรมรางเตรียมส่งหนังสือจี้ “บีทีเอส” แจงเหตุยกเลิกตั๋วรายเดือน
คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า การยกเลิกโปรโมชันดังกล่าวส่งผลกระทบกับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะวัยทำงานที่ต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ และจากบทความ ‘การยกเลิกตั๋วรายเดือน BTS ที่มาที่ไป และการแก้ไข’ ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

ได้กล่าวถึงโปรโมชั่นตั๋วเที่ยวเดินทาง 30 วัน โดยสรุปว่า ตั๋วเที่ยวเดินทางลักษณะนี้ทำให้ผู้ใช้บริการจ่ายค่าโดยสารลดลง และยังลดเวลาในการต่อคิวแลกบัตรโดยสารเที่ยวเดียวหน้าสถานีอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นราคาค่าโดยสารเฉลี่ยยังถูกลงอยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยวเมื่อใช้ตั๋วรายเดือน



คุณสารี อ๋องสมหวัง
“สภาองค์กรของผู้บริโภค ขอให้คณะกรรมการบริหารของบีทีเอสเปลี่ยนการตัดสินใจและเข้ามาแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ผู้บริโภค โดยการนำโปรโมชันเที่ยวเดินทาง 30 วันกลับมาดังเดิม เนื่องจากผู้บริโภคมีความจำเป็นที่จะต้องใช้บริการรถไฟฟ้าสายดังกล่าวอยู่ อีกทั้งตั๋วเดือนยังช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดค่าโดยสารลงได้อีก” เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าว

อย่างไรก็ตาม บริการขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า ถือเป็นโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งรัฐต้องจัดให้กับประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ และในมาตรา 56 ระบุว่า รัฐต้องจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการ ดํารงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และรัฐต้องดูแลมิให้มีการเรียกเก็บค่าบริการจนเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2021 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

'วิษณุ'เผยกรณีบีทีเอส ยังไม่เสร็จ 'กทม.-คมนาคม'กำลังคุยกันอยู่
หน้าโลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:25 น.



วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 16.15 น.ทำเนียบฯ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ทางกทม.และกระทรวงคมนาคม คุยกันอย่างไรแล้วว่า ได้ยินว่าเขากำลังคุยกันอยู่ ยังไม่เสร็จ เมื่อถามว่าตอนนี้หนี้ก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ เป็น 3.7 หมื่นล้านแล้ว นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ไม่เป็นไร เพราะไม่รู้จะทำอย่างไร ดอกเบี้ยก็ขึ้นไปทุกวัน

“ตอนนี้เขากำลังทำความเข้าใจกันอยู่ เลขาฯครม.คนใหม่ก็กำลังเร่งรัด สอบถาม สะสางอยู่ ส่วนจะเมื่อไหร่ เดี๋ยวรอหน่อย ก็รู้เอง”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/12/2021 10:32 am    Post subject: Reply with quote

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
19 ธ.ค. 64 08:37 น.
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2565417886936432

ผู้ว่าฯ กทม. กับรถไฟฟ้า

ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ผู้สมัครรับเลือกตั้งมักชู “รถไฟฟ้า” มาหาเสียง แต่ผู้ว่าฯ กทม. จะขับเคลื่อนรถไฟฟ้าได้มากเพียงใด ชาวกรุงเทพฯ คงได้ประจักษ์มาแล้วจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายซึ่ง กทม. ยังไม่มีเงินไปใช้หนี้ BTS ที่ถึงวันนี้มีหนี้อ่วมเกือบ 4 หมื่นล้านบาท !

1. รถไฟฟ้าสายแรกของกรุงเทพฯ

รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของกรุงเทพฯ ประกอบด้วยช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน กทม. เป็นเจ้าของโครงการ โดยมีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้รับสัมปทานเป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปี 2572 BTS เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 100% ทั้งงานออกแบบ ก่อสร้างและบริหารจัดการเดินรถ รวมทั้งซ่อมบำรุงรักษา จากการที่ BTS เป็นผู้รับสัมปทาน ทำให้รถไฟฟ้าสายนี้ถูกเรียกว่ารถไฟฟ้า BTS

2. รถไฟฟ้าใต้ดินช่วยยกระดับระบบรางของไทย

2.1 รถไฟฟ้าใต้ดินเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ครม. มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2537 กำหนดให้รถไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลาง 25 ตารางกิโลเมตร “ต้อง” สร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน และพื้นที่ภายในวงแหวนรอบในหรือถนนรัชดาภิเษก 87 ตารางกิโลเมตร “ควร” สร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตัดสินใจสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ เป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน นั่นหมายความว่าได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินก่อน ครม. มีมติให้ก่อสร้างในปี 2537 มานานแล้วหลายปี

หลายคนคงสงสัยว่าแนวเส้นทางของรถไฟฟ้า BTS ก็อยู่ในพื้นที่ส่วนกลาง แต่ทำไม กทม. จึงไม่กำหนดให้สร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ? ตอบได้ว่า (1) กทม. ลงนามในสัญญาสัมปทานกับ BTS ก่อนที่ ครม. มีมติกำหนดพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน และ (2) หากก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS เป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าก่อสร้างจะแพงขึ้นอีกมาก ไม่มีเอกชนรายใดสนใจจะลงทุนเองทั้งหมด 100%
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าแนวคิดการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินมีมานานแล้ว

2.2 ใครเป็นผู้ออกแบบ และใครเป็นผู้ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ?

รถไฟฟ้าใต้ดินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อได้รับการออกแบบ “เบื้องต้น” โดยบริษัท Halcrow Asia จำกัด (ออกแบบช่วงหัวลำโพง-ห้วยขวาง) และบริษัท Dorsch Consult จำกัด (ออกแบบช่วงห้วยขวาง-บางซื่อ) และได้รับการออกแบบ “รายละเอียด” พร้อมทำการ “ก่อสร้าง” โดยกลุ่มบริษัท BCKT (ช่วงหัวลำโพง-ห้วยขวาง) และกลุ่มบริษัท ION (ช่วงห้วยขวาง-บางซื่อ)

รฟม. ได้เริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายนี้หรือที่เรียกกันติดปากว่า MRT ที่สถานีบ่อนไก่ (สถานีคลองเตย) เป็นสถานีแรก ในปี 2540 และได้ก่อสร้างตลอดระยะทางแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ในปี 2547

ทั้งนี้ การออกแบบและก่อสร้างมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก อีกทั้งยังมีนิสิต นักศึกษามาฝึกงาน หรือมาเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการทำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยรวมอยู่ด้วย

3. รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา

หลายคนคงไม่รู้ว่ารถไฟฟ้าสายแรกที่วิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาคือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงสนามไชย-ท่าพระ รถไฟฟ้าช่วงนี้ได้รับการออกแบบ “เบื้องต้น” โดยกลุ่มบริษัท บีเอ็มทีซี (BMTC) ซึ่งเป็นแบบที่ไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะนำไปใช้ก่อสร้างได้ และออกแบบ “รายละเอียด” โดยบริษัท AECOM หรือเออีคอม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นแบบที่สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างได้ โดยมีบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ก่อสร้าง รถไฟฟ้าช่วงนี้ได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2562
ทั้งนี้ การออกแบบอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ “เบื้องต้น” หรือออกแบบ “รายละเอียด” จะต้องใช้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรหลายคนและหลายสาขา พูดได้ว่ามีผู้เกี่ยวข้องมากมาย วิศวกรคนเดียวไม่สามารถออกแบบได้

4. หน่วยงานใดกำกับดูแลรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ มากที่สุด ?

ถึงเวลานี้ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีรถไฟฟ้าใช้เป็นระยะทาง 209 กิโลเมตร ภายใต้การกำกับดูแลของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย รฟม. รฟท. และ กทม.
รฟม. กำกับดูแลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 48 กิโลเมตร และสายสีม่วง 23 กิโลเมตร รวมเป็น 71 กิโลเมตร
รฟท. กำกับดูแลรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ 28.5 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีแดง 41 กิโลเมตร รวมเป็น 69.5 กิโลเมตร
กทม. กำกับดูแลรถไฟฟ้าสายสีเขียว 66.7 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีทอง 1.8 กิโลเมตร รวมเป็น 68.5 กิโลเมตร

ทั้งนี้ แผนแม่บทรถไฟฟ้ามีโครงข่ายรถไฟฟ้ายาวทั้งหมดประมาณ 560 กิโลเมตร ดังนั้น ยังเหลือรถไฟฟ้าที่จะต้องก่อสร้างอีกประมาณ 351 กม. เมื่อพิจารณาหน่วยงานที่กำกับดูแลโครงข่ายรถไฟฟ้าในแผนแม่บทฯ พบว่า รฟม. เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลรถไฟฟ้ามากที่สุด

5. ผู้ว่าฯ กทม. ควรขับเคลื่อนรถไฟฟ้าอย่างไร ?

5.1 กทม. ควรลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายหลักหรือไม่ ?
หากรัฐบาลไม่สนับสนุนเงินในการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้ กทม. นับเป็นเรื่องยากที่ กทม. จะลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายหลักซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง ดังตัวอย่างจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต ที่ กทม. เป็นหนี้ BTS ถึงเวลานี้เกือบ 4 หมื่นล้านบาท หนี้ก้อนใหญ่นี้เป็นหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา หนี้ค่าจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ค่าติดตั้งอาณัติสัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว

อีกทั้ง กทม. จะต้องเตรียมเงินไว้เป็นค่าจ้างเดินรถตั้งแต่เวลานี้จนถึงปี 2572 รวมทั้งค่าดอกเบี้ยงานโยธาถึงปี 2572 และค่าชดเชยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท (BTSGIF) อีกประมาณ 9 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งหมดประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งรายได้จากค่าโดยสารของส่วนต่อขยายมีไม่พอ เพราะขาดทุน
ด้วยเหตุนี้ กทม. จึงไม่ควรลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายหลักหากไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

5.2 กทม. ควรลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าประเภทใด ?
กทม. ควรหันมาลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายรองทำหน้าที่ขนผู้โดยสารมาป้อน (Feeder) ให้รถไฟฟ้าสายหลัก ดังเช่นรถไฟฟ้าสายสีทองที่ขนผู้โดยสารบริเวณคลองสานมาป้อนให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงสะพานตากสิน-บางหว้าที่สถานีกรุงธนบุรี เป็นต้น
รถไฟฟ้าสายสีทองเป็นรถไฟฟ้า APM (Automated People Mover) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ ใช้ล้อยางวิ่งบนพื้นคอนกรีตโดยมีรางเหล็กวางอยู่ตรงกลางระหว่างล้อซ้ายขวาเพื่อช่วยนำทาง เลี้ยววงแคบและไต่ทางลาดชันได้ดี กินพื้นที่น้อยเนื่องจากใช้โครงสร้างขนาดเล็ก APM เป็นที่นิยมใช้ในพื้นที่ที่มีผู้โดยสารไม่มาก ใช้เงินลงทุนต่ำกว่ารถไฟฟ้าสายหลัก สำหรับกรณีรถไฟฟ้าสายสีทองนั้นมีเอกชนมาร่วมลงทุนด้วย กทม. ควรใช้รูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีทองในการก่อสร้าง APM ขนผู้โดยสารป้อนให้รถไฟฟ้าสายหลักสีต่างๆ ต่อไป

5.3 กทม. ควรทำอย่างไร เพื่อให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ?
กทม. ควรเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างหรือปรับปรุงจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (Intermodal Station) ซึ่งเป็นจุดรวมของยานพาหนะหลากหลายประเภท เช่นรถไฟฟ้า รถเมล์ รถตู้ รถสองแถว รถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก รถส่วนตัว และเรือ ให้มีที่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร ที่รอรถ และทางเดินที่มีหลังคากันแดดกันฝน เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้ผู้โดยสารในการเปลี่ยนใช้ยานพาหนะ ซึ่งจะทำให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น

6. สรุป
กทม. มีภาระหน้าที่มากมายภายใต้งบประมาณจำกัด ไม่ได้มีหน้าที่แก้ปัญหาจราจรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ กทม. จึงควรเลือกลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ใช้เงินน้อยกว่าหรือรถไฟฟ้าสายรองในระยะทางสั้นๆ ดังเช่นรถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับหรือ APM ที่ทำหน้าที่ขนผู้โดยสารมาป้อนให้รถไฟฟ้าสายหลัก ซึ่งจะช่วยให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าได้รับความสะดวก สบาย และรวดเร็ว ส่งผลให้มีผู้หันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น
นั่นคือบทบาทของผู้ว่าฯ กทม. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าในความเห็นของผม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2022 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

Anake Nawigamune
31 ม.ค. 65 20:15 น.
เดินรถไฟฟ้าวันแรก-5ธค2542

เอนก นาวิกมูล เขียนค่ำ 19.30น. จันทร์31 มกราคม 2565

ถ้าไม่ได้รับโปสการ์ดใบนี้ผมคงตอบไม่ได้ว่าเมืองไทยเริ่มเดินรถลอยฟ้าเมื่อวันใดของปี2542

Arrow https://www.facebook.com/anake.nawigamune/posts/2020995618062114
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2022 8:11 pm    Post subject: Reply with quote

พร้อมแล้ว “กรุงเทพธนาคม” ลุยเปิดสัญญา “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” สัญญาไหนบ้าง
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:30 น.

“กรุงเทพธนาคม” เล็งเปิด สัญญา “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” หลังกทม.มอบหมายดูแล เดินหน้าลงนามให้ความเห็นชอบเปิดเผยข้อมูลร่วมเอกชนคู่สัญญา

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ผศ.ประแสง มงคลศิริ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เปิดเผยว่า ตามที่กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างและมอบหมายให้บริษัทดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใน 2 สัญญาคือ สัญญาที่กรุงเทพมหานคร ได้ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้บริหารระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ระยะเวลา 30 ปี ลงนามเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 หรือสัญญาโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายที่ 1 ประกอบด้วย



1.ส่วนต่อขยายสายสีลม 2.2 กิโลเมตร (สถานีสะพาน ตากสิน-วงเวียนใหญ่)
2.ต่อขยายสายสุขุมวิท 5.25 กิโลเมตร (สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง)
3. ส่วนต่อขยายสายสีลม 5.3 กิโลเมตร (สถานีวงเวียนใหญ่-บางหว้า) และ
4. การเดินรถหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2572 ไปถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2585



พร้อมแล้ว “กรุงเทพธนาคม” ลุยเปิดสัญญา “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” สัญญาไหนบ้าง

นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อตกลง ที่กรุงเทพมหานครได้มอบหมายหน้าที่ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน ให้แก่บริษัท ตามบันทึกข้อตกลงการมอบหมายกิจการในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวช่วงหมอชิต - สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 หรือบันทึกข้อตกลงมอบหมายงานโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสในส่วนต่อขยายที่ 2 เพื่อให้การดำเนินกิจการขนส่งมวลชนอันเป็นบริการสาธารณะแก่ประชาชนและด้วยหลักธรรมาภิบาลของบริษัท ที่ยึดถือความโปร่งใส ตรวจสอบได้


ทั้งนี้บริษัทจึงเห็นสมควรเปิดเผยข้อมูลในสัญญาและบันทึกข้อตกลงดังกล่าวต่อสาธารณะ ซึ่งบริษัทเห็นชอบในการที่จะเปิดเผยสัญญาดังกล่าวตามที่ในสัญญาได้กำหนดให้คู่สัญญาจะเปิดเผยข้อมูลได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากอีกฝ่าย ซึ่งวันนี้ทางบริษัทฯ โดยศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ประธานคณะกรรมการบริษัทฯและตนในฐานะกรรมการผู้อำนวยการบริษัทฯ ได้ลงนามให้ความเห็นชอบในการเปิดเผยข้อมูลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในการบริหารจัดการโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนชาวกรุงเทพฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12  Next
Page 10 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©