Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180285
ทั้งหมด:13491519
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 339, 340, 341 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2022 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยโชคดีศูนย์กลาง “ระบบรางอาเซียน” เชื่อม 7 ชาติ |รายการ อาเซียนพลัส | อาทิตย์ที่ 11 ก.ย. 2565
Sep 11, 2022
TNN Online


https://www.youtube.com/watch?v=TsS2NIhki5A
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/09/2022 9:21 pm    Post subject: Reply with quote

ไล่เรียงรถไฟทางคู่ 3 สาย เหนือ อิสาน ตะวันตก คอรถไฟห้ามพลาด!?
Sep 18, 2022
เอสเอ็มอี นิวส์ รีพอร์ท


https://www.youtube.com/watch?v=Au344K9VXEo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2022 10:39 am    Post subject: Reply with quote

จ่อเปิดอีก 5 เส้นทาง! รบ.ลุยขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง เชื่อมโยงคมนาคม
หน้าการเมือง
วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 08.50 น.

รัฐบาลเตรียมเปิดรถไฟทางไกล 5 เส้นทางใหม่ ภายในปี 2565
หน้าการเมือง
วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:44 น.
รัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม จ่อเปิดอีก 5 เส้นทาง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 09:07 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 09:07 น.

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย รัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ยกระดับการเดินทางและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างเป็นระบบ เตรียมเปิดให้บริการอีก 5 เส้นทาง ภายในปี 2565 นี้
รัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง เตรียมเปิดให้บริการอีก 5 เส้นทางภายในปี 2565

รัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ยกระดับการเดินทางและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างเป็นระบบ เตรียมเปิดให้บริการอีก 5 เส้นทางภายในปี 2565 นี้

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเร่งพัฒนาขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศ ตามนโยบายเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับการเดินทางให้สะดวกรวดเร็ว และแก้ปัญหาการจราจรที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ



ทั้งนี้ โครงข่ายรถไฟทางไกลรองรับการขนส่งจากถนนสู่ระบบราง และจากทางเดี่ยวสู่ทางคู่ ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทาง ระยะทาง 985 กิโลเมตร มีความคืบหน้าเป็นอย่างดี ประกอบด้วย เส้นทางที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่
1) ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางคลองสิบเก้า - ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร เปิดให้บริการแล้วเมื่อปี 2562 และ
2) ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร เปิดให้บริการแล้วเมื่อปี 2563
และอีก 5 เส้นทางที่คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2565 นี้



ทั้งนี้ 5 เส้นทาง ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างและเตรียมเปิดให้บริการได้แก่
1) ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กิโลเมตร
2) ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 135 กิโลเมตร
3) ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กิโลเมตร
4) ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทางรวม 76 กิโลเมตร และ
5) ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร

โดยเมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว จะสามารถเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ในการเดินทาง รวมถึงการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมพื้นฐานด้านอื่นๆ ของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นายอนุชา กล่าวย้ำว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ตามนโยบายรัฐบาลนี้ ถือเป็นการยกระดับการเดินทางที่สำคัญเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งระบบราง ลดต้นทุนการขนส่งระบบโลจิสต์ติก เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ลดระยะเวลาในการเดินทางได้อย่างชัดเจน อาทิเช่น การเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปยังสถานีหัวหิน จากเดิมใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง จะเหลือเพียงประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น อีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงเครือข่ายการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน สินค้าและบริการ ทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และประเทศเพื่อนบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี - PMOC

วันเสาร์ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:00 น.


การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมของประเทศ เป็นการลงทุนภาครัฐที่มีความสำคัญ ที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เชื่อมโยงเศรษฐกิจของทุกภูมิภาคของประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาสังคม ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม สร้างโอกาสในการกระจายรายได้ และเข้าถึงความเจริญของประชาชน
รัฐบาล ภายใต้การนำของประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาโดยตลอด อีกทั้งยังบรรจุหัวข้อนี้ลงในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาประเทศสืบต่อไป และในปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินโครงการทางรถไฟและทางรถไฟความเร็วสูงไปแล้วหลายโครงการ
สำหรับความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟทางสายใหม่ มีรายละเอียดดังนี้
========
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 โครงการ 990 กิโลเมตร
=====
ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 3 โครงการ รวมระยะทาง 377 กิโลเมตร
1) ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2562
2) ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2562
3) หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2565
---
อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 4 โครงการ รวมระยะทาง 613 กิโลเมตร
1) ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 2569
2) ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กิโลเมตร คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 2566
3) ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กิโลเมตร คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 2566
4) ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 2566
=======
โครงการทางคู่ ระยะที่ 2 ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ จำนวน 7 โครงการ รวมระยะทาง 1,479 กิโลเมตร
=====
1 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร
2 ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร
3 ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 281 กิโลเมตร
4 ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กิโลเมตร
5 ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กิโลเมตร
6 ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กิโลเมตร
7 ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร
=======
โครงการทางสายใหม่ ปัจจุบันอยู่ในช่วงเริ่มต้นโครงการ จำนวน 2 โครงการ รวมระยะทาง 677 กิโลเมตร
=====
1 ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323.1 กิโลเมตร
2 ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 354.784 กิโลเมตร
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/407035484943989


Last edited by Wisarut on 20/09/2022 6:39 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2022 6:44 am    Post subject: Reply with quote

วอนแก้ปัญหา สะพานลอยข้ามรางรถไฟชุมทางบัวใหญ่ สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ
Sep 19, 2022
CH7HD News


https://www.youtube.com/watch?v=QtOPqyERRTo

7 สีช่วยชาวบ้าน - สะพานลอยคนข้ามรางรถไฟ สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ วอนการรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งหาทางแก้ไข

โดยก่อนหน้านี้ ผู้ใช้บริการ และชาวบ้านอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เคยออกมาเรียกร้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจสอบสะพานลอยข้ามรางรถไฟ บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ ซึ่งอยู่ในโครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน ชุมทางจิระฯ - ขอนแก่น หลังเปิดให้บริการแล้วพบว่า สะพานลอยสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ เพราะนอกจากสะพานลอยจะอยู่ห่างจากสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ออกไปประมาณ 250 เมตร รวมระยะทางจากสถานีเดินไปขึ้นสะพานลอย เพื่อไปยังชานชาลาเป็นระยะทางมากกว่า 500 เมตรแล้ว ตัวสะพานลอยค่อนข้างสูง ความสูงจากพื้นดินมากกว่า 7 เมตร บันไดก็ลาดชัน หากผู้ใช้บริการมีสัมภาระชิ้นใหญ่ ยิ่งลำบากในการขนขึ้นลงบันได เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ก็ใช้สะพานลอยได้ลำบาก

ซึ่งหลังเปิดให้งานจนถึงตอนนี้ผ่านมานานกว่า 2 ปี แต่ก็ยังไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงอยากให้การรถไฟแห่งประเทศไทยปรับแก้ไข เช่น การเพิ่มลิฟท์โดยสารเพื่อความสะดวกในการใช้สะพานลอย หรือเปิดให้ใช้ทางเดินข้ามรางรถไฟแนวราบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการทุกคนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2022 6:47 am    Post subject: Reply with quote

สิ้นสุดการรอคอย เสร็จแน่นอน สถานีรถไฟลอยฟ้าแห่งจังหวัดลพบุรี โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือสัญญาที่ 1
Sep 19, 2022
sawang songmue นานาสาระ


https://www.youtube.com/watch?v=hMJbVjnV5Ug
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2022 11:22 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
วอนแก้ปัญหา สะพานลอยข้ามรางรถไฟชุมทางบัวใหญ่ สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ
Sep 19, 2022
CH7HD News


https://www.youtube.com/watch?v=QtOPqyERRTo

7 สีช่วยชาวบ้าน - สะพานลอยคนข้ามรางรถไฟ สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ วอนการรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งหาทางแก้ไข


คนรถไฟหาเรื่องเอาตัวเองขึ้นศาลปกครอง และ ศาลปกครองสูงสุด ที่ ตอนนี้ มี คำตัดสินศาลฤีกาให้ทำสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการทุกสถานี ไม่มีข้อยกเว้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2022 11:02 am    Post subject: Reply with quote

พื้นที่ก่อสร้างอาคารสถานีนครสวรรค์หลังใหม่ อยู่บริเวณด้านเหนือของอาคารสถานีปัจจุบัน (พื้นที่บ้านพักพนักงานเดิม) รอตอกเสาเข็ม อาคารสถานีเก่าจะใช้เป็นที่ทำการ สดร. (สารวัตรเดินรถ) และ สสญ.นว. (สารวัตรงานอาณัติสัญญาณนครสวรรค์)

https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/8623681510979171
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2022 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

Formtraveller มีหาง!!สะพานข้ามแม่น้ำลพบุรี จุดที่ 2 BC2 เก็บรายละเอียดงานคอนกรีตด้วยนั่งร้านปลายยื่น
sawang songmue นานาสาระ
Sep 24, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=Aea6b0XzobQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2022 9:15 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สนข.เคาะทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ ลงทุนกว่า 6 หมื่นล้านเชื่อม 4 จังหวัดภาคเหนือ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 25 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:48:00 น.
สนข.ผุดรถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงใหม่” ลงทุนกว่า 6 หมื่นล้านเชื่อมโครงข่ายสายเหนือสมบูรณ์
โดย MGR Online
25 พฤษภาคม 2559 17:20 น. (แก้ไขล่าสุด 25 พฤษภาคม 2559 18:55 น.)

สนข.ผุดรถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงใหม่” ลงทุนกว่า 6 หมื่นล้านเชื่อมโครงข่ายสายเหนือสมบูรณ์

Mongwin wrote:
เวนคืน 4 จังหวัดล้านนา ลุยรถไฟทางคู่ "เด่นชัย-เชียงใหม่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 มิ.ย. 2559 เวลา 21:59:23 น.
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต


Wisarut wrote:
สนข.เผยสรุปแนวเส้นทางรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม.


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 กรกฎาคม 2558 13:30 น. (แก้ไขล่าสุด 13 กรกฎาคม 2558 13:57 น.)




ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สนข.จัดประชุมกลุ่มย่อยผู้ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทางครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ชี้แจงรายละเอียดและนำเสนอแนวทางเลือกเส้นทางที่ทีมศึกษาพิจารณาเบื้องต้นแล้วพบเหมาะสมที่สุดและเตรียมพัฒนาต่อยอด เผยระยะทาง 189 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 120-160 กิโลเมตร/ชั่วโมง

วันนี้ (13 ก.ค.) ที่ห้องประชุมอำเภอเมืองเชียงใหม่ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดการประชุมกลุ่มย่อยผู้ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทางครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ โดยมีตัวแทนส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง ซึ่งการจัดประชุมกลุ่มย่อยครั้งนี้เป็นครั้งแรกจากจำนวนทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งนี้ยังไม่นับรวมการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นอีก 3 ครั้ง ซึ่งจัดไปแล้วครั้งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 58

สำหรับการประชุมกลุ่มย่อยในครั้งนี้ ทางโครงการได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกของแนวเส้นทางที่จะเป็นรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร ผ่านจังหวัดแพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 4 แนว ได้แก่

แนวทางเลือกที่ 1 สร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ประกบเข้ากับทางรถไฟเดิม ความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมงในพื้นที่ราบและทางตรง ความเร็วสูงสุด 45-60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในพื้นที่ทางโค้งและทางลาดชัน ระยะทางประมาณ 217 กิโลเมตร

แนวทางเลือกที่ 2 สร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง พร้อมปรับรัศมีทางโค้งของทางรถไฟเดิม ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 207 กิโลเมตร

แนวทางเลือกที่ 3 สร้างทางคู่โดยใช้แนวรถไฟเดิมบางส่วนให้มีแนวเส้นทางตรงมากที่สุด ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร และ

แนวทางเลือกที่ 4 ใช้แนวทางเลือกที่ 2 และที่ 3 รวมกัน แบ่งเป็นช่วงเด่นชัย-ลำปาง ระยะทาง 105 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง และช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ระยะทาง 84 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 189 กิโลเมตร

ทั้งนี้ การศึกษาที่ผ่านมาทางโครงการได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะใช้แนวทางเลือกที่ 4 เป็นทางเลือกในการพัฒนาและทำการออกแบบต่อไป เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ แล้วพบว่าน่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด


ข้อมูลทางเลือกที่ 4 ดูที่นี่ครับ
http://www.denchai-chiangmai-doubletrack.com/file/Brochure2.pdf

รายละเอียดดูได้ที่นี่
แนวทางเลือกที่ 1
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง เป็นแนวเส้นทางที่อยู่ภายในเขตทางรถไฟและคู่ขนานไปกับแนวทางรถไฟเดิมทางด้านทิศตะวันตก โดยที่มีลักษณะทางกายภาพ ของทางวิ่ง เช่น ความกว้างของรัศมีโค้งราบและโค้งดิ่ง ความลาดชันแนวเส้นทาง ยังคงเหมือนและเท่ากับทางรถไฟเดิมและมีอุโมงค์รถไฟ 2 จุด คือ บริเวณห้วยแม่ลานและอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลทางวิ่งบริเวณที่อยู่ในพื้นที่ราบและเป็นแนวตรง รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 90 กม./ชม.มีความยาวเส้นทาง 217 กิโลเมตร รูปที่ 1-2 แสดงลักษณะ Plan และ Profile มีรายละเอียดเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้
- แนวเส้นทางใหม่จะขนานทางรถไฟเดิม โดยเริ่มต้นออกจากสถานีเด่นชัย กม.533+947 ผ่านสถานีปากปาน ที่กม.538+432 สถานีแก่งหลวง กม.552+000 จนถึงสถานีบ้านปิน ที่ กม.563+865 แนวเส้นทางเป็นทางราบหรือทางลาดชันเล็กน้อยที่มีรัศมีโค้งแคบตามแนวเชิงเขาลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำยมจากสถานีปากปาน จนถึงสถานีแก่งหลวง
- ช่วงจากสถานีบ้านปิน จนถึงที่หยุดรถไฟห้วยแม่ลาน กม.588+000 ต. บ้านปิน อ. ลอง จ. แพร่ ทางรถไฟจะลัดเลาะไหล่เขา และเป็นทางลาดชันไต่ขึ้นภูเขา ด้วยความลาดชันสูงสุด 20 ใน 1000 โดยมีจุดสูงสุดที่บริเวณที่อุโมงค์ห้วยแม่ลาน ซึ่งยาว 130 เมตร จากนั้นทางรถไฟจะไต่ลงด้วยความลาดชัน 20 ใน 100 ผ่านสถานีแม่จาง กม.600+335 จนถึง สถานีแม่เมาะ กม.609+168 => นี่แหละ เนิน 588 ที่เป็นตัวปัญหาหนักทับอก คนรถไฟและการรถไฟเขาหละ

- ช่วงออกจากสถานีแม่เมาะทางรถไฟจะไต่ลัดเลาะขึ้นเขาอีกครั้ง ด้วยความลาดชันสูงสุด 20 ใน 1000 จนถึง กม.617+500 ในพื้นที่ ต. หัวเสือ อ. แม่ทะ จ.ลำปาง จากนั้นทางรถไฟจะไต่ระดับลงด้วยความลาดชันสูงสุด 20 ใน 1000 เช่นกัน เข้าสู่สถานีนครลำปาง กม.642+292

- ช่วงสถานีนครลำปาง จนถึงจุดจอดรถบ่อแฮ้ว กม.646+687 ต. บ่อแฮ้ว อ. เมือง จ.ลำปาง ลักษณะเป็นแนวทางราบและขนานไปกับทางรถไฟเดิมและมีสะพานข้ามแม่น้ำวัง บริเวณ กม. 642+600
- ช่วงจากจุดจอดรถบ่อแฮ้ว จนถึงสถานีแม่ตานน้อย กม.671+808 ต. เวียงตาล อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง แนวเส้นทางจะลัดเลาะและไต่ขึ้นเขาอีกครั้ง
- ช่วงจากสถานีแม่ตานน้อย จนถึงสถานีขุนตาน กม.683+140 ต. ทาปลาดุก อ. แม่ทา จ.ลำพูน แนวเส้นทางจะลัดเลาะไต่ขึ้นเขา ด้วยความลาดชันสูงถึง 23 ใน 1000 ผ่านอุโมงค์รถไฟบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลยาว 1.3 กม. จากนั้นเส้นทางรถไฟจะไต่ระดับลงด้วยความลาดชันประมาณ 21 ใน 1000 จนถึง กม.690+000 ในพื้นที่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน จากนั้นแนวเส้นทางจะไต่ระดับลงผ่านสถานีทาชมภูสถานีศาลาแม่ทา สถานีหนองหล่ม เข้าสู่สถานีลำพูน

- ช่วงสถานีจังหวัดลำพูนถึงสิ้นสุดที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ที่กม.751+424 แนวเส้นทางจะอยู่ในพื้นที่ราบและขนานไปกับทางรถไฟเดิม</p>

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 1 ประกอบด้วย 26 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ผาคอ ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ห้วยรากไม้ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ปางม่วง หัวยเรียน แม่ตานน้อย ขุนตาน ทาชมภู ศาลาแม่ทา หนองหล่ม ลำพูน ป่าเส้า สารภีและเชียงใหม่

ทางเลือก 1 ถูกตีตก เพราะ ไม่ได้แก้ปัญหา เนิน 588 และ ทางช่วงแม่ตานน้อย - ขุนตาน ทีเป็นปัญหาหนักทับอกคนรถไฟ จนต้องพหุรถจักรขึ้นไป อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แนวทางเลือกที่ 2

เป็นการปรับทางรถไฟเดิมและก่อสร้างทางรถไฟใหม่ให้ได้ 2 ทางโดยอาศัยเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลักแนวเส้นทางโดยส่วนใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟเดิมและสลับอยู่ทางด้านทิศตะวันออกตามความเหมาะสม โดยจะต้องมีการเวนคืนในช่วงที่มีการปรับรัศมีโค้ง และความลาดชันของทางวิ่งให้ได้ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ เพื่อทำให้รถไฟสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.หรือการสลับทิศทางของเส้นทางรถไฟที่มาทางด้านทิศตะวันออก มีความยาวเส้นทางประมาณ 207 กิโลเมตร รูปที่ 1-3 แสดงลักษณะ Plan และ Profile รายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ มีดังนี้

- เริ่มต้นโครงการฯ จากสถานีเด่นชัย กม.533+947 จนถึงสถานีปากปาน กม.538+447 ต. ไทรย้อย อ. เด่นชัย จ. แพร่ เหมือนทางเลือกที่ 1<
- เมื่อออกจากสถานีปากปาน เส้นทางรถไฟจะปรับออกจากเขตทางรถไฟเดิม เพื่อให้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.จนบรรจบทางรถไฟปัจจุบัน ที่สถานีแก่งหลวง กม.544+947 ต. แม่ปาน อ. ลอง จ. แพร่โดยในช่วงดังกล่าวทางรถไฟจะไต่ขึ้นด้วยความลาดชันประมาณ 7 ใน 1000 มีการเจาะอุโมงค์บริเวณ กม.543+627 และ กม.544+469 ยาว288 และ 690 เมตร ตามลำดับ

- จากสถานีแก่งหลวง ถึง กม.554+612 ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่แนวเส้นทางจะเป็นทางราบแต่จะมีการปรับรัศมีโค้งเพื่อให้สามารถวิ่งได้ 120 กม./ชม. จากนั้นจะเชิดขึ้นด้วยความลาดชัน 0.7% ผ่านอุโมงค์ที่ กม.555+704 ความยาว 500 เมตรจนถึง กม.557+550 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 เข้าสู่สถานีบ้านปิน กม. 562+516

- ช่วงสถานีบ้านปิน ถึงสถานีปางป๋วย แนวเส้นทางเมื่อออกจากสถานีบ้านปินจะไต่ระดับด้วยความลาดชัน 10 ใน 1000 ผ่านสถานีผาคัน กม. 576+229 และ สิ้นสุดที่สถานีปางป๋วยกม.587+788โดยในช่วงนี้จะการปรับรัศมีโค้งตลอดแนวเส้นทาง และก่อสร้างอุโมงค์จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ กม.571+603 กม.574+647 กม.577+743และ กม. 582+485ระยะทาง 200 270 250 และ 3,500 เมตร ตามลำดับ

- ช่วงสถานีปางป๋วย ถึงสถานีแม่เมาะ แนวเส้นทางจากสถานีปางป๋วย จะไต่ระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 และปรับรัศมีโค้งเป็นระยะๆ ผ่านสถานีแม่จาง เข้าสู่สถานีแม่เมาะกม.605+747 => แก้ปัญหา เนิน 588 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดก็คราวนี้แหละ

- ช่วงสถานีแม่เมาะถึงสถานีศาลาผาลาด แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะของการเลาะไต่ขึ้นลงภูเขาด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่ กม. 613+605

- ช่วงสถานีศาลาผาลาด ถึงสถานีลำปาง แนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน ประมาณ 7 - 12 ใน 1000 เพื่อแก้ปัญหาจุดตัด

- ช่วงออกจากสถานีลำปาง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร แนวเส้นทางจะเป็น ทางราบ จากนั้นจะเริ่มไต่ระดับขึ้นเขา ผ่านสถานีห้างฉัตร ปางม่วง ห้วยเรียน จนถึงสถานีแม่ตานน้อย ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายก่อนจะถึงอุโมงค์ ที่ กม. 673+131ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลยาวประมาณ 9.9 กิโลเมตรโดยจากสถานีปางม่วงถึงสถานีแม่ตานน้อยจะมีการปรับรัศมีโค้ง จากนั้นจะลดระดับลงผ่านสถานีทาชมภู สถานีศาลาแม่ทา สถานีหนองหล่ม เข้าสู่สถานีลำพูน

- ช่วงสถานีลำพูน ถึง สถานีเชียงใหม่ แนวเส้นทางจะขนานไปกับเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 2 ประกอบด้วย 23 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ปางม่วง หัวยเรียน แม่ตานน้อย ทาชมภู ศาลาแม่ทา หนองหล่ม ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่ => เป็นทางเลือกที่ดีกว่าทางเลือกที่ 1 แม้ว่าจะต้องตัด ที่หยุดรถแม่จาง ที่หยุดรถผาคอ ที่หยุดรถห้วยรากไม้ ออกไปก็ตามที

แนวทางเลือกที่ 3
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 2 ทาง โดยยังคงสภาพของแนวเส้นทางรถไฟเดิมไว้ เพื่อเป็นเส้นทางท่องเที่ยว แนวเส้นทางตัดใหม่ตั้งแต่ช่วงลำปางถึงเชียงใหม่จะอาศัยเขตทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงมีการปรับรัศมีโค้งและความลาดชันของทางวิ่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุดของขนาดทาง 1.00 ม.ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ เพื่อทำให้รถไฟสามารถใช้ด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ตลอดทั้งแนวมีความยาวเส้นทางประมาณ 170 กิโลเมตร รูปที่ 1-4 แสดงลักษณะ Plan และ Profile รายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ มีดังนี้

- เริ่มต้นโครงการฯ กม.533+947 จากสถานีเด่นชัย - กม.533+950 อ. เด่นชัย จ. แพร่ เป็นแนวเส้นทางขนานกับทางวิ่งเดิมด้านทิศตะวันตกและอยู่ภายในเขตทางการรถไฟฯ

- จาก กม.533+950 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกนอกเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ไทรย้อย ข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม. 538+387 เข้าสู่ ต. ปงป่าหวาย แนวเส้นทางลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำ และไต่ระดับขึ้นเขา โดยมีอุโมงค์รถไฟบริเวณ กม.541+947ยาวประมาณ 600เมตร จากนั้นแนวเส้นทางลดระดับลง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม. 544+617เข้าสู่ อ. ลอง จ. แพร่

- จาก กม.545+447 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกจากเขตทางของการรถไฟฯ ด้านทิศตะวันตกผ่านสะพานข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม.549+947 แนวเส้นทางลาดชัน 10 ใน 1000 และมีอุโมงค์รถไฟบริเวณ กม.551+647 และ กม.553+079 ในพื้นที่ ต. บ้านปิน อ. ลอง จ. แพร่ ยาว 670 เมตร และ 500เมตร ตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับด้วยความลาดชัน 10 ใน 1000 จนถึง กม.556+447 ก่อนเข้าสถานีบ้านปิน

- ช่วง กม.556+447 - กม.558+947 เป็นแนวเส้นทางราบอยู่ในเขตทางการรถไฟฯด้านทิศตะวันตก

- จาก กม.558+947 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกนอกเขตทางการรถไฟฯ ด้านทิศตะวันตก จาก ต. บ้านปิน ผ่าน ต. ห้วยอ้อ อ. ลอง จ. แพร่ ไปเข้ากับทางรถไฟเดิมที่ กม.581+447 ก่อนเข้าสถานีแม่เมาะ อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง โดยแนวเส้นทางจะไต่ระดับขึ้นด้วยความลาดชัน 10 ใน 1000 ผ่านอุโมงค์รถไฟช่วง กม.561+472 - กม.564+760 และช่วง กม.565+886 - กม.575+828 ยาว 3.3 กิโลเมตร และ 9.9 กิโลเมตร ตามลำดับ => แก้ปัญหา เนิน 588 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดก็คราวนี้แหละ

- ช่วง กม.581+447 - กม.595+447 ในพื้นที่ อ. แม่ทะ จ. ลำปาง แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม

- จาก กม.595+447 แนวเส้นทางราบแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้าน ทิศตะวันตก และไต่ระดับลงไปจนถึง กม.607+444 ในพื้นที่ ต. พระบาท อ. เมือง จ. ลำปาง

- ช่วง กม.607+447 - กม.631+447 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิมมีแนวเส้นทางร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ กม.610+947 บริเวณก่อนเข้าสถานีหนองวัวเฒ่าผ่านสถานีลำปางไปจนถึงสถานีห้างฉัตร

- จากสถานีห้างฉัตร แนวเส้นทางแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันตก จาก อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง เข้าสู่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน แนวเส้นทางมีความลาดชันขึ้นภูเขาจนถึงอุโมงค์ช่วง กม.645+447 - กม.652+947 จากนั้นเป็นแนวเส้นมีความชันลาดลงข้ามสะพานแม่น้ำแม่ทา ที่ กม. 659+173 และตัดกับทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.659+627 ในพื้นที่ ต. ทาสบเส้า อ. แม่ทา จ. ลำพูน => แก้ปัญหา แม่ตานน้อย - ขุนตาน ที่เป็นปัญหาหนักทับอก ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดก็คราวนี้แหละ แม้ต้อง ขุดอุโมงขุนตานใหม่ และ สร้างสะพานทาชมพูใหม่แทน

- จาก กม.659+173 แนวเส้นทางแยกออกจากเขตาทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ศรีบัวบาน ผ่านอุโมงค์บริเวณ กม. 660+721 และ กม. 660+879ความยาว 600 เมตร และ540 เมตรตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางมีความลาดชันลงและเข้าบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.671+947 ในพื้นที่ ต. ป่าสัก อ. เมือง จ. ลำพูน

- จาก กม.671+947 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม มีลักษณะเป็นทางราบ ผ่าน จ. ลำพูนในพื้นที่ ต. เวียงยอง ต. เมืองง่าและ ต. อุโมงค์ เข้าสู่ อ. สารภี จ. เชียงใหม่ ในพื้นที่ ต. สารภี ต. ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง ในพื้นที่ อ. เมือง ผ่าน ต. ท่าศาลา และสิ้นสุดโครงการที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ต. วัดเกตุ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 3 ประกอบด้วย 15 สถานี ได้แก่ แก่งหลวง บ้านปิน แม่จาง (ตำแหน่งใหม่) แม่เมาะ ห้วยรากไม้ แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา หนองหล่ม (ตำแหน่งใหม่) ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่ - แต่เนื่องจากทางเลือกนี้ โดนตีตกไป แม้จะแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ ตลอด เพราะ ต้องตัดสถานีและที่หยุดรถไฟเป็นจำนวนมาก และ ต้องไปสร้าง สถานีแม่จางใหม่ สถานีหนองหล่มใหม่ ชาวบ้านอาจไม่พอใจนัก

แนวเส้นทางเลือกที่ 4 => ทางเลือกซึ่งที่ปรึกษาโครงการได้เลือก

ก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นใหม่ 2 ทาง และยังคงสภาพของ แนวเส้นทางรถไฟเดิมไว้ เป็นแนวเส้นทางที่ผสมผสานกันระหว่างแนวเส้นทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3แนวเส้นทางมีความยาวประมาณ 189 กิโลเมตรรูปที่ 1-5แสดงลักษณะ Plan และ Profileมีรายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

- ช่วงสถานีเด่นชัย-สถานีจังหวัดลำปาง ระยะทาง 105 กิโลเมตร สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.แนวทางเหมือนเลือกที่ 2 กล่าวคือ
- เริ่มต้นโครงการฯ จากสถานีเด่นชัย กม.533+947 จนถึงสถานีปากปาน กม.538+447 ต. ไทรย้อย อ. เด่นชัย จ. แพร่ เหมือนทางเลือกที่ 1<
- เมื่อออกจากสถานีปากปาน เส้นทางรถไฟจะปรับออกจากเขตทางรถไฟเดิม เพื่อให้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.จนบรรจบทางรถไฟปัจจุบัน ที่สถานีแก่งหลวง กม.544+947 ต. แม่ปาน อ. ลอง จ. แพร่โดยในช่วงดังกล่าวทางรถไฟจะไต่ขึ้นด้วยความลาดชันประมาณ 7 ใน 1000 มีการเจาะอุโมงค์บริเวณ กม.543+627 และ กม.544+469 ยาว288 และ 690 เมตร ตามลำดับ

- จากสถานีแก่งหลวง ถึง กม.554+612 ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่แนวเส้นทางจะเป็นทางราบแต่จะมีการปรับรัศมีโค้งเพื่อให้สามารถวิ่งได้ 120 กม./ชม. จากนั้นจะเชิดขึ้นด้วยความลาดชัน 0.7% ผ่านอุโมงค์ที่ กม.555+704 ความยาว 500 เมตรจนถึง กม.557+550 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 เข้าสู่สถานีบ้านปิน กม. 562+516

- ช่วงสถานีบ้านปิน ถึงสถานีปางป๋วย แนวเส้นทางเมื่อออกจากสถานีบ้านปินจะไต่ระดับด้วยความลาดชัน 10 ใน 1000 ผ่านสถานีผาคัน กม. 576+229 และ สิ้นสุดที่สถานีปางป๋วยกม.587+788โดยในช่วงนี้จะการปรับรัศมีโค้งตลอดแนวเส้นทาง และก่อสร้างอุโมงค์จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ กม.571+603 กม.574+647 กม.577+743และ กม. 582+485ระยะทาง 200 270 250 และ 3,500 เมตร ตามลำดับ

- ช่วงสถานีปางป๋วย ถึงสถานีแม่เมาะ แนวเส้นทางจากสถานีปางป๋วย จะไต่ระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 และปรับรัศมีโค้งเป็นระยะๆ ผ่านสถานีแม่จาง เข้าสู่สถานีแม่เมาะกม.605+747 => แก้ปัญหา เนิน 588 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดก็คราวนี้แหละ

- ช่วงสถานีแม่เมาะถึงสถานีศาลาผาลาด แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะของการเลาะไต่ขึ้นลงภูเขาด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่ กม. 613+605

- ช่วงสถานีศาลาผาลาด ถึงสถานีลำปาง แนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน ประมาณ 7 - 12 ใน 1000 เพื่อแก้ปัญหาจุดตัด

- สถานีจังหวัดลำปาง-สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 84 กิโลเมตร สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 160 กม./ชม. แนวทางเหมือนทางเลือกที่ 3 กล่าวคือ
- ช่วง กม.607+447 - กม.631+447 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิมมีแนวเส้นทางร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ กม.610+947 บริเวณก่อนเข้าสถานีหนองวัวเฒ่าผ่านสถานีลำปางไปจนถึงสถานีห้างฉัตร

- จากสถานีห้างฉัตร แนวเส้นทางแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันตก จาก อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง เข้าสู่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน แนวเส้นทางมีความลาดชันขึ้นภูเขาจนถึงอุโมงค์ช่วง กม.645+447 - กม.652+947 จากนั้นเป็นแนวเส้นมีความชันลาดลงข้ามสะพานแม่น้ำแม่ทา ที่ กม. 659+173 และตัดกับทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.659+627 ในพื้นที่ ต. ทาสบเส้า อ. แม่ทา จ. ลำพูน => แก้ปัญหา แม่ตานน้อย - ขุนตาน ที่เป็นปัญหาหนักทับอก ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดก็คราวนี้แหละ แม้ต้อง ขุดอุโมงขุนตานใหม่ และ สร้างสะพานทาชมพูใหม่แทน

- จาก กม.659+173 แนวเส้นทางแยกออกจากเขตาทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ศรีบัวบาน ผ่านอุโมงค์บริเวณ กม. 660+721 และ กม. 660+879ความยาว 600 เมตร และ540 เมตรตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางมีความลาดชันลงและเข้าบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.671+947 ในพื้นที่ ต. ป่าสัก อ. เมือง จ. ลำพูน

- จาก กม.671+947 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม มีลักษณะเป็นทางราบ ผ่าน จ. ลำพูนในพื้นที่ ต. เวียงยอง ต. เมืองง่าและ ต. อุโมงค์ เข้าสู่ อ. สารภี จ. เชียงใหม่ ในพื้นที่ ต. สารภี ต. ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง ในพื้นที่ อ. เมือง ผ่าน ต. ท่าศาลา และสิ้นสุดโครงการที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ต. วัดเกตุ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 4 ประกอบด้วย 19 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา หนองหล่ม (ตำแหน่งใหม่) ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่ พอยอมรรับได้ แม้ว่า จะต้องสร้างสถานี หนองหล่มแห่งใหม่

https://www.tcijthai.com/news/2015/08/current/5727
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2022 2:30 am    Post subject: บันทึกช่วยจำเกี่ยวกับทางคู่ Reply with quote

ทางคู่เงินกู้ญี่ปุ่นที่ผ่าน EIA เมื่อ สิงหาคม 2539 เปิด 29 กุมภาพันธ์ 2543
สายเหนือ (ทางสาม - เลือกด้านขวา ห่างจากรางเดิน 6 เมตร) 61 กม. (ดอนเมือง กม. 21 + 500 แต่ก่อนอยู่ซ้าย พอตัด Local road ก็ย้ายมาขวา)

จุดเริ่มโครงการ กม. 28 + 551
คลองรังสิต กม. 29 + 132.38 (ขวา)
รังสิต กม. 30 + 000 (ขวา) ปัจจุบันย้ายมาที่กม. 30 + 300 ตามสถานีรถไฟฟ้าสายแดง
เชียงราก กม. 38 + 162 (ภายหลังย้ายมา กม. 37 + 440) (ขวา)
เชียงรากน้อย กม. 45 + 664 (ภายหลังย้ายมา กม. 46 + 010 (ซ้าย)
คลองพุทรา กม. 51 + 464 (ภายหลังย้ายมา กม. 51 + 880) (ขวา)
บางปะอิน กม. 57 + 400 (ภายหลังย้ายมา กม. 58 + 000) (ซ้าย)
บ้านโพ กม. 61 + 750 (ภายหลังย้ายมา กม. 62 + 750) (ซ้าย)
อยุธยา กม. 70 + 868 (ภายหลังย้ายมา กม. 71 + 098) (ซ้าย)
บ้านม้า กม. 73 + 065 (ภายหลังย้ายมา กม. 74 + 690) (ซ้าย)
มาบพระจันทร์ กม. 79 + 193 (ภายหลังย้ายมา กม. 78 + 980) (ซ้าย)
พระแก้ว กม. 84 + 865 (ภายหลังย้ายมา กม. 84 + 440 (ขวา)
ชุมทางบ้านภาชี (ขวา) กม. 89 + 950

http://eiadoc.onep.go.th/eia/MM01.pdf
http://eiadoc.onep.go.th/download/39/08/11492.pdf
http://www.srtcivilnorth.com/ckeditor_file/files/แผนผัง%20%20พิกัดความเร็วเขต_นว_%20และแผนผังโครงการ%20%20(ใหม่ล่าสุด%20%2014%20กย_60)%20(1).pdf

ทางคู่เงินกู้ญี่ปุ่นที่ผ่าน EIA เมื่อ กุมภาพันธ์ 2541 เปิด 2546
สายตะวันออก หัวหมาก - ชุมทางฉะเชิงเทรา 45 กม. 8 สถานี :

หัวหมาก กม. 15 + 184
บ้านทับช้าง กม. 20 + 878
ลาดกระบัง กม. 26 + 755
หัวตะเข้ กม. 30 + 911
คลองหลวงแพ่ง กม. 39 + 505
เปร็ง กม. 46 + 501
คลองบางพระ กม. 53 + 999
ชุมทางฉะเชิงเทรา กม. 60 + 993

สายใต้ ตลิ่งชัน - นครปฐม 42 กม. 11 สถานี :
ชุมทางตลิ่งชัน กม. 6 + 035
บ้านฉิมพลี กม. 8 + 643
ศาลาธรรมสพน์ กม. 14 + 050
ศาลายา กม. 19 + 061
วัดสุวรรณ กม. 23 + 469
คลองมหาสวัสดิ์ กม. 27 + 052
วัดงิ้วราย กม. 30 + 800
นครชัยศรี กม. 35 + 135
ท่าแฉลบ กม. 40 + 025
ต้นสำโรง กม. 44 + 301
นครปฐม กม. 48 + 126

สายตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมทางบ้านภาชี ไม่นับสถานีนีชุมทางบ้านภาชี) - มาบกระเบา 44 กม. 8 สถานี :
หนองกวย กม. 94 + 625
หนองแซง กม. 98 + 000
หนองสีดา กม. 103 + 620
บ้านป๊อกแป๊ก กม. 107 + 151
สระบุรี กม. 113 + 625
หนองบัว กม. 119 + 427 (ตอนนี้ยกเป็นชุมทางหนองบัวแล้ว)
ชุมทางแก่งคอย กม. 125 + 060
มาบกระเบา กม. 134 + 300

สายเหนือ ชุมทางบ้านภาชี - ลพบุรี 45 กม. 8 สถานี :
ชุมทางบ้านภาชี กม. 89 + 950 (ขวา)
หนองวิวัฒน์ กม. 96 + 447 (ภายหลังย้ายมา กม. 96 + 440) (ซ้าย)
ท่าเรือ กม. 102 + 735 (ภายหลังย้ายมา กม. 102 + 730) (ซ้าย)
บ้านหมอ กม. 108 + 783 (ภายหลังย้ายมา กม. 108 + 775) (ซ้าย)
หนองโดน กม. 116 + 565 (ภายหลังย้ายมา กม. 116 + 560) (ขวา)
บ้านกลับ กม. 121 + 826 (ภายหลังย้ายมา กม. 121 + 720) (ขวา)
บ้านป่าหวาย กม. 127 + 436 (ภายหลังย้ายมา กม. 127 + 440) (ขวา)
ลพบุรี กม. 132 + 810 (ขวา)
http://eiadoc.onep.go.th/eia/KM87.pdf

ทางคู่แก่งคอย - ศรีราชา - แหลมฉบัง เริ่มทำแต่ปี 2547-48 ทำสำเร็จถึงจากฉะเชิงเทราแหลมฉบัง ปี 2562
ชุมทางฉะเชิงเทรา กม. 60 + 993 (ภายหลังย้ายมา กม. 61 + 060) (ขวา)
ดอนสีนนท์ กม. 75 + 975 (ทางลงไปบ้านโพธิ์)
พานทอง กม. 91 + 535
ชลบุรี กม. 107 + 795
บางพระ กม. 121 + 242
ชุมทางศรีราชา กม. 130 + 605 (จุดเริ่มทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบังที่ กม. 131 + 152)
แหลมฉบัง กม. 140 + 023 ปลายรางที่ กม. 140 + 419
http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/48/48_2986.pdf
http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/47/47_sriracha_kangkoi.pdf

ชุมทางฉะเชิงเทรา กม. 60 + 993 (ภายหลังย้ายมา กม. 61 + 060) (ขวา) จุดเรื่มต้นที่ กม. 61 + 190
บางน้ำเปรี้ยว กม. 79 + 032
ชุมทางคลองสิบเก้า กม. 85 + 600
องครักษ์ กม. 114 + 992
วิหารแดง กม. 138 + 419
บุใหญ่ กม. 149 + 419
ชุมทางไผ่นาบุญ กม. 162 + 819 - สถานีอาณัติสัญญาณ
ชุมทางแก่งคอย กม. 167 + 800 (หรือ กม. 125 + 110) (ซ้าย)

Chord lines เลี่ยงเมืองทั้งสาม
1. เลี่ยงเมืองที่ฉะเชิงเทรา กม. 61 + 190 ทางสายตะวันออก - กม. 62 + 600 ทางสายสัตหีบ
2. เลี่ยงเมืองแก่งคอย กม. 163 + 350 กม. 167 + 400 ทางสายตลอง 19 - แก่งคอย
3. เลี่ยงเมืองบ้านภาชี กม. 92 + 000 สายเหนือ - กม. 93 + 600
https://eia2.onep.go.th/images/monitor/1612597005.pdf
https://eia2.onep.go.th/images/monitor/1628009959.pdf

ทางคู่ถนนจิระ - ขอนแก่น ที่ได้ EIA ปี 2556 มาก่อสร้างจนสำเร็จ ปี 2562 ลาดชัน ไม่เกิน 10 ใน 1000 รัศมีความโค้งทางราบ 1600 - 3000 เมตร รัศมีความโค้งทางดิ่ง 10000 เมตร
ชุมทางถนนจิระ กม. 266 + 280 สถานีชั้น 1 (เริ่มต้นทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น กม. 267 + 300)
บ้านเกาะ กม. 272 + 428.403 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่ ย้ายจากที่เก่า กม. 272 + 500 และ ให้ย้าย เก็บกองและ ขนถ่ายสินค้า (container yard) ไปสร้างหม่ทีบ้านกระโดน
บ้านกระโดน กม. 284 + 686.521 สถานีชั้น 3 เคยเป็นสถานี ที่ กม. 284 + 670 ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2519 และตั้งเป็นสถานีอีกครั้ง มี เก็บกองและ ขนถ่ายสินค้า (container yard) ไปสร้างหม่ทีบ้านกระโดน เพื่อรองรับสินค้าเช่นเกลือและคอนเทนเนอร์
ป้ายหยุดรถบ้านหนองกันงา กม. 288 + 146.802 สร้างใหม่แทนของเดิม ที่ กม. 288 + 120
หนองแมว กม. 289 + 847.261 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 289 + 790
โนนสูง กม. 295 + 114.261 สถานีชั้น 2 สถานีรถไฟประจำอำเภอโนนสูง สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 295 + 080
บ้านดงพลอง กม. 302 + 081.554 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 302 + 190
บ้านมะค่า กม. 308 + 304.072 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 308 + 200
ป้ายหยุดรถเนินถั่วแปบ กม. 311 + 434.072 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 311 + 380
พลสงคราม กม. 315 + 777.839 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 315 + 650
บ้านดอนใหญ่ กม. 320 + 405.893 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 320 + 350
เมืองคง กม. 326 + 952.468 สถานีชั้น 1 สถานีรถไฟประจำอำเภอคง สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 326 + 800
ป้ายหยุดรถบ้านไร่ กม. 333 + 742.296 สร้างใหม่แทนของเดิม ที่ กม. 333 + 670
โนนทองหลาง กม. 315 + 777.734 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 335 + 710
ป้ายหยุดรถห้วยระหัด กม. 333 + 742.296 สร้างใหม่แทนของเดิม ที่ กม. 342+ 500 เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2515
ชุมทางบัวใหญ่ ให้ถือว่า อยู่ที่ กม. 345 + 875.961 โดยสร้างอาคารใหม่แทนของเดิม ที่ กม. 345 + 500 ที่คงอยู่แต่นำไปทำอย่างอื่น สถานีชั้น 1 สถานีรถไฟประจำอำเภอบัวใหญ่ มีเก็บกองและ ขนถ่ายสินค้า (container yard) เป็นย่านจุดพักเติมเชื้อเพลิง มีทางรถไฟสาย ชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่ ที่แยกจากเส้นทาง ชุมทางบ้านภาชี - นครราชสีมา - อุบลราชธานี มาเชื่อมบรรจบที่สถานีแห่งนี้ด้วย
ป้ายหยุดรถเนินสวัสดิ์ กม. 351 + 136.628 สร้างใหม่แทนของเดิม ที่ กม. 351 + 200
หนองบัวลาย กม. 357 + 444.626 สถานีชั้น 3 สถานีรถไฟประจำอำเภอบัวลาย สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. ที่ กม. 357 + 360
ป้ายหยุดรถศาลาดิน กม. 362 + 533.266 สร้างใหม่แทนของเดิม ที่ กม. 362 + 430
หนองมะเขือ กม. 370 + 145.202 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 370 + 040 เข้าเขตจังหวัดขอนแก่น
เมืองพล กม. 377 + 955.564 สถานีชั้น 2 สถานีรถไฟประจำอำเภอพล สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 377 + 660
บ้านหัน กม. 396 + 948.161 สถานีชั้น 3 สถานีรถไฟประจำโนนศิลา สร้างใหม่แทนของเดิมที่ กม. 396 + 820
บ้านไผ่ กม. 407 + 857.798 สถานีรถไฟลอยฟ้าประจำอำเภอบ้านไผ่ สถานีรถไฟชั้น 2 แทนอาคารสถานีเดิมที่ กม. 407 + 720
บ้านแฮด กม. 423 + 753.298 สถานีชั้น 3 สถานีรถไฟประจำอำเภอบ้านแฮด สร้างใหม่ ย้ายจากที่เก่า กม. 423 + 600
ป้ายหยุดรถหนองเม็ก กม. 431 + 762.798 สร้างใหม่
ท่าพระ กม. 439 + 928.115 สถานีชั้น 3 สร้างใหม่ ย้ายจากที่เก่า กม. 439 + 810 มีเก็บกองและ ขนถ่ายสินค้า (container yard)
ขอนแก่น กม. 449 + 959.771 สถานีรถไฟลอยฟ้าประจำจังหวัดขอนแก่น สถานีรถไฟชั้น 1 (พิเศษ) แทนอาคารสถานีเดิมที่ กม. 449 + 750
สิ้นสุดเขตทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น กม. 454 + 100 ทางลอยฟ้า จากกม. 447 + 950 - กม. 453+350
http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/56/F56_6212/F56_6212_จิระขอนแก่น_รายงานหลัก.pdf

แผนพัฒนารถไฟช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ ที่วางแผนกันแต่ปี 1996 แต่เพิ่งได้ทางคู่ถึงคลอง 19 ปี 2562
https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/01/h68.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 339, 340, 341 ... 388, 389, 390  Next
Page 340 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©