Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179899
ทั้งหมด:13491131
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 325, 326, 327 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/05/2022 7:28 am    Post subject: Reply with quote

โชว์4นวัตกรรมระบบรางอัจฉริยะ
Source - เดลินิวส์
Thursday, May 12, 2022 04:06

นายโธมัสค์ มาซัวร์ ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อ ให้บรรลุเป้าหมายการยกระดับระบบรางให้อัจฉริยะและมีความสมบูรณ์แบบด้วยระบบดิจิทัล จึงร่วมเป็นส่วนสำคัญใน การขับเคลื่อนเทคโนโลยีการรถไฟให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในงาน Asia Pacific Rail 2022 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

โดยวันที่ 12 พ.ค. นี้ จะนำไฮไลต์นวัตกรรมดิจิทัล ในระบบขนส่งที่สามารถรองรับการเดินทางหลายประเภท เหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจและความเป็นเมือง พร้อมช่วยผลักดันให้ขนส่งระบบรางของประเทศไทยเทียบชั้นกับระดับโลกมานำเสนอ 4 เรื่อง ดังนี้

1.ระบบ Mobility-asa- Service หรือ MaaS เทคโนโลยีการวิเคราะห์และเปลี่ยน รูปแบบการเดินทาง และช่วยให้ผู้โดยสารออกแบบการเดินทางได้ด้วยตัวเอง

2.ระบบการจัดการสินทรัพย์ทางรางดิจิทัล Railigent ซึ่งเป็น AI วิเคราะห์และวางแผนการซ่อมบำรุงดูแลรักษา ช่วยลดต้นทุนในการดูแลรักษาได้มากกว่า 15%

3.นวัตกรรมรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดเวลาเดินทางด้วยความเร็วสูงสุดที่ 360 กม.ต่อชม. และลดปริมาณการใช้พลังงานมากถึง 30% และ

4.แบบจำลอง GCP 5000 ระบบอุปกรณ์เครื่องกั้นรถไฟแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของรถไฟที่กำลังแล่นเข้ามาและเริ่มระบบเตือนเครื่องกั้นทางรถไฟได้อย่างน่าเชื่อถือ นอกจากนี้จะนำเสนอเทรนด์การขนส่งแห่งอนาคตผ่านการนำเสนอองค์ความรู้สำคัญ อาทิ แนวทางป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในการขนส่งแบบไร้คนขับที่เชื่อมต่อด้วย 5G แนวทางการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับระบบรางด้วย

นายโธมัสค์ กล่าวต่อว่า ซีเมนส์ โมบิลิตี้ได้เร่งพัฒนาระบบให้มีความสมบูรณ์แบบ เพื่อตอบโจทย์กับเส้นทางรางทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยที่กำลังยกระดับการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย กว่า 20 ปีที่ผ่านมา ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ภูมิใจที่ได้ร่วมบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ด้านระบบราง ในไทย โดยเฉพาะล่าสุดกับการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ สายจิระ-ขอนแก่น ที่แล้วเสร็จเมื่อปี 63 เป็นตัวอย่างความสำเร็จขนส่งทางรางอัจฉริยะที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีระบบป้องกันเหตุอันตรายของขบวนรถโดยอัตโนมัติ (ATP) ตามมาตรฐานการเดินรถไฟในกลุ่มประเทศยุโรป ETCS Level 1 สามารถใส่คำสั่งการควบคุมความเร็ว และการหยุดขบวนรถแบบอัตโนมัติเพิ่มเติมได้ หากมีการขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกำหนด หรือฝ่าฝืนสัญญาณ ระบบจะเบรกเพื่อลดความเร็วลง หรือสั่งให้หยุดโดยอัตโนมัติทันที ถือเป็นความปลอดภัยที่มีระดับ และทำให้ผู้โดยสารไว้วางใจได้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 12 พ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/05/2022 8:11 am    Post subject: Reply with quote

พักสายตา 1 นาที Time Lapse บางมุมของโครงการรถไฟทางคู่ลพบุรี ปากน้ำโพ ช่วงถนนเลี่ยงเมืองจังหวัดลพบุรี
May 12, 2022
sawang songmue นานาสาระ


https://www.youtube.com/watch?v=hG4CqD5wY4k
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2022 6:43 am    Post subject: Reply with quote

รอลุ้นรถไฟลอยฟ้า ทางคู่สายอีสาน
โดย: กิตตินันท์ นาคทอง
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 00:53 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 00:53 น.


กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

เมื่อวันก่อนแวะไปเยือน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ก่อนจะกลับเข้ากรุงเทพฯ ปกติถ้าเอาสะดวกเข้าว่า ก็จะเลือกนั่งรถมินิบัส (สมัยก่อนคือรถตู้) กรุงเทพฯ-ปากช่อง เสียค่ารถ 160 บาท ใช้เวลาเดินทางราว 2-3 ชั่วโมง

แต่คราวนี้ครึ้มอกครึ้มใจอยากนั่งรถไฟ ก็เลยขอเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

ทีแรกนึกว่าจะไม่ได้นั่งรถไฟกลับแล้ว เพราะวันนั้นเป็นวันหยุดยาววันสุดท้าย ก่อนจะถึงวันทำงาน ฟังจากพนักงานขายตั๋ว กล่าวกับคนข้างหน้าที่จะซื้อตั๋วไปลงอยุธยาว่า ขบวน 136 อุบลราชธานี-กรุงเทพ ที่จะเดินทางนั้นเต็มแล้ว

แต่พอมาถึงคิวผู้เขียนทราบว่า เหลือ 1 ที่นั่ง ก็เลยโชคดีไป เพราะถ้ารอขบวนต่อไปก็ช่วงทุ่ม-สองทุ่ม

เอาจริงๆ ค่าโดยสารจากปากช่องไปกรุงเทพฯ ถูกที่สุดคือขบวนรถธรรมดาที่ 234 สุรินทร์-กรุงเทพ เพิ่งจะเปิดเดินรถเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมานี่เอง ชั้น 3 ราคาเพียง 36 บาท แต่รถจะผ่านสถานีปากช่องเวลาประมาณ 10 โมงเช้า

ถ้าเป็นขบวนรถเร็ว ที่มี 2-3 ขบวน ค่าโดยสารชั้น 3 จะอยู่ที่ 86 บาท ชั้น 2 นั่งพัดลม 132 บาท แต่ถ้าเป็นรถด่วน เช่น ขบวน 72 อุบลราชธานี-กรุงเทพ ค่าโดยสารชั้น 3 ราคา 186 บาท แต่ถ้าเป็นชั้น 2 ปรับอากาศ ราคา 292 บาท

ยิ่งเป็นรถด่วนพิเศษ ขบวน 22 อุบลราชธานี-กรุงเทพ ชั้น 2 ปรับอากาศ มีบริการอาหาร ราคา 392 บาท หรือรถด่วนพิเศษอีสานวัตนา ขบวน 24 อุบลราชธานี-กรุงเทพ เป็นรถนอน มาตอนตีหนึ่งครึ่ง ราคาเริ่มต้นที่ 682 บาท

แต่การเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงปากช่องมีหลายตัวเลือก เพราะฉะนั้น สะดวกแบบก็ไหนเลือกแบบนั้น

สถานีรถไฟปากช่อง ขณะนี้ กำลังก่อสร้างอาคารใหม่ใน โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ แต่สถานีเดิมยังคงให้บริการตามปกติ จนกว่าอาคารใหม่จะแล้วเสร็จ

อาคารใหม่ของสถานีปากช่อง จะแบ่งออกเป็น 4 ชานชาลา โดยมีสะพานลอยจากตัวสถานี ไปยังชานชาลาที่ 2 และชานชาลาที่ 3-4 โดยจะเป็นชานชาลาสูง 1.10 เมตร รองรับผู้พิการ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีสัมภาระติดตัวจำนวนมาก

แต่สถานีปากช่องแห่งนี้ ไม่ใช่ที่ตั้งเดียวกับ สถานีรถไฟความเร็วสูง (HSR) กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เพราะสถานี HSR ปากช่องจะห่างออกไปอีก 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินของกรมพลาธิการทหารบก ปากช่อง ใกล้กับสถานีซับม่วง

ถ้านึกไม่ออกก็คือ จากตัวเมืองปากช่อง ถนนมิตรภาพสายเก่า เลี้ยวซ้ายที่หน้าธนาคาร ธ.ก.ส. ไปทางบ้านลำสมพุง อีก 4 กิโลเมตร ข้ามทางรถไฟ ตัวสถานีจะอยู่ขวามือ หากนับจากสถานีรถไฟปากช่อง ขับรถไปก็เกือบ 6 กิโลเมตร


ขบวนที่ 136 อุบลราชธานี-กรุงเทพ มาถึงสถานีปากช่องเวลา 14.20 น. ช้ากว่ากำหนดประมาณ 20 นาที วันนั้นผู้โดยสารเกือบเต็มขบวนแต่ไม่แน่น เพราะเป็นรถไฟแบบระบุเลขที่นั่ง

ระหว่างทางจะได้เห็นการก่อสร้างทั้งโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นระยะ โดยเฉพาะช่วงที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร

อาจจะมีคนค่อนแคะว่า รถไฟความเร็วสูงสร้างมาตั้งนาน เสร็จแค่ 3.5 กิโลเมตร อันนี้ไม่เถียง จากที่สังเกตริมหน้าต่าง เส้นทางนี้จะเห็นภูเขาและพระขาวองค์ใหญ่ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ไกลสุดลูกหูลูกตา

แต่ต่อไปเมื่อมีการก่อสร้างรางรถไฟ ปักเสาจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะแล้ว อาจจะไม่ได้เห็นภาพในแบบเดิมอีก


ไฮไลต์หนึ่งเมื่อผ่านสถานีกลางดงมาแล้ว จะเริ่มเห็น "ทางรถไฟยกระดับ" ตรงขึ้นไป ซึ่งก่อสร้างได้น่าตื่นตาตื่นใจมาก แต่ตอนนี้รถไฟจะเลี้ยวโค้งไปอย่างช้าๆ ม้วนไปรอบหนึ่ง เข้าโค้งแถววัดน้ำพุ ก่อนจะเข้าสถานีมวกเหล็ก จ.สระบุรี

จากตรงนี้เลยไปอีกหน่อย จะมี สถานีรถไฟมวกเหล็กใหม่ บริเวณด้านหลังโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช มวกเหล็ก ห่างจากตัวอำเภอมวกเหล็กไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร

วัตถุประสงค์ที่สร้างเป็นทางยกระดับ ด้วยเหตุผลทางด้านวิศวกรรม เนื่องจาก อ.มวกเหล็ก เป็นพื้นที่แอ่งกะทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา จึงยกระดับและตัดทางรถไฟใหม่ ยาว 4.8 กิโลเมตร และมีความสูงถึง 40-50 เมตร

ในอนาคตนอกจากจะเป็นทางรถไฟยกระดับที่สูงที่สุด สวยที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทยแล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาจากเดิมที่ต้องเข้าโค้งอ้อมไปอย่างช้าๆ กว่าจะถึงสถานีมวกเหล็ก ก็ขึ้นทางยกระดับตรงดิ่งไปเลย


อีกหนึ่งจุดที่เป็นไฮไลต์ คือ อุโมงค์รถไฟมาบกะเบา-หินลับ ระยะทาง 5.2 กิโลเมตร ว่าที่อุโมงค์รถไฟยาวที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างขึ้นเพื่อย่นระยะเวลาที่รถไฟผ่านภูเขาและป่าบริเวณผาเสด็จ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

ใครที่นั่งรถไฟสายอีสานเป็นประจำจะทราบดีว่า หลังออกจากสถานีมาบกะเบาไปแล้ว รถไฟจะค่อยๆ เลาะไปตามป่าตามเขาอย่างช้าๆ ประมาณ 15-30 นาที กว่าจะกลับมาทำความเร็วได้ที่สถานีหินลับ

แต่เมื่อเปิดใช้อุโมงค์รถไฟแห่งนี้ จะช่วยให้การเดินรถไฟจากเดิมเสียเวลาเลาะภูเขาไปอย่างช้าๆ ประมาณ 15-30 นาที ให้เหลือเพียงแค่ประมาณ 10 นาที เพราะรถไฟจะลอดอุโมงค์ใต้ภูเขาไปเลย



ที่น่าสนใจก็คือ ผาเสด็จ ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ ในการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จมาประทับเมื่อคราวสร้างทางรถไฟ

สถานีนี้แม้จะไม่ได้ผ่านเขตชุมชน อยู่ห่างจากถนนมิตรภาพประมาณ 2.5 กิโลเมตร แต่ก็พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย ชะง่อนหินใหญ่ริมทางรถไฟ ศาลหลวงพ่อผาเสด็จ และพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕

แม้ในวันข้างหน้าจะเปิดใช้อุโมงค์รถไฟ แต่ก็คิดว่าจะคงทางรถไฟเดิมเอาไว้ เพราะยังมีภาคเอกชนอย่าง บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ใช้ทางรถไฟเส้นนี้ขนส่งสินค้าปูนซีเมนต์และปุ๋ย จากโรงงานย่านสถานีหินลับไปทั่วประเทศ


พ้นจากสถานีมาบกะเบาแล้ว จะเป็นทางคู่และทางสาม รถไฟเริ่มทำความเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านสถานีชุมทางแก่งคอย สระบุรี ชุมทางบ้านภาชี อยุธยา รังสิต ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน ชุมทางบางซื่อ ถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ระหว่างทางจะสังเกตได้ว่า ตอนนี้เริ่มก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กันบ้างแล้ว ที่ชัดเจนที่สุดก็คือย่านสถานี HSR สระบุรี จะก่อสร้างใหม่บริเวณละแวกศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี (ด้านหลังห้างโรบินสัน สระบุรี)

ผ่านสถานีชุมทางบ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา แม้ไอศกรีมกะทิใส่ถ้วยในตำนานจะไม่มีอีกแล้ว แต่ข้าวเหนียวหมูทอด เนื้อทอด แหนมหมู แหนมปลากราย ห่อถุงพลาสติกไว้อย่างเรียบร้อย คนกินอย่างเราก็สบายใจขึ้นมาหน่อย

มาถึงสถานีชุมทางบางซื่อ เราตัดสินใจลงรถตรงนี้ เนื่องจากจะเปลี่ยนหัวขบวนมุ่งหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) หากนั่งรอบนขบวนรถไฟจะกินเวลาไปอีกนาน อีกทั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ ยังไปไหนมาไหนต่อได้


โครงการรถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ตอนนี้ก่อสร้างเฉพาะช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กิโลเมตร ได้แก่ สัญญา 1 ค่าก่อสร้าง 7,560 ล้านบาท และสัญญา 3 งานอุโมงค์รถไฟ ค่าก่อสร้าง 9,290 ล้านบาท

ส่วนช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างปรับแบบก่อสร้าง ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา สร้างเป็นทางยกระดับ ทุบสะพานสีมาธานีแล้วสร้างทางลอดแทน ขณะนี้จึงยังเป็นทางเดี่ยวอยู่

แม้ความคืบหน้าการก่อสร้างจะมีตัวเลขมากกว่า 90% และวางรางรถไฟกันบ้างแล้ว แต่ปัญหาก็คือ ทราบว่าบางช่วงยังเวนคืนที่ดินไม่เรียบร้อย ทำให้แผนการเปิดใช้งานทางคู่อาจต้องเลื่อนออกไป อย่างน้อยไปถึงปลายปี 2565

ส่วนตัวไม่ได้คาดหวังอะไรกับรถไฟความเร็วสูง เพราะตอนนี้เหมือนจะคืบหน้าแต่ไปไม่ถึงไหน แต่รถไฟทางคู่ที่ผ่านมา ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น เปิดใช้แล้วได้ผลดี หากเปิดได้ตลอดเส้นทางจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปก็จะดีกว่านี้

ต่อไปรถไฟไม่ว่าจะขนคน ขนสินค้า ก็จะไม่ต้องคอยสับราง ไม่ต้องระวังคนหรือสัตว์รอบข้างเพราะเป็นระบบปิด มีรั้วรอบขอบชิด รถไฟทำเวลาได้มากขึ้น คนเดินทางมีโอกาสถึงที่หมายตรงเวลายิ่งขึ้น

ได้แต่รอโอกาสจะได้ขึ้นรถไฟลอยฟ้าที่มวกเหล็ก คิดว่าวิวด้านบนคงต้องสวยมากแน่ ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2022 10:32 am    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร
13 พ.ค. 65 10:20 น.

constructio ความก้าวหน้างานก่อสร้าง

😊👉สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม – หนองปลาไหล
ผู้รับจ้าง บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนี่ยริ่ง 1964 จำกัด
ผลงานถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565
แผนงานสะสม = 97.820 %
ผลงานสะสม = 96.127 %
ช้ากว่าแผน = -1.693 %

😊👉สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน
ผู้รับจ้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
ผลงานถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565
แผนงานสะสม = 95.525 %
ผลงานสะสม = 94.885 %
เร็วกว่าแผน = 0.640 %

😊👉สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์
ผู้รับจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ผลงานถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565
แผนงานสะสม = 100.00%
ผลงานสะสม = 99.93 %
ช้ากว่าแผน = -0.07 %

😊👉สัญญาที่ 4 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย
ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เคเอส-ซี
ผลงานถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565
แผนงานสะสม = 100.00 %
ผลงานสะสม = 85.550 %
ช้ากว่าแผน = -14.450 %

😊👉สัญญาที่ 5 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร
ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เอสทีทีพี
ผลงานถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565
แผนงานสะสม = 100.00 %
ผลงานสะสม = 87.980 %
ช้ากว่าแผน = -12.020 %

https://www.facebook.com/southernlinetrackdoublingproject/posts/3195947967326604
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2022 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

ด่วน 13พ.ค.65 รับแจ้งเหตุเตือนภัยอุโมงค์ทางลอดทางรถไฟโนนทองหลาง ดินถล่มปิดทางลง เมื่อเวลา 12:30 น. เฝ้าระวังทางลอดอื่นๆด้วย เพราะสร้างด้วยมาตรฐานเดียวกัน ส่งมาจากสมาชิกเพจ ขอบคุณมากครับ
............................................
ที่มา_บัวใหญ่ พ่ะน่ะ BYPN
*** ทางลอดถล่ม ***
เรื่องนี้สำคัญ เพราะทางลอดเป็นพื้นที่ที่มีรถและผู้คนสัญจรไปมาทุกวัน และในเขตอำเภอเรา ก็ยังมีทางลอดอีกหลายแห่ง
มันจะถล่มลงเพราะอะไร ? เพจก็คงตอบไม่ได้ รู้แต่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มีพลังงานลึกลับอะไรมาทำให้ถล่มแน่นอน
รอให้ผู้มีความรู้ด้านมาตรฐานการก่อสร้างและวิศวกรรมเข้ามาตรวจสอบ หาเหตุ และคิดกันต่อไปว่า จะทำอย่างไร ?
ถัดจากทางลอด คือคอสะพานเกือกม้า ที่ทุกแห่งทรุดลงอย่างชัดเจนแล้ว
จะรอให้ถล่มก่อน หรือมีอะไรที่ดีกว่ารอ
https://www.facebook.com/TourBuayai/posts/2045235508994785/

ด่วน แจ้งเหตุเตือนภัยอุโมงค์ทางลอดทางรถไฟโนนทองหลาง ดินถล่มปิดทางลง เมื่อเวลา 12:30 น. เฝ้าระวังทางลอดอื่นๆด้วย เพราะสร้างด้วยมาตรฐานเดียวกัน
ส่งมาจากสมาชิกเพจ ขอบคุณมากครับ
https://www.facebook.com/TourBuayai/posts/2045221372329532

ชาวบ้านผวา ฝนตกหนัก ทำผนังทางลอดรถไฟทางคู่ถล่มปิดทาง วอนเร่งแก้ไข
วันที่ 14 พฤษภาคม 2565 - 10:42 น.


ผนังทางลอดรถไฟทางคู่ โดนฝนเซาะ ถล่มพังเสียหาย ชาวบ้านหวั่นทรุดตัว ถล่มปิดเส้นทาง ต้องปิดใช้งาน งดสัญจรผ่าน วอน รฟท.ตรวจสอบทุกจุดซ้ำเพื่อความปลอดภัย
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากชาวบ้านว่า ผนังอุโมงค์ทางลอดใต้รางรถไฟ โครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น ช่วงบ้านโนนทองหลาง ตำบลโนนทองหลาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ทรุดตัวพังถล่มเสียหาย บริเวณกว้างประมาณ 5 เมตร ต้องปิดช่องทางการจราจรไม่สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้ จึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบ

โดยพบว่าผนังคอนกรีตบริเวณทางลอดใกล้กับรางรถไฟ ได้เกิดการทรุดตัวลง ทำให้ดินที่อัดแน่นอยู่ภายในถล่มลงมาปิดเส้นทางสัญจร ความกว้างประมาณ 5 เมตร เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทองหลาง จึงได้นำแถบผ้าสีแดงสะท้อนแสง มาขึงกั้นเส้นทางขึ้น-ลง พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดใช้งานทางลอดดังกล่าวชั่วคราว เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้ใช้เส้นทางสะพานข้ามทางรถไฟที่อยู่ใกล้กันแทน

แต่เนื่องจากทางลอดดังกล่าว เป็นเส้นทางหลักในการเดินเท้าเข้าออกหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนที่ไม่สะดวกในการเดินขึ้นสะพานข้ามทางรถไฟ ต้องเปิดรั้วกั้นเพื่อเดินตัดรางรถไฟกันก่อนชั่วคราว จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งมาซ่อมแซมแก้ไข พร้อมขอให้ตรวจสอบความปลอดภัยของอุโมงค์ทางลอดจุดอื่นๆ ในโครงการ เนื่องจากใช้มาตรฐานการสร้างแบบเดียวกันทั้งโครงการ หวั่นว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน มีฝนตกหนัก อาจจะทำให้เกิดเหตุดังกล่าวซ้ำขึ้นมาอีก


Last edited by Wisarut on 15/05/2022 1:08 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2022 11:08 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวอุดรธานีร้องชวน! แก้ปัญหารถไฟทางคู่ รฟท.
12 พฤษภาคม 2565 เวลา 13:54 น.

ตัวแทนชาวอุดรอุดรธานีร้องชวน ช่วยแก้ปัญหาแบบรถไฟทางคู่ของ รฟท. หวั่นกระทบการจราจรถนนรอบเมืองหลายจังหวัด

12 พ.ค.2565 - นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนประธานสภารับหนังสือจากนายอัครเดช แพ่งศรีสาร ตัวแทนภาคประชาชนจังหวัดอุดรธานี เรื่องขอความอนุเคราะห์เชิญหน่วยงานหารือแนวทางการแก้ไขแบบรถไฟทางคู่ บริเวณจุดตัดทางหลวง 216 (บริเวณแยกบ้านจั่น จ.อุดรธานี)

โดยนายอัครเดช กล่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการศึกษา และออกแบบเส้นทางรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ผ่านเมืองอุดรธานี โดยรถไฟความเร็วสูงได้มีการออกแบบให้ยกระดับข้ามเมือง ตั้งแต่นอกเมืองข้ามบริเวณเขตเมืองทั้งหมด ซึ่งเป็นการดีที่ทำให้ไม่ส่งผลกระทบกับการจราจร แตกต่างจากการออกแบบของแบบรถไฟทางคู่ ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ยกระดับข้ามเขตเมืองอุดรธานีทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากโครงการแบบที่จะก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ของ รฟท. จึงอยากสอบถามว่าเหตุใด รฟท. จึงไม่ยกรางรถไฟทั้งสองขึ้นมาคู่กัน เพื่อให้การสัญจรเป็นไปได้ตามปกติ ไม่เกิดสภาพปัญหาการจราจรที่ติดขัด เนื่องจากบริเวณที่จะดำเนินการเป็นถนนรอบเมืองจากอุดรธานีไปสกลนคร และหนองคาย มีรถสัญจรบนถนนดังกล่าววันละจำนวนมาก ทั้งนี้ ที่ผ่านมาภาคประชาชนพยายามหารือในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหา แต่ รฟท.ไม่เคยส่งตัวแทนมารับฟังความเห็นประชาชนชาวอุดรธานีเลย

ชั้น2+ ไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก!* เบี้ยประกันรถดี เช็คเลย
DirectAsia
นพ.สุกิจกล่าวหลังรับหนังสือว่า ได้รับมอบหมายจากนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นผู้รับหนังสือแทน เนื่องจากติดภารกิจการประชุมที่ศาลฎีกา โดยจะขอรับหนังสือดังกล่าวไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2022 7:36 pm    Post subject: Reply with quote

งานวางคาน I-Girder โครงการรถไฟทางคู่บ้านกลับ-โคกกะเทียม โดยบริษัทสัญชาติไทย เริ่มต้นแล้ว 5 ช่วงเสา
May 15, 2022
sawang songmue นานาสาระ


https://www.youtube.com/watch?v=_GKheNxW7N0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2022 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
16 พ.ค. 65 20:58 น.

https://www.facebook.com/lopburipaknampho/posts/982306412481781

constructio อัพเดตความก้าวหน้าโครงการ เดือนเมษายน พ.ศ. 2565
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม
(ทางรถไฟยกระดับ)
ความก้าวหน้าสะสม = 72.02%
แผนงานสะสม = 88.04%
ช้ากว่าแผน = -16.02%

---------

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
16 พ.ค. 65 21:01 น.

https://www.facebook.com/lopburipaknampho/posts/982308949148194

constructio อัพเดตความก้าวหน้าโครงการ เดือนเมษายน พ.ศ. 2565
สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ
ความก้าวหน้าสะสม = 72.72 %
แผนงานสะสม = 97.57 %
ช้ากว่าแผนงาน = -24.85 %

----------

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
16 พ.ค. 65 21:16 น.

https://www.facebook.com/lopburipaknampho/posts/982322752480147

constructio อัพเดตความก้าวหน้าโครงการ เดือนเมษายน พ.ศ. 2565
สัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ST8)
ความก้าวหน้าสะสม = 16.01 %
แผนงานสะสม = 87.31 %
ช้ากว่าแผนงาน = -71.30%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/05/2022 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ดันลงทุนทางคู่เฟส 2 กว่า 2.66 แสนล้าน ผ่าน EIA แล้ว 3 สาย ลุ้น สศช.เคาะนำร่องประมูล "ขอนแก่น-หนองคาย" ปีนี้
เผยแพร่: 17 พ.ค. 2565 07:46
ปรับปรุง: 17 พ.ค. 2565 07:46
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รฟท.จัดแผนดันลงทุนรถไฟทางคู่เฟส 2 วงเงินกว่า 2.66 แสนล้านบาท เผยออกแบบเสร็จผ่าน EIA แล้ว 3 เส้นทาง ลุ้น สศช.ไฟเขียว ชง ครม.เคาะประมูลช่วงขอนแก่น-หนองคาย นำร่องในปี 65 พร้อมจ่อชงบอร์ดรฟท.อีก 2 สาย "ปากน้ำโพ-เด่นชัย" และ"จิระ-อุบล"

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,479 กม. วงเงินรวม 266,975.99 ล้านบาทว่า เป้าหมายของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ จำนวน 7 เส้นทาง เพื่อเติมเต็มโครงข่ายรถไฟที่มีให้เป็นระบบทางคู่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขนส่งสินค้าผ่านระบบราง จากจำนวน 10 ล้านตัน/ปี เป็น 20 ล้านตัน/ปี และกระตุ้นให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวหันมาใช้รถไฟในการเดินทางเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านคน/ปี เป็น 80 ล้านคน/ปี

โดยขณะนี้มี 1 โครงการที่คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้อนุมัติไปแล้ว คือ รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. มูลค่าโครงการ 29,748 ล้านบาท โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการ

โดยคาดว่า ครม.จะได้รับอนุมัติภายในไตรมาส 3/ 2565 จากนั้นจะดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ไตรมาส 3-4 ปี 2565 พร้อมกับจัดทำร่าง TOR ราคากลางและประกวดราคา จากนั้นเริ่มสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในปี 2566-2567 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2566 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน แล้วเสร็จต้นปี 2569

ซึ่งช่วงขอนแก่น-หนองคายถือเป็นเส้นทางในเฟส 2 ที่มีความสำคัญในลำดับแรก ตามที่ สศช.ได้ให้ รฟท.ศึกษาและจัดลำดับความสำคัญ เนื่องจากเป็นเส้นทางตามยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อกับ สปป.ลาว ที่มีเส้นทางรถไฟเชื่อมไปยังประเทศจีนตอนใต้ และเปิดให้บริการแล้ว นอกจากนี้ยังมีความพร้อมที่สุด เพราะมีการออกแบบแล้ว ได้รับอนุมัติ EIA แล้ว คาดการณ์ปริมาณสินค้าในปี 2580 ที่ 12 ล้านตัน/ปี มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 18.46%

และล่าสุด เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2565 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 2/2565 ได้มีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 280.5 กม. มูลค่าโครงการ 59,399.80 ล้านบาท ขั้นตอนต่อไปจะนำเสนอบอร์ด รฟท.เห็นชอบ และเสนอกระทรวงคมนาคม สศช. และครม.ตามขั้นตอน โดยเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ เนื่องจากจะเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ให้สมบูรณ์อย่างไร้รอยต่อ

จากรายงานผลการศึกษาคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเส้นทางช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ประมาณ 1.2 หมื่นคน/วัน ส่วนการขนส่งสินค้าในพื้นที่มีสินค้าเป้าหมาย เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล เป็นต้น โดยมีย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า 3 แห่ง ได้แก่ 1. สถานีบางกะทุ่ม 2. สถานีวังกะพี้ 3. สถานีศิลาอาสน์

ขณะที่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 36,683 ล้านบาท รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2563 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนสรุปข้อมูลเสนอบอร์ด รฟท.ขออนุมัติโครงการ เริ่มก่อสร้างปี 2566 คาดเปิดให้บริการปี 2571 โดยมีโครงสร้างพื้นดินและทางยกระดับ มี 35 สถานี ย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง (ที่หยุดรถบ้านตะโก สถานีบุฤาษี สถานีหนองแวง สถานีบุ่งหวาย)

ส่วนรถไฟทางคู่ระยะ 2 ที่เหลืออีก 4 เส้นทาง ได้แก่ 1. ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 57,992.44 ล้านบาท มีโครงสร้างระดับพื้นดิน ทางยกระดับ และอุโมงค์ มี 17 สถานี มีย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า 2 แห่ง (สถานีห้างฉัตร สถานีสารภี) ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการฯพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดเริ่มก่อสร้างปี 2566 และเปิดให้บริการปี 2570

2. ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 23,080 ล้านบาท มีโครงสร้างพื้นดินและทางยกระดับรถไฟ มี 22 สถานี และมีย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง (สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์) ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงรายงาน EIA ตามมติคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) หลังจากนั้นจะส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาเห็นชอบ คาดเริ่มก่อสร้างปี 2566 และเปิดให้บริการปี 2570

3. ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 56,114.26 ล้านบาท มีโครงสร้างพื้นดิน ทางยกระดับรถไฟ และอุโมงค์ มี 65 สถานี มีย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า 2 แห่ง (สถานีชุมทางทุ่งสง สถานีบางกล่ำ) ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติ EIA คาดเริ่มก่อสร้างปี 2566 และเปิดให้บริการปี 2571

4. ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,864.49 ล้านบาท มีโครงสร้างระดับพื้นดินและทางยกระดับ มี 3 สถานี มีย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง (สถานีปาดังเบซาร์) ปัจจุบันรายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการฯ คาดเริ่มก่อสร้างปี 2566 เปิดให้บริการปี 2570

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้น ได้แก่ สายเหนือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,921 ล้านบาท และสายอีสาน สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 54,684.40 ล้านบาท ซึ่งลงนามสัญญากับผู้รับจ้างแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินงานในขั้นตอนการเวนคืน ซึ่งพบว่ามีความล่าช้าอยู่บ้าง

โดยสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ก่อสร้าง 6 ปี เปิดบริการปี 2571 คาดการณ์ผู้โดยสาร 9,816 คน/วัน ปริมาณสินค้า 8.23 ตัน/ปี มีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) 4 แห่ง (สถานีแพร่ สถานีพะเยา สถานีป่าแดด สถานีเชียงราย)

ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ก่อสร้าง 4 ปี เปิดบริการปี 2569 คาดการณ์ผู้โดยสาร 25,185 คน/วัน ปริมาณสินค้า 1,07 ตัน/ปี มีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) 3 แห่ง (สถานีภูเหล็ก สถานีสะพานมิตรภาพ 2 สถานีสะพานมิตรภาพ 3)

นอกจากนี้ รฟท.มีแผนพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ในระยะต่อไปอีก 12 เส้นทาง ระยะทาง 2,419 กม. จากเดิมที่มีระยะทาง 4,507 กม. จะเพิ่มเป็น 6,926 กม. ผ่านพื้นที่เดิม 47 จังหวัดเป็น 61 จังหวัด เช่น เส้นทางแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์, เส้นทางนครสวรรค์-บ้านไผ่, เส้นทางอุบลราชธานี-ช่องเม็ก, เส้นทางกาญจนบุรี-ชุมทางบ้านภาชี, เส้นทางกาจนบุรี-พุน้ำร้อน, เส้นทางมาบตาพุด-ระนอง-จันทบุรี-ตราด, เส้นทางชุมพร-ระนอง, เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก, เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น และเส้นทางทับปุด-กระบี่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2022 2:55 pm    Post subject: Reply with quote

แก้รถไฟสายใต้ล่าช้า! ดีเดย์ ก.ย.นี้ใช้รถจักรใหม่ "อุลตร้าแมน" วิ่งให้บริการ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:14 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:14 น.

‘การรถไฟฯ’ เตรียมเปิดหวูดหัวรถจักร ‘อุลตร้าแมน’ ประเดิมเส้นทางสายใต้ช่วง ก.ย. 65
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
รถจักรอุลตร้าแมน การรถไฟเตรียมนำวิ่งให้บริการสายใต้ เดือนกันยายน
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:06 น.


หลังขบวนรถด่วนที่ 84 ตรัง–กรุงเทพ ขบวนรถล่าช้า ล่าสุด การรถไฟฯชี้แจง เตรียมนำรถจักร อุลตร้าแมน วิ่งให้บริการสายใต้ ช่วงเดือนกันยายนนี้

รฟท.แจงเหตุรถไฟสายใต้ “ขบวนรถด่วนที่ 84 ตรัง-กรุงเทพฯ” ออกจากสถานีบางสะพานใหญ่ล่าช้าหลายชั่วโมง เหตุหัวรถจักรชำรุด และอยู่ในช่วงก่อสร้างทางคู่ เผย ก.ย.นี้นำรถจักร "อุลตร้าแมน" ใหม่เอี่ยมวิ่งให้บริการ แก้ปัญหาล่าช้า

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงถึงกรณีที่ปรากฏข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 เกี่ยวกับขบวนรถด่วนที่ 84 ตรัง-กรุงเทพฯ ออกจากสถานีบางสะพานใหญ่ล่าช้ากว่ากำหนดเวลาหลายชั่วโมงนั้น

โดยชี้แจงว่า ในวันดังกล่าวได้เกิดเหตุหัวรถจักรชำรุดที่สถานีชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมาหัวรถจักรดังกล่าวได้ชำรุดอีกครั้งระหว่างสถานีห้วยสัก-บางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่จึงได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนหัวรถจักรที่ชำรุด ประกอบกับเส้นทางรถไฟดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ทำให้การเดินขบวนรถจะต้องเบาทาง ลดความเร็วจาก 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหลือ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ขบวนรถมีความล่าช้าออกไป เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ได้มีการหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งปรับปรุงการให้บริการเดินรถเส้นทางสายใต้ให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยทางฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ฝ่ายการช่างโยธา และฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง จะเข้าไปปรับปรุงป้ายเบาทางให้สอดคล้องกับเส้นทางแต่ละช่วง เพื่อให้การเดินขบวนรถทำความเร็วได้มากกว่าเดิม ซึ่งจะเพิ่มความเร็วได้จาก 30-50 กม.ต่อชั่วโมง เป็น 70 กม.ต่อชั่วโมงภายในสิ้นเดือนนี้

นอกจากนี้ การรถไฟฯ มีแผนที่จะนำหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) “อุลตร้าแมน” ที่ทำความเร็วสูงสุดได้ 120 กม.ต่อชั่วโมง เข้ามาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบตามขั้นตอนการตรวจรับ คาดว่าจะนำออกมาใช้งานเพื่อทดแทนรถจักรรุ่นเก่าได้ประมาณเดือนกันยายน 2565 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินขบวนรถให้ตรงตามเวลามากยิ่งขึ้น รองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ รวมถึงการขยายโครงข่ายรถไฟทางคู่ที่จะเปิดใช้ในอนาคต

ให้รอ”อุลตร้าแมน”ก.ย.รถไฟสายใต้ถึงจะเลิกเสียเวลา
*รฟท.ยังทำได้แค่ชี้แจง”ตรัง-กทม.เลทหลายชม.”
*ทำใจรอทางคู่สร้างทยอยเสร็จ-สมบูรณ์ปลายปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/554695916107647

‘การรถไฟฯ’ เตรียมเปิดหวูดหัวรถจักร ‘อุลตร้าแมน’ ประเดิมเส้นทางสายใต้ช่วง ก.ย. 65
วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

.. “การรถไฟฯ” แจงกรณีขบวนรถด่วนที่ 84 “ตรัง–กรุงเทพ” ล่าช้า เผยหัวรถจักรชำรุด–ก่อสร้างทางคู่ พร้อมเตรียมนำรถจักร “อุลตร้าแมน” วิ่งให้บริการสายใต้ช่วง ก.ย. 65
...ตามที่ปรากฏข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 เกี่ยวกับขบวนรถด่วนที่ 84 ตรัง–กรุงเทพ ออกจากสถานีบางสะพานใหญ่ล่าช้ากว่ากำหนดเวลาหลายชั่วโมงนั้น
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงว่า ในวันดังกล่าวได้เกิดเหตุหัวรถจักรชำรุดที่สถานีชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมาหัวรถจักรดังกล่าว ได้ชำรุดอีกครั้งระหว่างสถานีห้วยสัก–บางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่จึงได้เข้าไปดำเนินแก้ไขเปลี่ยนหัวรถจักรที่ชำรุด ประกอบกับเส้นทางรถไฟดังกล่าว อยู่ระหว่างการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ทำให้ขบวนจะต้องเบาทาง ลดความเร็วจาก 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหลือ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ขบวนรถมีความล่าช้าออกไป เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร จึงขออภัยในความสะดวกมา ณ โอกาสนี้
อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ได้มีการหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งปรับปรุงการให้บริการเดินรถเส้นทางสายใต้ให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยทางฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ฝ่ายการช่างโยธา และฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง จะเข้าไปปรับปรุงป้ายเบาทางให้สอดคล้องกับเส้นทางแต่ละช่วง เพื่อให้การเดินขบวนรถทำความเร็วได้มากกว่าเดิม ซึ่งจะเพิ่มความเร็วได้จาก 30-50 กม.ต่อชั่วโมง เป็น 70 กม.ต่อชั่วโมงภายในสิ้นเดือนนี้
นอกจากนี้ การรถไฟฯ มีแผนที่จะนำหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) “อุลตร้าแมน” ที่ทำความเร็วสูงสุดได้ 120 กม.ต่อชั่วโมง เข้ามาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบตามขั้นตอนการตรวจรับ คาดว่าจะนำออกมาใช้งาน เพื่อทดแทนรถจักรรุ่นเก่าได้ประมาณเดือนกันยายน 2565 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินขบวนรถให้ตรงตามเวลามากยิ่งขึ้น รองรับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ รวมถึงการขยายโครงข่ายรถไฟทางคู่ที่จะเปิดใช้ในอนาคต


Last edited by Wisarut on 17/05/2022 10:07 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 325, 326, 327 ... 388, 389, 390  Next
Page 326 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©