RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180452
ทั้งหมด:13491686
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2021 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

เพิ่มความแรง ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ ปักธงสร้างส่วนขยายปี 66 เปิดปี 69
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง.
28 ธันวาคม 2564 เวลา 08:00 น.

เปิดมาได้ 4 เดือน เเม้ตัวเลขจะยังไม่ตามเป้าเเต่ถือว่า "สัญญาณดีแรงต่อเนื่อง" สำหรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จนต้องสร้างส่วนขยายจะเปิดใช้ในปี 69


เปิดให้บริการมากว่า 4 เดือนแล้ว สำหรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.30 กิโลเมตร(กม.) และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15.3 กม รวม 41.6 กม. นับตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.64 ที่ให้ประชาชนทดลองใช้บริการแบบไม่เก็บค่าโดยสาร (ฟรี) และเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. อัตรา 12-42 บาท



ตัวเลขผู้โดยสารปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ตลอดเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนต.ค. และเพิ่มขึ้นจากช่วงแรกที่ทดลองให้บริการฟรีอยู่ที่ประมาณ 2-3 พันคนต่อวัน ก่อนไต่ขึ้นเป็น 4-5 พันคนต่อวัน กระทั่งก่อนยกเลิกเคอร์ฟิวมีผู้โดยสาร 6-7 พัน แม้เริ่มเก็บเงินก็ยังเกิน 1 หมื่นคน แม้ตัวเลขจะยังไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ว่า จะมีผู้โดยสารประมาณ 8 หมื่นคนต่อวัน แต่สัญญาณดีแรงต่อเนื่อง

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระบุว่า ในปี 65 คาดว่าผู้โดยสารจะสูงขึ้นไปอีกเฉลี่ย 3 หมื่นคนต่อวันแน่นอน.



เมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนแรก สิ้นสุดการรอคอยที่มีมาอย่างยาวนานถึง 31 ปี หากนับตั้งแต่เป็นโครงการโฮปเวลล์ที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2533 เสียงเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้เร่งก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง ประชาชนจะได้เข้าถึงรถไฟฟ้าสายนี้มากขึ้น

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ให้ความกระจ่างเรื่องโครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงว่า ผลการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดทำเอกสารประกวดราคา และการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 4 โครงการ ระยะทางรวม 55.24 กม. วงเงิน 7.93 หมื่นล้านบาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย
1.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) 25.9 กม.วงเงิน 4.96 หมื่นล้านบาท


2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต 8.84 กม. วงเงิน 6.64 พันล้านบาท 3.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม ประกอบด้วย สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และสถานีบ้านฉิมพลี 14.8 กม. วงเงิน 1.06 หมื่นล้านบาท และ 4.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.7 กม. วงเงิน 4.73 พันล้านบาท


เส้นทางของส่วนต่อขยาย หลังจากนี้ที่ปรึกษาต้องสรุปผลการศึกษาเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. และกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน พ.ค.65 หากเห็นชอบคาดว่าจะเปิดสรรหาเอกชนเพื่อเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบเอกชนลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ทั้ง 4 เส้นทางได้ในช่วงปลายปี 65 และได้ผู้รับจ้าง พร้อมเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 66

สำหรับรูปแบบการลงทุนฯ จะเสนอ 3 แนวทางให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ ครม.พิจารณา โดยลงทุนเป็นรูปแบบ PPP Net Cost จัดจ้างเอกชนจัดเก็บค่าบริการจัดส่งให้รัฐ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย

แนวทางที่ 1 คือรัฐบาล รับภาระเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา งานระบบควบคุมการเดินรถ และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ขณะที่เอกชนลงทุนระบบบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบ แนวทางที่ 2 รัฐลงทุนงานโยธา และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ขณะที่เอกชนลงทุน งานระบบควบคุมการเดินรถ บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบ และแนวทางที่ 3 เอกชนรับผิดชอบเองทั้งหมด ได้แก่ งานโยธา ระบบควบคุมการเดินรถ จัดหาขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุง

“แนวโน้มที่คุ้มค่าการลงทุน และเหมาะสมที่สุด น่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost แนวทางที่ 1 โดยรัฐ เป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรถไฟฟ้า และการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า ส่วนเอกชน เป็นผู้รับผิดชอบการเดินรถและซ่อมบำรุง ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง” ผู้ว่าการ รฟท. ส่งสัญญาณถึงแนวทางที่รฟท.จะเลือก


ลงรายละเอียดแผนการก่อสร้างเบื้องต้นช่วง รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 66- ก.ค. 69 และเปิดบริการปี 69 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.66-ม.ค.71 เปิดบริการปี 71 สำหรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 12 บาท และเพิ่มขึ้น 2.10 บาทต่อ กม. ค่าโดยสารสูงสุดแต่ละช่วงไม่เกิน 42 บาท จะปรับเพิ่มขึ้นทุก 2 ปี ครั้งละ 3%

คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเมื่อเริ่มเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในปี 69 ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เพิ่มขึ้นเป็น 2.5แสนคนต่อวัน และเมื่อเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 71จะมีใช้บริการประมาณ 4 แสนคนต่อวัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใน 50 ปี จะมีผู้โดยสารทะลุ 1.3 ล้านคนต่อวัน.

อดทนรอคอยรถไฟฟ้าสีแดงส่วนแรกมายาวนานกว่า 31 ปี ให้รอภาครัฐขยายแขนขาของรถไฟฟ้าสายนี้ไปชานเมืองให้ยาวขึ้นอีก 5 ปี คนกรุงเทพฯและปริมณฑลก็รอไหว เพราะรถไฟฟ้าตอบโจทย์ปัญหารถติด

……แต่จะเอื้อมถึงได้ใช้บริการหรือไม่?? อยู่ที่ค่าโดยสารต้องไม่แพงเกินไป

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
รถไฟ ชงครม.ไฟเขียวงบ 7.9 หมื่นล้าน สร้างส่วนต่อขยายสีแดง 4 เส้น
ข่าวสด เด่นออนไลน์ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 15:37 น.

รฟท.เปิดแผนประมูลรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง 7.93 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
21 ธันวาคม 2564 เวลา 16:49 น.

รถไฟสีแดงสรุป PPP รัฐลงโยธา-ซื้อรถ เร่งชง ครม.เห็นชอบสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางในปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 ธันวาคม 2564 เวลา 19:56 น.
ปรับปรุง: 21 ธันวาคม 2564 เวลา 19:56 น.
เปิดไทม์ไลน์(ใหม่) "ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง"
*พ.ค.65ชงครม.4เส้น7.9หมื่นล้านประมูลPPP
*รัฐลงทุนสร้างปี 66+หารถ/จ้างเอกชนเดินรถ
*รังสิต-มธ./ตลิ่งชัน-ศาลายา-ศิริราชเปิดปี69
*ช่วง"มิสซิงค์ลิงก์" ได้ใช้บริการหลังสุด ปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3073039632917534

รฟท.รอสรุปรูปแบบ PPP สายสีแดงส่วนต่อขยายคาดเสนอ คนร.-ประมูลปี 66
ข่าวทั่วไป
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ธ.ค. 64)
21 ธันวาคม 2564 เวลา 17:04น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2021 7:27 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เพิ่มความแรง ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ ปักธงสร้างส่วนขยายปี 66 เปิดปี 69
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง.
28 ธันวาคม 2564 เวลา 08:00 น.

ร.ฟ.ท.ชง PPP รถไฟสายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงิน 6.7 หมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 07:20 น.

การรถไฟชง PPP สายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงิน 6.7 หมื่นล้าน เล็งดึงงานโยธาต่อขยายสร้างเอง คาดได้ข้อสรุปภายในปี 2565

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 4 เส้นทาง วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ปัจจุบันผลการศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ใกล้จัดทำเสร็จแล้ว ในระหว่างนี้จะเร่งสรุปรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม คาดว่าได้ข้อสรุปภายในปี 2565
    รายละเอียด 4 เส้นทางมีดังนี้

1.ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท

2.สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร กรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท

3.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และ

4.ช่วง missing link บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท
    ตามผลการศึกษามีรูปแบบการลงทุนวางไว้ 3 แบบ ได้แก่

“net cost แบบที่ 1”เอกชนลงทุนงานโยธา-ระบบ-บริหารโครงการ แล้วแบ่งรายได้ให้รัฐ เอกชนรับความเสี่ยงทั้งหมด

“net cost แบบที่ 2” รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนด้านงานระบบเดินรถพร้อมซ่อมบำรุง

และ “net cost แบบที่ 3” รัฐลงทุนก่อสร้างงานโยธาและจัดหาขบวนรถ ส่วนเอกชนเข้ามาบริหารเดินรถ-ซ่อมบำรุงตัวรถ-บำรุงรักษาโครงสร้างด้วย โดยรัฐเก็บรายได้ทั้งหมด และจ่ายเป็นค่าจ้างบริหารให้เอกชน

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (EIRR : Economics Internal Rate of Return) น้อยกว่า 12% จึงมีแนวทางเสนอตัวเลือกระยะเวลาสัญญาที่เหมาะสมระหว่าง 30 ปีและ 50 ปี

ล่าสุด มีแนวโน้มรูปแบบ PPP net cost แบบที่ 3 ถือว่าเหมาะสมมากที่สุด แต่เนื่องจากทั้ง 4 สายทางผ่านที่ประชุม ครม.มานานแล้ว จึงต้องกลับไปตรวจสอบกรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติก่อนหน้านี้ มีเนื้องานอะไรที่ต้องปรับเพิ่ม และมูลค่าโครงการเกินกรอบวงเงินหรือไม่

หลังจากนั้น จะนำเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) พิจารณา และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในระยะต่อไป

คาดว่าทั้ง 4 สายทางจะผ่านการพิจารณาในปี 2565 หลังจากนั้นเตรียมเปิดประมูลในปี 2566 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จและทยอยเปิดบริการในปี 2569-2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/05/2022 1:09 pm    Post subject: Reply with quote

พ.ค.นี้ การรถไฟฯ เปิดหวูด พีพีพีเดินรถ - ก่อสร้างสายสีแดง
By วรรณิกา จิตตินรากร
กรุงเทพธุรกิจ 01 พ.ค. 2565 เวลา 10:00 น.

ร.ฟ.ท.ปักธง พ.ค.นี้ เปิดหวูดประมูลพีพีพีรถไฟชานเมืองสายสีแดง 6 เส้นทาง 4.48 แสนล้านบาท ดึงเอกชนบริหารเดินรถสัมปทาน 50 ปี พร้อมลุยประมูลสร้างโยธาส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง

“รถไฟฟ้า” จะไม่ใช่การคมนาคมสำหรับคนเมืองเท่านั้นอีกต่อไป หลังโครงการศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์ความเหมาะสมฯ ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ได้ฉายภาพผ่านจากการวิเคราะห์ปริมาณผู้โดยสาร คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการครบทั้ง 6 เส้นทาง ครบคลุมเมืองใหม่รอบนอกให้ได้เชื่อมกับใจกลางเมืองได้เกือบทุกทิศทางประกอบด้วย

1.บางซื่อ-ตลิ่งชัน

2.บางซื่อ-รังสิต

3.บางซื่อพญาไท-มักกะสัน-หัวหมากและบางซื่อหัวลำโพง

4. ธรรมศาสตร์รังสิต

5.ตลิ่งชัน-ศาลายา

6.ตลิ่งชัน-ศิริราช

ในจำนวนนี้ เปิดให้บริการแล้ว 2 เส้นทาง อีก 4 เส้นทางคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2569 คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 4 แสนคนต่อวัน และปีเปิดที่ 50 จะมีผู้ใช้บริการ 1.3 ล้านคนต่อวัน ทั้งนี้ผลตอบแทนโครงการ 50 ปี มีรายได้ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท โดยจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ความคุ้มค่าโครงการอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (EIRR) 30.96% ถือว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน

คณพศ วชิรกำธร ที่ปรึกษาจัดทำโครงการศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ จัดทำเอกสารประกวดราคาและการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้กำหนดแผนงานในเบื้องต้น คาดว่าจะเริ่มจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาภายในเดือน พ.ค.นี้ และจะดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.การร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 (พีพีพี) ได้ตัวเอกชนผู้รับสัมปทานภายในปี 2565

สำหรับโครงการพีพีพีระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง เอกชนผู้เสนอให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดจะได้รับสัมปทานระยะเวลา 50 ปี โดยเป็นการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost แบ่งเป็น รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน งานโยธา และงานระบบ ส่วนเอกชนจัดหาขบวนรถ เดินรถ และจัดเก็บรายได้ ซึ่งส่วนนี้เอกชนจะต้องชำระค่าสัมปทานและผลตอบแทนให้แก่รัฐตามที่เสนอไว้


“หลังจากออกประกาศเชิญชวนและเปิดขายเอกสารคัดเลือกเอกชน จะเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจา หลังจากนั้นภาครัฐจะต้องนำเสนอผลการคัดเลือกไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมตรวจสอบร่างสัญญาโดยอัยการสูงสุด ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 14 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย.2565-ก.ค.2566 จึงคาดว่าเอกชนผู้รับสัมปทานจะเริ่มเข้ามาถ่ายโอนระบบในกลางปี 2568”

ขณะที่มูลค่าการลงทุนโครงการรวม 4.48 แสนล้านบาท แบ่งเป็น งานโยธา งานระบบ และจัดหาขบวนรถ 1.88 แสนล้านบาท, การดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 2.22 แสนล้านบาท และงานเพิ่มเติม 3.87 หมื่นล้านบาท โดยเอกชนผู้รับสัมปทานจะต้องทยอยเข้าบริหารโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน 2 เส้นทาง คือ

ช่วงบางซื่อ - รังสิต
บางซื่อ - ตลิ่งชัน
เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเข้าบริหารโครงการดังกล่าวได้ในช่วงปี 2569

ขณะเดียวกัน เอกชนจะต้องเตรียมเข้ารับบริหารส่วนต่อขยายโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เตรียมก่อสร้างและคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จภายในปี 2569 เป็นต้นไปอีก 4 เส้นทาง ประกอบด้วย

1.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต

2.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา

3.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช

4.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง หรือ Missing Link

ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างแล้ว รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) แล้ว มีเพียงช่วงรังสิต - มธ.ศูนย์รังสิต อยู่ระหว่างการพิจารณา เบื้องต้น ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะสามารถเปิดประกวดราคางานโยธาแล้วเสร็จสอดคล้องไปกับการสรรหาเอกชนพีพีพีเดินรถในครั้งนี้ด้วย

สำหรับการเปิดพีพีพีบริหารสายสีแดงนั้น ร.ฟ.ท.กำหนดรายละเอียดเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal : RFP) มี 5 ซองข้อเสนอ ได้แก่ 1.ซองเปิดผนึก, 2.ซองปิดผนึก ซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ, 3.ซองปิดผนึก ซองที่ 2 ด้านเทคนิค, 4.ซองปิดผนึก ซองที่ 3 ด้านการเงิน ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอรายใดให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปตัวเงินกับ ร.ฟ.ท. สูงสุด จะเป็นผู้ชนะประมูล และ 5.ซองปิดผนึก ซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ต้องเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ซึ่งซองนี้คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะเปิดซองหรือไม่เปิดก็ได้

สำหรับข้อกำหนดในเอกสารคัดเลือกเอกชน จะแบ่งเป็น ข้อมูลทั่วไป อาทิ การระบุสถานะผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่ง ร.ฟ.ท.เปิดกว้างนิติบุคคลรายเดียว นิติบุคคลกลุ่ม กิจการร่วมค้า หรือควบรวมกิจการ แต่ต้องมีนิติไทยถือหุ้นอย่างน้อย 25% นอกจากนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขเทคนิค ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ให้บริการเดินรถ สรรหาขบวนรถ ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี เป็นต้น

ขณะที่เอกสารคัดเลือกเอกชน มี 5 ส่วน ได้แก่ ซองเปิดผนึก, ซอง 1 คุณสมบัติทั่วไป, ซอง 2 ด้านเทคนิค ซึ่งส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดของการวางโครงสร้างองค์กร อาทิ แผนงาน และแผนการถ่ายโอนพนักงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ที่ปัจจุบันเป็นผู้เดินรถชานเมืองสายสีแดงอยู่ เมื่อโครงการนี้ได้เอกชนเข้ามาดำเนินงาน จะได้สิทธิบริหารโครงการสีแดงที่เปิดอยู่ ก็ต้องรับพนักงานของ รฟฟท.ด้วย

ส่วนซอง 3 การเงิน จะมีสาระสำคัญ 5 ส่วน แผนดำเนินงานธุรกิจทั้งหมด แผนการเงิน แผนวางกลยุทธ์ดำเนินโครงการ แผนจัดสรรผลประโยชน์แก่รัฐ และแผนจัดทำค่าโดยสาร โดยการพิจารณาจะใช้เกณฑ์ผู้ให้ผลประโยชน์รัฐสูงสุดจะผ่านเกณฑ์ และซอง 4 ข้อเสนออื่นๆ ซึ่งจะต้องเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ โดยซองนี้สงวนสิทธิ์เปิดหรือไม่ก็ได้

“เมื่อได้ตัวเอกชนเข้ามารับสิทธิบริหารโครงการแล้ว เอกชนจะต้องจัดทำแผนจ่ายคืนรัฐในส่วนของค่าขบวนรถที่จัดหามาให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงในปัจจุบัน จำนวนเงิน 6 พันล้านบาท หลังจากนั้นเอกชนจะต้องวางแผนธุรกิจ เตรียมในเรื่องของการถ่ายโอนบุคลากรของ รฟฟท. และจัดหาขบวนรถใหม่เพื่อเตรียมพร้อมเข้ามาให้บริการเดินรถช่วงส่วนต่อขยายที่การรถไฟฯ จะดำเนินการก่อสร้าง”

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.มีแผนจะเปิดประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง 3 โครงการที่มีความพร้อม วงเงินรวมกว่า 2.27 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย

1.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6.4 พันล้านบาท

2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท

3.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 6.1 พันล้านบาท

โดยเบื้องต้นคาดว่าจะเปิดขายซองเอกสารประกวดราคาในเดือน พ.ค.นี้ และคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาในเดือน ต.ค.2565 หลังจากนั้นจะเร่งรัดให้ดำเนินการก่อสร้างทันที ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนปรับแบบก่อสร้าง จึงคาดว่าจะดำเนินการประมูลก่อสร้างในระยะต่อไป

แม้ปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพมีรถไฟฟ้าทั้งที่กำลังก่อสร้างและให้บริการแล้วหลายเส้นทางแต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพชั้นในและรอบนอกเท่านั้น ขณะที่การเติบโตของเมืองได้กระจายตัวไปยังชานเมืองในเกือบทุกทิศทุกทาง “ส่วนต่อขยายสายสีแดง” ทั้ง 6 เส้นทางจึงเป็นเหมือนโครงข่ายแห่งการเดินทางที่จากนี้จะไม่ได้มีไว้แค่คนในเมืองเท่านั้นอีกต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/06/2022 7:59 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม จี้ รฟท.เร่งประมูลรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง
เดลินิวส์ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 20:15 น.

‘ศักดิ์สยาม’สั่งการรถไฟฯ เร่งประกวดราคารถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย ประเดิม 3 เส้นทาง ภายใน ธ.ค. 65-ม.ค.66 พร้อมเริ่มสร้าง พ.ค. 66 ก่อนเปิดให้บริการภายในปี 69 ส่วน Missing Link คาดเปิดใช้ในปี 71

23 มิ.ย. 2565 – นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยเป็นประธานการประชุมติดตามแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย–จีน และโครงการรถไฟสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ว่า กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดผลักดันให้การเดินทางด้วยระบบรางเป็นระบบหลักของประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันการขนส่งทางรางเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่า สามารถลดต้นทุนทั้งด้านเวลา และด้านโลจิสติกส์ รวมถึงเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่จะช่วยสร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน ที่จะนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการรถไฟสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) โดยตนได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้าง สายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) 3 เส้นทาง ได้แก่
1.ช่วงตลิ่งชัน–ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4,694.36 ล้านบาท
2.ช่วงรังสิต–มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,468.69 ล้านบาท ภายใน ธ.ค. 2565 และ
3.ช่วงตลิ่งชัน–ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท พร้อมประกวดราคาใน ม.ค. 2566

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ทั้ง 3 เส้นทางดังกล่าว จะเริ่มก่อสร้างใน พ.ค. 2566 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 สามารถเปิดให้บริการต่อขยายเส้นทางจากรถไฟสายสีแดงที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ไปยังพื้นที่ชานเมืองทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) รองรับการเดินทางของประชาชนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รวมถึงประชาชนที่ใช้บริการโรงพยาบาลศิริราช ให้ได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางได้อย่างตรงเวลายิ่งขึ้น

สำหรับช่วงบางซื่อ–พญาไท–มักกะสัน–หัวหมาก และช่วงบางซื่อ–หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. อยู่ระหว่างการปรับปรุงแบบสถานีราชวิถีใหม่ให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก และเป็นการบูรณาการการใช้ประโยชน์เส้นทางรถไฟสายสีแดงช่วง Missing Link ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุดในการเดินทางเชื่อมต่อ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2571

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่าได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยให้คณะกรรมการกำหนดราคากลาง พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามหลักธรรมาธิบาลอย่างเคร่งครัดก่อนเสนอต่อ ครม. และให้ รฟท. เสนอรูปแบบของสัญญาการประกวดราคาแบบปรับราคาได้ ซึ่งจะทำให้กรอบวงเงินโครงการลดลงตามค่า k อันจะช่วยประหยัดวงเงินลงทุนโครงการได้ ในกรณีที่มีการลดลงของราคาวัสดุหรือต้นทุนทางพลังงาน

นอกจากนี้ได้กำชับต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน เพื่อผลักดันให้ระบบรางเป็นระบบหลักในการเดินทาง สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทาง ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ที่จะส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน การท่องเที่ยวนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2022 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคม จี้ รฟท.เร่งประมูลรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง
ไทยโพสต์
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 20:15 น.


“ศักดิ์สยาม”เคาะประมูล”สายสีแดง”ต่อขยาย 3 เส้นทาง 2.18 หมื่นล. ธ.ค.65 ลุย"ตลิ่งชัน-ศิริราช/รังสิต – ม.ธรรมศาสตร์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 18:24 น.
ปรับปรุง: วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 18:24 น.

‘ศักดิ์สยาม’ สั่ง ‘การรถไฟฯ’ เร่งเปิดประกวดราคา ‘สายสีแดงส่วนต่อขยาย’ 3 เส้นทาง ภายใน ธ.ค.65-ม.ค.66 คาดเปิดให้บริการภายในปี 69
23 มิถุนายน 2565

'ศักดิ์สยาม'​ สั่ง รฟท.เร่งประกวดราคารถไฟสายสีแดง วงเงิน 2.83 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 19:58 น.


คมนาคมนำร่องปีนี้ ประมูลส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 เส้นทาง กว่า 2.1 หมื่นล้านบาท
เศรษฐกิจ
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 17:34 น.

‘ศักดิ์สยาม’ สั่ง รฟท.เร่งเปิดประมูลสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง พร้อมสั่งการเร่งระบบรางตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 19:04 น.


ศักดิ์สยาม เผย รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย เตรียมเปิดประมูล ธ.ค. – ม.ค.
ในประเทศ
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 18:09 น.

ประมูลปีนี้! “ศักดิ์สยาม” สั่งลุยต่อขยายรถไฟฟ้าสีแดง 3 เส้น 2.18 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์.
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 17:44 น.

“ศักดิ์สยาม” จี้ รฟท. เปิดประมูลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ประเดิม 3 เส้นทาง 29.34 กม. 2.18 หมื่นล้าน “ตลิ่งชัน-ศิริราช/รังสิต-มธ.รังสิต ประมูล ธ.ค.นี้ ขณะที่ “ตลิ่งชัน-ศาลายา” ประมูล ม.ค.66 ก่อสร้าง พ.ค.66 เปิดบริการปี 69 ขณะที่ “มิสซิ่งลิงก์” เร่งปรับแบบสถานีราชวิถี เปิดบริการปี 71

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน และโครงการรถไฟสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย)

คมนาคมดัน ร.ฟ.ท.ทุ่ม 2.1 หมื่นล้านบาท เปิดประมูลสร้างส่วนต่อขยายรถไฟสายสีแดง 3 เส้นทาง นำร่อง ธ.ค.นี้ ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช และช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

‘ศักดิ์สยาม’​ สั่ง รฟท.เร่งประกวดราคาสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงินรวมกว่า 2.83 หมื่นล้าน ภายใน ธ.ค. 65-ม.ค.66 พร้อมเริ่มสร้าง พ.ค. 66 ก่อนเปิดให้บริการภายในปี 69 ส่วน Missing Link คาดเปิดใช้ในปี 71

“ศักดิ์สยาม”สั่งรฟท.เร่งประมูลก่อสร้างโยธาสีแดง ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางช่วง"ตลิ่งชัน-ศิริราช/รังสิต – ม.ธรรมศาสตร์”พร้อมประมูล ธ.ค.65 สายตลิ่งชัน-ศาลายา ม.ค.66 เริ่มตอกเข็ม พ.ค. 66 ส่วน Missing Link เร่งปรับแบบสถานีราชวิถีเชื่อมเข้ารพ.รามาฯ เปิดบริการปี 71

วันที่ 23 มิ.ย.2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามแนวทาง และ ความก้าวหน้าโครงการรถไฟสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ผ่านระบบประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meeting โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม
นายศักดิ์สยาม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้าง สายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,694.36 ล้านบาท ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,468.69 ล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2565 ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท มีความพร้อมประกวดราคาในเดือนมกราคม 2566
โดยทั้ง 3 เส้นทาง จะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2566 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 สามารถเปิดให้บริการต่อขยายเส้นทางจากรถไฟสายสีแดงที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ไปยังพื้นที่ชานเมืองทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร รองรับการเดินทางของประชาชนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รวมถึงประชาชนที่ใช้บริการโรงพยาบาลศิริราช ให้ได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางได้อย่างตรงเวลายิ่งขึ้น

สำหรับช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการปรับปรุงแบบสถานีราชวิถีใหม่ให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก และเป็นการบูรณาการการใช้ประโยชน์เส้นทางรถไฟสายสีแดงช่วง Missing Link ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุดในการเดินทางเชื่อมต่อ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2571

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ตนได้มีข้อสั่งการให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางโดยพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามหลักธรรมาธิบาลอย่างเคร่งครัดก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และ ให้ รฟท. เสนอรูปแบบของสัญญาการประกวดราคาแบบปรับราคาได้ ซึ่งจะทำให้กรอบวงเงินโครงการลดลงตามค่า k อันจะช่วยประหยัดวงเงินลงทุนโครงการได้ ในกรณีที่มีการลดลงของราคาวัสดุหรือต้นทุนทางพลังงาน

พร้อมกันนี้ได้กำชับต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานเพื่อผลักดันให้ระบบรางเป็นระบบหลักในการเดินทาง สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ที่จะส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน การท่องเที่ยวนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/08/2022 8:22 am    Post subject: Reply with quote

น้ำมันพุ่ง เหล็กแพง ดันค่าก่อสร้างรถไฟสีแดง "ศาลายา" เพิ่มเป็น 1.06 หมื่นล้านบาท
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2565 07:50
ปรับปรุง: 1 ส.ค. 2565 07:50
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

บอร์ด รฟท.ไฟเขียวเพิ่มค่าก่อสร้างรถไฟสายสีแดงต่อขยาย “ตลิ่งชัน-ศาลายา” 470 ล้านบาท จาก 1.02 หมื่นล้าน เป็น 1.06 หมื่นล้านบาท เหตุราคาน้ำมันเพิ่มเกือบ 20% เหล็กแพงและเงินบาทอ่อน เร่งชง ครม.อนุมัติ ดันเปิดประมูล ม.ค. 66

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 ได้มีมติเห็นชอบผลการทบทวนราคาค่าก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) จากกรอบวงเงินเดิมที่ 10,202.18 ล้านบาท เป็นวงเงิน 10,670.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 470 ล้านบาท

โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ค่าก่อสร้างงานโยธาเพิ่มขึ้นเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาที่อ่อนตัวลง ราคาเหล็ก ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างที่สำคัญเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น จาก 30 บาทต่อลิตรเป็น 35 บาทต่อลิตร หรือเพิ่มเกือบ 20%

คณะกรรมการราคากลางได้พิจารณาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้วจึงกำหนดกรอบวงเงินโครงการใหม่ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยหลังจากนี้จะนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบปรับกรอบวงเงินโครงการต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายด้านตะวันตก มี 2 เส้นทาง คือ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพ ที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์และมีความสะดวกในการเดินทาง โดยสามารถเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ และที่สถานีศิริราช ที่จะเป็นอีกศูนย์กลางของการเดินทางด้านระบบรางและธุรกิจเวลเนสที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งธนบุรี

ก่อนหน้านี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) โดยคาดว่าจะเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร มี 3 L5KOU วงเงิน 4,694.36 ล้านบาท และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร มี 6 สถานี วงเงิน 6,468.69 ล้านบาท ได้ในเดือนธันวาคม 2565

ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร มี 6 สถานี วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท มีความพร้อมประกวดราคาในเดือนมกราคม 2566

ทั้ง 3 เส้นทางจะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2566 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 สามารถเปิดให้บริการต่อขยายเส้นทางจากรถไฟสายสีแดงที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ไปยังพื้นที่ชานเมืองทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร รองรับการเดินทางของประชาชนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รวมถึงประชาชนที่ใช้บริการโรงพยาบาลศิริราช ให้ได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางได้อย่างตรงเวลายิ่งขึ้น

สำหรับช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร ระยะทาง 25.9 กม. มี 9 สถานี วงเงินลงทุน 44,157.76 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2571

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2022 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

ทำความรู้จัก RED Line 'รถไฟฟ้าสายสีแดง' ค่าโดยสารเริ่ม 12 บาท
หน้าเศรษฐกิจคมนาคม
วันพุธ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 9:34 น.

รู้จัก รถไฟฟ้าสายสีแดง ให้มากขึ้น หลัง ครบรอบ 1 ปี การเปิดให้บริการ รวม 13 สถานี บางซื่อ-รังสิต , บางซื่อ-ตลิ่งชั่น รถไฟชานเมือง ที่มีอัตราค่าโดยสาร 12-42 บาท

3 สิงหาคม 2565 - เมื่อวานนี้ (2 ส.ค.) ถือเป็นการครบรอบ 1 ปี สำหรับการเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (Red Line) แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หลังรอคอยมานาน 10 ปี โดยรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่เปิดหวูด วิ่งออกจากสถานีกลางบางซื่อ ไปยังปลายทางสถานีรังสิต นับเป็นระบบขนส่งมวลชนที่เข้ามายกระดับการเดินทาง ระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล พื้นที่ชานเมืองโดยรอบ ให้ใกล้ และสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น



ทำความรู้จัก RED Line 'รถไฟฟ้าสายสีแดง' ค่าโดยสารเริ่ม 12 บาท

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจยังไม่มีโอกาสได้ทดลองใช้บริการ บทความนี้จะพาไปรู้จัก น้องหนูแดง - รถไฟฟ้าชานเมือนสายสีแดง หรือ RED Line ซึ่งถูกขนานนามว่า เป็นรถไฟฟ้าที่ทันสมัย และถูกออกแบบความเร็วได้สูงสุด 160 กม./ชม.อีกด้วย



รถไฟชานเมืองยกระบบขนส่งทางราง

RED Line ดำเนินการโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และมีบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพในการให้บริการของรถไฟชานเมืองซึ่งทำหน้าที่ในการบริการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองตลอดจนพื้นที่ต่อเนื่องสามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบรางที่มีประสิทธิภาพ

ทำความรู้จัก RED Line 'รถไฟฟ้าสายสีแดง' ค่าโดยสารเริ่ม 12 บาท

เส้นทางให้บริการ รวม 13 สถานี

(สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน)เริ่มให้บริการจากสถานีบางซื่อ ให้บริการไปยัง สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน
(สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต) เริ่มให้บริการจากสถานีบางซื่อ ให้บริการไปยัง สถานีจัตุจักร สถานีวัดเสมียนนารีสถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต

รถไฟ : Hitachi
ศูนย์ซ่อมบำรุง : บางซื่อ
ความเร็วสูงสุดในการออกแบบ : 160 กม./ชม.
ความเร็วสูงสุดในการให้บริการ : 120 กม./ชม.
วัสดุขบวนรถ: Aluminum Plate, Aluminum Exttrusion
ประตูขบวนรถไฟ : 3 ประตู / ฝั่ง / ตู้ (ด้านซ้ายและขวา)
ขบวนรถไฟ
6 ตู้ / ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,710 คน / เที่ยว
4 ตู้ / ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,120 คน / เที่ยว

ขนาดราง :1,000 มม.
แหล่งจ่ายไฟ : ระบบสายส่งไฟเหนือศีรษะแรงดันไฟฟ้า 25 KV
ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบควบคุมการเดินรถ : European Train Control System (ETCS) Level 1

อัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง

เริ่มต้น 12 - 42 บาท คิดตามระยะทางจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง
ทำความรู้จัก RED Line 'รถไฟฟ้าสายสีแดง' ค่าโดยสารเริ่ม 12 บาท

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเปิดกี่โมง ?

เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 น.-24.00 น.
ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ
โดยให้บริการรถไฟจำนวน 8 ขบวน
สายบางซื่อ-รังสิต

ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 12.00 นาที
นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 20.00 นาที
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.30 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.


สายบางซื่อ - ตลิ่งชัน

ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 20.00นาที
นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 30.00นาที
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.35 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2022 4:31 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ลุยเองยื่นศาลปกครองสู้คดี "โฮปเวลล์" ฟ้องเพิกถอนจดทะเบียนบริษัท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:25 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:25 น.


“คมนาคม” ยื่นเองฟ้องนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนจัดตั้ง “บ.โฮปเวลล์” หลังศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำฟ้องของ รฟท.เหตุเกินเวลา "ศักดิ์สยาม" เผยคมนาคมใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหายสู้ในประเด็นเดิมและยังอยู่ในเงื่อนเวลา

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทโฮปเวลล์ ว่า ในส่วนของคดีปกครองที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มอบอำนาจให้นายนิติธร ล้ำเหลือ ยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุที่ไม่เพิกถอนทะเบียนจัดตั้ง บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่กระทำผิด ปว.281 ซึ่งล่าสุดศาลปกครองชั้นต้นไม่รับฟ้องคดี เนื่องจากเกินเวลา 90 วันตามที่กำหนด

ทั้งนี้ ในคำตัดสินบอกว่ามี รฟท.และกระทรวงคมนาคมเป็นผู้เสียหาย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมยังไม่ได้ใช้สิทธิ ดังนั้น จะใช้สิทธิดำเนินการฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลาง ในนามกระทรวงคมนาคม ซึ่งตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ลงนามไปตั้งแต่เดือน ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ภายในเงื่อนเวลากำหนด 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

รายงานข่าวจาก รฟท.ระบุว่า กรณีที่ รฟท.ยื่นฟ้องนายทะเบียนให้เพิกถอนบริษัท โฮปเวลล์ จำกัด เกินเวลา 90 วันนั้น เนื่องจากขณะนั้นเป็นช่วงสถานการณ์โควิด-19 และมีขั้นตอนอื่นๆ ทำให้ยื่นเกินเวลา 90 วัน ศาลจึงยกคำฟ้อง ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมจะยื่นฟ้องในฐานะเป็นผู้เสียหายในประเด็นเดิม ซึ่งอยู่ภายใน 90 วันนับจากที่รู้ ศาลเพิกถอน โดยเป็นการขอใช้สิทธิ เป็นการเปลี่ยนผู้ฟ้อง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 สำนักอนาบาล การรถไฟฯ ได้รายงานการเพิกถอนทะเบียนบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ต่อที่ประชุม คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าแล้ว

โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.59/2565 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 โดยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยพอสรุปความได้ว่า "การรถไฟฯ ถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงมีสิทธิฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนกรุงเทพมหานครในฐานละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าจากเหตุที่ไม่ทำการเพิกถอนทะเบียน บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้การรถไฟฯ จะต้องยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ทั้งนี้ ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการรถไฟฯ ยื่นหนังสือฉบับลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร รวมทั้งนายทะเบียนกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียน บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด

และต่อมาการรถไฟฯ รับทราบถึงการปฏิเสธของนายทะเบียนเมื่อเดือนธันวาคม 2562 แต่กลับนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเกินกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วยในผลแห่งคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ที่ไม่รับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ"

สำหรับกรณีค่าโง่โฮปเวลล์ สืบเนื่องจากหลังจากที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาสั่งกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทยต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ โฮปเวลล์ โฮลดิ้งส์ ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับคำขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่และศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งงดการบังคับคดี ทำให้คำสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปีภายใน 180 วัน เบ็ดเสร็จ รวม 25,711 ล้านบาท ต้องชะลอออกไปก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/08/2022 9:03 am    Post subject: Reply with quote

รออีก5ปีได้นั่งรถไฟฟ้าไปหาหมอ
Source - เดลินิวส์
Wednesday, August 17, 2022 08:37

สีส้ม&แดงเชื่อมรพ.ศิริราช สถานีเพื่อสุขภาพแห่งแรก

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราช ว่า ขณะนี้คณะทำงานเตรียมการก่อสร้าง และบริหารโครงการก่อสร้างสถานีศิริราช ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชันศิริราช และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และอาคารรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราช ได้มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเป็นผู้บูรณาการแผนงาน ได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โครงการก่อสร้างสถานีศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล โดยให้จัดทำข้อมูลรายละเอียดกิจกรรม (Activity) ของโครงการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชนั้น รฟท. อยู่ระหว่างเตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง เพื่อรับทราบการปรับรายการงานโยธา และงานทางรถไฟ(Track Work) เพิ่ม คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอ ครม. เห็นชอบภายในเดือน ส.ค. 65 ขณะเดียวกัน รฟท. ได้จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และราคากลาง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคากลางแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. 66 ใช้ เวลา 36 เดือน และ เปิดบริการปี 70

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม. อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการ โดยเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอแล้ว คาดว่าจะลงนามสัญญาร่วมลงทุนได้ในช่วงต้นปี 66 และเปิดบริการเดินรถโครงการส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ภายในปี 68 และเปิดบริการโครงการส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตลอดทั้งเส้นทางในปี 71

นายพิเชฐ กล่าวต่อด้วย สำหรับอาคารรักษาพยาบาลของรพ.ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ออกแบบแล้ว กำลังนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เป็นครั้งที่ 3 ในเดือน ส.ค. 65 เพื่อประกอบการขออนุญาตในขั้นตอนการก่อสร้างจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) และอยู่ระหว่างนำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติโครงการ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างกลางปี 66 พร้อมเปิดบริการปี 70 ทั้งนี้ที่ประชุมขอให้ รฟท. และคณะแพทยศาสตร์ฯ กำหนดเงื่อนไขความร่วมมือการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราช และอาคารรักษาพยาบาลไว้ในร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) เหมือนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วย รวมทั้งให้ทุกหน่วยตรวจสอบว่ามีเงื่อนไขอื่น ๆ ใดที่ต้องการเพิ่มเติมในทีโออาร์อีกหรือไม่

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า อาคารรักษาพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 55,057 ตารางเมตร (ตร.ม.) แบ่งเป็นพื้นที่โรงพยาบาล 50,741 ตร.ม. พื้นที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน 3,410 ตร.ม. และพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตร.ม. เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นสถานีร่วมที่ใช้ประโยชน์ในการเดินทาง อำนวยความสะดวกให้ผู้ ป่วยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเดินทาง และลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์ และสะดวกสบายจากการเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะและการบริการสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็น "สถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย" ซึ่งจะเป็นโมเดลต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนสำหรับโครงการอื่น ๆ ต่อไปด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม.วงเงินลงทุน 4,694 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี 35.9 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ขณะที่อาคารรักษาพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วงเงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 ส.ค. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/08/2022 9:42 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. ลุยประมูลงานโยธา “ต่อขยาย” รถไฟสีแดง 4 เส้นทางก่อน PPP เดินรถ
เดลินิวส์ 18 สิงหาคม 2565 8:59 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

การรถไฟฯ ลุยเปิดประมูลงานโยธา ต่อขยายรถไฟสายสีแดง 4 เส้นทาง กว่า 7 หมื่นล้านก่อน ประเดิม 2 เส้นทาง “ตลิ่งชัน-ศิริราช/รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต” ธ.ค.65 เรียกความมั่นใจเอกชน ก่อนเปิดประมูล PPP เดินรถ 6 เส้นทาง คาดปี 69 ได้เริ่มนั่งต่อขยายสายสีแดง เตรียมชง ครม. ขอเพิ่มวงเงิน

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แจ้งว่า รฟท. ได้ดำเนินโครงการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดทำเอกสารประกวดราคา และการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) แล้วเสร็จ และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งจัดทำรายงานสรุป คาดว่าจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเร็วๆ นี้ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา และเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดประกวดราคา(ประมูล)ต่อไป


รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เบื้องต้นต้องปรับรูปแบบการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) โครงการรถไฟสายสีแดง โดยเดิมจะประมูลทั้ง 6 เส้นทางของโครงการรถไฟสายสีแดง ทั้งงานก่อสร้าง และงานเดินรถ วงเงินรวมประมาณ 4.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น งานโยธา งานระบบ และจัดหาขบวนรถ 1.88 แสนล้านบาท, การดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 2.22 แสนล้านบาท และงานเพิ่มเติม 3.87 หมื่นล้านบาทไว้ในคราวเดียว ปรับเป็นเปิดประมูลงานก่อสร้าง และงานระบบก่อน จากนั้นจึงเปิดประมูล PPP งานเดินรถ จัดหาขบวนรถ และงาน O&M ต่อไป

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ขณะนี้ รฟท. กำลังเร่งสรุปวงเงินค่าก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่ชัดเจน เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อัตราแลกเปลี่ยน ราคาเหล็กเพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้กรอบวงเงินแต่ละเส้นทางอาจต้องปรับเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10,670 ล้านบาท จากเดิม 10,202 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้วงเงินยังคงอยู่ในกรอบที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้เคยอนุมัติไว้ แต่ต้องรายงานให้ ครม. รับทราบอีกครั้ง


รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า รฟท. ต้องเริ่มงานก่อสร้างไปก่อน เพื่อให้เอกชนมีความมั่นใจว่ารถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจะเกิดขึ้น และมีการเดินรถแน่นอน ซึ่งจะทำให้เอกชนตัดสินใจที่จะมาร่วมลงทุนเดินรถกับ รฟท. อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างก่อสร้างรถไฟสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร(กม.) และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. ประมาณเดือน ธ.ค.65 ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. จะเปิดประมูลในเดือน ม.ค.66 โดยทั้ง 3 เส้นทางจะเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค.66 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทางได้ประมาณปี 69 คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 2.5 แสนคนต่อวัน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบสถานีราชวิถีใหม่ ให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างต้นปี 67 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี เปิดให้บริการต้นปี 71 ทั้งนี้คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการครบทั้ง 6 เส้นทาง ซึ่งรวมเส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะมีผู้โดยสาร 4 แสนคนต่อวัน โดยขณะนี้ 2 เส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว มีผู้โดยสารเกือบ 2 หมื่นคนต่อวัน น้อยกว่าประมาณการณ์ที่ 8 หมื่นคนต่อวัน.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรอบวงเงินเดิมรถไฟสายสีแดง(ส่วนต่อขยาย) 4 เส้นทาง รวม 7.13 หมื่นล้านบาทประกอบด้วย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4.69 พันล้านบาท, ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ศูนย์รังสิต วงเงิน 6.46 พันล้านบาท, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 1.06 หมื่นล้านบาท และช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง วงเงิน 4.96 หมื่นล้านบาท.... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1372382/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  Next
Page 10 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©