Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181565
ทั้งหมด:13492803
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 18, 19, 20  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2021 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์โครงการพัฒนาด้านการขนส่งระหว่างเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามัน Landbridge l ธันวาคม 64 l สนข.
Dec 23, 2021
Daoreuk Channel


https://www.youtube.com/watch?v=VIqxcjAFSxs

การจัดสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง
โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
วันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 08.00 – 12.00 น.
ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

โดย สำนักงานนโยบายและเเผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2022 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแนว MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
หน้าแรก เศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 21 ม.ค. 2565 เวลา 11:22 น.

ระนองเปิดบ้านตั้งวงประชุมถี่ยิบ แผนโครงข่ายโลจิสติกส์เปิดประตูการค้าทางทะเลฝั่งตะวันตก ทั้งชุดขยายท่าเรือ ชุดสภาพัฒน์ศึกษาความเป็นไปได้การขนส่งข้าม 2 ฝั่งทะเล ล่าสุดอนุฯขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ได้แนวเส้นทาง MR8 แล้ว เชื่อมแหลมริ่ว ชุมพร กับอ่าวอ่าง ระนอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 17 ม.ค. 2565 นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนในพื้นที่ ร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ด้านการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมือง รถไฟเชื่อมท่าเรือ และการขนส่งทางท่อผ่าน ระบบ Zoom Cloud Meeting จากกรมทางหลวง

Click on the image for full size

อนุฯขับเคลื่อนโครงการพัฒนา SEC เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย-อันดามัน ราย งานว่า การพัฒนา MR-Map มี นโยบายสำคัญในการพัฒนาประกอบด้วยการใช้เขตทางที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยบูรณาการมอเตอร์เวย์และทางรถไฟร่วมกัน ลดการเวนคืนพื้นที่และการแบ่งแยกชุมชน พัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่

Click on the image for full size
นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง

Click on the image for full size
ภาพร่างแนวสายทางมอเตอร์เวย์ร่วมระบบราง MR-MAP โครงข่ายเชื่อมระหว่างภาคและกับเพื่อนบ้าน

ปรับปรุงการเชื่อมต่อโครงข่าย ทั้งมอเตอร์เวย์และทางรถไฟ เพิ่มความสะดวก คล่องตัว และความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า โดยแยกการจราจรทางไกลออกจากการจราจรในพื้นที่ คำนึงถึงผลกระทบการเวนคืนและการแบ่งแยกชุมชนเป็นหลัก

Click on the image for full size

รวมทั้ง จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนพร้อมกัน โดยไม่จำเป็นต้องก่อสร้างพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับแผนปฎิบัติการของหน่วยงานที่รับผิดชอบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

Click on the image for full size

ทั้งนี้ โครงข่าย MR-Map ประกอบด้วย เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ จำนวน 3 เส้นทาง รวม 2,620 กิโลเมตร เส้นทาง ในแนวตะวันออก-ตะวันตก จำนวน 6 เส้นทาง รวม 2,380 กิโลเมตร และเส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพฯและปริมณฑล

Click on the image for full size

สำหรับเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง เชื่อมการเดินทางและขนส่งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แนวทางเลือกทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง+ทางรถไฟสายใหม่ ช่วงชุมพร-ระนอง (120 กิโลเมตร) สรุปการคัดเลือกแนวเส้นทางที่ดีที่สุด คือแนวเส้นทางที่ 1 ระยะทางของแนวเส้นทางรวม 91 กิโลเมตร

โดยมีระยะทางผ่านพื้นที่อุทยาน 11.49 กิโลเมตร ผ่านป่าสงวน 30.88 กิโลเมตร ต้องขุดอุโมงค์ประมาณ 10 กิโลเมตร และพื้นที่อ่อนไหวจะกระทบประชาชน ที่ให้เกิดน้อยที่สุด เป็นแนวเส้นทางที่พัฒนาไปยังพื้นที่ใหม่ เป็นการกระจายความเจริญ ซึ่งจากการรับฟังความเห็นประชาชนและหน่วยงานเกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นชอบแนวทางเลือกที่ 1

Click on the image for full size

แนวเส้นทางโครงการและรายละเอียดการออกแบบเบื้องต้น มีจุดเริ่มต้นโครงการที่บริเวณแหลมริ่ว ต.บางนํ้าจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร จุดสิ้นสุดโครงการบริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง ระยะทาง 91 กิโล เมตร แนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่ อ.หลังสวน และ อ.พะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และอ.เมืองระนอง

รายละเอียดการออกแบบเบื้องต้น เส้นทาง MR8 : แหลมริ่ว-อ่าวอ่าง ประกอบด้วย ด่านเก็บค่าผ่านทาง 3 แห่ง ศูนย์บริการทางหลวง 1 แห่ง สถานที่บริการทางหลวง 1 แห่ง และจุดพักรถ 1 แห่ง

Click on the image for full size

สำหรับทางแยกต่างระดับพร้อมด่านเก็บค่าผ่านทาง ทั้งหมด 3 แห่ง คือ 1. ทางแยกต่างระดับหลังสวน (ตัดกับทางหลวงหมาย เลข 41) 2. ทางแยกต่างระดับพะโต๊ะ (ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4006) และ 3. ทางแยกต่างระดับระนอง (ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4)

สำหรับโครงข่ายเชื่อมโยงทางถนนเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและท่าเรือฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย การเชื่อมโยงถนนทางหลวงสู่ท่าเรือแหลมริ่ว จ. ชุมพร การเชื่อมโยงเส้นทาง MR8 สู่ท่าเรือแหลมริ่ว จ.ชุมพร และการเชื่อมโยงเส้นทาง MR8 เข้าสู่ท่าเรืออ่าวอ่าง จ.ระนอง

Click on the image for full size

ประกอบด้วยสะพานยกระดับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขนาด 6 ช่องจราจร (รวม 2 ทิศ ทาง) ขนานกับสะพานยกระดับทางรถไฟ สายใหม่จำนวน 3 ราง และ Siding Track 1 ราง มีถนนบริการขนาด 2 ช่องจราจรต่อทิศทาง เพื่อรองรับปริมาณรถทั้งจากทางหลวงสายหลัก และถนนชนบทที่จะเข้าสู่ท่าเรืออ่าวอ่าง

Click on the image for full size

การประชุมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโลจิสติกส์สู่ระนอง เพื่อเป็นประตูการค้าฝั่งทะเลตะวันตก เกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อ 13 ม.ค. 2565 นางธิดา พัทธธรรม รองเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.หรือสภาพัฒน์) นำทีมมาจัดสัมมนาโครงการศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศ ร่วมกับผู้บริหารพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบเบื้องต้นในทุกมิติ

Click on the image for full size

ขณะที่เมื่อ 27-28 ธ.ค.2564 การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย (กทท.) ก็จัดประชุมรับฟังความเห็น และเสียงสะท้อนต่อร่างรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแนวทางแก้ไขผลกระทบ (EIA) โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือระนองและการก่อสร้างท่าเทียบเรือ 3

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล/รายงาน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,7521 วันที่ 23-25 มกราคม พ.ศ.2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2022 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เช็กแผน "แลนด์บริดจ์" วางโมเดลธุรกิจสร้างรายได้เพิ่มความคุ้มค่าเทียบท่าเรือระดับโลก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 17:26 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 17:26 น.

Click on the image for full size
Click on the image for full size

“ศักดิ์สยาม” ติดตามความคืบหน้า "แลนด์บริดจ์" ศึกษาเทียบเคียงท่าเรือทั่วโลก หาแนวทางสร้างรายได้เพิ่มจากอุตฯ โลจิสติกส์และธุรกิจต่อเนื่อง กำชับ สนข.รับฟังความเห็นประชาชน ศึกษามาตรการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน ครั้งที่ 1/2565 เพื่อติดตามผลการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 เวลา 13.30 น. และวันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 14.30 น. โดยมีผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ในแผนการดำเนินการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์นั้น จะต้องมีการศึกษาตัวเลขเศรษฐกิจด้านต่างๆ เกณฑ์การพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน รวมถึงรายละเอียดของค่าก่อสร้างให้มีความชัดเจน เนื่องจากโครงการนี้มีผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ซึ่งจากการศึกษาเทียบเคียงท่าเรือทั่วโลกที่มีการรองรับปริมาณสินค้าเทียบเท่าท่าเรือโครงการแลนด์บริดจ์ในประเทศไทย พบว่าโครงการสามารถสร้างรายได้จากการบริหารท่าเรือ การเติมน้ำมันทางทะเล และกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จากการเป็นท่าเรือขนถ่าย หรือ Transshipment และการประมาณการรายได้รวมของอุตสาหกรรมที่จะพัฒนาในพื้นที่ ได้แก่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอนาคต (Mega Trend) อุตสาหกรรมฮาลาล อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เช่น อาหารทะเล ผลไม้ ยางพาราและปาล์มน้ำมันขั้นสูง รวมถึงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรม Cold Chain การจัดเก็บและกระจายสินค้า เป็นต้น

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ตนได้มีข้อสั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข. ) พิจารณาแผนแม่บทการพัฒนาโครงการในระยะยาว เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าได้เต็มศักยภาพ เช่น อาจจะมองว่าแลนด์บริดจ์ในระยะแรกจะเป็นเส้นทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเล แต่เมื่อมีการพัฒนาเต็มศักยภาพแล้วจะเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าในภูมิภาค โดยให้พิจารณาต้นแบบจากท่าเรือในต่างประเทศที่ประสบผลสำเร็จ

พร้อมกันนี้ ให้ สนข.และบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องศึกษาออกแบบการพัฒนาโครงการต้องควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเน้นเรื่องการศึกษามาตรการป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชน และวิถีชีวิตให้รอบด้าน

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการสร้างความรับรู้ให้ภาคประชาชนและภาคสังคมเพื่อให้ไม่เกิดปัญหาในการปฏิบัติ รวมถึงให้ดำเนินการในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน โดยเฉพาะด้านกฎหมาย โดยจะต้องประสานข้อมูลไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน (Landbridge) ระยะเวลาศึกษา 30 เดือน คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 2566 ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพรที่อยู่ฝั่งอ่าวไทย กำหนดให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชันมาใช้เพื่อยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port ส่วนแนวคิดการพัฒนาท่าเรือระนอง กำหนดให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถบเอเชียใต้



โดยโครงการจะบูรณาการการขนส่งทางท่อ ทางบก และทางราง เพื่อให้เชื่อมต่อกับ 2 ท่าเรืออย่างไร้รอยต่อ โดยศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) รถไฟทางคู่ และการขนส่งทางท่อ ก่อสร้างคู่ขนานบนเส้นทางเดียวกันเพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของประชาชน




https://www.thailandplus.tv/archives/468561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2022 3:31 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” เช็กแผน "แลนด์บริดจ์" วางโมเดลธุรกิจสร้างรายได้เพิ่มความคุ้มค่าเทียบท่าเรือระดับโลก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 17:26 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 17:26 น.



https://www.thailandplus.tv/archives/468561


ระนองเดินหน้าSECร่วมประชุมอนุฯ4ชุดขับเคลื่อน"แลนด์บริดจ์"
หน้าเศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:35 น. 96
จังหวัดระนองประชุมร่วม คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการแลนด์บริดจ์ เชื่อมขนส่งอ่าวไทย-อันดามัน ติดตามงานอนุฯ 4 ชุด ติดตามความคืบหน้างาน 4 ด้าน เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานสร้างพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 ที่ห้องประชุมพลับพลึงธาร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดระนอง นางสาวเบญจวรรณ มีเผือก หัวหน้าสำนักงานจังหวัดระนอง เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ครั้งที่ 1/2565 (ครั้งที่ 2) ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม



ทั้งนี้สืบเนื่องจากกระทรวงคมนาคม ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดระนองร่วมเป็นกรรมการ

ระนองเดินหน้าSECร่วมประชุมอนุฯ4ชุดขับเคลื่อน"แลนด์บริดจ์"

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานกรรมการฯ จึงได้กำหนดจัดการประชุมครั้งนี้ขึ้น เพื่อติดตามการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน 4 ด้านประกอบด้วย



1.ด้านการพัฒนาท่าเรือและด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ 2.ด้านการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ รถไฟเชื่อมท่าเรือ และการขนส่งทางท่อ 3.ด้านการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน และกฎหมาย และ 4.ด้านการสื่อสารสาธารณะ


รัฐบาลได้ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor: SEC) ครอบคลุม 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และทางออกทางทะเลฝั่งตะวันตกของภาคใต้ตอนบน



โดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยี และความได้เปรียบทางกายภาพ และที่ตั้งของพื้นที่ รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ซึ่งแตกต่างจากแนวทางของ EEC


ทั้งนี้ กรอบการพัฒนา SEC ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่
1) การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก (Western Gateway)
2) การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน (Royal Coast & Andaman Route)
3) การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ และการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง (Bio-Based & Processed Agricultural Products) และ
4) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม (Green & Culture)



ที่ผ่านมา รัฐบาลได้เริ่มขับเคลื่อนแผนการพัฒนา SEC ระยะ 2562-2565 และยังมีแผนระยะยาวปี 2566 เป็นต้นไป รวม 111 โครงการ คิดเป็นวงเงินเฉพาะที่ต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน 102,418 ล้านบาท มีโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาท่าอากาศยาน นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง โครงการพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการตลาดของท่าเรือระนอง รองรับกลุ่ม BIMSTEC ที่มีประชากรกว่า 1.5 พันล้านคน (บังคลาเทศ อินเดีย เมียนมา ศรีลังกา ภูฏาน และเนปาล)



โครงการพัฒนาถนนเลียบชายทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามันสู่พื้นที่ตอนใน โครงการขยายทางหลวงระนอง-พังงาเป็น 4 ช่องจราจร โครงการศึกษาออกแบบ/ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รถไฟสายใหม่ระนอง-ชุมพร โครงการสนับสนุนการแปรรูปสมุนไพรแบบครบวงจร โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็น ASEAN Digital Hub



มากไปกว่านั้น รัฐบาลได้เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม จ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน ในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) คาดจะรู้ผลกลางปี 2566



ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งและคมนาคมอย่างครบถ้วน ระหว่าง EEC (ฝั่งอ่าวไทย) และ SEC (ฝั่งอันดามัน) เพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าจากพื้นที่ EEC เพื่อส่งออก/นำเข้า ไปยังประเทศแถบมหาสมุทรอินเดียโดยตรง และเชื่อมต่อไปยังกลุ่ม BIMSTEC ประเทศตะวันออกกลาง และยุโรปได้อย่างต่อเนื่อง


แม้เศรษฐกิจประเทศจะอยู่ในภาวะหดตัว เช่นเดียวกับประเทศทั่วโลก เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 แต่รัฐบาลยังคงเดินหน้าวางรากฐาน เพื่อการพัฒนาประเทศและการลงทุน เพราะในระยาวเศรษฐกิจจะค่อย ๆ ฟื้นตัว การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ และการเชื่อมโยงการคมนาคมและขนส่งภายในประเทศ และระหว่างประเทศถือเป็นการวางพื้นฐานสำคัญ

ระนองเดินหน้าSECร่วมประชุมอนุฯ4ชุดขับเคลื่อน"แลนด์บริดจ์"

รัฐบาลไม่ได้อยู่นิ่งเฉยรอความหวังจะถึงวันเศรษฐกิจดีขึ้น แต่เดินหน้าสร้างโอกาสให้ประเทศด้วยแผนยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายชัดเจน โครงการ SEC จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นในการลงทุนภาคอุตสาหกรรม และสามารถยกระดับเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


"นอกจากนี้ SEC จะเป็นประตูเศรษฐกิจด้านตะวันตกของไทยสู่เอเชียใต้ สามารถเชื่อมโยงกับ EEC ทำให้ต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ต่ำลง และจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคที่มีศักยภาพ และเพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของเมืองและการท่องเที่ยวด้วย"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2022 6:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ระนองเดินหน้าSECร่วมประชุมอนุฯ4ชุดขับเคลื่อน"แลนด์บริดจ์"
หน้าเศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:35 น. 96

"คมนาคม"ปั้นแลนด์บริดจ์"ชุมพร-ระนอง"4แสนล้าน รวมแพ็กเกจ"ท่าเรือ-มอเตอร์เวย์-รถไฟ-ท่อ" ดึงเอกชนลงทุน50ปีดันไทยขึ้นแท่น"ฮับ"ภูมิภาค
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, February 10, 2022 04:26

โครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ (ชุมพรระนอง) ซึ่งจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล (อ่าวไทย -อันดามัน) เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เป็นโครงการที่รัฐบาล "ประยุทธ์" ต้องการขับเคลื่อนต่อจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยการหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยบูรณาการการขนส่งทางท่อ ทางบก (มอเตอร์เวย์) และทางราง (รถไฟทางคู่) ให้เชื่อมต่อกับ 2 ท่าเรืออย่างไร้รอยต่อ พร้อมกับทำแผนโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต กับประตูส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะสร้างความแข็งแกร่งด้านการค้าและเศรษฐกิจของประเทศในอนาค

กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา 6 บริษัท นำโดย "บมจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์" ศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรม สังคม ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนา รวมไปถึงจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และวิเคราะห์จัดทำรูปแบบการพัฒนาและการลงทุน (Business Development Model) ของโครงการ

มีระยะเวลาศึกษา 30 เดือน (มี.ค. 64-ก.ย. 66) งบประมาณ 68 ล้านบาท ซึ่งตามแผนจะสามารถเริ่มการพัฒนาโครงการได้ในปี 2568 ตั้งเป้าเปิดโครงการได้ในช่วงปี 2573

โครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ประกอบด้วย 1. การพัฒนาท่าเรือน้าลึก 2 แห่ง ในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นำระบบเทคโนโลยี Automated Container Terminal มาใช้ในการบริหารจัดการท่าเรืออัจฉริยะ เพื่อรองรับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่จะเกิดจากกิจกรรมภายในท่าเรือ และทำให้การขนส่งระหว่างท่าเรือทั้งสองฝั่งเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ เพื่อลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้า

2. การเชื่อมต่อท่าเรือทั้ง 2 แห่ง โดยระบบมอเตอร์เวย์ รถไฟและท่อส่งน้ำมัน โดยจะต้องเป็นเส้นทางที่ไม่ชันและมีระยะทางที่สั้น เพื่อลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

3. การพัฒนาพื้นที่หลังท่า ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้า คลังน้ำมันอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่นก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ และโรงแรม เป็นต้น

เร่งสรุปผลศึกษาชง"นายกฯ"ไฟเขียว

จากการศึกษารูปแบบและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของโลก พบว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลมีมากถึง 80% หรือคิดเป็นปริมาณสินค้าเท่ากับ 11.1 พันล้านตัน และมีการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกามากถึง 1 ใน 4 ของการขนส่งสินค้าทางทะเลของโลก โดยหนึ่งในประเภทสินค้าที่มีการขนส่งทางช่องแคบมะละกามากที่สุด คือการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมัน (Tanker)

ซึ่งจากผลการศึกษาเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่า จะมีปริมาณสินค้าเข้ามาใน "แลนด์บริดจ์" มากถึงกว่า 20 ล้านที.อี.ยู ซึ่งจะเทียบเท่ากับท่าเรือฮ่องกงที่มีตู้สินค้าผ่านท่าเรือมากเป็นอันดับที่ 8 ของโลก

ดังนั้น การพัฒนาโครงการจะต้องสามารถดึงดูดให้เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ และเรือขนส่งสินค้า หันมาใช้เส้นทาง "แลนด์บริดจ์" ขนส่ง ประเด็นสำคัญคือต้องหาตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือของฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันที่เหมาะสมที่สุด

โดยการพิจารณาจากเกณฑ์ ด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อมด้านการลงทุน และด้านสังคมแล้ว ที่สำคัญแนวเส้นทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ท่าเรือ ต้องมีระยะทางที่สั้นและตรงที่สุด เพราะนอกจากจะประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุด แล้ว ยังจะส่งผลต่อการลงทุนและผลตอบแทน ที่จะดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนา "แลนด์บริดจ์" อีกด้วย

ภายในเดือน มี.ค.นี้ คาดว่ากระทรวงคมนาคมจะได้ข้อสรุปเรื่องตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งทะเล ที่เหมาะสม รวมถึงแนวเส้นทางแลนด์บริดจ์ และโมเดลทางธุรกิจการร่วมลงทุน เบื้องต้น ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดให้การศึกษาออกแบบ งบประมาณในการลงทุนและรูปแบบโครงการแลนด์บริดจ์แล้วเสร็จภายในปี 2565 หลังจากนั้นจะเป็นการดำเนินการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA )ให้เรียบร้อยภายในปี 2566

"ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในต้นปี 2565 คาดว่าการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์จะมีความชัดเจน โดยตั้งเป้าว่าจะสรุปการศึกษาภาพรวม ทำแผนรายงานและนำเสนอต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ขอความเห็นชอบ เพื่อทำ Action Plan และโรดแมปโครงการ นำไปสู่การปฏิบัติต่อ

ถอดบทเรียน "อีอีซี" ปรับลงทุน PPP รวม แพ็กเกจ "ท่าเรือ-มอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่-ขนส่ง ทางท่อ" เบ็ดเสร็จ

"ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" กล่าวว่าการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) จะต้องมีพระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ.เอสอีซี ) ออกมาขับเคลื่อน เหมือนกับการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่มี พ.ร.บ.อีอีซี และมีคณะกรรมการอีอีซี

โดยนำประสบการณ์ และบทเรียน จากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มาปรับปรุง ให้มีปัญหาอุปสรรคน้อยที่สุด ตัวอย่างหนึ่ง คือการลงทุนพัฒนาโครงการในอีอีซีที่มีการแยกก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแต่ละโครงการ ซึ่งพบว่ามีปัญหาในการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกัน โดยโมเดลทางธุรกิจของ "แลนด์บริดจ์" นั้นจะให้รวมการลงทุนระบบโลจิสติกส์ทั้งหมดเป็นโครงการเดียวกัน ทั้ง "ท่าเรือ มอเตอร์เวย์รถไฟ ระบบขนส่งทางท่อ" ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและจูงใจในการร่วมประมูลมากขึ้น เพราะจะสามารถวางแผนการลงทุนได้มากขึ้น

"โมเดลธุรกิจ ที่รวมทั้งโลจิสติกส์ คือ ราง รถ ท่อ ท่าเรือ เป็นโครงการเดียวเปิดให้นักลงทุนประมูล จะทำให้เกิดความ เชื่อมั่นในการลงทุน ส่วนเม็ดเงินลงทุนรวมของโครงการแลนด์บริดจ์ ยังน้อยกว่า โครงการรถไฟไทย-จีน อีก และเมื่อ ดูผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ที่จะเกิดขึ้นของแลนด์บริดจ์ มีมากกว่า EIRR ของรถไฟไทย-จีน" ศักดิ์สยามกล่าว
จ่อเคาะเลือกตำแหน่ง ท่าเรือ "ชุมพร-ระนอง"

จากการสัมมนา รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องโครงการฯล่าสุด ข้อมูลมีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งในส่วนของการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จ.ชุมพรและ จ.ระนอง พร้อมระบบขนถ่ายสินค้าที่เป็นระบบ ออโตเมชั่น โดยมีเส้นทางรถไฟและมีมอเตอร์เวย์และระบบท่ออยู่ด้านข้าง เชื่อมท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันกับอ่าวไทยเข้าด้วยกัน โดยใช้เวลาวิ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง

โดยตำแหน่งท่าเรือฝั่งอ่าวไทย จ.ชุมพร มีจุดเหมาะสม 2 ตำแหน่ง คือ บริเวณแหลมริ่วและบริเวณแหลมคอเขา ส่วนท่าเรือ ฝั่งอันดามัน จ.ระนอง มีจุดเหมาะสม 1 ตำแหน่งที่แหลมอ่าวอ่าง

ส่วนการพัฒนาระบบเชื่อมโยงการขนส่งจากชุมพร-ระนองด้วยโครงข่ายมอเตอร์เวย์ ทางรถไฟ และขนส่งทางท่อ อยู่ระหว่างศึกษาคัดเลือกแนวโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง หรือ MR-Map เส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง

ซึ่งการศึกษาแนวเส้นทาง MR8 เบื้องต้น มี 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 แหลมริ่ว-อ่าวอ่าง ระยะทาง 90 กม. ทางเลือกที่ 2 แหลมริ่ว-อ่าวอ่าง ระยะทาง 82.9 กม. ทางเลือกที่ 3 แหลมคอเขา-อ่าวอ่าง ระยะทาง 74.6 กม.

เส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณแหลมริ่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร สิ้นสุดที่ บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง จ.ระนอง ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่ จ.ชุมพร (อ.หลังสวน และ อ. พะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง)

ในโครงข่ายจะมีการก่อสร้าง มอเตอร์เวย์ขนาด 6- 8 ช่องจราจร ขนานกับทางรถไฟ จำนวน 4 ทาง คือ ขนาด 1.435 เมตร (Standard gauge) 2 ทาง ขนาด 1 เมตร ( Meter gauge) 2 ทาง และมีถนนบริการขนาด 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง เพื่อรองรับปริมาณรถทั้งจากทางหลวงสายหลักและถนนชนบทที่จะเข้าสู่ท่าเรือ

ซึ่งจากการลากแนวเส้นทาง MR 8 เพื่อเชื่อมกับท่าเรือ ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ที่เหมาะสมที่สุด ขณะนี้พบว่ามี 4 เส้นทางเลือก ได้แก่

แนวทางที่ 1 มีระยะทาง 91 กม. มีอุโมงค์ 1 แห่ง (ยาว 10 กม.) เส้นทางมีระยะทางยาวที่สุด เนื่องจากหลบแนวเขาในบางช่วง แนวเส้นทางผ่านพื้นที่อ่อนไหวน้อย ซึ่งจะส่งผลให้มีค่าก่อสร้างต่ำ

แนวทางที่ 2 มีระยะทาง 82.9 กม.มีอุโมงค์ 3 แห่ง (ยาว 27 กม.) เส้นทางตัดตรงและสั้นที่สุด แต่ต้องตัดผ่านแนวเขาและพื้นทีอุทยาน หลายจุด ระยะอุโมงค์ค่อนข้างยาว ส่งผลต่อค่าก่อสร้างสูง

แนวทางที่ 3 มีระยะทาง 74.6 กม. มีอุโมงค์ 6 แห่ง (ยาว 42.5 กม.) เส้นทางหลบแนวเขา มีระยะอุโมงค์สั้น หลายแห่ง ผ่านพื้นที่ป่าสงวน ค่าก่อสร้างค่อนข้างต่ำ

แนวทางที่ 4 มีระยะทาง 79.1 กม. มีอุโมงค์ 6 แห่ง (ยาว 42.5 กม.) เส้นทางหลบแนวเขา ผ่านพื้นที่ชุมชน กระทบเวนคืน ผ่านพื้นที่ป่าสงวน ค่าก่อสร้างค่อนข้างต่ำ

จากนโยบาย ที่ต้องการให้เลือกเส้นทางที่สั้น ตัดตรงที่สุด ใช้เวลาในการเดินทางน้อยที่สุด แต่ในแง่การลงทุนจะต้องประเมินทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าสงวน ผลกระทบจากการเวนคืน และการเจาะอุโมงค์ ที่เป็นต้นทุนทำให้ค่าก่อสร้างสูง และจะส่งผลไปถึงผลตอบแทนการลงทุนที่จะต่ำลง


เปรียบเทียบ 4 แนวทางเลือก ประเมิน "ค่าลงทุน & ผลตอบแทน"

สำหรับรูปแบบในการดำเนินการ จะเป็นการเปิดหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP ) โดยจะเป็นการประกวดราคสัญญาเดียว รวมทุกโครงการ เพื่อให้โครงการมีการบูรณาการสอดคล้องกันและมีความรวดเร็ว อายุสัญญา 50 ปี (ไม่รวมก่อสร้าง)

ในการประเมินต้นทุนค่าก่อสร้างในส่วนของท่าเรือฝั่งชุมพรและฝั่งระนอง และเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือ "รถไฟ/มอเตอร์เวย์/ท่อ" คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 2-4 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับ จะเลือกแนวเส้นทางทางใด

ทั้งนี้ พบว่าแนวทางที่ 1 มีค่าลงทุนรวมต่ำสุด แม้ว่าจะเป็นเส้นทางที่มีระยะทางยาวที่สุด เมื่อเทียบกับอีก 3 แนวทาง แต่เพราะมีการอ้อมแนว เพื่อเลี่ยงผ่านพื้นที่ชุมชนและแนวเขา มีอุโมงค์เพียง 1 แห่ง จึงมีผลกระทบน้อย ขณะที่ระยะทางที่มากกว่านั้น ไม่ได้ทำให้ใช้เวลาในการเดินทางเพิ่มมากนัก โดยประเมินมูลค่าการลงทุนกับผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ยังสูงกว่าทุกแนวทางอีกด้วย

คาดการณ์ว่าการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์จะเกิด ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทางตรง และผลประโยชน์ทางอ้อมมูลค่ามหาศาล อีกทั้งจะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำ และสามารถเชื่อมต่อการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน เอเชียและยุโรปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพราะไม่ต้องอ้อมไปยัง ช่องแคบมะละกาโดยท่าเรือชุมพร ฝั่งอ่าวไทย ทำหน้าที่รองรับสินค้า จากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมทั้งฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ผ่านท่าเรือน้ำลึกระนอง ประตูการค้าฝั่งอันดามัน ส่งต่อไปยังประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กลุ่ม BIMSTEC อาทิ เมียนมา อินเดีย เนปาล และบังกลาเทศ หรือประเทศอื่นๆ

เสียงประชาชน-ผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนโครงการ ยังห่วงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการเยียวยาต้องชัดเจน

ข้อมูลจากการลงพื้นที่ สัมมนาประชาสัมพันธ์โครงการและรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่สนับสนุนการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ เพราะมองว่าจะช่วยทำให้เศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ และของประเทศโดยรวมดีขึ้น โดยเห็นว่าการพัฒนาความเจริญต้องมาควบคู่กับรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยในส่วนของท่าเรือฝั่งอ่าวไทยนั้น ขอให้พิจารณา ผลกระทบด้านแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่อุทยานให้รอบด้านและ มาตรการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนและการเสียโอกาสทำกิน

ท่าเรือฝั่งอันดามัน มีข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีพื้นที่ป่าสงวน ป่าชายเลน และอุทยานจำนวนมาก การกำหนดตำแหน่งท่าเรือ จ.ระนอง ให้ส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจของจังหวัดระนอง เช่นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล

ภาพรวมโครงการจะทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพกับประชาชนในพื้นที่ นอกเหนือจากอาชีพประมง และจะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง ให้เกษตรกรและชาวสวน สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร และยังมีการต่อยอดด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย และผลักดันให้เกิด Trainsshipment Port ในภาคใต้ แต่มีข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการที่ชัดเจนในการเยียวยาชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยาว!!!

บรรยายใต้ภาพ
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 10 ก.พ. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2022 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ลิงก์มาแล้วครับ
“คมนาคม” ปั้นแลนด์บริดจ์ "ชุมพร-ระนอง" 4 แสนล้าน รวมแพกเกจ "ท่าเรือ-มอเตอร์เวย์-รถไฟ-ท่อ" ร่วมทุน 50 ปี ดันไทยขึ้นแท่น "ฮับ" ภูมิภาค
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 06:39 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 06:39 น.
https://mgronline.com/business/detail/9650000013638
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2022 6:48 pm    Post subject: Reply with quote


กว่าโครงการจะเป็นรูปเป็นร่าก็ปี 2573
https://www.youtube.com/watch?v=GYA26O2iDUg
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2022 3:15 am    Post subject: Reply with quote

หอการค้าระนองเฮ แผนโลจิสติกส์แลนด์บริดจ์หลากโหมดคืบหน้า
หน้าเศรษฐกิจภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:16 น.

เอกชนระนองรอคอยด้วยความหวัง การจัดทำแผนโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงฐานการผลิตEEC กับประตูการค้า SEC จังหวัดระนอง ที่คืบหน้าเป็นลำดับ เผยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะพลิกโฉมหน้าพื้นที่ภาคใต้

นายพรศักดิ์ แก้วถาวร ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า จากกรณีที่สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดทำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตนิคมภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ (SEC) จังหวัดระนอง



เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ผ่านประตูการค้าในฝั่งอันดามัน ในลักษณะการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ รองรับการเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าของเรือขนส่งสินค้า ระหว่างกลุ่มประเทศมหาสมุทรแปซิฟิค กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ในลักษณะการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge)

หอการค้าระนองเฮ แผนโลจิสติกส์แลนด์บริดจ์หลากโหมดคืบหน้า


โดยแนวคิดการกำหนดบทบาทท่าเรือฝั่งอ่าวไทย เป็นท่าเรือชายฝั่ง (Coastal Port) เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ กับพื้นที่ฝั่งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)



ท่าเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้า (Gateway Port) ของพื้นที่ระเบียบเศรษฐกิจภาคใต้กับประเทศในภูมิภาค ท่าเรือเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ (Tarnsshipment Port) ระหว่างกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย
หอการค้าระนองเฮ แผนโลจิสติกส์แลนด์บริดจ์หลากโหมดคืบหน้า


โดยท่าเรือเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ (Tarnsshipment Port) มีขนาดร่องน้ำลึก 15-16 ม. และรองรับเรือขนาด 5,000-7,000 ตู้ ท่าเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้า (Gateway Port) ขนาดร่องน้ำลึก 8-9 ม. และรองรับเรือขนาด 1,000-1,200 ตู้ ท่าเรือชายฝั่ง (Coastal Port) มีขนาดร่องน้ำลึก 5-6 ม. และรองรับเรือขนาด 200-300 ตู้



การกำหนดบทบาทท่าเรือฝั่งอันดามัน 1. เชื่อมโยงท่าเรือในกลุ่มประเทศ BIMSTEC โดยมีขนาดร่องน้ำลึกประมาณ 8-9 ม. รองรับเรือขนาดประมาณ 1,000-1,200 ตู้ 2.เชื่อมโยงท่าเรือในกลุ่มประเทศ กลุ่มยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยมีขนาดร่องน้ำลึกประมาณ 15-16 ม. รองรับเรือขนาด 5,000-7,000 ตู้



นายพรศักดิ์กล่าวต่อว่า แผนแนวคิดดังกล่าวถือเป็นความก้าวหน้า และคืบหน้าในการรองรับและเตรียมพร้อมต่อยอด โครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ที่ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เดือน ก.ค. 2564 เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาอนุมัติ ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา MMA Consortium ทำการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง



โดยจะศึกษาต่อยอดจากผลการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมของ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เคยศึกษาไว้เมื่อปี 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC)



เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) และการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และระบบราง (MR-MAP) ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม



รายงานข่าวจาก รฟท.แจ้งต่อว่า การศึกษาจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี คาดว่าจะเสนอรายงานอีไอเอได้ในช่วงปลายปี 2565 จากนั้นเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการในปี 2566 ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และกำหนดเปิดให้บริการในปี 2573



อย่างไรก็ตามเบื้องต้นจะปรับแก้แนวเส้นทางบางส่วน เนื่องจากแนวเส้นทางเดิม ตามผลการศึกษาของ สนข. ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นแนวเส้นทางที่จะพัฒนาควบคู่ไปกับมอเตอร์เวย์ เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมอยู่ใกล้และเกือบขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 ที่เป็นทางหลวงสายหลัก



และยังไม่ตอบสนองการเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึก ตามการศึกษาโครงการแลนด์บริดส์ ที่ต้องสร้างโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการเดินทางของคนและสินค้า เข้าสู่สถานีรถไฟระนอง ต่อไปยังถนนและเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกชุมพร ด่านศุลกากร มอเตอร์เวย์สายชุมพร-ระนอง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงท่าอากาศยานระนองและชุมพรอีกด้วย



แนวเส้นทางใหม่จะขยับจุดเริ่มต้นโครงการลงไปทางทิศใต้มากขึ้น โดยจะเริ่มต้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมรั่ว จ.ชุมพร จากเดิมที่จะเริ่มต้นด้านใต้ของสถานีรถไฟชุมพร มีจุดสิ้นสุดโครงการที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด จ.ระนอง



สำหรับเส้นทางรถไฟใหม่จะเป็นแนวเส้นตรงมากขึ้น ช่วยลดค่าก่อสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินชุมชน มีความยาวตลอดแนวเส้นทางประมาณ 91 กม. คาดว่าใช้งบประมาณการลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท



โครงการดังกล่าวได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการให้บริการขนส่งสินค้า 3 ส่วน คือ 1.เป็นเส้นทางลัดของเส้นทางเดินเรือหลัก เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค เป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้าในภูมิภาค (Transshipment Port) และสะพานเศรษฐกิจพลังงาน (Oil Bridge)



2. เป็นเส้นทางสำหรับสินค้านำเข้าและส่งออก ระหว่างไทยกับประเทศทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และ 3. เป็นเส้นทางสำหรับสินค้าที่จะมาจากทางจีนตอนใต้ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่หลังท่า โดยเฉพาะเรื่องการประกอบชิ้นส่วน (Assembly)



โครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เป็นทางรถไฟสายใหม่ที่เชื่อมต่อฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ระหว่าง จ.ชุมพร และ จ.ระนอง จุดเริ่มต้นโครงการตามแนวเส้นทางใหม่ จะเริ่มที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมรั่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ตัดผ่านไปทางตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายใต้บริเวณทิศเหนือของสถานีควนหินมุ้ย



จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางหลวง(ทล.)หมายเลข 4097 และตัดผ่าน ทล.41 (แยกปฐมพร-พัทลุง) และขนานไปกับแนว ทล.4006 (สายราชกรูด-หลังสวน) ผ่านพื้นที่ภูเขา และตัดกับ ทล.4006 จากนั้นมุ่งลงไปทางใต้ ขนานกับ ทล.4 (ถนนเพชรเกษม) โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของ ทล.4 ผ่านด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง



จากนั้นแนวเส้นทางโค้งขวามุ่งไปสู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ป่าชายเลน ไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง โดยเส้นทางผ่านพื้นที่ 9 ตำบล 3 อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.นาขา ต.วังตะกอ และ ต.หาดยาย ของ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ต.ปังหวาน ต.พะโต๊ะ และ ต.ปากทรง ของ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ ต.ราชกรูด จ.ระนอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2022 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

สถานะทางคู่สายใหม่ชุมพร-ระนอง91กม.4.5หมื่นล้าน
*รฟท.ลงนามสัญญาจ้างกลุ่ม MMA แล้ว 71.5ล้าน
*วนกลับมาทวนผลศึกษาสนข.ออกแบบ-อีไอเอ1ปี
*จากแหลมริ่วทะเลอ่าวไทยเชื่อมอ่าวอ่างอันดามัน
*(ศึกษาเก่งต่อไปให้หน่วยงานศึกษาทีเดียวไม่ซ้ำ)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/504979724412600
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/03/2022 2:08 pm    Post subject: Reply with quote

คนระนองตี่นตัวเรียนรู้ข้อมูล “แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง”
เผยแพร่: 7 มี.ค. 2565 14:09 ปรับปรุง: 7 มี.ค. 2565 14:09 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

บัณฑิตา อย่างดี สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภาคใต้

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภาคใต้ ไทยพีบีเอส จัดกิจกรรม “เปิดพื้นที่สร้างการเรียนรู้ SEC แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง” เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง โดยมีวิทยากร ได้แก่ นายมนัส สุขวาณิชวิชัย ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดระนอง และนายสมบูรณ์ คำแหง ที่ปรึกษาสภาองค์กรชุมชนตำบล ระดับชาติ มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนในพื้นที่ อาทิ อุทยานแห่งชาติแหลมสน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หอการค้าจังหวัดระนอง องค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน เครือข่ายชาติพันธุ์ รวมทั้งมีผู้สนใจจาก จ.ชุมพร เข้าร่วมเวทีด้วย

นายมนัส สุขวาณิชวิชัย กล่าวว่า โครงการแลนบริดจ์ชุมพร-ระนอง เกิดจากดำริของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ จ.ชุมพร ไม่ได้ผลักดันมาจาก จ.ระนอง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทะเล อ่าวไทยกับอันดามัน เพื่อเป็นประตูการค้า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีการระบุพื้นที่เหมาะสมในการก่อสร้างท่าเรือระนอง ที่อ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง นอกจากนั้นจะมีการพัฒนาทางหลวง และมอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่ ท่อส่งน้ำมัน เส้นทางหลังสวน-พะโต๊ะ-ราชกรูด-อ่าวอ่าง คลังน้ำมัน 2 ฝั่งทะเล พื้นที่หลังท่า 2 ฝั่งทะเล นิคมอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ถ้าไม่มีอุตสาหกรรมหลังท่าไม่มีประโยชน์กับ จ.ระนอง เป็นแค่ทางผ่าน ไม่มีการเพิ่มมูลค่าให้วัตถุดิบในพื้นที่ โครงการนี้เป็นโอกาสที่ดี ทำให้มีการพัฒนา จ.ระนอง แบบก้าวกระโดด สามารถสร้างงานให้ลูกหลานในอนาคต

ด้านนายสมบูรณ์ คำแหง กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง เป็นเส้นทางแลนด์บริดจ์เส้นที่ 3 เส้นแรกคือเซาเทิร์นซีบอร์ดขนอม–กระบี่ มีการยกเลิกโครงการเนื่องจากส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว จ.กระบี่ ต่อมามีการเลือกเส้นทางสงขลา-สตูล มีการทบทวนโครงการกรณีพื้นที่ จ.สตูล เนื่องจากมีความกังวลว่าจะต้องสูญเสียพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประมาณ 5,000 ไร่ กังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด ประกอบกับกระบวนการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ไม่เป็นไปตามครรลองที่ควรจะเป็น เราควรวิพากษ์แนวคิดการเชื่อมทะเล 2 ฝั่งของประเทศไทยว่าตอบโจทย์หรือไม่ คู่ค้าสำคัญของไทยอยู่ที่ฝั่งตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น ฝั่งอันดามันมีสินค้าน้อย ผู้ประกอบการไม่ได้ต้องการท่าเรือฝั่งอันดามัน เขาต้องการให้พัฒนาท่าเรือสงขลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“ถ้าดูบทเรียนจากภาคตะวันออก มีการพัฒนาเต็มพื้นที่ สุดท้ายต้องถมทะเล เกิดความขัดแย้งกับชาวประมง กลุ่มเพาะเลี้ยงในการใช้ประโยชน์ทะเล ประเภทอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกที่มีปัญหามากคือปิโตรเคมี สภาพในอนาคตระนองจะเป็นแบบนี้หรือเปล่า อยู่ในสภาวะที่จะควบคุมได้จริงไหม การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของระนองจะมีหลักประกันแค่ไหน ต้องแลกกับฐานทรัพยากรที่มีอยู่ไหม ภายใต้โอกาสมีความเสี่ยง อย่าดูองค์ประกอบของโครงการแบบแยกส่วน ท่าเรือ ลานเทกอง เส้นทางรถไฟ นิคมอุตสาหกรรม จะอยู่ตรงจุดไหน ควรชั่งน้ำหนัก” นายสมบูรณ์ กล่าว

ส่วน นายจิรศักดิ์ จารุศักดาเดช หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแหลมสน ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริบทพื้นที่ว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกระนองอยู่บริเวณอ่าวอ่าง รอยต่อของ อ.เมือง กับ อ.กะเปอร์ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง คืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง กับอุทยานแห่งชาติแหลมสน ป่าชายเลนใน จ.ระนอง เป็นป่าชายเลนผืนใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกจากองค์การยูเนสโก อีกทั้งอุทยานแห่งชาติ 6 แห่งในพื้นที่ จ.ระนอง พังงา และ จ.ภูเก็ต กำลังดำเนินการนำเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่มาก ต้องชั่งน้ำหนักดูว่าเราจะยอมเสียทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพไหม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่จะต้องเปลี่ยนไป มันจะคุ้มกันไหม ต้องศึกษาผลดีผลเสีย ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมว่าได้ประโยชน์อย่างไร

ด้านผู้เข้าร่วมเวทีสะท้อนว่ายังไม่ค่อยรับรู้ข้อมูลโครงการฯ อยากให้มีการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้านเพื่อการตัดสินใจ อยากให้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน จ.ระนอง ได้แสดงความคิดเห็นครอบคลุมทุกกลุ่ม อีกทั้งได้แสดงความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อคนในพื้นที่

นายปรีชา หัสจักร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชน ต.ม่วงกลวง กล่าวว่า คนระนองส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข้อมูล อยากรู้ว่ามีผลกระทบอย่างไร อยากได้ข้อมูลที่รอบด้าน อยากมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นว่าควรสร้างหรือไม่ ชาวบ้านในพื้นที่โครงการท่าเรือระนอง โดยส่วนใหญ่มีอาชีพประมง พึ่งพาระบบนิเวศป่าชายเลน

นายสำราญ ใจดี ประธานอาสาสมัครทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จ.ระนอง กล่าวว่า เป็นห่วงเรื่องผลกระทบต่อชาวบ้าน กรณีน้ำมันภาคตะวันออก เขารับรองอย่างดีว่าจะไม่รั่วแต่ก็รั่ว วิถีชีวิตของชาวบ้านถูกทำลาย ต้องศึกษาผลกระทบให้ชัดเจน รับฟังความเห็นชาวบ้านที่ได้รับผลกระทราบว่าเห็นด้วยไหม โครงการแลนบริดจ์ใช้พื้นที่มาก บางพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ การเวนคืนที่ดินจะต้องให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 18, 19, 20  Next
Page 6 of 20

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©