RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180581
ทั้งหมด:13491816
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 248, 249, 250 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/04/2022 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
8 เม.ย. 65 17:06 น.

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/279796117678191

🚧🚈 อัพเดต❗️
สถานะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
6 โครงการ ระยะทาง 135.80 กิโลเมตร

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/04/2022 7:09 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมรถไฟฟ้าส่อลากยาว ติดหล่ม'สายสีเขียว'เจรจาไม่ลงตัว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, April 09, 2022 05:49

สนข.กางแผนระบบตั๋วร่วม รถไฟฟ้านำร่องเชื่อมสายสีแดง-สายสีน้ำเงินสายสีม่วง ภายในมิ.ย.นี้ ลุยจัดทำร่างพ.ร.บ.ชงครม.ไฟเขียวปลายปี 65 คาดประกาศราชกิจจาต้นปี 66 ฟากบีทีเอสหวั่นติดปัญหาสัมปทานสายสีเขียวยัง ไม่จบ เดินระบบไม่ได้

กระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันการใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อลดภาระค่าใช้ประชาชนที่เดินทาง แต่ปัจจุบันพบว่าการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้เชื่อมต่อในการเดินทางยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากขาดปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้เอกชนผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนต้องไปพิจารณาเพิ่มเติม เช่น กฎหมาย การบังคับใช้ตั๋วร่วม หน่วยงานกำกับดูแลระบบตั๋วร่วม โครงสร้างอัตราค่าโดยสารเดียว, อัตราค่าโดยสารร่วม รวมทั้งแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนในการลงทุนเพื่อดำเนินการระบบตั๋วร่วม

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการนำบัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) มาใช้ในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟชานเมืองสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปได้ภายในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานในรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และระบบเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า รวมถึงระบบทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ด้วย

"ขณะเดียวกันภายในเดือนมิถุนายนนี้ ระบบโครงข่ายของคมนาคมมีความพร้อมจะสามารถให้บริการระบบ EMV ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง น้ำเงิน และสายสีแดง ขณะที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC แจ้งว่าขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาในส่วนของระบบ"
นายปัญญา กล่าวว่า ในปี 2565 ได้เร่งดำเนินการจัดทำร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมพ.ศ. .. นั้น จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม- มิถุนายน นี้ โดยจะประชุมร่วมกับเสนอกรมบัญชีกลางและคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเพื่อขอจัดตั้งกองทุน และเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายในช่วงกรกฎาคม 2565 หากผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงแล้ว จะเสนอต่อที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ภายในปลายปีนี้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประมาณปลายปี 2565 เพื่อนำเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณารัฐสภา คาดว่าประกาศราชกิจจานุเบกษาได้ในต้นปี 2566

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญากรรมการ กล่าวว่า การติดตั้งระบบตั๋วร่วมของบีทีเอสนั้น ที่ผ่านมาทางบริษัทมีความพร้อมในการติดตั้งระบบตั๋วร่วมในรูปแบบอินเตอร์ออปเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าสายอื่นๆ แล้วเสร็จ แต่ปัจจุบันได้ รับทราบว่าทางภาครัฐจะดำเนินการใช้ระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ บัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) แทน

"หากภาครัฐมีการใช้ระบบตั๋วร่วมในรูปแบบบัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) เราก็พร้อมที่จะดำเนินการร่วมด้วยอยู่แล้ว เชื่อว่าสามารถดำเนินการได้ปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือร่วมกับทางกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการกำกับระบบตั๋วร่วมเกี่ยวกับการดำเนินการสามารถทำอย่างรได้บ้างการลงทุน ค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร ส่วนจะได้ข้อสรุปเมื่อไรขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับระบบตั๋วร่วมเป้นผู้พิจารณา"
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการเจราจาต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะมีผลกระทบการติดตั้งระบบตั๋วร่วมต่อการใช้ระบบตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆหรือไม่นั้น อาจจะติดปัญหาในเรื่องการใช้ระบบ เนื่องจากเส้นทางหลักของบีทีเอส มีแค่ช่วงหมอชิตอ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติสะพานตากสิน ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ตรงกลาง ขณะที่ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่งสมุทรปราการ และช่วงหมอชิตสะพานใหม่-คูคต ที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นผู้รับสัมปทาน ใครจะเป็นผู้ลงทุน หากจะดำเนินการใช้ระบบตั๋วร่วมเฉพาะเส้นทางเดียว คงทำไม่ได้ ซึ่งกรุงเทพมหานคร(กทม.) จะต้องเจรจาในรายละเอียดกับทางกระทรวงคมนาคมว่าจะดำเนินการอย่างไร

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 - 13 เม.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2022 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อัพเดทสร้างรถไฟฟ้าทั่วประเทศไทย สายไหนเสร็จเมื่อไหร่ เปิดใช้ปีไหนบ้าง
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม




Wisarut wrote:
รฟม.เผยก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายเร็วกว่าแผน ปักธงโมโนเรล "เหลือง, ชมพู" เปิดบริการกลางปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 17:08 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 17:08 น.


Mongwin wrote:
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
8 เม.ย. 65 17:06 น.

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/279796117678191

🚧🚈 อัพเดต❗️
สถานะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
6 โครงการ ระยะทาง 135.80 กิโลเมตร

Click on the image for full size



ดูนี่ก็ได้ครับ
1. สายสีชมพู (34.50 กม.): เปิดช่วงแรก (มีนบุรี - วัดพระศรี - หลักสี่ - ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ) เปิด กันยายน 2565
2. สายสีชมพูแยกเมืองทองธานี (2.80 กม.): เคลียร์พื้นที่ เปิดปลายปี 2568.
3. สายสีส้ม (22.50km): เปิด มีนาคม 2568 และ ส่วนต่อขยาย เปิดกันยายน 2570.
4. สายสีเหลือง (30.40 กม.): เปิดช่วงแรก (สำโรง - วัดศรีเอี่ยม - หัวหมาก - ลำสาลี) เปิด มิถุนายน 2565.
5. Airport Rail Link ส่วนต่อขยาย (21.80 กม.): พญาไท - ดอนเมือง เปิดปลายปี 2027.
6. สายสีม่วงส่วนต่อขยาย (23.60 กม.): เตรียมการก่อสร้างเปิด ํธันวาคม 2027.
https://www.youtube.com/watch?v=tr6mmBqJCP8
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2022 8:49 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ตั๋วร่วมรถไฟฟ้าส่อลากยาว ติดหล่ม'สายสีเขียว'เจรจาไม่ลงตัว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, April 09, 2022 05:49


ดูนี่ก็ได้ครับ workpointTODAY
BANGKOK2022 Challenge
ชาเลนจ์แรก บัตรแมงมุม
บททดสอบผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพฯ
กับฝันของคนกรุงเทพ
ที่ควรจะได้ใช้บัตรใบเดียวในการเดินทางด้วยรถไฟทั่วเมือง
ถามสด ตอบสด ไม่มีสคริปท์
แค่ปฏิกิริยาแรกก็ได้เห็นความแตกต่างของแต่ละผู้สมัคร
ดูเต็มๆ ที่นี่ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=ZcGpr9os62Y
https://www.facebook.com/noppatjak/posts/10159735623818446
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2022 12:30 am    Post subject: Reply with quote

“รสนา” ลั่นเลือกผู้ว่าฯ ชี้ชะตาราคารถไฟฟ้า ยันไม่ต่อสัมปทานไร้ต้นทุนก่อสร้างทำค่ารถ 20 บ. สานต่อ “ลุงจำลอง” (ชมคลิป)
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:03 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:03 น.

ผู้สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม.เบอร์ 7 ลั่นเลือกผู้ว่าฯ หนนี้ ชี้ชะตาต่อสัมปทานรถไฟฟ้า 65 บาทยาว 30 ปี หรือ 20 บาทตลอดสาย ลุยสานต่อ “จำลอง” รถไฟฟ้าราคาถูก ชี้ BTS หมดสัมปทานคืน กทม.จะไร้ต้นทุนเอาค่าก่อสร้างรวมค่ารถ 20 บาทตลอดสาย จึงทำได้ วางแผนใช้พื้นที่ไม่เกิน 15 ปี ล้างหนี้ 6.5 หมื่นล้าน



วันนี้ (10 เม.ย.) นางสาวรสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 7 โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่องสัมปทานรถไฟฟ้า มีหัวข้อว่า เลือกผู้ว่าฯ กทม.หนนี้ ชี้ชะตาต่อสัมปทานรถไฟฟ้า 65 บาท ไปอีก 30 ปี หรือ 20 บาทตลอดสาย !?

โดยมีเนื้อหาระบุว่า ดิฉันประกาศนโยบายผู้ว่าฯ ไม่ต่อสัมปทานบีทีเอส ลดค่าตั๋วเหลือ 20 บาทตลอดสาย มีเสียงเยาวชนคนรุ่นใหม่ บอกว่าแค่การหาเสียงหรือเปล่า!?

ขอตอบว่า แม้ตั๋วราคา 20 บาท จะไม่ได้เกิดวันนี้ วันพรุ่งนี้ แต่วันนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะได้ราคา 20 บาท หรือ 65 บาท ไปอีก 30 ปี ขึ้นอยู่กับการเลือกผู้ว่าฯในครั้งนี้

เมื่อปี 2535 พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ในสมัยนั้น ได้ริเริ่มโครงการรถไฟฟ้าสายแรกใน กทม.และเจรจาสัมปทานให้ค่าตั๋วตลอดสายที่ 15 บาท ได้สำเร็จ แต่น่าเสียดายที่ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ไม่มีผู้ว่าฯ กทม. คนไหนเลยแม้แต่คนเดียวที่จะสานต่อนโยบายรถไฟฟ้าราคาถูกของพลตรี จำลอง ศรีเมือง

จากข้อมูลรายงานประจำปีของ บริษัท บีทีเอส ปี 2562/2563 พบว่า บีทีเอสมีรายจ่ายค่าเดินรถทั้งระบบ 241 ล้านเที่ยวอยู่ที่ 3,777 ล้านบาท หรือเท่ากับเที่ยวละ 15.70 บาทเท่านั้น และเมื่อดูงบดุลย้อนหลัง 6-7 ปี พบว่า ค่าใช้จ่ายเดินรถอยู่ระหว่าง 10-16 บาทเท่านั้น ซึ่งไม่แพงเลย แต่ค่าตั๋วโดยสารบีทีเอสสูงสุดอยู่ที่ 65 บาท/เที่ยว เพราะอ้างว่าต้องเอาค่าลงทุนก่อสร้างระบบรางมารวมในค่าโดยสาร ดังนั้น เท่ากับว่า คน กทม.เป็นผู้จ่ายค่าโครงสร้างระบบรางตลอด 30 ปี

ข่าวดีคือ รถไฟฟ้าบีทีเอสจะหมดสัมปทานในปี 2572 คือ อีก 7 ปี กรรมสิทธิ์รถไฟฟ้าสายสีเขียวจะตกเป็นของ กทม. ดังนั้น นับจากปี 2572 ราคาค่าตั๋วโดยสารจะไม่มีต้นทุนค่าโครงสร้างอีก จะเหลือแต่ค่าใช้จ่ายการเดินรถและค่าบำรุงรักษา ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จึงเป็นไปได้แน่นอน

แต่ข่าวร้ายก็คือเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565 พล.ต.อ อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ในขณะนั้นให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการที่รัฐบาล คสช.ตั้งขึ้นจะให้มีการต่อสัมปทานกับบริษัท บีทีเอส ไปอีก 30 ปี และคิดค่าโดยสารตลอดสายสูงสุดที่ 65 บาท

แต่ถ้าเลือกรสนาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ดิฉันจะไม่ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่จะเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนมาแข่งราคาการเดินรถ ในราคาไม่เกิน 20 บาท ตลอดสาย

เมื่อตัดสินใจไม่ต่อสัมปทานก็จะมีคำถามตามมาว่า แล้วจะจ่ายหนี้อย่างไร

X

ปัจจุบัน กทม.เป็นหนี้ส่วนต่อขยายและการเดินรถ 65,000 ล้านบาท เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. กทม.ก็จะสามารถหารายได้จากการให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้า การโฆษณา และการเชื่อมต่อสถานีกับพื้นที่ของเอกชน รายได้ทั้ง 3 ส่วน ปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่ง กทม.สามารถจ่ายหนี้ได้หมดในเวลา 13-15 ปี โดยยังสามารถคุมค่าตั๋วราคาถูกให้ชาว กทม.20บาทตลอดสาย และยังสามารถเชื่อมต่อล้อ ราง เรือ ในราคา 20 บาทภายในระยะเวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงอีกด้วย

ดิฉันสัญญาว่าจะสานต่อนโยบายรถไฟฟ้าราคาถูกของ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ในสมัยนี้ให้จงได้หากได้รับฉันทานุมัติจากชาว กทม.เลือกรสนาเป็นตัวแทน

ถ้าพลาดการเลือกรสนาเป็นผู้ว่าฯ กทม. อาจจะต้องรอรถไฟฟ้าหมดสัมปทานอีกรอบใน 30-40 ปี

รสนา โตสิตระกูล
10 เมษายน 2565
#เลือกรสนากาเบอร์7
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2022 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

จุดพลุตั๋วร่วม!BEM ใช้บัตร EMV เต็มรูปแบบ มิ.ย.นี้ คาดปี 65 ทางด่วนจราจรฟื้น-ผู้โดยสารสีน้ำเงินรีเทิร์น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:04 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:04 น.

BEM ลุยพัฒนา EMV รถไฟฟ้า MRT เปิดใช้เต็มรูปแบบ มิ.ย. 65 ทั้ง "เครดิต-เดบิต" แตะผ่านสะดวก "ใช้ก่อน จ่ายทีหลัง" เร่งแผนโปรโมต "ระบบตั๋วร่วม" คาดปี 65 จราจรทางด่วนฟื้นแตะ 1 ล้านคัน/วัน ผู้โดยสารรีเทิร์น ลุ้นเปิดศูนย์สิริกิติ์โฉมใหม่กระตุ้นครึ่งปีหลัง

นางสาวปาหนัน โตสุวรรณถาวร รองกรรมการผู้จัดการ บัญชีและการเงิน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วมบริการหรือบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) ในการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าและค่าผ่านทางด่วน ว่า BEM ได้พัฒนาระบบตั๋วร่วม EMV เพื่อชำระค่าบริการระบบขนส่งแทนเงินสด ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ และถือเป็นการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการบริการเพื่อรองรับสังคมไร้เงินสด เนื่องจากระบบ EMV คือการใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตทุกธนาคารที่มีสัญลักษณ์ Contactless แตะ-จ่าย ได้สะดวก และยังเลี่ยงการสัมผัสการเดินทางวิถีใหม่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย

โดยได้มีการใช้ระบบ EMV ในการจ่ายค่าผ่านทาง ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (SOE) ในปี 2564 และต่อมาได้มีการเปิดตัวระบบ EMV อย่างเป็นทางเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 โดยให้บริการครบทั้ง 5 สายทาง ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (วงแหวนใต้) โดยด่านเก็บค่าผ่านทางที่เป็นช่องเงินสด สามารถใช้บัตรเครดิต หรือเดบิต ชำระแทนการจ่ายเงินสดได้ทุกด่าน ทุกสายทาง โดยปัจจุบันมีผู้ใช้ทางด่วน ชำระค่าผ่านทางด้วยบัตร EMV สัดส่วนประมาณ 2% เมื่อเทียบกับจำนวนปริมาณจราจรบนทางด่วนประมาณ 1 ล้านคันต่อวัน

ทั้งนี้ ยอมรับว่าการใช้บัตร EMV จ่ายค่าผ่านทางยังมีสัดส่วนไม่มาก ขณะที่การใช้เงินสดกับบัตร EASY PASS มีสัดส่วน 50-50 ซึ่งเป้าหมายคือ ต้องการให้มีผู้ใช้ EMV เพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการทำประชาสัมพันธ์เพิ่มเพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้ใช้ทาง โดยข้อดีของการใช้บัตร EMV เช่น นอกจากมีความสะดวก รวดเร็ว ในการผ่านทางแล้ว ยังลดการสัมผัสเพราะไม่ต้องใช้เงินสด อีกทั้งยังเป็นการ "ใช้ก่อน...จ่ายทีหลัง" และยังมีผลตอบแทนคืนในรูปเครดิตเงินคืน (Cash Back) และแต้มสะสม (Reward) ตามที่ธนาคารเจ้าของบัตรกำหนดอีกด้วย ส่วนเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ทางยังไม่จ่ายค่าผ่านทางด้วยบัตร EMV อาจเป็นเรื่องของความมั่นใจ ความปลอดภัยต่างๆ ซึ่งเป็นโจทย์ที่บริษัทฯ จะต้องทำให้ผู้ใช้ทางเกิดความมั่นใจว่าระบบ EMV ชำระค่าผ่านทางด่วนมีความปลอดภัย

@ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเริ่มใช้ EMV คาด มิ.ย. 65 เปิดตัวทางการใช้ได้ทั้ง "บัตรเครดิต-เดบิต"

สำหรับการพัฒนาระบบ EMV ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงินนั้น BEM ดำเนินการปรับปรุงและติดตั้งระบบที่ประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติภายในสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเพื่อรองรับการชำระค่าโดยสารผ่านบัตร EMV Contactless ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความ สะดวก รวดเร็วให้แก่ผู้โดยสาร โดย BEM ได้มีการจัดหาระบบและติดตั้งหัวอ่านบริเวณประตูอัตโนมัติ พร้อมทั้งปรับปรุงอุปกรณ์ และระบบ network เพื่อให้รองรับการใช้บัตร EMV Contactless รวมทั้งสิ้น 53 สถานี และได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการในวันที่ 29 ม.ค. 2565

นางสาวปาหนันกล่าวว่า ในช่วงการทดลองระบบ EMV Contactless นั้น จะรองรับบัตรเครดิตวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ดของธนาคารทุกธนาคาร ส่วนบัตรเดบิต อยู่ระหว่างพัฒนาระบบคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดตัวใช้อย่างเป็นทางการพร้อมกันทั้งบัตรเครดิตและเดบิตในเดือน มิ.ย. 2565 และถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของระบบตั๋วร่วม เนื่องจากบัตร EMV ซึ่งเป็นบัตรเครดิต หรือเดบิตนั้น เป็นบัตรที่ใช้สำหรับการชำระค่าบริการ ค่าสินค้าทั่วไปอยู่แล้ว แต่วันนี้สามารถนำมาชำระค่าเดินทาง ทั้งค่าทางด่วน ค่าโดยสารรถไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังสามารถชำระค่าโดยสารรถ ขสมก. เรือโดยสารไฟฟ้าได้อีกด้วย

“แนวโน้มหลังเริ่มทดลองใช้บัตร EMV ในรถไฟฟ้า ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเกือบ 2% แล้ว ซึ่งพบว่าผู้โดยสารหลายคนเปลี่ยนมาใช้บัตร EMV เนื่องจากมีความสะดวก เพราะมีบัตรอยู่แล้ว ไม่ต้องเติมเงินหรือซื้อบัตรใหม่”

สำหรับระบบ EMV รถไฟฟ้าจะมีความซับซ้อนมากกว่า EMV ของทางด่วน เนื่องจากทางด่วนมีค่าผ่านทางคงที่เมื่อแตะบัตรขาเข้าระบบจะคำนวณค่าผ่านทางได้เลย แต่สำหรับรถไฟฟ้านั้น เมื่อแตะบัตร EMV ขาเข้า ระบบจะยังไม่คำนวณค่าโดยสารเพราะต้องรอแตะบัตรออกก่อนเพราะคิดค่าโดยสารตามระยะทาง นอกจากนี้ ยังมีการเดินทางข้ามสายทาง หรือรถไฟฟ้าข้ามสี ซึ่งจะต้องมีระบบคำนวณเพื่อแบ่งค่าโดยสารของแต่ละสาย โดยเรื่องนี้ภาครัฐจะทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ต่อไป

@คาดปี 65 ทางด่วน-รถไฟฟ้าสีน้ำเงินฟื้นตัว

นางสาวปาหนันกล่าวว่า ในส่วนของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระนั้น มีการทดลองเดินรถเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2562 ซึ่งพบว่าจำนวนผู้โดยสารสีน้ำเงินตลอดสายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 400,000 คนต่อวัน และเคยสูงสุดถึง 500,000 คนในบางวัน ซึ่งเมื่อมีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบและจัดเก็บค่าโดยสารในวันที่ 30 มี.ค. 2563 ปรากฏว่าเกิดโรคโควิด-19 ทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลงไปกว่า 40% เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ ประชาชนชะลอการเดินทาง ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ตัวเลขผู้โดยสาร MRT สายสีน้ำเงินได้

โดยในปี 2564 ผู้โดยสารลดลงไปถึง 40% เหลือ 150,000 คนต่อวัน สำหรับปี 2565 คาดหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้น สถานการณ์โควิดรุนแรงน้อยลง มีการเปิดประเทศ และคาดว่ารัฐบาลประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่น โดยในเดือน ก.พ. 2565 พบว่าวันจันทร์-ศุกร์ ผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 200,000 กว่าคน ส่วนเดือนมี.ค. 2565 ผู้โดยสารลดลงมาจากหลายปัจจัย รวมถึงเป็นช่วงปิดเทอม โดยคาดการณ์ว่าเดือน พ.ค.จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และโดยรวมทั้งปี 2565 ผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 250,000 คนต่อวัน ดีกว่าปี 2564 แน่นอน

ส่วนปริมาณจราจรบนทางด่วน เมื่อปี 2564 มีประมาณ 850,000 คันต่อวัน หรือลดลง 20% จากช่วงก่อนเกิดโควิด แต่ขณะนี้ปริมาณจราจรกลับมาอยู่ที่เกือบ 1 ล้านคันต่อวัน จึงเชื่อว่าเราได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วคือเมื่อปี 2564 และคาดว่าปริมาณจราจรจะมีการเติบโตกลับไปอยู่ที่ 1.2 ล้านคันต่อวัน เท่ากับปี 2563

@รายได้เชิงพาณิชย์โต หนุนผลประกอบการ

สำหรับรายได้เชิงพาณิชย์ของ BEM ในปี 2564 อยู่ที่ประมาณ 800 ล้านบาทซึ่งไม่ลดลงแต่อย่างใด เนื่องจากมีการพัฒนาปรับปรุงนำเทคโนโลยีเข้ามาดำเนินงาน ทำให้เพิ่มมูลค่าและรายได้ เช่น ในพื้นที่โฆษณาขนาดเท่าเดิม มีการใช้จอ LED เกิดไดนามิกสามารถรองรับลูกค้าได้มากกว่า 1 ราย รวมถึงการทำโปรเจกต์ใหม่ๆ กับพาร์ตเนอร์รายใหญ่ เป็นต้น ขณะที่มีการเยียวยากับผู้เช่าพื้นที่ต่างๆ ตามมาตรการผลกระทบโควิดด้วย

@เปิด "ศูนย์ฯ สิริกิติ์" โฉมใหม่กระตุ้นเดินทางครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 คาดว่ารายได้เชิงพาณิชย์มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะมีหลายกิจกรรมเกิดตามแนวเส้นทาง MRT สีน้ำเงิน เช่น เปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือ QSNCC เต็มรูปแบบในเดือน ก.ย. และเป็นสถานที่จัดงาน APEC 2022 ในเดือน พ.ย. คาดว่าจะส่งผลให้มีจำนวนผู้โดยสาร MRT อย่างแน่นอน

สำหรับสถานี MRT ที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่
1. สถานีสุขุมวิท
2. สถานีสวนจตุจักร
3. สถานีเพชรบุรี
4. สถานีพระราม 9 และ
5. สถานีสีลม

ซึ่งจะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับศูนย์ธุรกิจ ศูนย์การค้า และเชื่อมกับระบบขนส่งอื่นทั้งรถไฟฟ้าและท่าเรือ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2022 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดต “รถไฟฟ้าศักดิ์สยาม” สปีด รฟม. 7 สาย-ลงทุน 4 จังหวัดหลัก
ในประเทศ
วันเสาร์ ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:45 น.

เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน (16 เมษายน 2565) “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย นั่งบริหารราชการแผ่นดินบนเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่ต่ำกว่า 2 ปีครึ่ง หนึ่งในผลงานเด่นเป็นเรื่องการเร่งรัดผลักดันการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวมถึงได้ริเริ่มพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค

โดยมี “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เป็นหัวหอกหลักในการขับเคลื่อนการลงทุนรถไฟฟ้าในเขตเมือง มีโครงข่ายรถไฟฟ้า 7 เส้นทาง “สีน้ำเงิน-ม่วง-เขียวเข้ม-ส้ม-ชมพู-เหลือง-น้ำตาล” ระยะทางรวม 278 กิโลเมตร

ในขณะที่ปี 2565 จ่อปิดจ็อบเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

โควิดปี’63 ครม.อนุมัติสีส้มตะวันตก
สำหรับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เริ่มนับผลงานตั้งแต่ปี 2562 โดยอีเวนต์ใหญ่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562 มีการเปิดให้บริการเป็นทางการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค (จากการวิเคราะห์เต็มโครงการช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ร้อยละ 16.83

ถัดมาปี 2563 มีอีเวนต์ใหญ่ 2 เรื่อง เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP Net Cost) โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และเป็นผู้จัดหา ผลิต ติดตั้ง งานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ รวมถึงให้บริการเดินรถตลอดทั้งเส้นทาง

โครงการรถไฟฟ้าสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี มีมูลค่าการลงทุนรวม 235,320 ล้านบาท ประเมิน EIRR ร้อยละ 19.06 แบ่งเป็น “สีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” วงเงิน 106,806 ล้านบาท กับ “สีส้มตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ” วงเงินลงทุน 122,067 ล้านบาท

และวันที่ 30 มีนาคม 2563 มีการเปิดให้บริการเป็นทางการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ และมีผลให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งให้บริการครบลูปเป็นวงกลมสายแรกของประเทศไทย

โควิดปี’64 ต่อขยายสีชมพู เมืองทองฯ
ในปี 2564 อีเวนต์หลักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ฉบับแก้ไข กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระหว่าง รฟม.และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM)

ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ส่วนหลัก) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี มีมูลค่าการลงทุน 4,072 ล้านบาท เอกชนผู้ร่วมลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด ประเมิน EIRR ที่ร้อยละ 13.50

อัพเดตล่าสุด โครงการอยู่ในขั้นตอนการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ปีเสือเคาะสีม่วงใต้-ส้มตะวันตกเข้าคิว
ขณะที่สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีวงเงินลงทุน 124,955 ล้านบาท อัพเดตล่าสุดปี 2565 โหมโรงกันตั้งแต่ต้นปีเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 ด้วยอีเวนต์ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รวมทั้งสิ้น 6 สัญญา มูลค่าโครงการรวม 82,082.8 ล้านบาท ประเมิน EIRR อยู่ที่ร้อยละ 13.63

ตามแผนลงทุนคาดว่าเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี 2565 นี้ และในลำดับต่อไปจะได้ดำเนินการจัดทำและนำเสนอรายงาน PPP ต่อ ครม. เพื่อขออนุมัติรูปแบบการร่วมลงทุนของโครงการในส่วนงานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ การเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาต่อไป

ไฮไลต์อีก 1 เส้นทางคืองานโยธา สายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ จะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนเป็น package เดียวกับการติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถของสายสีส้มตลอดทั้งสาย ตามแผนคือจะเคาะประมูลภายในปีนี้ และคาดว่าจะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในสิ้นปี 2565

สีชมพู-เหลืองซอฟต์โอเพนนิ่ง
ขณะเดียวกันมีการเร่งรัดผลักดันรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565) มีความคืบหน้าดังนี้


“รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” (สุวินทวงศ์) โครงการเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ปัจจุบันมีความก้าวหน้าร้อยละ 91.67 ในอนาคตอันใกล้เมื่อโครงการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว คาดว่าสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ร้อยละ 19.06 (EIRR ของสายสีส้มทั้งส้มตะวันออกและส้มตะวันตก)

“รถไฟฟ้าสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี” โครงการเริ่มก่อสร้าง 29 มิถุนายน 2561 ปัจจุบันมีความก้าวหน้าร้อยละ 85.33 ประเมิน EIRR ที่ร้อยละ 17.20

และ “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง” โครงการเริ่มก่อสร้างพร้อมกับสายสีชมพูเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2561 ปัจจุบันมีความก้าวหน้าร้อยละ 90.87 ประเมิน EIRR อยู่ที่ร้อยละ 15.65

โดยรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลืองมีแผนเปิดให้บริการเดินรถบางส่วน (partial operation) ภายในสิ้นปี 2565 ทั้งสองสาย และเปิดให้บริการเป็นทางการตลอดทั้งเส้นทางได้ภายในปี 2566

ปูทางอนาคต “สีน้ำตาล แคราย-บึงกุ่ม”
แผนงานในอนาคตสำหรับเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลก็คือ “รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)” มูลค่าลงทุนรวม 48,478 ล้านบาท ประเมิน EIRR ร้อยละ 22.39


อัพเดตล่าสุด โครงการนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนปรับปรุงรายละเอียด และจัดทำรายงาน PPP คาดว่าจะเริ่มการศึกษาได้ภายในปี 2565

ลุยภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช-พิษณุโลก
นอกจากนี้ “ศักดิ์สยาม” ยังได้เร่งรัด รฟม.ให้ดําเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ และอํานวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว

อัพเดตล่าสุด รฟม.มีแผนลงทุนรถไฟฟ้าในเมืองหลักภูมิภาค 4 จังหวัด ประกอบด้วย 1.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 54 กิโลเมตร ลงทุน 35,295 ล้านบาท

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เชียงใหม่ ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร ลงทุน 25,639 ล้านบาท

3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ นครราชสีมา ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร ลงทุน 7,116 ล้านบาท

ซึ่งทั้ง 3 โครงการนี้ รฟม.อยู่ระหว่างเร่งรัดศึกษาโครงการเพิ่มเติม และปรับปรุงรายงาน PPP รวมทั้งทบทวนเทคโนโลยีรถไฟฟ้าเพื่อลดต้นทุนโครงการ

4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ประเมินเงินลงทุน 1,672 ล้านบาท ซึ่ง รฟม.อยู่ระหว่างเตรียมจัดจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษารายละเอียด ความเหมาะสม ออกแบบโครงการ ก่อนดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/04/2022 1:55 am    Post subject: Reply with quote

รักษาการ อธิบดีกรมการขนส่งทางรางตรวจพินิจความก้าวหน้ารถไฟสายเหลืองและชมพูและได้ข้อมุลต่อไปนี้:

    1. ความก้าวหน้าโดยรวมสายเหลือง 91.70% สายชมพู 86.51%
    2. สายสีชมพูติดปัญหา การเคลียร์สาธารณูปโภค ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
    3. รถไฟฟ้าสายชมพูส่งมอบรถไฟฟ้าโมโนเรล 21-24 ชุด จาก 42 ชุด และ สายสีเหลืองส่งมอบรถไฟฟ้าโมโนเรล ไป 26 ชุด จาก 30 ชุด นับว่าล่าช้าไปบ้างเนื่องจากโควิด 19 ที่เมืองจีนทำให้การส่งมอบรถทำได้ช้า โดยหวังว่าจะส่งมอบได้ครบ เดือนมิถุนายน 2565
    4. โควิด 19 ที่กำลังอาละวาดทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงาน ไปที่ก่อสร้างมีความล่าช้า โดยเฉพาะกรณีแรงงานนำเข้า นอกจากนี้ให้ผู้ชำนาญการจากเมืองจีนมาเมืองไทยไม่ได้
    5. ต้องปรับแผนการก่อสร้างเพื่อลดการจราจรที่ติดขัด เวลาเคลียร์โครงสร้างพื้นฐาน และ การเคลียร์พื้นที่หลังก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว
    6. ต้องสร้าง Skywalk เชื่อมสถานีกับป้ายรถเมล์ และ ท่าเรือ ของเรือคลองแสนแสบ เพื่อให้คนพิการที่ต้องขึ้นรถเข็นเข้าถึงสถานีได้
    7. เริ่มการทดสอบเสมือนจริง กันยายน 2565 ล่ากว่ากำหนด เดือนสิงหาคม 2565
    8. เริ่มการเดินรถเฟสแรก ธันวาคม 2565 โดย สายสีชมพู เปิดช่วงหลักสี่ ไปมีนบุรี (สถานีหลักสี่,ราชภัฏพระนคร,วัดพระศรีมหาธาตุ,รามอินทรา 3 ,ลาดปลาเค้า, รามอินทรา 31,มัยลาภ, วัชรพล,รามอินทรา 40 ,คู้บอน,รามอินทรา 83, วงแหวนตะวันออก, บางชัน ,เศรษฐบุตรบําเพ็ญ,ตลาดมีนบุรี และมีนบุรี โดยไม่เปิดสถานี นพรัตนราชธานี) และ สายสีเหลือง เปิด ช่วง สำโรง ไปพัฒนาการ (สำโรง,ทิพวัล,ศรีเทพา,ศรีด่าน,ศรีแบริ่ง,ศรีลาซาล,ศรีเอี่ยม,ศรีอุดม,สวนหลวงร.9 ,ศรีนครินทร์ 38 ,กลันตัน และพัฒนาการ) โดยเริ่มเฟสแรก ธันวาคม 2023
    9. บริการเต็มตัวเดือนมิถุนายน 2566 โดยอัตราค่าโดยสาร อยู่ที่ 14-42 บาท




https://www.prachachat.net/general/news-913402
https://mgronline.com/business/detail/9650000037398
https://www.thansettakij.com/economy/521801
https://www.thailandplus.tv/archives/519006
https://www.bangkokbiznews.com/business/999927
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7005005
https://www.banmuang.co.th/news/economy/277190
https://www.matichon.co.th/politics/news_3296679

https://www.tnnthailand.com/news/wealth/111353/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/536659237911315

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/287004163624053
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2022 2:28 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เร่งสปีดรถไฟฟ้า 6 สาย 4.04 แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจMega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:54 น.

ที่ผ่านมา “คมนาคม” พยายามเร่งเครื่องสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลุยดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมทั้งการนำระบบตั๋วร่วมเข้ามาให้บริการเพื่อครอบคลุมเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางให้ประชาชนมีความสะดวกสบายอย่างต่อเนื่อง

จากกระแสร้อนแรงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งไม่มีท่าทีว่าจะต่อสัญญาสัมปทานให้กับเอกชนหรือไม่นั้น ล่าสุดกลับถูกเบรกการเจรจาหารือร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกระทรวงคมนาคม เนื่องจากทางกทม.ให้ความเห็นว่าปัจจุบันมีการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.คนใหม่ ทำให้การเจรจาดังกล่าวถูกพักไว้ชั่วคราว เพื่อรอให้ผู้ว่ากทม.คนใหม่มาสานงานต่อว่าจะดำเนินการอย่างไร





ปัจจุบันภาระหนี้สะสมที่ภาครัฐมีต่อบีทีเอสตั้งแต่เดือนเมษายน 2560-ปัจจุบัน มีหนี้ค่าจ้างเดินรถและหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) รวมดอกเบี้ย จำนวน 38,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ค่าจ้างเดินรถ จำนวน 18,000 ล้านบาท และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) จำนวน 20,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีมูลหนี้รวมอยู่ที่ 32,000 ล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมากทม.ไม่ได้มีการชำระหนี้ในส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้าและช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ตั้งแต่เปิดให้บริการ




ด้านกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ลงพื้นที่ตรวจโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 51,810 ล้านบาท มีความคืบหน้า 91.70% ส่วนรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 50,970 ล้านบาท คืบหน้า 86.51% ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบการเดินรถ โดยจะมีการทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ตั้งแต่เดือน กันยายน-พฤศจิกายน 2565 เป็นเวลา 3 เดือน ในระหว่างนี้จะขอให้เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรีด้วย ก่อนจะเปิดให้บริการบางช่วงอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมนี้




สำหรับสาเหตุที่ไม่สามารถเปิดให้บริการพร้อมกันได้ตลอดทั้งเส้นนั้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ไม่สามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้ ขณะเดียวกันประเทศผู้ผลิตรถไฟฟ้า ยังมีข้อจำกัดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงมีปัญหาผู้รับจ้างยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ จึงทำให้การดำเนินงานต่างๆ ต้องล่าช้าไปจากแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการครบตลอดเส้นทางทั้ง 2 สายได้ภายในกลางปี 2566



ทั้งนี้ขบวนรถที่จะนำมาให้บริการนั้น ขณะนี้บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ผู่เจิ้น บอมบาร์ดิเออร์ ทรานสปอร์เทชัน ซิสเต็มส์ จำกัด ผู้ผลิต ได้ส่งขบวนรถยี่ห้อ Bombardier รุ่น Innovia Monorail 300 จากประเทศจีนมาถึงประเทศไทยแล้ว 50 ขบวน 200 ตู้ แบ่งเป็น สายสีเหลือง 26 ขบวน 104 ตู้ และสายสีชมพู 24 ขบวน 96 ตู้ คาดว่าสายสีเหลืองจะได้รับมอบครบ 30 ขบวน 120 ตู้ และสายสีชมพู จะได้รับมอบครบ 42 ขบวน 168 ตู้ ภายในเดือนมิถุนายน 2565 ส่วนอัตราค่าโดยสารนั้น เริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุดไม่เกิน 42 บาท





ข้ามฟากมาที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง รวม 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท หลังจากมีการล้มประมูลโครงการ เนื่องจากรฟม.มีการเปลี่ยนเกณฑ์การประกวดราคาใหม่ในช่วงที่เริ่มประมูล เป็นเหตุให้เอกชนฟ้องร้องรฟม.ส่อฮั้วประมูลต่อศาลปกครอง ปัจจุบันรฟม.ได้เริ่มดำเนินการเตรียมเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง ขณะนี้รฟม.ได้ออกประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน เพื่อนำความคิดเห็นมาใช้ประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) แล้ว คาดว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะสรุป RFP ได้ในเดือนเมษายนนี้ หลังจากนั้นจะกำหนดการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ภายในเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2565 เริ่มก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2565 คาดว่าจะเปิดให้บริการสายตะวันออกภายเดือนสิงหาคม 2568 และเปิดให้บริการสายส่วนตะวันตกภายในเดือนธันวาคม 2570





ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงินกว่า 8.2 หมื่นล้านบาทปัจจุบัน รฟม.ได้เตรียมประกวดราคาจ้างที่ปรึกษากำกับการดำเนินงานโครงการ (Project Implementation Consultant : PIC) และที่ปรึกษาบริหารโครงการและควบคุมการก่อสร้างงานโยธา รวม 4 สัญญา วงเงินกว่า 2.8 พันล้านบาท ซึ่งวงเงินส่วนนี้เป็นวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ทั้งนี้รฟม. ได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างงานโยธาไว้ที่ 2,005 วัน นับจากวันที่ รฟม. ได้มีหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ให้กับผู้รับจ้าง หลังจากนี้จะดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2570


ปิดท้ายที่โครงการส่วนต่อขยายรถไฟสายสีแดง ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งผลักดันจำนวน 4 โครงการ วงเงิน 7.93 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 4.96 หมื่นล้านบาท 2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6.64 พันล้านบาท, 3.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม ประกอบด้วย สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และสถานีบ้านฉิมพลี ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 1.06 หมื่นล้านบาท และ 4.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4.73 พันล้านบาท

“คมนาคม” เร่งสปีดรถไฟฟ้า 6 สาย 4.04 แสนล้าน

ทั้งนี้ตามแผนรฟท.ต้องสรุปผลการศึกษาเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. และกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาภายในเดือนพฤษภาคม 2565 คาดว่าจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบเอกชนลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ทั้ง 4 เส้นทางได้ในช่วงปลายปี 2565 และได้ผู้รับจ้าง พร้อมเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2566





สำหรับแผนการก่อสร้างรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงของ รฟท. นั้น เบื้องต้นช่วง รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะเริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคม 2566- กรกฎาคม 2569 และเปิดให้บริการปี 2569 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง จะเริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2566-มกราคม 2571 และเปิดให้บริการปี 2571





หากคมนาคมสามารถดำเนินการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าแล้วเสร็จจะช่วยเติมเต็มโครงข่ายพัฒนาระบบขนส่งทางรางมากขึ้น ซึ่งจะเป็นทางเลือกการเดินทางสาธารณะที่ตอบโจทย์ประชาชนได้ในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2022 1:14 pm    Post subject: Reply with quote

ยกเว้นค่าแรกเข้า MRT เชื่อมสีแดงไม่ต้องเสีย 14 บาท
*เงื่อนไขต้องใช้บัตรEMV/สีน้ำเงินไม่ได้ติดสัมปทาน
*เลื่อนใช้บัตรEMVแตะสายสีแดงไปมิ.ย.(ไม่ทันพ.ค.)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/pfbid02esNbGJepXT1prPxPL8MpqdeEcpAxMeBKhvDnnXHq4eA5u8t9TNFfm9Poxc2pGq2xl
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 248, 249, 250 ... 277, 278, 279  Next
Page 249 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©