RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179863
ทั้งหมด:13491095
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 128, 129, 130 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2022 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลปกครองสูงสุดตีตกคำฟ้อง“รฟท.”ขอสั่งถอนจดทะเบียน บริษัท โฮปเวลล์ฯ
หน้าการเมือง ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |

วันจันทร์ ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:40 น.

ศาลปกครองสูงสุดตีตกคำฟ้อง รฟท. ขอสั่งถอนการรับจดทะเบียน บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ชี้ฟ้องเกินระยะเวลา-ไม่ใช่คดีคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

วันนี้ (30 พ.ค.65) ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ในคดีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้ศาลฯ เพิกถอนการรับจดทะเบียนบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย 33ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย



ทั้งนี้ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลว่า กรณีดังกล่าว รฟท.ได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร และอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ลงวันที่ 19 พ.ย. 2563 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้แก่ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด แต่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือปฏิเสธ ลงวันที่ 9 ธ.ค.62 ทำให้ รฟท.นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.63


ทั้งนี้คำฟ้องดังกล่าว เป็นการฟ้องในข้อหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง(2) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ซึ่งมีกำหนดว่ าจะต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้มีหนังสือร้องต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด


แต่ รฟท.ยื่นฟ้องคดีดังกล่าวเป็นเวลาเกินกว่า 90 วัน แห่งการฟ้องคดี ประกอบกับการฟ้องคดีนี้ไม่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และไม่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หากแต่เป็นประโยชน์เฉพาะ รฟท.เอง


อีกทั้งไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใดที่ทำให้ต้องฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาและให้จำหน่วยคดีออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย


ลุยต่อ "คมนาคม" สู้คดีโฮปเวลล์ ลุ้นแพ่งพิจารณาตั้งบริษัทไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หน้าเศรษฐกิจคมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:19 น.

"คมนาคม" เดินหน้าสู้คดีโฮปเวลล์ หลังศาลปกครอง ปัดตกไม่รับคำฟ้อง ด้าน "ศักดิ์สยาม" เชื่อคำตัดสินศาลปกครองไม่กระทบคดี เล็งฟ้องแพ่งพิจารณาจัดตั้งบริษัทไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่ ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ในคดีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้เพิกถอนการรับจดทะเบียนบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยระบุว่า ผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดนั้น ไม่เป็นผลต่อการฟ้องร้องสู้คดีครั้งใหม่ของ รฟท.และกระทรวงคมนาคม เนื่องจากปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างการดำเนินการฟ้องคดีแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย





สำหรับการพิจารณาคดีทางศาลปกครองนั้น สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้คณะทำงานตรวจสอบเรื่องแล้วมีการสั่งการให้ รฟท.ทำหนังสือถึงนายทะเบียนเมื่อ 19 พ.ย.2562 ต่อมานายทะเบียนปฏิเสธไม่เพิกถอนคดีเมื่อ 9 ธ.ค.2562 แต่ทางคณะทำงานพิจารณาสั่งการให้ ร.ฟ.ท. ดำเนินการฟ้องคดีปกครองเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.2563 จึงทำให้ฟ้องคดีทางปกครองไม่ทันตามกำหนด แต่ปัจจุบันกระทรวงฯ ได้มอบหมายให้อัยการแพ่ง 8 ดำเนินการฟ้องเหตุที่โฮปเวลล์จัดตั้งบริษัทไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ ซึ่งคดีทางแพ่งไม่มีระยะเวลาฟ้องคดี


"คำพิพากษาศาลปกครอง ไม่มีผลต่อคดีแพ่งที่เรากำลังดำเนินการฟ้องร้องอยู่ เพราะเป็นคนละเหตุกัน เนื่องจากคดีปกครองเราฟ้องเจ้าหน้าที่ที่ไม่เพิกถอนทะเบียน แต่คดีแพ่ง เราฟ้องการกระทำของโฮปเวลล์โดยตรง ว่าเป็นการจดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากพิจารณาเหตุผลในคดีปกครองที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าการรถไฟฯ เป็นผู้เสียหายได้ ก็ยิ่งชัดเจนว่าคดีแพ่ง กระทรวงฯ และการรถไฟฯ ก็เป็นผู้เสียหาย"







ทั้งนี้ คำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากเห็นว่าการรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทให้แก่บริษัทโฮปเวลล์(ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2533 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นเป็นของคนต่างด้าว และมีคนต่างด้าวถือหุ้นตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นอยู่ในความหมายเป็นคนต่างด้าว ตามข้อ 3 ของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 จึงต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าวที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการขนส่งทางบก


ขณะเดียวกันศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า กรณีดังกล่าว รฟท.ได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร และอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ลงวันที่ 19 พ.ย. 2563 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้แก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด แต่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือปฏิเสธ ลงวันที่ 9 ธ.ค.2562 ทำให้ รฟท.นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2563 ทั้งนี้คำฟ้องดังกล่าวเป็นการฟ้องในข้อหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง(2)พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ซึ่งมีกำหนดว่าจะต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้มีหนังสือร้องต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้รฟท.ยื่นฟ้องคดีดังกล่าวเป็นเวลาเกินกว่า 90 วันแห่งการฟ้องคดี ประกอบกับการฟ้องคดีนี้ไม่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและไม่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยหากเป็นประโยชน์เฉพาะ รฟท.เอง อีกทั้งไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใดที่ทำให้ต้องฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ดังนั้นการที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาและให้จำหน่วยคดีออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย



คำตัดสินศาลปกครองสูงสุด ไม่กระทบคดี“โฮปเวลล์”
*”ศักดิ์สยาม” เดินหน้าสู้ค่าโง่รถไฟ2.5หมื่นล้าน
*ลุ้นศาลแพ่งตัดสินจัดตั้งบริษัทไม่ชอบกฎหมาย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/563466078563964
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2022 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารสีแดงทะลุ 1.3 หมื่นคน รฟฟท.ลุยแผนเพิ่มฟีดเดอร์ คาด มิ.ย.เปิดใช้ EMV
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:26 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:26 น.


รถไฟสีแดงผู้โดยสารทะลุ 1.3 หมื่นคน/วัน รฟฟท.ลุย เพิ่มฟีดเดอร์เชื่อมหัวเมือง นครปฐม, รังสิต จับมือ "ม.มหิดล" วิ่งชัตเติลบัส “ศาลายาลิงก์” ถึงสถานีตลิ่งชัน คาด มิ.ย.ใช้บัตร EMV ได้ พร้อมตั้งเป้ายกระดับองค์กรเป็นศูนย์เรียนรู้ "ระบบขนส่งทางรางของประเทศ"

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง) เปิดเผยว่า นับจากที่บริษัทฯ ได้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีต่อเนื่องมาถึงการให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ที่ได้เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์มาเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนแล้วนั้น พบว่าการให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง มีสถิติความตรงต่อเวลา และความน่าเชื่อถือ อยู่ที่ 99.96% และ 99.70% รวมทั้งผลสำรวจความพึงพอใจผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น

โดยจำนวนผู้โดยสารปรับเพิ่มสูงขึ้น จากช่วงแรกที่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ จากที่ประมาณ 8,000-9000 คนต่อวันเป็นสูงสุดกว่า 13,000 คนต่อวันในปัจจุบัน ขณะที่ผลสำรวจความพึงพอใจผู้โดยสารที่จากคะแนนเต็ม 5 ปรากฏว่าอยู่ในเกณฑ์ดีทุกด้าน ด้านการให้บริการโดยรวม 4.40 , ด้านความปลอดภัย 4.39 , ด้านคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกบนสถานีและในขบวนรถ 4.39 , ด้านการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล 4.26 , ด้านเหรียญโดยสาร/บัตรโดยสาร และกิจกรรมส่งเสริมการตลาด 4.25 และด้านความน่าเชื่อถือต่อความตรงต่อเวลา ความถี่ และคุณภาพในการเดินรถไฟฟ้า 4.23

เนื่องจากบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการนำมาตรฐานระดับสากลที่บริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ขอบเขต : วิศวกรรมและซ่อมบำรุงและงานปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า จาก BV (Bureau Veritas) มาใช้ในการให้บริการเดินรถไฟฟ้า เพื่อให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายสูงสุด และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้โดยสาร ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าบริษัทประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างมาก

@ตั้งเป้ายกระดับองค์กรเป็นศูนย์การเรียนรู้ "ระบบขนส่งทางรางของประเทศ"

ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมาบริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ในขอบเขตการปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัย และวิศวกรรมซ่อมบำรุง จากหน่วยรับรอง Bureau Veritas (BV) ทำให้เชื่อว่าบริษัทพร้อมที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่ปีที่ 12 ด้วยมาตรฐานการดำเนินงานในระดับสากลทุกมิติ และยกระดับการให้บริการผู้โดยสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งจะมีการยกระดับองค์กรให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านระบบขนส่งทางรางที่สำคัญของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ร่วมกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานภายนอกในการจัดฝึกอบรมความรู้ให้แก่นักศึกษา และผู้ที่สนใจในองค์ความรู้ด้านระบบขนส่งทางราง โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของบริษัท ซึ่งบริษัทผ่านการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ให้เป็นองค์กรที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานวิชาชีพ สาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง ใน 5 สาขาวิชา จึงมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่จะสามารถถ่ายทอดองค์วามรู้ระบบรางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยโครงการที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบรางเพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง” ซึ่งร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบรางทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง , มหาวิทยาลัยมหิดล , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฯลฯ

หรือโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านพื้นฐานการซ่อมบำรุงช่วงล่างรถไฟฟ้า และพื้นฐานระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม

ส่วนในอนาคตบริษัทมีแผนเตรียมเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบรางกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม และเตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ด้านระบบราง เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนงานในการยกระดับการให้บริการด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ โดยมีโครงการ Smile Service ที่บริษัทดำเนินการมาตลอดหลายปี และยังคงมีแผนที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อสร้างความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานด้านการให้บริการแก่ผู้โดยสาร รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงาน อันจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่งานบริการ

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 2 เรื่องสำคัญ คือ การจัดระบบเชื่อมต่อ ( Feeder ) ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารและการหากิจกรรมหรือนิทรรศการมาจัดที่สถานีกลางบางซื่อนั้น

X

โดยในส่วนของการจัดระบบฟีดเดอร์สายสีแดงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ นั้น ล่าสุดได้มีการเปิดให้บริการรถไฟดีเซล( ชัตเติลเทรน ) เชื่อมต่อนครปฐม-รังสิตด้วยรถไฟทางไกลและรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มอบส่วนลด 50% รถไฟทางไกลเส้นทางนครปฐม-ธนบุรี ตามระยะทาง และตามประเภทผู้โดยสารจากปกติราคา 20-40 บาท โดยขบวนรถดังกล่าวจะหยุดจอดทุกสถานี รวมถึงสถานีตลิ่งชัน ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเพื่อเชื่อมต่อไปยังเส้นทาง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ได้ในราคา 12-42 บาท

@จับมือ "ม.มหิดล" วิ่งชัตเติลบัส “ศาลายาลิงก์” เชื่อมสถานีตลิ่งชัน

นอกจากนั้นบริษัทเตรียมร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่มจุดจอดเส้นทางรถชัตเติลบัส “ศาลายาลิงก์” ที่ปกติวิ่งในเส้นทาง ศาลายา-บางหว้า เป็นศาลายา-ตลิ่งชัน-บางหว้า โดยเพิ่มจุดจอดที่รถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีตลิ่งชัน ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการชำระเงินด้วยการใช้บัตร EMV Contactless ซึ่งคาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2565

ส่วนการหากิจกรรมหรือนิทรรศการต่างๆ มาจัดในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เหมือนเช่นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินั้น ในอนาคตบริษัทได้เตรียมดำเนินการพูดคุยกับหน่วยงานเอกชนที่สนใจจำนวนมากเพื่อหากิจกรรมหรือนิทรรศการต่างๆ มาจัดในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ อาทิ งาน Cat T-Shirt

ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าด้วยแผนงานดังกล่าวและมาตรฐานระดับสากลที่บริษัทนำมาใช้ขับเคลื่อนองค์กรในทุกมิติจะส่งผลให้บริษัทสามารถก้าวสู่ปีที่ 12 และยกระดับการให้บริการแก่ผู้โดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2022 11:16 am    Post subject: Reply with quote

นิวไฮ! รถไฟฟ้า “สีแดง” ผู้โดยสารวันละ 1.4 หมื่นคน “ดอนเมือง” มาแรง
เดลินิวส์ 3 มิถุนายน 2565 10:48 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงนิวไฮ! วันละ 1.4 หมื่นคน “สถานีดอนเมือง” พีคได้อานิสงค์คนนั่งเครื่องเที่ยวในประเทศ เร่งปรับปรุงสร้างทางลาดเชื่อมต่อสีแดง-สนามบินดอนเมือง ลุยแก้กฎหมายเพิ่มพันธกิจเดินรถไฟฟ้าสายอื่นได้ด้วย จ่อบริหารรถไฟไฮสปีดไทย-จีน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด(รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำสถิติผู้โดยสารสูงสุด (นิวไฮ) 14,120 คน ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์มาเป็นเวลากว่า 6 เดือน ซึ่งในช่วงแรกของการเปิดให้บริการเมื่อช่วงเดือน พ.ย.64 ผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณวันละ 2,000-3,000 คน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณวันละ 8,000-9,000 คน และผู้โดยสารมากกว่าวันละ 10,000 คน เมื่อช่วงเดือน พ.ค.65 อย่างไรก็ตามคาดว่าผู้โดยสารจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 3 หมื่นคนภายในปี 65 และเติบโตขึ้นปีละไม่น้อยกว่า 10% 

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่รัฐบาลยกเลิก Test & Go เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ประกอบกับสถานศึกษาเปิดภาคเรียนเต็มรูปแบบ และประชาชนมั่นใจในการเดินทางมากขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้สถานีที่มีผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุด 3 สถานีแรก ได้แก่ 1.สถานีกลางบางซื่อ, 2.สถานีดอนเมือง และ3.สถานีรังสิต ทั้งนี้เดิมสถานีดอนเมือง เป็นสถานีที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นลำดับ 3 แต่ปัจจุบันประชาชนเดินทางท่องเที่ยวในประเทศผ่านทางอากาศมากขึ้น ส่งผลให้สถานีดอนเมืองมีผู้ใช้บริการมากขึ้นตามไปด้วย เพราะการเดินทางสะดวกสบาย ลงจากรถไฟฟ้าสายสีแดง สามารถเดินเชื่อมทางเดินลอยฟ้า(สกายวอล์ก) เข้าสู่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้ทันที  

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ยอมรับว่ามีประชาชนบางส่วนร้องเรียนมาว่า จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีดอนเมือง และท่าอากาศยานดอนเมือง ไม่มีทางลาด มีแต่ขั้นบันได ทำให้ประชาชนที่ใช้กระเป๋าเดินทางไม่ได้รับความสะดวก ต้องยกกระเป๋าขึ้นลงบันได เบื้องต้นทราบว่าขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังพิจารณาปรับแก้ไขด้วยการทำเป็นทางลาด คาดว่าจะได้ดำเนินการ และสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดจนดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดง เป็นรถไฟฟ้าที่มีราคาถูกที่สุดค่าโดยสาร 12-42 บาท ระยะทาง 42 กิโลเมตร(กม.) หากใช้ตั๋วรายเดือน จะเหลือเที่ยวละประมาณ 25 บาท คิดเป็น0.60 บาทต่อกม.

นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ รฟฟท. ได้เสนอขอเพิ่มพันธกิจในการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงให้ รฟฟท. สามารถบริหารรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ได้ เพิ่มเติมจากเดิมที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติให้บริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง ปัจจุบันเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) คาดว่าจะเสนอ ครม. ได้ภายในปีนี้ หาก ครม.เห็นชอบจะส่งผลให้ รฟฟท.สามารถเข้าไปประมูลบริหารรถไฟฟ้าสายอื่น ซึ่งจะทำในรูปแบบเข้าไปร่วมเป็นพันธมิตรกับเอกชนรายอื่น เป็นองค์กรที่ปรึกษาในการบริหารรถไฟฟ้า เป็นแหล่งเรียนรู้ทางราง ตลอดจนเป็นผู้รับช่วงในการบริหารและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ดังนั้นแม้ว่ารฟฟท.จะไม่ได้บริหารรถไฟสายสีแดง เพราะต้องนำมาเปิดประมูลหาเอกชนรายใหม่ แต่ รฟฟท.ก็จะยังคงบริหารรถไฟฟ้าสายอื่น รวมไปถึงรถไฟไทย-จีน ที่ รฟท.กำลังจัดตั้งคณะบริหารรถไฟไทย-จีน ซึ่ง รฟฟท.จะรับบทบาทในการบริหารโครงการด้วย

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/565846384992600
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2022 3:29 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
นิวไฮ! รถไฟฟ้า “สีแดง” ผู้โดยสารวันละ 1.4 หมื่นคน “ดอนเมือง” มาแรง
เดลินิวส์
3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:48 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์v
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/565846384992600


นิวไฮ! รถไฟสายสีแดงผู้โดยสารพุ่ง 1.4 หมื่นคน เปิดประเทศดันสถานีดอนเมืองคึกคัก คาดปลายปีถึง 3 หมื่นคน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 17:58 น.
ปรับปรุง: 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 17:58 น.

ผู้โดยสารรถไฟสายสีแดงทำสถิติใหม่ 1.4 หมื่นคนเมื่อ 27 พ.ค. แนวโน้มเริ่มไต่ระดับเพิ่มขึ้น ผลพวงเปิดประเทศเต็มรูปแบบ “สถานีดอนเมือง” เชื่อมสนามบิน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง) เปิดเผยว่า หลังจากรถไฟชานเมืองสายสีแดง เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 27 พ.ค. 2565 จำนวนผู้โดยสารทำสถิติสูงสุด (นิวไฮ) ที่วันละ 14,120 คน ขณะที่ช่วงแรกที่เปิดบริการมีผู้โดยสารประมาณวันละ 2,000-3,000 คน

ทั้งนี้ คาดว่าภายในปี 2565 ผู้โดยสารรถไฟสายสีแดงจะเพิ่มขึ้นเป็น 25,000-30,000 คนต่อวัน และจะเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี

จากที่รัฐบาลได้ยกเลิกมาตรการ Test & Go ไปเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา มีส่วนทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่สถานีดอนเมืองที่มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 2 แล้ว จากสถิติสถานีที่มีจำนวนผู้ใช้บริการ 3 อันดับแรกก่อนหน้านี้ คือ 1. สถานีกลางบางซื่อ 2. สถานีรังสิต 3. สถานีดอนเมือง

เนื่องจากรถไฟสายสีแดงเชื่อมต่อการเดินทางกับสนามบินดอนเมือง ซึ่งรองรับและเหมาะกับการเดินทางในประเทศที่มีสัมภาระไม่มาก สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก ด้วยค่าโดยสารที่ต่ำ

นายสุเทพกล่าวว่า ปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟสายสีแดงนั้นมีอัตราที่ถูกที่สุด โดยอัตรา 12-42 บาท ต่อระยะทาง 42 กม. คิดเฉลี่ย กม.ละ 1 บาทกว่า แต่หากใช้ตั๋วรายเดือนจะเหลือเฉลี่ยเที่ยวละประมาณ 25 บาท หรือคิดเป็น 0.60 บาทต่อกม.เท่านั้น ซึ่งเป็นการดำเนินการด้านค่าโดยสารตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมเพื่อช่วยเหลือลดค่าครองชีพให้ประชาชน

จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เปิดเดินรถไฟดีเซลเป็นฟีดเดอร์เส้นทางสายใต้ ระหว่างสถานีธนบุรี-ตลิ่งชัน-นครปฐม สามารถเดินทางเข้าสู่รถไฟสายสีแดงได้สะดวก โดย รฟท.ลดค่าโดยสารลง 50% คาดว่าจะกระตุ้นการเดินทางด้วยรถไฟเพิ่ม โดยในเดือน มิ.ย.สถานศึกษา มหาวิทยาลัย จะเปิดเรียนเต็มรูปแบบ รถไฟสายสีแดงและรถไฟดีเซลฟีดเดอร์ จะเป็นทางเลือกของนักศึกษาในการเดินทางที่สะดวกและประหยัด

ปัจจุบันรถไฟสีแดง สายเหนือ (บางซื่อ-รังสิต) ใช้รถไฟแบบรถความยาว 6 ตู้ (6 Cars Set) ให้บริการอยู่ที่ 6 ขบวน/วัน ส่วนสายตะวันตก (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ใช้รถความยาว 4 ตู้ (4 Cars Set) ให้บริการอยู่ที่ 3 ขบวน/วัน จากจำนวนรถที่มีทั้งหมด 25 ขบวน ดังนั้น หากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นสามารถนำรถออกมาวิ่งให้บริการรองรับได้อย่างเพียงพอไม่มีปัญหา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2022 5:50 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้น ครม.ไฟเขียว รฟฟท.เพิ่มพันธกิจ เล็งประมูลบริหารรถไฟฟ้าสายอื่น
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันศุกร์ ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:08 น.

รฟฟท.เปิดแผนองค์กรเพิ่มพันธกิจ ชงคนร.-ครม.ไฟเขียวปีนี้ จ่อประมูลบริหารรถไฟฟ้าเส้นทางสายอื่น คาดผู้โดยสารพุ่ง 3 หมื่นคนต่อวัน หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟฟท.อยู่ระหว่างดำเนินการขอเพิ่มพันธกิจในการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง เพื่อขยายช่องทางด้านธุรกิจบริหารรถไฟฟ้า นอกเหนือจากการเป็นผู้บริหารรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนรอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณา หากได้รับการอนุมัติจึงจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอน ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะได้รับอนุมัติภายในปีนี้

“ตอนนี้พันธกิจที่เราได้รับมอบหมายคือการบริหารรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งตามแผนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะนำรถไฟชานเมืองสายสีแดงมาเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุน ทำให้ รฟฟท.ต้องปรับองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราอยู่ระหว่างขอเพิ่มพันธกิจให้สามารถไปบริหารกิจการรถไฟฟ้าสายอื่น เข้าร่วมประมูล หรือเป็นองค์กรที่คอยให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้า”


ทั้งนี้ รฟฟท.ถือเป็นองค์กรที่มีองค์ความรู้ในเรื่องของการบริหารรถไฟฟ้ามานาน ดังนั้นประสบการณ์ส่วนนี้จะเป็นโอกาสสำหรับการเข้าไปบริหารและหารายได้จากการขยายตัวของธุรกิจรถไฟฟ้า ซึ่งหาก ครม.เห็นชอบการเพิ่มพันธกิจ จะส่งผลให้ รฟฟท.สามารถเข้าไปร่วมประมูลบริหารรถไฟฟ้าสายอื่น โดยอาจเข้าไปร่วมในลักษณะของการเป็นพันธมิตรกับเอกชนรายอื่น หรือเป็นองค์กรที่ปรึกษาในการบริหารรถไฟฟ้า เป็นแหล่งเรียนรู้ทางราง ตลอดจนเป็นผู้รับช่วงในการบริหารและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า

หากการเพิ่มพันธกิจดังกล่าวผ่านการเห็นชอบตามขั้นตอนแล้วเสร็จภายในปีนี้ รฟฟท.คาดว่าจะสามารถเข้าร่วมประมูล หรือเป็นส่วนหนึ่งของการประมูลรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ได้ภายในปีหน้า ดังนั้นจะเห็นภาพชัดเจนว่า เมื่อรถไฟชานเมืองสายสีแดงจะนำมาเปิดประมูลให้เอกชนบริหาร ก็ไม่ได้กระทบต่อ รฟฟท. และพนักงานของ รฟฟท. เพราะองค์กรกำลังปรับพันธกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

ส่วนพนักงานของ รฟฟท.ที่มีอยู่ราว 800 คน หากเอกชนผู้บริหารรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ามาบริหาร และต้องการถ่ายโอนพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเหล่านี้ก็สามารถดำเนินการได้ คล้ายกับการถ่ายโอนพนักงานของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปสู่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ที่มีการถ่ายโอนพนักงานของ รฟฟท.ไปราว 30-40% แต่อย่างไรก็ดี รฟฟท.ยืนยันว่าพนักงานที่มีอยู่นั้น จะได้รับหน้าที่ในการบริหารจัดการรถไฟฟ้าเช่นเดิม ถึงแม้ไม่ได้บริหารรถไฟชานเมืองสายสีแดง ขณะนี้ รฟท.ก็อยู่ระหว่างจัดตั้งคณะบริหารรถไฟไทย-จีน ซึ่ง รฟฟท.จะรับบทบาทในการบริหารโครงการด้วย


สำหรับภาพรวมรายได้ของ รฟฟท.ในปีนี้ คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่อยู่ในช่วงของการเติบโต ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยขณะนี้มีปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำสถิติผู้โดยสารสูงสุด (นิวไฮ) 14,120 คน ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์มาเป็นเวลากว่า 6 เดือน


อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการเปิดให้บริการเมื่อช่วงเดือน พ.ย.2564 ผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณวันละ 2,000-3,000 คน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณวันละ 7,000-8,000 คน และผู้โดยสารมากกว่าวันละ 10,000 คน เมื่อช่วงเดือน พ.ค.2565 อย่างไรก็ตามคาดว่าผู้โดยสารจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวัน 3 หมื่นคนภายในปี 2565 และเติบโตขึ้นปีละไม่น้อยกว่า 10%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2022 6:51 am    Post subject: Reply with quote

จะดีมั้ยถ้า #รถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดให้ #รถจักรยาน ขึ้นได้???
สร้างความแตกต่าง เพิ่มการเดินทางระยะสั้น ขยายการเข้าถึงรถไฟฟ้าสู่ชุมชน
วันนี้อยากจะมาชวนเพื่อนๆ มาคุยกันเรื่องการส่งเสริมเดินทางระบบรอง เช่นการปั่นจักรยาน หรือ Scooter ไฟฟ้า เดินทางรถไฟฟ้าไปกับผู้โดยสารได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และขยายพื้นที่การให้บริการของรถไฟฟ้าได้
ซึ่งปัจจุบัน อนุญาตแต่ รถจักรยานพับ เพื่อไม่ให้กีดขวาง ภายในรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่ที่ใช้จักรยานในการเดินทาง ก็ไม่สามารถเดินทางได้สะดวก!!!
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1440400733065068
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/06/2022 9:53 am    Post subject: Reply with quote

Follow Mee Ep.28 Train Feeder นำร่องรถไฟฟ้าต่อรถไฟ ไปนครปฐมกัน
Jun 5, 2022
Follow Mee

การรถไฟฯ เค้าเปิดบริการใหม่จ้าาาา ให้ชื่อว่า “Train Feeder” … นั่งรถไฟฟ้า ไปเชื่อมต่อรถไฟ…

จากสถานีกลางบางซื่อ - นครปฐม / ธนบุรี … โดยเปิดบริการ ดีเซลรางขบวนพิเศษ 20 เที่ยว ไปกลับ ใช้รถดีเซลราง 3 คัน จำนวน 2 ชุด

ค่าโดยสาร อัตราพิเศษ 20/40 บาท แต่เดี๋ยวก่อนนนนน สำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้า ลดค่าโดยสาร 50% จ้าาาา เหลือแค่ 10/20 บาท เมื่อขึ้นลง ที่สถานีตลิ่งชัน!!!

จากบางซื่อ-ธนบุรี/ศาลายา 45 บาท
จากบางซื่อ-นครปฐม 55 บาท!!!!
(ค่ารถไฟฟ้า 35 บาท + ค่าโดยสารดีเซลราง)

**ต่อไปเป็นบทรีวิว**
(ความเห็นส่วนตัว)

ข้อที่ชอบ
- ต่อรถสะดวก เดินไม่ไกล

- เวลาต่อรถไม่ต้องรอนาน แค่ 5-10 นาที เดินเข้าห้องน้ำแป๊บๆ รถมาพอดี

- ค่าโดยสารพอรับได้ สำหรับคนต่อรถ

- ทั้งรถไฟฟ้า และ รถไฟ ค่อนข้างตรงเวลา ช้านิดหน่อย แต่ไม่เยอะ

- พนักงานดูแลดี ตั้งแต่ รปภ. จนถึงสถานี คอยแนะนำบอกทางให้หมด
(ตอนไปถึง มีขบวนรถน้ำตก 259 ตามหลัง Feeder มา พนักงานแนะนำว่า ถ้ารออีก 20 นาที ค่าโดยสารจะถูกกว่าไปฟีดเดอร์นะคะ)

ข้อที่ควรปรับปรุง

- น่าจะขายตั๋วร่วมทีเดียว จากสถานีกลางบางซื่อ ถึง นครปฐมได้เลย (อาจจะไม่ต้องใช้ Autogate ให้รปภ. ช่วยเปิดประตูให้ ช่องนึง)

- ถ้าขบวน Feeder เป็นรถปรับอากาศน่าจะดีกว่านี้ (KiHa183 ก็เป็นตัวเลือกที่ดีนะ)

- ป้ายบอกทางที่ ตลิ่งชัน ควรจะเยอะกว่านี้หน่อยนะครับ คนไปครั้งแรกนี่หาทางไปรถไฟไม่ถูก ต้องถามพี่ รปภ.

ท่านใดลองใช้แล้ว มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้นะครับ (ขอแบบสุภาพนะครับ ใครไม่สุภาพ ผมเตะออกน๊าาาา)


https://www.youtube.com/watch?v=X66wf2IRsN4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2022 10:02 am    Post subject: Reply with quote

พร้อมประมูล ต.ค.นี้! รถไฟสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วน Missing Link เร่งปรับแบบสถานีเชื่อมเข้า รพ.รามาฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 09.31 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 09.31 น.



“คมนาคม” เช็กความพร้อมรถไฟสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงินกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท กางไทม์ไลน์เปิดประมูลได้ใน ต.ค. 65 เริ่มตอกเข็มปี 66 พร้อมสั่งเร่งช่วง Missing Link กว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ลุยปรับแบบสถานีราชวิถีเชื่อมเข้าโรงพยาบาลรามาฯ ยึดโมเดลสถานีร่วม "ศิริราช" ให้ประชาชนเดินทางสะดวก คาดเปิดประมูลได้กลางปี 66

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมติดตามความพร้อมในการดำเนินการโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รายงานความพร้อมและแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา 3 เส้นทาง ได้แก่
1. สายสีแดงเข้ม ส่วนต่อขยายสายเหนือ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. มี 4 สถานี เงินลงทุน 6,570.40 ล้านบาท,
2. สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายสายตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. มี 6 สถานี เงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท และ
3. ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มี 3 สถานี 6,645.03 ล้านบาท ได้ช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2565 โดยตามไทม์ไลน์จะออกประกาศร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) เปิดประมูลในเดือน ต.ค. 2565 ใช้เวลาดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างประมาณ 6-8 เดือน คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างประมาณเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2566 และเสนอ ครม.ขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างต่อไป

ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. มี 9 สถานี วงเงินลงทุน 44,157.76 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานี เนื่องจากบริเวณใกล้เคียงมีโรงพยาบาลรามาธิบดี ดังนั้นจะใช้แนวคิดการพัฒนาสถานีในรูปแบบเดียวกับการพัฒนาสถานีศิริราช ของรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ที่ประชาชนสามารถเชื่อมการเดินทางจากระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่อาคารรักษาพยาบาลได้สะดวกสบายไร้รอยต่อ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว โดยสถานีศิริราชมีทั้งรถไฟสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีเรือโดยสาร มีรถขนส่งสาธารณะ ดังนั้น แนวทางจะก่อสร้างทางเชื่อมจากรถไฟฟ้า ท่าเรือ เข้าอาคารโรงพยาบาลศิริราช

ส่วนสถานีราชวิถี โดยจะมีการปรับรูปแบบสถานีใหม่ให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก และยังมีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และในบริเวณยมราชที่อยู่ใกล้เคียงจะมีรถไฟฟ้าสายสีส้มผ่านอีกด้วย ซึ่งจะต้องไปบูรณาการแบบร่วมกันว่าจะสามารถเชื่อมต่อกันอย่างไร เพื่อให้ผู้โดยสารเดินจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบหนึ่ง หรือเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลฯ ได้โดยไม่ต้องออกมาเดินข้ามถนน เป็นการบูรณาการการใช้ประโยชน์เส้นทางรถไฟสายสีแดงช่วง Missing Link ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนสูงสุดในการเดินทางเชื่อมต่อ

ปลัดคมนาคมกล่าวว่า รฟท.ประเมินว่าจะใช้เวลาในการปรับแบบรวมถึงกรณีที่อาจมีการปรับปรุงรายงาน EIA หากการปรับแบบมีผลเปลี่ยนแปลงจากรายงานฉบับเดิมอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าอาจจะประมูลหลังจากส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางแรกประมาณ 1 ปี

นายชยธรรม์กล่าวถึงการเดินรถไฟสายสีแดงว่า กระทรวงคมนาคมจะพิจารณาแนวทางที่ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด คือ การมีประสิทธิภาพ สะดวก ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล ดังนั้นในส่วนของการเดินรถ จะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาร่วม PPP ซึ่งทางบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งเป็นเดินรถไฟสายสีแดงในปัจจุบัน สามารถเข้ามาแข่งขันได้

“รฟท.จะต้องเร่งปรับไทม์ไลน์ในการดำเนินงานรถไฟสายสีแดงช่วง Missing Link ให้ชัดเจน และกลับมารายงานกระทรวงฯ อีกครั้งในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเร่งรัดและกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด ไม่ให้มีความล่าช้า ซึ่งขณะนี้จุดใดมีปัญหา รฟท.จะต้องทำแผนแก้ปัญหาและกรอบเวลาในการดำเนินงานมาให้ชัดเจน”

รายงานข่าวแจ้งว่า สายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา จะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน คาดเปิดให้บริการในปี 2569 ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 48 เดือน คาดเปิดให้บริการในปี 2570 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) จะเริ่มก่อสร้างล่าช้ากว่า 3 เส้นทางแรกประมาณ 1 ปี ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 54 เดือน คาดเปิดให้บริการในปี 2571
https://www.youtube.com/watch?v=qkVUxAaqOvY


Last edited by Wisarut on 12/06/2022 5:20 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2022 10:49 am    Post subject: Reply with quote

🚇รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง🚇
ยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงทะลุ วันละ 1.3 หมื่นคน 👨🏻‍🦱👩🏻‍🦱
.
📺#ขอขอบคุณ : เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง 7 ค่ะ
❤️#มากกว่าการเดินทางคือความพิเศษ
.
🚇รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง🚇
.
☎️Call Center : 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.facebook.com/watch/?v=510460190828365
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2022 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ขอแจ้งตารางเดินรถประจำ
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2565
🚇รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 🚇
⏰เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา
05.30 น.-24.00 น.
ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ
โดยให้บริการรถไฟจำนวน 8 ขบวน
………………………………
🚇สายบางซื่อ-รังสิต
▪️ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 12.00 นาที
▪️นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 20.00 นาที
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.30 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.
………………………………
🚇สายบางซื่อ - ตลิ่งชัน
▪️ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 20.00นาที
▪️นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 30.00นาที
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.30 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.
………………………………
🚇รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
https://www.facebook.com/REDLineSRTET/videos/4777354832368668/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 128, 129, 130 ... 147, 148, 149  Next
Page 129 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©