RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179850
ทั้งหมด:13491082
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 134, 135, 136  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/05/2022 7:29 am    Post subject: Reply with quote

เปิดหวูด รถไฟจีน-ลาว ขับเคลื่อนทุนไทยรุกตลาด 8.5 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 พฤษภาคม 2565 - 07:02 น.

จีนในฐานะคู่ค้าอันดับ 1 ของประเทศไทย จัดเป็นตลาดสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้ส่งออกและนักลงทุนในแทบทุกอุตสาหกรรม ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน ทำให้ “ตลาดจีน” มีความต้องการบริโภคสินค้ามหาศาล เพียงแค่ไตรมาส 1/2565 ทั้ง 2 ประเทศมีการค้าขายกันมากถึง 856,484.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 17% ของตลาดทั้งหมด

และจะยิ่งมีโอกาสเติบโตมากขึ้นในอนาคตหลังการเปิดให้บริการในเส้นทาง “รถไฟจีน-ลาว” เชื่อมต่อเส้นทางหนองคายของไทย นับเป็นโอกาสและช่องทางส่งผ่านสินค้าและเคลื่อนย้ายการลงทุนที่สำคัญของทั้ง 3 ประเทศ

ด่านจีนยังไม่ 100% เต็ม

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดงานเสวนาออนไลน์ “REGIONAL FORUM คว้าโอกาสการค้าและการลงทุนจากรถไฟจีน-ลาว” โดย นายณัฐ วิมลจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง ประจำประเทศจีน (สคต.จีน) กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้เส้นทางขนส่งรถไฟจีน-ลาวยังใช้ได้ไม่เต็มศักยภาพ 100% เนื่องจากระบบการตรวจสอบสินค้าเกษตรฝั่งประเทศจีนนั้น “ยังไม่แล้วเสร็จ”

จากเดิมที่คาดว่าน่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในช่วงกลางปีนี้ แต่อาจเลื่อนไปถึงช่วงปลายปี 2565 จึงจะเสร็จและสามารถใช้การได้ ดังนั้นการขนส่งโดยอาศัยเส้นทางรถไฟจีน-ลาว จึงยังไม่สามารถส่งตรงเข้าจีนได้ ยังต้องอาศัยเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ที่ด่านชายแดนและขนส่งทางบกเพื่อเข้าจีนอีกต่อหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม รถไฟจีน-ลาวยังเป็นโอกาสสำหรับการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าและส่งออก และสินค้าที่ไม่ได้อยู่ใน list ที่จีนยังไม่ได้เปิดให้ส่งผ่านก็สามารถใช้เส้นทางรถไฟได้ ดังนั้นตลาดจีนถือว่าเป็นตลาดสำคัญของประเทศไทย ผู้บริโภคจีนให้ความสนใจสินค้าไทย

เช่น กลุ่มเครื่องดื่ม, หมอนยางพารา, อาหารทะเล, สินค้าด้านสุขภาพ รวมไปถึงผลไม้สดจากไทย อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ในอนาคต

“นโยบายการใช้ระบบตรวจสอบตามมาตรการ Zero COVID ที่จีนให้ความสำคัญต่อเรื่องความปลอดภัยของประชากร ด้วยการเพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบในระบบนี้กับทุก ๆ ประเทศที่ส่งสินค้าเข้าจีน โดยมีบทลงโทษเจ้าหน้าที่จีนที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ถึงขั้นไล่ออกและจำคุก

ส่งผลให้มีการตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวด มีการใช้มาตรการการเปิด-ปิดด่านบ่อยครั้ง เมื่อเจอโควิด-19 ปนเปื้อนมากับสินค้า เช่น ด่านโมฮานระงับส่งสินค้าชั่วคราวไปถึง 2 ครั้ง แต่เป็นการระงับเฉพาะบางสินค้าที่พบเชื้อโควิดและเฉพาะรายเท่านั้น” นายณัฐกล่าว

ใช้เงินสกุลบาท-หยวนทำธุรกรรม
ด้าน นายสุพัฒน์ อำไพธนากร หัวหน้าสำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย ณ กรุงปักกิ่ง กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้า-การลงทุนไทย-จีน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้เงิน “ดอลลาร์” ชำระค่าสินค้าคิดเป็นสัดส่วน 90% และเป็นการชำระเงินด้วยเงิน “หยวน” เพียง 6%

ทั้งที่สกุล “บาท-หยวน” ผันผวนน้อยกว่า “บาท-ดอลลาร์” ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมต้นทุนได้ง่าย ดังนั้นทางธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศจึงมุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ปรับเปลี่ยนมาใช้สกุลเงิน “บาท-หยวน” ทำธุรกรรมให้มากขึ้น


นายอรรจน์สิทธิ สร้อยทอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาผู้ประกอบการไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า กำลังอยู่ระหว่างศึกษาโอกาสในการส่งเสริมการลงทุนตามแนวเส้นทางรถไฟ รวมถึงการส่งเสริมและให้สิทธิพิเศษเพิ่มในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคายและเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ซึ่งจะมีส่วนช่วยเสริมเรื่องระบบโลจิสติกส์และกระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีนเพื่อส่งออกไปจีนด้วย สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ BOI จะมุ่งส่งเสริมระยะแรก

เช่น สินค้าเกษตร โลจิสติกส์ แวร์เฮาส์รวบรวมสินค้า อาจเป็นการลงทุนเองหรือเป็นการร่วมทุนก็ได้ และในระยะเวลาอีก 2-3 ปีข้างหน้า BOI จะมีการส่งเสริมสนับสนุนกิจการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจีนและ สปป.ลาว ที่จะเดินทางเข้ามาไทยและเชื่อมโยงไปยังจังหวัดต่าง ๆ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี รวมถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย

รถหัวลากลาวทำต้นทุนพุ่ง
นายจรินทร์ บุตรธิเดช กรรมการ บริษัท ไอซีแอลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งทางเรือ ทางบก ผ่าน สปป.ลาวเข้าจีนตอนใต้ และรถไฟจีน-ลาว กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถส่งสินค้าตรงผ่านเส้นทางรถไฟเข้าถึงจีนได้ ยังคงอาศัยการเปลี่ยนถ่ายขึ้นรถบรรทุกขนส่งอยู่ ทำให้ต้องใช้เวลาขนส่งเพิ่มขึ้น

หากเชื่อมโยงรถบรรทุกหัวลากได้จะลดระยะเวลา-ค่าขนส่งได้เพิ่ม ส่วนการส่งผ่านตู้แช่รักษาอุณหภูมิช่วยเก็บรักษาสินค้านั้น ก็มีความเสี่ยงที่เชื้อโควิด-19 จะมีอายุอยู่ได้นานขึ้น จีนจึงมีการเข้มงวดกับสินค้า โดยมีการสุ่มตรวจ


หากพบติดเชื้อเกิน 60% จะระงับการนำเข้าสินค้านั้น ในเบื้องต้นกำหนด 3 วัน และจะมีการสุ่มตรวจอีก หากยังพบโควิด-19 ก็จะระงับการนำเข้าสูงสุดเป็นเวลา 1 เดือน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนถ่ายรถหัวลากนั้น ผู้ประกอบการจะต้องใช้ “รถบรรทุกลาวเท่านั้น” และจะเปลี่ยนถ่ายขนส่งที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ จะมีทั้งค่าใช้จ่ายและใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 8-12 วัน (เท่ากับทางบก ทั้ง ๆ ที่ควรเร็วกว่า) ค่าใช้จ่ายช่วงต้นที่รถไฟวิ่งจะมีค่าบริการ 450 เหรียญ/ตู้ 40 ฟุต, ค่ารถหัวลาก 120 เหรียญ, ค่าเปลี่ยนถ่ายรถ 200 เหรียญ รวมค่าใช้จ่าย 770 เหรียญหรือประมาณ 25,000-30,000 บาท

ซึ่งยังไม่รวมค่าเฟสที่ตกวันละ 58,000 บาท/ตู้ขนาด 40 ฟุต แต่ที่แพงกว่านั้นคือ ค่ารถบรรทุกหัวลาก ส่วนค่ารถไฟในจีนถูกมาก ระยะทางจากโมฮาน-หวางเจียงหมิงซี ราคาอยู่ที่ 29,000 บาท หรือหากจะไปเมืองอื่นค่าบริการก็ไม่แพง ดังนั้นหากหักเรื่องของค่ารถหัวลากจาก สปป.ลาวไปจีนลงได้ก็จะลดต้นทุนการขนส่งได้มากกว่านี้

ส่วน นายยุทธพล ทวะชาลี รองประธานหอการค้าขอนแก่น ในฐานะผู้จัดการทั่วไป บริษัท สิทธิโลจิสติกส์ (สปป.ลาว) จำกัด กล่าวว่า ปัญหาต้นทุนค่าขนส่งผ่านรถไฟลาว-จีนที่มีหลายขั้นตอน ทั้งค่าดำเนินการปลายทาง-ค่ารถหัวลาก-ค่ายกตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลงใส่รถบรรทุกลงจากรถไฟ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี “ค่ามัดจำตู้คอนเทนเนอร์” ค่าขนส่งพิธีการต่าง ๆ ทำให้ค่าขนส่งแพงขึ้นอีก และเมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายใช้รถบรรทุกก็ยังมีปัญหาติดขัดจากนโยบาย Zero COVID ของจีนอีก ทำให้มีรถขนส่งตกค้าง เนื่องจากสามารถปล่อยรถได้เพียงวันละ 20 คัน การขนส่งล่าช้า เสี่ยงที่สินค้าเกษตรจะเน่าเสีย

ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนก่อนการขนส่ง เลือกเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อจะสามารถบริหารจัดการส่งออกสินค้าได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2022 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

จีนเดินหน้าเชื่อมรถไฟเมียนมา |รายการ อาเซียน4.0ออนไลน์ | อาทิตย์ที่ 15 พ.ค. 2565
May 15, 2022
TNN Online


https://www.youtube.com/watch?v=4d45C4wm2TQ

จีนเดินหน้าเชื่อมรถไฟเมียนมา |รายการ อาเซียน4.0ออนไลน์ | อาทิตย์ที่ 15 พ.ค. 2565

สำนักข่าว CMG รายงานว่า ล่าสุด การสร้างอุโมงค์ยาวพิเศษ
บนเส้นทางรถไฟต้าหลี่-รุ่ยลี่ ช่องทางระหว่างประเทศจีน-เมียนมา
สามารถเชื่อมต่อกันสำเร็จเรียบร้อย

รุ่ยลี่ เป็นเมืองชายแดนที่สำคัญ เชื่อมเมือง...ของเมียนมา และเป้นด่านการค้า
ที่ใหญ่ที่สุดระหว่างจีนกับเมียนมา เส้นทางนี้ เมียนมาใช้ขนส่งสินค้า
แร่ธาคุและสินค้าเกษตร ส่งออกไปจีน

ที่ผ่านมา ทางการท้องถิ่นจีน ได้ก่อสร้างอุโมงก์ อย่างไม่ย่อท้อนานกว่า 6 ปี
กลุ่มอุโมงค์นี้ มีความยาวเป็นพิเศษ ในช่วงตำบลผูเพียว ถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำนู่เจียง

กลุ่มอุโมงค์ที่ใหญ่ที่สุดในเส้นทางรถไฟต้าหลี่-รุ่ยลี่
เป็นหนึ่งในช่องทางการคมนาคมระหว่างประเทศจีน-เมียนมา ที่สำคัญมาก
ได้ประสบความสำเร็จในการก่อสร้าง โดยอุโมงค์ทั้ง 6 แห่งได้เชื่อมต่อกัน
จนเกิดเป็นกลุ่มของอุโมงค์ที่มีความยาวมากเป็นพิเศษ

กลุ่มอุโมงค์ยาวพิเศษตั้งอยู่ในพื้นที่ขอบด้านตะวันตกของที่ราบสูงยูนนาน-กุ้ยโจว
มีสภาพภูมิประเทศที่ซับซ้อน มีความร้อนใต้พิภพสูง และมีระดับความรุนแรง
ของแผ่นดินไหวสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง
กลุ่มอุโมงค์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 32 กิโลเมตร เป็นกลุ่มอุโมงค์ที่ใหญ่ที่สุด
ในเส้นทางรถไฟต้าหลี่-รุ่ยลี่ และเป็นงานวิศวกรรมที่ยากลำบาก

เส้นทางรถไฟต้าหลี่-รุ่ยลี่มีระยะทางทั้งสิ้น 330 กิโลเมตร
เส้นทางรถไฟนี้ออกแบบให้ใช้ความเร็วที่ อยู่ที่ 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เมื่อเปิดให้วิ่งรถตลอดทั้งสายแล้ว ก็จะสามารถเดินทางจากคุนหมิง
มณฑลยูนนาน ไปยังเมืองรุ่ยลี่ โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง
ซึ่งเมื่อเทียบกับการเดินทางในปัจจุบันแล้ว ประหยัดเวลาได้มากกว่า 2 ชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2022 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

คลิกคลิป: จีนเร่งสร้างคลังสินค้าในต่างประเทศเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์ข้ามพรมแดน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 15:17 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 15:17 น.


ในปีนี้ หลายพื้นที่ทั่วจีนต่างเร่งสร้างคลังสินค้าในต่างประเทศกันอย่างคึกคัก เพื่อพัฒนาโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนและเสริมความมั่นคงด้านการค้าระหว่างประเทศ

บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านของตกแต่งตามเทศกาลรายหนึ่งในนครกว่างโจว ที่แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยอานิสงส์จากอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนและระบบคลังสินค้าในต่างประเทศ ทำให้ในปีนี้มีปริมาณการส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้านเจ้าหน้าที่กล่าวว่า ในอดีตการส่งออกสินค้าไปให้ถึงมือลูกค้านั้น จะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ปัจจุบันสามารถส่งออกสินค้าล็อตใหญ่จากประเทศจีน เพื่อนำไปเก็บที่คลังสินค้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในต่างประเทศอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน บริการโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนนับวันยิ่งมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ที่เมืองฮอร์กอส ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ รถไฟขนส่งระหว่างประเทศได้ออกเดินทาง โดยรถไฟขบวนนี้เป็นรถไฟที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนในพื้นที่สินค้าทัณฑ์บน นอกจากนี้ผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนยังไม่จำเป็นต้องรอแผนการเดินทางขนส่งสินค้าของรถไฟขนส่งจีน-ยุโรป เมื่อคัดแยกสินค้าในคลังทั้งหมดแล้ว ก็สามารถขนถ่ายขึ้นรถและขนส่งได้เลย

ที่เมืองสวีโจว มณฑลเจียงซู ได้ประสบความสำเร็จในการทำให้ระบบศุลกากร ทางรถไฟและผู้ให้บริการเชื่อมถึงกันได้อย่างสมบูรณ์ โดยศุลกากรจะตรวจสอบสินค้านำเข้า-ส่งออกที่บรรทุกบนรถไฟ ซึ่งเปลี่ยนจากการเทียบข้อมูลที่ด่านเช่นในอดีต มาเป็นการเทียบข้อมูลล่วงหน้าที่สถานีต้นทาง ทำให้สินค้าสามารถส่งออกจากด่านชายแดนได้โดยตรง ซึ่งประหยัดเวลาในการจอดรถไฟเพื่อรอ 2-3 วัน
https://www.youtube.com/watch?v=SwxTNfeAnR0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2022 2:21 pm    Post subject: Reply with quote

'รถไฟขนปุ๋ย' ออกจากอู่ฮั่น วิ่งฉิวสู่ 'หลวงพระบาง' ใน 7-10 วัน
สำนักข่าวซินหัว
วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.00 น.
รถไฟสินค้าขบวนหนึ่งออกเดินทางจากนครอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน และมุ่งหน้าสู่แขวงหลวงพระบางของลาว เมื่อเช้าวันอังคาร (17 พ.ค.) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่หูเป่ยส่งรถไฟสินค้าระหว่างประเทศออกวิ่งผ่านทางรถไฟจีน-ลาว
.
รถไฟขบวนดังกล่าวบรรทุกวัตถุดิบปุ๋ย 1,650 ตัน และมีกำหนดเดินทางถึงหลวงพระบางภายใน 7-10 วัน
.
เส้นทางข้างต้นจะขยายช่องทางการค้าระหว่างหูเป่ยกับหลายเมืองใหญ่ของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจการค้าและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนในระดับภูมิภาค
.
"การเปิดเส้นทางนี้นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ เพราะทางรถไฟจีน-ลาวจะช่วยย่นเวลาการขนส่งระหว่างสองพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการขนส่งทางเรือแบบเดิม ขณะต้นทุนด้านโลจิสติกส์จะลดลงมากเช่นกัน ดังนั้นบรรดาผู้ประกอบการน่าจะหันมาจัดส่งสินค้าผ่านทางดังกล่าวมากขึ้น" สยงอวิ๋นเฟิง ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทผลผลิตการเกษตรในท้องถิ่นกล่าว
.
(แฟ้มภาพซินหัว : รถไฟออกเดินทางจากฐานโลจิสติกส์เซ่อโข่ว)
.
อ่านข่าวน่าสนใจเพิ่มเติม : www.xinhuathai.com
https://english.news.cn/20220517/259e7ce30b70498bbd36e9e85b011afe/c.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/05/2022 10:27 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าทางตันผลไม้ 2.8 แสนล้าน ฝ่าด่านซีโร่โควิดจีน ดันไทยผงาดส่งออกเบอร์ 1 โลก
หน้าแรก เศรษฐกิจ การค้า - การเกษตร
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 21 พ.ค. 2565 เวลา 7:07 น.

เปิดแผนปฏิบัติการรัฐ-เอกชน ผ่าทางตันดันเป้าส่งออกผลไม้ 2.8 แสนล้าน ฝ่าด่านซีโร่โควิดจีน “อลงกรณ์” มั่นใจปีนี้แซงชิลีขึ้นอันดับ 1 โลก “เฉลิมชัย” ขอเกษตรกรรักษาคุณภาพเพิ่มส่งออก 3-4 แสนล้าน สมาคมทุเรียนจี้เร่งระบายช่วงกระจุกตัว “ควีนโฟรเซ่น ฟรุต” ลุยเฟรนช์ฟรายทุเรียน

ผลไม้โปรดักส์แชมเปี้ยนตัวใหม่พืชเศรษฐกิจไทย ปี 2564 ทำรายได้จากการส่งออกกว่า 2.5 แสนล้าน แซงหน้าทั้งข้าว ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ซึ่งในปีนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกผลไม้ไทยในภาพรวมที่ 2.8 แสนล้านบาท โดยมีตลาดใหญ่สุดที่จีน โดยปีที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้งไปตลาดจีน (รวมฮ่องกง) มูลค่ากว่า 1.68 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ดี ปีนี้การส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนต้องเผชิญปัญหาจากมาตรการ Zero Covid ของจีนโดยที่มีการตรวจเข้ม 100% ในสินค้าทุกตู้ ณ ด่านนำเข้าทั้งทางบก เรือ และอากาศทั่วประเทศ เพื่อคุมเข้มโควิดไม่ให้เล็ดลอดเข้าประเทศ กระทบการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนเกิดความล่าช้า ติดขัด มีต้นทุนและความเสี่ยงจากถูกระงับนำเข้าเพิ่มขึ้น

จากความสำคัญของสินค้าผลไม้ โปรดักส์แชมป์เปี้ยนตัวใหม่สินค้าเกษตรไทย “ฐานเศรษฐกิจ” จึงได้จัดสัมมนา The Big Issue 2022 : ผลไม้ไทย ผลไม้โลก “ทุเรียนแสนล้าน ฝ่าด่าน ZERO COVID” มีประเด็นที่น่าสนใจ ผ่านหลากหลายมุมของตัวแทนภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง

มั่นใจไทยผงาดเบอร์ 1 ผลไม้โลก

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด) กล่าวในการบรรยายพิศษ “วิกฤติ-โอกาสผลไม้ไทยสู่แดนมังกร” สรุปสาระสำคัญความว่า ในปีที่ผ่านมาไทยทำรายได้จากการส่งออกผลไม้ทุกประเภทเป็นเม็ดเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาท โดยเฉพาะผลไม้สดไทยสามารถส่งออกได้ถึง 1.9 แสนล้านบาท และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ราชาแห่งผลไม้คือ “ทุเรียน” ส่งออกได้เกินแสนล้านบาท มากกว่าการส่งออกข้าวที่ไทยส่งออกมานานกว่า 30 ปี

อย่างไรก็ตาม ปีนี้ผลไม้ไทยมีปัจจัยเสี่ยงจาก 1.สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบเศรษฐกิจ การค้าโลก 2.การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ในจีน มีการล็อกดาวน์เมืองเศรษฐกิจใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และล่าสุดคือ กรุงปักกิ่ง และเขตย่อยอีกกว่า 500 เขตทั่วประเทศ กระทบต่อระบบการค้าส่งและค้าปลีก รวมถึงมาตรการ Zero Covid ที่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนในปีนี้

การรับมือกับปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ทางกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ได้ประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ที่ได้เดินหน้ายุทธศาสตร์นี้มาเป็นเวลา 2 ปีเศษ โดยในส่วนของฟรุ้ทบอร์ดได้มีมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกล่วงหน้าก่อนผลผลิตออก 18 มาตรการ มีการอนุมัติงบประมาณสนับสนุน นอกจากจะสนับสนุนเพิ่มการบริโภคในประเทศจาก 30% เป็น 40% ลดการขนส่งทางบก (ทางรถยนต์)ไปจีน เหลือ 40% เพิ่มการขนส่งทางเรือเป็น 55% และเพิ่มการขนส่งทางราง (รถไฟจีน-ลาว) และทางอากาศเป็น 5% เพื่อให้สามารถส่งออกผลไม้ไทยไปจีนได้ตามกำหนด

เล็งใช้รถไฟจีน-ลาวลุยโลก

“การส่งออกผลไม้และสินค้าไทยผ่านรถไฟจีน-ลาวจะไม่ได้จบที่ประเทศจีน แต่เราจะใช้เส้นทางสายนี้ในการส่งสินค้าข้ามไปยุโรป เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง รวมถึงเกาะอังกฤษ เพื่อเชื่อมผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก เวลานี้ได้มีการวางแผนและทำงานล่วงหน้าแล้วระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯที่ได้เจรจาทำความตกลงในการขนส่งสินค้าข้ามแดนแล้วกับคาซัคสถานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์”

Click on the image for full size

นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ในสินค้าที่ไทยส่งออกไปตลาดโลกกว่า 200 ประเทศ มีสินค้าเดียวที่ไทยเอาชนะสินค้าจีนได้อย่างเด็ดขาด และจีนเต็มใจให้ไทยชนะคือผลไม้ และทุเรียนคือดวงใจของชาวจีน ปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งตลาดผลไม้อันดับ 1 ในจีนสัดส่วนกว่า 40% รองลงมาคือชิลี ที่เป็นผู้ส่งออกผลไม้เมืองร้อนอันดับ 1 ของโลก (ชิลีส่วนแบ่งตลาดโลก 21% ส่วนไทยมีส่วนแบ่ง 20%) มีส่วนแบ่งตลาดจีน 15% และเวียดนามส่วนแบ่งตลาด 6% จากที่ทุกฝ่ายของไทยได้ร่วมมือร่วมใจกันในการผลักดันการส่งออกผลไม้ในปีนี้ โดยสร้างความเชื่อมั่นเรื่องคุณภาพมาตรฐานให้กับผู้บริโภคทั่วโลก ดังนั้นเชื่อว่าในปีนี้ไทยจะก้าวสู่การเป็นแชมป์ผู้ส่งออกผลไม้อันดับ 1 ของโลกแซงหน้าชิลีได้

“เฉลิมชัย” ขอรักษาคุณภาพมาตรฐาน

ด้าน ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ไทยเป็นผู้ปลูกผลไม้ที่อร่อยที่สุดในโลก โดยเฉพาะทุเรียน ดังนั้นจึงขอให้พี่น้องเกษตรกรรักษาคุณภาพมาตรฐานผลผลิตเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการสร้างเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่รัฐบาลใช้ตลาดนำการผลิต และช่วยเกษตรกรขายสินค้าผ่านช่องทางทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ

หากจับมือร่วมกันทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร การส่งออกผลไม้ในอนาคตจะเพิ่มเป็น 3 แสนล้าน หรือ 4 แสนล้านได้ ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นก็สามารถขายได้หมด ขณะที่การส่งออกไปตลาดจีนปัจจุบันที่มีอุปสรรคเรื่อง Zero Covid ในส่วนของเกษตรกร ล้ง(โรงคัดบรรจุ) และผู้ส่งออกต้องดำเนินตามมาตรฐาน GAP Plus และ GMP Plus อย่างเข้มงวด รวมถึงไม่ส่งออกทุเรียนอ่อน

ทุเรียนอีก“ซอฟต์พาวเวอร์”ไทย

ในช่วงเสวนา “ปฏิบัติการรวมพลัง ทุเรียนแสนล้าน ฝ่าด่าน ZERO COVID” นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ผลไม้เมืองร้อน โดยเฉพาะทุเรียน ถือเป็นอัตลักษณ์ประเทศไทยหรือซอฟต์พาวเวอร์ที่มีความเข้มแข็งและชัดเจนมาก ในปี 2564 ทุเรียนไทยส่งออกได้มากว่า 8 แสนตัน มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ขณะที่การขยายพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน และการส่งเสริมการเพาะปลูกทำให้ไทยมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน ณ ปัจจุบันกว่า 9 แสนไร่เศษ คาดผลผลิตปีนี้จะมีปริมาณ 1.2 ล้านตัน เป็นโอกาสของประเทศไทยในการสร้างรายได้เข้าประเทศอีกมาก

ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร ได้ประสานกับทูตเกษตรที่อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศจีน (ปังกิ่ง ,เซี่ยงไฮ้,กว่างโจว) ในเรื่องกฎเกณฑ์การส่งออกเข้าสู่ประเทศจีนได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์เรื่องดิน ปุ๋ย ให้ความรู้เกี่ยวกับพี่น้องเกษตรกรในเรื่องการกำจัดแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งเป็นกรอบการทำงานและภารกิจที่จะทำให้การส่งออกทุเรียนแสนล้านได้อย่างราบรื่น และมีความมั่นคง

“กรมวิชาการเกษตรได้ทำงานอย่างบูรณาการกับทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิด ในการควบคุมดูแลคุณภาพทุเรียน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการตัดทุเรียนอ่อน การกำหนดวันตัด หรือ การควบคุมให้โรงงานคัดบรรจุ (ล้ง) มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ขณะที่เมื่อทุเรียนเป็นสินค้าเกษตรกรดาวรุ่งแสนล้าน ควรจะต้องมีเงินกลับเข้ามาเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุเรียนสายพันธุ์ใหม่หรือสายพันธุ์ดั้งเดิม จะทำอย่างไรให้ทุเรียนเหล่านี้มีการทนทานต่อโรค หรือมีรสชาติที่ตอบสนองผู้บริโภคในหลายมิติ และควรจะใช้โอกาสการประชุมเอเปคในไทย จะมีการประชุมรัฐมนตรีเกษตรและอาหารเช่นเดียวกัน เสนอให้มีกลุ่มวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจีโนม สำหรับสินค้าดาวรุ่งในพืชต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน กัญชา กัญชง กระท่อม ถ้ามีการใช้เทคโนโลยีระดับสูงเข้ามาน่าจะเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาต่อยอดได้อย่างดี”

จี้เร่งระบายช่วงกระจุกตัว

นายภาณุศักดิ์ สายพานิช นายกสมาคมทุเรียนไทย (TDA) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนไทยต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งปริมาณฝนที่ตกชุก ทุเรียนออกดอกช้าทำให้ผลผลิตช้า การสลัดลูกอ่อน เชื้อราทั้งลำต้นและลูก รวมถึงปัญหา Zero Covid ของทางจีน ขณะที่ผลผลิตของทุเรียนในภาคตะวันออกของปีนี้ คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดราว 7.44 แสนตัน เติบโตขึ้นกว่า 20% จากปีก่อนซึ่งมีปริมาณผลผลิต 5.7 แสนตัน

ด้านการส่งออกในปี 2564 มีปริมาณ 8.8 แสนตัน ซึ่งปีนี้ในช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. พบว่ามีปริมาณการส่งออกลดลง ซึ่งมาจากหลายสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น โดยข้อมูลกรมวิชาการเกษตร พบว่า ปริมาณการส่งออกทุเรียนไปจีน ตั้งแต่ 1 ก.พ-16 พ.ค. 2565 มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 2.42 แสนตัน แบ่งเป็น การขนส่งทางบก 8.2 หมื่นตัน การขนส่งทางเรือ 1.41 แสนตัน และการขนส่งทางอากาศ 1.8 หมื่นตัน

“ยังต้องรอดูสถานการณ์การส่งออกทุเรียนไทยไปจีน ในเดือนพ.ค. – มิ.ย. นี้ ซึ่งเบื้องต้นไทยเองต้องเคร่งครัดการดำเนินการมาตรฐาน GMP Plus เพื่อไม่ให้มีเชื้อโควิดหลุดรอดไป อย่างไรก็ดีต้องรอดูจนถึงวันที่ 10 มิ.ย. นี้ หากระบายผลผลิตทุเรียนได้ ปัญหาต่าง ๆ จะลดลงเพราะพ้นช่วงผลผลิตกระจุกตัว อย่างไรก็ดีทั้งภาครัฐ เกษตรกร และผู้ส่งออกยังต้องเข้มข้นกับมาตรการ GMP Plus เพราะไม่รู้ว่าจีนจะคง Zero Covid อีกนานแค่ไหน”

อย่างไรก็ดี แม้ผู้ส่งออกไทยจะขยายตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ แต่ต้องทำควบคู่กับตลาดจีนไป เพราะเป็นตลาดหลักมีสัดส่วนการส่งออกถึง 90% รวมทั้งการโปรโมตทุเรียนในหลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างให้ทุเรียนไทยเป็นเบอร์ 1 ในใจผู้บริโภคจีน เพราะวันนี้ไทยกำลังเผชิญกับคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนามที่มีจุดแข็งด้านการขนส่งที่ถูกกว่า และสปป.ลาว ที่มีโควต้าส่งออกทุเรียนไปจีนได้ ดังนั้นไทยต้องทำการตลาด ทำผลผลิตต้นทางให้มีคุณภาพดี ทำห่วงโซ่ทุเรียนไทยให้มีความยั่งยืนในอนาคต

ดันพันธุ์“โอวฉี”-ลุยเฟรนช์ฟรายทุเรียน

นางสาววรัญญภัคก์ ศรีมหัทธนเวคิน ประธานกรรมการ บริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุต จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทส่งออกทุเรียนลูกสด และทุเรียนแช่แข็งซึ่งเป็นโรงงานเดียวของไทยที่ใช้อุณหภูมิ ลบ 60 องศา แทนไนโตรเจนที่มีราคาสูง เพราะต้องการให้ไทยเป็นทั้งราชินีผลไม้และราชาผลไม้ เพราะถ้าทุเรียนเป็นผลไม้ที่ทั่วโลกนิยม จนส่งไปอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลียได้ด้วยวิธีแช่แข็งจะลดกลิ่นทุเรียนลง ทำให้ชาวต่างชาติสามารถทานได้

บริษัทมีแผนจะผลิตเฟรนช์ฟรายทุเรียน แทนเฟรนช์ฟรายมันฝรั่งพร้อมส่งออกได้ทั่วโลก มีกลิ่นหอมหวานอร่อย จะสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกมหาศาล แม้ราคาทุเรียนปีนี้จะสูงขึ้น 30% แต่ไม่พอต่อความต้องการของตลาด เพราะไปติดปัญหาใหญ่คือ เรื่องขนส่งไปตลาดจีนที่ใช้ระยะเวลานานทำให้เกิดความเสียหาย และตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน

ทั้งนี้อยากฝากให้ภาครัฐส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทุเรียนหลายสายพันธุ์ เพื่อให้ชนะทุเรียน มูซังคิง(ของมาเลเซีย) เช่น สายพันธุ์โอวฉีหรือทุเรียนหนามดำ ที่มีรสชาติหอมหวานอร่อย เนื้อละเอียด ความต้องการแม้แต่บริโภคภายประเทศก็ไม่พอ คนจีนบอกมีเท่าไรซื้อไม่อั้น แต่เกษตรกรไทยยังไม่ทราบว่ามีพันธุ์นี้ ซึ่งผลผลิตใกล้เคียงกับหมอนทอง และได้ราคามากกว่าหมอนทองมาก และยังแซงหน้ามูซังคิงอีกด้วย

“ฝากทุกภาคส่วนให้ช่วยส่งเสริมเพราะตลาดต้องการมาก แต่วัตถุดิบน้อย ทำให้สามารถผลิตสินค้าโดยไม่ต้องรอตลาด เพราะความต้องการตลาดสูง ตอนนี้มีบริษัทที่เป็นของคนจีนปลูกทุเรียนโอวฉี 700 ไร่ อยากฝากภาคเกษตรขยายกิ่งพันธุ์ให้มาก และอยากทำแบรนด์ให้เกษตรกร ถ้าแบรนด์ติดตลาด เราเล่นตัวได้เลย เพราะแบรนด์นี้ประเทศจีนต้องถามหา และเราได้ราคา สมมุติคนอื่นขายได้ 700 หยวน เราจะต้องได้ 750-800 หยวน”

ไปรษณีย์ไทย พร้อมส่ง-ขาย

นายพงษ์ทร วิเศษสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ สายงานธุรกิจองค์กรบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งผู้ซื้อและผู้ขายนิยมขายแบบออนไลน์มากขึ้น เห็นได้จากการที่หลายสวนผลไม้มีการไลฟ์สดขายสินค้าผ่านออนไลน์ ขณะที่ไปรษณีย์ไทยสนับสนุนภาคการเกษตรให้มีระบบการขนส่งที่ดีมีมาตรฐาน ร้านค้าหรือร้านอาหาร มีช่องทางการซื้อขายและใช้การขนส่งโลจิสติกส์อีกรูปแบบ

“แนวโน้มผู้ประกอบการ ชาวสวนหรือสมาร์ท์ฟาร์มเมอร์จะใช้วิธีการขายตรงถึงผู้บริโภค ทำให้ได้ราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันทางผู้ซื้อและผู้ขายจะมีการการันตีสินค้าที่จัดส่งให้มีคุณภาพ เช่น ทุเรียนจะมีระยะเวลาการตัดเพื่อนำมาบริโภค รวมทั้งมีการการันตีด้านคุณภาพ เมื่อมีการซื้อขายออนไลน์จะมีการส่งพัสดุลงบรรจุภัณฑ์ ซึ่งไปรษณีย์ไทยมีการพัฒนาระบบการรับผลไม้ถึงสวน และมีการการันตีระยะเวลาการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค”

นอกจากนี้ไปรษณีย์ไทยยังใช้พื้นที่ทำการที่มีราว 1,000 สาขาทั่วประเทศ เป็นจุดช่วยจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร เช่น ร่วมมือกับชาวสวนนำทุเรียนคุณภาพดีมาวางจำหน่าย ซึ่งปัจจุบันกระแสตอบรับดีมาก จึงไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย รวมทั้งยังมีการจำหน่ายทางออนไลน์ผ่าน www.thailandpostmart.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปการเกษตรของชุมชนโดยตรง ที่มีระบบการส่งสินค้าที่ให้บริการถึงจุดหมายปลายทางของผู้บริโภค

“บิ๊กซี”จัดบุฟเฟ่ต์ทุเรียนปลุกตลาด

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ และบมจ. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ กล่าวว่า บิ๊กซีมีช่องทางในการดันทุเรียนไปตลาดโลก หรือทำให้ตลาดผลไม้ไทยเป็นที่ยอมรับผ่านการทำงานในหลายมิติ เช่น การเข้าไปช่วยให้ความรู้ในเรื่องของการพัฒนาพันธุ์และการเพาะปลูกอย่างไรให้ได้มาตรฐาน สำหรับวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและส่งออกได้ โดยเข้าหาสหกรณ์เกษตรผักและผลไม้ทั่วประเทศ ปัจจุบันได้ร่วมกับสหกรณ์ทางภาคเหนือในการซื้อผักผลไม้โดยตรงและให้ความรู้ว่าควรปลูกแบบไหน และคัดมาตรฐานแบบใด

อีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญของ บิ๊กซี คือเรื่องของตลาด ซึ่งบิ๊กซีได้พัฒนาร้านค้าทั้งในไทยและในอาเซียนรวมกว่า 2,000 จุดโดยมีฐานที่เวียดนาม ลาว กัมพูชาและไทย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมายังได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ในการพยายามสร้างความตื่นเต้นและหวือหวาขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการจัดบุฟเฟ่ต์ทุเรียน ซึ่งก็เป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาด

“ปีนี้ บิ๊กซีได้จัดแคมเปญ บุฟเฟ่ต์ทุเรียน 399 บาทกินไม่อั้น 1 ชั่วโมง ใน 9 สาขาทั่วประเทศ เพื่อให้ลูกค้าของบิ๊กซีทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วม แม้ว่าจะขายไม่ได้มากแต่ก็สามารถสร้างความตื่นเต้นให้ตลาดพอสมควร และมีคู่แข่งทยอยออกโปรบุฟเฟ่ต์ทุเรียนตามมาอย่างต่อเนื่อง”

ทั้งนี้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้ราคาผัก ผลไม้ของเมืองไทยดี เกษตรกร ผู้ปลูกก็อยู่ได้ นอกจากนี้บิ๊กซียังมีโครงการ Smart Local เพื่อพัฒนา SME ไม่ว่าจะเป็นการนำผัก ผลไม้มาแปรรูป ซึ่งบิ๊กซีในหลายสาขาที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เช่น ราชดำริ ที่ตอนนี้นักท่องเที่ยวก็เริ่มกลับมาแล้วจากนโยบายของรัฐบาลที่เปิดประเทศ ก็นำสินค้าที่เป็น OTOP และ SME ต่าง ๆ เข้ามาขาย เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้มาจับจ่ายซื้อหาได้ด้วย

หน้า 1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3785 วันที่ 22 - 25 พฤษภาคม 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2022 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ขนยางพาราจากเวียดนามผ่านรถไฟลาวจีนจำนวน 50 ตู้คอนเทนเนอร์ ไปส่งสถานีขนส่งสินค้าระหว่างประเทศกุ้ยหยาง (Guiyang Dulaying International Land-Sea Logistics Port) ก่อนส่งต่อรถไฟข้ามทวีปจากกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ไปกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
http://www.eguizhou.gov.cn/2022-05/19/c_754904.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/05/2022 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ขนยางพาราจากเวียดนามผ่านรถไฟลาวจีนจำนวน 50 ตู้คอนเทนเนอร์ ไปส่งสถานีขนส่งสินค้าระหว่างประเทศกุ้ยหยาง (Guiyang Dulaying International Land-Sea Logistics Port) ก่อนส่งต่อรถไฟข้ามทวีปจากกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ไปกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
http://www.eguizhou.gov.cn/2022-05/19/c_754904.htm

กุ้ยโจวริเริ่ม ‘ศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าทางรถไฟจากอาเซียนไปยังยุโรปโดยตรง’ (มีคลิป)
เผยแพร่: 23 พ.ค. 2565 13:47
ปรับปรุง: 23 พ.ค. 2565 13:47
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
รถไฟขนส่งสินค้าเดินทางออกจากด่านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในนครกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ไปยังฮังการี ถือเป็นครั้งแรกที่ได้ทดลองการขนส่งแบบเชื่อมต่อในเส้นทางรถไฟสายจีน-ลาว และสายจีน-ยุโรป ภาพเมื่อวันที่ 18 พ.ค.2022 (ภาพจากไชน่า นิวส์)

เมื่อเร็วๆ นี้ รถไฟขนส่งสินค้าในเส้นทางจีน-ยุโรป ที่ได้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน จำนวน 50 ตู้ขบวนหนึ่ง ได้เดินทางออกจากด่านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศทางบกตูลาหยิง นครกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ไปยังประเทศฮังการี ในจำนวนนี้มีตู้ขนผลิตภัณฑ์ยางพาราจากเมืองโฮจิมินห์ของเวียดนาม จำนวน 5 ตู้ ที่ได้เดินทางมาถึงนครกุ้ยหยางผ่านทางรถไฟสายจีน-ลาว ซึ่งใช้กุ้ยหยางเป็นจุดขนถ่ายสินค้า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้ทดลองการขนส่งแบบเชื่อมต่อระหว่างทางรถไฟสายจีน-ลาว และสายจีน-ยุโรป

สินค้าล็อตนี้ขนส่งโดยใช้วิธีขนส่งด่วนแบบปลอดภาษีศุลกากร เป็นครั้งแรกในการทดสอบการปรับตัวของศุลกากรทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม และลาว ในการดำเนินนโยบายตามความตกลง RCEP เมื่อรถไฟขบวนนี้ออกจากด่านฮอร์กอสในซินเจียงแล้ว จะเดินทางผ่านคาซัคสถาน อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย โรมาเนีย และอีกหลายประเทศ คาดว่าจะเดินทางถึงกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี โดยใช้เวลาประมาณครึ่งเดือน


https://www.youtube.com/watch?v=iN26cXDvXlg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2022 12:55 am    Post subject: Reply with quote

นครแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนีต้อนรับรถไฟขนส่งสินค้าขบวนที่ 3 จากจีนเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งผู้จัดการทั่วไปในท้องถิ่นเชื่อว่ารถไฟขบวนดังกล่าวจะนำโอกาสทางธุรกิจมาสู่แฟรงก์เฟิร์ตมากขึ้น
คาวุส เคเดอซาเด ผู้จัดการทั่วไปของนิคมอุตสาหกรรมในเขตเฮิคสท์ของแฟรงก์เฟิร์ต ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่าเนื่องจากการคมนาคมทั้งทางทะเลและอากาศเผชิญความตึงเครียด รถไฟสินค้าจีน-ยุโรปจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการเชื่อมต่อโดยตรง พร้อมเสริมว่า “รถไฟดังกล่าวจะเพิ่มความสามารถของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในแฟรงก์เฟิร์ตและนำพาโอกาสทางธุรกิจเข้ามามากขึ้น”
รถไฟขนส่งสินค้าขบวนนี้ ซึ่งบรรทุกอะไหล่และส่วนประกอบยานยนต์ เดินทางออกจากนครเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และถึงเขตเฮิคสท์ของแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันพุธ (18 พ.ค.) ซึ่งนับเป็นรถไฟสินค้าขบวนที่ 3 ที่เดินทางจากจีนมายังแฟรงก์เฟิร์ตภายในระยะเวลา 12 เดือน
ทั้งนี้ แฟรงก์เฟิร์ตไม่มีรถไฟสินค้าแบบประจำที่เชื่อมไปยังจีน เนื่องจากปัจจุบันมีรถไฟสินค้าจีน-ยุโรปแบบประจำครอบคลุมหลายจุดหมายปลายทางในประเทศแถบยุโรปเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้แฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางยุโรป สามารถเชื่อมต่อกับประเทศปลายทางอื่นๆ ในยุโรปได้ง่ายขึ้น
เคเดอซาเดเสริมว่ารถไฟสินค้าจีน-ยุโรปจะกลายเป็นทางเลือกสำคัญของการขนส่งสินค้า เนื่องจากอัตราค่าระวางสินค้าทางทะเลอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง
https://www.xinhuathai.com/china/284303_20220523
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2022 11:14 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟจีน-ลาว ขนส่งผู้โดยสารทะลุ 3 ล้านเที่ยวแล้วหลังเปิดให้บริการเพียง 6 เดือน
ไทยรัฐออนไลน์
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:15 น.


การรถไฟจีนเผย รถไฟสายจีน-ลาวเป็นที่นิยมอย่างมาก หลังเปิดให้บริการได้เพียง 6 เดือนก็วิ่งรองรับการเดินทางของผู้โดยสารถึง 3.09 ล้านครั้งแล้ว


เมื่อวันที่ 25 พ.ค. สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า บริษัทการรถไฟแห่งประเทศจีน สาขานครคุนหมิง เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ทางรถไฟจีน-ลาวรองรับการเดินทางของผู้โดยสารกว่า 3.09 ล้านครั้งแล้ว หากนับถึงวันจันทร์ที่ 23 พ.ค.


บริษัทการรถไฟจีนระบุว่า ทางรถไฟจีน-ลาว ฝั่งจีน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รองรับการเดินทางของผู้โดยสารราว 2.71 ล้านครั้ง โดยมีรถไฟโดยสารให้บริการเฉลี่ย 23.5 คู่ต่อวัน ส่วนปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารในฝั่งลาว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแตะ 380,000 ครั้ง โดยวันที่มีการเดินทางมากสุดแตะที่เกือบ 5,000 ครั้ง

ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ระยะทาง 1,035 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างนครคุนหมิง กับนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว ถือเป็นโครงการสำคัญภายใต้แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative-BRI) อันมีคุณภาพสูง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2022 2:07 am    Post subject: Reply with quote

มนัญญา แก้ปัญหาด่านหนองคาย เคลียร์ทางส่งสินค้าผ่านรถไฟไทย-ลาว-จีน
เศรษฐกิจในประเทศ
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:33 น.

“มนัญญา” ลุยแก้ปัญหาความแออัดด่านตรวจพืชหนองคาย รองรับการขยายตัวส่งออก-นำเข้า ผ่านทางรถไฟสายไทย-ลาว-จีน สินค้าเกษตรไปยังประเทศจีน

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนด่านศุลกากรหนองคาย ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคาย


ว่าที่ประชุมได้รายงานการสถานการณ์การนำเข้า-ส่งออก สินค้าของด่านศุลกากรหนองคาย และด่านตรวจพืชหนองคาย และหารือถึงปัญหาความแออัดของรถตู้คอนเทนเนอร์หน้าด่าน จากนั้นตรวจเยี่ยมขั้นตอนการตรวจปล่อยทุเรียนส่งออกไปยังประเทศจีน ผ่านทางรถไฟสาย ไทย-ลาว-จีน ณ ลานตรวจสินค้า ด่านศุลกากรหนองคาย

ตามที่ได้รับแจ้งว่าเกิดปัญหาความแออัดของรถตู้คอนเทนเนอร์ขนสินค้าที่หน้าด่านศุลกากรหนองคาย ทำให้ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการเกิดความล่าช้า โดยในเรื่องนี้ตนได้มีความเป็นห่วงและจะเร่งแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด จึงได้หารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย และพบว่าปัญหาความแออัดนั้นเกิดจากสถานที่ด่านซึ่งมีพื้นที่จำกัด เพียง 40 ไร่ จึงทำให้ไม่มีพื้นที่จอดคอย ทางผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้ทำหนังสือของบปรับปรุงขยายพื้นที่



ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ พร้อมบูรณาการร่วมกับจังหวัด และจะช่วยประสานส่วนกลาง เพื่อเร่งปรับปรุงพื้นที่ รองรับการขยายตัวสินค้าส่งออก-นำเข้าในด่านแห่งนี้ และรองรับการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ซึ่งจะต้องเตรียมการและเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ส่วนตัวคิดว่าควรจะต้องรวดเร็วมากกว่านี้ ไม่รอจนกว่ารถไฟเชื่อมต่อกันแล้วเสร็จ แล้วค่อยสร้างสถานที่รองรับ

เนื่องจากจุดนี้มีสินค้านำเข้า-ส่งออก ที่หลากหลายไม่เพียงแต่ทุเรียน ในอนาคตหากรถไฟเชื่อมกันเสร็จจะเป็นอีกด่านหนึ่งที่รองรับการส่งออกได้มากขึ้น และเป็นหารเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกสินค้า

ส่วนในขั้นตอนของการตรวจปล่อยทุเรียนส่งออกไปยังประเทศจีน ไม่มีปัญหาความล่าช้า แต่เร็วขึ้นมาก เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากกรมวิชาการเกษตรได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการโดยมีห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ สามารถตรวจและเคลื่อนย้าย ทำให้ร่นระยะเวลาลง

รวมถึงนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการปฎิบัติงาน เช่น ขอใบรับรองสุขอนามัยพืชแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ โดยต้องมีการตรวจสอบข้อมูลกับระบบ GAP online ซึ่งเปิดใช้งานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 โดยจะนำเรื่องที่หารือกันในวันนี้ไปนำเรียนให้นายกรัฐมนตรีได้ทราบด้วย


ทั้งนี้ ด่านตรวจพืชหนองคายได้เปิดให้บริการ เพื่อให้เป็นด่านนำเข้าและส่งออกผลไม้ระหว่างไทยและจีน ตามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ไทยผ่านประเทศที่สาม สู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีช่องทางส่งออกเพิ่มขึ้น และเพื่อให้การดำเนินการส่งออกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จึงได้สั่งการให้ด่านตรวจพืชหนองคาย อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการขอใบรับรองสุขอนามัยพืช หรือใบแทน กรณีต้องแก้ไข ตลอดจนให้นายตรวจพืชปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ตามกฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้า สวมแหล่งกำเนิดสินค้า

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีคู่มือมาตรฐานการปฎิบัติงาน (SOP) ให้ชัดเจน ครอบคลุมทุกขั้นตอน และปรับปรุง แก้ไขให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงให้ครอบคลุมมาตรการป้องกันแพร่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 โดยมุ่งเน้นให้สินค้าเกษตรและอาหารมีความปลอดภัย เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค ที่จะส่งผลกระทบทางการค้าระหว่างกันให้น้อยที่สุด

สำหรับด่านตรวจพืชหนองคาย ก่อนที่ยังไม่มีการเปิดใช้เส้นทางรถไฟสายไทย-ลาว–จีน จะมีการใช้รถบรรทุกส่งออกไปยังประเทศสปป.ลาว เพียงประเทศเดียว ซึ่งปริมาณการส่งออกของปี 2564 มีปริมาณ 47,644.36 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งปี 664.62 ล้านบาท สินค้าเกษตรที่ส่งออก ได้แก่ กากถั่วเหลือง ปลายข้าว กากปาล์ม และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการเปิดใช้เส้นทางรถไฟสายไทย-ลาว-จีน อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 จนถึงปัจจุบัน

พบว่า มีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน โดยผ่านเส้นทางรถไฟดังกล่าว มีปริมาณการส่งออกถึง 2,611.88 ตัน คิดเป็นมูลค่า 424.81 ล้านบาท ได้แก่ ทุเรียน มังคุด และมะพร้าว ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 63.92 ของการส่งออกของไตรมาสแรกของการส่งออกเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกทั้งปี 2564

สำหรับด่านนำเข้า-ส่งออกทางบกของไทย ได้แก่ 1. เชียงของ 2. นครพนม 3. มุกดาหาร 4. บ้านผักกาด 5. บึงกาฬ และ 6. หนองคาย ส่วนด่านนำเข้า-ส่งออกของจีน ได้แก่ 1.โหว่อี้กวน 2. โม่ฮาน 3. ตงชิน 4. ด่านรถไฟผิงเสียง 5. ด่านรถไฟโม่ฮาน 6. เหอโขว่ 7. ด่านรถไฟเหอโขว่ 8. หลงปัง 9.เทียนเป่า และ 10 สุยโขว่

โอกาสนี้ รมช.เกษตรฯ เดินทางไปยังสำนักงานด่านตรวจพืชหนองคาย ตรวจติดตามโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ อาคารกักกันพืช เตาเผาทำลายสินค้าตัวอย่าง เพื่อจัดเตรียมความพร้อมในการตรวจรับรองปริมาณงานในอนาคต ในการให้บริการตรวจปล่อยสินค้าพืช ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อการนำเข้า นำผ่าน และส่งออก ตลอดจนตรวจเยี่ยมด่านกักกันสัตว์หนองคาย และศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 2 (หนองคาย) โดยได้เน้นย้ำให้รักษาคุณภาพสินค้าเกษตรก่อนการส่งออก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 134, 135, 136  Next
Page 91 of 136

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©