Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181366
ทั้งหมด:13492601
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2021 9:28 am    Post subject: Reply with quote

จุดประกาย
สถานีรถไฟหัวลำโพงปี 2564 เสียงรถด่วน ขบวน (ไม่) สุดท้าย
30 ธ.ค. 2564 เวลา 9:00 น.11

สรุปเรื่องราวว่าด้วยสถานีรถไฟหัวลำโพงกับปี 2564 เหตุการณ์ที่เกิดกับสถานีรถไฟอายุมากกว่า 105 ปี ซึ่งมีความหมายมากกว่าการเป็นศูนย์กลางระบบรางในประเทศ

ถ้าไม่มีเสียงคัดค้าน และกลายเป็นประเด็นถกเถียงเช่นทุกวันนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา ก็จะเป็นกำหนดการเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทยอยหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อเพิ่มศักยภาพใช้งาน สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย อันเป็นการลดบทบาทสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนานกว่า105 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการวางรากฐานการคมนาคมในสยามประเทศสมัยรัชกาลที่ 5

นโยบายหยุดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงเพื่อมาใช้สถานีกลางบางซื่อ และนำพื้นที่สถานีหัวลำโพงไปพัฒนาเป็นโครงการอื่น ถือเป็นนโยบายที่มีมานานแล้ว โดยปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีบริษัทลูกที่ชื่อ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด หรือ บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เข้ามาวางแผนพัฒนาที่ดินทุกแปลง เพื่อสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท. อาทิ สถานีกรุงธนบุรี สถานีกลางบางซื่อ สถานี RCA และสถานีหัวลำโพงซึ่งมีกรอบแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์

“เอสอาร์ทีมีแผนจะพัฒนาทุกแปลงที่มีศักยภาพอยู่แล้ว โดยจะพัฒนาอย่างมืออาชีพ เพราะการรถไฟฯ มีภาระบริหารขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง ขาดทุนทางบัญชีอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท แต่หากดูตัวเลขขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงพบว่ามีสูงถึง 6 แสนล้านบาท เรื่องนี้จึงเป็นโจทย์ที่ต้องแก้ไข” ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์เมื่อพฤศจิกายน 2564 ถึงวัตถุประสงค์หนึ่งที่ต้องการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่สถานีหัวลำโพง

ลมหายใจเก่าท่ามกลางยุคสมัยใหม่

ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงเป็นสัจธรรม และ “หัวลำโพง” ก็ไม่ต่างอะไรจากพื้นที่ประวัติศาสตร์อีกหลายๆแห่งที่จำต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่นเดียวกับย่านเก่าแก่ ที่แม้เราจะจำภาพในอดีตได้ หากแต่ปัจจุบันมีแผนที่กำลังปรับปรุงไปสู่ยุคใหม่ อาทิ โรงภาพยนตร์สกาล่า, ล้ง 1919, สนามม้านางเลิ้ง ซึ่งคนในกรุงเทพฯ กำลังจับตาถึงความเปลี่ยนแปลง

บรรยากาศสถานีรถไฟหัวลำโพงเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

เมื่อหัวลำโพงคือพื้นที่ของความทรงจำ เป็นความงดงามแห่งสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก และมีหลายชีวิตหมุนเวียนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้คนธรรมดาๆที่ใช้รถไฟเป็นพาหนะสัญจรเข้าสู่กลางเมือง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ในช่วง 1-2 เดือน ก่อนสิ้นปี ประเด็นหัวลำโพงจะกลายกลับท็อปฮิตติดอันดับที่ผู้คนค้นหาอยู่นาน มีผู้สนใจ Re-Tweet ข้อความซ้ำๆใน ทวิตเตอร์ และโลกออนไลน์ จนเกิดเป็น #Saveหัวลำโพง กระทั่งเป็นแคมเปญลงรายชื่อ “คัดค้านนโยบายที่ให้การรถไฟฯหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง”

การพัฒนาหัวลำโพงจึงกลายเป็นความเห็น 2 ด้าน และหนึ่งในนั้นมีเรื่องการให้บริการผู้คนที่ต้องเดินทางจากชานเมืองเข้ากรุงเทพฯ

หากเดินทางเข้ามาสถานีกรุงเทพฯ ผ่านทางรถไฟสายเหนือและสายอีสาน เราจะผ่านพื้นที่อย่าง ตลาดโบ๊เบ๊ ยมราช สามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ สนามบินดอนเมือง เข้ารังสิต

ขณะที่มาสายตะวันออก เราจะได้ยินสถานีมักกะสัน หัวหมาก ลาดกระบัง หัวตะเข้ ส่วนสายใต้ เราจะคุ้นเคยกับสถานี บางซ่อน ตลิ่งชัน เป็นต้น

“การหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงถือเป็นการผลักภาระให้ประชาชน เพราะปัจจุบันหากประชาชนเดินทางมาจากสถานีรังสิต ปลายทางสถานีหัวลำโพง เสียค่าโดยสารเพียง 6 บาท หากนโยบายปรับการเดินรถปลายทางเพียงสถานีกลางบางซื่อ จะทำให้ประชาชนที่เดินทางจากรังสิต มายังสถานีกลางบางซื่อ เสียค่าโดยสาร 4 บาท และหากเดินทางต่อมายังสถานีหัวลำโพง ต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทาง เสียเวลาหลายชั่วโมง หรือหากใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ต้องเสียค่าโดสารจากบางซื่อ - หัวลำโพง 42 บาท รวมประชาชนเสียค่าโดยสารจากรังสิต - หัวลำโพง เพิ่มจาก 6 บาท เป็น 46 บาท” ความเห็นของผู้คัดค้านปิดหัวลำโพงในงานเสวนา "ปิดหัวลำโพงเพื่อการพัฒนาฯ หรือผลักภาระให้ประชาชน" ที่จัดขึ้นโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา อธิบายตอนหนึ่ง

ขณะที่ รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ ผู้แสดงออกถึงการคัดค้านการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงมาตลอด โพสต์เฟสบุ๊คเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนเป็นการสรุปประเด็นที่ของกลุ่มคัดค้านว่า “สรุปการสนทนาSaveลมหายใจหัวลำโพง 1. ไม่ควรยกเลิกการเดินรถไฟเข้าออกหัวลำโพง เพื่อให้สัมปทานแก่เอกชนมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสถานที่นี้ เพราะคุณค่า105ปีของหัวลำโพงจะกลายเป็นแค่ซุ้มประตูทางเข้าห้าง และมิกซ์ยูสของเจ้าสัว

2.การยกเลิกการเดินรถเข้าออกหัวลำโพงเป็นการทำลายเจตจำนงของพระบูรพกษัตริย์ที่ต้องการให้หัวลำโพงเป็นจุดเริ่มต้นและปลายทางการเดินทางทั่วประเทศที่มีราคาถูก การยกเลิกการเดินรถเข้าหัวลำโพงจะสร้างภาระการเดินทาง และค่าใช้จ่ายให้ประชาชน

3. รัฐบาลควรกำหนดค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้าของประชาชนไม่เกิน10%ของค่าแรงขั้นต่ำเพื่อช่วยให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอ

ผลศึกษาจุดตัด ปัญหารถไฟในเมืองที่ต้องหาทางออก

การเดินรถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของผู้คน และรถไฟชานเมืองเป็นที่พึ่งของคนเล็กคนน้อยก็จริง แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีใครถกเถียงว่าทางรถไฟในเขตเมืองส่งผลถึงการจราจร

ผลการศึกษาจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ระบุว่า การปรับลดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงจะช่วยลดปัญหาจุดตัดในเขตเมืองและลดปัญหาการจราจรติดขัดจากบางซื่อ-หัวลำโพง ที่มีถึง 7 จุด และช่วงมักกะสัน-หัวลำโพง 3 จุด แถมยังลดจำนวนการปิดกั้นถนนได้ถึง 826 ครั้งต่อวัน หรือประมาณครั้งละ 5-10 นาที

การศึกษาจึงประเมินผลกระทบพบว่า หากลดขบวนรถเหลือ 22 ขบวนต่อวัน จะมีผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบประมาณ 3,126 คนต่อเที่ยวต่อวัน หรือรวมไปกลับที่ 6,252 คนต่อเที่ยวต่อวัน คิดเป็นวันละ 0.018% จากภาพรวมในทุกโหมดการเดินทางใน กทม.ที่มีกว่า 36 ล้านคน แต่จะช่วยลดปัญหาจราจรติดขัดจากจำนวนจุดตัดรถไฟในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะพื้นที่ชั้นในได้อย่างมีนัยสำคัญ

ประเด็นข้างต้นนี้แน่นอนว่า ทางผู้คัดค้านมองว่าเป็นการด้อยค่าการใช้งานว่ามีจำนวนน้อยนิด เช่นเดียวกับสามารถแก้ไขเรื่องจุดตัดด้วยการการสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟหรือสะพานลอยข้ามทางรถไฟให้รถยนต์วิ่ง

การพัฒนาเมืองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงกับการอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุดจึงกลายเป็นโจทย์ใหญ่

สถานีรถไฟหัวลำโพงปี 2564 เสียงรถด่วน ขบวน (ไม่) สุดท้ายถึงวันนี้หัวลำโพงยังเปิดใช้บริการอยู่ตามปกติ

“หัวลำโพง” รถด่วนขบวน (ไม่) สุดท้าย

จนถึงวันนี้ ณ วันที่ใกล้สิ้นสุดของปี 2564 การพัฒนาสถานีหัวลำโพงก็ยังไม่ได้ข้อสรุป และแนวทางของกระทรวงคมนาคมในเวลานี้คือการให้ ร.ฟ.ท.จัดทำเช็กลิสต์ในทุกๆ ด้าน เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน

ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน ส่วนผู้ที่จองตั๋วไปแล้วและในตั๋วระบุเวลาใหม่ของสถานีชุมทางบางซื่อ และดอนเมือง (ตั๋วตั้งแต่วันที่ 23 เป็นต้นไปจะเป็นเวลาใหม่ทั้งหมด) สามารถเดินทางขึ้นรถไฟที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สามเสน ชุมทางบางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง ได้ตามปกติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้รถไฟจะใช้เวลาเดิม ให้ตรวจสอบเวลากับสถานีก่อนเดินทางอีกครั้ง และควรไปถึงสถานีก่อนเวลารถออกไม่น้อยกว่า 30 นาที

บทสรุปของหัวลำโพงในเวลานี้จึงยังไม่ใช่บทสรุปที่แน่นอน แต่เป็นการยืดเวลาศึกษา ในฐานะการพัฒนาสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญ ทั้งในแง่ศูนย์กลางทางคมนาคม ประวัติศาสตร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ไปจนถึงศักยภาพที่หัวลำโพงอาจเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้

จนถึงสิ้นปี 2564 จึงมีข้อสรุปแบบเป็นเอกฉันท์ว่า จะยังไม่มีการทุบทิ้งสถานีรถไฟหัวลำโพงแต่อย่างใด และที่เกิดขึ้นเป็นเพียงกรอบแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบเขตทางสถานีรถไฟเพื่อสร้างรายได้ ตามที่บริษัทลูกของ รฟท.คือ บริษัท เอสอาร์ทีเอ แอสเสท จำกัด เป็นผู้เสนอกรอบแนวทางการพัฒนามา

ขณะที่เวทีรับฟังความคิดเห็น "อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา" เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น ได้นำเสนอเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และการเปลี่ยนผ่านการเป็นสถานีหลัก ในการเชื่อมต่อระบบรางของประเทศจากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ และการพัฒนาสถานีหัวลำโพงในอนาคต และในอนาคตอันใกล้นี้ รฟท.ยังยืนยันที่จะเปิดให้บริการรถไฟทั้งสายสั้นและสายยาว ให้สามารถวิ่งเข้ามายังสถานีรถไฟหัวลำโพงกว่า 118 ขบวนต่อวันเหมือนเดิม และจะไม่มีการปรับลดขบวนเที่ยววิ่งให้เหลือเฉพาะรถไฟชานเมืองสายสั้น จำนวน 22 ขบวน ตามที่ก่อนหน้านี้ รฟท.ได้กำหนด

ท่ามกลางความเห็นต่าง เสียงสนับสนุนและคัดค้าน หากแต่ปี 2564 ก็เป็นอีกปีที่ผู้คนพูดถึงหัวลำโพง ในฐานะพื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่ศูนย์คมนาคมสัญจรของผู้คนทุกระดับ

ไม่ให้เสียงรถไฟที่เราคุ้นเคย ต้องกลายเป็นเสียงรถขบวนสุดท้ายที่ได้ยิน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2021 12:18 am    Post subject: Reply with quote

หัวลำโพงอินยัวร์อายส์ นิทรรศการในวันที่ยังมีชีวิต
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2564 00:00 ปรับปรุง: 31 ธ.ค. 2564 00:00 โดย: กิตตินันท์ นาคทอง

กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

ในที่สุดแผนการย้ายต้นทางขบวนรถไฟ จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ หลังหลายภาคส่วนออกมาคัดค้านอย่างหนัก ก็มีอันต้องชะลอออกไป จากเดิมมีแผนที่จะย้ายในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คงต้องไปทำการบ้าน จัดทำเช็กลิสต์เพื่อกำหนดแนวทางในการเปลี่ยนถ่ายการเดินรถไปสถานีกลางบางซื่อ โดยจะสำรวจความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนภายใน 30 วัน

ที่ผ่านมา การย้ายสถานีหัวลำโพงมีการสื่อสารน้อยเกินไป หนำซ้ำยังเจอเฟกนิวส์ประเภททุบสถานีหัวลำโพงทิ้ง ซึ่งการรถไฟฯ ก็ยอมรับว่าสื่อสารน้อยไปหน่อย หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นบทเรียนในการสื่อสารต่อประชาชนให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น

อย่างน้อยการทำอะไรแบบหักดิบ นอกจากจะทรมานตัวเองแล้ว หากมีผลไปถึงผู้อื่น ก็เดือดร้อนคนอื่นกันไปหมด การย้ายหัวลำโพงไม่ได้ง่ายเหมือนการสั่งนมชมพูมากิน เพียงแค่ผสมน้ำแดงกลิ่นสละ กับนมสด และนมข้นหวานเท่านั้น

อ่านต่อที่ Arrow https://mgronline.com/columnist/detail/9640000129279

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2021 8:13 am    Post subject: Reply with quote

เฮ้ยรถไฟนี้หว่า ไปแบบลุง EP. พิเศษ Hua Lamphong in your eyes
Dec 31, 2021
เฮ้ยรถไฟนี่หว่า Train Thai photo


https://www.youtube.com/watch?v=d3BvvURIfdA

สวัสดีครับ พบกับพวกเรา @เฮ้ยรถไฟนี่หว่า Train Thai photo

ใน EP นี้เราจะไปเดินภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ ที่เรามักเรียกติดปากว่า หัวลำโพง

ในงานกิจกรรม Hua Lamphong in Your Eyes ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2564 - 16 มกราคม 2565

ภายในงาน นิทรรศการและการเรียนรู้ 10 จุด เช็คอิน ที่สำคัญของสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) อาทิ

-อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง

-สะพานลำเลียงจดหมาย เชื่อมต่ออาคารไปรษณีย์ตั้งอยู่ปลายชานชาลาที่ 4 ของสถานีกรุงเทพ

-ลานน้ำพุหัวช้าง ซึ่งเคยเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ

-ป้ายด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตรงด้านหน้าของสถานีจะมีตัวอักษรปูนปั้นว่า สถานีกรุงเทพ ติดอยู่ที่ด้านบนโถงระเบียงทางเข้าด้านหน้าอาคาร

-สถาปัตยกรรมภายนอกสถานีกรุงเทพ

-ระเบียงด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

-โถงกลางสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)


-เก้าอี้วงรี สัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟ

-รถจักรไอน้ำแปซิฟิก รุ่นเลขที่ 824, 850 ปัจจุบันการรถไฟฯ ใช้ทำเป็นขบวนรถนำเที่ยวในโอกาสพิเศษที่สำคัญๆ ปีละ 6 ครั้ง

-ขบวนรถพิเศษ Prestige ที่จัดขบวนมาให้เยี่ยมชมกันอย่างใกล้ชิด

-พร้อมรับแสตมป์ชุดพิเศษเป็นที่ระลึกจากการรถไฟฯ เมื่อประทับตราตามจุดเช็คอินกับพนักงานการรถไฟฯ ครบ 10 แห่ง

ดูจบแล้ว อย่าลืมไปร่วมกิจกรรมนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2021 1:52 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานสด สถานีรถไฟหัวลำโพง เก็บตกคนเดินทางกลับภูมิลำเนา ข่าวเที่ยง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 #NBT2HD
Dec 31, 2021
NewsNBT THAILAND


https://www.youtube.com/watch?v=uFuU7yczzu4

บรรยากาศที่สถานีหัวลำโพงกันบ้าง วันนี้ (31 ธค.) ยังมีประชาชนมาใช้บริการ แต่ไม่หนาแน่นมาก เนื่องจากบางส่วนเดินทางกลับไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งผู้ที่เดินทางบางคนยอมรับว่ากังวลกับสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็มีการป้องกันตัวเองอย่างที่สุด ไปติดตามจากคุณภัทราพร มาละโส รายงานจาก สถานีรถไฟหัวลำโพง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/01/2022 8:10 am    Post subject: Reply with quote

หัวลำโพง อินยัวร์อายส์ นิทรรศการในวันที่ยังมีชีวิต แฟนรถไฟห้ามพลาด (30/12/64)
Dec 31, 2021
ัvnp story


https://www.youtube.com/watch?v=ZrKhaoM_qlU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2022 10:51 am    Post subject: Reply with quote

ประชาชนเร่งตรวจหา "โควิด" สถานีรถไฟหัวลำโพง
Jan 3, 2022
Thai PBS News

ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ประชาชนจำนวนมากเดินทางมาเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด หลายคนสะท้อนว่า ต้องการผลใบตรวจไปยืนยันกับนายจ้างสำหรับเริ่มทำงานวันพรุ่งนี้ คุณภัทราพร ตั๊นงาม รายงานสดจาก หัวลำโพง


https://www.youtube.com/watch?v=B_0tNMphGYE


Bangkok Hua Lampong Railway Station FREE Exhibition till 16 January 2022 🇹🇭 Thailand
Jan 03, 2022
Global Travel Mate


https://www.youtube.com/watch?v=HebALrxtAAU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2022 10:19 am    Post subject: Reply with quote

ประชาชนแบกของฝาก-ขนพลังใจกลับเมืองกรุงที่หัวลำโพง หลังสิ้นสุดวันหยุดยาวปีใหม่

เรื่อง: THE STANDARD TEAM
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
3 มกราคม 2565 เวลา 10:43 น.

วันนี้ (3 มกราคม) ช่วงเช้าของวันหยุดวันสุดท้ายของเทศกาลปีใหม่ 2565 ช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพง พบว่า บรรยากาศโดยรวมที่สถานีเริ่มกลับมาเป็นภาพที่คุ้นชินของใครหลายคน คึกคักด้วยภาพของผู้คนที่ทยอยเดินทางกลับจากต่างจังหวัด ซึ่งแต่ละคนได้นำของฝากในรูปแบบต่างๆ ติดไม้ติดมือ รวมถึงพลังใจที่เติมเต็มจากครอบครัวในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ ก่อนที่หลายคนจะต้องกลับมาใช้ชีวิตในเมืองใหญ่อีกครั้ง
.
อย่างไรก็ตาม การเดินทางกลับกรุงเทพมหานครของประชาชนช่วงปีใหม่ ผนวกกับความกังวลเรื่องการระบาดของโรคโควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอนแบบนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ยืนยันไว้ว่าได้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิดตามนโยบายด้านสาธารณสุข โดยกำชับให้พนักงานด้านปฏิบัติการทั่วประเทศอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ควบคู่กับการดูแลด้านสาธารณสุข และมอบสเปรย์แอลกอฮอล์สำหรับผู้โดยสารอีกด้วย
.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2022 9:53 am    Post subject: Reply with quote


BBC รายงานข่าวการใกล้หมดวาระของสถานีกรุงเทพที่หัวลำโพง
https://www.bbc.com/news/av/world-asia-59735955
https://www.youtube.com/watch?v=mhosthQmBMs
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2022 8:15 pm    Post subject: Reply with quote

ครั้งสุดท้าย แจกของที่ระลึก อำลาสถานีหัวลำโพง
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ครั้งสุดท้าย แจกของที่ระลึก อำลาสถานีหัวลำโพง
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 06 ม.ค. 2565 เวลา 15:25 น.

เปิดเบื้องลึก รฟท.จัดงานอำลาสถานีหัวลำโพง ชวนประชาชนร่วมกิจกรรมรับของที่ระลึก ส่อแววลดบทบาทหัวลำโพง -ปรับแผนขบวนรถไฟ เตรียมอัพเกรดสถานีใหม่ ปั๊มรายได้-ล้างหนี้ 6 แสนล้าน

จากกระแสดราม่าส่งท้ายปี 2564 หลังประชาชนคัดค้านปิดสถานีหัวลำโพง เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกระทรวงคมนาคมมีแผนจะนำพื้นที่สถานีหัวลำโพงอัพเกรดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 120 ไร่ เพื่อหารายได้ให้รฟท.ปลดหนี้กว่า 6 แสนล้านบาทตามที่กระทรวงคมนาคมเคยกล่าวไว้นั้น สร้างความไม่พอใจกับประชาชนที่ใช้บริการเป็นจำนวนมาก

ไม่เพียงเท่านั้นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สหภาพรถไฟ) ยังเปิดล่ารายชื่อการคัดค้านปิดสถานีหัวลำโพงและงดขบวนรถไฟทางไกลเข้าสถานี ซึ่งพบว่ามีผู้เข้าร่วมแคมเปญการคัดค้านถึง 30,000 ราย เป็นเหตุให้กระทรวงคมนาคมและรฟท.จนต้องถอยทัพออกไป เพราะทนกระแสต้านจากประชาชนไม่ไหว โดยจัดประชุมเพื่อหาทางออกให้ชัดเจนอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.64 ที่ผ่านมา

อีกทั้งรฟท.ได้รับคำสั่งจากกระทรวงคมนาคมวิ่งเต้นจนต้องแถลงการณ์แต่เช้าถึงแผนการปิดสถานีหัวลำโพง-งดขบวนรถไฟทางไกลเข้าสถานี เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.64 หลังจากเข้าร่วมประชุมกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรฟท.ชี้แจงว่าจะไม่มีการปิดสถานีหัวลำโพง เพียงแค่ลดบทบาทสถานีเท่านั้น อีกทั้งยังเปิดให้รถไฟทางไกลสามารถเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงได้ตามปกติ เบื้องต้นจะดำเนินการจัดทำเช็คลิสต์ เพื่อกำหนดแนวทางการให้บริการเปลี่ยนถ่ายสถานีไปยังสถานีกลางบางซื่อ และการปรับแผนการเดินรถ รวมทั้งการเดินรถไฟเชิงพาณิชย์และรถไฟเชิงสังคมบนเส้นทางรถไฟสายสีแดง ช่วงรังสิต-สถานีกลางบางซื่อ ที่จะไม่เดินรถระดับดิน เพื่อให้มีการบริการต่างๆครอบคลุมทุกมิติ โดยใช้ระยะเวลา ดำเนินการแล้วเสร็จภายในมกราคม 2565 หลังจากนั้นจะและจัดทำแอคชั่นแพลน เสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

ล่าสุดพบว่ารฟท.จัดงานสถานีหัวลำโพง (Hua Lamphong in Your Eyes) โดยเชิญชวนประชาชนเติมเต็มภาพความสุขและแบ่งปันมุมมองควบคู่กับการเรียนรู้ 10 จุด ประวัติศาสตร์ของสถานีหัวลำโพง ทั้งนี้ในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดแสดงรถจักรไอน้ำ การแสดงดนตรีสด พร้อมชมนิทรรศการภาพถ่าย ภายใต้หัวข้อ Hua Lamphong Through the lens พร้อมรับของที่ระลึกต่างๆมากมาย ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.64-16 ม.ค.65

สำหรับ 10 จุด เช็คอินประวัติศาสตร์สถานีหัวลำโพง ดังนี้
1.อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง เป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีตรึงหมุดรางทอง รางเงิน ติดกับไม้หมอนมะริดคาดเงิน และเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา
2.สะพานลำเลียงจดหมาย เชื่อมต่ออาคารไปรษณีย์ตั้งอยู่ปลายชานชาลาที่ 4 ของสถานีกรุงเทพ
3.ลานน้ำพุหัวช้าง ซึ่งเคยเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ
4.ป้ายด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตรงด้านหน้าของสถานีจะมีตัวอักษรปูนปั้นว่า สถานีกรุงเทพ ติดอยู่ที่ด้านบนโถงระเบียงทางเข้าด้านหน้าอาคารสถานีจุดเริ่มต้นการเดินทาง
5.สถาปัตยกรรมภายนอกสถานีกรุงเทพ ตัวอาคารเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองส์
6.ระเบียงด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สวยงามด้วยกระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานีที่เน้นลักษณะภายนอกของมนุษย์และธรรมชาติ
7.โถงกลางสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บรรยากาศร่วมสมัย แบบสไตล์ตะวันตก งดงามด้วยการตกแต่งภายในสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานศิลปะแบบคลาสสิก (Classicism) ด้วยการใช้เสาคู่ลอยตัวระเบียงไอโอนิก (Ionic) การตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น และศิลปะแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
8.โรงแรมราชธานี อดีตโรงแรมหรูที่เคยอยู่คู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)
9.เก้าอี้วงรี สัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟ เก้าอี้รูปทรงคล้ายหมวกปีกถูกทับจนแบนยาว ส่วนปีกหมวกเป็นที่นั่ง ตัวหมวกเป็นพนักพิง
10.รถจักรไอน้ำแปซิฟิก รุ่นเลขที่ 824, 850 เป็นรถจักรไอน้ำที่ถูกใช้การหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รถจักรไอน้ำทั้ง 2 คันนี้นำมาใช้งานในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2492 โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต่อมาได้ดัดแปลงให้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแทนในปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันการรถไฟฯ ใช้ทำเป็นขบวนรถนำเที่ยวในโอกาสพิเศษที่สำคัญๆ ปีละ 6 ครั้ง และขบวนรถพิเศษ Prestige ที่จัดขบวนมาให้เยี่ยมชมกันอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าบรรยากาศภายในงานสถานีหัวลำโพงนั้นพบว่ามีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจและร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคึกคักอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าสถานีหัวลำโพงถือเป็นสถานที่ที่มีเรื่องเล่าไม่รู้จบ รวมทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และการเดินทาง ซึ่งมีความสำคัญกับประชาชนไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นจุดแลนด์มาร์คแห่งนึงที่นักท่องเที่ยวต้องการมาสัมผัสบรรยากาศที่มีความคลาสสิคน่าหลงใหลแห่งนี้

หากในอนาคตไม่มีสถานีหัวลำโพงและมีการลดบทบาทสถานีหัวลำโพงลง คงทำให้ประชาชนรู้สึกใจหายไม่น้อย อีกทั้งหากไม่มีการเดินรถไฟทางไกลเข้าสถานีแล้ว การเดินทางของประชาชนจะเป็นอย่างไรบ้าง งานนี้รฟท.รับศึกหนักและต้องทำการบ้านให้ดีว่าจะเดินหน้าอย่างไร ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่พัฒนาประโยชน์เพื่อสร้างรายได้-ล้างหนี้ให้กับองค์กรเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก รฟท.สามารถพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางคมนาคมในอนาคตได้ แต่ต้องไม่ลืมศูนย์กลางคมนาคมในอดีตอย่างสถานีหัวลำโพงด้วย

เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่รฟท.จัดงานสถานีหัวลำโพงอย่างเป็นทางการในช่วงนี้ น่าเสียดายที่เราอาจจะไม่ได้เห็นภาพบรรยากาศเหล่านี้อีกแล้วหรือการจัดงานสถานีหัวลำโพงของรฟท.ในครั้งนี้จะเป็นการอำลาสถานีหัวลำโพงไปตลอดกาล

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/01/2022 10:20 am    Post subject: Reply with quote

วันเด็กแห่งชาติ2565 check-in สถานีหัวลำโพง รับกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ
หน้าแรก ไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 08 ม.ค. 2565 เวลา 8:07 น.

Click on the image for full size

วันเด็กแห่งชาติ2565 การรถไฟแห่งประเทศไทยชวน check-in สถานีหัวลำโพง เรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานีกรุงเทพ รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ

การรถไฟแห่งประเทศไทยชวน check-in สถานีหัวลำโพง เรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์สถานีหัวลำโพง และเชิญชมนิทรรศภาพถ่าย “Hua Lamphong (หัวลำโพง) Through the Lens”

เฉพาะวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565 (วันเด็กแห่งชาติ2565) กิจกรรม Hua Lamphong in Your Eyes ที่สถานีหัวลำโพง

สะสมตราปั๊มครบ 10 จุด รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระเป๋าเชือกหูรูดทันที ( 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น) ของที่ระลึกมีจำนวนจำกัด งดดราม่า


พิเศษสำหรับน้องๆที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ ( 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์) ของที่ระลึกมีจำนวนจำกัด

ของที่ระลึกในแต่ละวันจะมีไม่เหมือนกัน และมีจำนวนจำกัด

นักท่องเที่ยวต้องมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบัตรประชาชนเพื่อรับพาสปอร์ตเช็กอินหัวลำโพง 10 จุด สะสมตราปั้มสัญลักษณ์จากจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเมื่อครบทั้ง 10 จุดแล้วก็มาแลกรับของที่ระลึก

เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมเรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และเชิญชมนิทรรศภาพถ่าย “Hua Lamphong (หัวลำโพง) Through the Lens”

โปรดรักษาระยะห่างเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเข้มงวด

งานจะมีถึงวันที่ 16 มกราคม 2565 ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดแสดงรถจักรไอน้ำ การแสดงดนตรีสด พร้อมชมนิทรรศการภาพถ่ายสวยๆ

นักท่องเที่ยวต้องมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบัตรประชาชนเพื่อรับพาสปอร์ตเช็กอินหัวลำโพง 10 จุด สะสมตราปั้มสัญลักษณ์จากจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเมื่อครบทั้ง 10 จุดแล้วก็มาแลกรับของที่ระลึก

เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมเรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และเชิญชมนิทรรศภาพถ่าย “Hua Lamphong (หัวลำโพง) Through the Lens”

โปรดรักษาระยะห่างเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเข้มงวด

งานจะมีถึงวันที่ 16 มกราคม 2565 ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดแสดงรถจักรไอน้ำ การแสดงดนตรีสด พร้อมชมนิทรรศการภาพถ่ายสวยๆ

10จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์สถานีหัวลำโพง ประกอบไปด้วย

อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง เป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีตรึงหมุดรางทอง รางเงิน ติดกับไม้หมอนมะริดคาดเงิน และเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา

สะพานลำเลียงจดหมาย เชื่อมต่ออาคารไปรษณีย์ตั้งอยู่ปลายชานชาลาที่ 4 ของสถานีกรุงเทพ

ลานน้ำพุหัวช้าง ซึ่งเคยเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ

ป้ายด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตรงด้านหน้าของสถานีจะมีตัวอักษรปูนปั้นว่า สถานีกรุงเทพ ติดอยู่ที่ด้านบนโถงระเบียงทางเข้าด้านหน้าอาคารสถานีจุดเริ่มต้นการเดินทาง

สถาปัตยกรรมภายนอกสถานีกรุงเทพ ตัวอาคารเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองส์

ระเบียงด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สวยงามด้วยกระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานีที่เน้นลักษณะภายนอกของมนุษย์และธรรมชาติ

โถงกลางสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บรรยากาศร่วมสมัย แบบสไตล์ตะวันตก งดงามด้วยการตกแต่งภายในสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานศิลปะแบบคลาสสิก (Classicism) ด้วยการใช้เสาคู่ลอยตัวระเบียงไอโอนิก (Ionic) การตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น และศิลปะแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau)

โรงแรมราชธานี อดีตโรงแรมหรูที่เคยอยู่คู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

เก้าอี้วงรี สัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟ เก้าอี้รูปทรงคล้ายหมวกปีกถูกทับจนแบนยาว ส่วนปีกหมวกเป็นที่นั่ง ตัวหมวกเป็นพนักพิง

รถจักรไอน้ำแปซิฟิก รุ่นเลขที่ 824, 850 เป็นรถจักรไอน้ำที่ถูกใช้การหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รถจักรไอน้ำทั้ง 2 คันนี้นำมาใช้งานในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2492 โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต่อมาได้ดัดแปลงให้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแทนในปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันการรถไฟฯ ใช้ทำเป็นขบวนรถนำเที่ยวในโอกาสพิเศษที่สำคัญๆ ปีละ 6 ครั้ง

ขบวนรถพิเศษ Prestige ที่จัดขบวนมาให้เยี่ยมชมกันอย่างใกล้ชิด

#อย่าลืมแวะมา check-in กัน
# HuaLamphongInYourEyes #สถานีหัวลำโพง #สถานีกรุงเทพ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 31, 32, 33  Next
Page 24 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©