Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13260532
ทั้งหมด:13571811
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 244, 245, 246 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44480
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2022 6:11 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดประเด็นเรื่องตึกเก่ากะรถไฟฟ้าอีกแล้ว
https://www.facebook.com/rosana.tsk/posts/5054780107899787

"รถไฟฟ้าสายสีม่วง" แจงทุบตึกสมัยรัตนโกสินทร์ทำทางขึ้น–ลงสถานีผ่านฟ้า
คมชัดลึก 05 ม.ค. 2565 14:45 น.

Click on the image for full size

รฟม.แจงทุบตึกเก่าสมัยรัตนโกสินทร์ ทำทางขึ้นลง "รถไฟฟ้าสายสีม่วง" ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ยันออกแบบให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมเก่า ลดผลกระทบผู้อยู่อาศัย

ตามที่ นางสาว รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ได้โพสต์บนเฟซบุ๊ก Rosana Tositrakul กรณีอาคารเก่าในกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน จะถูกใช้เป็นทางขึ้น - ลง สถานีผ่านฟ้า โครงการ "รถไฟฟ้าสายสีม่วง" ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว ดังนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 เห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 7 สาย ระยะทางรวม 154 กิโลเมตร ซึ่งรวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในความรับผิดชอบของ รฟม.

โครงการ "รถไฟฟ้าสายสีม่วง" ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีระยะทางรวมประมาณ 23.6 กิโลเมตร แบ่งเป็นระยะทางใต้ดินประมาณ 13.6 กิโลเมตร และระยะทางยกระดับประมาณ 10 กิโลเมตร ประกอบด้วย สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี สำหรับสถานีที่ปรากฏบนโพสต์ในเฟซบุ๊ก คือ สถานีผ่านฟ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นสถานีใต้ดิน ตั้งอยู่บริเวณถนนพระสุเมรุ ใกล้กับแยกผ่านฟ้า

โดยในการออกแบบได้กำหนดให้มีทางขึ้น - ลง จำนวน 4 ตำแหน่ง ได้แก่

1.ทางขึ้น – ลง หมายเลข 1 อยู่บริเวณตึกแถว 2 ชั้น ใกล้กับกลุ่มงานตกแต่ง สำนักงานก่อสร้าง และบูรณะ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
2.ทางขึ้น – ลง หมายเลข 2 บริเวณที่จอดรถหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนินกลาง
3. ทางขึ้น - ลง หมายเลข 3 บริเวณอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ติดกับอาคารเทเวศร์ประกันภัย และเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี
4.ทางขึ้น – ลง หมายเลข 4 บริเวณหน้าบ้านพักอาศัย บริเวณถนนพระสุเมรุ

ทั้งนี้ ในโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ของ รฟม. นั้น มีมาตรฐานการออกแบบและก่อสร้างในเชิงอนุรักษ์ และคำนึงถึงรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งในพื้นที่ประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะมาโดยตลอด ตัวอย่างเช่น สถานีสามยอด ได้ออกแบบตามลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารเดิมสมัยรัชกาลที่ 5 โดยลอกแบบ มาจาก “ร้าน เซ่ง ชง” ของหลวงประดิษฐ์บาทุกา ซึ่งมีความสมบูรณ์ของลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเดิมมาใช้เป็นรูปแบบสถานี สอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของพื้นที่ และสถานีวัดมังกร ได้มีการออกแบบให้มี ความผสมผสานสถาปัตยกรรมจีนและสถาปัตยกรรมยุโรปหรือเรียกว่าสไตล์ชิโนโปรตุกีส ตามบริบทของย่านเยาวราช อย่างลงตัวเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน และการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของอาคารทางขึ้น – ลง ของ รฟม. ได้พิจารณาให้มีขนาดเล็กที่สุดที่สามารถให้บริการประชาชนได้ โดยให้มีผลกระทบต่อประชาชนและมีการเวนคืนให้น้อยที่สุด

Click on the image for full size

นอกจากนี้ ในการกำหนดทางขึ้น – ลง สถานีที่มีจำนวน 4 ตำแหน่งนั้น เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉิน หากต้องอพยพผู้โดยสารจากภายในสถานี ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย (NFPA 130) และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จึงขอยืนยันว่า รฟม. ได้ดำเนินการออกแบบทางขึ้น – ลง สถานี ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงความกลมกลืนและสอดคล้องตามบริบทของเมืองเก่าในกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน รวมทั้งให้มีผลกระทบต่อประชาชนและมีการเวนคืนให้น้อยที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2022 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดไซด์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสีส้มคืบ 89.46% ส่วนโมโนเรล”ชมพู-เหลือง”ทยอยเปิดบริการในปี65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 8 มกราคม 2565 เวลา 15:34 น.
ปรับปรุง: วันที่ 8 มกราคม 2565 เวลา 15:34 น.

รฟม.อัปเดทรถไฟฟ้าสีส้มก่อสร้าง คืบหน้า 89.46% เร็วกว่าแผน 0.09% ส่วนโมโนเรล”เหลือง-ชมพู”คืบ 83-88% ทดสอบระบบเดินรถ เตรียมแผนทยอยเปิดในปี65

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. ) ซึ่งขณะนี้มี 3 โครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นั้น มีความก้าวหน้า ดังนี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางประมาณ 22.57 กม. ความก้าวหน้างานโยธา 89.46% เร็วกว่าแผน 0.09% มีแผนเปิดให้บริการในปี 2570 โดยมีงานโยธา 6 สัญญา ได้แก่

สัญญา 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 94.36 %

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 92.01 %

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 88.78%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 80.25%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 87.60%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 77.95%

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กม.มี บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM เป็นผู้รับสัญญาสัมปทาน ความก้าวหน้างานโยธา 90.60% งานระบบรถไฟฟ้า 86.22% โดยคิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 88.70%

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ระยะทางระยะทาง 34.5 กม.มี บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ NBM เป็นผู้รับสัญญาสัมปทาน ความก้าวหน้างานโยธา 85.59 % งานระบบรถไฟฟ้า 81.45% โดยคิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 83.88%

โดยปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีชมพู ได้มีการทดสอบระบบเดินรถทั้งด้านระบบการควบคุมรถไฟฟ้า และระบบอาณัติสัญญาณ โดยจะทยอยทดสอบเดินรถเป็นช่วง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานทุกระบบสอดคล้องกัน มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย และมีแผนเปิดให้บริการเป็นช่วงๆ ภายในปี 2565

สำหรับขบวนรถนั้น ขณะนี้บริษัทฯ ผู้รับสัมปทานได้รับมอบขบวนรถแล้วทั้งหมด 33 ขบวน 132 ตู้ แบ่งเป็นสายสีเหลือง 20 ขบวน 80 ตู้ และสายสีชมพู 13 ขบวน 52 ตู้



ซึ่งคาดว่าขบวนโมโนเรลสายสีเหลืองจะได้รับมอบครบทั้งหมด 30 ขบวน 120 ตู้ ภายในเดือนเมษายน 2565 และขบวนโมโนเรลสายสายสีชมพู จะได้รับมอบครบทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้ ภายในเดือน มิถุนายน 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2022 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ศักดิ์สยาม” ลั่นตั๋วร่วม EMV ใช้ได้ มี.ค. 65 "MRT-สีแดง-รถเมล์-ทางด่วน-เรือไฟฟ้า" แตะใช้บริการสะดวก
เผยแพร่: 23 ธ.ค. 2564 18:33 ปรับปรุง: 23 ธ.ค. 2564 18:33 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“แก้ไขปัญหาคมนาคม เพิ่มความสุข สะดวก สบาย ลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน” คือความมุ่งมั่นแรงกล้าของ “ศักดิ์สยาม”รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เพื่อพี่น้องประชาชน
ปัจจุบันการเดินทางในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดยังมีจุดบกพร่องที่อาจทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าที่ควร กระทรวงคมนาคม โดยรมต.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ จึงแสดงวิสัยทัศน์และความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำให้การเดินทางของคนไทยง่ายกว่าเดิม โดยการเริ่มผลักดันนโยบาย “ตั๋วร่วม”
“ปี 2565 ประชาชนต้องได้ใช้ตั๋วร่วม” นี่คือเป้าหมายและภารกิจหลักที่เราพร้อมทุ่มเทอย่างจริงจัง ให้ประชาชนสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้หลากหลาย เชื่อมต่อโครงข่ายการเดินทางได้แบบไม่ติดขัด สามารถไปทุกที่ทั่วไทยได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
https://www.facebook.com/suksomrauyforpeople/posts/677337466959274
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44480
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2022 7:27 am    Post subject: Reply with quote

รู้ก่อนใคร! อัปเดตระบบขนส่งทางรางทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 10 ม.ค. 2565 06:58 น.

ารลงทุนใน “โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่” เพื่อพัฒนาประเทศแล้ว ความคืบหน้าของการก่อสร้าง “ระบบขนส่งทางราง” ทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟฟ้าในหัวเมืองต่างจังหวัด รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง เป็นหนึ่งสิ่งที่คนไทยกำลังติดตามและเฝ้าคอยกันมานาน

และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 แต่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้ให้นโยบายชัดเจนที่จะเร่งพัฒนาและเชื่อมโยงระบบรางของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะมองว่า นอกจากประโยชน์ในการขนส่งมวลชนแล้ว ในอนาคตจะเป็นระบบสำคัญที่จะเชื่อมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และเป็นช่องทางกระจายรายได้ให้คนไทยในชุมชนทุกระดับ

“ทีมเศรษฐกิจ” จึงถือโอกาสมาอัปเดตความคืบหน้าของแต่ละโครงการทั้งหมดทั่วประเทศ ทั้งที่กำลังก่อสร้าง ใกล้แล้วเสร็จ เสร็จพร้อมให้บริการ รวมทั้งโครงการที่กำลังศึกษาในอนาคต มาให้ติดตามกันแบบครบวงจรกันเลย

อัปเดต “รถไฟฟ้าเมืองหลวง”

เริ่มต้นจากแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้การเดินทางของผู้คนในเมืองสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น แก้ปัญหาการจราจรติดขัด ลดอุบัติเหตุและมลพิษบนท้องถนน ตามแผนมี 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กม. แต่ปัจจุบันเปิดใช้แล้ว 11 เส้นทาง 211.94 กม. ประกอบด้วย

สายสีเขียว 4 เส้นทาง คือ ช่วงหมอชิต-สมุทรปราการ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ และสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า
สายสีน้ำเงิน 2 เส้นทาง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง หัวลำโพง-บางแค สายแอร์พอร์ตลิงก์ 1 เส้นทาง พญาไท-สุวรรณภูมิ
สายสีม่วง 1 เส้นทาง บางใหญ่-เตาปูน สายสีทอง 1 เส้นทาง ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน และ
สายสีแดง 2 เส้นทาง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และล่าสุดบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่เปิดให้บริการ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา

ขณะที่โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและการเตรียมการในการเปิดประมูล 6 เส้นทาง โดย 2 เส้นทางแรกจะพร้อมเปิดให้บริการบางช่วงปี 65 และเต็มรูปแบบในปี 66 คือ สายสีชมพู 2 ช่วง แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กม. ปัจจุบันงานโยธามีความก้าวหน้า 84.45% งานระบบไฟฟ้าและเดินรถก้าวหน้า 80.62%

ขณะที่ ส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ก็พร้อมแล้วเช่นกัน
สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.40 กม. งานโยธามีความก้าวหน้าร้อยละ 89.51 งานระบบไฟฟ้าและเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 84.91

สำหรับอีก 2 เส้นทาง ที่กำลังก่อสร้างและทยอยเสร็จตามมา ได้แก่
สายสีส้ม ช่วงศูนย์ วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 22.50 กม. งานโยธามีความก้าวหน้าร้อยละ 88.46 เร็วกว่าแผน โดยคาดว่าจะเสร็จเดือน ธ.ค.68
ส่วน แอร์พอร์ตลิงก์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 21.80 กม. ไปรวมอยู่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเปิดให้บริการปี 70

ส่วน 2 เส้นทางสุดท้าย ได้แก่
สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.60 กม. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังพิจารณารายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯ ก่อนดำเนินการเปิดประมูล ซึ่งคาดว่าจะสร้างเสร็จปลายปี 70 และ
สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย–บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.40 กม. อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการลงทุน โดยคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 71

ขณะที่แผนในอนาคตจะมีโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนทำอีก 6 เส้นทาง 71.49 กม. ได้แก่
สายสีแดง (เหนือ) ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กม. คาดจะเสร็จปี 69
สายสีแดง (ใต้) ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 5.76 กม. เสร็จปี 71 สายสีแดง (ตะวันตก) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.80 กม. เสร็จปี 66
และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.70 กม. เสร็จปี 69 สายสีแดง (ตะวันออก) ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก (Missing Link) 20.14 กม. เสร็จปี 71 และ
สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ 16.25 กม. กำลังทำอีไอเอ คาดเปิดใช้ได้ปี 72

นอกจากนั้น ยังมี ส่วนต่อขยายเพิ่มเติม ที่ยังไม่กำหนดระยะเวลาเสร็จสิ้นอีก 9 เส้นทาง ได้แก่ สีเขียว (สุขุมวิท) ช่วงสมุทรปราการ-บางปู สีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา สีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 สีแดง (ใต้) ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย สีเทา ช่วงพระโขนง-ท่าพระ สีฟ้า ช่วงดินแดง-สาธร สีทอง ช่วงคลองสาน-ประชาธิปก สายสีเหลืองส่วนต่อขยายช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน และสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม)

ต่างจังหวัดเตรียมใช้ “รถไฟฟ้า”

ทั้งนี้ นอกจากรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว ปัจจุบัน รฟม. และหน่วยงานท้องถิ่นยังมีแผนสร้างรถไฟฟ้าในส่วนภูมิภาคตามต่างจังหวัดเช่นกัน ภายใต้ชื่อ “โครงการระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคใน 7 จังหวัด 7 เส้นทาง” ซึ่งทีมเศรษฐกิจ ไทยรัฐก็ไม่พลาดจะมาอัปเดตให้พี่น้องที่อยู่ต่างจังหวัดให้ติดตามเช่นกัน เริ่มต้นที่ ระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. 16 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษา ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา จัดทำรายงานอีไอเอและพีพีพี คาดเริ่มก่อสร้างได้ปี 68 ได้ใช้บริการเดือน ธ.ค.71

ต่อมาเป็น ระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานฯ- ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. 21 สถานี ซึ่งอยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลด้านก่อสร้าง คาดเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 69 เปิดใช้บริการเดือน มิ.ย.71 ส่วน ระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดขอนแก่น สร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเบา นำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) 26 กม. 20 สถานี ปัจจุบันกำลังดำเนินงานโดยบริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด ของเทศบาลทั้ง 5 แห่ง เริ่มก่อสร้างปี 64 ใช้เวลาสร้างประมาณ 3 ปี

ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาเช่นกัน นำร่องสายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กม. 21 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษา จัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแบบพีพีพี และทำรายงานอีไอเอ คาดเริ่มก่อสร้างได้ปี 68 ได้นั่งใช้บริการปี 71

ขณะที่ ยังมีโครงการที่เตรียมศึกษาในอนาคตมี 3 จังหวัด ได้แก่ ระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดพิษณุโลก รูปแบบรถรางล้อยาง โครงสร้างทางวิ่งระดับดิน นำร่องสายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก 12.6 กม. มี 15 สถานี ระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดอุดรธานี รูปแบบรถโดยสารไฟฟ้า ระยะทาง 20.6 กม. ยังไม่กำหนดเส้นทาง และสุดท้าย ระบบขนส่งสาธารณะอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ดำเนินการโดย อบจ.สงขลา ในรูปแบบโมโนเรล เส้นทางคลองหวะ-สถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กม. มี 12 สถานี ปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทยอนุมัติหลักการแล้ว กำลังอยู่ขั้นตอนพิจารณาพีพีพี และอีไอเอ คาดเริ่มก่อสร้างได้ปี 65 ได้ใช้บริการในปี 68

รถไฟทางคู่ 2,900 กม. ทั่วไทย

จากระบบรถไฟฟ้าเพื่อขนส่งมวลชน การพัฒนาระบบรางของประเทศมีเป้าหมายต่อเนื่องในการกระจายรายได้สู่คนไทยทั่วประเทศ และการลดต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นภาระหนักทางการค้า โดยแผนลงทุนพัฒนารถไฟทางคู่ในโครงข่ายทางรถไฟปัจจุบัน มีมากถึง 17 โครงการ ระยะทาง 2,932 กม.

แบ่งเป็นแผนระยะเร่งด่วน 7 โครงการ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 โครงการและอยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 โครงการ โดยเส้นทางที่เสร็จแล้ว ได้แก่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม. และชุมทางจิระ-ขอนแก่น 187 กม. ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 เส้นทางเริ่มทดลองเปิดใช้กันบ้างแล้ว ส่วนอีก 5 เส้นทางที่กำลังก่อสร้างอยู่ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กม. และนครปฐม-หัวหิน 169 กม. คาดจะเสร็จใกล้เคียงกันปี 2565 ส่วนหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. จะเสร็จก่อนเล็กน้อย

ขณะที่มีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะกลางอีก 8 โครงการ รวม 1,549 กม. วงเงินกว่า 280,466 ล้านบาท ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285 กม. วงเงิน 62,859 ล้านบาท ขอนแก่น-หนองคาย 167 กม. วงเงิน 26,663.36 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 308 กม. วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 321 กม. วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กม. วงเงิน 6,661.37 ล้านบาท ชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด 70 กม. วงเงิน 8,247 ล้านบาท และเด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม. วงเงิน 56,837.78 ล้านบาท ส่วนแผนระยะยาว จะสร้างชุมทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ 174 และชุมทางหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก 216 กม. วงเงินรวมกว่า 57,373 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังจะมีการสร้างทางรถไฟสายใหม่อีก 14 โครงการ ซึ่งโครงการที่จะเกิดแน่ๆ กำลังประกวดราคาแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 323 กม. วงเงิน 85,345 ล้านบาท บ้านไผ่-นครพนม 355 กม. 67,965.33 ล้านบาท ส่วนสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น 163 กม.วงเงิน 44,218.80 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมขั้นตอนการลงทุน

ขณะที่มีแผนระยะกลาง ที่อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดและพิจารณาอีไอเออีก 642 กม. ได้แก่ นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด 256 กม. กาญจนบุรี-บ้านภาชี (เชื่อมแหลมฉบัง) 221 กม. สงขลา-ปากบารา 142 กม. และชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง 23 กม. และมีแผนระยะยาวอีก 7 โครงการ วงเงิน 1.6 แสนล้านบาท ได้แก่ มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด 197 กม. อุบลราชธานี-ช่องเม็ก 87 กม. กาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน 36 กม. นครสวรรค์-บ้านไผ่ 291 กม. ทับปุด-กระบี่ 68 กม. สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก 79 กม. ชุมพร-ระนอง 109 กม.

“ไฮสปีดเทรน” เร็วแรงทั่วประเทศ

สุดท้ายไปดูโครงการที่ถูกจับตามองอย่างมาก คือแผนพัฒนาทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน หรือรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีมากถึง 8 โครงการ ระยะทาง 2,506 กม. วงเงินลงทุนกว่า 1.62 ล้านล้านบาท ซึ่งนอกจากจะช่วยตอบโจทย์ด้านการค้า ยังจะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบันมีแผนระยะเร่งด่วน 4 โครงการ มีก่อสร้างแล้ว 1 เส้นทาง โครงการกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. คาดจะแล้วเสร็จปี 69

ขณะที่โครงการที่กำลังเตรียมก่อสร้าง ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. ที่เป็นการร่วมทุนกับเอกชน ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างคาดจะเสร็จปี 71 ส่วนช่วงอู่ตะเภา-ระยอง 40 กม. กำลังจัดทำรายงานพีพีพีและผลกระทบอีไอเอ

และไม่ใช่มีแค่ 2 สายนี้เท่านั้น เรายังมีแผนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงอีกหลายเส้นทาง ทั้งกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 380 กม. ที่กำลังถกหาข้อสรุปรูปแบบการลงทุน นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. กำลังออกแบบรายละเอียดอยู่ และยังมีแผนรถไฟความเร็วสูงระยะกลางอีก 499 กม. ประกอบด้วย เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. กำลังของบปี 65 เพื่อทบทวนผลการศึกษาเดิม เช่นเดียวกับเส้น พิษณุโลก-เชียงใหม่ 288 กม. ก็กำลังหาข้อสรุปรูปแบบการลงทุน ขณะที่ 2 สายสุดท้าย ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 759 กม. หัวหิน-สุราษฎร์ธานี 424 กม. สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 335 กม. อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม เบื้องต้นยังไม่กำหนดจะเริ่มสร้างและเสร็จเมื่อไร

เหล่านี้ก็ถือเป็นการรวบรวมอัปเดต โครงการเมกะโปรเจคท์ระบบรางของทั้งประเทศ ว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว ซึ่งต้องบอกว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ หากทำสำเร็จได้จริงตามแผนจะช่วยพลิกโฉมหน้าการเดินทางของประเทศ ให้คนไทยเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นอย่างแท้จริง.

ทีมเศรษฐกิจ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2022 1:39 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง-ส้ม รวมเรื่องต้องรู้ก่อนเปิดใช้ปี 2565-2570
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 3 มกราคม 2565 - 10:00 น.


เปิดไทม์ไลน์รถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู พร้อมให้บริการปี65
10 มกราคม 2565 เวลา 9:04 น.

รฟม.เปิดไทม์ไลน์รถไฟฟ้า 3 สายคืบเกิน 80% การันตีโมโนเรลสายสีเหลือง-ชมพู พร้อมเปิดให้บริการภายในปี 65

10 ม.ค. 2565รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสามสายทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ความก้าวหน้างานโยธา 90.60% เป็นความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 86.22% และความก้าวหน้าโดยรวม 88.70% คาดว่าจะเปิดให้บริการในในปี 2565 นี้ และรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เป็นความก้าวหน้างานโยธา 85.59% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 81.45% คิดความก้าวหน้าโดยรวม 83.88% คาดว่าจะเปิดให้บริการในภายในปี 2565


นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความก้าวหน้างานโยธา 89.46% ตามสัญญาจะแล้วเสร็จในเดือน ตุลาคม 2565 ส่วนงานระบบอยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการประมูลร่วมกับงานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ โดยวางกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567

ด้ายนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM แจ้งว่าภายในปี 2565 นี้ โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลทั้ง 2 สาย สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร(กม) จำนวน 23 สถานี และ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.จำนวน 30 สถานี จะพร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว โดยที่ผ่านมาบริษัทฯได้ทำการทดสอบการเดินรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง ทั้งด้านระบบการควบคุมรถไฟฟ้า และระบบอาณัติสัญญาณ เบื้องต้นการทดสอบยังไม่พบข้อบกพร่องในระหว่างที่มีการทดสอบระบบ

สำหรับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพูนั้น บริษัทได้มีการทดสอบการเดินรถไปแล้วตั้งแต่เดือนต.ค.2564 จำนวน 1 สถานี เริ่มจากโรงจอด และซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าโมโนเรล ถึงสถานีมีนบุรี (PK30) เป็นการทดสอบเดินรถแบบไป – กลับ จากผลการทดสอบเดินรถยังไม่พบข้อบกพร่องใดๆ เช่นกัน โดยหลังจากนี้บริษัท จะทยอยทดสอบเดินรถเป็นช่วงๆ เพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานทุกระบบสอดคล้องกัน มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย

รายงานข่าวแจ้งว่าความพร้อมของสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลทั้ง 2 สาย ได้มีการติดตั้ง ลิฟต์ บันไดเลื่อนจากชั้นจำหน่ายตั๋วไปยังชั้นชานชาลาแล้ว และกำลังทยอยติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Door System) และประตูกั้นระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC Gate) ทั้งนี้ ในส่วนของบันไดทางขึ้นสถานี ทางเดิน Walkway บันไดเลื่อน และลิฟต์โดยสาร จากชั้นพื้นถนน กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างและติดตั้งเช่นกัน
https://www.youtube.com/watch?v=pnJQ8_wpGHI&t=3s


รถไฟฟ้า “ส้ม-ชมพู-เหลือง” รฟม.อัพเดตก่อสร้างแล้ว 83-89%
ในประเทศ
วันที่ 12 มกราคม 2565 - 11:15 น.


อัพเดตความคืบหน้าไซต์ก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าในยุคโควิด

ล่าสุด ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” รายงานความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบ ดังนี้


1.โครงการรถไฟฟ้า “สายสีส้ม” ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 89.46%

2.โครงการรถไฟฟ้า “สายสีเหลือง” ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 90.60% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 86.22% เท่ากับมีความก้าวหน้าโดยรวม 88.70%


3.โครงการรถไฟฟ้า “สายสีชมพู” ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 85.59% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 81.45% คิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 83.88%

โดยทั้ง 3 เส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่นี้ “สายสีชมพู-เหลือง” ตามแผนเตรียมเปิดบริการภายในกลางปี 2565 และสายสีส้มมีแผนทยอยเปิดตามมาภายในปีนี้เช่นเดียวกัน


Last edited by Wisarut on 12/01/2022 11:47 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44480
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2022 6:57 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลบูมโซนตะวันออก กทม.
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, January 12, 2022 06:21

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) มีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร มูลค่า 4.8 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะเปิดใช้เส้นทางในปี 2570 เชื่อมโยงการเดินทางระบบราง ทุกระบบเป็นเนื้อเดียวในอนาคตอันใกล้ และส่งผลดีต่อที่ดินตลอดแนวโดยเฉพาะโซนตะวันออกของกรุงเทพมหานครราคาที่ดินขยับสูง เป็นทำเลทองขอการพัฒนา ที่อยู่อาศัยแนวราบและแนวดิ่ง

โดยเฉพาะที่ดินแปลงของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่จะพลิกโฉมจากสวนมะม่วง กลายเป็น เมืองอัจฉริยะ รับรถไฟฟ้าเปิดให้บริการ ปัจจุบัน รฟม. ได้เริ่มต้นดำเนินการในขั้นตอนเตรียมประกวดราคาจัดหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าวแล้ว โดยพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางพิเศษ หรือทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) เบื้องต้นของฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe ออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อประมาณ 25 - 30 เมตร

เมื่อถามถึงความคุ้มค่าต่อการลงทุนสายสีน้ำตาล ต้องยอมรับว่า รถไฟฟ้าสายนี้ จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ประกอบด้วย สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีส้ม เบื้องต้น รฟม.คาดการณ์ว่าปีแรกของการเปิดให้บริการ จะมีปริมาณผู้โดยสารราว 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน

แนวเส้นทางสายสีน้ำตาล จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา - อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง ถือเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ

บรรยายใต้ภาพ

เจริญ สิริวัฒนภักดี

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2022 10:17 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับปรุงใหม่! พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ สนข.คาดชง ครม.มิ.ย. 65 เซตกฎหมาย เล็งตั้งกองทุนหนุนส่วนต่างเดินทางข้ามระบบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:55 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:55 น.


สนข.รับฟังความเห็นภาครัฐและเอกชนเดินหน้าปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ...ตั้งเป้าเสนอ ครม.ใน มิ.ย. 65 คาดกฤษฎีกาตรวจร่างเสนอรัฐสภาประกาศใช้ปลายปี 65 วาง 7 หมวด 58 มาตรา สร้างกลไกกฎหมาย และมาตรฐานบริการระบบขนส่งสาธารณะ ตั้งกองทุนหนุนส่วนต่างลดค่าใช้จ่ายเดินทางข้ามระบบ

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ “ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ….” โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการภาคเอกชน นักวิชาการ และองค์กรอิสระ เข้าร่วม วันที่ 20 ม.ค. 2565 ว่า การจัดทำระบบตั๋วร่วมเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และต้องการให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทาง มุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพของระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการอำนวยประโยชน์ทั้งแก่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และทำให้ประชาชนประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ทั้งนี้ การจัดทำระบบตั๋วร่วมต้องอาศัยกลไกด้านกฎหมายในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน และขอบเขตความร่วมมือการให้บริการ การมอบอำนาจหน้าที่ และกำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ การดำเนินงานที่มีความชัดเจน รวมถึงการจัดตั้งกองทุนบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมและระบบขนส่งในประเทศไทย

สนข.ได้จัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนไปแล้ว 4 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 หัวข้อ “โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมที่เหมาะสม” ครั้งที่ 2 หัวข้อ “แนวทางการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมทางการเงินในระบบตั๋วร่วมที่เหมาะสม” ครั้งที่ 3 หัวข้อ “ความต้องการทางฟังก์ชัน (Functional Requirement) ของระบบตั๋วร่วม” และครั้งที่ 4 หัวข้อ “แนวทางการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย” เพื่อนำความคิดเห็นไปปรับปรุงผลการศึกษา การปรับปรุงร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

นอกจากนี้ ได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเปิดรับฟังความเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง ผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย https://www.law.go.th/law.go.th ตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค. 2565 ถึงวันที่ 4 ก.พ. 2565 ระยะเวลา 16 วัน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือน มิ.ย. 2565 เสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเสร็จใน ก.ย. 2565 เสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ช่วงปลายปี 2565 คาดว่าประกาศในราชกิจจานุเบกษาในปี 2565

สำหรับ “ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... แบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้แก่ หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) มีรมว.คมนาคมเป็นประธาน ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธาน มีกรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง 12 คน และให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง รมต.แต่งตั้งอีกไม่เกิน 4 คน มี ผอ.สนข.เป็นเลขานุการ มีอำนาจกำหนดนโยบายการบริหารจัดการ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอัตราค่าโดยสารร่วมและกำหนดค่าโดยสารร่วม และอัตราการส่งเงินเข้ากองทุน เป็นต้น

หมวด 2 การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กำหนดให้ผู้ประสงค์ประกอบกิจการระบบตั๋วร่วมต้องได้รับใบอนุญาตจาก คนต. หมวด 3 การดำเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม หมวด 4 อัตราค่าโดยสาร หมวด 5 กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หมวด 6 การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต หมวด 7 บทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล รวมทั้งหมด 58 มาตรา

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ครม.เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2563 ได้เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและมีความเห็นว่าร่างระเบียบสำนักนายกฯ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11(8) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีข้อจำกัด คือ บังคับได้เพียงหน่วยงานของรัฐ และกรณีการจัดตั้งกองทุนสามารถทำได้โดย พ.ร.บ.เท่านั้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

นอกจากนี้ กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมมีความจำเป็น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน การพัฒนา นำมาส่งเสริมและอุดหนุนประชาชนผู้ใช้บริการระบบตั๋วร่วมที่มีต้นทุนที่เหมาะสม รวมถึงสนับสนุนผู้ให้บริการที่เข้าร่วมระบบตั๋วร่วมที่ได้รับผลกระทบ ส่วนแหล่งเงินเข้ากองทุน ได้แก่ เงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรร, เงินอุดหนุนจากงบประมาณประจำปี, รายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต, หักรายได้จากการประกอบกิจการตั๋วร่วม รวมไปถึงรายได้ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และเงินเพิ่มที่กฎหมายกำหนด รายได้จากการกันเงินภาษี หรือจากเงินทุนหมุนเวียนอื่น เป็นต้น ซึ่งจะมีการรับฟังความเห็นเพื่อสรุปความชัดเจนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44480
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2022 11:24 am    Post subject: Reply with quote

บัตรเดบิต-เครดิตใบไหนขึ้นรถเมล์-รถไฟฟ้าได้ (เกือบ) ทุกสาย
เผยแพร่: 22 ม.ค. 2565 05:06 ปรับปรุง: 22 ม.ค. 2565 05:06 โดย: กิตตินันท์ นาคทอง

กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

เมื่อวันก่อน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ประกาศว่า เร็วๆ นี้จะเปิดให้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ผ่านระบบ EMV Contactless ด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต

ผู้โดยสารที่มีบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตทุกธนาคาร ซึ่งมีสัญลักษณ์ Contactless รูปใบพัด สามารถแตะบัตรเข้าและออกจากระบบรถไฟฟ้า โดยจะหักเงินจากบัญชีธนาคารที่ผูกกับบัตรเครดิต หรือวงเงินบัตรเครดิตโดยตรง

ทันทีที่ประกาศอออกมา นอกจากจะมีคนรอใช้บริการแล้ว หลายคนเห็นว่า “มาสักที” เพราะที่ผ่านมามีความพยายามที่จะออกระบบตั๋วร่วมรถไฟฟ้าจากภาครัฐ ถึงขนาดเคยออก “บัตรแมงมุม” เมื่อปี 2561 แต่สุดท้ายก็เงียบหาย

ขณะที่ รถไฟฟ้าสายสีแดง อยู่ในระหว่างจัดหาอุปกรณ์รับชำระค่าโดยสารผ่านบัตร EMV Contactless ซึ่งในโลกโซเชียลฯ มีภาพผู้รับเหมาเริ่มติดตั้งอุปกรณ์แล้วในบางสถานี คาดว่าอีกไม่นานน่าจะได้ใช้กัน

ทราบมาว่า ธนาคารกรุงไทย เสนอตัวเป็นผู้ลงทุนทำระบบตั๋วร่วมให้ โดยใช้บัตร EMV Contactless ชำระค่าโดยสาร ซึ่งทยอยปรับปรุงระบบหัวอ่านบัตรโดยสาร ให้รองรับบัตรเครดิตและบัตรเดบิตมาตั้งแต่กลางปี 2564

ปัญหาก็คือ รถไฟฟ้าบ้านเราต่างคนต่างสัมปทาน ต่างผู้ให้บริการ ปัจจุบันมีอยู่ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มบีทีเอส กลุ่ม ช.การช่าง (BEM) กลุ่มซี.พี. และ การรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้บริษัทลูกอย่าง รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.

อาจมีคนสงสัยว่า เมื่อรถไฟฟ้าบ้านเราต่างคนต่างสัมปทาน ต่างผู้ให้บริการ ถ้าในอนาคตอันใกล้จะพกบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ให้สามารถแตะขึ้นรถไฟฟ้าได้ทุกสาย ต้องใช้บัตรของธนาคารไหน?

จะบอกว่าแตะขึ้นรถไฟฟ้าได้เกือบทุกสาย ก็คงไม่ถูกเลยเสียทีเดียว ยังเหลือ รถไฟฟ้าเอเชีย เอรา วัน ของกลุ่ม ซี.พี. ที่ตอนนี้ยังคงต้องใช้บัตรโดยสารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เดิมไปก่อน เพราะยังไม่ได้เข้ามาบริหารเต็มตัว

รถไฟฟ้าบีทีเอส ใช้ระบบ บัตรแรบบิท (Rabbit) ที่กลุ่มบีทีเอสพัฒนาขึ้นมาเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตที่พ่วงกับบัตรแรบบิท เรียกว่า “บัตรแรบบิทร่วมแบรนด์” เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งสองระบบในบัตรเดียว

เท่าที่หาคำตอบคร่าวๆ มีธนาคารที่มีบัตรเดบิตพ่วงบัตรแรบบิทเพียงธนาคารเดียว คือ ธนาคารกรุงเทพ เป็นบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท แรบบิท มาสเตอร์การ์ด (ย้ำว่าต้องเป็น “มาสเตอร์การ์ด” เท่านั้น ถ้าเป็นยูเนี่ยนเพย์ใช้ไม่ได้)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44480
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2022 11:44 am    Post subject: Reply with quote

Round up คมนาคมปี 2565 แผนลงทุน 4 มิติ 'บก-ราง-น้ำ-อากาศ' 1.4 ล้านล้าน ดันจีดีพีเพิ่ม 2.35%
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, January 22, 2022 04:49

Click on the image for full size

กระทรวงคมนาคมฉายภาพการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ทั้งระบบในปี 2565 มียอดลงทุนรวม 1.4 ล้านล้านบาท

โดย "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รมว.คมนาคม กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา "Thailand Future Smart & Sustainable Mobility ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน" จัดโดยกระทรวงคมนาคม ในหัวข้อ "โอกาสของประเทศไทยกับการได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม" เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ณ โรงแรมพูลแมน รางน้ำ

ลงทุนภาพรวม 4 มิติ

ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด 2 ปี (2563-2564) ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กต์ด้านคมนาคมขนส่งเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม

ในส่วนของกระทรวงคมนาคม มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2558-2578) เป็นตัวกำกับ เป้าหมายลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพื่อฟ้นฟูเศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิด

"ผมเริ่มเห็นแสงสว่าง โรคระบาดมีทิศทางเป็นบวก กระทรวงเพิ่มความสะดวกการเดินทางและการใช้ชีวิต โครงการที่สามารถดำเนินการได้ก็เร่งทำต่อเนื่อง โครงการที่มีอุปสรรคปัญหาก็เร่งศึกษาข้อมูลเตรียมไว้เพื่อให้ทำได้ทันทีเมื่อมีความพร้อม"
การจัดระเบียบข้อมูลแผนลงทุนนำเสนอผ่านแผนลงทุนระยะกลางและระยะยาว เป็น 4 มิติด้วยกันคือ "ถนน ราง น้ำ อากาศ"

ครึ่งทางรถไฟฟ้าหลากสี

สีสันการลงทุนเริ่มต้นที่ "มิติระบบราง" ลูปใหญ่สุดเป็นโครงการรถไฟฟ้าหลากสีในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีตั้งเป้าลงทุนรวม 14 เส้นทาง ระยะทาง 554 กิโลเมตร โดยเปิดบริการแล้ว 7 สี 11 เส้นทาง ระยะทางรวม 212 กิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของแผนแม่บท

รถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้ว 11 เส้นทาง ได้แก่ "สีน้ำเงิน" บางซื่อ-หัวลำโพง 20 กิโลเมตร, หัวลำโพง-บางแค 14 กิโลเมตร, บางซื่อ-ท่าพระ 13 กิโลเมตร (ดูกราฟิกประกอบ)

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 สาย รวม 114 กิโลเมตร ได้แก่ "สีชมพู" แคราย-มีนบุรี/ศรีรัช-เมืองทองธานี 37.3 กิโลเมตร "สีเหลือง"

ลาดพร้าว-สำโรง/แยก รัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน 33 กิโลเมตร "สีส้ม" ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี 22.5 กิโลเมตร และ "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" พญาไท-ดอนเมือง หรือรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน 21.8 กิโลเมตร ตามแผนทยอยเปิดบริการปี 2566-2571

โครงการเร่งดำเนินการ 4 สาย รวม 93 กิโลเมตร ประกอบด้วย "สีม่วง" เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กิโลเมตร "สีแดงอ่อน" บางซื่อ-หัวหมาก/ตลิ่งชันศาลายา/ตลิ่งชัน-ศิริราช 40.64 กิโลเมตร "สีแดงเข้ม" บางซื่อ-หัวลำโพง/รังสิตมธ.ศูนย์รังสิต 14.6 กิโลเมตร และ "สีส้มตะวันตก" บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ 13.4 กิโลเมตร รวมทั้งแผนอนาคตมีอีก 8 เส้นทาง รวม 134 กิโลเมตร

ประเด็นของระบบรางเป็นเรื่องเดียวกันกับ "Bangsue Grand Station-สถานีกลางบางซื่อ" เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์กลางเดินทางระบบรางของประเทศไทย ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง (รถไฟไทย-จีนกับรถไฟ 3 สนามบินเชื่อม อีอีซี) มุ่งสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่าในการเป็นศูนย์กลางคมนาคมระดับอาเซียน

ไฮไลต์ยังมีรถไฟฟ้า "สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ" ซึ่งเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าในมหานครกรุงเทพที่วิ่งให้บริการในลักษณะเส้นทางวงกลมเพียงสายเดียวในขณะนี้

รุกคืบรถไฟทางคู่ 678 กม.

สำหรับ "รถไฟทางคู่" โครงการต่อเนื่องตามแผนลงทุนปี 2564-2565 ก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 4 เส้นทาง รวม 568 กิโลเมตร ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร, นครปฐม-หัวหิน 169 กิโลเมตร, หัวหิน-ประจวบฯ 84 กิโลเมตร และประจวบฯ-ชุมพร 167 กิโลเมตร

ทำให้ระบบทางคู่เพิ่มความยาวเป็น 1,111 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นการปฏิรูประบบรางทั้งประเทศไทย จากเดิมเป็นระบบ "รางเดียว" เพื่อขนส่งสินค้าทางราง ลดต้นทุนโลจิสติกส์ เชื่อมโยงทิศตะวันออกไปตะวันตก จากเหนือไปใต้

ปี 2565 เริ่มงานก่อสร้างสายใหม่ 2 เส้นทาง 678 กิโลเมตร ได้แก่ สายเด่นชัย- เชียงราย-เชียงของ 323 กิโลเมตรกับ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กิโลเมตร

มีอีก 7 โครงการที่เสนอขออนุมัติระยะที่ 2 รวม 1,483 กิโลเมตร ประกอบด้วย สายขอนแก่น-หนองคาย 167 กิโลเมตร, ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ 308 กิโลเมตร, ชุมพร-สุราษฎร์ฯ- 168 กิโลเมตร,

สุราษฎร์ฯ-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 321 กิโลเมตร, ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285 กิโลเมตร, ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กิโลเมตร และเด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กิโลเมตร

ในอนาคตหากทำครบทั้งหมด ประเทศไทยจะมีรถไฟทางคู่ความยาว 3,000 กิโลเมตร

โครงการต่อเนื่องยังรวมถึงพัฒนา "ท่าเรือบก-Dry Port" ซึ่งผลศึกษาเสร็จแล้ว คืบหน้าล่าสุด การท่าเรือฯ กำลังศึกษาต่อเพื่อเปิดประมูลรูปแบบร่วมทุน PPP โดยมองพื้นที่ศักยภาพจังหวัดใหญ่5 หัวเมืองหลัก "ขอนแก่น โคราช นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา สุราษฎร์ฯ"

ประคบประหงมไฮสปีดเทรน

เลี้ยวกลับมาดู "ไฮสปีดเทรน" ที่มี 2 เวอร์ชั่นหลัก 1.ไฮสปีดเทรนไทย-จีน ทางยาวคือกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยปี 2564 เริ่มเฟส 1 ตัดตอนกรุงเทพฯโคราช 253 กิโลเมตร คืบหน้าล่าสุดเร่งก่อสร้างเสร็จ 1 สัญญา ลงนามงานโยธา 10 สัญญา คาดว่าเปิดบริการปี 2569 วงเงินลงทุน 1.7 แสนล้านบาท

สำหรับปี 2565 กำลังขออนุมัติเดินหน้าเฟส 2 โคราช-หนองคาย 356 กิโลเมตร ปัจจุบันรออนุมัติรายงาน สิ่งแวดล้อม (EIA) ตั้งเป้ากลางปี 2565 นำเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ตามแผนจะเปิดบริการปี 2571

2.ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 220 กิโลเมตร ปีที่แล้วมีการลงนามสัญญาร่วมทุนกับกลุ่มซีพี และรื้อย้ายสิ่งกีดขวางโครงการ โดยปี 2565 เตรียมส่งมอบพื้นที่และเริ่มงานก่อสร้างต่อไป โครงการนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว การลงทุน เชื่อมต่อกับโซน EEC

3.แผนปี 2566 ผลักดันไฮสปีดเทรนเพิ่ม 2 เส้นทาง ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก กับกรุงเทพฯ-หัวหิน- สุราษฎร์ฯ-ปาดังเบซาร์


บูมมอเตอร์เวย์-ทางด่วน

สำหรับ "ระบบถนน" พบว่าไทยมีโครงข่ายถนนเกือบ 9 แสนกิโลเมตร อยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคมเกือบ 4 แสนกิโลเมตร หน่วยงานพระเอกคือ "กรมทางหลวง" มีโครงการต่อเนื่องจากรัฐบาลที่แล้ว อาทิ "มอเตอร์เวย์ M6 กรุงเทพฯ-โคราช" 196 กิโลเมตร ลงทุน 8 หมื่นกว่าล้านบาท ปี 2565 เร่งรัดให้แล้วเสร็จเพราะมีความก้าวหน้าก่อสร้าง 95% ตามแผนเปิดบริการปี 2566

อีกเส้น "M81 มอเตอร์เวย์ บางใหญ่กาญจน์" 96 กิโลเมตร ลงทุน 6 หมื่นกว่าล้านบาท เรื่องใหม่จะมีการพัฒนา rest area ต่อไป จะเปิดบริการปี 2566

อีกหน่วยงาน "การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" อยู่ระหว่างดำเนินการทางด่วน "พระราม 3-ดาวคะนองวงแหวนรอบนอก" 18.7 กิโลเมตร วงเงิน 28,734 ล้านบาท

ทิศเหนือของกรุงเทพฯ วันนี้ดอนเมืองโทลล์เวย์ไปจ่อรังสิต มีแผนงานรอประมูล "M5 ส่วนต่อขยายโทลล์เวย์ รังสิต-บางปะอิน" 22 กิโลเมตร ลงทุน 28,700 ล้านบาท ปีนี้จะขออนุมัติ ครม.เปิดประมูล PPP ตามแผนเปิดใช้ปี 2569, "M9 วงแหวนตะวันตก บางขุนเทียน-บางบัวทอง" ยาว 36 กิโลเมตร เตรียมประมูล PPP เช่นกัน ตั้งเป้าเปิดบริการปี 2568

หากจบตามแผนจะทำให้มีถนนวงแหวนรอบกรุงเทพฯ สามารถวิ่งเส้นทางอ้อมเมืองรอบนอกได้โดยไม่ต้องฝ่าการจราจรเข้ามาในเมือง

เลยไปโซน EEC มีโครงการ "M7 ส่วนต่อขยายเชื่อมสนามบินอู่ตะเภา" เดิม สิ้นสุดที่มาบตาพุด กำลังทำโครงการต่อ ขยายไปอู่ตะเภา 1.92 กิโลเมตร วงเงิน 4,508 ล้านบาท เป้าเปิดบริการปี 2568

MR-Map เชื่อมแลนด์บริดจ์

โครงการที่เป็นเหมือนโลโก้ของ "รมว.ศักดิ์สยาม" ก็คือ MR-Map ซึ่งริเริ่มทำแผนแม่บทบูรณาการระบบรางกับถนนเข้าด้วยกัน โดยมีมติ ครม.ใน ปี 2564 รองรับเรียบร้อยแล้ว ในฐานะผู้กำหนดนโยบายมองว่า MR-Map ตามแผนแม่บทมี 10 เส้นทาง เชื่อมโยงโครงข่ายเป็นตารางหมากรุก ทะลุทะลวงไปถึงเชื่อมคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นเมกะโปรเจ็กต์ที่สำคัญ

ไพลอตโปรเจ็กต์ของ MR-Map คือ "แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง" เชื่อม 2 ฝั่ง ทะเล อ่าวไทยกับอันดามัน พัฒนาท่าเรือ น้ำลึกไม่ต่ำกว่า 15 เมตร ตอบโจทย์ลดเวลา เดินทาง-ลดค่าใช้จ่ายขนส่ง-พัฒนาพื้นที่หลังท่า อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า คลังน้ำมัน อุตสาหกรรมต่อเนื่อง พื้นที่เชิงพาณิชย์/ออฟฟิศ/โรงแรม ซัพพลายเชน

แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนองจะเป็น คู่แข่งกับการขนส่งทางเรือที่ใช้ช่องแคบมะละกาเป็นหลักในปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถรองรับเรือเดินทะเลปีละ 1.2 แสนลำ และใกล้เต็มคาพาซิตี้เพราะปัจจุบันมีเรือผ่านช่องแคบปีละ 8.5 หมื่นลำ แนวโน้ม 10 ปีหน้าความหนาแน่นไม่น่าจะรับไหว แลนด์บริดจ์ของไทยจึงตอบโจทย์เทรนด์ 10 ปีหน้า

ศักยภาพทางน้ำ นอกจากแลนด์บริดจ์แล้ว ต้องต่อจิ๊กซอว์ "สายการเดินเรือแห่งชาติ" ในอดีตเคยมี "บริษัทไทยเดินเรือทะเล-บทด." หากมองแลนด์บริดจ์เป็นประตู การลงทุนเติมเต็มควรมีสายการเดินเรือแห่งชาติ แต่รูปแบบไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ วิธีการคือร่วมลงทุนเอกชนในประเทศ-ต่างประเทศ เพื่อให้มีการขนถ่ายสินค้าทางน้ำ

สุดท้าย "มิติทางอากาศ" โดย IATA -สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศคาดการณ์ในปี 2574 ไทยเป็นอันดับ 9 ที่คนทั่วโลกเดินทางมาเยี่ยมไม่น้อยกว่า 200 ล้านคน นำมาสู่การลงทุน 2 สนามบินหลัก "สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง"

บทสรุปปี 2565 กระทรวงคมนาคมมีการลงทุนโครงการสำคัญรวม 1.4 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการลงนามสัญญาแล้ว 5.16 แสนล้านบาท กับโครงการลงทุนใหม่ 9.74 แสนล้านบาท เกิดการจ้างงาน 1.54 แสนตำแหน่ง หมุนเงินในธุรกิจวัสดุก่อสร้าง 1.24 ล้านล้านบาท

คิดเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 2.35% หรือ 4 แสนล้านบาท/ปี

บรรยายใต้ภาพ

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 - 26 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44480
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2022 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

แผนผังระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ภาษาญี่ปุ่น-อังกฤษครับ
https://twitter.com/AsiaThailand208
https://runbkk.net/bangkok-route-map/

Click on the image for full size
https://runbkk.net/wp-content/uploads/2019/08/bangkok-train-map-ver.3.2.2.jpg

PDF Arrow https://runbkk.net/wp-content/uploads/2019/08/bangkok-train-map-ver.3.2.2.pdf
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 244, 245, 246 ... 277, 278, 279  Next
Page 245 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©