Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179678
ทั้งหมด:13490910
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44317
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2021 7:51 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” แต่งแต้ม ถนนสวย – ท่าเรือเด่น - เสน่ห์ทางรถไฟฯ
มอบความสุข ความปลอดภัย ในการเดินทาง ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น


นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทุกรูปแบบ เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วประเทศ จนปัจจุบันหลายโครงการได้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้วทั้งทางบก ราง น้ำและอากาศ ขณะเดียวกันยังมีโครงข่ายเดิมที่ได้รับการปรับปรุงโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งเดินทาง ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีดำริให้กระทรวงคมนาคมพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงข่ายให้มีทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับนโยบายดังกล่าวมาแปลงสู่การปฏิบัติ ภายใต้แนวคิด “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” โดยได้สั่งการให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ 2 ฝั่งถนน เขตทางรถไฟ และท่าเรือ ให้มีความสวยงามและมีความปลอดภัยในการสัญจร โดยมีการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ทั่วประเทศ รวมจำนวน 793 โครงการมี 4 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมเจ้าท่า (จท.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ประกอบด้วย

1.การส่งเสริมทัศนียภาพทางถนนของกรมทางหลวง (ทล.) เพื่อเพิ่มความสวยงามร่มรื่น 2 ฝั่งทางหลวง ด้วยพันธุ์ไม้ประจำถิ่น สร้างเอกลักษณ์ของเส้นทาง และแลนด์มาร์กใหม่ในการเดินทางและการท่องเที่ยว ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมทางหลวงสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ พร้อมด้วยแผนงาน 1 จังหวัด 1 ถนนสวยงาม รวมทั้งสิ้น 77 สายทาง เพิ่มศักยภาพจุดบริการประชาชนให้พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการจอดพักค้างแรมและสวยงามร่มรื่น

โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ รวม 767 โครงการ ได้แก่ ระยะที่ 1 ปี 2565 จำนวน 137 โครงการ ระยะเวลา 6 เดือน คือ แผนงานปรับภูมิทัศน์ริม 2 ข้างทาง จำนวน 20 สายทาง ระยะที่ 2 ปี 2566 จำนวน 630 โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 คือ การเพิ่มศักยภาพจุดพักรถบรรทุก จำนวน 40 จุด, แผนงานปรับปรุงหมวดทางหลวงทั่วประเทศ จำนวน 584 แห่ง เพื่อเป็นจุดบริการและแวะพักของประชาชนที่ขับรถทางไกล

2. โครงการส่งเสริมทัศนียภาพทางถนนของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับพื้นที่และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยจัดกิจกรรม “สีสันประเทศไทย ณ สะพานภูมิพล” ด้วยการประดับไฟ “สะพานภูมิพล 1” “สะพานภูมิพล 2” และ “สะพานมหาเจษฎาบดินทรทนุสรณ์” เพื่อเพิ่มความสง่างามให้กับสะพานของพ่อ ท่ามกลางทัศนียภาพอันงดงามของแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 – ธันวาคม 2565

3. การส่งเสริมทัศนียภาพระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นเส้นทางท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ โดยส่งเสริมทัศนียภาพริมทางรถไฟ ปรับภูมิทัศน์ 2 ฝั่งทางรถไฟเส้นทางท่องเที่ยว แบ่งเป็น พัฒนาทางรถไฟเส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 7 เส้นทาง ด้วยพันธุ์ไม้สวยงามประจำถิ่น ส่วนการพัฒนาเส้นทางโดยสารสายหลักของประเทศ จำนวน 2 เส้นทาง ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน เช่น แนวเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นต้น

4. การส่งเสริมทัศนียภาพท่าเรือของกรมเจ้าท่า (จท.) เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวทางน้ำ และส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย และการพัฒนาท่าเรือในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ เช่น ท่าเรือโดยสารประจำทาง ท่าเรือเฟอร์รี่ เกาะสมุย, ท่าเรืออเนกประสงค์ บริเวณอ่าวมะขามป้อม จ.ระยอง เป็นต้น

กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการเสริมทัศนียภาพในเส้นทางโครงข่ายคมนาคม เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการอย่างปลอดภัย และประทับใจในการเดินทางทุกช่วงโอกาส เติมเต็มโครงข่ายคมนาคมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยเอกลักษณ์ความสวยงามของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ทุกการเดินทางท่องเที่ยวมีความสวยงามตลอดเส้นทางก่อนถึงจุดหมายปลายทาง ขณะเดียวกันยังส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสร้างเส้นทางแห่งการท่องเที่ยว ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกพื้นที่ของประเทศ ให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

https://www.facebook.com/thairath/posts/10161127143807439
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44317
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2021 7:37 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลเร่งยกระดับโลจิสติกส์ระบบรางในเมืองและภูมิภาค | เศรษฐกิจInsight 13 ธ.ค.64
Dec 13, 2021
TNN Online


https://www.youtube.com/watch?v=leUNh948ovA

โฆษกรัฐบาล เผยนายกฯ เร่งยกระดับโลจิสติกส์ระบบรางในเมืองและภูมิภาค โดยในเมืองเปิดให้บริการรถไฟฟ้าแล้ว 11 สาย 211.94 กิโลเมตร 137 สถานี พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบรางในภูมิภาค 6 จังหวัด




'คมนาคม'เปิดแผน1.4ล้านล้านเร่งบูสต์อัพเศรษฐกิจไทยปีเสือ
Source - ข่าวสด
Friday, December 31, 2021 06:32

หลังจากที่รัฐบาลเร่งกระจายการฉีดวัคซีนทั่วประเทศได้ครอบคลุม จนทำให้อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ลดลงเหลือระดับหลักพัน และอัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือระดับหลักสิบ

ประกอบกับการออกมาตรการผ่อนคลายการเดินทาง ด้วยการประกาศเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 ส่งผลทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น เริ่มเห็นประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยและเดินทางท่องเที่ยวกันมากขึ้น

ลำพังเพียงการใช้จ่ายภาคการบริโภคเพียงอย่างเดียว คงมีพลังไม่มากพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว

ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเสาหลักค้ำยันเศรษฐกิจไทย ยังมีสัญญาณบวกที่ไม่ชัดเจน เพราะหลายๆ ประเทศทั่วโลก ยังมีมาตรการจำกัดการเดินทางของนักท่องเที่ยว

กระทรวง 'คมนาคม' ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการ ขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐ จำเป็นต้องออกมาเร่งบูสต์อัพเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้เร็วและแรง เพื่อให้เกิดแรงผลักให้เศรษฐกิจภาพรวมเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยขับเคลื่อนผ่านโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในปี 2565 ภายใต้แผนพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล

การเร่งการลงทุนภาครัฐ ยังมีส่วนช่วยในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากภาคเอกชนให้เข้ามาเติมในระบบเศรษฐกิจได้อีกบางส่วน

เนื่องจากโครงการลงทุนของกระทรวงคมนาคมส่วนใหญ่กำหนดให้เป็นรูปแบบโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership-PPP) ที่เอกชนจะต้องควักกระเป๋าอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาร่วมด้วย และยังเป็นการเรียกความเชื่อมั่นจากภาคการลงทุนเอกชนได้อีกด้วย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ระบุว่า โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและการขนส่งในปี 2565 กระทรวงคมนาคมจะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริการในเชิงรุก โดยบูรณาการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระหว่างรูปแบบการขนส่ง และการกำกับดูแลการพัฒนาระบบคมนาคม ให้เกิดความสะดวก

สามารถเชื่อมโยงทั่วถึงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปลอดภัย ตรงต่อเวลา และมีราคาค่าบริการที่สมเหตุสมผล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจไทย

มีทั้งโครงการลงทุนที่เป็นการสานต่อจากนโยบายเดิมในปี 2564 และโครงการลงทุนโครงการใหม่ในปี 2565

"สำหรับปี 2565 กระทรวงคมนาคมได้เตรียมเม็ดเงินลงทุนภาครัฐอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไว้มากถึง 1.4 ล้านล้านบาท ภายใต้ 40 โครงการสำคัญ ครอบคลุมการลงทุนครบทั้ง 4 มิติ คือภาคการขนส่งทางถนน ภาคการขนส่งทางราง ภาคขนส่งทางน้ำ และภาคการขนส่งทางอากาศ"

โดยแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ส่วนคือ โครงการลงทุนเก่าที่ได้ลงนามสัญญาแล้ว และต้องลงทุนต่อเนื่อง วงเงิน 5.16 แสนล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ วงเงิน 9.74 แสนล้านบาท

โครงการลงทุนเดิมที่กระทรวงคมนาคมจะเร่งขับเคลื่อนต่อเนื่องในปี 2565 วงเงิน 5.16 แสนล้านบาท ประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางถนน 1 โครงการ วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท

ทางบก 1 โครงการ วงเงิน 2.8 พันล้านบาท

ทางราง 7 โครงการ วงเงิน 4.8 แสนล้านบาท

และทางอากาศ 4 โครงการ วงเงิน 5.7 พันล้านบาท

ส่วนโครงการลงทุนใหม่ในปี 2565 วงเงิน 9.74 แสนล้าน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 24 โครงการ

แบ่งเป็นโครงการลงทุนทางถนน 12 โครงการ วงเงิน 2.8 แสนล้านบาท

ทางราง 5 โครงการ วงเงินลงทุน 6.3 แสนล้านบาท

ทางอากาศ 4 โครงการ วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท

ทางบก 1 โครงการ วงเงิน 1.4 พันล้านบาท

และทางน้ำ 2 โครงการ วงเงิน 6.1 พันล้านบาท

สำหรับโครงการทางถนน จำนวน 12 โครงการ วงเงินรวม 2.8 แสนล้านบาท ประกอบด้วย

1.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายวงแหวน รอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9) วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท (ปี 2565-2568)

2.มอเตอร์เวย์ M9 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน (หรือดอนเมืองโทลล์เวย์) วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท (ปี 2566-2569)

3.โครงข่ายเชื่อมต่อ มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-นครราชสีมา (M6 ) กับทางหลวงหมายเลข 32 วงเงิน 4.7 พันล้านบาท

4.มอเตอร์เวย์ (M7) ช่วงศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท (ปี 2567-2570)

5.มอเตอร์เวย์ M 8 สายนครปฐม-ชะอำ ช่วงนครปฐมปากท่อ วงเงิน 5.1 หมื่นล้านบาท

6.ทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ N1 และ N2 วงเงิน 3.7 หมื่นล้านบาท (ปี 2567-2570)

7.ทางด่วนส่วนต่อขยายสายฉลองรัฐ ช่วงจตุโชติ- ถนนวงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 2.2 หมื่นล้านบาท (ปี 2567-2570)

8. ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท (ปี 2567-2570)

9.ทางด่วน ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ จ.ภูเก็ต วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท (ปี 2568-2571)

10.ถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 จ.นครพนม วงเงิน 1.6 พันล้านบาท (ปี 2565-2567)

11.สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานีสาละวัน) วงเงิน 4.7 พันล้านบาท (ปี 2566-2568)

และ 12.นโยบายแต่งแต้ม สีสัน ทางหลวง ส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงิน 280 ล้านบาท (ปี 2565-2566)
    ทางราง มี 5 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 6.2 แสนล้านบาท
    1.รถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 8.5 หมื่นล้านบาท (ปี 2565-2569)

    2.รถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 6.8 หมื่นล้านบาท (ปี 2565-2569)

    3.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท (ปี 2565-2570)

    4.รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท (ปี 2565-2570)

    และ 5.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท (ปี 2565-2571)

ทางอากาศ มี 4 โครงการ วงเงินรวม 5.9 หมื่นล้านบาท

1.โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท (ปี 2565-2569)

2.โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 3 วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท (ปี 2565-2572)

3.โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานชุมพร วงเงิน 3.2 พันล้านบาท (ปี 2565-2570)

และ 4.โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานระนอง วงเงิน 3.5 พันล้านบาท (ปี 2565-2571)

ขณะที่ทางบก มี 1 โครงการ คือ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1.3 พันล้านบาท (ปี 2565-2567)ทางน้ำมี 2 โครงการ1.แนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งช่วง อ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 4 ก.ม. วงเงิน 1 พันล้านบาท (ปี 2565)

2.เขื่อนป้องกันตลิ่ง อ.พระนครศรีอยุธยา ถึงอ.คลองหลวง ระยะทาง 13 ก.ม. วงเงิน 5.1 พันล้านบาท (ปี 2566)

กระทรวงคมนาคม ซึ่งกุมเม็ดเงินลงทุนภาครัฐในมือมากที่สุดถึง 1.4 ล้านล้านบาท ดูจะเป็นความหวังหลักที่จะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเดินหน้าได้ แต่ที่ผ่านมามักประสบปัญหาเบิกจ่าย

เห็นได้จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในเดือนพ.ย.2564 ที่ระบุว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 3 แห่งในสังกัดคมนาคม ติดอันดับต้นๆ ในการเบิกจ่ายล่าช้า

อันดับ 1 คือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เบิกจ่ายได้ 89% รองลงมาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เบิกจ่ายได้ 73% และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เบิกจ่ายได้ (กทพ.) 70%

สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า และเม็ดเงินลงทุนไม่สามารถเข้าไปอัดฉีดในระบบเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย เพราะโครงการจำนวนมากได้รับจัดสรรงบประมาณสูง มักถูกร้องเรียนเรื่องความไม่โปร่งใสในการดำเนินการ

ทำให้การประมูลก่อสร้างหยุดชะงัก จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเร่งให้เกิดการลงทุนที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว

คงต้องรอพิสูจน์ฝีมือกระทรวงคมนาคมกันต่อไปใน ปี 2565

บรรยายใต้ภาพ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ที่มา: นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 1 ม.ค. 2565 (กรอบบ่าย)



ระเบียงเศรษฐกิจอีสาน (NeEC) ฐานขับเคลื่อน BCG
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, January 01, 2022 05:55

Click on the image for full size


เปิดเดินแล้วเส้นทางรถไฟจีน-ลาวตั้งแต่ 3 ธ.ค.2564 ที่ผ่านมา ไม่เพียงกระแสตอบรับการจับจองทดลองนั่งอย่างล้นหลาน ทั้งในฝั่งลาวและในจีนตอนใต้ เนื่องจากยังไม่เปิดประเทศจากมาตรการคุมโควิด-19 แล้ว จีนยังทดลองส่งผัก-ผลไม้ 33 ตู้ส่งเข้าไทยแล้ว เส้นทางรถไฟสายใหม่นี้เป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามกับภาคเกษตรไทย

ขณะที่ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ไทยตั้ง เป้าเพิ่มมูลค่าการเติบโตเศรษฐกิจ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy ที่ 4.4 ล้านล้านบาท (24% ของจีดีพี) ภาย ในปี 2569 และเพิ่มการจ้างงานเป็น 3.5 ล้านคนในปี 2567

2 เรื่องที่ดูไม่เกี่ยวข้อง แต่มาบรรจบกันในแดนดินถิ่นอีสาน เมื่อสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.หรือสภาพัฒน์) อยู่ระหว่างจัดทำกรอบแนวคิดการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern Economic Corridor:NeEC) บนฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy)

เศรษฐกิจชีวภาพ ภายใต้โมเดล BCG เป็นแนวคิดการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านทรัพยากรชีวภาพ เพื่อปลดล็อกการผลิต โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมรูปแบบเดิม ที่"ทำมากถึงได้มาก" ไปสู่การผลิตแบบ "ทำน้อยแต่ได้มาก" ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาผสานกับองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่การผลิต และยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสร้างมลภาวะ เป็นมิตรกับสิ่งแวด้อมและยั่งยืน

จากศักยภาพของพื้นที่ที่มีความหลากหลาย และมีความได้เปรียบของที่ตั้ง ที่เชื่อมโยงสู่อนุภูมิภาคและต่อถึงจีนตอนใต้ สามารถใช้ต่อยอดสู่อุตสาหกรรมชีวภาพด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต การต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรสู่พลังงานหมุนเวียน ความพร้อมของภาคการศึกษาทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ ในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการ และความก้าวหน้าของโครงข่ายคมนาคมขนส่งในอีสาน ที่เชื่อมกับโครงข่ายหลักของประเทศ และประเทศในภูมิภาค รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่ส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานชีวภาพในปัจจุบันและแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ในระยะต่อไป ที่จะสนับสนุนการเชื่อมโยงกิจกรรมในลักษณะคลัสเตอร์และห่วงโซ่มูลค่า

ศิรินัดดา ปรีชา และ วัชรพงศ์รัชตเวชกุล นักวิจัยสำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานศึกษาการยกระดับเศรษฐกิจอีสานด้วย Bio-economy ชี้ว่า หลายประเทศในยุโรปประสบความสำเร็จในการยกระดับภาคเกษตรด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ ส่งผลให้มี รายได้สูงขึ้น

โดยมีกุญแจความสำเร็จ อาทิ มีเครื่องมือทางการเงินเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มความสะดวกและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการยกระดับนวัตกรรมชีวภาพ บางประเทศมีกลไกภาษีโดยลดหย่อนแก่การผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น พลาสติกชีวภาพ หรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกิน 95% รวมถึงตั้งกองทุน เพื่อร่วมทุนกับเอกชนในรูปพีพีพี

ขณะที่หน่ออ่อนผลิตภัณฑ์ชีวภาพในอีสานเริ่มปรากฎ อาทิ โรงงานน้ำตาลเริ่มต่อยอดน้ำตาลทรายดั้งเดิม สู่ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Bio-based Chemicals สำหรับการผลิตอาหารคนและสัตว์ เช่น สารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ต่ำ โพรไบโอติกส์ที่เป็นส่วนผสมอาหารและนม สารสกัดยีสต์จากชานอ้อย การวิจัยใช้สารนาโนซิลิกอนจากแกลบทำขั้วแบตเตอรี พัฒนาข้าวหอมมะลิเป็นเครื่องดื่มข้าวฮางงอก ข้าวปลอดกลูเตน โรงแป้งมันสำปะหลังอุบลฯส่งเสริมเกษตรกรทำมันอินทรีย์

อย่างไรก็ตามการลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคยังต่ำ ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังไม่มีแรงจูงใจลงทุน สะท้อนจากการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ส่วนใหญ่เพื่อแปรรูปสินค้าเกษตรขั้นต้น ด้านผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก มีข้อจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยี เพราะมีต้นทุนสูง และยังต้องการการสนับสนุน ด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ขณะที่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพก็ยังมีต้นทุนสูงกว่าสินค้าดั้งเดิม เกษตรกรและผู้ประกอบการไม่มั่นใจตลาด ว่าจะมีรองรับหรือไม่

ผู้วิจัยเสนอการจะขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตคนอีสาน ต้องขับเคลื่อนด้วยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน (พีพีพี) เพื่อสร้างความมั่นใจลดความเสี่ยงเอกชน พัฒนาเครื่องมือการเงินให้เข้าถึงแหล่งทุน สร้างนิเวศเศรษฐกิจชีวภาพ อาทิ ศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรมทุกระดับ ตลอดจนใช้มาตรการทางภาษีจูงใจ เป็นต้น

ต่อทิศทางการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจอีสาน (NeEC) ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพดังกล่าว นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัยรองประธานหอการค้าไทย ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผยว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจอีสานต้องยกระดับภาคเกษตรที่เป็นฐานหลัก ที่สำคัญเช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ต้องปรับเปลี่ยนการ เกษตรภาคอีสานจากวิถีเดิม ให้เป็นเกษตรรูปแบบสมัยใหม่ พัฒนาให้สินค้าเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้น สอดรับกับการเป็นประตูสู่ตลาดต่างประเทศในภูมิภาค ต้องพัฒนาสินค้าให้ตรงความต้องการตลาดใช้องค์ความรู้เกษตรใหม่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลง

การพัฒนาเศรษฐกิจอีสานนั้นภาคเอกชนมองว่าไม่ได้เน้นไปที่เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องใช้เครื่องจักรหุ่นยนต์สมัยใหม่เป็นหลัก แต่เน้นภาคบริการ เช่น การบริการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการเกษตรที่ยกระดับราคาให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการเป็นเมืองอาหาร ที่จะให้บริการแก่ทุกเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริการการขนส่งโลจิสติกส์ การบริการด้านสุขภาพ เป็นต้น

การพัฒนา NeEC-Bioeconomy จึงเป็นโอกาสของเกษตรกร SMEs และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมBioeconomy ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและผลักดันจากทุกภาคส่วนให้เกิดสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ที่ทำให้เกิดการร่วมคิด วางแผน และขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างบูรณาการ เพื่อผลักดันนโยบายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่และประเทศโดยรวม

บรรยายใต้ภาพ

สวาท ธีรรัตนนุกูลชัย

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 2 - 5 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44317
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2022 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

“คมนาคม” กางแผนปีเสือ ลงทุน 36 โครงการ 1.57ล้านล้าน
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 02 ม.ค. 2565 เวลา 13:17 น.

“คมนาคม” เปิดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็คต์ 36 โครงการ วงเงิน 1.57 ล้านล้านบาท เร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเบิกจ่ายงบปี 65 ตั้งเป้า 95% ในเดือนก.ย.65 หลังได้รับจัดสรรงบลงทุนกว่า 1.82 แสนล้าน คาดลงนามสัญญาผู้รับจ้างภายในเดือนม.ค.-มี.ค.65

กระทรวงคมนาคมเร่งลงทุนและติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ ปี2565 ของหน่วยงานในสังกัด ให้เป็นไปตามเป้าหมายรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศที่มี โครงการขนาดใหญ่ของแต่ละหน่วยงานรวม 36โครงการมูลค่า 1.57ล้านล้านบาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2565 (8 ส่วนราชการ 5 รัฐวิสาหกิจ) ในภาพรวม จำนวน 208,455.23 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 26,076.73 ล้านบาท (ร้อยละ 12.51) และรายจ่ายลงทุน 182,378.50 ล้านบาท ร้อยละ 87.49 โดยในส่วนของงบรายจ่ายลงทุน ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2564 มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว14,933.79 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.19 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เมื่อเปรียบเทียบกับแผนการเบิกจ่ายเงิน ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2564 จำนวน 14,748.87 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายเงินได้เร็วกว่าแผน

“ได้กำชับให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินปี 2565 เร่งดำเนินการขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ลงนามในสัญญาได้ครบทุกรายการโดยเร็ว และเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ร้อยละ 93 และรายจ่ายลงทุน ร้อยละ 75 และในส่วนของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจขอให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายเงินในแต่ละเดือน เพื่อที่จะให้ผลการเบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ร้อยละ 95 ภายในเดือนกันยายน 2565”

ทั้งนี้การลงนามในสัญญารายจ่ายลงทุน กระทรวงคมนาคมมีรายการที่จะต้องลงนามในสัญญา รายการปีเดียวจำนวน 7,624 รายการ วงเงิน 77,847.10 ล้านบาท คาดว่าจะได้ตัวผู้รับจ้างทุกรายการในเดือนธันวาคม 2564 และทยอยลงนามในสัญญาจ้างจนครบทุกรายการภายในเดือนมกราคม 2565 ส่วนรายการผูกพันใหม่ จำนวน 138 รายการวงเงิน 2,876.06 ล้านบาท คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ครบทุกรายการภายในเดือนมีนาคม 2565

ส่วนงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 2565 (10 รัฐวิสาหกิจ) วงเงินเบิกจ่ายรวม 131,829.01 ล้านบาท ประกอบด้วย ทางราง(การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 91,495.05 ล้านบาท ทางบก (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) วงเงิน 11,865.73 ล้านบาท ทางน้ำ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) วงเงิน 2,135.40 ล้าบาท และทางอากาศ (สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และบริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด (มหาชน)หรือ รทส. วงเงิน 26,332.83 ล้านบาท

+36โครงการ1.57ล้านล้าน

สำหรับโครงการสำคัญขนาดใหญ่ที่จะเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 36 โครงการ รวมวงเงิน 1,573,763 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย วงเงิน 2,139 ล้านบาท 2.โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม วงเงิน 1,361ล้านบาท 3.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา) วงเงิน 84,600 ล้านบาท 4.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี) วงเงิน 56,047 ล้านบาท 5.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว วงเงิน 19,700 ล้านบาท 6.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 5 ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 39,956 ล้านบาท 7.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 9 สายวงแหวรรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก ตอนบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงิน 56,035 ล้านบาท 8.โครงการก่อสร้างสะพานเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ วงเงิน 1,600 ล้านบาท 9.โครงการก่อสร้างสะพานทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง วงเงิน 4,600 ล้านบาท 10.โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (แลนด์บริดจ์) จังหวัดชุมพร-ระนอง วงเงิน 100,000 ล้านบาท

11.โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย รวมวงเงิน 179,413 ล้านบาท ประกอบด้วยช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และ
12. ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
13.โครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงิน 9,087 ล้านบาท และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 62,772 ล้านบาท
14.โครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,640 ล้านบาท
15.โครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม6,สถานีบางกรวย กฟผ.,สถานีบางฉิมพลี) วงเงิน 10,600 ล้านบาท
16.โครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วเงิน 4,730 ล้านบาท
17.โครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 49,600 ล้านบาท
18.โครงการศูนย์เปลี่ยนสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย (อยู่ระหว่างของบศึกษา)
19.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ วงเงิน 18,699 ล้านบาท ,ช่วงบาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 23,910 ล้านบาท ,ช่วงนครปฐม - หัวหิน วงเงิน 15,718 ล้านบาท , ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 5,807 ล้านบาท ,ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 12,457 ล้านบาท
20.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ประกอบด้วย ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 25,842 ล้านบาท , ช่วงชุมทางจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 36,683 ล้านบาท
21.โครงการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ ประกอบด้วย สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 72,921 ล้านบาท ,สายบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 54,684 ล้านบาท
22.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน 50,970 ล้านบาท
23.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 51,810 ล้านบาท
24.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท
25.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงิน 7.8 หมื่นล้านบาท
26.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท
27.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท
28.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท
29.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ วงเงิน 8,000 ล้านบาท
30.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลกวงเงิน 1,566 ล้านบาท


31.โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 -ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก วงเงิน 30,000 ล้านบาท 32.โครงการทางพิเศษกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 14,470 ล้านบาท 33.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 84,361 ล้านบาท 34.โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน6,254 ล้านบาท 35.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 36,000 ล้านบาท และ 36.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818 ล้านบาท

+ทล.ประมูลบิ๊กโปรเจ็กต์

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า โครงการถนนของกรมทางหลวง (ทล.) ที่จะเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2565 นั้น ประกอบด้วย 1.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข9 (M9) สายถนนวงแหวนตะวันตก ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน ระยะทาง 36 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 56,035 ล้านบาท 2.โครงการส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 18 กม. วงเงิน 39,956 ล้านบาท โดยจะใช้จากเงินกองทุน (TFFIF) เพื่อชำระหนี้คืนหลังจากโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 82 (M82) สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กิโลเมตร (กม.) ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2567 3.โครงการก่อสร้างจุดพักรถบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ช่วงช่วงพัทยา-มาบตาพุดจุดพักรถ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (Rest Area) พื้นที่ 66 ไร่ วงเงิน 300 ล้านบาท 4.โครงการก่อสร้างจุดพักรถบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา จุดพักรถพื้นที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (Rest Area) พื้นที่ 117 ไร่ วงเงิน 700 กว่าล้านบาท เบื้องต้นโครงการก่อสร้างจุดพักรถทั้ง 2 โครงการจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบผลการศึกษาโครงการฯ ต่อไป

+ลุยสายสีแดง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงว่า ขณะนี้ผลการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดทำเอกสารประกวดราคา และการดำเนินงาน ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) 4 โครงการ วงเงิน 7.93 หมื่นล้านบาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย
    1.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 4.96 หมื่นล้านบาท,
    2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6.64 พันล้านบาท,
    3.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม ประกอบด้วย สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และสถานีบ้านฉิมพลี ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 1.06 หมื่นล้านบาท และ
    4.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4.73 พันล้านบาท

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ที่ปรึกษาต้องสรุปผลการศึกษาเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. และกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในเดือน พ.ค.65 หากเห็นชอบคาดว่าจะสามารถเปิดสรรหาเอกชนเพื่อเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบเอกชนลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ทั้ง 4 เส้นทางได้ในช่วงปลายปี 65 และได้ผู้รับจ้าง พร้อมเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 66 อย่างไรก็ตามสำหรับรูปแบบการลงทุนฯ นั้น จะเสนอ 3 แนวทางให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) และ ครม.พิจารณา

สำหรับแผนการก่อสร้างรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงของ รฟท. นั้น เบื้องต้น ช่วง รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะเริ่มก่อสร้างในเดือน ส.ค. 66- ก.ค. 69 และเปิดให้บริการปี 69 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.66-ม.ค.71 และเปิดให้บริการปี 71 สำหรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 12 บาท และเพิ่มขึ้น 2.10 บาทต่อ กม. ค่าโดยสารสูงสุดแต่ละช่วงไม่เกิน 42 บาท จะปรับเพิ่มขึ้นทุก 2 ปี ครั้งละ 3%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2022 12:06 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมอัดลงทุน 1.98 ล้านล้านกระตุ้นเศรษฐกิจปีเสือ ลุย PPP กว่า 5.1 แสนล้าน ลดภาระงบรัฐ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:23 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:23 น.



คมนาคมลุยแผนปี 65 ลงทุน 36 โครงการ กว่า 1.98 ล้านล้านบาท เปิด PPP กว่า 5.117 แสนล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจปีเสือ “ศักดิ์สยาม” สั่งหน่วยงานบูรณาการปรับใช้ PPP หรือ TFF ลดภาระงบประมาณ ชี้ลงทุนเพื่อสร้างระบบโลจิสติกส์ให้แข็งแรง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2565 กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ จำนวน 36 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.98 ล้านล้านบาท ซึ่งมีทั้งโครงการที่ได้รับอนุมัติอยู่ระหว่างดำเนินการต่อเนื่อง และโครงการที่จะเสนอขออนุมัติเพื่อดำเนินการ ครอบคลุมทั้งคมนาคมทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมมีมูลค่าสูง แต่เป็นการลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพของประเทศไทยในอนาคต เพราะหากสามารถสร้างระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้แข็งแรง เป็นโอกาสที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันได้ โดยการลงทุนต่างๆ เป็นส่วนทำให้เกิดรายได้แก่ประเทศด้วย ไม่ใช่ลงทุนไปแล้วไม่ได้อะไรเลย

ส่วนมิติในการลงทุนมีหลายรูปแบบ ทั้งใช้งบประมาณปกติ ซึ่งทราบกันดีว่ามีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ดังนั้นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมต่อจากนี้จะพิจารณาเครื่องมือการลงทุนรูปแบบอื่นที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้วางไว้ ทั้งการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) หรือใช้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) รวมถึงการให้หน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกัน เช่น บางโครงการหน่วยงานราชการทำเองไม่ได้ ติดขัดงบประมาณ ก็บูรณาการกับรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไปหารือ นำผลศึกษามาบูรณาการร่วมกัน เพื่อผลักดันโครงการขนาดใหญ่ให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ อย่ากอดโครงการไว้เพราะไม่รู้จะได้ทำเมื่อไหร่

"โครงการขนาดใหญ่มักจะศึกษาไว้นาน บางโครงการเป็น 10 ปีแล้ว เวลาผ่านไปข้อมูลก็เปลี่ยนไป ไม่ตอบโจทย์กับสิ่งที่เป็นปัจจุบัน บางโครงการผลศึกษาทั้งโครงการอาจมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ต่ำ แต่ช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ จึงมีแนวคิดว่าอาจนำบางช่วงของโครงการที่มี EIRR ดี และแก้ปัญหาจราจรได้ มาทำโดยใช้ TFF ลงทุน เช่น โครงการวงแหวนรอบ 3 ที่เดิมมีทั้งส่วนของถนน และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ-จ.สมุทรสาคร ซึ่งทั้งโครงการยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม( EIA) และ EIRR ไม่คุ้มค่า ก็ให้พิจารณาดูว่า หากตัดเฉพาะช่วงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากแยกปู่เจ้าสมิงพราย มาถึงแยกพระสมุทรเจดีย์ จะมีผล EIRR คุ้มค่าหรือไม่ แล้วให้ กทพ.เป็นเจ้าของโครงการใช้กองทุน TFF ก่อสร้าง ได้หรือไม่ ส่วนกรณีที่ประชาชนต้องจ่ายค่าผ่านทาง นั้นจะเป็นเหมือนทางด่วน ซึ่งทุกวันนี้มีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาหลายแห่ง มีทั้งแบบใช้ฟรี กับแบบเสียเงิน ก็ถือเป็นอีกทางเลือกเพื่อให้สามารถก่อสร้างได้ และใช้เงินให้คุ้มค่าและได้ผลประโยชน์ผลตอบแทน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และประชาชน"

@เปิด PPP บิ๊กโปรเจกต์กว่า 5.117 แสนล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจปีเสือ

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่จะเร่งรัดดำเนินการในปี 2565 มีวงเงินรวม 1.985 ล้านล้านบาท จำนวน 36 โครงการ โดยมีแหล่งเงินลงทุนจาก 5 ส่วน
1. งบประมาณ วงเงิน 2.177 แสนล้านบาท (11%) 2. เงินรายได้ วงเงิน 1.111 แสนล้านบาท (6%) 3. เงินกู้ 1.114 ล้านล้านบาท (56%) 4. PPP วงเงิน 5.117 แสนล้านบาท (26%) 5. TFF วงเงิน 3.437 หมื่นล้านบาท (1%)

เป็นโครงการทางบก 11 โครงการ วงเงินลงทุน 2.615 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
1. โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย วงเงินรวม 2,864.73 ล้านบาท (งบประมาณ 2,834.61 ล้านบาท/PPP 30.12 ล้านบาท)
2. โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม วงเงินรวม 1,159.82 ล้านบาท (งบประมาณ 842.29 ล้านบาท / PPP 317.53 ล้านบาท)

3. มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา วงเงินรวม 65,621.24 ล้านบาท (งบประมาณ 59,410.24 ล้านบาท /PPP 6,211 ล้านบาท)
4. มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงินรวม 43,582.07 ล้านบาท (งบประมาณ 38,578.07 ล้านบาท/PPP 5,004 ล้านบาท
5. มอเตอร์เวย์ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว วงเงินรวม 2,317.44 ล้านบาท (งบประมาณ 10,479.29ล้านบาท / เงินรายได้ 197 ล้านบาท/ PPP 1,641.15 ล้านบาท)

6. มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต-บางปะอิน วงเงินรวม 27,742.80 ล้านบาท ( PPP 27,742.80 ล้านบาท)
7. มอเตอร์เวย์ สายวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก ตอนบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงินรวม 56,035.26 ล้านบาท (PPP 56,035.26 ล้านบาท)
8. โครงการก่อสร้างสะพานเกาะลันตา วงเงินรวม 1,800 ล้านบาท (งบประมาณ 540 ล้านบาท/เงินกู้ 1,260 ล้านบาท)
9. โครงการก่อสร้างสะพานทะเลสาบสงขลา วงเงินรวม 4,700 ล้านบาท (งบประมาณ 1,410 ล้านบาท/เงินกู้ 3,290 ล้านบาท)
10. ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ วงเงินรวม 31,244 ล้านบาท (งบประมาณ 807 ล้านบาท/TFF 30,437 ล้านบาท)
11. ทางด่วน จ.ภูเก็ต ตอนกะทู้-ป่าตอง วงเงินรวม 14,469.84 ล้านบาท (งบประมาณ 5,792.24 ล้านบาท/PPP 8,677.60 ล้านบาท)



ทางราง 20 โครงการ วงเงินลงทุน 1.529 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย

1. โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงินรวม 179,412.21 ล้านบาท (งบประมาณ 5,637.85 ล้านบาท/เงินกู้ 173,774.36 ล้านบาท)
2. โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย วงเงินรวม 304,723.41 ล้านบาท (งบประมาณ 6,204.20 ล้านบาท/เงินกู้ 298,519.21 ล้านบาท)
3. รถไฟชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) วงเงินรวม 102,652.74 ล้านบาท (งบประมาณ 105 ล้านบาท/เงินกู้ 102,547.74 ล้านบาท) ปัจจุบันแล้วเสร็จเปิดให้บริการแล้ว
4. รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินรวม 6,570 ล้านบาท (งบประมาณ 310 ล้านบาท/เงินกู้ 6,260 ล้านบาท)
5. รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) วงเงินรวม 10,202.18 ล้านบาท (งบประมาณ 10 ล้านบาท/เงินกู้ 10,192.18 ล้านบาท)


6. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงินรวม 6,645.03 ล้านบาท (งบประมาณ 10 ล้านบาท/เงินกู้ 6,635.03 ล้านบาท)
7. รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) วงเงินรวม 44,157.76 ล้านบาท (งบประมาณ 211.92 ล้านบาท/เงินกู้ 43,945.84 ล้านบาท)
8. ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จ.หนองคาย (อยู่ระหว่างของบการศึกษา) วงเงินรวม 4,553.65 ล้านบาท (งบประมาณ 1,076.11 ล้านบาท/เงินกู้ 3,477.54 ล้านบาท
9. โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 จำนวน 7 งาน วงเงินรวม 78,946.48 ล้านบาท (งบประมาณ 581.98 ล้านบาท/เงินกู้ 78,364.50 ล้านบาท)
10. โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 2 งาน วงเงินรวม 67,275.10 ล้านบาท (งบประมาณ 495.10 ล้านบาท/เงินกู้ 66,780 ล้านบาท) ได้แก่
รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท และ
รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท

11. โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 โครงการ วงเงินรวม 152,190.49 ล้านบาท (งบประมาณ 21,072.49 ล้านบาท/เงินกู้ 131,118.00 ล้านบาท) ได้แก่ รถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 85,343.96 ล้านบาท และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 66,846.53 ล้านบาท




12. รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงินรวม 51,152.67 ล้านบาท (งบประมาณ 5,392.67 ล้านบาท/PPP 45,760 ล้านบาท)
13. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงินรวม 48,398.08 ล้านบาท (งบประมาณ 5,296.13 ล้านบาท/PPP 43,101.95 ล้านบาท)
14. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงินรวม 228,873.43 ล้านบาท (งบประมาณ 21,352.56 ล้านบาท/เงินรายได้ 18.72 ล้านบาท/เงินกู้ 79,375.15 ล้านบาท/PPP 128,127 ล้านบาท)
15. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงินรวม 124,955.35 ล้านบาท (งบประมาณ 16,109.35 ล้านบาท/เงินกู้ 85,167.00 ล้านบาท/PPP 23,679 ล้านบาท)

16. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงินรวม 48,478 ล้านบาท (งบประมาณ 7,254 ล้านบาท/เงินรายได้ 92 ล้านบาท/เงินกู้ 79,375.15 ล้านบาท/PPP 41,132 ล้านบาท)
17. ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วงเงินรวม 35,344.56 ล้านบาท (งบประมาณ 1,549 ล้านบาท/เงินรายได้ 93.56 ล้านบาท/PPP 33,702 ล้านบาท)
18. ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงินรวม 25,736.95 ล้านบาท (งบประมาณ 2,862 ล้านบา/เงินรายได้ 98.20 ล้านบาท/PPP 22,776.75 ล้านบาท)
19. ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ วงเงินรวม 7,218.08 ล้านบาท (งบประมาณ 1,197.21 ล้านบาท/เงินรายได้ 85.60 ล้านบาท/PPP 5,935.27 ล้านบาท) 20. ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก วงเงินรวม 1,671.76 ล้านบาท (งบประมาณ 240.55 ล้านบาท/เงินรายได้ 100 ล้านบาท/PPP 1,331.21 ล้านบาท)


ทางอากาศ 3 โครงการ วงเงินรวม 80,698.89 ล้านบาท ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 28,050.88 ล้านบาท (เงินรายได้ทั้งหมด)
2. โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 36,829.50 ล้านบาท (เงินรายได้ 21,829.50 ล้านบาท/เงินกู้ 15,000 ล้านบาท)
3. โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818.51 ล้านบาท (เงินรายได้ 7,308.51 ล้านบาท/เงินกู้ 8,510 ล้านบาท

ทางน้ำ โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงินรวม 114,046.93 ล้านบาท (เงินรายได้ 53,489.58 ล้านบาท/PPP 60,557.35 ล้านบาท) โครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ค่าที่ปรึกษา วงเงิน 67.82 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44317
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2022 6:27 am    Post subject: Reply with quote

กางบิ๊กล็อต3แสนล้าน"มอเตอร์เวย์-รถไฟฟ้า" "คมนาคม"จ่อเปิดชิงเค้กงานใหญ่กระตุ้นปีเสือ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, January 06, 2022 04:27

Click on the image for full size

การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบคมนาคมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งตลอด 7 ปีที่ผ่านมารัฐบาลใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาล กว่า 2 ล้านล้านบาท ที่นอกจากทำให้เกิดการจ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้ฟันเฟืองยังหมุนต่อไปได้แล้ว ยังมีเป้าหมาย มุ่งลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ อำนวยความสะดวก ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ซึ่งในปี 2565 กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม มูลค่าประมาณ 3.79 แสนล้านบาท โดยจะเน้นการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) หรือใช้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย(TFF) ให้มากที่สุด เพราะงบประมาณมีจำกัด จึงต้องใช้จ่ายอย่างรัดกุม

"ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่าเป้าหมายการลงทุนในปี 2565 นั้นจะเป็นการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ เพื่อสร้างศักยภาพของประเทศไทยในอนาคต เน้นการสร้างระบบโลจิสติกส์ให้แข็งแรง เพราะจะเป็นโอกาส ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันได้ และจะเป็นการลงทุน ที่จะช่วยทำให้เกิดรายได้ย้อนกลับสู่ประเทศและประชาชนคนไทยด้วย

ทั้งนี้ ตามแผนงานโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคม ที่วางแผนว่าจะประมูลในปี 2565 เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) จำนวน 2 โครงการ ของกรมทางหลวง คือ 1. มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. วงเงินลงทุน 27,742.80 ล้านบาท แยกเป็นงานโยธา 26,500 ล้านบาท งานระบบประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างเตรียมเสนอผลศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ภายต้นปี 2565 และคาดว่าจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2565

2. มอเตอร์เวย์ หรือ M 9 สายวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก ตอนบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 38 กม. วงเงินลงทุน 56,035.26 ล้านบาท ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อยู่ระหว่าง พิจารณารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนที่เหมาะสมและคาดว่าจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2565

"สราวุธ ทรงศิวิไล" อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่าโครงการส่วนต่อขยาย ดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงรังสิต-บางปะอิน นั้นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เห็นชอบรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 ซึ่งเตรียมเสนอนายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาเห็นชอบผลการศึกษา มูลค่าโครงการ และรูปแบบการลงทุนแบบไหน ภายในเดือน ม.ค. 2565 ซึ่งเบื้องต้นได้เสนอรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) แบบ Gross Cost โดย ทล.ลงทุนก่อสร้างงานโยธา และจ้างเอกชนบริหารจัดการ อายุสัมปทาน 30 ปี

โดยหลังจากนั้นจะเสนอ สคร. และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) อนุมัติ คาดว่าใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 เดือน หรือภายในเดือน เม.ย. 2565 จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาคาดว่าจะได้รับการอนุมัติ ประมาณกลางปี 2565 จากนั้น ทล.จะเดินหน้าแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คัดเลือกหาผู้รับจ้าง ซึ่งคาดว่าจะได้ตัวเอกชนร่วมลงทุนประมาณปลายปี2565 เริ่มก่อสร้างปี 2566 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี กำหนดแล้วเสร็จในปี 2568

"โครงการนี้ เป็น Gross Cost ที่รัฐจะต้องจ่ายคืนค่างานโยธาให้เอกชน โดยจะใช้เงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมมอเตอร์เวย์ ทยอยชำระคืนเมื่อก่อสร้างเสร็จหรือประมาณปี 2568 ซึ่งจะสอดคล้องกับการบริหารจัดการเงินกองทุนมอเตอร์เวย์ ที่ปัจจุบัน มีภาระในการชำระค่าก่อสร้างโครงการทางยกระดับเอกชัย-บ้านแพ้ว ซึ่งจะก่อสร้างเสร็จประมาณปี2567 พอดี ดังนั้น โครงการนี้มีแหล่งเงินใช้คืนเอกชนที่ลงทุนก่อสร้างไปก่อนแน่นอน จะไม่เป็นภาระงบประมาณแผ่นดิน" นายสราวุธกล่าว
ส่วนมอเตอร์เวย์สาย 9 ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ตอนบางขุนเทียน-บางบัวทอง นั้น ผ่านความเห็นชอบจาก รมว.คมนาคม แล้วเมื่อเดือน ต.ค. 2564 และทล.ได้ส่งเรื่องไปยัง สคร. แล้ว คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) จะมีการประชุม และเห็นชอบผลการศึกษา รูปแบบ การลงทุน เร็วๆ นี้

คาดว่าหลังได้รับอนุมัติโครงการ จะตั้งคณะกรรมการมาตรการ 36 พ.ร.บ.ร่วมลงทุนปี 2562 และใช้เวลาคัดเลือกผู้รับจ้างประมาณ 6 เดือน ขณะที่รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะสรุปใน ม.ค. 2565 และ เสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ซึ่งโครงการนี้ ก่อสร้างบริเวณเกาะกลางแนวเส้นทาง กาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ในปัจจุบัน EIA ไม่ยุ่งยาก คาดว่าจะได้รับอนุมัติ ปลายปี 2565 ซึ่งจะพอดีกับการประมูลคัดเลือกผู้รับจ้าง

ขณะที่รูปแบบการร่วมลงทุนนั้น มีแนวโน้มจะใช้ PPP- Net Cost เพื่อลดภาระและความเสี่ยงของภาครัฐ ซึ่งคล้ายกับโครงการรถไฟฟ้าสีชมพูและสายสีเหลือง ที่ให้เอกชนลงทุนค่างานโยธา งานระบบ ให้บริการ และซ่อมบำรุงรักษา โดยรัฐสนับสนุนค่างานโยธาในภายหลัง ซึ่งหากเอกชนรายใดขอรับการอุดหนุนน้อยที่สุด หรือไม่รับอุดหนุนเลย จะได้รับคัดเลือก

โดยจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับตามแนวถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ขนาด 6 ช่องจราจร (ไป/กลับ) มีทางขึ้น-ลงจำนวน 9 จุด และเชื่อมต่อกับโครงข่ายมอเตอร์เวย์อื่นๆ 4 จุด ได้แก่ 1. เชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์สาย 9 ด้านทิศใต้และมอเตอร์เวย์ (M 82) สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว และทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ที่ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน 2. เชื่อมต่อทางยกระดับบนถนนบรมราชชนนี 3. เชื่อมต่อทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก 4. เชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ (M 81) สายบางใหญ่-กาญจนบุรีที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่

ทช.ลุยตอกเข็มสะพาน 2 แห่ง" เกาะลันตา" และ "ทะเลสาบสงขลา "

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) มี 2 โครงการ คือ 1. โครงการก่อสร้างสะพานเกาะลันตา วงเงินรวม 1,800 ล้านบาท ปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการออกแบบและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) คาดว่า จะได้รับความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ประมาณเดือน พ.ค. 2565 และเสนอ ครม.ขออนุมัติ มีแผนเริ่มก่อสร้างในปี 2566-2568 คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนใช้สัญจรได้ในปี2569

2. โครงการก่อสร้างสะพานทะเลสาบสงขลา วงเงินรวม 4,700 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม. ขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้าง โดยโครงการออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว และ คชก.พิจารณาเห็นชอบรายงาน EIA แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการส่งให้ สผ. และ กก.วล. เห็นชอบ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมี.ค. 2565

มาแน่!ทางด่วน สายกะทู้-ป่าตอง เจาะอุโมงค์ แก้รถติด จ.ภูเก็ต

สำหรับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ปักธง เดินเครื่องประมูลโครงการทางด่วนจังหวัดภูเก็ต ตอน กะทู้- ป่าตองระยะทาง 3.98 กม.วงเงินรวม 14,469.84 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณ 5,792.24 ล้านบาท และ PPP ร่วมลงทุนเอกชนมูลค่า 8,677.60 ล้านบาท โดยคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ดPPP) เห็นชอบและได้เสนอขออนุมัติโครงการฯ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2564 เพื่อเสนอครม.พิจารณา คาดว่าครม. จะอนุมัติโครงการได้ภายในเดือน ม.ค. 2565 และเข้าสู่ขั้นตอนประมูล คาดเริ่มก่อสร้างปี 2566 เปิดให้บริการปี 2569

รฟท.ลุ้นประมูลก่อสร้างสายสีแดงต่อขยาย 4 เส้นทาง

ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คาดว่าจะเปิดประมูลก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวม 67,575.37 ล้านบาท ได้ในปี 2565 ซึ่งปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างการศึกษาความ เหมาะสมและรูปแบบการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ขณะที่แนวทางการดำเนินการ ในเบื้องต้นรัฐบาลรับภาระงานโยธา ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะได้ข้อสรุปเมื่อดำเนินการศึกษา PPP แล้วเสร็จ

ซึ่งมติ ครม. เดิมที่ได้มีการอนุมัติโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง ประกอบด้วย
1. รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. มี 4 สถานี เงินลงทุน 6,570.40 ล้านบาท

2. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) ระยะทาง 14.8 กม. มี 6 สถานี เงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท

3. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มี 3 สถานี เงินลงทุน 6,645.03 ล้านบาท 4.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสันหัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. มี 9 สถานี เงินลงทุน 44,157.76 ล้านบาท


นอกจากนี้ รฟท.ยังมีโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 2 โครงงาน วงเงินรวม 67,275.10 ล้านบาท ที่คาดว่าจะเปิด ประมูลได้ในปี 2565 ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้อนุมัติโครงการแล้ว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2564 อยู่ในขั้นตอนนำเสนอ ขออนุมัติคมนาคมและ ครม. และรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทาง ถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท สถานะ ปัจจุบันผ่านการพิจารณา EIA แล้ว เตรียมสรุปเสนอบอร์ด รฟท. พิจารณา

รฟม.เร่งปิดดีล "รถไฟฟ้าสีส้ม-สีม่วง" จบข้อพิพาทฟ้องร้อง

ด้านการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถือว่ามีปมใหญ่ที่ต้องแก้ไข คือปัญหาถูกฟ้องร้องกรณีเปลี่ยนเกณฑ์ตัดสินการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 128,127 ล้านบาท ทำให้การประมูลยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2563 จนต้องมีการ ยกเลิกการประมูล ไปเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 และปัจจุบัน ยัง ไม่เริ่มการประมูลรอบใหม่ โดย รฟม.อยู่ระหว่างรอแนวทาง การจัดทำข้อตกลงคุณธรรม จากนั้นคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จึงจะประชุมพิจารณร่าง TOR ได้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าการที่รถไฟฟ้าสีส้มจะเดินหน้าประมูลต่อไปนั้น คงต้องรอให้ข้อพิพาท มีความชัดเจนแล้ว ซึ่งขณะนี้ศาลอาญาคดีทุจริตประพฤติ มิชอบกลางอยู่ระหว่างไต่สวนมูลฟ้องคดีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (บีทีเอสซี) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 กรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ซึ่งเดิม รฟม.คาดการณ์ไว้ว่าจะสรุป TOR และออก ประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในเดือน ต.ค. 2564 และสรุปผล การพิจารณาคัดเลือกผู้รวมทุนฯ และได้ตัวผู้เอกชนประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย. 2565 ซึ่งต้องปรับไทม์ไลน์กันใหม่ เพราะการประมูลล่าช้าไปจากแผนแล้ว แต่ยังเชื่อว่าจะยังสามารถเร่งรัดได้ โดย รฟม.จะปรับแผนงาน ให้เอกชนเข้าดำเนินการติดตั้งระบบของสายสีส้มด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. ที่ขณะนี้กำลังก่อสร้างงานโยธา เพื่อเร่งเปิดเดินรถด้านตะวันออกได้ตามแผนช่วงกลางปี 2568 ส่วนด้านตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง13.4 กม. หลังได้ตัวเอกชน จะเร่งรัดการก่อสร้างและติดตั้งระบบ ซึ่งตามแผน จะเปิดให้บริการหลังจากเปิดด้านตะวันออกไปแล้วประมาณ 3 ปี หรือเปิดในปี 2571

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2564 รฟม.ได้เปิดประมูลก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กม. 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กม. 7 สถานี) มีงบประมาณรวม 78,720 ล้านบาท จำนวน 6 สัญญาโดยมีเอกชน 4 บริษัท ยื่นซองประมูล คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ภายในเดือน มี.ค. 2565 ก่อสร้างและมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2570

แม้ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การค้าการลงทุน ในปี 2565 จะอยู่ในขาลงจากผลกระทบ โควิด-19 แต่โครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมนั้น คาดว่าจะทยอยออกประมูล ช่วยกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างได้ไม่มากก็น้อย และคงต้องลุ้นกันว่าจะเป็นปีเสือทอง... หรือ... เสือลำบาก!!!

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 6 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2022 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมถกงบปี 66 เคาะลงทุนด้านโลจิสติกส์กว่า 3.24 แสนล้าน พัฒนา”มอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:56 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:56 น.


"ศักดิ์สยาม”นั่งหัวโต๊ะประชุมกลั่นกรองงบประมาณรายจ่ายปี 2566 ด้านการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ เคาะวงเงินกว่า 3.24 แสนล้านบาท โดยจัดกว่า 3.22 แสนล้านหรือ 99.30 % ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้ง มอเตอร์เวย์ ถนนและรถไฟ

วันที่ 10 ม.ค. 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะที่ 3.2 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งได้มีการพิจารณากลั่นกรองตามแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณที่กำหนดไว้ และได้มีมติเห็นชอบร่างคำของบประมาณบูรณาการฯ วงเงินรวมทั้งสิ้น 324,233.3200 ล้านบาท แบ่งเป็น ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความสะดวก (Hard side) จำนวน 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กรมเจ้าท่า (จท.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 85 โครงการ วงเงิน 322,361.8297 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.30

โดยมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง M6 (มอเตอร์เวย์) สาย บางปะอิน - สระบุรี – นครราชสีมา/ M81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี/ M7 ส่วนต่อขยายเข้าสนามบินอู่ตะเภา และ หมายเลข 9 ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอนบางบัวทอง – บางปะอิน, โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ (ถนนพระราม 2), โครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา จ.สงขลา, พัทลุง, โครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่, ถนนสาย จ ผังเมืองรวมเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร, โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - นครพนม และสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ เป็นต้น

ด้านประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ (soft side) จำนวน 22 หน่วยงาน (สปค./ขบ./จท./สนข./ขร./สตช./วว./สศช./สวทช./กรมป่าไม้/กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์/กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ/กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน/กรมศุลกากร/องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก/สถาบันมาตรวิทยา/ม.นเรศวร/ม.ราชภัฏเชียงราย/ม.ราชภัฏอุดรธานี/ม.เชียงใหม่/มทร.ล้านนา) 49 โครงการ วงเงิน 1,871.4903 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.70

โดยมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนส่งไทยสู่การขนส่งสินค้าทางถนนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน, โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง, โครงการยกระดับมาตรฐานเครื่องตรวจจับความเร็วเพื่อการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมอุบัติเหตุทางถนน, โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องแม่ข่ายเพื่อรองรับภารกิจนำเข้า-ส่งออกไม้ผ่าน NSW ของประเทศไทย, โครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน, โครงการพัฒนาแบบจำลองการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยแบบล่วงหน้า (Predictive Model), โครงการพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์, และการจัดหาเครื่องชั่งน้ำหนัก และอุปกรณ์ด้านการจราจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการค้าและการบริการระหว่างประเทศ ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ เป็นต้น

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ตนได้มีข้อสั่งการและกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ 4 ประเด็นคือ 1. การพิจารณาโครงการของทุกหน่วยงาน จะต้องมีความพร้อมในทุกมิติ เมื่อได้รับการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อยแล้ว ต้องพร้อมดำเนินการทันที 2. ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งผลการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นตัวชี้วัด การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานผู้ปฏิบัติ

3. ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันการบิดเบือนข้อเท็จจริงและการสร้างข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 4. ขอให้มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องกับโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่ใช้เงินนอกงบประมาณ ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการระบบราง ที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ สนข. จัดทำสรุปข้อเสนอการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ นำเสนอนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี (พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจัดส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 14 มกราคม 2565 ตามขั้นตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44317
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/01/2022 5:07 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เปิดเมกะโปรเจกต์ปี 65 กว่า 1.4 ล้าน ลบ.เดินหน้า MR-MAP Land Bridge คาดเกิดผลประโยชน์ทาง ศก.4 แสนล้าน/ปี
เผยแพร่: 20 ม.ค. 2565 15:29 ปรับปรุง: 20 ม.ค. 2565 15:29 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปาฐกถาพิเศษ “ชีวิตคนไทยจะดีขึ้นอย่างไรบนแผนคมนาคม เดินหน้าลุย 4 มิติ หวังดันโครงการลงทุน สร้างผลประโยชน์ทาง ศก.กว่า 4 แสนล้านต่อปี พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน

วันนี้ (20 ม.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Thailand Future Smart & Sustainable Mobility ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน” และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ชีวิตคนไทยจะดีขึ้นอย่างไรบนแผนคมนาคม” ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม ชั้น G โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ

โดยระบุว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งของไทยในระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันมีรายได้สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม กระทรวงคมนาคม ถือเป็นกระทรวงหลักที่รับผิดชอบดูแลการลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของประเทศ แม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 แต่กระทรวงคมนาคมไม่ได้หยุดหรือชะงักการลงทุนในโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคมของประเทศแต่อย่างใด โดยได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคู่ขนานกันทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้เกิดโครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ในประเทศและเชื่อมต่อไปยังประเทศ เพื่อนบ้าน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง ยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชน และสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งโครงการต่าง ๆ มีความคืบหน้าค่อนข้างมาก หลายโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่อง โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแผนระยะกลางและแผนระยะยาว ดังนี้

1. การคมนาคมขนส่งทางบก ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 สายทาง คือ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 81,121 ล้านบาท และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) ระยะทาง 96.0 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 62,452 ล้านบาท 2) โครงการก่อสร้างทางพิเศษ สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ระยะทางรวม 18.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 28,734 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2567 3) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (ยกระดับ) สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย และช่วงที่ 2 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว คาดว่าทั้ง 2 ช่วงจะแล้วเสร็จในปี 2567 และ 4) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 3 สายทาง คือ M5 ส่วนต่อขยายยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) M9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง และ M7 ต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา

2. การคมนาคมขนส่งทางราง ได้แก่
1) การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะมีระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กิโลเมตร
2) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการขนส่งระบบระบบรถไฟทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยเชื่อมโยงทั่วทุกภูมิภาคและรองรับการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ซึ่งในปีนี้ได้เร่งดำเนินการ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร และช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร และ
4) โครงการถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2571


3. การคมนาคมขนส่งทางน้ำ ได้แก่ 1) โครงการท่าเรือบก (Dry Port) จะเป็นศูนย์กลางในการขนถ่ายสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งต่อไปทางรถไฟได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงเวลา ซึ่งตามแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบกได้กำหนดพื้นที่ไว้ 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ และฉะเชิงเทรา

4. การคมนาคมขนส่งทางอากาศ ด้วยประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของผู้คนทั่วโลก โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้ประมาณการนักท่องเที่ยวที่จะเข้าสู่ประเทศไทยว่าจะมีจำนวนสูงถึง 200 ล้านคน ในปี 2574 กระทรวงคมนาคมจึงมีความมุ่งมั่นที่จะรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศ โดยมีโครงการพัฒนาท่าอากาศยายต่างๆ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 คาดว่า จะเปิดให้บริการได้ในเดือนเมษายนนี้ 2) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ขณะนี้กำลังเร่งรัดการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 3) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ 4) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการประเมิน EIA เช่นกัน

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้เตรียมแผนงานสำหรับอนาคตของประเทศ โดยได้เริ่มดำเนินการศึกษาจัดทำแผนและพร้อมจะเดินหน้าโครงการในครึ่งปีหลังของปีนี้ ได้แก่ 1) การศึกษาจัดทำแผนแม่บท MR-Map เป็นแผนการพัฒนาระบบคมนาคมในอนาคต เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ และกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น โดยรูปแบบ MR-Map เป็นการพัฒนาแนวโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองคู่ขนานไปกับโครงข่ายรถไฟทางคู่ ตามแผนประกอบด้วย 10 เส้นทางทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างโครงข่ายการค้า การลงทุนของประเทศ เชื่อมโยงระบบคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และ 2) โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน ซึ่งโครงการ Land Bridge ชุมพร-ระนอง ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ รูปแบบการพัฒนาและรูปแบบการลงทุนโครงการ และเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในปี 2566 ตามแผนจะสามารถเริ่มการพัฒนาโครงการได้ในปี 2568 พร้อมเปิดโครงการได้ในช่วงปี 2573

ทั้งนี้ เมื่อโครงการต่างๆ ที่กระทรวงคมนาคมกำลังดำเนินการอยู่ทั้งหมดแล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับนานาประเทศได้ และประชาชนคนไทยจะได้รับประโยชน์จากแผนการการลงทุนด้านคมนาคม สามารถแบ่งการพิจารณาได้เป็น 4 มิติ ดังนี้

1. มิติด้านความสะดวก เพิ่มความเร็วในการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วง รถติดเป็น 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยการใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
2. มิติด้านเวลา โครงการรถไฟทางคู่แก้ปัญหารถไฟรอหลีกและจุดตัดถนน ทำให้ความเร็วในการขนส่งสินค้าเพิ่มจาก 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. มิติด้านราคา โครงการรถไฟทางคู่สามารถลดต้นทุนค่าขนส่งได้ 4 เท่าตัว โครงการท่าเรือแหลมฉบัง การขนส่งทางน้ำลดต้นทุนค่าขนส่งได้ 8 เท่าตัว
4. มิติด้านความปลอดภัย แก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน ด้วยโครงการ RFB ซึ่งใช้ยางพาราหุ้มแท่งคอนกรีตจะสามารถลดความเสียหายและแก้ปัญหาการชนต่างทิศทางบนถนนที่เป็นเกาะสี โครงการ Motorway ซึ่งเป็นระบบปิดและไม่อนุญาตให้รถมอเตอร์ไซค์มาใช้งาน จะช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุจากรถ ที่ใช้ความเร็วต่างกันได้ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จะช่วยลดปริมาณการเดินทางและอุบัติเหตุบนถนน เนื่องจากรถไฟสามารถรองรับการเดินทางของคนได้มากกว่าและโอกาสการเกิดอุบัติเหตุน้อยมาก รวมถึงโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จะช่วยลดปริมาณการเดินทางและอุบัติเหตุบนถนน และโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางทางอากาศเป็นศูนย์

นอกจากประชาชนจะได้ประโยชน์จากแผนลงทุนด้านคมนาคมแล้ว ในส่วนภาพรวมของประเทศ จะได้รับประโยชน์จากแผนการลงทุนด้านคมนาคมเช่นกัน โดยเฉพาะในเชิงเศรษฐกิจจากเม็ดเงินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ซึ่งในปี 2565 ประเทศไทยจะมีโครงการลงทุนทั้งทางบก ทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ในวงเงินสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ได้ลงนามสัญญาแล้ว 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท ด้วยวงเงินการลงทุนที่สูงนี้ มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่าจะก่อให้เกิด การจ้างงานประมาณ 154,000 ตำแหน่ง และมีส่วนที่จะต้องจัดหาวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องจักร และยานพาหนะะต่างๆ ประมาณ 1.24 ล้านล้านบาท และจากการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ด้วยสูตรคำนวณที่เป็นผลมาจากงานวิจัยของ Global Infrastructure Hub and Cambridge Economic Policy Associates ของสหภาพยุโรป จะทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ หรือ Multiply Effect ประมาณ 4 แสนล้านบาท/ปี หรือคิดเป็น 2.35% ของ GDP

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในแต่ละโครงการตนกับบุคลากรทุกคน ในกระทรวงคมนาคมได้ร่วมวางแผนการดำเนินงานเป็น Action Plan ไว้แล้ว ซึ่งต่อจากนี้ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แผนในการลงทุนขนาดใหญ่เหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพ และยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด อย่างไรก็ตามแผนการลงทุนโครงสร้าง เพื่อวางโครงข่ายคมนาคมของประเทศทั้งระบบนั้น กระทรวงคมนาคมได้วางไว้เป็นแผนกลยุทธ์ 20 ปี และเมื่อนำมาต่อเนื่องกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ตามแนวทางของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หากทั้งหมดเกิดขึ้นได้ครบวงจร เราจะเห็นประเทศไทยเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจากวันนี้อย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2022 2:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ศักดิ์สยาม” เปิดเมกะโปรเจกต์ปี 65 กว่า 1.4 ล้าน ลบ.เดินหน้า MR-MAP Land Bridge คาดเกิดผลประโยชน์ทาง ศก.4 แสนล้าน/ปี
เผยแพร่: 20 ม.ค. 2565 15:29 ปรับปรุง: 20 ม.ค. 2565 15:29 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


วันนี้ (20 ม.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand Future Smart & Sustainable Mobility ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน” จัดโดยไทยรัฐกรุ๊ป และกระทรวงคมนาคม ในหัวข้อ “โอกาสของประเทศไทย กับการได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม”
นายศักดิ์สยาม ระบุว่า การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมของประเทศ ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้มีโควิดระบาด แต่งานกระทรวงคมนาคมไม่ได้หยุด เพราะทราบดีว่า เครื่องจักรเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งการท่องเที่ยว และการลงทุนของภาคเอกชนได้รับผลกระทบ และชะลอตัว จึงเป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐ ที่จะทำงานร่วมกัน
กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา พยายามดำเนินการทำตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่นายกรัฐมนตรีวางแผนไว้ตั้งแต่ปี 2558
“กระทรวงคมนาคมมีแผนลงทุนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งทางบก ราง น้ำ อากาศ ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อให้โครงข่ายที่สมบูรณ์ เกิดประโยชน์ต่อประเทศ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิดคลี่คลาย เพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง ใช้ชีวิต และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย”
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ในปีนี้ กระทรวงคมนาคมมีเม็ดเงินลงทุนโครงข่ายคมนาคมทั้งหมด 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยโครงการที่ลงนามสัญญาแล้ววงเงิน 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยจ้างงานได้มากถึง 154,000 ล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มในส่วนของการใช้จ่ายด้านวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ 1.24 ล้านล้านบาท เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 2.35% ของจีดีพี หรือประมาณ 400,000 ล้านบาท
แผนลงทุนของกระทรวงทั้งราง น้ำ บก อากาศ จะช่วยเพิ่มความเร็วในการเดินทาง โดยรถไฟฟ้า เพิ่มความเร็วในการเดินทางช่วงรถติดได้ 35 กิโลเมตรต่อขั่วโมง มอเตอร์เวย์ เพิ่มความเร็วได้ จาก 80 กิโลเมตร เป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถไฟทางคู่ เพิ่มความเร็วจาก 60 กิโลเมตร เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดต้นทุนค่าขนส่งได้ 4 เท่า, รถไฟความเร็วสูง เพิ่มความเร็วการเดินทางจาก 80 กิโลเมตร เป็น 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา เชื่อมต่อการเดินทางภูมิภาค และต่างประเทศเร็ว รองรับผู้โดยสารจาก 80 ล้านคนต่อปี เป็น 120 ล้านคนต่อปี
นอกจากนี้ ยังลดความเสียหาย แก้ปัญหา และลดปริมาณอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดความปลอดภัย อีกทั้งยังต้องเกิดความประหยัดกับประชาชน เพราะ กระทรวงได้กำหนดค่าบริการ โดยเอาประชาชนเป็นตัวตั้ง แล้วค่อยคิดถึงการแบ่งประโยชน์รัฐ เอกชน เพราะจะต้องมีการพัฒนาธุรกิจ พัฒนาพื้นที่โครงการ เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ นำเงินมาทดแทนค่าบริการที่จะเก็บประชาชน อย่างหัวลำโพง ที่เกิดดราม่า กระทรวงไม่เคยคิดจะทุบทำลาย เพียงแค่ต้องการปรับปรุงใหม่ และนำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
นายศักดิ์สยาม ย้ำว่า แผนการลงทุนทุกเรื่องต้องชัดเจน ต้องวางแผน สิ่งสำคัญต้องยึดระเบียบ กฎหมาย มติครม. หลักธรรมาภิบาล ฟังความเห็นจากประชาชน เชื่อว่า จะทำให้ไทยมีศักยภาพ และสามารถเสริมสร้างเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน โดยโครงสร้างคมนาคมทั้งประเทศ วางแผนไว้ถึง 20 ปี โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นกรอบ ที่กระทรวงจะแปรไปสู่การปฏิบัติในอนาคต และจะเป็นกรอบ เป็นแผน ถ้ามีผู้บริหารฝ่ายการเมืองอื่น ๆ มา จะมีโรดแมปง่ายในการดำเนินการต่อ
“อยากเห็นประเทศไทย เปลี่ยนไปทางที่ดีขึ้นจากอดีต เชื่อมั่นว่า ไทยมีศักยภาพในตัวเอง ความสำเร็จในการพัฒนาประเทศจะเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะการทำงานของคมนาคม แต่ต้องเกิดจากทุกท่าน ประชาชนทุกคนต้องช่วยกัน เชื่อว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้ไทยมีศักยภาพ และมีอนาคต เป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่กระทรวงดำเนินการ คือ การพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพ และปริมณฑล โดยมีทั้งหมด 14 สาย (สี) ระยะทาง 554 กิโลเมตร (กม.) ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 6 สาย 11 เส้นทาง และยังมีอีก 4 สายที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะเปิดใช้บริการได้ในเร็วๆนี้ คือ สายสีชมพู ช่วงแคราย–มีนบุรี และช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี เปิดบริการเดือนกรกฎาคม 2566
สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และแยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน เปิดให้บริการเดือนมิถุนายน 2565 สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี คาดว่าจะเสร็จเดือน ธันวาคม 2568 และแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ช่วงพญาไท–บางซื่อ–ดอนเมือง จะเปิดให้บริการ ปี 70 อีกทั้งยังมีอีก 4 สายที่อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบลงทุน และเปิดประมูล ซึ่งจะเปิดให้บริการปี 2570 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ยังมีแผนสร้างรถไฟทางคู่ จากที่ผ่านมา ไทยมีระบบรางเป็นราวเดี่ยว ถือเป็นการปฏิรูประบบรางทั้งประเทศไทย เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ลดต้นทุนการขนส่ง และโลจิสติกส์ของประเทศ โดยเชื่อมโยงตะวันออกสู่ตะวันตก เหนือสู่ใต้ และยังรองรับการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้วางแผนการลงทุน ทั้งในส่วนของรางรถไฟเดิม และการก่อสร้างเส้นทางใหม่ ซึ่งปี 65 ก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะแรก จะแล้วเสร็จ 1,111 กม.
ขณะเดียวกัน กระทรวงคมนาคม จะดำเนินโครงการท่าเรือบก (DryPort) เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นแผนคู่ขนานกับรถไฟรางคู่ เพื่อขนส่งทางรถไฟได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงเวลา โดยจัดทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือบกเสร็จแล้ว และกำลังดำเนินการศึกษา และจัดทำรายงานแผนการลงทุนร่วมภาครัฐเอกชน (พีพีพี)
พร้อมกันนั้น ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูง กำลังก่อสร้าง 2 เส้นทาง คือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะทาง 2,506 กิโลเมตร วงเงินลงทุนกว่า 1.62 ล้านล้านบาท และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมก่อสร้าง คาดจะเสร็จปี 2571 ซึ่งจะช่วยในด้านการค้า การขนส่ง และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยว กระจายรายได้ในชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนทางบก ปัจจุบัน ไทยมีถนนทั่วประเทศเกือบ 900,000 กิโลเมตร แต่อยู่ในความดูแลของกระทรวง 400,000 กม. ซึ่งกระทรวงกำลังดำเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เชื่อมโยงแต่ละภูมิภาคของไทย ให้เดินทางถึงกันได้เร็วขึ้น และยังจะเชื่อมต่อไปยังเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยทั้งการกระจายรายได้ และลดต้นทุนการขนส่งทางถนน
โดยเส้นที่กำลังเร่งดำเนินการอยู่ เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง บางปะอิน-โคราช หรือมอเตอร์เวย์ M6 ระยะทาง196 กม. วงเงินลลงทุน 81,121 ล้านบาท จะเริ่มเปิดให้บริการในปี 2566, สายบางใหญ่-กาญจนบุรี 96 กม.เปิดใช้ปี 2566 เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ยังมีการพัฒนาทางอากาศ โดยขยายศักยภาพสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และสนามบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อรองรับคนต่างชาติที่จะเดินทางเข้าไทย ที่คาดว่า ในอีก 10 ปี หรือในปี 2574 จะมีมากถึง 200 คน อีกทั้งยังมีแผนงานในอนาคต และพร้อมจะเดินหน้าในครึ่งปีหลังของปีนี้ คือ แผนแม่บท MR-MAP หรือการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง ใน 10 เส้นทางทั่วประเทศ จากเหนือมาใต้ 3 เส้นทาง และตะวันตกมาตะวันออก 7 เส้นทาง
ซึ่งจะเป็นการสร้างโครงข่ายการค้า การลงทุนของประเทศ เชื่อมโยงระบบคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยมีผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินและผลกระทบอื่นต่อประชาชนจากการก่อสร้างน้อยลงมาก
โดยมีโครงการที่สำคัญ และจะสร้างมูลค่าเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลให้กับประเทศคือ โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ชุมพร-ระนอง ลดเวลาการเดินเรือ ผ่านช่องแคบมะละกาลงได้ถึง 4 วัน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 460,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา และจะเริ่มดำเนินโครงการในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
รวมถึงโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง-ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ลดเวลาข้ามฟาก เหลือเพียง 2 นาที จากเดิมการเดินทางข้ามแพขนานยนต์ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เป็นต้น และต้องมีสายการเดินเรือแห่งชาติ เพื่อเติมเต็มการพัฒนาศักยภาพทางน้ำ ช่วยขนส่งสินค้าทางน้ำด้วย
https://www.thebangkokinsight.com/news/business/economics/789348/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44317
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2022 7:25 am    Post subject: Reply with quote

แผนคมนาคมช่วยฟื้นเศรษฐกิจ ภาคเอกชนสนับสนุนลงมือทำเพื่อได้ใช้เร็วที่สุด
ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 21 ม.ค. 2565 06:10 น.

“ชยธรรม์” เปิดแผนโครงข่ายคมนาคม คนไทยจะได้เห็นโครงการเกิดขึ้นมากมาย ที่ตอบโจทย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ขณะที่ภาคเอกชนทั้งสมาพันธ์โลจิสติกส์ แอตต้า และ ส.อ.ท. มองว่าถ้าทำจริงตามแผนจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศมหาศาล ส่งเสริมไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในอาเซียน ช่วยธุรกิจท่องเที่ยวฟื้น ขอให้ทำตามแผนและได้ใช้เร็วที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานสัมมนา “Thailand Future Smart and Sustainable Mobility ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน” ซึ่งจัดโดยกระทรวงคมนาคม ร่วมกับไทยรัฐ กรุ๊ป เมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา ในช่วงการเสวนา เรื่อง “โอกาสของประเทศไทยจากการได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม” โดยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวในหัวข้อ “แผนพัฒนาโครงข่ายกับการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต” ว่าต่อจากนี้คนไทยจะเห็นโครงการด้านคมนาคมเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเป็นความพยายามเพื่อตอบโจทย์ประชาชน และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น

“กระทรวงได้แบ่งปัญหาออกเป็น 3 ส่วน คือ ปัญหาในเมือง ปัญหานอกเมือง การเชื่อมโยงภูมิภาคและเชื่อมโยงโลก เพื่อให้การขนส่งคน และสินค้าจากต้นทางไปสู่ปลายทาง ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา และราคาสมเหตุสมผลโดยในส่วนของคน จะดูแลในส่วนของความสะดวกสบายในการเดินทางและท่องเที่ยว ขณะที่ด้านสินค้า เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจ และการส่งออก จะเน้นการเชื่อมโยงการขนส่งทางบก ในประเทศ และการขนส่งทางน้ำ ในการส่งออกไปต่างประเทศ”

รถไฟฟ้าคนเมืองครบวงจรปี 2572

ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มในเมือง ปัญหาสำคัญคือ การจราจรติดขัด และปัญหามลพิษ ซึ่งพบมากทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากระบบการขนส่งมวลชนที่ไม่เพียงพอ หรือไม่ดีพอ จึงสร้างรถไฟฟ้า 554 กิโลเมตร (กม.) 14 สาย ให้เกิดขึ้นครบทั้งวงจรภายในปี 2572 รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการขนส่งระยะสั้น (ฟีดเดอร์) เพื่อเชื่อมจากบ้านของประชาชนสู่จุดหมาย โดยปรับสายรถเมล์และเรือโดยสารให้เข้าสู่สถานีรถไฟฟ้า เปลี่ยนแนวคิดจากเดิมที่คิดว่า “เราจะไปเส้นไหนที่รถติดน้อยที่สุด เป็นไปสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดแทน” ซึ่งหากคนมาใช้ระบบขนส่งมวลชนจริง จะช่วยประหยัดเวลา และลดการใช้น้ำมัน แปรเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้

ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า จากปัญหาในเมือง ต่อเนื่องมายังการขนส่งระหว่างเมือง โดยเฉพาะการขนส่งและโลจิสติกส์ จากเดิมที่ใช้ระบบรถบรรทุกเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้เกิดปัญหารถติด และสร้างมลพิษ จึงจะเปลี่ยนระบบถนนเป็นระบบราง โดยการสร้างรถไฟทางคู่เข้ามารองรับ แต่คีย์สำคัญที่จะทำให้นักธุรกิจเลือกขนส่งทางรางมากขึ้น และทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยลดลง คือ การสร้างจุดเชื่อมต่อจากโรงงานสู่ทางรถไฟ และต้องใช้ระบบออโตเมชันเป็นหลักเพื่อให้รวดเร็ว สะดวก และราคาสมเหตุสมผล

ขณะที่ในมิติที่ 3 คือ การเชื่อมภูมิภาค และการเชื่อมโลก โดยใช้ข้อดีของประเทศไทยที่มีพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมโยงทั้งทางถนนมอเตอร์เวย์เส้นต่างๆ จากเหนือไปใต้ ตะวันออกไปตะวันตก และที่จะเห็นภาพชัดเจนคือ โอกาสของไทยในการขนส่งน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งสูงถึง 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งเราไม่ได้ประโยชน์ แต่ถ้ามีแลนด์บริดจ์ ระหว่างชุมพร-ระนอง จะทำให้การขนส่งน้ำมันส่วนนี้มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศมหาศาล

ถ้าทำจริงเกิดประโยชน์มหาศาล

นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย กล่าวว่า การลงทุนโครงข่ายคมนาคมครอบคลุมทั้งทางบก อากาศ น้ำ ของกระทรวงคมนาคม จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์อย่างมาก หากทำได้ตามแผนจะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนได้แน่นอน

“นโยบายของกระทรวงคมนาคม ที่ลงเม็ดเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ไม่ได้สร้างความสำคัญให้เฉพาะภาคขนส่งโลจิสติกส์เท่านั้น แต่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก เช่น โครงการขยายแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง จะช่วยนำเม็ดเงินเข้าประเทศมหาศาล ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางขนส่งโลจิสติกส์ อย่างไรก็ตาม ทุกโครงการต้องใช้เวลาดำเนินการ ถ้าทำจริงและเป็นรูปธรรม เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย”

นายสุวิทย์ กล่าวว่า กรณีเส้นทางรถไฟลาว-จีน ที่ใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี และเปิดให้บริการเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ฝั่งลาวคึกคัก และเป็นที่จับตามอง ซึ่งประเทศไทยเฝ้ารอที่จะร่วมโครงการในช่วงกลางปีนี้ เพื่อส่งออกสินค้าเกษตร อาหารของไทย ซึ่งการใช้เส้นทางลาว-จีน-คุนหมิง ใช้เวลา 2-3 วัน ถือว่ารวดเร็วกว่าขนส่งทางเรือ และเส้นนี้จะเป็นเกตเวย์การส่งออกของไทย และเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตอันใกล้นี้

แอตต้าหวังแสงสว่างปลายอุโมงค์

นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวในหัวข้อ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยว จะได้รับประโยชน์อย่างไรจากระบบคมนาคมในอนาคต ว่า การขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมถือเป็นหัวใจในการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านการบิน เมื่อมีสายการบินจากทั่วโลกบินเข้าประเทศไทย ก็จะนำนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆตามมาด้วย

“ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนที่เจ็บมากที่สุดคือผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ทำธุรกิจนำนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาประเทศ ไทย วิกฤติที่เกิดมา 2 ปีทำให้เจ็บปวดมาก เมื่อได้ฟังแผนการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมแล้ว ทำให้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์มากขึ้น”

นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่า เมื่อมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางเข้ามาประเทศไทย จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้โครงข่ายด้านคมนาคมจะเป็นปัจจัยหลัก แต่ต้องมีกระทรวงอื่นมาสนับสนุนด้วย และต้องดูความพร้อมของประเทศคู่ค้าของเราด้วย ระหว่างนี้ประเทศไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน กินบุญเก่าอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีโครงสร้างใหม่เข้ามาด้วย ถ้าเรามีโครงสร้างพื้นฐานดี ก็ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวมีความหวัง มีแสงสว่างแน่นอน เพราะ 2 ปีหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อมีการเปิดประเทศแล้ว เชื่อว่าทุกๆประเทศจะต้องมีกลยุทธ์แย่งชิง ซึ่งแผนของกระทรวงคมนาคมก็ทำให้เห็นว่าไทยมีความพร้อม

ส.อ.ท.ขอให้ได้ใช้เร็วที่สุด

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า นับจากนี้ไประบบขนส่งโลจิสติกส์จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นักลงทุนต่างชาติจะพิจารณาเป็นลำดับแรก หากจะตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะระบบราง รถไฟ และถนนที่ดี นอกจากจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่งในการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังท่าเรือต่างๆแล้ว ระบบโครงข่ายคมนาคมใหม่ยังจะเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจท่องเที่ยวได้รับประโยชน์ตามไปด้วย เพราะถนนที่เชื่อมไปยังเกาะต่างๆ และถนนใหม่ๆ ที่ตัดผ่านทะเลจะทำให้คนอยากเดินทางท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค หากโครงการแลนด์บริดจ์สำเร็จ นักลงทุนจะมองประเทศที่มีความพร้อมด้านการขนส่งเพื่อช่วยลดต้นทุน ดังนั้น ถ้าโลจิสติกส์เป็นจุดแข็งของประเทศไทย ก็จะสามารถสู้กับเพื่อนบ้านได้ เพราะไทยเสียเปรียบในด้านราคาที่ดินและค่าจ้างแรงงานเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

“วันนี้วิสัยทัศน์ของกระทรวงคมนาคมถือว่ามาถูกที่ ถูกเวลา ทำให้นักลงทุนค่อนข้างมั่นใจและสบายใจ และหากถามว่าคาดหวังอะไรกับแผนของกระทรวงคมนาคม ต้องตอบว่า ขอให้ได้ใช้เร็วที่สุด เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเดินไปข้างหน้าพร้อมๆกับระบบโลจิสติกส์ของประเทศ”.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2022 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

2 หลักสูตรระยะสั้น ด้านระบบราง สมัครด่วน!!!
- หลักสูตร การเดินรถไฟฟ้า
- หลักสูตร ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า
รองรับการพัฒนาระบบราง จาก สวทช.
วันนี้ขอเอาข่าวการพัฒนาหลักสูตรด้านระบบราง จากCareer for the Future Academy ซึ่งเป็นหน่วยงานใน NSTDA - สวทช.
ล่าสุดจะมีการเปิดรับสมัคร หลักสูตรระยะสั้น 2 หลักสูตร คือ
- หลักสูตร การเดินรถไฟฟ้า
- หลักสูตร ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า
ซึ่งเปิดเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว โดยจะ เริ่มเรียนช่วงเดือนมีนาคม และเมษายน 65 ตามลำดับ
ใครที่สนใจเพิ่มเติมประสบการณ์ สามารถสมัครได้ตามรายละเอียดด้านล่างครับ
—————————
- หลักสูตรการเดินรถไฟฟ้า (Railway System Operation: RSO) รุ่นที่ 2
วันที่ 14-16 มีนาคม 2565 ณ โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ รางน้ำ
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
การเดินรถไฟฟ้า (Railway Operation)
การศึกษาดูงานการบริหารและควบคุมระบบการเดินรถไฟฟ้า
การศึกษาดูงานโครงการระบบการเรียนรู้การบริหารและควบคุมระบบการเดินรถไฟ
Workshop: ระบบการเรียนรู้การบริหารและควบคุมระบบการเดินรถไฟ
ระบบอาณัติสัญญาณ (Railway Signaling System)
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.career4future.com/rso
—————————
- หลักสูตรการซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า (Railway System Maintenance: RSM) รุ่นที่ 2
วันที่ 27 - 29 เมษายน 2565 ณ โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ รางน้ำ
เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
-การซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า (Railway System Maintenance)
การซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ
การซ่อมบำรุงทางรถไฟ
การซ่อมบำรุงระบบควบคุมการเดินรถและระบบบอาณัติสัญญาณ
การซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
- การศึกษาดูงานการซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.career4future.com/rsm
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1356261481478994
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122, 123  Next
Page 121 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©