RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180245
ทั้งหมด:13491479
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2022 4:59 pm    Post subject: Reply with quote

ความ “แทรมโคราช” ยังติดอีไอเอ & เออาร์ที
*ปมจุดตัดถนนแคบ-ต้องสนองนโยบาย
*รฟม.เลื่อนไทม์ไลน์ก่อสร้างไม่มีกำหนด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/543551843888721
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2022 6:18 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ารางเบาVsรถรางล้อยาง
Source - เดลินิวส์
Monday, October 24, 2022 05:27

โคราช-เชียงใหม่เลือกแบบไหน ฟังเสียงประชาชนรื้อผลศึกษา

รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 27 ต.ค. 65 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ตั้งแต่เวลา 08.30-12.00 น. ที่ห้องสุรนารีบอลรูม โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ก่อนหน้านี้ รฟม. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท เอ็นทิค จำกัด และบริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ ในรูปแบบของรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) ล้อเหล็ก แต่ต่อมานายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม มี นโยบายให้ปรับรูปแบบแทรมล้อเหล็กเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (Automate Rapid Transit : ART) เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง ทาง รฟม. จึงมอบให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทบทวนการศึกษาฯ พร้อมศึกษางานระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าเพิ่มเติม คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 65

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การทบทวนการศึกษาฯ ครั้งนี้ รฟม. จำเป็นต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 58 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ด้วย โดยความคิดเห็นของประชาชน และข้อเสนอที่ได้รับจากการประชุมทั้งหมดนี้ จะนำไปใช้ประกอบการจัดทำการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการ ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

สำหรับการประชุมรับฟังความ คิดเห็นครั้งนี้กลุ่มที่ปรึกษาได้คัดเลือก ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้มากที่สุด 3 ระบบมาให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 1.รถไฟฟ้ารางเบา (Steel Wheel Tram), 2.รถรางชนิดใช้ล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้า เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) โดยจะนำเสนอรายละเอียด แต่ละระบบว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งข้อดี และข้อเสีย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแสดงความคิดเห็น

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในส่วนของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์- แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ทาง รฟม. จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมเช่นกัน โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 31 ต.ค. 65 เวลา 08.30-12.00 น. ที่ห้องแกรนด์วิว 3 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมได้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2565

https://www.dailynews.co.th/news/1609570/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2022 2:38 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้ารางเบาVsรถรางล้อยาง
Source - เดลินิวส์
Monday, October 24, 2022 05:27

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2565

https://www.dailynews.co.th/news/1609570/


รถไฟฟ้ารางเบา(ของเดิม) Vs รถรางล้อยาง ART
*ชาว”โคราช-เชียงใหม่” จะเลือกแบบไหน
*รฟม.จัดเวทีฟังเสียงประชาชนรื้อผลศึกษา
*สนองนโยบายรมต. ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/663891611854743
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2022 7:44 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้ารางเบา(ของเดิม) Vs รถรางล้อยาง ART
*ชาว”โคราช-เชียงใหม่” จะเลือกแบบไหน
*รฟม.จัดเวทีฟังเสียงประชาชนรื้อผลศึกษา
*สนองนโยบายรมต. ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/663891611854743

รฟม.ขอแนะนำ โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา สายสีเขียวฯ
Aug 28, 2019
PR MRTA Official

ขอแนะนำโครงการรถไฟฟ้าในระดับภูมิภาค อีกหนึ่งโครงการของ รฟม. "โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)" โดย รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เริ่มจากสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรก ทั้งนี้จากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โครงการดังกล่าวจะเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) รวมระยะทางประมาณ 11.17 กิโลเมตร จำนวนสถานีทั้งหมด 20 สถานี


https://www.youtube.com/watch?v=iXZGHSZl3Pc

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา
Aug 28, 2020
MOT Channel


https://www.youtube.com/watch?v=LqCVitto31Y

ข่าวใหญ่! ดับฝันรถไฟฟ้ารางเบาโคราช-เชียงใหม่ [อัพเดทเมืองไทย]
May 31, 2021
THT TV


https://www.youtube.com/watch?v=aIAQXaS13aU

ตอนที่ 3 โคราชเมืองแห่งอนาคต
Aug 23, 2022
สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา


https://www.youtube.com/watch?v=dq3rY5oE3J8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2022 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

^^^^
การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว(ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
https://www.facebook.com/100078182305719/videos/801699900907836
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2022 8:48 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
^^^^
การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว(ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
https://www.facebook.com/100078182305719/videos/801699900907836

"รฟม."เสนอทางเลือกระบบขนส่งมวลชนโคราช สายสีเขียวชู"E-BRT"2,000ล้านเหมาะสมสุด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, October 28, 2022 04:31

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - รฟม. เปิดเวทีฟังความคิดเห็นประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมของโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ชู "E-BRT" เหมาะสมสุด มูลค่าลงทุน 2,000 ล้าน เผยตามแผนเริ่มก่อสร้างปี 2568 เปิดให้บริการปี 2571 ชี้เพิ่มทางเลือกเดินทางที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยให้ประชาชนนักท่องเที่ยว

วานนี้ (27 ต.ค.) ที่ห้องสุรนารีบอลรูม โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และนายสมเกียรติ์ วิริยะกูลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบ ทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเชฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยภายในงานมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจ รวมถึงสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุมกว่า 250 คน

ทั้งนี้สืบเนื่องจากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุน พบว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว มีมูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา และต่อมาในปี 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยาง ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค รฟม. จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมของสัญญาจ้างกลุ่มที่ปรึกษา NMGC ให้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา และนำมาสู่การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้

การประชุมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบ Steel Wheel Tramรถไฟฟ้ารางเบา หรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock), 2.ระบบ Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบ ติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (Guided Light Transit) หรือ ระบบรางเสมือน (Track Less) และ 3.ระบบ E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบ ในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองนครราชสีมา, ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง, ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)

ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมามากที่สุด คือ ระบบ E-BRT รองลงมาคือ ระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ

ทั้งนี้ รฟม. และกลุ่มที่ปรึกษา NMGC ได้รับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยี รถไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความ ครบถ้วนสมบูรณ์ประกอบการรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาในลำดับต่อไป

อนึ่ง โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นโครงการระบบขนส่งสาธารณะหลักของจังหวัดนครราชสีมา ที่สำนักงานนโยบายและ แผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีข้อเสนอแนะให้เริ่มก่อสร้างก่อนเป็นลำดับแรก โครงการฯ มีระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 21 สถานี (อยู่บนทางหลวง 9 สถานี และอยู่ในเขตเมือง 12 สถานี)

ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าว สุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯ สถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานี บ้านนารีสวัสดิ์ สถานี ชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง

โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณปลายทางสถานีบ้านนารีสวัสดิ์ ทั้งนี้ คาดว่าโครงการฯ จะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ในปี 2571 (แผนการดำเนินงานโครงการฯ ณ เดือนพฤศจิกายน 2564)

จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งยังสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนนจึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ ได้อีกด้วย.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 28 ต.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2022 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
^^^^
การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว(ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
https://www.facebook.com/100078182305719/videos/801699900907836

"รฟม."เสนอทางเลือกระบบขนส่งมวลชนโคราช สายสีเขียวชู"E-BRT"2,000ล้านเหมาะสมสุด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, October 28, 2022 04:31


รฟม. เปิดผลศึกษา “แทรมโคราช” ลงทุนสูง “รถโดยสาร E-BRT” เหมาะสุด
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันพฤหัสบดี ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:51 น.

เปิดผลศึกษา “แทรมโคราช” สายสีเขียว “ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองฯ” 11.15 กม. ลงทุนสูง ไม่คุ้มค่า ชี้รถโดยสาร “E-BRT” เหมาะสมที่สุด เตรียมชง “คมนาคม” พิจารณา คาดเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดให้บริการปี 71 มีบริการ 21 สถานี เพิ่มทางเลือกเดินทางให้ประชาชน



เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช จ.นครราชสีมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยนายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้สืบเนื่องมาจากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียวฯ มีมูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา

ADVERTISEMENT



และต่อมาปี 64 กระทรวงคมนาคมมอบนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค รฟม. จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมของสัญญาจ้างกลุ่มที่ปรึกษา NMGC ให้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการฯ เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยการจัดประชุมครั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบ Steel Wheel Tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) 2.ระบบ Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (Guided Light Transit) หรือระบบรางเสมือน (Track Less) และ 3.ระบบ E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง



โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี, ความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองนครราชสีมา, ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร, ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ, ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง, ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ) ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมามากที่สุด คือ ระบบ E-BRT รองลงมาคือ ระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ



ทั้งนี้ รฟม. และกลุ่มที่ปรึกษา NMGC ได้รับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ประกอบการรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาในลำดับต่อไป สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว เป็นโครงการระบบขนส่งสาธารณะหลักของจังหวัดนครราชสีมา ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีข้อเสนอแนะให้เริ่มก่อสร้างก่อนเป็นลำดับแรก


โครงการฯ มีระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 21 สถานี (อยู่บนทางหลวง 9 สถานี และอยู่ในเขตเมือง 12 สถานี) ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯ สถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณปลายทางสถานีบ้านนารีสวัสดิ์

ทั้งนี้คาดว่าโครงการจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 68 และเปิดให้บริการในปี 71 (แผนการดำเนินงานโครงการฯ ณ เดือน เม.ย. 65) ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งยังสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน จึงช่วยลดปริมาณมลพิษ ในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย..

รฟม.ล้ม “แทรมโคราช” ค้านผลศึกษาสนข.ไม่คุ้มค่า
*สร้างไปเจ๊งแน่ๆเสนอทางเลือกรถเมล์ไฟฟ้าBRT
*ดับฝันรถไฟฟ้ารางเบานครราชสีมาเป็นทางการ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/666298798280691
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2022 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดต รถไฟฟ้าโคราช 21 สถานี “ตลาดเซฟวัน-บ้านนารีสวัสดิ์”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 ตุลาคม 2565 - 15:20 น.

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว จากตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
เหมือนจะคืบหน้าสำหรับรถไฟฟ้าสายแรกของคนโคราช

ชื่อเต็ม ๆ “โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)”

ล่าสุด “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าร่วม 250 คน ณ ห้องสุรนารีบอลรูม โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา

“สาโรจน์ ต.สุวรรณ” รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) รฟม. เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โคราช มีมูลค่าการลงทุนสูง รายได้การเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา ปี 2564 กระทรวงคมนาคมได้มอบให้ รฟม.พิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค รฟม.ได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษา NMGC ให้ศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบรถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565

โดย รฟม. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการศึกษารถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่

1.ระบบ stell wheel tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (rolling stock)

2.ระบบ tire tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (guided light transit) หรือระบบรางเสมือน (track less)

3.ระบบ E-BRT (electric bus rapid transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง

โดยเปรียบเทียบ 3 ระบบในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี, ความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่เขตเมืองโคราช, ศักยภาพรองรับปริมาณผู้โดยสาร, ระยะเวลาก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ, ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่น) และด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ)

ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า เทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเมืองโคราชมากที่สุด 1.ระบบ E-BRT 2.tire tram และ 3.steel wheel tram ตามลำดับ

ทั้งนี้ รฟม. และกลุ่มที่ปรึกษา NMGC จะมีการปรับปรุงผลการศึกษาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ประกอบการรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาในลำดับต่อไป

สำหรับรายละเอียดโครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-บ้านนารีสวัสดิ์) เป็นโครงการระบบขนส่งสาธารณะหลักของนครราชสีมา ซึ่ง “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” มีข้อเสนอแนะให้เริ่มก่อสร้างก่อนเป็นลำดับแรก

Click on the image for full size

โครงการมีระยะทาง 11.15 กิโลเมตร มี 21 สถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร ออกแบบให้อยู่บนทางหลวง 9 สถานี และอยู่ในเขตเมือง 12 สถานี

ได้แก่ 1.สถานีมิตรภาพ 1 2.สถานีแยกปักธงชัย 3.สถานีมิตรภาพ 2 4.สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 5.สถานีสวนภูมิรักษ์ 6.สถานีหัวรถไฟ 7.สถานีเทศบาลนคร 8.สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง 9.สถานีโพธิ์กลาง 10.สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 11.สถานีแยกประปา

12.สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา 13.สถานีราชภัฏฯ 14.สถานีราชมงคล 15.สถานีบ้านเมตตา 16.สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ 17.สถานีชุมพล 18.สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา 19.สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ 20.สถานีวัดแจ้งใน และ 21.สถานีดับเพลิง

โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณปลายทางสถานีบ้านนารีสวัสดิ์

ทั้งนี้ ตามแผนที่กำหนดไว้ ณ เมษายน 2565 คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2568 เปิดให้บริการได้ในปี 2571 เป็นตัวช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในโคราช ลดการใช้รถยนต์บนท้องถนน เท่ากับช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2022 7:47 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เดินหน้าสายสีเขียวโคราช
Source - ข่าวหุ้น
Monday, October 31, 2022 04:57

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา รฟม.จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ที่โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ทั้งนี้ การจัดประชุมฯ ดังกล่าว สืบเนื่องมาจากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียวฯ มีมูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา ต่อมาในปี 2564 กระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้รฟม.ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค รฟม.จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมของสัญญาจ้างกลุ่มที่ปรึกษา NMGC ให้ศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับโครงการฯ

สำหรับการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้ รฟม.ได้นำเสนอผลการศึกษาระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ คือ 1.ระบบ Steel Wheel Tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน 2.ระบบ Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง และ 3.ระบบ E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องคือ ด้านวิศวกรรมและจราจร, ด้านการลงทุนและผลตอบแทน และด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมาที่สุดคือ ระบบ E-BRT รองลงมาคือระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ

ทั้งนี้ รฟม.และกลุ่มที่ปรึกษา NMGC ได้รับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความสมบูรณ์ ประกอบการรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2568 และเปิดให้บริการปี 2571

ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 31 ต.ค. 2565


เลิกทั้งหมดรถไฟฟ้า5จังหวัด
Source - เดลินิวส์
Tuesday, November 01, 2022 04:47

รื้อศึกษารื้อศึกษาเปลืองงบ

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมาย รฟม. ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาฯ ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

นายสาโรจน์ กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการซึ่งแต่เดิมเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) พบว่า มูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M) ประกอบกับกระทรวงคมนาคมมี นโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้า ล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมาย ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ และทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่เป็นไปได้มากที่สุด เพื่อเสนอขอความเห็นชอบกระทรวงคมนาคมต่อไป

ด้านนายวุฒิชัย พรรณเชษฐ์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การทบทวนครั้งนี้เป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมเบื้องต้นในส่วนที่จำเป็น อาทิ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร, แผนการเดินรถเบื้องต้น, รูปแบบแนวเส้นทางโครงการ, ประมาณการวงเงินลงทุน, รายได้ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน ในส่วนของแนวเส้นทางโครงการเพื่อลดต้นทุนได้ปรับรูปแบบจากเดิมผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน (จากแยกกองกำลังผาเมืองถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่) ระยะทาง 15.7 กม.16 สถานี เป็นระดับดินตลอดเส้นทาง 16.7 กม. 16 สถานี

เดิมเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก ประเภท Tram วิ่งบนราง การทบทวนครั้งนี้มีรูปแบบที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) 2.รถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) พบว่ารถไฟฟ้าล้อยางระดับดินตลอดแนวเส้นทางเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากค่าลงทุนงานก่อสร้างและเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และดำเนินการค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าระบบอื่น ๆ

นายวุฒิชัย กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าล้อยางระดับดินมีวงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท รถไฟฟ้าล้อเหล็กทั้งระดับดินและใต้ดินวงเงิน 26,595 ล้านบาท คาดว่าจะศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานอีไอเอและรายงาน PPP แล้วเสร็จเดือน ธ.ค. 65 พิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถเดือน ม.ค.66-ม.ค. 67 เสนอ ครม. อนุมัติ ม.ค. 67 คัดเลือกเอกชน PPP ส.ค. 67-ส.ค. 68 เริ่มงานก่อสร้าง ก.ย. 68 และเปิดบริการเดือน ธ.ค. 71

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ไม่นานผลการศึกษาของรฟม.ระบุถึงการไม่คุ้มทุนของโครงการแทรมนครราชสีมา (โคราช) เสนอเปลี่ยนเป็น BRT ขณะที่แทรมภูเก็ตให้เปลี่ยนเป็น ART (รถเมล์ไฟฟ้าล้อยาง) เช่นกัน ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ส่วนแทรมขอนแก่นและโมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา ครม. มอบท้องถิ่นดำเนินการ แต่ทั้ง 2 จังหวัดยัง ไม่มีเงินลงทุน มีแนวโน้มที่จะสรุปได้ว่าต้องล้มโครงการรถไฟฟ้าใน 5 จังหวัดไปก่อน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2565 (กรอบบ่าย)

Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
31 ต.ค. 65 13:28 น.
ลาก่อน!!! ความฝันรถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ล้มทั้งหมด
*ยกเลิก “แทรมเชียงใหม่”เปลี่ยนเหล็กเป็นล้อยาง
*รฟม.รื้อศึกษารื้อศึกษาสนองนโยบาย”ศักดิ์สยาม”
*ปรับเส้นทาง ”อุโมงค์เป็นวิ่งระดับดินตลอดสาย”
*เหตุผลหลักลดต้นทุนเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/669157191328185


รฟม.เปิด 4 โปรเจครางภูมิภาค ลุยตอกเสาเข็มปี 67 รับเมืองขยายตัว
กรุงเทพธุรกิจ 13 พ.ย. 2565 เวลา 6:09 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเตรียมทุ่มงบกว่า 5 หมื่นล้านบาท เดินหน้า 4 โครงการระบบขนส่งทางรางในภูมิภาครับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ตั้งเป้าทยอยตอกเสาเข็มภายในปี 2567

ในปลายปีนี้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีโครงข่ายระบบรางเชื่อมต่อการเดินทางเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้ารางเบา (โมโนเรล) สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ซึ่งจะส่งผลให้โครงข่ายระบบรางในหัวเมืองหลักอย่างกรุงเทพฯ สมบูรณ์แบบมากขึ้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเดินหน้าขยายโครงข่ายระบบรางไปยังหัวเมืองภูมิภาคต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ผลักดันการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยตามเป้าหมายขณะนี้มี 4 โครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างศึกษา ในวงเงินลงทุนรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง

วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท

ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นจะมีการนำเสนอโครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 ภายในเดือน พ.ค.- เม.ย.2567 คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน พ.ค.2567-มิ.ย.2568 ก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ ในเดือน ก.ค.2568-พ.ย.2570 และเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.2570 เพื่อให้ทันการจัดงาน Specialised Expo 2028 ที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ


โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

วงเงินลงทุน 2,300 ล้านบาท

ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าโครงการจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ในปี 2571 โดยจากการวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมและจราจรด้านการลงทุนและผลตอบแทนและด้านสิ่งแวดล้อม และเปิดรับฟังข้อคิดเห็นจากชาวโคราช พบว่าระบบรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมมากที่สุด

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง)

ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

วงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท

ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร 16 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าการจัดทำรายงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP) จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2565 หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ ก่อนเสนอโครงการไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือน ม.ค.2567 และเริ่มคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน ส.ค.2567 โดยมีกำหนดเริ่มงานก่อสร้างในเดือน ก.ย.2568 แล้วเสร็จเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.2571

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง)

ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก

วงเงินลงทุน 3,440 ล้านบาท

ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร 15 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยวต่อวันในปี 2574


รฟม.ทบทวนรถไฟฟ้าในภูมิภาค 4 จังหวัด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, November 17, 2022 05:03

รื้อแบบ "ภูเก็ต" โละ "แทรม" ล้อเหล็กเซฟค่าลงทุน ชูโมเดล ART หรือ E-BRT ชง "คมนาคม" ชี้ชะตา

แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Trams) ใน 4 จังหวัด ได้แก่ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักที่มีจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยว หนาแน่น ทำให้มีปัญหาจราจรติดขัด รถไฟฟ้าจึงเป็นขนส่งสาธารณะแห่งความหวังที่จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น เหมือนในกรุงเทพฯ แต่นับจากปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษา "รถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาค" ต้องหยุดชะงัก พร้อมกับด้านนโยบายมีแนวคิดปรับรูปแบบใหม่ เพื่อลดค่าลงทุนและหวังให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด...

จุดเปลี่ยน! รื้อแบบแปลงร่าง "แทรม" ภูเก็ตจาก "ล้อเหล็ก" เป็น "ล้อยาง"

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรมากว่า 10 ปีแล้ว "แทรมล้อเหล็ก" เป็นระบบขนส่งมวลชนที่คนภูเก็ตให้การสนับสนุน และหวังช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งเดิมสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไว้ จากนั้นได้มอบหมายให้ รฟม.รับผิดชอบโครงการโดยดำเนินการ ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยจะดำเนินการระยะที่ 1 ช่วง ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. เริ่มก่อสร้างปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2567

แต่!!!แผนต้องมาสะดุด และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโครงการเมื่อ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษาปรับปรุงรูปแบบโครงการใหม่เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง ซึ่งกระทรวงคมนาคม รายงานว่า ยังมีเทคโนโลยีอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแทรมล้อเหล็ก เช่น ระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) หรือ ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)โดยใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นต้น

"ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนในพื้นที่ ที่ยังต้องการ แทรมป์ล้อเหล็ก และเกรงว่าโครงการจะยิ่งล่าช้าออกไป"
รฟม.ควักงบ 55 ล้านบาท จ้างรีวิว-ปรับแบบ ชี้ชะตา "ระบบขนส่งภูเก็ต" อีกรอบ

"ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า รฟม.ตั้งงบประมาณ 55.8 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย

โดยเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2565 รฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้าง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นที่ปรึกษาวงเงิน 55 ล้านบาท เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study Review) โดยเปรียบเทียบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่ เหมาะสม คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร เทคนิค ราคา สิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและการเงิน แผนการเดินรถ ฯลฯใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน

"ศักดิ์สยาม" ให้โจทย์เพิ่ม ศึกษารูปแบบ EV-BRT เปรียบเทียบต้นทุน

ล่าสุด "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ว่า รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนโครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและปรับลดวงเงินการลงทุนให้ได้มากที่สุด และทำให้โครงการเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาเดิมจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก หรือ แทรม ต่อมาปรับเป็นระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) ปัจจุบันตนได้มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษารูปแบบที่ 3 เพิ่มเติม คือระบบรถเมล์ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ EV-BRT เปรียบเทียบด้วย ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ทั้งนี้หากเป็นรถเมล์ไฟฟ้า รูปแบบการให้บริการจะเป็นการจัดช่องทางเดินรถเฉพาะ บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) โดยมีรั้วหรือแบริเออร์กั้นช่องจราจรจากรถยนต์อื่นๆ รวมถึงมีระบบเครื่องกั้นอัตโนมัติในการบริหารความปลอดภัย โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ร่วมพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบดังกล่าว

การลงทุน EV-BRT ไม่สูงมาก ดังนั้นจะส่งผลไปถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารจะไม่แพงไปด้วย อีกทั้งยังสามารถ ผลักดันเพื่อเริ่มให้บริการเฟสแรกได้เร็ว โดยเห็นว่าการลงทุน น่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับ รถโดยสารใน กทม. ที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถกับกรมการขนส่งทางบก โดยเป็นรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) โดยกรมการขนส่งทางบก ให้สัมปทานและกำกับดูแล ส่วนเอกชนจะลงทุนทั้งการจัดหารถการบริหารจัดการ รวมไปถึงควบคุมระบบเครื่องกั้นและสัญญาณจราจร

ขีดเส้น รฟม.สรุป ในพ.ย. เตรียมลง "ภูเก็ต"

ศักดิ์สยามระบุว่า "ขณะนี้รูปแบบยังไม่สรุป ดังนั้นยังเป็นไปได้ทั้งรถ EV-BRT หรือ ระบบ ART ซึ่ง ART ก็เป็นไปได้ทั้งแบบ วิ่งบนถนนโดยแบ่งช่องจราจร และมีการควบคุมจราจร หรือ เป็น ART เต็มรูปแบบ คือมีทางยกระดับหรืออุโมงค์ บริเวณจุดตัด/ทางแยก ตรงนี้ต้องมาดูค่าลงทุนและค่าโดยสารที่เหมาะสมในแต่ละรูปแบบ ซึ่งผมให้เวลาสรุปเรื่องนี้ภายในสิ้นเดือน พ.ย. นี้ เพราะผมต้องการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อผลักดันเป็นโครงการนำร่อง และจะทำให้ระบบขนส่งมวลชนในอีกหลายจังหวัดใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาได้"

แต่หากจะมีการพัฒนาเป็นระบบ ART เต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องก่อสร้างทางยกระดับหรืออุโมงค์ ในช่วงที่เส้นทางตัดกับถนน เห็นว่าควรให้การพัฒนาโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่- เกาะแก้ว-กระทู้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางเพราะในช่วงที่มีการก่อสร้างจะมีปัญหาจราจรอย่างแน่นอน

"ผลศึกษาระบบ ART แม้ค่าลงทุนจะลดลงจากแทรมล้อเหล็ก แต่ก็ยังมีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งจะเก็บค่าโดยสาร 50 บาท เปรียบเทียบกับ EV Bus ในกทม. ค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาท และราคาเหมา 40 บาท นั่งได้ไม่จำกัดตลอดวัน ผมเห็นว่า ที่ภูเก็ตหากสามารถปรับเป็น EV Bus ได้ก็น่าจะเหมาะสม"
ตามผลศึกษา รฟม.ก่อนหน้านี้ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองระยะทาง 42 กม. เปรียบเทียบกรอบวงเงินลงทุนของ 3 รูปแบบได้แก่

1. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อเหล็ก วงเงินรวม 35,201 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 24,774 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น2,921 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่า ที่ปรึกษา 1,065 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,428 ล้านบาท คาดจำนวนผู้โดยสารประมาณ 39,000 คนต่อวัน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุน EIRR ต่ำมาก

2. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อยาง วงเงินรวม 33,600 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 22,339 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น 3,955 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 990 ล้านบาทค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,363 ล้านบาท

3. รถโดยสารประจำทางอัจฉริยะ (ART) วงเงินรวม 17,754 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,447 ล้านบาท ค่างานโยธา 10,861 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,000 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น1,236 ล้านบาท (มี 44 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 518 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 692 ล้านบาท

เชียงใหม่ สายสีแดง ศึกษาใหม่ พบรถไฟฟ้าล้อยางวิ่งระดับดินคุ้มค่า

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. และ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กม. อยู่ระหว่างที่ปรึกษาศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานและทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และอยู่ในขั้นตอนการสรุปผลการศึกษา รายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมภายปลายปี 2565

สำหรับรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูง ส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษาประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยาง

การศึกษา 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย 2. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3. ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

เปรียบเทียบด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับปริมาณ ผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)

พบว่ารูปแบบที่ 3 ระบบรถไฟฟ้าล้อยางที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากลดต้นทุนโครงการ ลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน และผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน

โคราช สายสีเขียวฯ เหมาะกับรูปแบบ E-BRT หรือ รถโดยสารไฟฟ้า

สำหรับจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียวฯ การศึกษาเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่ 1. Steel Wheel Tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) 2. Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (Guided Light Transit) หรือระบบรางเสมือน (Track Less) และ 3. E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบ ในมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี, ความ เหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองนครราชสีมา, ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร, ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ, ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านผล กระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้างและในระยะดำเนินการ พบว่าระบบ E-BRT เหมาะสมที่สุด รองลงมาคือระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ

ขณะที่อัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 10 บาท และคิดอัตราตามจำนวนสถานีแบบขั้นบันได สถานที่ 1-8 (14 บาท) สถานีที่ 9-16 (18 บาท ), มากกว่า 18 สถานี (22 บาท)

"พิษณุโลก" ครม.เห็นชอบเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ยังนิ่งสนิท

ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดพิษณุโลก นั้นหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ซึ่งตามผลศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่สนข.ทำไว้ ระยะที่ 1 สายสีแดง (ม.พิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) ระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานีโดยเป็นระบบขนส่งรูปแบบ "รถรางล้อยาง" หรือ Auto Tram

ลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า ส่วนเอกชนลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมูลค่าการลงทุนโครงการประมาณ3,440 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับ 13.01%

แผนเดิม จะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2574

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหลักในภูมิภาค เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาจราจร สร้างงาน สร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว แต่เพราะรถไฟฟ้าลงทุนสูง มีผลตอบแทนต่ำ เอกชนอาจไม่สนใจลงทุน ท้ายสุดรัฐบาลต้องเข้าไปอุดหนุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รวมไปถึงต้องมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มทั้งผลตอบแทนการลงทุนและปริมาณ ผู้โดยสารได้อีกทาง...แต่โจทย์ใหญ่ของ รฟม.ตอนนี้ คือต้องหาโมเดลระบบเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่าและเหมาะสม ตามนโยบาย "รมว.คมนาคม" ให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นคงต้องเสียเวลา...รื้อ รีวิว ทบทวนการศึกษากันอีก!!!.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2023 7:16 am    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจกต์โคราชรุดหน้าก่อสร้างปีนี้ อุโมงค์ทางลอดกลางเมือง2แห่งได้งบฯรวด1,300ล้าน
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, February 27, 2023 04:07

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - เมกะโปรเจกต์โคราชเดินหน้าต่อเนื่อง ทั้งไฮสปีดเทรน รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์และท่าเรือบก เฮลั่นอุโมงค์ทางลอด 2 แห่งแก้ปัญหาการจราจรกลางเมืองโคราชได้รับอนุมัติงบฯแล้วรวมกว่า 1,300 ล้าน คาดเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ แล้วเสร็จปี 2568

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะอนุ กรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดนครราชสีมา (อจร.นม.) ที่ห้องนางสาวบุญเหลือ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐหรือเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมีโครงการสำคัญ คือ โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย

ผู้แทนกรมการขนส่งทางรางและผู้แทน รฟท.รายงานว่า รถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯนครราชสีมา) มีความคืบหน้าในภาพรวม 14.14% งานก่อสร้างโยธาแบ่งเป็น 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 9 สัญญา ลงนามสัญญา 1 สัญญา และอยู่ระหว่างประกวดราคา 3 สัญญา

รถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 (นครราชสีมาหนองคาย) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกแบบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 คาดว่าจะส่งให้การรถไฟฯ ภายในเดือน ก.ย. 2565 ก่อน เสนอสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาดำเนินการ

ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ และช่วงชุมทางจิระอุบลราชธานี ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง, ผู้แทน รฟท.ชี้แจงว่า 1. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ อยู่ระหว่างดำเนิน การ 3 สัญญา (สัญญาที่ 1) ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร คืบหน้า 95.17% สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ คืบหน้า 92.15% และสัญญาที่ 4 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ส่วนสัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนแบบรูปแบบรายละเอียด การรถไฟฯ อยู่ระหว่างเสนอรูปแบบทางเลือกโครงสร้างทางรถไฟเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณา กรณีมีการร้องเรียนช่วงเทศบาลบ้านใหม่ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา ต้องการให้ปรับรูปแบบคันทางรถไฟในพื้นที่ให้เป็นโครงสร้างยกระดับเพื่อลดปัญหาเรื่องการระบายน้ำและการจราจร

2. ช่วงชุมทางจิระ-อุบลราชธานี ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เห็นชอบรายงาน EA เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 3 เส้นทาง (ช่วงขอนแก่น-หนองคาย, ช่วง ชุมทางถนนจิระ อุบลราชธานี และช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย) เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเสนอขออนุมัติโครงการต่อไป ขณะที่ตัวแทนจากเทศบาลนครนครราชสีมาขอรับแบบรูปการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในช่วงที่ผ่านเขตเทศบาลฯ เพื่อพิจารณาว่ารูปแบบการก่อสร้างมีผลกระทบต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนในระหว่างการก่อสร้างฯ โดยเฉพาะระบบประปาซึ่งมีการวางท่อใต้ดิน

สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ผู้แทน รฟม.ชี้แจงว่า กระทรวงคมนาคมขอให้ทำการศึกษารูปแบบการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับงบประมาณและจำนวนผู้โดยสาร มีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มเติม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 พิจารณาเทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในแต่ละจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็นทางเลือกวิเคราะห์ในด้านต่างๆ และจะมีการนำผลการศึกษาลงพื้นที่ไปรับฟังความคิดเห็น คาดว่า จะลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาได้ในเดือนตุลาคม 2565 นำผลการศึกษาไปรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน คาดว่า จะศึกษาแล้วเสร็จในปี 2565 แล้วนำเสนอกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง ก่อนเสนอเข้า ครม.ในปี 2567

ทางด้านความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ผู้แทน กทท.ชี้แจงว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินการเบื้องต้น ดังนี้ ปี 2566-2567 การท่าเรือฯ พิจารณาคัดเลือกพื้นที่และศึกษาความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ของ PPP, ปี 2568 เสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการ PPP และเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการ PPP ท่าเรือบกนครราชสีมา, ปี 2569 เป็นขั้นตอน PPP ของการคัดเสือกเอกชนตามมาตรา 32 และจะมีการเวนคืนจะเริ่มออก พ.ร.ฎ.เวนคืน และจ้างที่ปรึกษาสำรวจ, ปี 2570 จ่ายค่าชดเชยที่ดิน, ปี 2571-2572 เริ่มก่อสร้าง, ปี 2573 เปิดให้บริการ

ทั้งนี้ จะมีการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ระยะเวลาการศึกษา 210 วัน ปี 2566-2570 คู่ขนานกันไป ซึ่งสามารถแก้ไขรูปแบบได้ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง

ด้านความคืบหน้าโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา หรือมอเตอร์เวย์ (M6) และโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับเชื่อมสายบางปะอิน-นครราชสีมา กับทางหลวงชนบทหมายเลข ขม.1120 (ถนนสุรนารี 2) อำเภอเมืองนครราชสีมา ผู้แทนกรมทางหลวงชี้แจงว่า 1. โครงการมอเตอร์เวย์ (M6) มีทั้งหมด 40 ตอน สำหรับในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามี 20 ตอน แล้วเสร็จ 17 ตอน คงเหลือ 3 ตอน รอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมปี 2566 ผลงานภาพรวม 98.28%

2. โครงการก่อสร้างทางเชื่อมระหว่างมอเตอร์เวย์กับถนนสุรนารี 2 ระยะเวลาดำเนินการ 840 วัน สิ้นสุด สัญญาวันที่ 3 มกราคม 2567 ผลงาน 24.19% เร็วกว่าแผน 3.39% ข้อเสนอจากหน่วยงานในพื้นที่ ผู้แทนภาคประชาชน ขอทราบความก้าวหน้าโครงการฯ ตอนที่ 39 ในช่วงบริเวณอำเภอขามทะเลสอ กรณีสะพานข้ามทางมอเตอร์เวย์ไม่มีทางเชื่อมต่อกับถนน จำนวน 2 สะพาน ซึ่งเบื้องต้นได้รับทราบข้อมูลว่าไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2566 และกรมทางหลวงได้ของบประมาณประจำปี 2567

ขณะที่ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวงหมายเลข 224 แยกนครราชสีมา (บิ๊กชี) และบริเวณทางแยกบ้านประโดก (พีกาชัส) ผู้แทนกรมทางหลวงชี้แจงว่า จุดที่ 1 อุโมงค์แยกนครราชสีมา (บิ๊กชี) ลักษณะโครงการจะเป็นอุโมงค์ทางลอด 2 ช่องจราจร (ทิศทางไปสระบุรี) อยู่ในงบประมาณปี 2566 งบประมาณ 480 ล้านบาท และ 2. อุโมงค์แยกประโดก (พีกาชัส) เป็นทางลอด 6 ช่องจราจรไป 3 ช่องจราจรกลับ 3 ช่องจราจร อยู่งบประมาณปี 2566 งบประมาณ 850 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ภายในเดือน ก.ย. 66 จะดำเนินการก่อสร้างได้ โดยทั้ง 2 อุโมงค์คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2568.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 27 ก.พ. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 8 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©