Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264088
ทั้งหมด:13575371
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 29, 30, 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2022 7:18 am    Post subject: Reply with quote

[EP25] รถไฟฟ้าสายสีเงิน | สำรวจสถานีต้นทาง จุดเชื่อมต่อ BTS บางนา / LRT SILVER LINE BANG NA STATION
Jul 26, 2022
BANGKOK ON SITE


https://www.youtube.com/watch?v=K3jekOO3d-Q

BANGKOK ON SITE พาไปสำรวจตำแหน่งที่ตั้งสถานีบางนา ซึ่งเป็นสถานีต้นทางในอนาคตของระบบรถไฟฟ้า LRT สายสีเงิน เส้นทางบางนา-สุวรรณภูมิ พร้อมเดินชมบรรยากาศตลอดแนวเส้นทางเชื่อมต่อบนโครงข่ายสกายวอล์คจากสถานีบางนาของรถไฟฟ้า BTS ในปัจจุบัน
รถไฟฟ้าสายสีเงินคือสายไหน ทำไมไม่คุ้นชื่อเลย? มีจุดเชื่อมต่อกับสายอื่นบ้างมั้ย ที่ไหนบ้าง? เดินเชื่อมกับ BTS ที่บางนาได้มั้ย เดินไกลแค่ไหน มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไร ใช้เวลากี่นาที? ได้ยินเรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายนี้มานานแล้ว สรุปจะได้เริ่มสร้างเมื่อไหร่ แล้วเปิดใช้ได้เมื่อไหร่?! และอีกหลายประเด็นน่าสนใจ งานนี้พาชมตลอดแนวไม่มีตัด!
ชมภาพคมชัดเหมือนไปเดินด้วยตัวเองพร้อมเคลียร์คำตอบไปด้วยกันครับ!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2022 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ เผย เตรียมหารือส่งรถไฟฟ้าสายสีเทา-เงินต่อให้ รฟม.
ในประเทศ
วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:48 น.


ชัชชาติเผยเตรียมส่ง 2 เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าสายสีเทา-เงิน ให้ รฟม. ดำเนินการ

วันที่ 1 สิงหาคม 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงกรณีโครงการรถไฟฟ้าสีเทา-เงิน ในประเด็นว่ากรุงเทพมหานครจะดำเนินการต่อหรือไม่



โดยนายชัชชาติตอบว่า โดยความเห็นส่วนตัวอยากให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. รับไปทำ เพื่อจะให้ระบบโครงข่ายครบถ้วน

เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเทา-เงินนั้นมีการตัดผ่านรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม.อยู่แล้ว จะได้ป้องกันการทับซ้อนของค่าแรกเข้าด้วย


อีกทั้งบางส่วนของโครงข่ายออกไปไกลกว่าเขตของกรุงเทพมหานคร อาจจะเกิดประเด็นปัญหาคล้ายส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีกได้


แต่อย่างไรก็ดี นายชัชชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า จะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับสภากรุงเทพมหานครอีกครั้งหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2022 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บอร์ดสิ่งแวดล้อม อนุมัติรถไฟฟ้ารางเดี่ยว สายสีเทา ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ข่าวทั่วไทย
วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 10:27 น.
https://www.facebook.com/onep.gov.th/posts/255167910126963

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ระยะที่ ๑ วัชรพล-ทองหล่อ ของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
30 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:04 น.
·

• รายละเอียดโครงการ
โครงการฯ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) และมีโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นบริเวณแยกต่างระดับรามอินทราที่สถานีวัชรพล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู จากนั้นยกข้ามทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนเอกมัย - รามอินทรา) มุ่งหน้าตามแนวเขตทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมผ่านจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณถนนลาดพร้าว และข้ามถนนพระราม ๙ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม และยกข้ามรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) แล้วเลี้ยวขวาที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางถนนเพชรบุรี และเลี้ยวซ้ายเข้าซอยทองหล่อ สิ้นสุดโครงการบริเวณปากซอยสุขุมวิท ๕๕ (ทองหล่อ) วิ่งตรงไปบรรจบกับแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) บริเวณสถานีทองหล่อ สิ้นสุดแนวเส้นระยะที่ ๑ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๖.๒๕ กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีรถไฟฟ้า จำนวน ๑๕ สถานี และศูนย์ซ่อมบำรุง ๑ แห่ง

- สถานีในโครงการ ทั้งหมด ๑๕ สถานี
๑. วัชรพล - interchange กะ สายสีชมพู หน้า ตลาดเลียบด่วนรามอินทรา เฟสใหม่
๒. นวลจันทร์ ระหว่างคลองบางขวดกะ ถนนนวลจันทร์
๓. เกษตรนวมินทร์ - แถว The Walk community Mall - interchange กับสายสีน้ำตาล
๔. คลองลำเจียก - ใกล้ The Pud English Garden
๕. โยธินพัฒนา - แถวๆ The Image Medical Aesthetic Centre
๖. ลาดพร้าว 87 - ใกล้ เอสซีจี โฮม เอ็กซพีเรียนซ์ สาขาเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา (CDC) และ เซนทรัลอิสต์วิลล์
๗. สังคมสงเคราะห์ - ใกล้ โฮมโปร สาขาเอกมัย-รามอินทรา
๘. ฉลองรัช - interchange กะ สายสีเหลือง ตรงสถานี ลาดพร้าว 71 ใกล้ปากซอยลาดพร้าว 73
๙. ศรีวรา - ใกล้ถนนอินทราภรณ์ ทางเข้าไป โรงเรียนบดินทร์เดชา
๑๐. ประชาอุทิศ - แถว เจริญทองยิม เหม่งจ๋าย (โรงเรียนสอนมวยไทย)
๑๑. พระราม 9 - interchange กะ สายสีส้ม สถานีวัดพระราม 9
๑๒. เพชรบุรี-ทองหล่อ - จริงๆ เชือมกะสถานีคลองตันได้ เพราะ อยู่หน้าสถานีรถไฟคลองตันถ้ามีการสร้างสถานีสายสีแดงที่คลองตัน
๑๓. แจ่มจันทร์ - ใกล้ ซอยเอกมัย 21 หน้า โรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพ
๑๔. ทองหล่อ 10 - ใกล้ซอยเอกมัย 5 ใกล้ทางไป ดองกิ มอลล์ ทองหล่อ
๑๕. ทองหล่อ - interchange กะ สายสีเขียว - ปากซอยสุขุมวิท 55


การพิจารณากำหนดชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบในหลักการกำหนดชื่อสถานีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) ตามที่ กทม. เสนอขอเปลี่ยนแปลง จำนวน 8 สถานี ดังนี้
GY02 สถานีอยู่เย็น => แก้จาก นวลจันทร์ เพราะ ใกล้ซอยอยู่เย็นมากกว่า และ จะพ้องกับ สถานีนวลจันทร์ สายสี น้ำตาล
GY03 สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 27 => แก้จาก เกษตรนวมินทร์ เพราะ ไปพ้องกับสถานีเกษตรนวมินทร์ สายสีน้ำตาล และ ใช้ ชื่อซอยประดิษฐ์มนูธรรม 27 จะเหมาะสมกว่า
GY04 สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 25 => แก้จาก คลองลำเจียก เพราะ ไปพ้องกับสถานีคลองลำเจียก สายสีน้ำตาล และ ใช้ ชื่อซอยประดิษฐ์มนูธรรม 25 จะเหมาะสมกว่า
GY06 สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 15 => แก้จาก ลาดพร้าว 87 เพราะ ไม่อยู่บนถนนลาดพร้าว ใช้ ชื่อซอยประดิษฐ์มนูธรรม 15 จะเหมาะสมกว่า
GY08 สถานีลาดพร้าว 71 => แก้จาก ฉลองรัช เพราะ ต้อง interchange กับสถานีลาดพร้าว 71 สายสีเหลือง
GY10 สถานีศูนย์แพทย์พัฒนา => แก้จาก ประชาอุทิศ
GY11 สถานีวัดพระราม 9 => แก้จาก พระราม 9 เพราะ ต้อง interchange กับสถานีวัดพระราม 9 สายสีส้ม
GY12 สถานีเพชรบุรี 47 => แก้จาก เพชรบุรี-ทองหล่อ
และมอบหมายให้ กทม. จัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเทา พร้อมทั้งตรวจสอบชื่อภาษาอังกฤษ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งถัดไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/358201859837616
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2022 6:53 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชัชชาติ เผย เตรียมหารือส่งรถไฟฟ้าสายสีเทา-เงินต่อให้ รฟม.
ในประเทศ
วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:48 น.

ดับฝันชาวกรุงเบรกสร้าง 'รถไฟฟ้าสายสีเทา' 2.7 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, October 19, 2022 05:48

กทม.พับแผนสร้าง "รถไฟฟ้าสายสีเทา" 2.7 หมื่นล้านบาท หลัง"ชัชชาติ" ผู้ว่ากทม.สั่งเบรก ลุยนโยบายเส้น เลือดฝอย เล็งส่งไม้ต่อ ดึงรฟม.ต่อยอดโครงการฯ พัฒนาระบบขนส่งทางราง

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้จัดสัมมนาสรุปผลการศึกษา (ปัจฉิมนิเทศ ) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีเทา ช่วงวัชรพลทองหล่อ เฟสแรกวงเงินลงทุน 27,884 ล้านบาท ระยะทาง 16.3 กิโลเมตร เพื่อเสนอผลการ ศึกษาข้อมูลด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การเงิน สิ่งแวดล้อม รวมถึงรูปแบบความเหมาะสมด้านการลงทุนโครงการ ต่อนายชัชชาติ สิทธิ์พันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร หากผ่านความเห็นชอบ จะเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการภายในปี 2566

ขณะขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ปี 2567-2568 ลงมือก่อสร้างปี 2569 เปิดบริการเดินรถปี 2573 ช่วยขยายการเดินทางระบบรางเชื่อมโยงเส้นทางสายหลักต่อไป แต่ล่าสุดกลับมีแนวโน้มว่า นายชัชชาติ มีแผน มอบรถไฟฟ้าสายสีเทาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) ดูแล เพื่อความคล่องตัวไม่ให้ซ้ำรอยรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีเทาหากอยู่ในความดูแลของกทม.จะเป็นรถ ไฟฟ้าสายที่ 3 ต่อจากสายสีทองซึ่งเปิดให้บริการย่านคลองสาน ฝั่งธนบุรีไปก่อนหน้านี้

รายงานข่าวจากกรุงเทพ มหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ปัจจุบันทาง กทม.ต้องชะลอรถไฟฟ้าสายสีเทา ออกไปก่อน เนื่องจากนายชัชชาติ มีนโยบายให้กทม.มุ่งเน้นดำเนินการนโยบายเส้นเลือดฝอยเป็นหลัก โดยไม่มีนโยบายดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ในช่วงนี้ เนื่องจากโครงการฯมีมูลค่าการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้กทม.มีแนวคิดจะนำรถไฟฟ้า สายสีเทา ส่งมอบให้รฟม.ดำเนินการพัฒนาและบริหารจัดการแทน

ย้อนดูผลศึกษา รถไฟฟ้า สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ มูลค่าการลงทุน 27,884 ล้านบาทเป็นโครงการระยะแรก แบ่งเป็น ค่าตอบแทนและชดเชยการใช้ ที่ดิน 2,052 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 23,101 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 5,277 ล้านบาท ค่างานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 3,300 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม 100 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง 841 ล้านบาท ค่าออกแบบ 462 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำรอง (Provisional Sum) รวมภาษี 1,328 ล้านบาท

ใช้รูปแบบ PPP Net Cost เอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านรายได้ และเป็นผู้จ่ายค่าสัมปทานหรือส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ภาครัฐ ระยะเวลาสัญญาสัมปทาน 30 ปี ด้านการเวนคืนที่ดินของโครงการฯ เบื้องต้นจากผลการศึกษาของกทม.จะดำเนินการขอใช้พื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการฯอยู่บนถนนประดิษฐ์มนูธรรม ส่วนรายงานการประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565

แนวเส้นทางเริ่มจากทางเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก โดยวางโครงสร้างบนทางเท้าและทางจักรยานข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก นอกจากนี้ยังมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัชผ่านถนนประชาอุทิศ และข้ามทางพิเศษศรีรัชที่แยกพระราม 9- ประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9 จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางของถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ถนนทองหล่อ จนกระทั่งมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีทองหล่อ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล- ทองหล่อ ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง- พระราม 3 และระยะที่ 3 ช่วงส่วนต่อขยายพระราม 3-ท่าพระ รวมระยะทางทั้งสิ้น 39.91 กิโลเมตร เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว มีระบบควบ คุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็วเฉลี่ยในการเดินรถ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ 62 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 8,000-20,000 คนต่อชั่วโมง โดยจากการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการในปี 2573 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการ จำนวน 97,000 คน-เที่ยวต่อวัน

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 - 22 ต.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2022 10:32 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ชัชชาติ เผย เตรียมหารือส่งรถไฟฟ้าสายสีเทา-เงินต่อให้ รฟม.
ในประเทศ
วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:48 น.

ดับฝันชาวกรุงเบรกสร้าง 'รถไฟฟ้าสายสีเทา' 2.7 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 05:48 น.


ลิงก์มาแล้ว:
ดับฝันชาวกรุง เบรกสร้าง ‘รถไฟฟ้าสายสีเทา’ 2.7 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ - เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพุธ ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:54 น.

กทม.พับแผนสร้าง “รถไฟฟ้าสายสีเทา” 2.7 หมื่นล้านบาท หลัง “ชัชชาติ” ผู้ว่ากทม.สั่งเบรก ลุยนโยบายเส้น เลือดฝอย เล็งส่งไม้ต่อ ดึงรฟม.ต่อยอดโครงการฯ พัฒนาระบบขนส่งทางราง

https://www.thansettakij.com/business/544293
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2022 11:49 am    Post subject: Reply with quote

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลัง การประชุมคณะผู้บริหาร กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 23/2565 เรื่อง โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของ กทม.ว่า กทม. ตัดสินใจไม่ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน และสายสีเทา เนื่องจากเห็นว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการจะดีกว่า
ทั้งนี้เนื่องจากรถไฟฟ้า สายสีเงิน มีการก่อสร้างที่ออกนอกพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเทา ตัดกับรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง เช่น สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีส้ม และแอร์พอร์ตลิงก์
ดังนั้น หาก กทม.เป็นผู้ดำเนินการเอง สุดท้ายต้องมีการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนอีก แต่หาก รฟม.เป็นผู้ดำเนินการเองได้จะสามารถเชื่อมโยงในระบบเดียวกันได้
นอกจากนี้ ยังเชื่อมั่นว่า รฟม.มีความเชี่ยวชาญเรื่องรถไฟฟ้ามากกว่า ขณะที่ กทม.ไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องรถไฟฟ้าเลย โดยที่ผ่านมา กทม.จ้างคนอื่นดำเนินการทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ต้องมีการหารือกันอย่างรอบคอบ เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ ระยะทางรวม 16.3 กม. วงเงินการก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท มีสถานีทั้งหมด 15 สถานี ใช้ระยะเวลาในการเดินทางไป-กลับ ประมาณ 62 นาที คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 8,000-30,000 คน/ชั่วโมง
ส่วนโครงการรถไฟฟ้า สายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร จำนวนสถานี 14 สถานี ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี (ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร) ระยะที่ 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิใต้ จำนวน 2 สถานี (ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร) คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1.5-3 หมื่นคน/ชั่วโมง
https://www.thebangkokinsight.com/news/business/975126/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2022 12:19 am    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ โอนเค้ก รฟม.แสนล้าน แก้ปมตั๋วร่วมรถไฟฟ้า 3 สาย
ในประเทศ
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 - 08:29 น.

“ชัชชาติ” นำทีม กทม. ถกประเด็นร้อน “ศักดิ์สยาม” หลังประชุมเอเปคเคลียร์ปมแสนล้านรถไฟฟ้า 3 สาย “สีเขียว-สีเทา-สีเงิน” เชื่อมระบบราง-ตั๋วร่วมทั่วกรุงเทพฯ แก้กับดักสัมปทานเดินรถ พร้อมโอนให้ “รฟม.” ดำเนินการ “คมนาคม” ขานรับ ย้ำต้องถูกกฎหมาย พร้อมสรุปเข้า ครม. เตรียมชงเดินรถเมล์สายสั้น จัดระเบียบเส้นเลือดฝอย รับกรุงเทพฯแห่งอนาคต

ขณะที่รัฐบาลไทยกำลังเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยจะมีพิธีใหญ่ต้อนรับผู้นำและรัฐมนตรีเอเปคอย่างสมเกียรติเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” ซึ่งคาดหวังผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก



ในระหว่างนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเป็นทางการอีกครั้งเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย คือสายสีเขียว สายสีเทา และสายสีเงิน

ซึ่งเป็นประเด็นร้อนที่ กทม.อยู่ระหว่างสรุปผลโครงการ และในระดับนโยบาย โดยผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ มีความประสงค์จะถ่ายโอนโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมดคืนให้กับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ให้เป็นผูู้ดำเนินการแทน

โอนถ่ายบิ๊กโปรเจ็กต์
นายชัชชาติกล่าวย้ำว่า รถไฟฟ้าที่อยู่ในการศึกษาของ กทม.ขณะนี้คือ สายสีเทาและสายสีเงิน ซึ่งเป็นโครงการตามแผนแม่บทยังไม่ได้ก่อสร้าง และรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการนานแล้วอย่างสายสีเขียว ซึ่งรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายนี้สมควรที่จะให้ รฟม. โดยกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเป็นโครงข่ายเดียวกัน และจะส่งผลดีต่อการจัดการระบบตั๋วร่วม รวมถึงค่าโดยสารทั้งระบบ

“เราต้องยอมรับ กทม.ไม่มีงบประมาณและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านรถไฟฟ้าโดยตรง ถ้าจัดระดับงานโครงการให้เข้าที่และเหมาะสมได้ ในภาพรวมจะสามารถแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างได้ ทั้งโครงการที่ไม่จำเป็นและมีความซ้ำซ้อน รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินกับบีทีเอสที่ กทม.ยังมีหนี้สินค้างจ่ายอยู่”


นัดหารือหลังประชุมเอเปค
นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในเบื้องต้นหลังการประชุมเอเปค ทาง กทม.จะมีการนัดหารือกันระหว่าง 2 ผู้นำองค์กร คือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. โดยกำหนดหัวข้อการพูดคุย คือ

1.รถไฟฟ้า 2.การเดินรถเมล์ 3.การขอใช้พื้นที่ของกระทรวงคมนาคม 4.Open Data การเดินรถ และ 5.การตรวจจับรถควันดำ จุดโฟกัสจะอยู่ที่ 2 ประเด็นแรก คือการโอนถ่ายรถไฟฟ้าและการเดินรถเมล์ 2 โหมดการขนส่งเคียงคู่ประชาชนเมืองหลวง

สำหรับประเด็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอาจต้องเริ่มหารือเพื่อให้ไปต่อ โดย กทม.จะมีเงื่อนไขในการส่งมอบ ทั้งค่าโดยสาร ค่าตอบแทนการลงทุนในงานโยธา เป็นต้น

ที่สำคัญ การโอนให้กระทรวงคมนาคมจะทำให้กทม.ปลดภาระหนี้จากการรับโอนงานโยธาในส่วนต่อขยายส่วนเหนือ (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และส่วนใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) มูลค่ารวมกว่า 51,785,370,000 ล้านบาท

ในโอกาสเดียวกันจะมีการหารือการมอบรถไฟฟ้าสายสีเทา-เงิน ซึ่ง กทม.ได้ดำเนินการศึกษาเบื้องต้นแล้ว ก่อนเสนอ คจร. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีต่อไป จากเดิมจะเสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำเข้า ครม.

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเทานั้น ขณะนี้ผ่านการพิจารณา EIA แล้ว ขั้นตอนเหลือเพียงเสนอไปยังคณะกรรมการ PPP ก็จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ มีระยะทาง 16.3 กิโลเมตร 15 สถานี วงเงินการลงทุน 2.75 หมื่นล้านบาท และมีจุดเปลี่ยนระบบการเดินทาง (interchange) 5 จุด ใน 5 สายทางรถไฟฟ้าของ รฟม. รองผู้ว่าฯวิศณุยังเปิดเผยอีกว่า จากผลการศึกษาการลงทุนจะเป็นไปในรูปแบบ PPP net cost โดย กทม.จะต้องจ่ายค่างานโยธาอีกปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเงิน หรือ LRT สายบางนา-สุวรรณภูมิ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี สำหรับวงเงินลงทุนคาดว่าจะอยู่ที่ 36,937 ล้านบาท

ชงรถเมล์สายสั้นแก้รถขาดช่วง
นอกจากยังมีประเด็นเรื่องรถเมล์ ซึ่ง กทม.จะเสนอแนวทางการเดินรถเมล์โดยซอยให้เป็นสายสั้น ๆ จากเดิมเป็นรถเมล์สายยาว เพื่อไม่ให้รถขาดช่วง ซึ่งเป็นการจัดระเบียบเส้นเลือดฝอยระหว่างชานเมืองกับในเมือง

ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องสัมปทานการเดินรถ เจ้าของผู้ประกอบการ และระบบตั๋วรายวัน ส่วนนี้จะเป็นอำนาจของกรมการขนส่งทางบก ในการบริหารจัดการเส้นทางเดินรถ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด บริษัทลูกของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA จากรายงาน Opportunity Day ของ EA รายงานว่า ปัจจุบันมีสายการเดินรถเมล์กว่า 122 สายการเดินรถ จากสายการเดินรถฉบับปฏิรูปของกรมการขนส่งทางบก 279 สายการเดินรถ โดยตั๋วรายวันในราคา 40 บาท จะสามารถเดินทางได้ทุกเส้นทาง ไม่จำกัดรอบของบริษัทในกลุ่ม EA

ในเบื้องต้น รถเมล์ที่ กทม.จะดำเนินการมี 2 ประเภท คือ 1.feeder รถเมล์จากนอกเมืองมายังระบบขนส่งมวลชนหลัก 2.shuttle bus วิ่งเป็นบล็อก ๆ โดยมีขอบเขตพื้นที่กว้างกว่าเดิม

บิ๊กคมนาคมขานรับ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเทา-เงิน ที่ กทม.มีแนวคิดว่า จะโอนให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการว่า ในเบื้องต้นจะต้องมีการหารือกับ รฟม. โดยจะต้องทำตามระเบียบมติคณะรัฐมนตรี และกฎหมายอย่างเคร่งครัด

การขนส่งทางรางหากอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานเดียวดีที่สุด จะได้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งขณะนี้กำลังรอพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรหลังการประชุมเอเปคซึ่งหลังการประชุมเอเปคจะได้มีการนัดหมายหารือกับผู้ว่าฯ กทม.ต่อไป

เมื่อถามถึงหากมีข้อเสนอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแทนกรุงเทพมหานคร นายศักดิ์สยามกล่าวว่า “เหมือนที่เคยพูดไปครั้งที่แล้ว คือกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกเสียก่อน คือทำตามขั้นตอนของกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน ให้ กทม.ไปดูว่าทำเรียบร้อยหรือยัง”

เปิดลายแทงรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ และพระโขนง-ท่าพระ) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองใน กทม. เป็น 1 ใน 4 เส้นทางนำร่องของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขต กทม. ปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยกระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้เร่งรัดแผนงานจากเดิมในปี 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปี 2562 เพื่อเชื่อมทำเลชานเมืองฝั่งเหนือของกรุงเทพฯ ให้เข้าสู่ใจกลางเมืองได้รวดเร็ว

ทั้งแก้ปัญหาการจราจรบนถนนสุขุมวิท สาทร พระรามที่ 3 และรัชดาภิเษก ตลอดจนนำระบบขนส่งเข้าสู่ถนนที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนตัดผ่าน คือ “ถนนประดิษฐ์มนูธรรม”

โครงการนี้จะเป็นรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว แนวเส้นทางจะมี 2 ช่วงแยกขาดจากกัน ช่วงแรกจุดเริ่มต้นคือจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 จ

ากนั้นข้ามเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วง Missing Link บางซื่อ-หัวหมาก เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) แล้วสิ้นสุดช่วงแรกที่สถานีทองหล่อ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียวสุขุมวิท

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา บรรดาดีเวลอปเปอร์รายใหญ่หลายรายที่ลงทุนขึ้นคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ต่างโปรโมตจุดที่ตั้ง เพราะอนาคตอันใกล้จะมีรถไฟฟ้าสายใหม่คือสายสีเทา พาดผ่านย่านเพชรบุรีตัดใหม่-ทองหล่อ และสุขุมวิท จึงถือเป็นทำเลที่น่าจับตายิ่งขึ้น

สำหรับช่วงที่ 2 ของสายสีเทา มีจุดเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพระโขนง แล้วมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระรามที่ 4 เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และสถานีลุมพินี แล้วเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทร ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี

จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ที่มีแผนจะยกเลิกโครงการ เมื่อสายสีเทาเปิดใช้ โดยจะวิ่งไปถึงปลายทางที่ “สถานีราชพฤกษ์” อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับบีทีเอส สายสีลม อีกจุดหนึ่งที่ “สถานีตลาดพลู” แล้วมุ่งขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก ไปสิ้นสุดที่ “สถานีท่าพระ” ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงินอีก 1 จุด รวมระยะทาง 40 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2023 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

BTS มอบความสุขในวันเด็ก ชวนน้อง ๆ ขึ้นรถไฟฟ้า BTS – สายสีทอง – BRT ฟรี จริงหรือ ?
9 มกราคม 2023 | 16:00

BTS มอบความสุขในวันเด็ก ชวนน้อง ๆ ขึ้นรถไฟฟ้า BTS - สายสีทอง - BRT ฟรี
วันเด็กแห่งชาติ ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 ม.ค. 66 บริษัทฯ เปิดให้เด็กที่มีความสูงไม่เกิน 140 ซม. หรืออายุไม่เกิน 14 ปี ที่เดินทางมากับผู้ปกครอง และขึ้น - ลงสถานีเดียวกัน เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS ฟรี ตลอดสายทั้งในส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท และสายสีลม รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีทอง และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 24.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2023 11:09 am    Post subject: Reply with quote

กทม. - กทม.ย้ำโอนรถไฟฟ้า3สายให้รฟม.
ข่าวหน้าใน
วันพุธ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 07:26 น.

กทม. – เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เขตดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวภายหลังดำเนินการกิจกรรมผู้ว่าฯ สัญจร สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ว่า จากการศึกษาโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง คือ 1.รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ วงเงินการก่อสร้างงานโยธา 20,000 ล้านบาท 2.รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินการก่อสร้างงานโยธา 40,000 ล้านบาท และ 3.รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วน ต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ยังไม่มีการสรุปวงเงิน การก่อสร้าง

ขณะที่จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นการลงทุนภาคเอกชน โครงการรถไฟฟ้าระบุต้องการให้ใช้รูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost โดย กทม.ต้องรับภาระในส่วนของค่างานโยธา ต้องใช้วงเงินอย่างน้อย 60,000 ล้านบาท ยอมรับว่าโครงการรถไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ดีสามารถช่วยแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ ได้ แต่ด้วยข้อจำกัด 2 ประการคือ 1.กทม.ไม่มีผู้เชี่ยวชาญระบบราง ดังนั้น บทบาทในการกำกับดูแลจะไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ 2.งบประมาณที่จะต้องมีการสนับสนุนที่สูงถึง 60,000 ล้านบาทนั้น แม้จะเป็นการแบ่งจ่ายแต่เป็นภาระงบประมาณของ กทม.อย่างสูง ซึ่ง เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้เพื่อกิจการอย่างอื่นของ กทม.ได้ ทั้งการศึกษา การสาธารณสุข



กทม.จึงมีแนวคิดที่จะมอบโครงการเหล่านี้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการแทน เนื่องจาก รฟม.มีความเชี่ยวชาญด้านระบบราง อีกทั้งมีความสามารถด้านงบประมาณมากกว่า กทม. ซึ่งจะต้องมีการร่วมหารือกันต่อไป

นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับการเดินเรือไฟฟ้า โดยจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.คลองแสนแสบส่วนต่อขยาย ช่วงวัดศรีบุญเรือง-มีนบุรี ซึ่งการเดินเรือช่วงนี้ประสบปัญหาจากประตูระบายน้ำทำให้ต้องเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารหนึ่งครั้งที่ประตูระบายน้ำบางชัน ซึ่งต้องทบทวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการต่อไป


2.คลองผดุงกรุงเกษม โดยกลับเดินเรือเมื่อวันที่ 15 มี.ค. และไม่เก็บค่าโดยสาร หลังจากการปรับลดค่าจ้างการ เดินเรือจาก 2.4 ล้านบาทต่อเดือนเหลือ 1.8 ล้านบาท

ส่วนแผนการเดินเรือไฟฟ้า ในอนาคตได้มอบหมายเคทีศึกษาความเป็นไปได้ในการเดินเรือที่คลองภาษีเจริญ คลองลาดพร้าว และคลองประเวศน์บุรีรมย์ รวมถึงการ ติดตั้งกล้องวงจรปิด การเดินรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที การปรับปรุงศาลาที่พักผู้โดยสาร และติดตั้งป้ายรถประจำทางอัจฉริยะเพิ่มเติมอีกด้วย


ชัชชาติ โยนรถไฟฟ้า 3 สาย ให้ รฟม. รอรัฐบาลหน้าตัดสินใจ
ในประเทศ
วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17:59 น.

ชัชชาติเผยโยนโครงการรถไฟฟ้า 3 สายงบฯก่อสร้างกว่า 6 หมื่นล้านให้ รฟม. รอหารือรัฐบาลหน้า

วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร ได้มีการศึกษาเพื่อดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าถึง 3 เส้นทางคือ


1.รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ วงเงินการก่อสร้างงานโยธา 20,000 ล้านบาท
2.รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินการก่อสร้างงานโยธา 40,000 ล้านบาท
3.รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ยังไม่มีการสรุปวงเงินการก่อสร้าง


จากการ Market Sounding ที่ผ่านมาเอกชนต้องการให้รูปแบบการร่วมลงทุนเป็นแบบ PPP Net Cost โดยกรุงเทพมหานครต้องรับภาระในส่วนของค่างานโยธาซึ่งเป็นวงเงินอย่างน้อย 60,000 ล้านบาท

ซึ่งต้องบอกว่าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ดี สามารถช่วยแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานครได้ แต่ด้วยข้อจำกัด 2 ประการคือ

1.กรุงเทพมหานครไม่มีผู้เชี่ยวชาญระบบราง ดังนั้น บทบาทในการกำกับดูแลจะไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่

2.งบประมาณที่จะต้องมีการสนับสนุนที่สูงถึง 60,000 ล้านบาทนั้น แม้จะเป็นการแบ่งจ่าย แต่เป็นภาระงบประมาณของ กทม.อย่างสูง

เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้เพื่อกิจการอย่างอื่นของกรุงเทพมหานครได้ ทั้งการศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น

ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะมอบโครงการเหล่านี้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการแทน เนื่องจาก รฟม.มีความเชี่ยวชาญด้านระบบราง อีกทั้งมีความสามารถด้านงบประมาณมากกว่ากรุงเทพมหานคร ซึ่งจะต้องมีการร่วมหารือกันต่อไป อาจจะเป็นระยะเวลาหลังจากมีการจั้ดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2023 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

จ้างเดินรถเมล์ BRT 3 เดือน ยื่นข้อเสนอ 8 ส.ค.นี้ ครบกำหนดจ้างใหม่ 10 เดือน
ข่าวทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
3 สิงหาคม 2566 เวลา 09:53 น.

วันที่ 2 ส.ค.66 นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผย ถึงความคืบหน้าการจัดหาเอกชนเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ที่จะสิ้นสุดสัญญาจ้างเดินรถวันที่ 31 ส.ค.66 ว่า เมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา กทม. โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ออกประกาศประกวดราคาจ้างโครงการบริหารจัดการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 38,343,000 บาท มีระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน นับจากวันที่ให้เริ่มงาน โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นข้อเสนอและเสนอราคาในวันที่ 8 ส.ค.นี้ ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น.

โดยตั้งเป้าจะต้องลงนามสัญญาจ้างภายในวันที่ 28 ส.ค. หรืออย่างช้าวันที่ 29 ส.ค. เริ่มเดินรถวันที่ 1 ก.ย. เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่องหลังจากครบสัญญาจ้างวันที่ 31 ส.ค.นี้ คาดว่าจะมีเอกชนยื่นข้อเสนอ 1-2 รายเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด หรือบีทีเอสซี เอกชนรายเดิมเข้าร่วม หรืออาจจะเป็นบริษัทที่รับจ้างเดินรถจากบีทีเอสซีก็ได้ เนื่องจากระยะเวลาในการจ้างเดินรถสั้นๆเพียง 3 เดือน และมีการตัดลดวงเงินค่าจ้างลงหลายส่วน โดยเฉพาะค่าบริหารจัดการและซ่อมบำรุงสถานี เพราะเปิดให้บริการฟรีไม่เก็บค่าโดยสาร จึงไม่จำเป็นต้องมีพนักงานจำหน่ายตั๋วเป็นต้น

สำหรับงบค่าจ้างเดินรถ กทม. ได้กันงบปี 66 ไว้แล้ว 38,913,000.00 บาท หลังจากครบกำหนดแล้ว กทม. จะประกาศประกวดราคาฯ เพื่อว่าจ้างเอกชนเดินรถเฟสที่ 2 ระยะเวลา 10 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างแปรญัตติร่างงบประมาณรายจ่ายปี 67

สำหรับโครงการนี้มีรายละเอียดราคากลาง ประกอบด้วยงาน 4 ด้านด้วยกัน ประกอบด้วย 1.งานเดินรถโดยสาร ราคากลาง 11,100,525 บาท เนื้องานแบ่งเป็น ค่าจ้างพนักงานขับรถ และหัวหน้าบริหารการเดินรถ เป็นเงิน 10,197,000 บาท และค่าบริหาร เช่น ทะเบียน ภาษี และประกันภัย เป็นเงิน 903,525 บาท 2.งานบริหารสถานีและซ่อมบำรุงสถานี ราคากลาง 13,456,200 บาท เนื้องานแบ่งเป็นค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการประจำสถานี เป็นเงิน 3,816,000 บาท, ค่าซ่อมบำรุงสถานีและระบบต่างๆ เป็นเงิน 5,538,000 บาท และค่าบริหารสถานีและศูนย์ควบคุมการเดินรถ เป็นเงิน 4,102,200 บาท 3.ค่าเชื้อเพลิง ราคากลาง 5,142,000 บาท และ 4.ค่าซ่อมบำรุงรถโดยสาร ราคากลาง 6,136,020 บาท และมีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นเงิน 2,508,432.15 บาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 29, 30, 31, 32, 33  Next
Page 30 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©