Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269036
ทั้งหมด:13580323
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 63, 64, 65 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/05/2022 7:41 am    Post subject: Reply with quote

ขายซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้มรอบใหม่
Source - เดลินิวส์
Tuesday, May 24, 2022 04:03
'บางขุนนนท์-มีนบุรี'1.4แสนล้าน เปิดบริการส่วนออกส.ค.68ตก70

รายงานข่าวแจ้งว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาทแล้ว ผู้สนใจดูประกาศ เชิญชวนฯ (ฉบับทางการ) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ข้อกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ และขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนได้ที่เว็บไซต์ รฟม. http://www.mrta.co.th ทั้งนี้ รฟม.จะเปิดจำหน่ายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for ProposalDocuments : RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ในวันทำการตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.-10 มิ.ย. 65 เวลา 09.00-15.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร 1 รฟม.

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบาง ขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นลักษณะโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการฯ รวมทั้งก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนเอกชนผู้ร่วมลงทุนจะลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้งและทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ งานระบบรถไฟฟ้ารวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทางรวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost)

รายงานข่าวแจ้งอีกว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีระยะทางประมาณ 35.9 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย สถานี 28 แห่ง ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง และสถานที่จอดและจร 2 แห่ง มีระยะเวลาร่วมลงทุนแบ่งเป็น ระยะที่ 1 การออกแบบ และก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันออก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน

และ 2.การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันตก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 ปี และระยะที่ 2 การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปีนับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการฯ ส่วนตะวันออก อย่างไร ก็ตามการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนนั้น รฟม. จะดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 อย่างเคร่งครัด คาดว่าจะได้ผู้ชนะประมูลภายในเดือน ส.ค. 65

รายงานข่าวแจ้งอีกด้วยว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบาง ขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.4 หมื่นล้านบาท ค่างานโยธา 9.6 หมื่นล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถซ่อมบำรุง 3.2 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้หลังจาก รฟม. ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 64 เนื่องจากได้รับการร้องเรียน จากกลุ่มบีทีเอสว่ามีการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลกลางคันทำให้เสียประโยชน์ ดังนั้นการประมูลรอบใหม่ รฟม. ได้ปรับแผนดำเนินโครงการเบื้องต้นคาดว่าจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. ในเดือน ส.ค. 68 ขณะนี้ภาพรวมการก่อสร้างได้ผลงานรวมกว่า 93.55% จะก่อสร้างเสร็จภายในปีนี้ โดยให้ผู้รับเหมารับประกันงานก่อสร้าง 2 ปี จากนั้นจะเปิดให้บริการส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. ในเดือน ธ.ค. 70.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 25 พ.ค. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2022 3:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ขายซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้มรอบใหม่
Source - เดลินิวส์
Tuesday, May 24, 2022 04:03
'บางขุนนนท์-มีนบุรี'1.4แสนล้าน เปิดบริการส่วนออกส.ค.68ตก70


ลิงก์อยู่นี่
ประมูลรอบใหม่! ขายซองรถไฟฟ้าสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี” 27 พ.ค.-10 มิ.ย.นี้
เศรษฐกิจ-ยานยนต์...
24 พฤษภาคม 2565 เวลา 08:09 น.

รฟม. เปิดขายซองรถไฟฟ้าสายสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)” รอบใหม่ 1.4 แสนล้าน 27 พ.ค.-10 มิ.ย.นี้ คาดได้ผู้ชนะ ส.ค.65 เล็งเปิดให้บริการ ส่วนตะวันออก ส.ค.68 ขณะที่ส่วนตะวันตกเปิด ธ.ค. 70

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1078505/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/559193675657871

รฟม.ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
https://www.thailandplus.tv/archives/540136

เปิดเกณฑ์ชิง”สายสีส้ม”รอบใหม่สุดหิน ตั้งคะแนนเทคนิค 90 มีสิทธิ์เปิดข้อเสนอราคา ดีเดย์ขายซอง27 พ.ค.-10 มิ.ย. 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20:32 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20:32 น.


รฟม.ตั้งหลักใหม่เปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้านบาท ขายซอง 27 พ.ค.-10 มิ.ย. 65 ยื่นซอง 27 ก.ค.เปิดข้อเสนอ 1 ส.ค. ตั้งเป้าลงนามสัญญาร่วมทุนปลายปี 65 เปิดเกณฑ์ตัดสินใหม่สุดหิน ซองที่ 2 ด้านเทคนิคต้องคะแนนเกิน 90 ถึงมีสิทธิ์เปิดข้อเสนอการเงินตัดสิน

รายงานข่าวจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า วันที่ 24 พฤษภาคม นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม.ได้ลงนามใน ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยผู้ที่สนใจสามารถซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ในวันทำการของ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร 1 รฟม. และมีกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. กำหนดเปิดซองข้อเสนอ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 น. โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในปลายปี 2565 โดยประกาศเชิญชวนฯ (ฉบับทางการ) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ข้อกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ และขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.mrta.co.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2716 4000 ต่อ 1519, 1589, 1590, 1591 ในวันและเวลาราชการ

สำหรับการคัดเลือก จะเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 อย่างเคร่งครัดโดยเป็นลักษณะโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

โดย รฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้ร่วมลงทุนลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทาง รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost)

มีระยะเวลาร่วมลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 : การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
-ส่วนที่ 1 การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันออก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน
-ส่วนที่ 2 การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันตก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 ปี
- ระยะที่ 2 : การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการฯ ส่วนตะวันออก

สำหรับคุณสมบัติทั่วไป ของผู้ยื่นข้อเสนอต้องเป็นนิติบุคคลไทยจดทะเบียนในไทย ไม่น้อยกว่า 3 ปี กรณีเป็นนิติบุคคลหลายราย รวมกันเป็นกลุ่ม ต้องมีนิติบุคคลไทยร่วมอย่างน้อย 1 รายที่มีสัดส่วนถือหุ้นไม่น้อยกว่า 35% ,มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท

คุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์และผลงาน ต้องมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการก่อสร้างงานโยธา ที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่แล้วเสร็จภายในช่วงเวลา 20 ปี ครบทั้ง 3 ประเภท อย่างน้อย 1 โครงการ โดยมูลค่าของผลงานแต่ละประเภทในสัญญาเดียวจะต้องไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท โดยประสบการณ์ทางด้านงานโยธาทั้ง 3 ประเภท ที่ผู้ยื่นข้อเสนอต้องนำเสนอประกอบด้วย ก.งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะ ข.งานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดิน ค. งานออกแบบและก่อสร้างทางวิ่งพร้อมรางที่สาม แบบไม่ใช้หินโรยทาง

ประสบการณ์ในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า ต้องมีประสบการณ์ในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน( Heavy Rail) ภายในระยะเวลา 25 ปี และดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี อย่างน้อย 1 โครงการ

@เปิดเกณฑ์ตัดสินใหม่สุดหิน ผ่านเทคนิคคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 90

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก วิธีการและหลักเกณฑ?ในการตัดสิน กำหนดข้อเสนอ 4 ซอง ได้แก่ ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ซองที่2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซองที่4 ข้อเสนออื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการ และการดำเนินงานของรฟม.

โดยการพิจารณาข้อเสนอนั้น เมื่อผู้ยื่นข้อเสนอผ่านการตรวจสอบเอกสารครบถ้วน ได้แก่ หนังสือมอบอำนาจ หลักประกันซอง ความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารข้อเสนอตามที่ระบุไว้ในเอกสาร RFP จะได้รับการพิจารณา ข้อเสนอซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ ประเมินแบบผ่าน/ไม่ผ่าน กรณีไม่ผ่านจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 พร้อมกับส่งซองข้อเสนอคืน

การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค ประเมินแบบคะแนนคิดเป็นร้อยละ คะแนนเต็มร้อยละ 100 โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
1. โครงสร้างองค์กร บุคลากร และแผนการดำเนินงาน ร้อยละ 10
2. แนวทางวิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคโยธา ร้อยละ 50
3.แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคงานระบบรถไฟฟ้า ร้อยละ 10
4. แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา ร้อยละ 30

ผู้ยื่นข้อเสนอต้องได้รับคะแนนประเมินในแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85 และได้รับคะแนนการประเมินรวมทุกหมวดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของคะแนนรวมทั้งหมด จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และจะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซึ่งจะประเมินแผนธุรกิจ แผนการเงิน การระดมทุน การใช้จ่ายและแผนบริหารความเสี่ยง ผลตอบแทนที่จะให้แก่รฟม.และ/หรือจำนวนเงินสนับสนุนค่างานโยธาส่วนตะวันตกที่ขอรับจาก รฟม.

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 145,265 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14,621 ล้านบา ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 40 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา 3,223 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานระบบรถไฟฟ้า 369 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 96,012 ล้านบาท ค่างานระบบและขบวนรถ 31,000 ล้านบาท

มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/05/2022 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ประมูลรอบใหม่! ขายซองรถไฟฟ้าสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี” 27 พ.ค.-10 มิ.ย.นี้
เศรษฐกิจ-ยานยนต์...
24 พฤษภาคม 2565 เวลา 08:09 น.

ดีเดย์ 27 พ.ค.นี้ รฟม.เปิดชิงซองประมูล “สายสีส้ม” รอบใหม่ 1.4 แสนล้าน
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 25 พ.ค. 2565 เวลา 13:04 น.

รฟม.เปิดชิงซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้านบาท เริ่ม 27 พ.ค.-10 มิ.ย.นี้ เล็งดึงเอกชนร่วมทุน PPP Net Cost จ่อยื่นข้อเสนอก.ค.นี้ คาดลงนามสัญญาปลายปี 65

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นลักษณะโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้ร่วมลงทุนลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทาง รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost)

สำหรับระยะเวลาร่วมลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 : การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. 1 การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันออก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน

1. 2 การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันตก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 ปี

ระยะที่ 2 : การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการฯ ส่วนตะวันออก

ทั้งนี้การคัดเลือกดังกล่าว จะเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 อย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่สนใจสามารถซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ในวันทำการของ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร 1 รฟม. และมีกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในเดือนกรกฎาคม 2565 คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในปลายปี 2565 โดยประกาศเชิญชวนฯ (ฉบับทางการ) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ข้อกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ และขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.mrta.co.th

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2022 11:03 pm    Post subject: Reply with quote

ใครได้ประโยชน์! “วิโรจน์” ถามทำไมสถานีสุดท้าย รฟฟ.สีส้มเป็น “แยกร่มเกล้า”
การเมือง
วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:30 น.

“วิโรจน์” ตั้ง 3 คำถามก่อสร้าง รฟฟ.สายสีส้ม ทำไมสถานีสุดท้ายต้องเป็น “แยกร่มเกล้า” ทั้งที่ห่างสถานี “มีนบุรี” จุดเชื่อมสายสีชมพูแค่ 800 เมตร สร้างแล้วใครได้ประโยชน์

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2565 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ตั้งคำถามถึงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยระบุว่า ทำไมรถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีสุดท้ายถึงต้องเป็นสถานีแยกร่มเกล้า


นายวิโรจน์ ระบุว่า การก่อสร้างสถานีเพิ่มอีก 1 สถานี ต้องใช้งบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนประมาณ 1,500 ล้านบาท คิดว่านี่คือเรื่องที่สมเหตุสมผล ที่ประชาชนจะตั้งคำถามร่วมกัน เกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนท์-มีนบุรี)

1.ทำไมสถานีสุดท้ายถึงเป็นสถานีแยกร่มเกล้าซึ่งบริเวณนั้นมีที่ดินเปล่าอยู่ 300 ไร่ และเป็นสถานีที่ห่างออกไปจากสถานีมีนบุรีเพียง 800 เมตรเท่านั้น


2.ทำไมสถานีสุดท้ายจึงไม่ใช่ สถานีมีนบุรี ซึ่งเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู

3.การสร้างสถานีแยกร่มเกล้า ให้เป็นสถานีสุดท้าย ได้มีการประเมินเอาไว้หรือไม่ว่า จะเกิดประโยชน์กับประชาชนซึ่งเป็นผู้โดยสารมากแค่ไหน ประโยชน์ที่เกิดขึ้น นั้นเกิดขึ้นกับประชาชน หรือใครกันแน่

https://www.facebook.com/wirojlak/posts/498593438723882
//------------------------------

ทำไมสายสีส้มต้องมี สถานีแยกร่มเกล้า
มาช่วยกันหาคำตอบให้อดีต สส.วิโรจน์ กันหน่อย….
พอดีผมไปเห็นโพสต์ จาก เพจของคุณวิโรจน์ อดีต สส. พรรค ก้าวไกล และอดีตหนึ่งในผู้สมัครผู้ว่า กทม. ที่ตั้งคำถามว่า
- ทำไมสายสีส้ม ต้องมีสถานีแยกร่มเกล้า???
- ห่างจากสถานีมีนบุรี แค่ 800 เมตร เอื้อประโยชน์ใครรึเปล่า???
เลยขอเอาประเด็นนี้มาเคลียร์แล้วมาเล่าให้เพื่อนๆฟังกันหน่อยดีกว่า ว่าทำไม ต้องมีสถานีแยกร่มเกล้า มันโผล่มาตอนไหนของการออกแบบ และอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อ???
ลิ้งค์ต้นโพสต์
https://www.facebook.com/100057196910314/posts/498593468723879/?d=n
ปล. อยากได้รู้อ่าน EIA ได้นะค๊าบบบ มีทุกสายตามลิ้งค์นี้เลย

https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/environmental/

ก่อนอื่นผมขอทำตัวเป็นคนแก่ เล่าเรื่องเก่าให้เพื่อนๆฟังกันหน่อย
ความเปลี่ยนแปลงของรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- ในแผนแรก คือเส้นทาง บางกะปิ-สามเสน
- ควบคู่กับการศึกษา สายสีน้ำตาล บางกะปิ-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)
จากนั้นรถไฟฟ้าสายสีส้มก็มีการมีการปรับปรุงแผนตาม BMT ไปเป็นเส้นทาง บางบำหรุ-สามเสน-บางกะปิ ในปี 2547
จนสุดท้าย เป็นแผนแม่บท MMap เป็นเส้นทาง ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ซึ่งรวม สายสีส้ม และสายสีน้ำตาล ในเส้นเดียวกัน ภายในปี 2553
—————————
จากแผนแม่บท ก็นำไปสู่การศึกษาในรายละเอียดของรถไฟฟ้าสายสีส้ม เส้นทาง ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี
ก็มีการศึกษาในเส้นทางล่าสุดเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ออกมาเป็น EIA เล่ม ปี 2558 ที่นำไปสู่การก่อสร้างรถไฟฟ้าในปัจจุบัน
โดยมีการเปลี่ยนเส้นทางการก่อสร้างในหลายจุด พร้อมกับการเพิ่ม สถานี แยกร่มเกล้า ที่เป็นประเด็นคำถามนี้!!!
ซึ่งในเล่มการศึกษา EIA มี การระบุเรื่องการเพิ่มสถานีแยกร่มเกล้า (ตอนศึกษา ชื่อว่า สถานีสุวินทวงศ์) ว่า
“แนวเส้นทางเพิ่มเติมเป็นการต่อขยายจุดเส้นสุดโครงการเดิม ไปตามถนน รามคำแหง ถึงแยกสุวินทวงศ์ โดยเมื่อออกจากสถานีมีนบุรี จะเลียบทางขวามือ ของถนนรามคำแหง ผ่าน สี่แยกร่มเกล้า แล้ว สร้างสถานีสุวินทวงศ์ บริเวณซอย ฟลอเรสปาร์ค
เปลี่ยนแปลง เพื่อให้บริการผู้โดยสารบริเวณพื้นที่โดยรอบ ได้แก่ เขตมีนบุรี เขต คลองสามวาและเขตหนองจอก”
พร้อมกันกับ ในเอกสาร EIA ได้ระบุว่า จะมีผู้โดยสาร มาใช้บริการ ที่สถานีสุวินทวงศ์ 7,900 คน/วัน ซึ่งเป็นปริมาณที่คุ้มค่าในการสร้างสถานีเพิ่มเติม….
ยิ่งไปกว่านั้น ที่ต้องเข้าใจว่า รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นรูปแบบ Metro หรือรถไฟฟ้าในเมือง เพื่อความสะดวกในการเดินทาง และรับคนถี่ที่ได้พื้นที่มากที่สุด
ซึ่งการที่มีระยะทางระหว่างสถานี 800-1500 เมตร ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ…
—————————
จากข้อมูลใน EIA ก็น่าจะตอบได้ไประดับนึงแล้วว่าทำไมต้องมีสถานีแยกร่มเกล้า
ยิ่งไปกว่านั้น ตรงตำแหน่งสถานีนี้จะสามารถจะเชื่อมต่อ และขยายเส้นทางไปบนถนนสุวิทวงศ์
ถ้าในอนาคตจะพัฒนาระบบย่อย ซึ่งสามารถไปหนองจอก หรือ ฉะเชิงเทรา ได้เลย
แล้วก็จะมีคนถามว่า แล้วทำไมไม่ทำเส้นทางต่อขยายรองรับไปทางถนนร่มเกล้า-สุวรรณภูมิล่ะ…
ตอบได้เลยว่า รถไฟฟ้า Monorail สายสีชมพู เค้าออกแบบรองรับการขยายเส้นทางไปบนถนนร่มเกล้า เพื่อในอนาคตจะขยายไปเชื่อมกับ สายสีแดง หรือ Airport link ลาดกระบังแล้ว….
มากไปกว่านั้น ในช่วงปี 2558 ก่อนมีการเริ่มก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีส้ม และชมพู โดย สส. วิชาญ มีนชัยนันท์ ได้มีการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพูไปบนเส้นทางสุวินทวงศ์ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของประชาชน
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
https://mgronline.com/politics/detail/9580000005366
แล้วมากไปกว่านั้น สถานีแยกร่มเกล้า ที่ท่านอดีต สส. พูดถึงนั้น สร้างแทบจะเสร็จ ความคืบหน้าไปกว่า 90% แล้ว ทำไมพึ่งมาค้านเอาตอนนี้??? จนตอนนี้เค้าจะหาคนเดินรถอยู่แล้ว???

—————————
สุดท้าย มีหลายคนเรียกร้องให้มีการออกแบบระบบขนส่งมวลชน ก่อนการพัฒนาเมือง และมีพื้นที่ในการพัฒนาในอนาคต ซึ่งในสายสีส้มนี้ก็ได้ทำไปแล้ว เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเมือง และเส้นทางรองต่างๆ เพื่อให้มาเชื่อมต่อได้ง่าย
ดังนั้น ผมขอสรุปว่า การสร้างสถานีแยกร่มกล้า ไม่ได้เป็นการทำเพื่อเอื้อผลประโยชน์ใคร แต่สุดท้าย การพัฒนาที่ดินโดยรอบสถานี ซึ่งมีโอกาสเกิดตามหลังสถานีได้ เป็นเรื่องที่ดี และสร้างโอกาสในการได้เห็นที่อยู่อาศัยราคาถูก ใกล้รถไฟฟ้า สะดวกในการเดินทางเข้าเมือง แบบที่หลายๆคนรอคอย และเรียกร้อง….
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1435611063544035
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/05/2022 11:41 am    Post subject: Reply with quote

BTS-BEM ระเบิดศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม.ลุยประมูลหักด่านศาลปกครอง
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 27 พ.ค. 2565 เวลา 10:10 น.

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ภาคสอง1.4 แสนล้าน BTS-BEM สองยักษ์ระบบรางประกาศชิงเดือด รฟม.ลุยประมูลหักด่านศาลปกครองเกณฑ์ทีโออาร์คะแนนซองเทคนิค 90% เข้มกว่ารอบแรก ขณะอีก 4 เส้นทางใหม่ รฟม.-กทม. ทยอยประมูล 2.1แสนล้าน

ศึกชิงเค้กภาคสอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) มูลค่า1.4แสนล้านบาทเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เมื่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดขายเอกสารประกวดราคา ตั้งแต่วันที่ 27พฤษภาคม -10 มิถุนายน 2565 รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน หรือ PPP

หลังยกเลิกประมูลครั้งแรกเมื่อวันที่3กุมภาพันธ์ 2564เนื่องจากขณะนั้นมีเรื่องฟ้องร้องเป็นคดีความในศาลปกครองกรณีแก้ไขหลักเกณฑ์ทีโออาร์ให้พิจารณาคะแนนซองเทคนิคร่วมกับซองราคาสัดส่วน 30% และ 70%ตามลำดับแทนการชี้ขาดที่ซองราคา100%

เกรงว่าหากรอคำวินิจฉัยศาลเป็นที่สุดอาจทำให้โครงการล่าช้าซึ่งโจทย์ที่ยื่นฟ้องรฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรัฐโครงการสายสีส้ม ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุน ปี 2562 ในครั้งนั้นคือบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BTSC

ทีโออาร์สีส้มเข้ม

ขณะเกณฑ์ทีโออาร์ใหม่รถไฟฟ้าสายสีส้มมีความเข้มข้นมากมีเงื่อนไขว่าผู้ยื่นประมูลต้องผ่านคะแนนเทคนิค 90% หากต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหมดสิทธิ์เปิดซองราคา อย่างไรก็ตามสองบริษัทยักษ์ใหญ่ทางรางต่างออกมาประกาศตัวว่าจะลงแข่งขันคว้าชัยโครงการสายสีส้มในครั้งนี้ประกอบด้วย

งานระบบรถไฟฟ้าขบวนรถบริหารการเดินรถซ่อมบำรุง มูลค่าเดินรถ 32,116 ล้านบาท และงานโยธาสายสีส้มตะวันตกมูลค่า 96,012 ล้านบาท ส่วนสายสีส้มตะวันออกงานก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จรอเพียงระบบเดินรถที่ต้องลุ้นว่าใครจะชนะประมูล

คุณสมบัติแน่นสร้างอุโมงค์หัวเจาะ

สำหรับคุณสมบัติแหล่งข่าวจากรฟม.ระบุว่า การกำหนดเอกสารประกวดราคา (RFP) ค่อนข้างเข้มงวดเพราะต้องการเอกชนที่มีความชำนาญการด้านเทคนิคสูงสุด เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกแนวเส้นทางอยู่ใต้ดินอีกทั้งผ่านย่านสำคัญเขตกรุงเทพชั้นในทั้งชุมชนขนาดใหญ่โบราณสถาน ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ฯลฯ

ดังนั้นผลงานสำคัญ ต้องผ่านงานก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะมาก่อน งานออกแบบก่อสร้างสถานีใต้ดินงานออกแบบก่อสร้างทางวิ่งพร้อมรางที่สามแบบไม่ใช้หินโรย มีประสบการณ์ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 25 ปี และดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีอย่างน้อยหนึ่งโครงการ

ที่สำคัญต้องเคยเป็นคู่สัญญารับงานภาครัฐโดยตรงและมีผลงานแล้วเสร็จไม่ต่ำกว่า 20 ปี เคยมีผลงานสัญญาเดียวมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทเป็นต้น

ในทางกลับกัน กรณีเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอขาดประสบการณ์ดังกล่าว สามารถนำผลงานมายื่นเสนอได้แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นนิติบุคคลไทยรายเดียวหรือกลุ่มนิติบุคคลที่มีนิติบุคคลไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 51% ทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5,000ล้านบาทโดยผู้ชนะประมูลจะได้สิทธิ์เดินรถไฟฟ้าทั้งระบบเป็นเวลา 30 ปี

BTS-BEM พร้อมลุย

ก่อนหน้านี้ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BEM กล่าวว่าบริษัทพร้อมยื่นประมูลแข่งขันตามขั้นตอนในทุกกติกาที่ ประกาศออกมา เนื่องจากบริษัทฯมีความมั่นใจ และเชื่อมั่นคุณสมบัติและความสามารถในการประมูลแข่งขันในครั้งนี้ เพราะมีบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาดูเรื่องงานก่อสร้าง

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC ระบุ บริษัทพร้อมเข้าประมูลสายสีส้มรอบใหม่ แต่เบื้องต้นทางบริษัทต้องดูเอกสารประกวดราคา (RFP) ก่อนว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากการทำประชาพิจารณ์ของรฟม.ในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ชี้แจงถึงหลักเกณฑ์การประมูล

“บริษัทตั้งใจจะเข้าร่วมการประมูลอยู่แล้ว หากรฟม.ยังยืนยันใช้เกณฑ์ด้านราคาควบคู่เกณฑ์ด้านเทคนิค บริษัทคงต้องพิจารณาว่าการประมูลมีความโปร่งใส ยุติธรรมหรือไม่”

คดีเก่า สายสีส้มยังไม่จบ

ทั้งนี้การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบใหม่จะกระทบต่อคดีที่อยู่ในศาลปกครองและศาลอาญาคดีทุจริตหรือไม่นั้น นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า บริษัทต้องพิจารณาหลักเกณฑ์การประมูลที่ประกาศออกมา เพราะเป็นเรื่องข้อกฎหมาย

ปัจจุบันคืบหน้าคดีการแก้ไขหลักเกณฑ์และยกเลิกการประมูลของรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนั้น ขณะนี้ศาลฯอยู่ระหว่างการสืบพยานทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อประกอบข้อเท็จจริง

ความคืบหน้าคดีที่ศาลปกครองยังอยู่ทั้งหมด 2 คดี ประกอบด้วย 1.คดีละเมิดการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลได้ตัดสินแล้วว่าการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมายและยกฟ้องค่าเสียหาย 500,000 บาท

เนื่องจากบริษัทต้องจัดทำเอกสารข้อเสนอในการประมูลอยู่แล้ว โดยศาลพิจารณาให้จำหน่ายคดีบางส่วน 2.คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และรฟม.ยกเลิกประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขณะนี้อยู่ระหว่างรอศาลปกครองกลางพิจารณา

เปิดเค้ก 4 สาย 2 แสนล้าน

นอกจากรถไฟฟ้าสายสีส้มที่จะประมูลแล้ว อนาคตอันใกล้ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ทั้งของรฟม.และกทม.ภายใต้การกำกับดูแลของนายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่ากทม.คนใหม่ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.1 แสนล้านบาท

ประกอบด้วย สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ของรฟม. ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 20,864 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 19,013 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,255 ล้านบาทสถานะ

อยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จช่วงเดือน กันยายน2566เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกวดราคา ราวปี 2566-2567 ได้เอกชนผู้ชนะประมูลร่วมลงทุนปี 2568 ก่อสร้างงานโยธา 39 เดือนเปิดให้บริการในปี 2571

ส่วนกทม.มี 3 โครงการได้แก่ สายสีทอง เฟส 2 ช่วงคลองสาน-ถนนประชาธิปก ขั้นตอนอยู่ระหว่างของบปี 2565 เพื่อจ้างศึกษาโครงการ รูปแบบ PPP เช่นเดียวกับสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ท่าพระ อยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมได้ ในปีนี้และ เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการปี 2566

เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอประมูลปี 2567-2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ระหว่าง ปี 2569-2572 เปิดให้บริการปี 2573โดย ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)กทม.เปิดสัมมนาปัจฉิมนิเทศเมื่อวันที่27พฤษภาคมนี้

เส้นทางสุดท้ายรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายสีเงิน) อยู่ระหว่างการแก้ไขอีไอเอ และสรุปผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการ เสนอกระทรวงมหาดไทย-ครมเห็นชอบ ปี 2566 เปิดประมูลปี 2567 เปิดให้บริการปี 2572

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2022 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดทีโออาร์ สายสีส้ม “เข้มสเปก” ซองเทคนิค BTS-BEM พร้อมสู้ศึกประมูล
วันพฤหัสบดี ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 6:30 น.

รฟม.ตั้งโจทย์หินคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้ม หวังคัดฝีมืองานโยธาคุณภาพสูง เหตุแนวเส้นทางผ่านพื้นที่สำคัญ เข้มเกณฑ์คะแนนเทคนิค 90% จึงจะมีสิทธิเปิดซองราคา เปิดช่องชี้ขาดขั้นสุดท้ายด้วยเทคนิค เริ่มขายซอง 27 พ.ค.นี้ บีทีเอส-บีอีเอ็ม พร้อมลงสนามเปิดศึกชิง

การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุน145,265 ล้านบาท ในลักษณะโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ครั้งที่ 2 เริ่มต้นแล้วหลังจากก่อนหน้านี้ มีการยกเลิกการประมูลไปเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2565 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.ลงนามประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยขายซองเอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP) วันที่ 27 พ.ค.-10 มิ.ย.2565 และรับซองข้อเสนอวันที่ 27 ก.ค.2565 เปิดซองข้อเสนอวันที่ 1 ส.ค.2565 เพื่อลงนามสัญญาร่วมลงทุนปลายปี 2565

สำหรับโครงการร่วมลงทุนดังกล่าว รฟม.ลงทุนจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการ ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้ร่วมลงทุนลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการ ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทาง รวมถึงจัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost)

ขณะที่ระยะเวลาการร่วมลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ


1.การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการส่วนตะวันออก ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน และส่วนที่ 2 ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการ ส่วนตะวันตก ระยะเวลาไม่เกิน 6 ปี

2.การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันเริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการ ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

ส่วนข้อกำหนดด้านคุณสมบัติทั่วไป กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอเป็นนิติบุคคลไทยจดทะเบียนในไทยไม่น้อยกว่า 3 ปี กรณีเป็นนิติบุคคลหลายรายรวมกันต้องมีนิติบุคคลไทยร่วมอย่างน้อย 1 ราย ที่มีสัดส่วนถือหุ้นไม่น้อยกว่า 35% และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นกลุ่มนิติบุคคลต้องมีนิติบุคคลไทยเป็นสมาชิกภายในกลุ่มอย่างน้อย 1 ราย ที่มีสัดส่วนถือหุ้นไม่น้อยกว่า 35% ของทั้งหมด และมีสัดส่วนนิติบุคคลไทยรวมไม่น้อยกว่า 51%


ต้องเคยสร้างอุโมงค์ใต้ดิน

ด้านคุณสมบัติเทคนิค กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการก่อสร้างงานโยธา ที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่แล้วเสร็จภายในช่วงเวลา 20 ปี ครบทั้ง 3 ประเภท อย่างน้อย 1 โครงการ โดยมูลค่าของผลงานแต่ละประเภทในสัญญาเดียวจะต้องไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ประสบการณ์ทางด้านงานโยธาทั้ง 3 ประเภทที่ผู้ยื่นข้อเสนอต้องนำเสนอ ประกอบด้วย ก.งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะ ข.งานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดิน และ ค.งานออกแบบและก่อสร้างทางวิ่งพร้อมรางที่สาม แบบไม่ใช้หินโรยทาง

ทั้งนี้กรณีผู้ยื่นข้อเสนอขาดประสบการณ์บริการจัดหารก่อสร้างงานโยธาตามที่กำหนดไว้ ผู้ยื่นข้อเสนอนำประสบการณ์และผลงานของผู้รับจ้าง (Contractor) มายื่นข้อเสนอได้ โดยผู้รับจ้างต้องเป็นนิติบุคคลไทยรายเดียวหรือเป็นกลุ่มนิติบุคคลที่มีนิติบุคคลไทบถือหุ้นรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 51%

นอกจากนี้ กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า โดยให้บริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Heavy Rail) ภายใน 25 ปี และดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี อย่างน้อย 1 โครงการ

เข้มคุณสมบัติเทคนิคมากขึ้น

รายงานข่าวระบุว่า ข้อกำหนดใน RFP ครั้งนี้ รฟม.ปรับเปลี่ยนจากการประกวดราคาครั้งก่อน โดยระบุชัดเจนในส่วนคุณสมบัติด้านเทคนิคที่ต้องการ และยอมรับว่าเป็นข้อกำหนดที่เข้มข้นขึ้น เพราะเนื่องด้วยโครงการนี้มีแนวเส้นทางผ่านจุดสำคัญของประเทศ เป็นพื้นที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นจำเป็นอย่างมากในการคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์งานเทคนิคสูง

“รฟม.เรากลับมาใช้เกณฑ์พิจารณาที่ใช้คัดเลือกเอกชนในหลายโครงการ คือ การพิจารณาผู้ผ่านเกณฑ์ไปทีละซอง แต่มาเข้มงวดในซองด้านเทคนิคที่ต้องมีข้อเสนอดีที่สุด มีงานเทคนิคเป็นไปตามที่ รฟม.ต้องการ เพราะไม่ใช่การแข่งขันด้วยราคา แต่เพราะโครงการนี้ต้องคัดเลือกเอกชนที่มีคุณสมบัติงานเทคนิคจริงๆ และเกณฑ์นี้ก็ใช้ประกวดราคาในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ที่ผ่านมา”

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก วิธีการและหลักเกณฑ์ในการตัดสิน รฟม.กำหนดข้อเสนอ 4 ซอง ได้แก่ ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซองที่ 4 ข้อเสนออื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการดำเนินงานของ รฟม.โดยกำหนดผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์ รวมถึงการให้คะแนนข้อเสนอด้วย แบ่งเป็น

ข้อเสนอซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ ประเมินแบบผ่านหรือไม่ผ่าน กรณีไม่ผ่านจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2-3 พร้อมส่งซองข้อเสนอคืน

ข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค ประเมินแบบคะแนนคิดเป็นร้อยละ คะแนนเต็ม 100% แบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้

1.โครงสร้างองค์กร บุคลากรและแผนการดำเนินงาน 10%

2.แนวทางวิธีการดำเนินงานและความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคโยธา 50%

3.แนวทางวิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคงานระบบรถไฟฟ้า 10%

4.แนวทาง วิธีการดำเนินงานและความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา 30%

ทั้งนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องได้คะแนนแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 85% และได้คะแนนรวมทุกหมวดไม่น้อยกว่า 90% ของคะแนนรวมทั้งหมด จึงจะผ่านเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และได้รับพิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการลงทุนและผลตอบแทน และซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ

เปิดช่องชี้ขาดด้วยเทคนิค

ข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จะประเมินแผนธุรกิจ แผนการเงิน การระดมทุน การใช้จ่ายและแผนบริหารความเสี่ยง ผลตอบแทนที่จะให้แก่ รฟม. และหรือจำนวนเงินสนับสนุนค่างานโยธาส่วนตะวันตกที่ขอรับจาก รฟม. โดยหากข้อเสนอซองที่ 3 มีความน่าเชื่อถือ และมี NPV ของผลประโยชน์สุทธิ (เงินตอบแทนที่จะให้แก่ รฟม.หักด้วยเงินสนับสนุนที่จะขอรับจาก รฟม.) สูงที่สุด จะเป็นผู้ที่ผ่านการประเมินสูงสุด

ในกรณีถ้ามีผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอ NPV ของผลประโยชน์สุทธิสูงเท่ากัน รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 จะนำผลคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 มาเปรียบเทียบจัดลำดับหาผู้ที่ผ่านการประเมินสูงสุด และกรณีผู้ผ่านการประเมินสูงสุดไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหรือไม่ยอมทำสัญญากับ รฟม.ในเวลาที่กำหนดจะเจรจาผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินในลำดับรองลงมา

ประมูลรอบแรกค้าง3คดี

อย่างไรก็ดี การประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการเริ่มต้นขั้นตอนพีพีพีรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รฟม.ยกเลิกการประกวดราคาเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 เพราะผู้ซื้อซองเอกสาร RFP รายหนึ่งยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง กรณี รฟม.ปรับใช้หลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอ และท้ายที่สุด 9 ก.พ.2565 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง และชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เหตุยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับเอกชนทำให้ รฟม.เริ่มขั้นตอนประมูลใหม่

อีกทั้งโครงการนี้มีข้อพิพาท 3 คดี คือ 1.ศาลปกครอง คดีที่ภาครัฐออกประกาศยกเลิกประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม 2.คดีเรียกร้องค่าเสียหาย จากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประกวดราคา 3.คดีตามกระบวนการศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

“บีทีเอส-บีอีเอ็ม”ร่วมชิง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวว่า การประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้มรอบใหม่นั้นบริษัทจะเข้ายื่นซองเสนอราคาหรือไม่นั้น เบื้องต้นคงต้องดูรายละเอียดเอกสาร RFP ก่อน

“รถไฟฟ้าสายสีส้มเราก็จะเข้าร่วมอยู่แล้ว แต่คงต้องรอดูร่าง RFP ก่อนว่าเป็นอย่างไร และจะเข้าร่วมกับพันธมิตรกลุ่มเดิมหรือไม่ ก็คงต้องรอดูก่อนว่า RFP กำหนดอย่างไร และต้องดูรายละเอียดและองค์ประกอบของเอกสารการประมูลว่ามีความโปร่งใส ยุติธรรมในการประมูลหรือไม่”

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า บริษัทฯ พร้อมเข้าร่วมประมูลและแข่งขันในทุกกติกาที่ภาครัฐประกาศออกมา เพราะเชื่อมั่นใจคุณสมบัติและขีดความสามารถ โดยในภาพรวมงานก่อสร้างทางบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ดูแล
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/05/2022 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

'ดร.สามารถ'คาด BTS ส่อวืดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบ2
เผยแพร่: 28 พ.ค. 2565 12:47
ปรับปรุง: 28 พ.ค. 2565 12:47
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและ ท่าอากาศยาน โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า “บีทีเอส” ส่อ “วืด” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “รอบ 2”

หลังจากล่าช้ามาเกือบ 2 ปี ในที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้ รฟม. ได้เปิดประมูลครั้งใหม่เพื่อหาผู้ร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) และเดินรถตลอดทั้งสาย (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) เกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนครั้งใหม่ต่างจากครั้งเก่าอย่างไร ? มีการล็อกสเปกหรือไม่ ? ต้องติดตาม !

1. ประมูลครั้งแรกใช้เกณฑ์อะไร ?

เดิมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณาซองเทคนิคหรือความสามารถด้านเทคนิคก่อนซองผลตอบแทนที่เสนอให้แก่ รฟม. โดยให้คะแนนด้านเทคนิคเต็ม 100% และด้านผลตอบแทนเต็ม 100% เช่นกัน

ในส่วนของคะแนนด้านเทคนิคนั้น ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนในแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 80% และจะต้องได้คะแนนรวมทุกหมวดไม่น้อยกว่า 85% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ต่อจากนั้น รฟม. จะพิจารณาซองผลตอบแทนต่อไป ใครเสนอผลตอบแทนสุทธิ (ผลตอบแทนที่จะให้ รฟม.-เงินสนับสนุนที่ขอรับจาก รฟม.) ให้แก่ รฟม. มากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล

2. รฟม. เปลี่ยนเกณฑ์กลางอากาศ !

ก่อนถึงวันยื่นข้อเสนอ รฟม. เปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือกใหม่ โดยจะพิจารณาซองเทคนิคกับซองผลตอบแทนพร้อมๆ กัน ให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนผลตอบแทน 70% ใครได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล

เหตุที่เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล รฟม. อ้างว่าต้องการได้เอกชนที่มีขีดความสามารถสูง เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกจะต้องลอดใต้เกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่ผมแย้งว่าถ้าต้องการได้เอกชนที่มีความสามารถสูงจริง รฟม. จะต้องใช้เกณฑ์เดิม เพราะให้ความสำคัญด้านเทคนิคไว้สูง โดยกำหนดคะแนนด้านเทคนิคไว้เต็ม 100% ต่างกับเกณฑ์ใหม่ที่ลดความสำคัญด้านเทคนิคลงเหลือ 30% เท่านั้น อีกทั้ง การพิจารณาซองเทคนิคและซองผลตอบแทนพร้อมๆ กัน หากกรรมการคัดเลือกต้องการช่วยเอกชนรายใดรายหนึ่งจะทำได้ง่ายกว่า

3. BTS ฟ้องศาลฯ ทวงความเป็นธรรม

การเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลกลางอากาศทำให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ซึ่งเป็นเอกชนรายหนึ่งที่ต้องการยื่นประมูลเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงฟ้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลฯ จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยศาลฯ ได้ระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า การเปลี่ยนเกณฑ์การประมูล “จึงเป็นคำสั่งที่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย” แต่ รฟม. ไม่เห็นด้วย จึงเดินหน้าสู้ด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดโดยขอให้ศาลฯ มีคำสั่งระงับคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง

4. รฟม. ล้มประมูล

ยังไม่ทันที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งลงมา รฟม.ได้ชิงล้มการประมูลไปก่อนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นผลให้ BTS ฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฯ

5. รฟม. เปิดประมูลครั้งใหม่ เกณฑ์ใหม่ต่างจากเกณฑ์เดิมอย่างไร ?

เมื่อเร็วๆ นี้ รฟม. ได้เปิดประมูลครั้งใหม่ โดยใช้เกณฑ์ประมูลเหมือนกับเกณฑ์ก่อนล้มประมูล นั่นคือพิจารณาซองเทคนิคก่อน หากผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิค ก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านผลตอบแทนต่อไป ใครเสนอผลตอบแทนสุทธิสูงสุดก็จะชนะการประมูล

แต่อย่างไรก็ตาม รฟม. ได้ปรับคะแนนผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคให้สูงขึ้น โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนในแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 85% (เดิมไม่น้อยกว่า 80%) และจะต้องได้คะแนนรวมทุกหมวดไม่น้อยกว่า 90% (เดิมไม่น้อยกว่า 85%) จึงจะถือว่าสอบผ่าน

6. รฟม. เปิดประมูลครั้งใหม่ ประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอต่างจากเดิมอย่างไร ?

เนื่องจากโครงการนี้มีทั้งงานก่อสร้างและงานเดินรถไฟฟ้า ผู้ยื่นข้อเสนอจึงต้องประกอบด้วยผู้รับเหมาและผู้เดินรถไฟฟ้า

6.1 ผู้รับเหมา

การประมูลครั้งใหม่มีการเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณาประสบการณ์ของผู้รับเหมาที่น่าติดตาม กล่าวคือผู้รับเหมาจะต้องมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการก่อสร้างงานโยธา “โดยมีสัญญาที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่แล้วเสร็จภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี ครบทั้ง 3 ประเภทตามที่กำหนด” จากเดิมที่กำหนดไว้ว่า “โดยมีผลงานที่แล้วเสร็จภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี ครบทั้ง 3 ประเภทตามที่กำหนด” ไม่ได้กำหนดให้เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทย

ประสบการณ์ด้านงานโยธา 3 ประเภท มีดังนี้

ก. งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะ มูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
ข. งานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดิน หรือสถานียกระดับของระบบขนส่งมวลชน มูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
ค. งานออกแบบและก่อสร้างทางวิ่งพร้อมรางที่สาม แบบไม่ใช้หินโรยทาง มูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

การกำหนดให้มีผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่แล้วเสร็จภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี ครบทั้ง 3 ประเภท ทำให้มีผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ดังกล่าวครบ 3 ประเภท เพียง 2 รายเท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 รายนี้ เป็นผู้รับเหมาไทย ประกอบด้วยบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD

6.2 ผู้เดินรถไฟฟ้า

จากข้อกำหนดของ รฟม. พบว่ามีผู้เดินรถไฟฟ้าที่สามารถเข้าร่วมประมูลได้หลายราย กรณีผู้เดินรถไฟฟ้าที่เป็นของไทยมีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM, BTS และ ARL (แอร์พอร์ตลิงก์) ส่วนกรณีผู้เดินรถไฟฟ้าที่เป็นของต่างชาติมีหลายราย เช่น ผู้เดินรถจากญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลี อิตาลี และเยอรมนี เป็นต้น

7. เกณฑ์ใหม่ล็อกสเปกหรือไม่ ?

การกำหนดประสบการณ์ในการบริหารจัดการก่อสร้างงานโยธาดังกล่าวข้างต้น ผมคาดว่าจะทำให้มีผู้ยื่นซองประมูลดังนี้

ก. กลุ่มบริษัท BEM + CK ทั้งนี้ CK เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดใน BEM
ข. กลุ่มบริษัท ARL หรือผู้เดินรถจากต่างประเทศ + ITD
ค. กลุ่มบริษัท BTS + บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON ซึ่ง BTS และ STECON ได้จับคู่เข้าร่วมประมูลกันมาแล้วหลายโครงการ

แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ากลุ่มบริษัท BTS+STECON จะเข้าประมูลไม่ได้ เนื่องจาก STECON ไม่มีประสบการณ์ด้านงานโยธาครบทั้ง 3 ประเภทตามที่กำหนด กล่าวคือ STECON ไม่มีผลงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะที่แล้วเสร็จ แม้ว่า STECON กำลังก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะของรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออกเกือบแล้วเสร็จก็ตาม ก็ไม่สามารถใช้เป็นผลงานได้ เพราะยังสร้างไม่แล้วเสร็จ “ต่างกับการประมูลครั้งแรก ที่ รฟม. อนุญาตให้ใช้ผลงานที่ตรวจรับแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ผลงานที่แล้วเสร็จ” ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ BTS จะต้องหาผู้รับเหมารายอื่นที่มีผลงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะที่แล้วเสร็จมาร่วมประมูล

ผู้รับเหมาไทยที่มีผลงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะที่แล้วเสร็จมี 3 ราย คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ซึ่งหากทั้ง 3 รายนี้ปฏิเสธที่จะร่วม ก็ต้องมองหาผู้รับเหมาต่างชาติที่มีผลงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะที่แล้วเสร็จมาร่วมประมูล

ผู้รับเหมาต่างชาติที่มีผลงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะที่แล้วเสร็จมีผู้รับเหมาจากญี่ปุ่น 4 ราย (Tokyu, Kumagai, Obayashi, และ Nishimatsu) และจากเยอรมนี 1 ราย (Bilfinger Berger) ผู้รับเหมาเหล่านี้เคยมีประสบการณ์ออกแบบและก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว และ/หรืองานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์น้ำประปานานมาแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าถึงเวลานี้บางรายยังคงทำงานก่อสร้างอยู่อีกหรือไม่ ? อีกทั้ง การติดต่อกับผู้รับเหมาต่างชาติเหล่านี้จะต้องใช้เวลานาน แต่ รฟม. ให้เวลาเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น (ยื่นซองเอกสารข้อเสนอในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565) จะพอเพียงที่จะเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ได้หรือไม่ ?

ที่สำคัญ จากการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า STECON ยังไม่มีผลงานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดินหรือยกระดับที่แล้วเสร็จอีกด้วย นั่นหมายความว่า STECON ขาดประสบการณ์ด้านงานโยธาถึง 2 ประเภท จากที่กำหนดไว้ทั้งหมด 3 ประเภท ทำให้ BTS จำเป็นต้องหาผู้รับเหมารายอื่นที่มีผลงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะที่แล้วเสร็จ และงานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดินหรือยกระดับที่แล้วเสร็จมาเสริมทีม อาจจะต้องใช้ผู้รับเหมา 2-3 ราย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไม BTS จึงไม่เชิญ ITD ซึ่งมีประสบการณ์ด้านงานโยธาครบทั้ง 3 ประเภทตามที่กำหนดมาร่วมทีม แต่ผมไม่สงสัย เพราะเชื่อว่าแม้ BTS จะทอดสะพานเชิญก็จะถูกปฏิเสธ

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นว่ากลุ่มบริษัท BTS+STECON คงมีโอกาสได้เข้าแข่งขันน้อย และถึงแม้ว่าจะได้เข้าแข่งขันก็คงได้คะแนนด้านเทคนิคไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ถูกปรับให้สูงขึ้น

เหตุที่เป็นเช่นนี้ จะเป็นผลมาจากการที่ BTS ไม่ยอมถอยในการประมูลครั้งแรก แต่กลับฟ้องเอาผิดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ ? ผมไม่ทราบ ! และผลนี้จะลุกลามไปถึงการไม่ต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ BTS หรือไม่ ? ผมก็ไม่ทราบเช่นกัน

ผมจึงไม่ขอสรุปว่าการประมูลครั้งใหม่นี้ มีการล็อกสเปกหรือไม่ ? เพราะท่านผู้อ่านคงสามารถสรุปเองได้

8. สรุป

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังที่อยากเห็นรถไฟฟ้าสายสีส้มสามารถเปิดให้บริการตลอดทั้งสายได้ในเร็ววันนี้ อย่าทำให้คนกรุงเทพฯ ต้องรอคอยต่อไปเนื่องจากความล่าช้าที่เกิดจากการประมูล แม้ว่าสายสีส้มช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) เกือบเสร็จแล้วก็ตาม ก็ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากยังไม่มีผู้เดินรถ จะต้องรอผู้เดินรถจากการประมูลครั้งใหม่นี้ ซึ่งจะทำให้ รฟม. ต้องเสียค่าบำรุงรักษาช่วงตะวันออกปีละหลายร้อยล้านบาท

โดยสรุป ผมอยากเห็นการแข่งขันที่เป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้โดยสารหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม

หมายเหตุ : ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/578156360343804
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2022 3:06 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
BTS-BEM ระเบิดศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม.ลุยประมูลหักด่านศาลปกครอง
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:10 น.



รฟม.เปิดชิงรถไฟฟ้าสีส้มวันแรก "บีทีเอส" ซื้อซองเตรียมลงสนาม
เศรษฐกิจ
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:15 น.

รฟม.เปิดขายซองรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 1.4 แสนล้าน วันแรก “บีทีเอส” เข้าซื้อเตรียมชิงโครงการรอบสอง กำหนดยื่นประมูล 27 ก.ค.นี้ ก่อนเปิดซองต่อทันที 1 ส.ค.2565

รายงานข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (27 พ.ค.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดขายซองเอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP) ร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นวันแรก ขณะนี้พบว่ามีเอกชนเข้ามาซื้อซองเอกสารแล้ว อาทิ กลุ่มบีทีเอส โดย รฟม.จะเปิดขายซองจนถึงวันที่ 10 มิ.ย.2565 หลังจากนั้นมีกำหนดรับซองข้อเสนอในวันที่ 27 ก.ค.2565 ก่อนเปิดซองข้อเสนอในวันที่ 1 ส.ค.2565 เพื่อลงนามในสัญญาร่วมลงทุนภายในปลายปีนี้

สำหรับ การเปิดคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ ถือเป็นการเปิดประมูลครั้งนี้ 2 หลังจากที่ คณะกรรมการ ม.36 ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 จากการปรับเกณฑ์คัดเลือกเอกชน เป็นเหตุให้มีเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอทุเลาการบังคับใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ชนะฉบับใหม่


โดย การประกวดราคาในครั้งแรกนั้น มีเอกชนเข้าซื้อซองเอกสารรวมจำนวน 10 ราย ประกอบด้วย

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด

10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด


เอกชนยื่นข้อเสนอจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS

บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

2.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีวงเงินลงทุนรวม 145,265 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14,621 ล้านบาท ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 40 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโยธา 3,223 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานระบบรถไฟฟ้า 369 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 96,012 ล้านบาท และค่างานระบบและขบวนรถ 31,000 ล้านบาท โดยมีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร


พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์ ศิลาวงษ์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2022 11:12 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
BTS-BEM ระเบิดศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม.ลุยประมูลหักด่านศาลปกครอง
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:10 น.



รฟม.เปิดชิงรถไฟฟ้าสีส้มวันแรก "บีทีเอส" ซื้อซองเตรียมลงสนาม
เศรษฐกิจ
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:15 น.


“บีอีเอ็ม-ซิโนฯ”มาแล้วว! ซื้อซองรถไฟฟ้าสีส้มวันแรก
*”บีทีเอส”พร้อมสู้/แต่ยังไม่มากำลังซุ่มดูรอเวลา
*คมนาคมยันเปิดกว้างใช้ผลงานชิง1.4แสนล้าน
*27ก.ค.เดย์เดือดยื่นซอง/เปิดซองข้อเสนอ1ส.ค.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/563228241921081
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2022 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ดร.สามารถ'คาด BTS ส่อวืดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบ2
เผยแพร่: 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:47
ปรับปรุง: 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:47
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/578156360343804


ประมูลสายสีส้ม ส่อยุ่ง แฉพิรุธ TOR ล็อคสเปก จ้องเขี่ย “บีทีเอส”พ้นทาง
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:12 น.
ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่อเรียกแขกงานเข้าอีกรอบ หลัง “ดร.สามารถ”ออกมาเปิดโปงทีโออาร์หมกเม็ด ส่อล็อคสเปกตั้งแต่ในมุ้ง อ้างประกวดราคานานาชาติ ตั้งเงื่อนไขประมูลสุดพิสดาร ฟากบีทีเอสคู่ชิงดำส่อถูกเขี่ยตกสเปก เตือนรฟม.-กก.คัดเลือกอาจขึ้นเขียงป.ป.ช.-ศาล อีกระลอก

รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง การประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
วันอังคาร ที่ 31พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:48น.

รฟม.แจงยิบตั้งเกณฑ์ประมูล "สีส้ม" เปิดกว้าง ยันเอกชนไทยหลายรายมีคุณสมบัติ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:31 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:31 น.

รฟม.แจงยิบ กำหนดเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม"บางขุนนนท์ – มีนบุรี"ทำตามขั้นตอน กฎหมายและระเบียบ เปิดกว้างบริษัททย-เทศ ร่วมแข่งขัน ยันเอกชนหลายราย มีประสบการณ์คุณสมบัติครบ ตั้งเป้างานสำเร็จและมีคุณภาพ

ตามที่ ปรากฏข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชน อ้างอิงถึงข้อความใน Facebook ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 ในหัวข้อ ““บีทีเอส” ส่อ “วืด” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “รอบ 2”” การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นการกำหนดเงื่อนไขของการคัดเลือก คุณสมบัติทางด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานของผู้เข้ายื่นการคัดเลือกเอกชน ดังนี้


รฟม. ได้ดำเนินการประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 และวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ในรูปแบบ International Competitive Bidding: ICB โดยกำหนดเงื่อนไขของการประมูลให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้ ในการจัดทำเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ผู้ยื่นข้อเสนอที่มีประสบการณ์ สามารถก่อสร้างโครงการฯ ให้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ตามแผนการดำเนินการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน โดยกระบวนการพิจารณาดังกล่าว มีคณะผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ตามข้อตกลงคุณธรรมเข้าร่วมในการประชุมตลอดในทุกขั้นตอน โดยได้มีการกำหนดเงื่อนไขของการคัดเลือก คุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานของผู้เข้ายื่นข้อเสนอโดยเปิดกว้าง สรุปได้ ดังนี้


1. การกำหนดคุณสมบัติทางด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานเดินรถ ได้กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอสามารถใช้ผลงานเดินรถจากทั่วโลกได้ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์ในไทย และในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกลุ่มนิติบุคคล ผู้นำกลุ่มจะมีผลงานก่อสร้างงานโยธาหรือผลงานเดินรถก็ได้ ทำให้เอกชนผู้เดินรถทั้งไทยและต่างชาติ และผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาสามารถเป็นผู้นำกลุ่มได้จำนวนมากราย โดยจะมีผู้นำกลุ่มไทยอย่างน้อย 4-5 ราย และต่างชาติอีกจำนวนมาก

2. การกำหนดคุณสมบัติทางด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานการก่อสร้างงานโยธา โดยกำหนดให้ใช้ผลงานที่แล้วเสร็จและเป็นผลงานที่ดำเนินการในประเทศไทย เนื่องจากงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกฯ เป็นโครงสร้างที่อยู่ใต้ดินทั้งหมด การก่อสร้างมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ใช้เทคโนโลยีเฉพาะ และมีเส้นทางผ่านโบราณสถานและสถานที่สำคัญหลายแห่ง รวมถึงยังเป็นโครงการที่รัฐให้เอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธาไปก่อนแล้วจึงชำระคืนภายหลัง ซึ่งเสมือนรัฐเป็นผู้ลงทุนเอง ดังนั้น ประกาศเชิญชวนจึงได้กำหนดคุณสมบัติด้านผลงานก่อสร้างของผู้ยื่นข้อเสนอโดยคำนึงถึงความสำเร็จของโครงการโดยเทียบเคียงแนวทาง ระเบียบ และกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และยังสอดคล้องกับการประกวดราคา ICB ที่ รฟม. ใช้ประมูลงานก่อสร้างโยธาล่าสุด คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) และเป็นไปตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างฯ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ที่ระบุว่า “1.1.4 การกำหนดผลงาน …. เป็นผลงานการก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่จะดำเนินการจัดจ้างก่อสร้าง ซึ่งผลงานดังกล่าวของผู้รับจ้างต้องเป็นผลงานในสัญญาเดียวเท่านั้น และเป็นสัญญาที่ผู้รับจ้างได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา ซึ่งได้มีการส่งมอบงานและตรวจรับเรียบร้อยแล้ว” ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่เหมาะสมเนื่องจากจะทำให้รัฐมั่นใจได้ว่าจะได้ผู้ก่อสร้างงานโยธาที่สามารถดำเนินงานโครงการได้แล้วเสร็จและประสบผลสำเร็จ


นอกจากนี้ การกำหนดผลงานว่าต้องเป็นผลงานกับรัฐบาลไทยนั้น เป็นการกำหนดตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างฯ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เรื่อง ข้อหารือความหมายคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตาม พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ ซึ่งระบุว่า “ผลงานที่ผู้ยื่นข้อเสนอ เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็น “หน่วยงานรัฐ” ตามนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ฯ เท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศแต่อย่างใด”


จากการตรวจสอบเบื้องต้นของ รฟม. พบว่ามีผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาที่มีผลงานกับรัฐบาลไทยอย่างน้อย ดังนี้


- งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะ ต่างชาติ 5 ราย และในประเทศ 5 ราย


- งานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดินหรือยกระดับของระบบขนส่งมวลชน ต่างชาติ 6 ราย และในประเทศ 3 - 4 ราย


- งานออกแบบและก่อสร้างทางวิ่งพร้อมรางที่สาม แบบไม่ใช้หินโรยทางสำหรับงานระบบราง ต่างชาติ 1 ราย และในประเทศ 4 ราย


ซึ่งทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายและเปิดกว้างในการรวมกลุ่มนิติบุคคลเพื่อให้ผลงานก่อสร้างงานโยธาครบถ้วน นอกจากนี้ ในการยื่นข้อเสนอ ผู้ยื่นข้อเสนอสามารถใช้ผลงานก่อสร้างงานโยธาของผู้รับจ้างมาใช้เป็นผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอได้ เนื่องจากประกาศเชิญชวนไม่ได้กำหนดว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายเดียวเท่านั้นที่มีผลงานก่อสร้างงานโยธากับรัฐบาลไทยครบทั้ง 3 งาน จึงจะสามารถยื่นข้อเสนอได้ ซึ่งเป็นปกติของการดำเนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐที่ย่อมมีผู้ก่อสร้างโครงการหลายรายที่จะเข้าดำเนินการร่วมกันใน 1 โครงการ เพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนงาน นอกจากนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอที่มีผลงานเฉพาะงานเดินรถ สามารถที่จะใช้ผลงานของผู้รับจ้างงานโยธาได้มากราย โดยไม่จำเป็นต้องมาร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกในการรวมกลุ่ม และเกิดการแข่งขัน ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่มีผลงานทั้งงานโยธาและงานเดินรถแต่มีเงินทุน ก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ยื่นข้อเสนอได้ สอดคล้องกับแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้กำหนดขอบเขตของงานที่เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเข้าร่วมลงทุนได้ โดยมีการแข่งขันอย่างเปิดกว้าง โปร่งใสและเป็นธรรม


3. การกำหนดเกณฑ์คะแนนด้านเทคนิคเป็น 85% ในแต่ละหัวข้อ และ 90% สำหรับคะแนนรวมนั้น เนื่องจากงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกฯ เป็นงานก่อสร้างที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ใช้เทคโนโลยีเฉพาะ และมีเส้นทางผ่านโบราณสถานและสถานที่สำคัญหลายแห่ง จึงจำเป็นต้องมั่นใจว่าจะได้ผู้ยื่นข้อเสนอที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์ สามารถก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ตามแผนงาน ทั้งนี้ ในการจัดทำข้อเสนอทางด้านเทคนิค จึงได้มีการกำหนดรายละเอียดความต้องการ วิธีการประเมิน และการให้คะแนนอย่างละเอียดไว้ในเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนแล้ว ดังนั้น เอกชนที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ย่อมสามารถเสนอข้อเสนอที่ดีมีคุณภาพและตรงตามข้อกำหนด และสามารถผ่านการประเมินได้ ดังเช่นในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ที่ผู้ชนะการประกวดราคาในแต่ละสัญญาได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 90


4. สำหรับระยะเวลาในการจัดทำข้อเสนอที่กำหนดไว้ 64 วันนับจากประกาศเชิญชวน สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ ที่กำหนดให้ประกาศเชิญชวนไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันเปิดรับซองข้อเสนอ


สรุป การกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือก คุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงานของผู้เข้ายื่นข้อเสนอตามประกาศเชิญชวน ได้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เป็นการกำหนดที่เปิดกว้าง ทำให้มีผู้ที่สามารถเข้าร่วมการคัดเลือกได้มากราย เกิดการแข่งขันที่โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน


โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 63, 64, 65 ... 89, 90, 91  Next
Page 64 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©