Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262410
ทั้งหมด:13573690
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44508
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/01/2022 11:03 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ติดตามการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
บ้านเมือง วันพฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565, 10.29 น.

Click on the image for full size

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (คปอ. รฟม.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติงาน ณ พื้นที่ก่อสร้าง สถานี รฟม. สถานีรามคำแหง 34 สถานีคลองบ้านม้า อาคารจอดแล้วจร (Park&Ride) และสถานีสัมมากร

โดยได้ตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศในส่วนของงานสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันวัสดุตกหล่นในการทำงานบน ที่สูง ในส่วนงานวางรางรถไฟฟ้าและงานสถานียกระดับ ซึ่ง คปอ. รฟม. ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยแก่ตนเอง คนรอบข้าง รวมถึงผู้สัญจรโดยรอบเป็นสำคัญ ตามนโยบาย “การก่อสร้างปลอดภัย 100%” ตลอดจนให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 ตามข้อกาหนดของกระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เว็บไซต์โครงการ www.mrta-orangelineeast.com และ Line Official : OrangeLine
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44508
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2022 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

ชีวิตติดรถไฟฟ้า
21 ม.ค. 65 19:00 น.
https://www.facebook.com/LifeAtStation/posts/977659313141513/

อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประจำเดือนธันวาคม 2564 ความคืบหน้าโดยรวม 89.46%
.
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี เป็นสถานีใต้ดินตลอดทั้งสาย โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นเป็นแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน)
.
ตอนนี้ตัวโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ดำเนินการก่อสร้างฝั่งตะวันออกคืบหน้าไปมากแล้ว จึงคาดว่าน่าจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2568 และเปิดทั้งสายในปี 2570 โดยแต่ละด้านมีความคืบหน้า ดังนี้
◾ งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 94.36%
◾ งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก 92.01%
◾ งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า 88.78%
◾ งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ 80.25%
◾ งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 87.60%
◾ งานก่อสร้างระบบราง 77.95%
◾ งานโยธา 89.46%
.
ตามแผนล่าสุด รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก คาดว่าจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2568 โดยจะเปิดประมูลสายสีส้มตะวันตก ประมาณได้ช่วงกลางปีนี้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2022 4:53 pm    Post subject: Reply with quote

🚧 🚇#ความคืบหน้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน #สถานีแยกลำสาลี
มีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนมกราคม 2565 แบ่งเป็น
📌งาน Structural Works งานโครงสร้างสถานี มีความคืบหน้า ร้อยละ 95.36
📌งาน E & M Works งานระบบฯ มีความคืบหน้า ร้อยละ 54.62
📌งาน Architecture Works งานสถาปัตย์ฯ มีความคืบหน้า ร้อยละ 49.73
🚧ปัจจุบันงานก่อสร้างในส่วนใต้ดิน นั้น อยู่ระหว่างการติดตั้งกระเบื้องปูพื้นและผนัง งานติดตั้งลิฟท์ บันไดเลื่อน งานติดตั้งโครงยึดแผ่นฝ้า และงานระบบต่าง ๆ สำหรับส่วนด้านบนสถานี กำลังก่อสร้างทางขึ้น ลง ที่ 1 -6 และงานสร้างคืนระบบสาธารณูปโภค เพื่อสร้างคืนสภาพผิวจราจรถาวร
👷‍♂️ดำเนินการ โดย สัญญาที่ 3 - ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1275997416212940

#อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม : สถานีวัดพระราม ๙ มีความก้าวหน้าการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 92.22 % แบ่งเป็น
🚧 ความก้าวหน้างานด้านโยธารวม 99.64%
🚧 ความก้าวหน้างานตกแต่งสถาปัตยกรรมและงานระบบ 70.29%
🚧 ความก้าวหน้างานด้านลิฟท์และบันได 90.94%
ดำเนินการโดย สัญญาที่ 1 : กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1267997147012967

#อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม : สถานี รฟม. มีความก้าวหน้าการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 91.19 % แบ่งเป็น
🚧 ความก้าวหน้างานด้านโยธารวม 99.61%
🚧 ความก้าวหน้างานตกแต่งสถาปัตยกรรมและงานระบบ 77.56%
🚧 ความก้าวหน้างานด้านลิฟท์และบันได 91.76%
ดำเนินการโดย สัญญาที่ 1 : กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1267460470399968

#อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม : สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นสถานีแรกทางฝั่งตะวันออกที่เชื่อมต่อกับสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีความก้าวหน้าการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 89.38 % แบ่งเป็น
🚧 ความก้าวหน้างานด้านโยธารวม 99.83%
🚧 ความก้าวหน้างานตกแต่งสถาปัตยกรรมและงานระบบ 72.89%
🚧 ความก้าวหน้างานด้านลิฟท์และบันได 94.97%
ดำเนินการโดย สัญญาที่ 1 : กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1266877937124888



🚇🚧#อัปเดตความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมีความคืบหน้างานโยธา อยู่ที่ 89.46 % โดยวันนี้น้องทันใจจะพาไปชมความคืบหน้างานก่อสร้างศูนยซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และภาพความคืบหน้างานก่อสร้างในจุดที่สำคัญ ณ สิ้นปี 2564 กันนะครับ
#orangeline #รฟมเรายกระดับชีวิตเมือง รฟม. พร้อมเคียงข้างไปกับคุณ
ติดตามรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ที่ :
Facebook fanpage: โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
Line official: @orangeline
Website: https://www.mrta-orangelineeast.com
https://www.youtube.com/watch?v=KbgUv0rdmcI

🚧🚇 #อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม : ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก
🚇 งานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน🚇 ในส่วนของงานโครงสร้างในทุกสถานี (Station Boxes) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานตกแต่งทางด้านสถาปัตยกรรม งานระบบต่าง ๆ งานลิฟท์และบันไดเลื่อน และงานก่อสร้างทางขึ้นลงในจุดต่าง ๆ โดยวันนี้ จะมาอัปเดตงานโยธารวม ซึ่งประกอบด้วย 1) งานก่อสร้างทางโยธา 2) งานตกแต่งทางด้านสถาปัตยกรรมและงานระบบ และ 3) งานลิฟท์และบันไดเลื่อน พร้อมภาพ 🎬ความคืบหน้ามาให้ชมกันใน 4 สถานี ดังนี้ นะคะ
🚧 1) สถานีรามคำแหง 12 มีความก้าวหน้างานโยธารวม 91.48%
🚧 2) สถานีรามคำแหง มีความก้าวหน้างานโยธารวม 91.93
🚧 3) สถานี กกท. มีความก้าวหน้างานโยธารวม 92.84
🚧 4) สถานีรามคำแหง 34 มีความก้าวหน้างานโยธารวม 90.80%
หมายเหตุ ตัวเลขความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 64
ดำเนินการโดย สัญญาที่ 2 : กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที
📌โดยในระหว่างนี้ ถนนรามคำแหง ที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น อยู่ระหว่างดำเนินการสร้างคืนระบบสร้างธารณูปโภคและสร้างคืนผิวจราจรถาวร ซึ่งจะทยอยคืนในจุดที่แล้วสร็จ ทั้งนี้ งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มในส่วนของงานโยธา จะแล้วเสร็จทั้งหมด และพร้อมส่งมอบคืนพื้นที่ผิวจราจรให้กับประชาชนได้สัญจรได้ตามปกติ ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 นี้ 🙏🙏🙏
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1264372784042070

🚧🚆 #อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 มีความคืบหน้างานโยธา รวม 89.46 %
#อดทนอีกนิด เพื่อการใช้ชีวิตที่ดีกว่า #งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม #ขออภัยในความไม่สะดวก
#Orangeline#รฟม. #เรายกระดับชีวิตเมือง ✌️ ✌️ ✌️✌️
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1261109411035074
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2022 12:28 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ 9 ก.พ. ศาลปกครอง นัดบีทีเอส-รฟม. เคลียร์คดีประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจคมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:17 น.

“ศาลปกครองกลาง” นัดบีทีเอส-รฟม.ไต่สวน ปมแก้ทีโออาร์รถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังบีทีเอสยื่นฟ้อง ยันได้รับความเสียหาย

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า วันที่ 9 ก.พ. 2565 เวลา 10.00น. ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย



ที่ผ่านมาบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ฟ้องว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44508
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2022 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลปกครองอ่านคำพิพากษาคดีรถไฟฟ้าสายสีส้ม : จับสัญญาณเศรษฐกิจ
Feb 9, 2022
Thai PBS

แม้ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี การยื่นฟ้องระหว่างบีทีเอส และ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี และ รฟม. เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และยกเลิกการประกวดราคาในโครงการดังกล่าว แต่ปัจจุบันยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลปกครองกลาง ซึ่งวันนี้จะมีการอ่านคำพิพากษา


https://www.youtube.com/watch?v=Yb8TCz7JBTU

ศาลปกครองกลางยกฟ้องคดี รฟม.เปลี่ยนหลักเกณฑ์ประมูล‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’
แนวหน้า วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 13.05 น.

ศาลปกครองพิพากษายกฟ้อง BTS เรียกค่าเสียหาย ปมแก้ไข TOR ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนต่อขยายบางขุนนนท์-มีนบุรี แม้เห็นว่า รฟม.เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่เป็นเหตุให้ BTS เสียหาย

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTS ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวล ชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชน

ศาลให้เหตุผลว่าการที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติเห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมภายใน 9 วัน โดยมิได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินการแก้ไขตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน พ.ศ.2563 จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนรัฐและเอกชน

ดังนั้น การที่รฟม.และคณะกรรม การคัดเลือกฯ แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 โดยใช้การประเมิน ซองที่ 2 คือ ข้อเสนอด้านเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลประโยชน์ตอบ แทนมารวมกัน ในสัดส่วน 30:70 คะแนน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามไม่อาจถือว่า รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ กระทำการละเมิดต่อ BTS เพราะค่าจ้างที่ปรึกษาด้านเทคนิคและค่าที่ปรึกษาทางกฎหมายที่ BTS อ้างนั้นเป็นค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจการค้าตามปกติ ไม่ได้จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกจนเป็นเหตุให้ BTS ได้รับความเสียหาย ศาลจึงไม่อาจกำหนดความเสียหายดังกล่าวให้แก่ BTS ได้จึงพิพากษายกฟ้อง

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กล่าวภายหลังรับฟังคำพิพากษา ว่า คดีนี้ศาลได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่าแม้ว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคณะกรรมการคัดเลือกฯจะต้องกลับไปดำเนินให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ไม่ได้ทำให้ BTS มีความเสียหายเกิดขึ้น ศาลจึงได้พิพากษายกฟ้องในส่วนของค่าเสียหาย เพราะเห็นว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ทาง BTS ใช้ในการยื่นประมูลอยู่แล้ว ส่วนจะยื่นอุทธรณ์ต่อไปหรือไม่ต้องกลับไปหารือกับฝ่ายกฎหมายอีกครั้ง เพราะศาลให้เวลายื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในศาล 3 คดี ประกอบด้วย
1.ศาลปกครอง คดีที่ภาครัฐออกประกาศยกเลิกประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม
2.คดีเรียกร้องค่าเสียหาย จากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประกวดราคา และ
3.คดีตามกระบวนการศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง 1 คดี ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2022 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ศาลปกครองอ่านคำพิพากษาคดีรถไฟฟ้าสายสีส้ม : จับสัญญาณเศรษฐกิจ
Feb 9, 2022
Thai PBS

https://www.youtube.com/watch?v=Yb8TCz7JBTU

ศาลปกครองกลางยกฟ้องคดี รฟม.เปลี่ยนหลักเกณฑ์ประมูล‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’
แนวหน้า วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 13.05 น.



ศาลปกครองกลางยกฟ้องคดีเปลี่ยนหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:14 น.


ศาลปกครองกลางยกฟ้องคดี รฟม.เปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้ ดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ความเสียหายต่อบีทีเอสยังไม่เกิดขึ้น

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย


โดยคดีข้อพิพาทดังกล่าวสืบเนื่องจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ฟ้องว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย


กรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย



นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังการฟังคำพิพากษาว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว โดยศาลชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เหตุดังกล่าวไม่ได้ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับบริษัท

“บีทีเอสจะหารือฝ่ายกฎหมายว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ ซึ่งสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน” นายสุรพงษ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2022 2:52 am    Post subject: Reply with quote

เปิด 7 รายชื่อ บิ๊ก รฟม.-คกก. ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ?
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 12:30 น.

เปิด 7 รายชื่อ บิ๊ก รฟม.- คณะกรรมการคัดเลือก ทีร่วมล้มการประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจมีความผิดอาญาตามมา มีใครบ้าง ไปดูกัน

ความเคลื่อนไหวโครงการ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โครงการระดับแสนล้านของรัฐบาล ที่การรรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ทุบโต๊ะล้มประมูล

จนทำให้บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในประเด็น “ยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในวงเงินกว่า 128,128 ล้านบาท โดยกรณีดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจทางกฎหมายที่ถูกต้อง





ล่าสุด 9 กุมภาพันธ์ 2565 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม สรุปสาระสำำคัญ ดังนี้

1. ศาลเห็นว่าหลักเกณฑ์การคัดเลือกเดิมได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินในแต่ละด้านไว้แล้ว ในส่วนเกณฑ์ด้านเทคนิค ก็เป็นเกณฑ์ขั้นสูงแล้วที่กำหนดให้ต้องผ่านแต่ละด้าน 80 คะแนนและคะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 85 ของทั้งหมด เพื่อให้ได้ผลงานที่คุณภาพสูง ส่วนด้านราคา รัฐต้องได้ประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามกฎหมายและตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนั้น การกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกเดิมของ รฟม จึงชอบแล้ว



2. ตามมาตรา 38 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนฯ ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการคัดเลือกในการแก้ไขหลักเกณฑ์ ในส่วนที่คณะกรรมการและ รฟม อ้างว่ามีอำนาจอื่นๆ ในการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น ตามมาตรา 38(7) เป็นอำนาจเพื่อดำเนินการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือเป็นอำนาจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพรบ.ร่วมลงทุนฯ โดยแท้เท่านั้น คณะกรรมการจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรานี้แก้ไขหลักเกณฑ์ได้



3. ส่วนอำนาจตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ ข้อ 4(9) และข้อ 17.1 ที่อ้างว่าให้คณะกรรมการคัดเลือกและรฟม สามารถแก้ไขหลักเกณฑ์ได้นั้น เห็นว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์ใน RFP แม้ทำได้ แต่ก็ต้องไม่เกินขอบอำนาจตามประกาศดังกล่าว และการแก้ไขเป็นส่วนสาระสำคัญซึ่งมีผลต่องบประมาณแผ่นดิน จึงต้องดำเนินการเหมือนกับการกำหนดหลักเกณฑ์ฉบับแรก คือ ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากเอกชนที่เกี่ยวข้อง








4. นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกและ รฟม ใช้เวลาเพียง 9 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือจากอิตาเลียนไทยในการแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือก และไม่ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของเอกชนก่อนจะแก้ไขหลักเกณฑ์แต่อย่างใด จึงเป็นการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน จึงเห็นว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกเป็นเกณฑ์ price performance เป็นคำสั่งทางปกครองทั่วไปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



5. ในส่วนประเด็นว่า คณะกรรมการคัดเลือกและ รฟม กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี หรือไม่นั้น ตามมาตรา 420 บัญญัติความเสียหายต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด ซึ่งต้องเป็นค่าใช่จ่ายในการบริหารจัดการ การเตรียมการหรือการยื่นข้อเสนอ แต่ความเสียหายตามคำฟ้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการดำเนินการค้าตามปกติของบริษัท และผู้ฟ้องคดีไม่ได้แสดงว่าเกิดจากที่คณะกรรมการและ รฟม. แก้ไขหลักเกณฑ์อย่างไร อีกทั้ง การแก้ไขหลักเกณฑ์ก็ไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ดังนั้น การอ้างว่าการแก้ไขหลักเกณฑ์ทำให้ต้องว่าจ้างที่ปรึกษาจึงไม่อาจรับฟังได้ เพราะไม่ใช่ความเสียหายโดยตรง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ไม่อาจพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้


ผลแห่งคดีที่ชี้ว่า รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามม. 36 ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจจะส่งผลต่อคดีอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาคดีตามมา



สำหรับรายชื่อคณะกรรมการมาตรา 36 ประกอบด้วย

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.
นายกิตติกร ตัณเปาว์ รองผู้ว่าการ รฟม.
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม
นายประสิทธิ์ ศิริภากรณ์ รองอัยการสูงสุด (ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด)
นายประภาส คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ อดีตผู้อำนวยการ สคร. (ผู้แทนสคร.)
นายอัณษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนงาน การทางพิเศษเเห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2022 5:29 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิด 7 รายชื่อ บิ๊ก รฟม.-คกก. ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ?
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 12:30 น.


รฟม.ห่วงอาญารถไฟฟ้าสายสีส้ม/รอข้อตกลงคุณธรรม
*กรรมการม.36 ลุ้นคดีฟ้องทุจริตค่อยเปิดประมูล
*ศาลปกครองตัดสินชนะแต่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3108562369365260
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2022 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

BTS ฟ้องแก้ TOR สายสีส้ม ปมขวางต่อสัมปทานรถไฟฟ้า‘สีเขียว’
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพุธ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 11:01 น.

BTSฟ้องแก้TOR สายสีส้มปมคมนาคมขวางต่อสัมปทานรถไฟฟ้า‘สีเขียว’ ศึกระหว่างกระทรวงมหาดไทยโดยกทม. -กระทรวงคมนาคม

ศึกรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีส้มระหว่างกระทรวมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม ยืดเยื้อกลายเป็นเกมการเมืองโดยปมแตกหักเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เมื่อสายสีส้มตะวันตกและระบบสัมปทานเดินรถของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถูกเลื่อนเปิดซองประมูลและเป็นจุดเริ่มที่กระทรวงคมนาคมคัดค้านการขยายสัมปทานสายสีเขียวของกระทรวงมหาดไทยโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาจนถึงทุกวันนี้



ย้อนไปก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมสนับสนุนการขยายสัมปทานสายสีเขียวมาโดยตลอด เห็นได้จากวันที่ 24 ตุลาคม 2562 กระทรวงคมนาคมเห็นชอบขยายสัมปทานสายสีเขียวและให้เลขานุการคณะรัฐมนตรีบรรจุในวาระการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยให้เหตุผลว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.)



โดยกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2562 (มาตรา 44) ลงวันที่ 11 เมษายน 2562 แล้ว เช่นเดียวกับปี 2563 วันที่ 30 มีนาคม และวันที่ 9 มิถุนายน คมนาคมยังคงเห็นชอบการขยายสัมปทานฯดังกล่าว

จุดหักเหของกระทรวงคมนาคมหลายฝ่ายมองว่า เป็นเพราะบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานสายสีเขียวยื่นฟ้องศาลปกครอง เมื่อพบความไม่ชอบมาพากลกรณีรฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนปี 2562



โครงการสายสีส้ม (มีนบุรี-บางขุน นนท์) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท เปลี่ยนแปลงเกณฑ์ประมูลหรือทีโออาร์ใหม่ จากเดิมตัดสินที่ซองราคาเปลี่ยนมาเป็นพิจารณาซองเทคนิคร่วมกับซองราคาในสัดส่วน 30 คะแนนและ 70 คะแนนตามลำดับ โดยการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากการปิดขายซองให้กับเอกชนผู้สนใจไปได้ไม่นาน และถูกจับตามองจากหลายฝ่ายว่าอาจจะเอื้อให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่ง สะท้อนจากยักษ์รับเหมารายหนึ่งเป็นหัวหอกในการร้องเรียนเปลี่ยนเกณฑ์ประมูล



สอดรับกับข้อสังเกตของ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนักวิชา การระบุว่าที่ผ่านกระทรวงคมนาคมเห็นด้วยกับกระทรวงมหาดไทยขยายสัมปทานสายสีเขียวให้กับภาคเอกชน เพื่อแลกภาระหนี้ถึง 3 ครั้งแต่ในเวลาต่อมาเมื่อมีเรื่องของสายสีส้มเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายเริ่มเปลี่ยนแปลงไป สะท้อนจากการ ถาม-ตอบระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงมหาดไทยโดยกทม. นับจากรฟม.เลื่อนการประมูลสายสีส้มเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563




BTS ฟ้องแก้ TOR สายสีส้ม ปมขวางต่อสัมปทานรถไฟฟ้า‘สีเขียว’

จนกระทั่งถึงก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เกิดขึ้นจำนวน 8 ครั้ง แต่ไม่ได้ข้อยุติ โดยกระทรวงคมนาคมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมจาก 4 ประเด็นเดิม เช่น (1) การโอนกรรมสิทธิ์จาก รฟม. ซึ่งเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต ให้ กทม. ยังไม่สมบูรณ์



(2) การใช้ระบบตั๋วร่วม (ตั๋วใบเดียว) และ (3) กรอบระยะเวลาในการเจรจาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานระหว่าง กทม. กับ บีทีเอสซี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2535 เป็นต้นซึ่งกระทรวงมหาดไทยโดย กทม. ได้มีหนังสือชี้แจงข้อสังเกตและส่ง ข้อมูลตามคำขอของกระทรวงคมนาคมครบทั้ง 8 ครั้ง



โดยในเร็ววันนี้ กระทรวงมหาดไทยจะนำการขยายสัมปทานสายสีเขียวเข้าสู่การพิจารณาของครม.อีกครั้ง วงในระบุว่า เป็นนัดสุดท้ายและมองว่าอาจเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะทั้งอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คณะกรรมการกฤษฎีกาต่างเห็นไปในทิศทางเดียวกับกระทรวงมหาดไทยว่าสามารถขยายสัมปทานได้ และคำสั่งมาตรา 44 รัฐบาล คสช. ถือว่าเป็นคำสั่งโดยชอบของรัฐบาล



ขณะบีทีเอสซีผู้รับสัมปทานเดินรถสายสีเขียว กลับมองว่า การขยายสัมปทานเป็นความประสงค์ของกทม.กระทรวงมหาดไทย เพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้ แม้จะไม่ได้รับการขยายสัมปทาน ก็ไม่สร้างความสะทกสะท้านเพราะ ข้อ 1. บีทีเอสซีเหลืออายุสัญญาสัมปทาน (ช่วงกลาง) อีกเพียง 7 ปี หรือถึงปี 2572 ข้อ 2. บีทีเอสซีมีสัญญาจ้างเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายถึงปี 2585



ข้อ 3. หากหมดอายุสัมปทาน(ปี 2572) ในสัญญาระบุต้องให้สิทธิ์ผู้รับสัมปทานรายเดิมก่อน ข้อ 4. หากมีการแข่งขันผู้รับสัมปทานรายเดิมน่าจะเป็นฝ่ายชนะเพราะเคยเดินรถ, มีขบวนรถระบบเดินรถที่พร้อม, กทม.และผู้ใช้บริการคุ้นเคยข้อ 5. ค่าโดยสารสามารถปรับลดลงจาก 65 บาทตลอดสายได้ หากบีทีเอสซีแบ่งรายได้ให้กทม.พอชำระหนี้และมีเงินเหลือ



ทั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถตอบคำถามคาใจให้กับกระทรวงคมนาคม, ภาคสังคมและว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากทม. ทั้ง 4 รายได้ แต่ถึงกระนั้นสิ่งที่กทม. ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือการชำระหนี้ที่พอกพูนกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งจากค่างานติดตั้งระบบเดินรถและค่าจ้างเดินรถให้กับบีทีเอสซีที่อยู่ระหว่างฟ้องร้อง



ขณะสายสีส้มเมื่อศาลปกครองกลางวินิจชัยว่าการแก้ทีโออาร์ของรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 อยู่ในข่ายกระทำผิดกฎหมายซึ่งผลที่ตามมาคือกลับไปใช้ทีโออาร์เดิม คือวัดกันที่ซองราคาแต่ทั้งนี้ต้องรอศาลปกครองสูงสุดจะชี้ขาดซึ่งประเมินว่าคำวินิจฉัยไม่น่าต่างไปจากศาลปกครองกลาง
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เท่าใดนักเพราะศาลระบุชัดว่าภาครัฐมีเจตนากระทำผิดชัดเจนแม้จะอ้างต้องใช้เทคนิคชั้นสูงในการก่อสร้างสายสีส้มก็ตาม



อย่างไรก็ตามเพราะประเทศ ไทยมีเอกชนผู้ยิ่งใหญ่ทางรางเพียงสองรายดังนั้นสายสีส้มและสายสีเขียวจะเป็นของร้อนในมือนักการเมืองบ้างในบางครั้งย่อมไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44508
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2022 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจงปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม จ่อประมูล มี.ค.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 19 ก.พ. 2565 เวลา 15:10 น.

รฟม. แจงประเด็นการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ชี้กำหนดคัดเลือกเอกชน มี.ค.นี้

วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ดังนี้

1. การปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอ
1.1 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนน - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ได้เห็นชอบประกาศเชิญชวนและเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal : RFP) ซึ่งรวมถึงวิธีการคัดเลือก
ผู้ชนะโดยพิจารณาชองเทคนิคและซองการลงทุนและผลตอบแทนแยกจากกัน ซึ่ง รฟม. ได้ออกประกาศเชิญชวนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และได้ขายซองเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ระหว่างวันที่ 10 - 24 กรกฎาคม 2563 โดยมีผู้สนใจซื้อซองเอกสาร RFP รวม 10 ราย


1.2 รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ปรับปรุงวิธีการประเมิน โดยคำนึงถึงสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการฯ ที่จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคก่อสร้างที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด มาเป็นวิธีประเมินคะแนนด้านเทคนิคควบคู่ด้านผลตอบแทนและการลงทุนด้วยเหตุผล ดังนี้

กรณีปัญหาและผลกระทบจากการก่สร้างโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ที่ผ่านมาเช่น กรณีน้ำใต้ดินรั่วซึมเข้าสถานีสามยอดขณะก่อสร้างสถานีใต้ดินสายสีน้ำเงิน ความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนประชาชนโดยรอบพื้นที่ก่อสร้างโครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งล้วนมีปัญหามาจากการออกแบบและเทคนิก่อสร้างทั้งสิ้น

สายสีส้มส่วนตะวันตก ต้องก่อสร้างลอดผ่านย่านชุมชนหนาแน่น (ห้วยขวางประชาสงเคราะห์) ย่านเศรษฐกิจการค้าสำคัญ (ประตูน้ำ เพชรบุรีตัดใหม่) ย่านเมืองเก่า (ถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สนามหลวง โรงละครแห่งชาติ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา รพ.ศิริราช สถานีรถไฟธนบุรี) นอกจากนี้ยังผ่านพื้นที่ซึ่งมีโบราณสถานและอาคารอนุรักษ์จำนวนมาก ซึ่งหากประสบปัญหาจากเทคนิคก่อสร้างที่ไม่ดีพอจะทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้

ในการประเมินดังกล่าว จะตัดสินผู้ชนะโดยพิจารณาคะแนน ทั้งซองที่ 2 (ด้านเทคนิค) และซองที่ 3 (ด้านการลงทุนและผลตอบแทน) รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่ใช่การลดทอนความสำคัญด้านเทคนิคลง ในทางกลับกัน ยังเป็นการเพิ่มน้ำหนักความสำคัญของด้านเทคนิค ทำให้ได้ผู้ชนะที่มีประสบการณ์ด้านเทคนิคและเสนอวิธีการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุดต่อสาธารณชน อันจะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ

รฟม. ได้ออกประกาศยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564


2. การดำเนินงานคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ภายหลังจากการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564

2.1 ในช่วงเดือนเมษายน 2564 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีการลาออกจากการเป็นกรรมการ ต่อมาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 คณะกรรมการ รฟม. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทดแทน

2.2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 เห็นชอบการนำแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมไปกำหนดใช้โดยอนุโลม สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหรือการร่วมลงทุนภายใต้กฎหมายอื่นนอกเหนือจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งโครงการสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ต้องดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวด้วย

2.3 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ออกประกาศ เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการนำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการร่วมลงทุนที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2564

2.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สคร. ได้มีหนังสือแจ้ง รฟม. ว่า ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชน จะต้องมีผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มขั้นตอนการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาฯ ทั้งนี้ สคร. อยู่ระหว่างการประสานงานกับองค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ประเทศไทย) เพื่อแจ้งรายชื่อผู้สังเกตการณ์ให้ รฟม. ต่อไป

2.5 ภายหลังจากที่ สคร. มีประกาศเรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการนำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการร่วมลงทุนที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 รฟม. จึงได้ออกประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน เพื่อนำความคิดเห็นมาใช้ประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอ กสารสำหรับคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาฯ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565

3. แผนการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เนื่องจากพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ไม่ได้กำหนดแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมไว้ สคร. จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการจัดทำประกาศเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและทำความตกลงกับองค์กรภาคเอกชนเพื่อเข้ามาเป็นผู้สังกตการณ์ในการคัดเลือกเอกชน รพม. จึงได้ปรับแผนการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นดังนี้

- คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน
มี.ค. - ส.ค. 2565
- ก่อสร้างโครงการ
ก.ย. 2565
- เปิดให้บริการโครงการส่วนตะวันออก
ส.ค. 2568
- เปิดให้บริการโครงการส่วนตะวันตก
ธ.ค. 2570

4. คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการถูกทำละเมิดเป็นเงินจำนวน 500,000 บาท นั้น ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง

5. มติคณะกรรมการ รฟม. เห็นชอบจ้างผู้ว่าการ รฟม.คณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบจ้างนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ เป็นผู้ว่าการ รฟม. ต่อ หลังจากครบกำหนดตามสัญญาจ้างปัจจุบัน เป็นไปตามมาตรา 8 จัตวา วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 1 1 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) ในการดำเนินงานที่ผ่านมา รฟม. ได้ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินงานที่รัฐจะได้รับโครงการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ผู้ใช้บริการ และประเทศไทยต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 89, 90, 91  Next
Page 61 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©