Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180618
ทั้งหมด:13491853
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟ สปป.ลาว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟ สปป.ลาว
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 213, 214, 215 ... 286, 287, 288  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/01/2022 9:29 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดทมีการปรับปรุงการซื้อตั๋วรถไฟลาว- จีน
Jan 14, 2022
Samart Channel


https://www.youtube.com/watch?v=UsZr7MpY0oY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2022 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อัพเดทโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟลาว- ไทย2 วันที่ 13.1.2022
Jan 13, 2022
Samart Channel

https://www.youtube.com/watch?v=n30tbMh5qIk


งานนี้ใช้ชื่อว่าสถานีคำสะหวาด เพื่อไม่ให้ซ้ำกับสถานีนครหลวงเวียงจัน
https://www.youtube.com/watch?v=n30tbMh5qIk
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/01/2022 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

งานนี้ใช้ชื่อว่าสถานีคำสะหวาด เพื่อไม่ให้ซ้ำกับสถานีนครหลวงเวียงจัน
https://www.youtube.com/watch?v=n30tbMh5qIk

ชื่อเพราะดี ชอบมากครับ เข้าชุดกับ สถานีท่านาแล้ง
ไม่สับสนดีด้วยครับ Very Happy

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/01/2022 11:31 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่คิดเลยว่าจะเป็นแบบนี้ รถไฟลาว-จีน
Jan 15, 2022
PadubDin ປະດັບດິນ ประดับดิน


https://www.youtube.com/watch?v=5Ow6m771-3o
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2022 2:21 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่คิดว่าจะเยอะขนาดนี้ รถไฟลาว-จีน EP2
Jan 16, 2022
PadubDin ປະດັບດິນ ประดับดิน


https://www.youtube.com/watch?v=VkTw6v1CPP8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2022 11:36 pm    Post subject: Reply with quote


จ่ายค่าชดเชย ค่าเวนคืนรถไฟลาวจีน เมืองไซ เมืองนาหม้อ เมืองงา แขวงอุดมไซ 183430 ล้านกีบ โดยมากเป็นพอใจแต่บางส่วนไม่พอใจแต่ก็พยายามแก้ไข ได้สร้างบ้านจัดสรร บ้านนาหม้อใต้ บ้านนาคก เพื่อชดเชยแล้ว และ สร้างโรงเรียนบ้านห้วยคุก และ ชดเชยค่าสร้าถนนเข้าสถายนีด้วบย และ แก้ปัญหาเรื่องแหล่งน้ำได้ผลกระทบ ยังต้องแก้ไขอีก
https://www.youtube.com/watch?v=PX5RAom5olk
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/01/2022 7:04 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนเชื่อมรถไฟจีน-ลาว-ไทย ยกระดับการค้า-ลงทุน3ประเทศ
Source - มติชน
Monday, January 17, 2022 04:27

หมายเหตุ - ที่ประชุมคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ของกระทรวงคมนาคม โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

โครงการทางรถไฟระหว่างจีน-ลาว ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศจีนเดินทางเข้า สปป.ลาว และไทย ซึ่งมีความสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมื่อมีการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยสมบูรณ์จากจีน ลาว มายังไทย จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางได้ถึง 30-50% โดยใน 3-5 ปีข้างหน้า

เมื่อโครงสร้างพื้นฐานในส่วนนี้ได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมมีการบริหารจัดการรองรับการขนส่ง เพื่อใช้ประโยชน์เส้นทางรถไฟสายนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ถือเป็นโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะร่วมกันยกระดับเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มีเสถียรภาพและยั่งยืน

การค้าระหว่างประเทศไทยและลาวปี 2564 มีมูลค่าสูงถึง 70,000 ล้านบาท โดยไทยได้ดุลการค้าและส่งออกมากกว่าการนำเข้า 6 เท่า แม้สถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการเดินทางของประชาชน ขณะที่การค้าชายแดน ณ ด่านศุลกากรหนองคาย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งไทย-ลาว-จีน พบว่าปี 2564 การส่งออกสินค้าเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 23% จากปี 2563 โดยเพิ่มขึ้นกว่า 12,000 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้าปี 2564 ลดลงเล็กน้อย 2,000 ล้านบาท หรือลดลง 8%

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ และแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบายการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน พร้อมจัดทำแผนการขนส่งสินค้า เพื่อกำกับติดตามเร่งขับเคลื่อนการเชื่อมโยงทางรถไฟ พร้อมขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งได้มีการประชุมหารือกันแล้วในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งภาระความรับผิดชอบ เช่น เชื่อมการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เร่งดำเนินการสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เตรียมแผนรับมือของประเทศผ่านช่วงสถานการณ์โควิด-19 แล้ว เป็นต้น

รวมถึงแผนผลักดันสินค้า ลงทุน และบริการ ซึ่งพบว่าสินค้าหลายชนิดผ่านทางรถไฟจีน-ลาว มายังไทย โดยมีสินค้าสำคัญคือ ผักผลไม้สดแช่เย็น สิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์เครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนรถยนต์ ยางพาราและไม้แปรรูป และเร่งรัดการขยายเส้นทางตรงถึงชายแดนจีนที่เมืองบ่อเต็น เมืองคุนหมิง เพื่อให้บรรลุการเชื่อมต่อ 3 ประเทศแบบไร้รอยต่อตามนโยบายให้ได้

จากผลศึกษาที่ภาครัฐกำหนดไว้เกี่ยวกับแผนเชื่อมโยงรถไฟไทย-ลาว-จีน ประกอบด้วย

1.เร่งแผนการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างก่อสร้างเพื่อให้เสร็จในปี 2569 เร่งระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ให้เปิดในปี 2571 และเร่งสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย

2.การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน โดยการบริหารจัดการสะพานเดิม ระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ โดยเพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวม 14 ขบวน รองรับขบวนละ 25 แคร่ โดยกรมทางหลวงทำการทดสอบการรับน้ำหนักรถไฟ ในระดับ U-20 เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพานต่อไป รวมถึงปรับปรุงพื้นที่หนองสองห้อง 80 ไร่ งบประมาณ 280 ล้านบาท เพื่อรองรับการตรวจปล่อยสินค้าขาออกไปฝั่งลาว และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ห่างจากสะพานเดิม 30 เมตร โดยมีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร และทางขนาด 1 เมตร ปัจจุบันได้ข้อตกลงฝ่ายไทยและลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย อยู่ระหว่างหาข้อสรุปผู้รับผิดชอบด้านการออกแบบในการประชุม 3 ฝ่าย ในเดือนมกราคม 2565

3.การเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ แนวทางการจัดขบวนรถไฟรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว ที่สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยแผนระยะเร่งด่วนดำเนินการในปี 2565 ขยายเส้นทางปลายทางฝั่ง สปป.ลาว จากสถานีท่านาแล้งเป็นสถานีเวียงจันทน์ โดย รฟท.จะเพิ่มขบวนรถโดยสารให้บริการตั้งแต่ปี 2562 ไป-กลับวันละ 4 ขบวน รองรับการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาว และขยายเส้นทางจากท่านาแล้งไปที่สถานีเวียงจันทน์กลางปี 2565 สำหรับแผนระยะกลางดำเนินการในปี 2566 ขยายเส้นทางฝั่งไทยจากสถานีหนองคายเป็นสถานีอุดรธานี และพิจารณาเปิดขบวนรถเพิ่ม รองรับการให้บริการในเส้นทางระหว่างสถานี นครราชสีมา-สถานีเวียงจันทน์ และแผนระยะยาวดำเนินการปี 2568 เป็นต้นไป จะเปิดเดินขบวนรถทางไกลให้บริการระหว่างสถานีกลางบางซื่อหรือพัทยา-สถานีเวียงจันทน์ อยู่ระหว่างพิจารณาปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารเพื่อประกอบกำหนดสถานีต้นทางและปลายทาง

4.การเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยแนวทางการบูรณาการเชื่อมต่อรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ต้องบริหารจัดการทางรถไฟและการใช้สะพานให้มีความเหมาะสม เพิ่มความถี่การเดินรถจากไป 4 เที่ยว กลับ 4 เที่ยว และขนสินค้าขบวนละ 12 แคร่ เป็นขาไป 7 เที่ยว ขากลับ 7 เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ 25 แคร่ ทำให้การขนสินค้าเพิ่มขึ้นจากเดิม 3.65 เท่า เพิ่มทางเลือกผู้ประกอบการไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะเพิ่มความถี่ในช่วงเช้าเป็นหลัก ไม่กระทบการสัญจรบนสะพาน โดยจัดขบวนเดินรถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้า แบ่งเป็น 3 ระยะ แผนระยะเร่งด่วนในปี 2565 ซึ่งแผนการเดินรถได้รับความเห็นชอบได้รับอนุญาตให้เดินขบวนรถได้วันละ 10 ขบวนไปและกลับและพ่วงสินค้าได้ 25 แคร่ เริ่มทยอยเพิ่มจำนวนรถสินค้าตั้งแต่ธันวาคม 2564, แผนระยะกลางในปี 2566-2568 กำหนดแผนการเดินรถให้บริการสูงสุดวันละ 16 ขบวนไปและกลับ เดินรถทุกวัน โดยพ่วงรถสินค้า 25 แคร่ และแผนระยะยาวตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป กำหนดเดินรถให้บริการสูงสุดวันละ 24 ขบวนไปและกลับ เดินรถทุกวัน พ่วงรถสินค้า 25 แคร่ โดยเดินรถบนสะพานแห่งใหม่

5.การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้า ซึ่งพื้นที่ด่านศุลกากรหนองคายคาดว่ามีความสามารถในการรองรับรถบรรทุกได้สูงสุด 650 คันต่อวัน ทั้งนี้ แนวทางพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าของฝั่งไทย-ลาวเพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ แบ่งเป็น 2 ระยะ ในระยะเร่งด่วน การพัฒนาสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า เพื่อเตรียมความพร้อมการเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว จะพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศและเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ ทั้งนี้ รฟท.จะปรับปรุงพื้นที่ลานยกสินค้าแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ยังมีโครงการ Mobile X-Ray หรือระบบบตรวจสอบตู้สินค้าเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ได้จำนวน 1 คัน วงเงิน 130 ล้านบาท โดยกรมศุลกากรหนองคายจะเป็นผู้ดำเนินการ มีขีดความสามารถ 20-25 คันต่อตู้ต่อชั่วโมง

ระยะยาว จะพัฒนาพื้นที่นาทาประมาณ 290 ไร่ เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดงานโยธา ซึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย และปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างของบประมาณศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ

สำหรับความคืบหน้าของ รฟท.อยู่ระหว่างเริ่มระยะที่ 1 ก่อสร้างทางรถไฟช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569 ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย จะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571 และรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย คาดว่าจะก่อสร้างภายในปี 2565 และเปิดให้บริการได้ในปี 2569 ต่อไป

ด้านการบริหารจัดการทางรถไฟและสะพาน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม จะศึกษาแนวทางการบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานเดิมที่มีอยู่ และในปี 2565 จะมีการออกแบบและก่อสร้างสะพานใหม่ ก่อนที่จะมีการพัฒนารถไฟช่วงนาทา-หนองคาย- ท่านาแล้ง ในปี 2566 ต่อไป

ขณะที่การพัฒนาพื้นที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟในระยะเร่งด่วน จะมีการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคาย เพื่อให้เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟลาว และในระยะยาวจะมีการพัฒนาพื้นที่ย่านนาทา ซึ่ง รฟท.อยู่ระหว่างเตรียมพัฒนาให้เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า (เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต) มีการออกแบบรายละเอียดงานโยธาในโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) โดยได้ออกแบบย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา รวมอยู่ในช่วงดังกล่าว

ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย ซึ่งจะคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ต่อไป

ที่มา: นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 17 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/01/2022 2:27 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”ตอบกระทู้”รถไฟไทยเชื่อมลาว”เร่งเดินหน้าสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าชายแดน
เผยแพร่: 17 ม.ค. 2565 14:15 ปรับปรุง: 17 ม.ค. 2565 14:15 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” ตอบกระทู้ สว.เร่งพัฒนารองรับหลังเปิด”รถไฟจีน-ลาว” ยันแผนเตรียมพร้อมต่อเนื่อง สร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรางระหว่างประเทศ พร้อมลุยสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่เชื่อมโยงไร้รอยต่อ สร้างโอกาสทางการค้า

วันที่ 17 ม.ค. 2565 นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟ จีน-ลาว โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบกระทู้แทน โดยมีคำถาม 5 ประเด็นคือ 1. ปัจจุบันปริมาณขนส่งสินค้าทั้งทางเรือ รถยนต์ ระหว่างจีนและไทย มีปริมาณเท่าไรต่อปี และหากมีการขนส่งทางรถไฟ ระหว่างไทย-ลาว-จีน คาดว่าจะมีปริมาณขนส่งสินค้าเป็นเท่าไร

2. ข้อตกลงระหว่าง ไทย-ลาว ที่กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศทางรางจุดใด และมีรายละเอียดข้อตกลงอย่างไร 3. เหตุใดขบวนรถไฟจีน-ลาวจึงไม่สามารถข้ามาฝั่งไทยได้ และหากต้องการให้ข้ามมา ต้องดำเนินการอย่างไร 4. สถานที่ก่อสร้าง ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศทางรางฝั่งไทย มีสถานที่เหมาะสมที่ใด และสามารถดำเนินการได้เมื่อใด 5. รูปแบบบริการและการลงทุนศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศของไทย เป็นอย่างไร

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงกระทู้ถามของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ว่า ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันประเทศจีนเป็นตลาดนำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของไทย เป็นลำดับที่ 2 รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา การค้าระหว่างไทย-จีน ส่วนใหญ่นำเข้า-ส่งออกผ่านทางทะเล ผ่านท่าเรือแหลมฉบังกว่า 90% ส่วนอีก 10% เป็นการขนส่งทางถนนผ่านประเทศลาว โดยมูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2.48 ล้านล้านบาท เป็นกว่า 3 ล้านล้านบาทในปี 2564 ทั้งนี้ ไทยมีแนวโน้มขาดดุลการค้า เป็น 8.54 แสนล้านบาท

ขณะที่ จากสถิติของกรมศุลกากร ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2563 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มูลค่าการค้าไทย - จีน ณ ด่านชายแดนของไทย มีมูลค่าการค้านำเข้า-ส่งออก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555-2563 (9 ปีที่ผ่านมา) มูลค่าการส่งออกคงตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน

ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟ ผ่านแดนหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อรถไฟจีน-ลาว เปิดให้บริการแล้ว หากพิจารณาความสามารถสูงสุดในการขนส่งสินค้าของรถไฟในเส้นทางดังกล่าวผ่านมายังด่านศุลกากรหนองคายของประเทศไทย ซึ่งสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 728 ตู้ต่อวัน คาดว่าจะมีตู้สินค้าเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านศุลกากรหนองคาย เพิ่มขึ้นประมาณ 50% ของปริมาณที่จะสามารถขนส่งได้ทั้งหมด โดยคาดว่าเพิ่มขึ้น 364 ตู้ต่อวัน

ทั้งนี้ หากมีการเปิดให้บริการรถไฟระหว่างจีน-ลาว อาจทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น โดยผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปจนถึงจีน ได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีการขนถ่ายสินค้าทางรถนำมาลงเรือที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และเมื่อไปถึงท่าเรือปลายทางก็จะต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นรถเพื่อนำสินค้าไปส่งยังผู้รับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกหรือต้นทุนในการขนส่งสินค้าลดลงได้

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนข้อตกลงระหว่างประเทศปัจจุบัน บริเวณชายแดนไทย-ลาว ได้กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศทางรางนั้น โดยจากบันทึกความร่วมมือระหว่างไท-ลาว-จีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2562 ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวตกลงที่จะให้มีพิธีการศุลกากร และสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในบริเวณชายแดนของฝั่งไทยและฝั่งลาว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรบริเวณชายแดน และตกลงกันว่าการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์

ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะพิจารณาให้มีการจัดตั้งสถานีท่าและสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว มายังโครงข่ายรถไฟขนาดทาง 1 เมตร ที่มีอยู่ของประเทศไทย และระยะที่ 2 โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะเชื่อมต่อกับสถานีดังกล่าว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนต่อไป

ข้อคำถามที่ระบุว่า เหตุใดขบวนรถไฟจีน-ลาว จึงไม่สามารถข้ามมาฝั่งไทยได้ และถ้าหากต้องการให้สามารถข้ามฝั่งไทย เพื่อทำการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าทางรางต้องดำเนินการอย่างไรนั้น นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมความพร้อมต่อการเชื่อมต่อการขนส่งข้ามแดนผ่านทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เพื่อใช้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายรถไฟไทย-ลาว-จีน โดยเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ช่วงสถานีท่านาแล้ง-สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) คาดว่าจะเปิดให้บริการใน ม.ค. 2565 ซึ่งผู้โดยสารที่เดินทางจากจีน-ลาว หากลงสถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) จะมีการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) กับสถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ซึ่งมีระยะห่างระหว่างสองสถานีประมาณ 10 กิโลเมตร (กม.) โดยมีรถรับส่งให้บริการ

ขณะที่ การเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้น ได้แบ่งแนวทางการจัดขบวนรถไฟรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมต่อไปยังลาว ที่สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ด้านการเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ มีแนวทางการบูรณาการเชื่อมต่อรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ ซึ่งในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานให้มีความเหมาะสม เพิ่มความถี่การเดินรถไฟจากเดิม ขาไป 4 เที่ยว ขากลับ 4 เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ 12 แคร่ เพิ่มเป็น ขาไป 7 เที่ยว ขากลับ 7 เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ 25 แคร่ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะเพิ่มความถี่ในช่วงเช้าเป็นหลักไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการสัญจรบนสะพาน

“รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมต่อดังกล่าว ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ เป็นประธานกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในองค์ประกอบ โดยเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565 ได้มีการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันบูรณาการการทำงาน ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้งนำไปสู่การพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน และได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการของบกลาง เพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ และเร่งดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป” นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการก่อสร้างศูนย์ย้ายเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศของฝั่งไทยนั้น จากการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและขนส่งสินค้า ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง แนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน- ลาว เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติให้ใช้สถานีรถไฟหนองคายเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าชั่วคราวในระยะเร่งด่วน และมอบหมายให้ รฟท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้แล้วเสร็จ ตามแผนการดำเนินงาน

โดยในปัจจุบันอยู่ระหว่างว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธา ในโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) และการออกแบบย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย ได้รวมอยู่ในงานออกแบบดังกล่าว โดยปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างของบประมาณ เพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย ซึ่งจะคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป

สำหรับรูปแบบการบริการศูนย์ย้ายเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศฝั่งไทย มีลักษณะการลงทุน การบริการ และการให้บริการนั้น กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ระบุว่า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย และศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและรับผิดชอบในส่วนของการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) ในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งให้ภาคเอกชนรับผิดชอบการให้บริการ เช่น บริการพื้นที่สำหรับเปลี่ยนถ่ายการขนส่ง บริการพื้นที่คลังสินค้า บริการด้านศุลกากร บริการยกขนสินค้า

ทั้งนี้ เอกชนรับความเสี่ยงด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน และอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุมัติเพื่อดำเนินการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ในรูปแบบ PPP ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป ขณะที่ จากผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เพื่อศึกษารูปแบบ PPP ระบุว่า สถานีขนส่งสินค้า จ.หนองคาย มีรูปแบบการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยภาครัฐเป็นเจ้าของรายได้ของโครงการ และจ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการ (AP) ให้กับเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2022 4:23 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดแผนเชื่อมรถไฟจีน-ลาว-ไทย ยกระดับการค้า-ลงทุน3ประเทศ
Source - มติชน
วันจันทร์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:27 น.



“ศักดิ์สยาม” ตอบกระทู้ "รถไฟไทยเชื่อมลาว" เร่งเดินหน้าสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าชายแดน

หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ การค้า-อุตสาหกรรม-คมนาคม คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:15 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:15 น.

“ศักดิ์สยาม” ตอบกระทู้ ส.ว.เร่งพัฒนารองรับหลังเปิด "รถไฟจีน-ลาว" ยันแผนเตรียมพร้อมต่อเนื่อง สร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรางระหว่างประเทศ พร้อมลุยสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่เชื่อมโยงไร้รอยต่อ สร้างโอกาสทางการค้า

วันที่ 17 ม.ค. 2565 นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบกระทู้แทน โดยมีคำถาม 5 ประเด็นคือ
1. ปัจจุบันปริมาณขนส่งสินค้าทั้งทางเรือ รถยนต์ ระหว่างจีนกับไทย มีปริมาณเท่าไรต่อปี และหากมีการขนส่งทางรถไฟ ระหว่างไทย-ลาว-จีน คาดว่าจะมีปริมาณขนส่งสินค้าเป็นเท่าไร

2. ข้อตกลงระหว่างไทย-ลาว ที่กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศทางรางจุดใด และมีรายละเอียดข้อตกลงอย่างไร
3. เหตุใดขบวนรถไฟจีน-ลาวจึงไม่สามารถข้ามมาฝั่งไทยได้ และหากต้องการให้ข้ามมาต้องดำเนินการอย่างไร
4. สถานที่ก่อสร้าง ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศทางรางฝั่งไทย มีสถานที่เหมาะสมที่ใด และสามารถดำเนินการได้เมื่อใด
5. รูปแบบบริการและการลงทุนศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศของไทยเป็นอย่างไร

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงกระทู้ถามของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ว่า ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันประเทศจีนเป็นตลาดนำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของไทย เป็นลำดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา การค้าระหว่างไทย-จีน ส่วนใหญ่นำเข้า-ส่งออกผ่านทางทะเล ผ่านท่าเรือแหลมฉบังกว่า 90% ส่วนอีก 10% เป็นการขนส่งทางถนนผ่านประเทศลาว โดยมูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2.48 ล้านล้านบาท เป็นกว่า 3 ล้านล้านบาทในปี 2564 ทั้งนี้ ไทยมีแนวโน้มขาดดุลการค้าเป็น 8.54 แสนล้านบาท

ขณะที่จากสถิติของกรมศุลกากร ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2563 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มูลค่าการค้าไทย-จีน ณ ด่านชายแดนของไทย มีมูลค่าการค้านำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555-2563 (9 ปีที่ผ่านมา) มูลค่าการส่งออกคงตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน

ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟ ผ่านแดนหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการแล้ว หากพิจารณาความสามารถสูงสุดในการขนส่งสินค้าของรถไฟในเส้นทางดังกล่าวผ่านมายังด่านศุลกากรหนองคายของประเทศไทย ซึ่งสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 728 ตู้ต่อวัน คาดว่าจะมีตู้สินค้าเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านศุลกากรหนองคายเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ของปริมาณที่จะสามารถขนส่งได้ทั้งหมด โดยคาดว่าเพิ่มขึ้น 364 ตู้ต่อวัน

ทั้งนี้ หากมีการเปิดให้บริการรถไฟระหว่างจีน-ลาว อาจทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น โดยผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปจนถึงจีนได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีการขนถ่ายสินค้าทางรถนำมาลงเรือที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และเมื่อไปถึงท่าเรือปลายทางก็จะต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นรถเพื่อนำสินค้าไปส่งยังผู้รับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกหรือต้นทุนในการขนส่งสินค้าลดลงได้

นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่า ส่วนข้อตกลงระหว่างประเทศปัจจุบัน บริเวณชายแดนไทย-ลาวได้กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศทางรางนั้น โดยจากบันทึกความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว-จีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2562 ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวตกลงที่จะให้มีพิธีการศุลกากร และสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในบริเวณชายแดนของฝั่งไทยและฝั่งลาว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรบริเวณชายแดน และตกลงกันว่าการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์

ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 จะพิจารณาให้มีการจัดตั้งสถานีท่าและสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาวมายังโครงข่ายรถไฟขนาดทาง 1 เมตรที่มีอยู่ของประเทศไทย และ
ระยะที่ 2 โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะเชื่อมต่อกับสถานีดังกล่าว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนต่อไป

ข้อคำถามที่ระบุว่า เหตุใดขบวนรถไฟจีน-ลาวจึงไม่สามารถข้ามมาฝั่งไทยได้ และถ้าหากต้องการให้สามารถข้ามฝั่งไทย เพื่อทำการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าทางรางต้องดำเนินการอย่างไรนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมความพร้อมต่อการเชื่อมต่อการขนส่งข้ามแดนผ่านทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เพื่อใช้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายรถไฟไทย-ลาว-จีน โดยเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ช่วงสถานีท่านาแล้ง-สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) คาดว่าจะเปิดให้บริการใน ม.ค. 2565 ซึ่งผู้โดยสารที่เดินทางจากจีน-ลาว หากลงสถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) จะมีการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) กับสถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ซึ่งมีระยะห่างระหว่างสองสถานีประมาณ 10 กิโลเมตร (กม.) โดยมีรถรับส่งให้บริการ

ขณะที่การเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้น ได้แบ่งแนวทางการจัดขบวนรถไฟรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมต่อไปยังลาวที่สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ด้านการเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ มีแนวทางการบูรณาการเชื่อมต่อรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ ซึ่งในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานให้มีความเหมาะสม เพิ่มความถี่การเดินรถไฟจากเดิม ขาไป 4 เที่ยว ขากลับ 4 เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ 12 แคร่ เพิ่มเป็น ขาไป 7 เที่ยว ขากลับ 7 เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ 25 แคร่ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะเพิ่มความถี่ในช่วงเช้าเป็นหลักไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการสัญจรบนสะพาน

“รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมต่อดังกล่าว ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ เป็นประธานกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในองค์ประกอบ โดยเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565 ได้มีการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันบูรณาการการทำงาน ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง นำไปสู่การพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน และได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการของบกลางเพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ และเร่งดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป” นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยามกล่าวต่ออีกว่า สำหรับการก่อสร้างศูนย์ย้ายเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศของฝั่งไทยนั้น จากการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและขนส่งสินค้า ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง แนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน-ลาว เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติให้ใช้สถานีรถไฟหนองคายเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าชั่วคราวในระยะเร่งด่วน และมอบหมายให้ รฟท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงาน

ในปัจจุบันอยู่ระหว่างว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธา ในโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) และการออกแบบย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย ได้รวมอยู่ในงานออกแบบดังกล่าว โดยปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างของบประมาณ เพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย ซึ่งจะคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป

สำหรับรูปแบบการบริการศูนย์ย้ายเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศฝั่งไทย มีลักษณะการลงทุน การบริการ และการให้บริการนั้น กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ระบุว่า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย และศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและรับผิดชอบในส่วนของการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) ในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งให้ภาคเอกชนรับผิดชอบการให้บริการ เช่น บริการพื้นที่สำหรับเปลี่ยนถ่ายการขนส่ง บริการพื้นที่คลังสินค้า บริการด้านศุลกากร บริการยกขนสินค้า

ทั้งนี้ เอกชนรับความเสี่ยงด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน และอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุมัติเพื่อดำเนินการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ในรูปแบบ PPP ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป ขณะที่จากผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อศึกษารูปแบบ PPP ระบุว่า สถานีขนส่งสินค้า จ.หนองคาย มีรูปแบบการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยภาครัฐเป็นเจ้าของรายได้ของโครงการ และจ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการ (AP) ให้แก่เอกชน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ศักดิ์สยาม” ตอบกระทู้ ส.ว.เร่งพัฒนารองรับหลังเปิด "รถไฟจีน-ลาว" ยันแผนเตรียมพร้อมต่อเนื่อง สร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรางระหว่างประเทศ พร้อมลุยสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่เชื่อมโยงไร้รอยต่อ สร้างโอกาสทางการค้า

วันที่ 17 ม.ค. 2565 นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบกระทู้แทน โดยมีคำถาม 5 ประเด็นคือ 1. ปัจจุบันปริมาณขนส่งสินค้าทั้งทางเรือ รถยนต์ ระหว่างจีนกับไทย มีปริมาณเท่าไรต่อปี และหากมีการขนส่งทางรถไฟ ระหว่างไทย-ลาว-จีน คาดว่าจะมีปริมาณขนส่งสินค้าเป็นเท่าไร

2. ข้อตกลงระหว่างไทย-ลาว ที่กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศทางรางจุดใด และมีรายละเอียดข้อตกลงอย่างไร 3. เหตุใดขบวนรถไฟจีน-ลาวจึงไม่สามารถข้ามมาฝั่งไทยได้ และหากต้องการให้ข้ามมาต้องดำเนินการอย่างไร 4. สถานที่ก่อสร้าง ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศทางรางฝั่งไทย มีสถานที่เหมาะสมที่ใด และสามารถดำเนินการได้เมื่อใด 5. รูปแบบบริการและการลงทุนศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศของไทยเป็นอย่างไร

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงกระทู้ถามของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ว่า ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันประเทศจีนเป็นตลาดนำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของไทย เป็นลำดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา การค้าระหว่างไทย-จีน ส่วนใหญ่นำเข้า-ส่งออกผ่านทางทะเล ผ่านท่าเรือแหลมฉบังกว่า 90% ส่วนอีก 10% เป็นการขนส่งทางถนนผ่านประเทศลาว โดยมูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2.48 ล้านล้านบาท เป็นกว่า 3 ล้านล้านบาทในปี 2564 ทั้งนี้ ไทยมีแนวโน้มขาดดุลการค้าเป็น 8.54 แสนล้านบาท

ขณะที่จากสถิติของกรมศุลกากร ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2563 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มูลค่าการค้าไทย-จีน ณ ด่านชายแดนของไทย มีมูลค่าการค้านำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555-2563 (9 ปีที่ผ่านมา) มูลค่าการส่งออกคงตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน

ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟ ผ่านแดนหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการแล้ว หากพิจารณาความสามารถสูงสุดในการขนส่งสินค้าของรถไฟในเส้นทางดังกล่าวผ่านมายังด่านศุลกากรหนองคายของประเทศไทย ซึ่งสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 728 ตู้ต่อวัน คาดว่าจะมีตู้สินค้าเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านศุลกากรหนองคายเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ของปริมาณที่จะสามารถขนส่งได้ทั้งหมด โดยคาดว่าเพิ่มขึ้น 364 ตู้ต่อวัน

ทั้งนี้ หากมีการเปิดให้บริการรถไฟระหว่างจีน-ลาว อาจทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น โดยผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปจนถึงจีนได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีการขนถ่ายสินค้าทางรถนำมาลงเรือที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และเมื่อไปถึงท่าเรือปลายทางก็จะต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นรถเพื่อนำสินค้าไปส่งยังผู้รับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกหรือต้นทุนในการขนส่งสินค้าลดลงได้

นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่า ส่วนข้อตกลงระหว่างประเทศปัจจุบัน บริเวณชายแดนไทย-ลาวได้กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศทางรางนั้น โดยจากบันทึกความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว-จีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2562 ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวตกลงที่จะให้มีพิธีการศุลกากร และสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในบริเวณชายแดนของฝั่งไทยและฝั่งลาว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรบริเวณชายแดน และตกลงกันว่าการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์

ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะพิจารณาให้มีการจัดตั้งสถานีท่าและสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาวมายังโครงข่ายรถไฟขนาดทาง 1 เมตรที่มีอยู่ของประเทศไทย และระยะที่ 2 โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะเชื่อมต่อกับสถานีดังกล่าว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนต่อไป

ข้อคำถามที่ระบุว่า เหตุใดขบวนรถไฟจีน-ลาวจึงไม่สามารถข้ามมาฝั่งไทยได้ และถ้าหากต้องการให้สามารถข้ามฝั่งไทย เพื่อทำการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าทางรางต้องดำเนินการอย่างไรนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมความพร้อมต่อการเชื่อมต่อการขนส่งข้ามแดนผ่านทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เพื่อใช้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายรถไฟไทย-ลาว-จีน โดยเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ช่วงสถานีท่านาแล้ง-สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) คาดว่าจะเปิดให้บริการใน ม.ค. 2565 ซึ่งผู้โดยสารที่เดินทางจากจีน-ลาว หากลงสถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) จะมีการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) กับสถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ซึ่งมีระยะห่างระหว่างสองสถานีประมาณ 10 กิโลเมตร (กม.) โดยมีรถรับส่งให้บริการ

ขณะที่การเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้น ได้แบ่งแนวทางการจัดขบวนรถไฟรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมต่อไปยังลาวที่สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ด้านการเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ มีแนวทางการบูรณาการเชื่อมต่อรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ ซึ่งในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานให้มีความเหมาะสม เพิ่มความถี่การเดินรถไฟจากเดิม ขาไป 4 เที่ยว ขากลับ 4 เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ 12 แคร่ เพิ่มเป็น ขาไป 7 เที่ยว ขากลับ 7 เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ 25 แคร่ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะเพิ่มความถี่ในช่วงเช้าเป็นหลักไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการสัญจรบนสะพาน

“รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมต่อดังกล่าว ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ เป็นประธานกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในองค์ประกอบ โดยเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565 ได้มีการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันบูรณาการการทำงาน ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง นำไปสู่การพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน และได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการของบกลางเพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ และเร่งดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป” นายศักดิ์สยามกล่าว




นายศักดิ์สยามกล่าวต่ออีกว่า สำหรับการก่อสร้างศูนย์ย้ายเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศของฝั่งไทยนั้น จากการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและขนส่งสินค้า ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง แนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน-ลาว เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติให้ใช้สถานีรถไฟหนองคายเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าชั่วคราวในระยะเร่งด่วน และมอบหมายให้ รฟท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงาน

ในปัจจุบันอยู่ระหว่างว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธา ในโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) และการออกแบบย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย ได้รวมอยู่ในงานออกแบบดังกล่าว โดยปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างของบประมาณ เพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย ซึ่งจะคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป

สำหรับรูปแบบการบริการศูนย์ย้ายเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศฝั่งไทย มีลักษณะการลงทุน การบริการ และการให้บริการนั้น กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ระบุว่า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย และศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและรับผิดชอบในส่วนของการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) ในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งให้ภาคเอกชนรับผิดชอบการให้บริการ เช่น บริการพื้นที่สำหรับเปลี่ยนถ่ายการขนส่ง บริการพื้นที่คลังสินค้า บริการด้านศุลกากร บริการยกขนสินค้า

ทั้งนี้ เอกชนรับความเสี่ยงด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน และอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุมัติเพื่อดำเนินการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ในรูปแบบ PPP ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป ขณะที่จากผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อศึกษารูปแบบ PPP ระบุว่า สถานีขนส่งสินค้า จ.หนองคาย มีรูปแบบการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยภาครัฐเป็นเจ้าของรายได้ของโครงการ และจ่ายค่าตอบแทนจากการให้บริการ (AP) ให้แก่เอกชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2022 7:18 pm    Post subject: Reply with quote



โครงการรถไฟลาว เวียดนาม ยาว 555 กิโลเมตร กว่าจะเปิดใช้งานปี 2034
ท่าแขก ไปท่าเรือหวุ่งอัน 242 กิโลเมตร และ ท่าแขก ไปนครหลวงเวียงจัน อีก 313 กิโลเมตร
https://www.youtube.com/watch?v=ppznauA0lpM
https://www.youtube.com/watch?v=Zz-DJ9sp5eU


เริ่มให้สถานีวังเวียง รับขนส่งสินค้าไปจีน ราวๆ วันที่ 20 มกราคม 2022 รับได้ 18 ตู้ อีกทางไปได้ 11 ตู้ หลังเปิดรับส่งสินค้านาเตย และ เวียงจันใต้ บ่อเต็นเป็นด่านภาษี เลยไม่รับส่งสินค้าโดยเด้ดขาด ต้องจ่ายเงินมัดจำเสียก่อนจึงจะรับส่งสินค้าได้ ตอนนี้ ขนยางพารา ข้าว ถ่านหิน แร่เหล็ก แร่โปแตช และ อื่นๆ ส่วนสินค้าจากจีนที่เข้าลาวได้แก่ปุ๋ย เครื่องกลจักรไฟฟ้า และ อื่นๆ
https://www.youtube.com/watch?v=PJmsAluP7vA
https://laotiantimes.com/2022/01/18/vang-vieng-station-commences-freight-services-along-laos-china-railway/?fbclid=IwAR24uFWH5TFdBJVFuIQYzCS4WAvNlr5g7iGdrkCa-i2azP49IKeU3XZm-R0


Last edited by Wisarut on 18/01/2022 10:13 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 213, 214, 215 ... 286, 287, 288  Next
Page 214 of 288

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©