Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179919
ทั้งหมด:13491151
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 243, 244, 245 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/12/2021 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้า รฟม. ณ เดือนพฤศจิกายน 2564
Dec 22, 2021
PR MRTA Official


https://www.youtube.com/watch?v=egXeuDt3uyQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2021 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ลั่นตั๋วร่วม EMV ใช้ได้ มี.ค. 65 "MRT-สีแดง-รถเมล์-ทางด่วน-เรือไฟฟ้า" แตะใช้บริการสะดวก
เผยแพร่: 23 ธ.ค. 2564 18:33 ปรับปรุง: 23 ธ.ค. 2564 18:33 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” เช็กความพร้อมตั๋วร่วม EMV พร้อมใช้ มี.ค. 65 ทั้งรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-ม่วง-สายสีแดง-รถเมล์-เรือไฟฟ้า และทางด่วน สั่ง ทล.เพิ่มช่องทางลงทะเบียน M-Flow หลังยอดสมัครไม่พุ่ง มีแค่ 2 หมื่นกว่ารายเท่านั้น ส่วนทางด่วนเริ่มทดสอบ ก.พ.-มี.ค. 65

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 23 ธ.ค. 2564 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินตามแผนการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ในการนำบัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) มาใช้ในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และรถไฟชานเมืองสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปได้ภายในเดือน มี.ค. 2565 ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานบนรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถโดยสารบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด และระบบเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า รวมถึงระบบทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ด้วย

สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาและเปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือระบบ M-Flow ของกรมทางหลวง (ทล.) และ กทพ. โดย ทล.ได้ดำเนินการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบ M-Flow บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 จำนวน 4 ด่าน ได้แก่ ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 และอยู่ในช่วงทดสอบเสมือนจริง โดยจากที่เปิดให้ผู้ใช้ทางลงทะเบียนสมัครสมาชิกระบบ M-Flow ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 ล่าสุดมีผู้ลงทะเบียนสำเร็จ 20,363 คน จากจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 25,244 คน โดย 100,000 สิทธิ์แรกได้รับสิทธิพิเศษ วิ่งฟรี 2 เที่ยว โดยขณะนี้ยังมีสิทธิ์คงเหลือ 79,637 สิทธิ์ โดยให้ ทล.เพิ่มช่องทางลงทะเบียนและพิจารณาการกำหนดแนวทาง วิธีการ ขั้นตอน และแบบฟอร์ม ให้มีความกระชับและสะดวกต่อการลงทะเบียนของผู้ใช้บริการมากขึ้น

สำหรับลูกค้า M-Pass ที่ลงทะเบียน M-Flow และเลือกชำระเงินด้วยบัญชี M-Pass ผ่านช่องทางที่กำหนดจะได้รับโบนัสค่าผ่านทาง 100 บาท ซึ่งคณะกรรมการบริหารเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง ทล.ได้มีมติเห็นชอบให้มีการนำเงินค่าธรรมเนียมที่เก็บได้มาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมให้สิ่งจูงใจในการใช้ระบบ M-Flow โดยการให้ส่วนลด 20%

ส่วน กทพ.ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งระบบ M-Flow ระยะที่ 1 บนทางพิเศษฉลองรัชที่ด่านนำร่อง 3 ด่าน (จตุโชติ สุขาภิบาล 5-1 และสุขาภิบาล 5-2 สำหรับงานจัดจ้างบริหารจัดการระบบฯ คาดว่าจะดำเนินการจัดจ้างได้ภายในเดือน ม.ค. 2565 และดำเนินการติดตั้งและทดสอบระบบภายในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2565

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมของคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร และคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ โดยในด้านเทคนิคให้ รฟม.ดำเนินการจัดทำระบบตั๋วร่วมในรูปแบบการผูกกับบัญชีที่ระบุตัวตนผู้โดยสาร หรือ Account Based Ticketing (ABT) กลาง ตามแนวทางการพัฒนาของระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงในช่วงแรก และทำหน้าที่บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมในช่วงการเปลี่ยนถ่ายระบบ หลังจากนั้นให้โอนถ่ายระบบไปยังหน่วยงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมกลาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... พร้อมกันนี้ ให้เร่งพัฒนามาตรฐานบัตร และหัวอ่าน (Reader) ในรูปแบบ ABT ประเมินต้นทุนในการปรับปรุงระบบของผู้ให้บริการ (Operator) ต่างๆ

สำหรับอัตราค่าโดยสารนั้น เส้นทางที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานของ รฟท.และรฟม. ให้ดำเนินการเจรจาการปรับใช้โครงสร้างอัตราตั๋วร่วม ส่วนเส้นทางที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานให้พิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขสัญญา หรือการประมูลให้สอดคล้องกับโครงสร้างอัตราใหม่ โดยพิจารณาแนวทางในการจัดสรรรายได้ค่าโดยสาร และการเก็บค่าบริหารระบบกลางในสัญญาต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้ สนข.ร่วมกับ ทล.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ร่วมกับผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บริการระบบ M-Flow เพื่อให้เข้ามาลงทะเบียนระบบ M-Flow มากยิ่งขึ้น และให้ กทพ.ถอดบทเรียนการดำเนินงานของ ทล.เพื่อปรับปรุงแนวทางการลงทะเบียนระบบ M-Flow และการให้บริการให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการมากขึ้น รวมถึงให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทยพิจารณาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำระบบ EMV มาใช้กับทางพิเศษ พร้อมกันนี้ ให้ กทพ.พิจารณาแผนการดำเนินงานการติดตั้งระบบ EMV และระบบ M-Flow ให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อมิให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับการเก็บค่าผ่านทางพิเศษไปสู่ระบบ M-Flow ทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2021 10:33 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ศักดิ์สยาม” ลั่นตั๋วร่วม EMV ใช้ได้ มี.ค. 65 "MRT-สีแดง-รถเมล์-ทางด่วน-เรือไฟฟ้า" แตะใช้บริการสะดวก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:33 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:33 น.


เริ่ม มี.ค.65 “คมนาคม” ใช้ตั๋วร่วมขึ้นรถไฟฟ้า-ทางด่วน-รถเมล์ รวดเดียวจบ
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพฤหัสบดี ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:32 น.


"ศักดิ์สยาม" เร่งรัดการดำเนินการระบบตั๋วร่วม คาดเปิดบริการปชช.ภายใน มี.ค.65
สังคมทั่วไป
วันพฤหัสบดี ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:50 น.

"ศักดิ์สยาม" เร่งรัดการดำเนินการระบบตั๋วร่วม คาดเปิดบริการปชช.ภายใน มี.ค.65
รมว.คมนาคม เร่งรัดการดำเนินการระบบตั๋วร่วม EMV อำนวยความสะดวกให้ประชาชน คาดเปิดบริการภายใน มี.ค.65

“คมนาคม” เดินหน้าใช้ระบบตั๋วร่วม EMV เชื่อมเดินทางรถไฟฟ้า 3 สาย รวมทั้งเรือ-ทางด่วน-รถเมล์ สั่งรฟม.บริหารค่าโดยสารรถไฟฟ้า-รายได้ เตรียมประเมินต้นทุนระบบให้บริการ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 3/2564 เบื้องต้นที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินตามแผนการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทยได้รายงานความคืบหน้าการนำบัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) มาใช้ในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟชานเมือง สายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปได้ภายในเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งสามารถรองรับการใช้งาน
ในรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด และระบบเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า รวมถึงระบบทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ด้วย








ขณะเดียวกันที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินการจัดทำและทบทวนร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ....ของคณะกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ....
มีมติให้ยกเลิกคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 288/2559 สั่ง ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... และคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 362/2559 สั่ง ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2559 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... เพิ่มเติม และให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ภายใต้ คนต. ขึ้นใหม่ โดยมีหน้าที่และอำนาจคงเดิม ทั้งนี้ ให้เพิ่มเติมผู้แทนจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และกรมบัญชีกลางในองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ ด้วย




นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินการและมีมติเห็นชอบข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมของคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร และคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ โดยให้ รฟม. ดำเนินการจัดทำระบบตั๋วร่วมในรูปแบบการผูกกับบัญชีที่ระบุตัวตนผู้โดยสาร หรือ Account Based Ticketing (ABT) กลาง ตามแนวทางการพัฒนาของระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงในช่วงแรก และทำหน้าที่บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมในช่วงการเปลี่ยนถ่ายระบบ หลังจากนั้นให้โอนถ่ายระบบไปยังหน่วยงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมกลาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... และพัฒนามาตรฐานบัตร และหัวอ่าน (Reader) ในรูปแบบ ABT รวมทั้งประเมินต้นทุนในการปรับปรุงระบบของผู้ให้บริการ (Operator) ต่าง ๆ



เริ่ม มี.ค.65 “คมนาคม” ใช้ตั๋วร่วมขึ้นรถไฟฟ้า-ทางด่วน-รถเมล์ รวดเดียวจบ




ส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสารและนโยบายนั้น พบว่าเส้นทางที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานที่กำกับดูแลโดยกระทรวงคมนาคม (รฟม./รฟท.) ให้ดำเนินการเจรจาการปรับใช้โครงสร้างอัตราตั๋วร่วม ขณะที่เส้นทางที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานให้พิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขสัญญา หรือการประมูลให้สอดคล้องกับโครงสร้างอัตราใหม่


สำหรับเส้นทางที่อยู่ระหว่างการวางแผนและการศึกษา ให้ดำเนินการปรับปรุงและพิจารณาการวิเคราะห์และวางแผนโครงการในอนาคต โดยคำนึงถึงโครงสร้างอัตราตั๋วร่วมและพิจารณาแนวทางในการจัดสรรรายได้ค่าโดยสาร และการเก็บค่าบริหารระบบกลางในสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งติดตามการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ให้เป็นไปตามกรอบข้อเสนอแนะคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) ในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมแบบสมบูรณ์ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ที่สามารถบังคับใช้มาตรฐานระบบตั๋วร่วมกลาง โครงสร้างอัตราตั๋วร่วมทุกรูปแบบการเดินทางและการจัดสรรรายได้ การบังคับใช้และการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบบที่สมบูรณ์



เริ่ม มี.ค.65 “คมนาคม” ใช้ตั๋วร่วมขึ้นรถไฟฟ้า-ทางด่วน-รถเมล์ รวดเดียวจบ
ทั้งนี้ในด้านงบประมาณและเทคโนโลยี การจัดตั้งระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) เพื่อรองรับระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ ABT เพื่อจัดการระบบบัตรโดยสารและบัญชีผู้ใช้งาน โดยระบบสามารถเปิดรองรับผู้ออกบัตรหลายรายทั้งปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินได้หลากหลายรูปแบบ และการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมในรูปแบบที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านเทคนิค การกำกับดูแล และการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม พร้อมทั้งได้นำเสนอ คนต. พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค จำนวน 3คณะ และคณะทำงานด้านนโยบาย จำนวน 3 คณะ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของคณะอนุกรรมการฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2021 8:46 am    Post subject: Reply with quote

สุดจัดแห่งปี...คมนาคม2021
Source - เดลินิวส์
Thursday, December 30, 2021 08:30
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

ก่อนก้าวสู่ศักราชใหม่ 2022 วันส่งท้ายปีฉลู 2021 ที่ฉุดความสุขคนไทยให้ชอกช้ำกันอีกปีกับ "วิกฤติโควิด-19" แวดวงคมนาคมขนส่งมีปรากฏการณ์และหลากหลายเรื่องราว "ทอล์ก ออฟเดอะทาวน์" สุดจัดให้บันทึก

"ศักดิ์สยาม" รมต.คนแรกติดโควิด-19

อย่างฮือฮาเมื่อ รมว.คมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีคนแรกในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ติดเชื้อโควิด-19 จากทีมงานหน้าห้องคลัสเตอร์ "ทองหล่อ" แม้เจ้าตัวจะ ยืนยันว่าไม่ได้ไปเที่ยวผับทองหล่อ พร้อมท้าให้หาหลักฐานมาแฉ แต่ก็ถูกสังคมสร้างกระแสเต็มหน้าฟีดว่าเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ หนำซ้ำยังถูก ส.ส.พรรคเล็กขุดภาพมาอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา ซึ่ง รมว.ศักดิ์สยาม ได้ชี้แจงว่าแค่ภาพสะท้อนชีวิตหนุ่มโสด ร้องคาราโอเกะ ดื่มนมชมพู หาความสุขหลังเลิกงาน ไม่ใช่ชายเสเพล ใช้ชีวิตประมาท จนเกิดคลัสเตอร์การระบาด และแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ปล่อยภาพและปล่อยข่าวใส่ร้าย ...ฉายา "โอ๋ แซ่รื้อ" ที่สื่อมวลชน ประจำทำเนียบรัฐบาลตั้งให้ในปีก่อน ได้ฉายาใหม่ "สายขม นมชมพู"มาแทนที่ในปีนี้

สร้างเสร็จ 2 ปีไม่โอเค "สนามบินเบตง"

"สนามบินเบตง" ปักธงเปิดบริการไว้ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 63 เข้าใจได้ว่าพิษโควิด-19 ต้องเลื่อนออกไป แต่เมื่อสถานการณ์ระบาดคลี่คลาย ก็ยังไม่สามารถเปิดบริการได้ เนื่องจากติดล็อกสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) พบข้อบกพร่องด้านการบริหารความปลอดภัยด้านการบิน 72 ข้อ แม้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) จะแก้ไขเสร็จแล้ว แต่ยังไม่จบรอ กพท. พิจารณาออกใบรับรองสนามบินสาธารณะเพื่อให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ได้

ล่าสุด รมว.ศักดิ์สยาม สั่งการ ทย. เร่งเจรจาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (PSO) เนื่องจาก ทย. ขาดเม็ดเงินบริหารสนามบิน ขณะที่สายการบินนกแอร์ และสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส ที่มีเครื่องบินแบบใบพัดตามสเปกที่สร้างรันเวย์รองรับไว้ ก็ยังไม่ประกาศชัดเจนว่าจะทำการบิน รอภาครัฐสนับสนุนลดค่าธรรมเนียมขึ้นลงอากาศยาน 50% ยกเว้นค่าธรรมเนียมจอดอากาศยาน รวมทั้งเงื่อนไขการรับประกันที่นั่งผู้โดยสาร 75%

วันนี้สนามบินเบตงก่อสร้างเสร็จมานานกว่า 2 ปี ศักยภาพความโดดเด่นของสนามบินน้องใหม่ลำดับที่ 29 สนามบินที่สวยที่สุดท่ามกลางธรรมชาติหุบเขาโอบล้อมและกลิ่นอายทะเลหมอก อัยเยอร์เวง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย ยังจับต้องไม่ได้ ...ปีใหม่นี้จะโอเคได้ใช้สนามบินเบตงหรือไม่???

ดับฝันคนต่างจังหวัดได้นั่งรถไฟฟ้า

คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ในภูมิภาค 4 จังหวัด ประกอบด้วย โครงการแทรมภูเก็ต แทรมเชียงใหม่ แทรมนครราชสีมา และแทรมพิษณุโลก รฟม. ประกาศให้แทรมภูเก็ตเป็นรถไฟฟ้าเส้นแรกในต่างจังหวัดของ รฟม. แพลนก่อสร้างภายในปี 63 เปิดบริการปี 67 ปลุกความฝันของผู้คนต่างจังหวัดที่จะได้นั่งรถไฟฟ้า

แต่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่ง รฟม.รื้อโครงการแทรมภูเก็ตเป็นระบบรถโดยสารอัจฉริยะ (Automated Rapid Transit) หรือเออาร์ที (ART) ด้วยเหตุผลว่าเพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างประหยัดงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งใช้ภูเก็ตเป็นต้นแบบทบทวนใน 3 จังหวัดที่เหลือด้วย แม้ต่อมาจะชี้แจงว่าเออาร์ทีไม่ใช่รถเมล์ล้อยาง เป็นแทรมล้อยาง แต่ภาคเอกชนใน จ.ภูเก็ต ก็ยังคัดค้านแทรมล้อยาง ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคอลเอาต์#แทรมล้อเหล็ก เพื่อเชิดหน้าชูตาเมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของไทย


บ๊ายบาย! จากลา "คมนาคมยูไนเต็ด"

บิ๊กเซอร์ไพร้ส์!! ข้าราชการกระทรวงคมนาคม เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 ก.ย. 64 อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งอธิบดีกรม 3 ราย มีชื่อ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ให้ นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อยอธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) มาเสียบแทน เพราะไม่มีสัญญาณใด ๆ บ่งชี้มาก่อนว่านายปฐม ซึ่งเป็นบุคคลในเครือข่าย "ยูไนเต็ด" จะถูกเด็ดออกจากขั้ว ไร้ซึ่งคำอธิบายจากหัวหน้าทีมคมนาคมยูไนเต็ด ศักดิ์สยาม ชิดชอบ และคนถูกเด็ดตกเก้าอี้ มีแต่ หนังสือลาออกจากราชการก่อนเกษียณ 1 ปีของนายปฐม แจ้งความประสงค์ 'ปัญหาด้านสุขภาพ"

เวลาไล่เลี่ยกัน อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) นายวิทยา ยาม่วง บ๊ายบายเป็นรายที่ 2 ให้เหตุผลในหนังสือขอลาออกจากราชการ 'ต้องดูแลครอบครัว" ทั้งที่เหลืออายุราชการอีกหลายปีและรู้กันดีว่าเจ้าตัวมีความมุ่งมั่น ทุ่มเทที่จะพลิกโฉมการบริหารกรมเจ้าท่า เพื่อยกระดับบริการทางน้ำให้กับประชาชน เนื่องจากอยู่ในแวดวงงานทางน้ำ เติบโตไต่เต้า สู่อธิบดีกรมฯ จากนักเรียนจ่าทหารเรือ ...มีแค่เสียงลือเสียงเล่าอ้างระเบิดระเบ้อว่าทั้งคู่ทำงานไม่สนองนโยบาย และถูกกดดันหนักมาก เลยจากลา...เพื่อความสบายใจ

น้ำท่วมถนนพังซ่อมซ้ำซากทุกปี

น้ำท่วมปี 64 เส้นทางคมนาคมกว่า 46 จังหวัดได้รับ ผลกระทบทั้งทางหลวงและทางหลวงชนบทบางเส้นทางจมมิดกว่า 2 เมตร ภาพชินตาทางขาด ทรุด พัง คอสะพานชำรุด ดินถล่มวนลูป กลับมา น้ำป่าหลากท่วมทางหลวงหมายเลข 12 (ทล.12) สายตาก-แม่สอด ตอนแม่ละเมา-ตาก เกิดปรากฏการณ์น้ำตกดอยรวก เพราะเร่งระบายน้ำกันจ้าละหวั่นจนเป็นม่านน้ำตก น้ำท่วมถนนเพชรเกษมถูกตัดขาดรถติดยาวเหยียด รวมถึงท่วมรางรถไฟงด เดินขบวนรถหลายเส้นทาง ขบวนลงใต้จอดกะทันหันไปต่อไม่ได้ ผู้โดยสารติดค้างบนขบวนรถ สังคมเข้าใจว่าภัยธรรมชาติหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถอดบทเรียน แก้ไขปัญหาน้ำท่วมเส้นทางคมนาคมแบบถาวร อย่าซ่อมซ้ำซากทุกปี เสียดายงบประมาณ

ยี้ๆๆรื้อแบบชานชาลาสูงสร้างชานฯต่ำ

กลุ่มคนรักรถไฟ และประชาชนทั่วไปไม่ยอม!! เมื่อมีไอ้โม่งในการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สั่งปรับแบบก่อสร้างชานชาลาในโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ (เฟส) ที่ 1 จากชานชาลาสูง 110 เซนติเมตร (ซม.) ซึ่งเท่ากับพื้นตู้โดยสารรถไฟอำนวยความสะดวกผู้โดยสารทุกคนเหมือนชานชาลารถไฟฟ้ามาเป็นชานชาลาต่ำ 50 ซม. ก้าวขึ้นลงขบวนรถลำบาก ทั้งที่เรื่องความสูงชานชาลาสถานีมีข้อสรุปให้ใช้ชานฯ สูง ไปนานแล้ว

โดยส่งข้อมูลเข้ามาร้องเรียนหนังสือ พิมพ์เดลินิวส์ และเพจเฟซบุ๊ก "ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" นำเสนอข่าวต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน มี.ค. 64 อาศัยพลังเสียงโซเชียลช่วยขับเคลื่อน ใช้เวลากว่า 8 เดือน จน รฟท. แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาใหม่และมีมติให้กลับไปใช้ความสูงของชานชาลา 110 ซม. ทั้งสถานีขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและที่จะก่อสร้างใหม่ในอนาคต ส่วนที่สร้างชานฯ ต่ำไปแล้วให้ยกขึ้นสูงเช่นเดิม ประชาชนขอบคุณการรถไฟฯ ที่ฟังเสียงสังคม ตอกย้ำว่าประเทศไทยเป็นสังคมที่ต้องขับเคลื่อนด้วยการต่อว่า (ด่า)

แต่เดี๋ยวก่อน...เรื่องนี้ยัง ไม่จบ เพราะประชาชนร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.) ตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลด้วย เพราะการปรับแบบส่งผลให้โครงการล่าช้า ประชาชนเสียโอกาสในการใช้บริการ และสิ้นเปลืองงบประมาณรื้อชานชาลาต่ำสร้างใหม่ ...ต้องมีผู้รับผิดชอบ

ดราม่า "สถานีหัวลำโพง"

แม้ประเด็นร้อนจะถูกขยายผลด้วย การสร้างกระแสไปไกลเกินข้อเท็จจริงว่ารัฐบาล และกระทรวงคมนาคมจะทุบ-รื้อ-หรือปิดสถานีหัวลำโพง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้นตอดราม่า มาจากนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยกเลิกเดินขบวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง จากแผนเดิมที่จะให้เข้าสถานีหัวลำโพง 22 ขบวนจาก 118 ขบวน เพื่อลดบทบาทสถานีหัวลำโพง ไปผลักดันสถานีกลางบางซื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของอาเซียน รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้เอกชนพัฒนาสถานีหัวลำโพง เพื่อสร้างรายได้ล้างหนี้ รฟท. กว่า 6 แสนล้าน จนถูกสังคมถล่มยับ รมว.ศักดิ์สยาม ถอยแทบไม่ทัน

หาทางออกด้วยการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น "อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา" และกลับลำสั่งให้ขบวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงตามปกติไปจนกว่าการตรวจสอบหรือเช็กลิสต์ในทุกมิติ ให้ตกผลึกก่อน โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการศึกษาร่วมให้คำแนะนำตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน...สร้างบทเรียนให้ รมว.ศักดิ์สยาม รอบคอบขึ้น


พลังรถบรรทุกทุบรัฐบาลน้ำมันแพง

แม้จะกดดันให้รัฐบาลปรับราคาน้ำมันดีเซลให้ลงมาอยู่ที่ 25 บาทต่อลิตร ไม่ได้ตามข้อเสนอของสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ที่มีสมาคมรถบรรทุกกว่า 10 สมาคม รวมกว่า 4 แสนคัน แต่การจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์พลังของคน รถบรรทุก (Truck Power) 2 ครั้ง หยุดวิ่งรถบรรทุกแล้วกว่า 1 แสนคัน และเตรียมจัด "ทรัคพาวเวอร์ไฟนอลซีซั่น" ปลายเดือน ม.ค.นี้ เพื่อประท้วงรัฐบาลอีกรอบ

ท่ามกลางเสียงต้านที่ว่ารถบรรทุกส่วนใหญ่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงไม่ได้ใช้น้ำมัน กับคำถามว่าราคาน้ำมันเคยแพงกว่านี้ แต่กลับเงียบ ครั้งนี้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลังหรือไม่?? ส่วนเสียงเชียร์ก็รัว ๆ ว่าเดือดร้อนจริง ๆ และเพิ่มพลังตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารประเทศให้ฝั่งตรงกันข้ามที่ต้องการโค่นรัฐบาล...เมื่อยังไม่บรรลุเป้าหมาย พลังรถบรรทุกตามทุบรัฐบาลต่อไป

ขอให้ทุกท่านโชคดี มีสุขภาพแข็งแรง...แฮปปี้นิวเยียร์ 2022.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 31 ธ.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2022 10:48 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสู่สังคมไร้เงินสด ลุยระบบรถไฟฟ้าเริ่ม มี.ค.นี้
กรุงเทพธุรกิจ By วรรณิกา จิตตินรากร03 ม.ค. 2565 เวลา 10:00 น.

กระทรวงคมนาคมจุดพลุปี 2565 เดินหน้าพัฒนาระบบตั๋วร่วม ยกระดับบริการขนส่งสาธารณะสู่สังคมไร้เงินสด มี.ค.นี้เปิดใช้รถไฟฟ้าน้ำเงิน - ม่วง พร้อมหารือขยายขนส่งภาคเอกชน

ปี 2565 เป็นอีกปีที่คนไทยต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหมือนแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ สิ่งรอบตัวอย่างรวดเร็ว กระทรวงคมนาคมหนึ่งในผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชน ปีนี้ประกาศกร้าวว่าจะเป็นปีแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้โดยสารที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุถึงนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอบรับสังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ลดลง จากการลดการสัมผัส ลดการจ่ายเงินสด และทำให้การใช้ระบบขนส่งมวลชนสะดวก ว่องไว ลดปัญหาความแออัดของการเดินทางต่างๆ



โดยในปีที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้ยกระดับระบบขนส่งรองรับเทคโนโลยีที่สามารถใช้บัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) จ่ายค่าผ่านทางได้ นำร่องในส่วนของระบบทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 5 สายทาง ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (วงแหวนใต้)

สำหรับขั้นตอนการใช้งาน EMV เพียงแค่ขับรถเข้าช่องเงินสด ลดกระจก และแตะบัตรที่มีสัญลักษณ์ Contactless ซึ่ง กทพ.วางเป้าหมายว่าจะเพิ่มการใช้ระบบ EMV ทดแทนการชำระด้วยเงินสดทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งกระทรวงฯ ยังมีเป้าหมายจะพัฒนาระบบทางด่วนไปสู่ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow และระบบตั๋วร่วม ซึ่งใช้บัตรเพียงใบเดียวสามารถเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง และเรือโดยสาร

“ระบบ EMV จะช่วยอำนวยความสะดวก ชำระเงินค่าบริการต่างๆ ด้วยบัตรมาตรฐานสากลเพียงใบเดียว อย่างทางด่วนก็สามารถจ่ายค่าผ่านทาง มีความเร็วในการผ่านด่านกว่าการจ่ายเงินสดถึง 1 เท่า และหลีกเลี่ยงการสัมผัส ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รองรับสถานการณ์และปรับตัวในรูปแบบ New Normal เตรียมความพร้อมประเทศด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมดิจิทัล”

อย่างไรก็ดี ในปี 2565 กระทรวงฯ เตรียมขยายบริการ EMV ครอบคลุมในระบบขนส่งประเภทอื่นๆ ผ่านการพัฒนาระบบ EMV มาใช้เป็นระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟชานเมือง สายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปได้ภายในเดือน มี.ค.2565

สำหรับระบบตั๋วร่วมที่ออกแบบอยู่นี้ กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และธนาคารกรุงไทย กำลังพัฒนาระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing หรือ ABT ซึ่งเป็นมาตรฐานทางเทคโนโลยีแบบการใช้บัญชีระบุตัวตนผู้โดยสาร วิธีการนี้เป็นการใช้บัตรผ่านระบบบัญชี ซึ่งนำบัตรเครดิตชนิด EMV มาใช้เป็นตั๋วร่วมสำหรับระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ

ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางก่อน แล้วชำระเงินภายหลังพร้อมรอบการชำระบัตรเครดิต เป็นระบบที่สามารถขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทุกระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำ ทางระบบทางพิเศษ และเรือโดยสาร โดยปัจจุบันได้มีการใช้งานเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า (MINE Smart Ferry) และรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป้าหมายในปี 2565 กระทรวงฯ จะขยายให้ครอบคลุมรถโดยสารของเอกชนร่วมบริการ
    “ภาพของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของไทยสู่การรองรับสังคมดิจิทัล และสังคมไร้เงินสดนี้ จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2565 เมื่อนำร่องติดตั้งระบบตั๋วร่วมกับขนส่งมวลชนของภาครัฐแล้ว อนาคตจะขยายบริการดังกล่าวไปยังรถบบขนส่งของภาคเอกชน รวมไปถึงการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ระบบขนส่งในอนาคต หลังจากนี้จะต้องรองรับการใช้จ่ายด้วยระบบตั๋วร่วม เพื่อทำให้ประชาชนมีความสะดวก และลดการสัมผัส เป็นประเทศสังคมดิจิทัล”

ขณะเดียวกัน กระทรวงฯ ยังอยู่ระหว่างผลักดันการจัดทำและทบทวนร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ อาทิ ด้านเทคนิค โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดทำระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ ABT กลาง ตามแนวทางการพัฒนาของระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงในช่วงแรก หลังจากนั้นให้โอนถ่ายระบบไปยังหน่วยงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมกลาง

ส่วนด้านอัตราค่าโดยสารและนโยบายอยู่ระหว่างศึกษา อาทิ เส้นทางที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานที่กำกับดูแลโดยกระทรวงคมนาคมจะต้องดำเนินการเจรจาการปรับใช้โครงสร้างอัตราตั๋วร่วม ส่วนสำหรับเส้นทางที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานให้พิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขสัญญา หรือการประมูลให้สอดคล้องกับโครงสร้างอัตราใหม่ และเส้นทางที่อยู่ระหว่างการวางแผนและการศึกษา ให้ดำเนินการปรับปรุงและพิจารณา การวิเคราะห์และวางแผนโครงการในอนาคต โดยคำนึงถึงโครงสร้างอัตราตั๋วร่วมเป็นหลัก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2022 8:02 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

'ศักดิ์สยาม'ลุย36บิ๊กโปรเจกต์ปี65 ลงทุน1.98ล้านล้าน แย้มเปิดPPPกว่า5.1แสนล้าน
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Tuesday, January 04, 2022 05:38

ผู้จัดการรายวัน360 -"ศักดิ์สยาม" ลุยแผนลงทุนปี 65 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 36 โครงการ กว่า 1.98 ล้านล้านบาท ครอบ คลุมทางบก ราง น้ำ อากาศ เตรียมเปิด PPP กว่า 5.117 แสนล้าน พร้อมสั่งหน่วยงาน บูรณาการปรับรูปแบบลงทุน เพิ่มความคล่องตัว ทั้งใช้ PPP หรือ TFF ย้ำการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแม้ใช้งบสูง แต่เป็นการสร้างศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของประเทศให้แข็งแรงและแข่งขันได้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2565 กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ จำนวน 36 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.98 ล้านล้านบาท ซึ่งมีทั้งโครงการที่ได้รับอนุมัติอยู่ระหว่างดำเนินการต่อเนื่อง และ โครงการที่จะเสนอขออนุมัติเพื่อดำเนินการ ครอบคลุมทั้งคมนาคมทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมมีมูลค่าสูง แต่เป็นการลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพของประเทศไทยในอนาคต เพราะหากสามารถสร้างระบบ โลจิสติกส์ของประเทศให้แข็งแรง เป็นโอกาสที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันได้ โดยการลงทุนต่างๆ เป็นส่วนทำให้เกิดรายได้แก่ประเทศด้วย ไม่ใช่ลงทุนไปแล้ว ไม่ได้อะไรเลย

ส่วนมิติในการลงทุน มีหลายรูปแบบ ทั้งใช้ งบประมาณปกติ ซึ่งทราบกันดีว่ามีข้อจำกัดค่อนข้าง มาก ดังนั้น ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมต่อจากนี้ จะพิจารณาเครื่องมือการลงทุน รูปแบบอื่น ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้วางไว้ ทั้งการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) หรือใช้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) รวมถึงการให้หน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกัน เช่น บางโครงการ หน่วยงานราชการ ทำเองไม่ได้ ติดขัดงบประมาณ ก็บูรณาการกับรัฐวิสาหกิจเช่น กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไปหารือ นำผลศึกษามาบูรณาการร่วมกัน เพื่อผลักดันโครงการขนาดใหญ่ให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ อย่ากอด โครงการไว้ เพราะไม่รู้จะได้ทำเมื่อไร

"โครงการขนาดใหญ่ มักจะศึกษาไว้นาน บางโครงการเป็น 10 ปีแล้ว เวลาผ่านไปข้อมูลก็เปลี่ยนไป ไม่ตอบโจทย์กับสิ่งที่เป็นปัจจุบัน บางโครงการผลศึกษาทั้งโครงการอาจมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ต่ำ แต่ช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ จึงมีแนวคิดว่า อาจนำบางช่วงของโครงการที่มี EIRR ดี และแก้ปัญหาจราจรได้ มาทำโดยใช้ TFF ลงทุน เช่น โครงการวงแหวนรอบ 3 ที่เดิมมีทั้งส่วนของถนน และมีสะพานข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการจ.สมุทรสาคร ซึ่งทั้งโครงการยังไม่ผ่านการพิจารณา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และ EIRR ไม่คุ้มค่าก็ให้พิจารณาดูว่า หากตัดเฉพาะช่วงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากแยกปู่เจ้าสมิงพราย มาถึงแยกพระสมุทรเจดีย์ จะมีผล EIRR คุ้มค่าหรือไม่ แล้วให้ กทพ. เป็นเจ้าของโครงการใช้ กองทุน TFF ก่อสร้าง ได้ หรือไม่ ส่วนกรณีที่ประชาชนต้องจ่ายค่าผ่านทางนั้น จะเป็นเหมือนทางด่วน ซึ่งทุกวันนี้ มีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาหลายแห่ง มีทั้งแบบใช้ฟรี กับแบบเสียเงิน ก็ถือเป็นอีกทางเลือก เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้ และ ใช้เงินให้คุ้มค่าและได้ผลประโยชน์ผลตอบแทน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและประชาชน" นายศักดิ์สยามกล่าว

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่จะเร่งรัดดำเนินการในปี 2565 มีวงเงินรวม 1.985 ล้านล้านบาท จำนวน 36 โครงการ โดยมีแหล่งเงินลงทุนจาก 5 ส่วน
    1.งบประมาณ วงเงิน 2.177 แสนล้านบาท คิดเป็น สัดส่วน 11%
    2.เงินรายได้ วงเงิน 1.111 แสนล้านบาทสัดส่วน 6%
    3.เงินกู้ 1.114 ล้านล้านบาท สัดส่วน 56%
    4. PPP วงเงิน 5.117 แสนล้านบาท สัดส่วน 26%
    5.TFF วงเงิน 3.437 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 1%

โดยเป็นโครงการทางบก 11 โครงการ วงเงิน ลงทุน 2.615 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย วงเงินรวม 2,864.73 ล้านบาท (งบประมาณ 2,834.61 ล้านบาท / PPP 30.12 ล้านบาท) 2.โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม วงเงินรวม 1,159.82 ล้านบาท (งบประมาณ 842.29 ล้านบาท / PPP 317.53 ล้านบาท)
3.มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมาวงเงินรวม 65,621.24 ล้านบาท (งบประมาณ 59,410.24 ล้านบาท / PPP 6,211 ล้านบาท)
4.มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงินรวม 43,582.07 ล้านบาท(งบประมาณ 38,578.07 ล้านบาท / PPP 5,004 ล้านบาท)
5.มอเตอร์เวย์สาย สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว วงเงินรวม 2,317.44 ล้านบาท (งบประมาณ 10,479.29 ล้านบาท / เงินรายได้ 197 ล้านบาท / PPP 1,641.15 ล้านบาท)
6.มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต-บางปะอิน วงเงินรวม 27,742.80 ล้านบาท (PPP 27,742.80 ล้านบาท)
7.มอเตอร์เวย์ สายวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก ตอนบางขุนเทียนบางบัวทอง วงเงินรวม 56,035.26 ล้านบาท (PPP 56,035.26 ล้านบาท)
8.โครงการก่อสร้างสะพานเกาะลันตา วงเงิน รวม 1,800 ล้านบาท (งบประมาณ 540 ล้านบาท / เงินกู้ 1,260 ล้านบาท)
9.โครงการก่อสร้างสะพานทะเลสาบสงขลา วงเงินรวม 4,700 ล้านบาท (งบประมาณ 1,410 ล้านบาท / เงินกู้ 3,290 ล้านบาท)
10.ทางพิเศษสาย พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ วงเงินรวม 31,244 ล้านบาท (งบประมาณ 807 ล้านบาท / TFF 30,437 ล้านบาท)
11.ทางด่วน จ.ภูเก็ต ตอนกะทู้- ป่าตอง วงเงินรวม 14,469.84 ล้านบาท (งบประมาณ 5,792.24 ล้านบาท / PPP 8,677.60 ล้านบาท)

ทางราง 20 โครงการ วงเงินลงทุน 1.529 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
1.โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงินรวม 179,412.21 ล้านบาท (งบประมาณ 5,637.85 ล้านบาท / เงินกู้ 173,774.36 ล้านบาท)
2.โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย วงเงินรวม 304,723.41 ล้านบาท (งบประมาณ 6,204.20 ล้านบาท / เงินกู้ 298,519.21 ล้านบาท)

3.รถไฟชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) วงเงินรวม 102,652.74 ล้านบาท (งบประมาณ 105 ล้านบาท / เงินกู้ 102,547.74 ล้านบาท) ปัจจุบันแล้วเสร็จเปิดให้บริการแล้ว
4.รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินรวม 6,570 ล้านบาท (งบประมาณ 310 ล้านบาท / เงินกู้ 6,260 ล้านบาท)
5.รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) วงเงินรวม 10,202.18 ล้านบาท (งบประมาณ 10 ล้านบาท / เงินกู้ 10,192.18 ล้านบาท)
6.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงินรวม 6,645.03 ล้านบาท (งบประมาณ 10 ล้านบาท / เงินกู้ 6,635.03 ล้านบาท)
7.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไทมักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ- หัวลำโพง (Missing Link) วงเงินรวม 44,157.76 ล้านบาท (งบประมาณ 211.92 ล้านบาท / เงินกู้ 43,945.84 ล้านบาท)

8.ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้ สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จ.หนองคาย (อยู่ระหว่างของบการศึกษา) วงเงินรวม 4,553.65 ล้านบาท(งบประมาณ 1,076.11 ล้านบาท/เงินกู้ 3,477.54 ล้านบาท

9.โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 จำนวน 7 งาน วงเงินรวม 78,946.48 ล้านบาท (งบประมาณ 581.98 ล้านบาท / เงินกู้ 78,364.50 ล้านบาท)
10.โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 2 งาน วงเงินรวม 67,275.10 ล้านบาท (งบประมาณ 495.10 ล้านบาท / เงินกู้ 66,780 ล้านบาท) ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท และรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท
11.โครงการรถไฟทางคู่ สายใหม่ 2 โครงการ วงเงินรวม 152,190.49 ล้านบาท (งบประมาณ 21,072.49 ล้านบาท / เงินกู้ 131,118.00 ล้านบาท) ได้แก่ รถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 85,343.96 ล้านบาท และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 66,846.53 ล้านบาท

12.รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงินรวม 51,152.67 ล้านบาท (งบประมาณ 5,392.67 ล้านบาท / PPP 45,760 ล้านบาท)
13.รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงินรวม 48,398.08 ล้านบาท (งบประมาณ 5,296.13 ล้านบาท / PPP 43,101.95 ล้านบาท)
14.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี วงเงินรวม 228,873.43 ล้านบาท (งบประมาณ 21,352.56 ล้านบาท / เงินรายได้ 18.72 ล้านบาท / เงินกู้ 79,375.15 ล้านบาท / PPP 128,127 ล้านบาท)
15.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงินรวม 124,955.35 ล้านบาท (งบประมาณ 16,109.35 ล้านบาท / เงินกู้ 85,167.00 ล้านบาท / PPP 23,679 ล้านบาท)
16.รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงินรวม 48,478 ล้านบาท (งบประมาณ 7,254 ล้านบาท / เงินรายได้ 92 ล้านบาท / เงินกู้ 79,375.15 ล้านบาท / PPP 41,132 ล้านบาท)

17.ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วง ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วงเงิน รวม 35,344.56 ล้านบาท (งบประมาณ 1,549 ล้านบาท / เงินรายได้ 93.56 ล้านบาท / PPP 33,702 ล้านบาท)
18.ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงินรวม 25,736.95 ล้านบาท (งบประมาณ 2,862 ล้านบาท / เงินรายได้ 98.20 ล้านบาท / PPP 22,776.75 ล้านบาท)
19.ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเชฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ วงเงินรวม 7,218.08 ล้านบาท (งบประมาณ 1,197.21 ล้านบาท / เงินรายได้ 85.60 ล้านบาท / PPP 5,935.27 ล้านบาท)
20.ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก วงเงิน รวม 1,671.76 ล้านบาท (งบประมาณ 240.55 ล้านบาท / เงินรายได้ 100 ล้านบาท / PPP 1,331.21 ล้านบาท)

ทางอากาศ 3 โครงการ วงเงินรวม 80,698.89 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 28,050.88 ล้านบาท (เงินรายได้ ทั้งหมด)
2.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 36,829.50 ล้านบาท (เงินรายได้ 21,829.50 ล้านบาท / เงินกู้ 15,000 ล้านบาท)
3.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818.51 ล้านบาท (เงินรายได้ 7,308.51 ล้านบาท / เงินกู้ 8,510 ล้านบาท)

ทางน้ำ 2 โครงการ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงินรวม 114,046.93 ล้านบาท (เงินรายได้ 53,489.58 ล้านบาท / PPP 60,557.35 ล้านบาท) และโครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ค่า ที่ปรึกษาวงเงิน 67.82 ล้านบาท .

บรรยายใต้ภาพ
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 4 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2022 9:59 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สุดจัดแห่งปี...คมนาคม2021
Source - เดลินิวส์
Thursday, December 30, 2021 08:30
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง


ลิงก์มาแล้ว : สุดจัดแห่งปี....“คมนาคม”2021
ก่อนก้าวสู่ศักราชใหม่ 2022 วันส่งท้ายปีฉลู 2021 ที่ฉุดความสุขคนไทยให้ชอกช้ำกันอีกปีกับ “วิกฤติโควิด-19”แวดวงคมนาคมขนส่งมีปรากฎการณ์และหลากหลายเรื่องราว ”ทอล์ค ออฟเดอะทาวน์” สุดจัดให้บันทึก
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3080057815549049
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2022 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษ "การพัฒนารถไฟ ตอนที่ 2" ข่าวค่ำ วันที่ 4 มกราคม 2565 #NBT2HD
Jan 4, 2022
NewsNBT THAILAND


https://www.youtube.com/watch?v=Goh4G8ov438

ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ กรุงเทพมหานคร ถือว่าได้เปลี่ยนรูปโฉมไปมาก มีความทันสมัยด้วยตึกสูงและการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงเป็นโครงข่าย สะดวกรวดเร็วด้วยรถไฟฟ้าเข้าสู่ใจกลางกรุงและชานเมืองรอบนอก สามารถเชื่อมต่อการเดินทางทุกระบบ และก็กำลังจะมีรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศ พร้อมกับการฟื้นเส้นทางรถไฟที่กำลังจะถูกทิ้งร้าง พัฒนาเป็นรถไฟทางคู่ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้การคมนาคมระบบรางของไทยมีศักยภาพในการขนส่ง ทั้งขนคน ขนของ ด้วยต้นทุนที่ถูกลง ติดตามจากรายงานของ คุณณัฐฐา ชื่นพล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2022 10:39 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดประเด็นเรื่องตึกเก่ากะรถไฟฟ้าอีกแล้ว
https://www.facebook.com/rosana.tsk/posts/5054780107899787
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2022 12:15 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง-ส้ม รวมเรื่องต้องรู้ก่อนเปิดใช้ปี 2565-2570
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 3 มกราคม 2565 - 10:00 น.

หลายคนรอคอย โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย “สีชมพู-เหลือง-ส้ม” พร้อมเปิดให้บริการตามกำหนดใน 2565 และ 2570 และบางสายไปถึงสมุทรปราการได้ในราคาหลักสิบเท่านั้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สีเหลือง และสีส้ม มีเส้นทางการเดินขบวนรถตั้งแต่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ช่วงชานเมือง ไปจนถึงเส้นทางสิ้นสุดในต่างจังหวัด อย่าง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารเกิดความสะดวกในการเดินทางมากขึ้นในอนาคต

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมสิ่งที่ผู้โดยสารต้องรู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการ ก่อนเริ่มเปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด

รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีเส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ย่านมีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีทั้งสิ้น 32 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เส้นทางสายหลัก

ศูนย์ราชการนนทบุรี
แคราย
สนามบินน้ำ
สามัคคี
กรมชลประทาน
แยกปากเกร็ด
เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ศรีรัช
แจ้งวัฒนะ 14
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
สำนักงานเขตหลักสี่
หลักสี่
ราชภัฎพระนคร
วัดพระศรีมหาธาตุ
รามอินทรา 3
ลาดปลาเค้า
รามอินทรา กม.4
มัยลาภ
วัชรพล
รามอินทรา กม.6
คู้บอน
รามอินทรา กม.9
วงแหวนรามอินทรา
นพรัตน์
บางชัน
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
ตลาดมีนบุรี
มีนบุรี
เส้นทางสายแยก

ศรีรัช
อิมแพคชาเลนเจอร์
ทะเลสาบเมืองทองธานี


งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีมูลค่ารวม 53,490 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,847 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 21,381 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 25,262 ล้านบาท

โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 22,500 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 30,990 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท


รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี 2565 แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

เฟสที่ 1 : ช่วง “มีนบุรี-ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ” ระยะทาง 21 กิโลเมตร วางแผนเปิดบริการเดือนมิถุนายน 2565
เฟสที่ 2 : ขยายเส้นทางไปถึง “กรมชลประทาน” รวมเป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร กำหนดเปิดบริการเดือนสิงหาคม 2565
เฟสที่ 3 : เปิดบริการเต็มรูปแบบตลอดเส้นทางจนถึง “ศูนย์ราชการนนทบุรี-สี่แยกแคราย” เดือนกรกฎาคม 2566
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.22 บาท

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
รถไฟฟ้าสายเหลือง เป็นโครงการที่มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีลาดพร้าว และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสำโรง ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร

ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีทั้งสิ้น 23 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
พหลโยธิน 24
จันทรเกษม
ลาดพร้าว
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 71
ลาดพร้าว 83
มหาดไทย
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
แยกลำสาลี
ศรีกรีฑา
หัวหมาก
กลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศรีเอี่ยม
ศรีลาซาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สำโรง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีมูลค่ารวม 51,810 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,013 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 23,206 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท

โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 25,050 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 26,760 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท


รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในช่วงกลางปี 2565 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.38 บาท

รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีส้ม ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – บางกะปิ – มีนบุรี – แยกร่มเกล้า

มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจาก จากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ และ จากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ มีทั้งสิ้น 29 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม
บางขุนนนท์
ศิริราช
สนามหลวง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
หลานหลวง
ยมราช
ราชเทวี
ประตูน้ำ
ราชปรารภ
รางน้ำ
ดินแดง
ประชาสงเคราะห์
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
รฟม.
วัดพระราม 9
รามคำแหง 12
ม.รามคำแหง
กกท.
รามคำแหง 34
แยกลำสาลี
ศรีบูรพา
คลองบ้านม้า
สัมมากร
น้อมเกล้า
ราษฎร์บูรณะ
มีนพัฒนา
เคหะรามคำแหง
มีนบุรี
แยกร่มเกล้า
รถไฟฟ้าสายสีส้ม

งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มีมูลค่ารวม 143,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธาทั้งระบบ 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท โดยรัฐฯ จะชำระค่างานโยธาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ในระยะเวลา 10 ปีหลังเปิดดำเนินการ

รถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี 2570 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้มมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท และสูงสุดไม่เกิน 45 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.25 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 243, 244, 245 ... 277, 278, 279  Next
Page 244 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©