RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181554
ทั้งหมด:13492792
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟทางคู่ภาคตะวันออก ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟทางคู่ภาคตะวันออก ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2021 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลุยออกแบบทางคู่สายใหม่ชลบุรี-ตราด
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

1.ย่านสินค้าช่วงชุมทางศรีราชา-ระยอง อยู่ที่ ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ติดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง มีโครงข่ายถนนสายหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 และถนนภายในนิคมอุตสาหกรรม
2.ย่านสินค้าช่วง จ.จันทบุรี อยู่ที่ ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 หรือ ทล.3 (สุขุมวิท) ซึ่งเชื่อมกับ ทล.3322 และ ทล.3407 และ
3.ย่านสินค้าช่วง จ.ตราด อยู่ที่ ต.ท่าทุ่ม อ.เมือง จ.ตราด เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3271 เชื่อมกับ ทล.318 และ ทล.3


1.ย่านสินค้าช่วงชุมทางศรีราชา-ระยอง อยู่ที่ ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี => เลยได้ชื่อว่าย่านกองเก็บตู้สินค้า อมตะซิตี้ ซึ่งอยู่ติดกับนิคมอมตะซิตี้ และถนนทางหลวง 311
2. ย่านสินค้าช่วง จ.จันทบุรี อยู่ที่ ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี => เลยได้ชื่อว่าย่านกองเก็บตู้สินค้า ทุ่งเบญจา
3. ย่านสินค้าช่วง จ.ตราด อยู่ที่ ต.ท่าทุ่ม อ.เมือง จ.ตราด จะอยู่ที่บริเวณ ต.ท่ากุ่ม => เลยได้ชื่อว่าย่านกองเก็บตู้สินค้า ตราด หรือ ย่านกองเก็บตู้สินค้าท่ากุ่ม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 2:02 am    Post subject: Reply with quote

งบ65 มีแต่ปรับปรุงทางช่วงหัวหมาก-หัวตะเข้ครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4189810741065839&set=p.4189810741065839&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2021 6:51 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลุยรถไฟสายใหม่'ระยอง-ตราด'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, December 13, 2021 04:20

เร่งทำ"อีไอเอ" โปรเจค 5.4 หมื่นล้าน

กรุงเทพธุรกิจ"สนข." เผยโครงสร้างพื้นฐานอีอีซีคืบ 49% เร่งก่อสร้าง 36 โครงการ เล็งเสนอ งบปี 2566 ดัน 35 โครงการ ร.ฟ.ท.ปัดฝุ่นทางเดี่ยวสายใหม่ และทางคู่ ช่วงระยองจันทบุรี-ตราด 5.4 หมื่นล้านบาท

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยระบุว่า สนข.ได้สรุปผลการดำเนินงาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี 168 โครงการ มูลค่ารวม 9.88 แสนล้านบาท พบว่ามีโครงการที่ดำเนินงานก่อสร้างแล้วเสร็จ 83 โครงการ คิดเป็น 49%

โดยโครงการสำคัญที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิ โครงการมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรีพัทยา-มาบตาพุด

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 36 โครงการ หรือคิดเป็น 21% อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯระยอง (เชื่อม 3 สนามบิน)

สำหรับปีหน้ามีโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ในอีอีซี เตรียมเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ ปี 2566 เป็นต้นไป 35 โครงการ หรือคิดเป็น 21% โดยมีโครงการสำคัญที่จะพัฒนา อาทิ โครงการมอเตอร์เวย์ชลบุรี-นครราชสีมา (แหลมฉบัง-ปราจีนบุรี ทล.359)

แหล่งข่าวจากการถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยว่า โครงการในอีอีซีที่ ร.ฟ.ท. จะผลักดันในปี 2565 นอกจากการพัฒนาระบบ ขนส่งทางรางเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังเพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าทางรางแล้ว ยังจะ เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2566 เพื่อออกแบบและจัดทำรายละเอียดวิเคราะห์ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการ ทางเดี่ยวและทางคู่สายใหม่ ช่วงมาบตาพุดระยอง-จันทบุรี-ตราด หลังจากที่โครงการนี้ ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ และ ก่อนหน้านี้ถูกชะลอ โดยคาดว่าจะดำเนินการ หลังปี 2570

"ทางเดี่ยวและทางคู่สายใหม่เส้นนี้ เป็น แนวเส้นทางที่การรถไฟฯ ศึกษาเพื่อสนับสนุน การขนส่งสินค้าและขนส่งผลไม้ ตอบรับกับ พื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออกที่เป็นศูนย์กลางของการส่งออกผลไม้ที่สำคัญ แต่ก่อนหน้านี้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้ชะลอไปหลังปี 2570"

อย่างไรก็ดี จากนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ผลักดันแผนแม่บทการพัฒนา MR-Map จำนวน 10 เส้นทาง เป็นการพัฒนามอเตอร์เวย์ ร่วมกับระบบราง โดยหนึ่งในนั้นมีเส้นทาง MR7 กรุงเทพฯ-ระยอง (มาบตาพุด)/ตราด (ด่านคลองใหญ่) ระยะทาง 467 กิโลเมตร ถือเป็นแนวเส้นทางที่คู่ขนานไปกับรถไฟช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด โครงการนี้จึงถูกนำมาผลักดันให้เกิดขึ้น และจะมีการเสนอของบประมาณปี 2566 เพื่อเริ่มต้นออกแบบรายละเอียด

สำหรับโครงการทางเดี่ยวสายใหม่ และทางคู่ ช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 218 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 5.4 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็น ทางเดี่ยวสายใหม่ ช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด วงเงิน 3.9 หมื่นล้านบาท และโครงการทางคู่ ช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ หาก ร.ฟ.ท.ได้รับงบประมาณออกแบบรายละเอียดใช้เวลาออกแบบ 1 ปี แล้วเสร็จในปี 2567 หลังจากนั้น จะประมูลหาผู้รับเหมา โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี จึงคาดว่าจะเปิดบริการปี 2571

ส่วนแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1.เส้นทางเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีชุมทางศรีราชา-สถานีมาบตาพุด และจากสถานีบางละมุง-สถานีมาบตาพุด
2.เส้นทางเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรม สู่พื้นที่ อ.เมืองระยอง มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อ จากสถานีมาบตาพุด-อ.เมืองระยอง
3.เส้นทางเชื่อมโยงการระเบียงผลไม้ ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) และการท่องเที่ยว มีจุดเริ่มต้นแนวเส้นทาง จากอ.เมืองระยอง-อ.คลองใหญ่ จ.ตราด โดยสิ้นสุดเส้นทางที่ด่านศุลกากร อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่เชื่อมการขนส่งสินค้า ไปกัมพูชาได้

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 ธ.ค. 2564

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2021 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

งานนี้ดูกันไปว่าจะออกมาเป็นแบบไหน แต่เอาเข้าจริงทาง motorway ก็เริ่มจาก ระยอง ไปจันทบุรี ก่อนไปตราด แต่ดูๆไปก้ยุ่งพิลึก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2022 7:45 am    Post subject: Reply with quote

'กพอ.'ดันโปรเจคเฟส2 โครงสร้างพื้นฐาน3.4แสนล้าน
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Thursday, January 13, 2022 04:36

Click on the image for full size

กรุงเทพธุรกิจ การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเป็นเงื่อนไขสำคัญในการขับเคลื่อน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นชอบแผน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีอีซีต่อเนื่องระยะที่ 2 ปี 2565-2570 วงเงินลงทุนรวม 340,000 ล้านบาท เป็นการใช้งบลงทุนเอกชนครึ่งหนึ่ง เน้นพัฒนาระบบราง ขนส่งสาธารณะ โครงข่ายถนน เทคโนโลยีและระบบอัจฉริยะ

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเพิเศษ ภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า แผนโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 2 พ.ศ.2565-2570 จะรองรับการพัฒนาอีอีซีและพื้นที่ข้างเคียง ให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อทุกระบบ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ เชื่อมต่อขนส่งสาธารณะระบบรางจากสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา เชื่อมกับเมืองใหม่ และแหล่งท่องเที่ยว

รวมทั้งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้ประชาชนในการเดินทาง พร้อมสู่การเป็น "World-Class Economic Zone" รองรับ การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ ภาคอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า

สำหรับงบประมาณอยู่ที่ 340,000 ล้านบาท ซึ่งลงทุนน้อยลงจากแผนระยะที่ 1 ที่ดำเนินการ ไปแล้วกว่า 60% โดยเงินลงทุนส่วนนี้จะใช้รูปแบบร่วมลงทุนเอกชน หรือ PPP เอกชนจะเป็นผู้ลงทุน 50% มีกรอบการพัฒนา ดังนี้

1.เน้นการใช้ระบบรางและทางน้ำเป็นระบบหลัก ลดการใช้รถขนส่ง เชื่อมโยงระบบรางให้เข้าถึงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือ

2.การส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ อาทิ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมือง รถเมล์ รถรางเบา

3.การเชื่อมต่อโครงข่ายถนน เพื่อ ลดปัญหาการจราจร แก้ปัญหาคอขวด

4.การพัฒนาโครงข่ายคมนาคม เชื่อมโยง พื้นที่เศรษฐกิจใหม่เตรียมรองรับการเติบโตในอนาคต เช่น ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่เกษตรกรรม

5.การใช้เทคโนโลยีและระบบอัจฉริยะ เข้ามาจัดการการจราจรและการขนส่งทั้งหมด

ทั้งนี้ ได้วางแผนให้ระบบขนส่งทางรางและทางน้ำมีอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จาก 4% เป็น 15% และระบบขนส่งสาธารณะ มีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้นจาก 25% เป็น 35% รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เผยว่า ในปี 2565 มีโครงการที่เตรียมเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2566 เป็นต้นไป 35 โครงการ โดยมีโครงการสำคัญที่จะพัฒนา อาทิ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ชลบุรี-นครราชสีมา (แหลมฉบัง-ปราจีนบุรี ทล.359) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ชลบุรี-ตราด (ชลบุรี-แกลง) และโครงการทางเดี่ยวสายใหม่ ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 150 กิโลเมตร

สำหรับโครงการทางเดี่ยวสายใหม่และทางคู่ ช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด มีระยะทาง 218 กิโลเมตร โดยมีวงเงินลงทุนรวมกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็น โครงการทางเดี่ยวสายใหม่ ช่วงมาบตาพุดระยอง-จันทบุรี-ตราด วงเงิน 3.9 หมื่นล้านบาท และโครงการทางคู่ ช่วงมาบตาพุด-ระยองจันทบุรี-ตราด วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท

ในส่วนของแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด แบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้

แนวเส้นทางช่วงที่ 1 เส้นทางเชื่อมโยง นิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีชุมทางศรีราชาสถานีมาบตาพุด และจากสถานีบางละมุงสถานีมาบตาพุด ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อม นิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม 10 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง 1-3 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะบ่อวิน นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง

แนวเส้นทางช่วงที่ 2 เส้นทางเชื่อมโยง นิคมอุตสาหกรรมสู่พื้นที่อ.เมืองระยอง มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีมาบตาพุดอ.เมืองระยอง

แนวเส้นทางช่วงที่ 3 เส้นทางเชื่อมโยง การระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) และการท่องเที่ยว มีจุดเริ่มต้นแนวเส้นทางจากอ.เมืองระยองอ.คลองใหญ่ จ.ตราด โดยสิ้นสุดเส้นทาง ที่ด่านศุลกากร อ.คลองใหญ่ จ.ตราดที่เชื่อม การขนส่งสินค้าไปประเทศกัมพูชาได้


ทั้งนี้ คาดว่าระหว่างปี 2566-2570 ช่วงการก่อสร้างจะเกิดการจ้างงานประมาณ 20,000 ตำแหน่งต่อปี และปี 2571-2580 ประมาณ 12,000 ตำแหน่งต่อปี ส่งผลให้เดินทางสะดวก รวดเร็วขึ้น ลดความสูญเสียจากความล่าช้าการเดินทางประมาณ 10.75 ล้านบาทต่อวัน หรือ 3,900 ล้านต่อปี ลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ 5% และความสูญเสียลดลง 100 ล้านบาทต่อปี

รวมทั้งแผนโครงสร้างพื้นฐานในระยะที่ 2 จะเป็นการส่งเสริมแผนแรก โดยมุ่งพัฒนาระบบขนส่งที่ทันสมัย ทำให้สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงระยองภายใน 1 ชั่วโมง ลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการจราจร เพิ่มประสิทธิภาพถนนในพื้นที่ จากความเร็ว 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีเส้นทางรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้น 275 กิโลเมตร ปรับปรุงการก่อสร้างถนนและขยายช่องทางมากถึง 25 เส้นทางภายในปี 2570

นอกจากนี้ มื่อดำเนินการตามแผนดังกล่าว คาดว่าจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนทั้งในและนอกอีอีซีให้สะดวกสบาย และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะแบบ ไร้รอยต่อ และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง และเรือชายฝั่งในพื้นที่ภาคตะวันออก พร้อมกันนี้ ก็เป็นการยกระดับให้ไทยที่จะก้าวสู่การเป็น ประตูการค้าและศูนย์กลางลงทุนแห่งภูมิภาค มีความจุเพียงพอกับความต้องการในการใช้งาน สามารถเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานระบบราง รวมทั้งดึงดูดความสนใจในการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไปยังระบบราง ทำให้มีสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้

เงินลงทุนส่วนนี้จะใช้รูปแบบร่วมลงทุนเอกชน หรือ PPP รัฐและเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนฝ่ายละ 50% คณิศ แสงสุพรรณ

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2022 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

ครม. ไฟเขียว! แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่ EEC ปี 66 - 70 ยกระดับโครงข่ายคมนาคม 77 โครงการ กรอบวงเงิน 337,797 ลบ.
.
ที่ประชุม ครม. (28 มิ.ย. 65) เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานฯ พ.ศ. 2566 – 2570 ทั้งโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค มาตรการส่งเสริมและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับโครงข่ายคมนาคม จำนวน 77 โครงการ กรอบวงเงินรวม 337,797.07 ล้านบาท
.
แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน 29 โครงการ วงเงินรวม 125,599.98 ล้านบาท และระยะกลาง 48 โครงการ วงเงินรวม 212,197.09 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเกิดการจ้างงานหลายหมื่นตำแหน่งต่อปี และเป็นการพัฒนาพื้นที่การลงทุน - ท่องเที่ยวของพื้นที่ EEC รวมถึงด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ และ ทางรถไฟความเร็วสูงไประยองด้วย

ที่ต้องทำเร่งด่วน ในปี 2566 คือระบบ feeder ให้รถไฟความไวสูง (ชุลบุรี - บ้านบึง - EECi และ ระยอง - บ้านค่าย - EECi)
ในระยะปานกลาง เริ่มทำรถไฟทางคู่ ศรีราชา - บ่อวิน - บ้านฉาง - ระยอง และ ศรีราชา - เขาชีจรรย์ - บ้านฉาง - ระยอง โดยทำทางคูเข้าท่าเรือจุกเสม็ดด้วย รวมทั้วการพัฒนาท่าเรือสัตหีบเพื่อแบ่งเบาภาระท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะมีการทำ Dry Port (ICD) ที่ฉะเชิงเทราด้วย จะทำให้ได้ทางคู่เพิ่มอีก 275 กิโลเมตร
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/404770225019048
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2022 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
งบ65 มีแต่ปรับปรุงทางช่วงหัวหมาก-หัวตะเข้ครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4189810741065839&set=p.4189810741065839&type=3


รายละเอียดโครงการ ขยายทางรถไฟ หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และ ทางคู่ ศรีราชา-มาบตาพุด
ขอมาสรุปโครงการพัฒนาทางรถไฟสำหรับ EEC อีกเส้นนึงซึ่งเป็นเส้นทางที่สำคัญมากสำหรับการขนส่งสินค้า
ซึ่งขอแบ่งเส้นทาง เป็น 4 ช่วง คือ
1.รถไฟช่วง หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา
ปัจจุบัน เป็นทางรถไฟ 3 ทาง ซึ่งเป็นทางเก่าดั้งเดิม 1 ทาง และทางคู่ใหม่ช่วงปี 39 อีก 2 ทาง

ปัญหาของเส้นทางนี้ จะใช้งานได้เต็มที่แค่ทางคู่ใหม่ เนื่องจากทางเดิมมีปัญหาความมั่นคงของราง เพราะเป็นรางเก่า ไม่ได้ตอกเสาเข็มรองรางเหมือนรางใหม่ ทำให้รถไฟมีความเสี่ยงในการเดินทาง ร่วมกับที่พื้นที่ช่วงนี้เป็นดินเลน ปากแม่น้ำ ยิ่งทำให้รางทรุดไปกันใหญ่

การพัฒนาเส้นทาง
จะรือทางรถไฟเดิม ทางที่ 3 ซึ่งเป็นทางเก่าที่เล่าให้ฟังออก และปรับความมั่นคงของราง โดยการตอกเสาเข็มปู ตลอดเส้นทาง เพื่อป้องกันดินทรุด พร้อมกับก่อสร้างทางใหม่ทางที่ 4 มาคู่กัน

รถไฟที่จะวิ่งในทางรถไฟที่จะสร้างนี้
รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย จาก Missing Link มา หัวหมาก และเข้าช่วงนี้ จากหัวหมาก ไปฉะเชิงเทรา ใช้ทางวิ่งทางคู่ 2 ทางเดิม
รถไฟสินค้า จาก ICD ลาดกระบัง-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ใช้ทางวิ่งที่ปรับปรุง และทางใหม่ใหม่ 2 ทาง

โผบัญชีสถานี
(1) หัวหมาก (เดิม) กม. 15 + 400 - ให้ย้ายมาที่ สถานีหัวหมากแห่งใหม่ใต้สถานี หัวหมาก Airport Link ที่ก. 15 + 900 เป็นสถานัลอยฟ้า ก่อนลดระดับที่กม. 17 + 700
(2) บ้านทับช้าง กม. 20+ 650
(3) ลาดกระบัง กม. 26+ 650
(4) หัวตะเข้ กม. 30+ 800
(5) ฉะเชิงเทรา กม. 60+ 900 => ปรับปรุงทางเก่า เพิ่มทางสี่เพื่อสายแดง



2.รถไฟช่วงฉะเชิงเทรา-พานทอง
ทางรถไฟเดิมปัจจุบันเป็นทางคู่ พึ่งสร้างเสร็จช่วงปี 52 ซึ่งเส้นทางนี้ในทางที่อยู่ไนช่วงดินเลนปากแม่น้ำมีการตอกเสาเข็มปูตลอดพื้นที่ ทำให้ไม่มีปัญหาการทรุดของดิน
ช่วงนี้จะมีการสร้างทางเพิ่มอีก 1 ทาง คู่ขนานกับทางเดิม ซึ่งน่าจะเน้นหลักไปในทางขนสินค้า

(5) ฉะเชิงเทรา กม. 60+ 900 => ปรับปรุงทางเก่า เพิ่มทางสี่เพื่อสายแดง
(6) พานทอง กม. 91+ 600 => ปรับปรุงทางเก่า ให้มี bearing unit

3.รถไฟช่วงพานทอง-แหลมฉบัง
ปัจจุบันเป็นทางคู่เหมือนกับช่วงพานทอง ตอนนี้ต้องเน้นไปที่การแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟทั้งหมด นอกเหนือจาก ปรับปรุงทางเก่า ให้มี bearing unit
(6) พานทอง กม. 91+ 600 => ปรับปรุงทางเก่า ให้มี bearing unit
(7) ชุมทางศรีราชา กม. 130+ 800 (อาคารเดิมอยู่ที่ กม. 130+605) => ปรับปรุงทางเก่า ให้มี bearing unit
(8) แหลมฉบัง กม. 139+850 => ปรับปรุงทางเก่า ให้มี bearing unit

4.รถไฟช่วงแหลมฉบัง-มาบตาพุด
ปัจจุบันเป็นทางรถไฟทางเดี่ยว และรถไฟโดยสารจะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟบ้านพลูตาลหลวง ซึ่งเลี้ยวมาทางท่าเรือสัตหีบ แต่รถไฟสินค้าจะไปถึงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นนิคมปิโตรเคมี มีสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ขนส่งทางรถไฟอยู่ตลอด
ในอนาคต จะทำการขยายพัฒนาทางคู่ ออกไปให้สุดที่นิคมมาบตาพุด เพื่อจะพัฒนา Capacity และการขนส่งสินค้า พร้อมกับการเผื่อจะต่อไปกับรถไฟสาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด ที่เคยโพสต์ไปก่อนหน้านี้ด้วยครับและอีกส่วนหนึ่งของโครงการนี้คือเปลี่ยนให้เส้นทางนี้เป็นระบบปิดโดยสมบูรณ์จริงๆซักที่ เพราะในปัจจุบัน ยังมีจุดตัดอยู่พอสมควร โดยเฉพาะจุดตัดฉลองกรุง กลางพระจอมเกล้าลาดกระบัง


ซึ่งการแก้ปัญหาจุดตัดมีหลายรูปแบบ คือ
1.ทางรถไฟยกระดับข้ามถนน ซึ่งปัจจุบันมีหลายจุด
2.ถนนข้ามรถไฟ ก็มีหลายจุดเช่นกัน
3.ทางลอดรถไฟ
4.สะพานกลับรถ
มันจำเป็นมากๆสำหรับสายนี้เพราะหลักของเส้นทางสายนี้คือการขนส่งสินค้า ซึ่งขบวนสินค้ามีขนาดใหญ่และหนักมาก การจะเบรกแต่ละครั้ง ระยะเบรกไกล และกว่าจะเร่งขึ้นมาใหม่ ก็ใช้เวลาและระยะทางมากเช่น
ดังนั้นสายนี้คือรถไฟที่เป็นสายทำเงินให้กับการรถไฟ จากการขนส่งสินค้า ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อจะให้ รฟท สามารถเลี้ยงตัวเองได้

(7) ชุมทางศรีราชา กม. 130+ 800 (อาคารเดิมอยู่ที่ กม. 130+605) => ปรับปรุงทางเก่า ให้มี bearing unit
(8) แหลมฉบัง กม. 139+850 => ปรับปรุงทางเก่า ให้มี bearing unit
(9) พัทยา กม. 155+250 => เพิ่มทาง 2
(10) ชุมทางเขาชีจรรย์ กม. 180 + 010 => เพิ่มทาง 2
(11) สัตหีบ กม. 195 + 000 => เพิ่มทาง 2
(12) มาบตาพุด กม. 200 + 600 => เพิ่มทาง 2
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/736408250130990
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3
Page 3 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©