RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269029
ทั้งหมด:13580316
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 71, 72, 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2022 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

ต้นกำเนิดข้าวผัดอเมริกัน เมื่อราวๆปี 2492-93 ที่ กรมรถไฟต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเกิดจากภัตตาคารราชธานีในสนามบินดอนเมือง ที่กรมรถไฟเคยบริหารจัดการ
https://www.facebook.com/wecanchoose/posts/2894751140834208
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2022 11:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ต้นกำเนิดข้าวผัดอเมริกัน เมื่อราวๆปี 2492-93 ที่ กรมรถไฟต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเกิดจากภัตตาคารราชธานีในสนามบินดอนเมือง ที่กรมรถไฟเคยบริหารจัดการ
https://www.facebook.com/wecanchoose/posts/2894751140834208


" ตำนานข้าวผัดรถไฟ "
สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง การบริการอาหารในรถเสบียงดำเนินการโดยทีมงานจากโฮเต็ลรถไฟหัวหินซึ่งเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งของประเทศไทยในเวลานั้น โดยครัวของโรงแรมรถไฟมีคุณหญิงเบอร์ธา เดชานุชิต (เบอร์ธา บุนนาค) ภรรยาพระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) เป็นผู้ดูแล
ตำนานข้าวผัดรถไฟ ผูกพันกับเส้นทางเดินรถไฟจากบางกอกน้อยถึงหัวหินอย่างเหนียวแน่น ด้วยระยะทาง ๒๑๒.๙๕ กิโลเมตร จากธนบุรีถึงหัวหินในสมัยนั้นกินเวลายาวนานถึง ๕ ชั่วโมง ทำให้กรมรถไฟหลวงจัดบริการตู้รถขายอาหาร (บกข.) ซึ่งมีที่นั่งสำหรับนั่งรับประทานอาหารพ่วงกับขบวนรถโดยสาร จัดบริการในรถเสบียง ลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือผู้มีฐานะดี ซึ่งนิยมไปตากอากาศและตีกอล์ฟที่โรงแรมรถไฟหัวหินในช่วงวันสุดสัปดาห์นั่นเอง รายการอาหารจะเน้นหนักไปทางอาหารสากล ซึ่งต้องนั่งรับประทานให้เรียบร้อย เนื่องด้วยมีอุปกรณ์บนโต๊ะมากมาย ส่วนอาหารไทยจะใส่ถาดเป็นชุด ๆ และนำไปให้ถึงที่นั่ง และการเตรียมอาหารของรถ บกข.นี้ จะเตรียมไว้เพียงพอกับจำนวนของผู้โดยสารที่ขึ้นและลงที่หัวหินเท่านั้น
ในส่วนของอาหารไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในยุคนั้น ต้องยกให้ "ข้าวผัดรถไฟ" ซึ่งกินคู่กับ "ยำเนื้อรถไฟ" แล้วรสชาติส่งเสริมกันพอดี เมนูคู่นี้จึงกลายเป็นตำนานอาหารจานพิเศษมาตั้งแต่บัดนั้น เครื่องปรุงที่นำมาใช้ทำข้าวผัดรถไฟ อย่างเช่น เนย กุนเชียง ถั่วลันเตา ซอสมะเขือเทศ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด อาหารจานนี้จึงไม่ใช่อาหารธรรมดาที่หากินได้ทั่วไปเหมือนทุกวันนี้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=840953443982216&id=114046240006277
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2022 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

Rev. Robert Elliot Speer เลขาธิการคณะกรรมการมิชชั่นต่างประเทศ (Secretary of the American Presbyterian Mission, Presbyterian Board of Foreign Missions) มาสำรวจงานมิชชั่นภาคสนามในประเทศสยามและฟิลิปปินส์ในเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน ปี 1915 ในระหว่างเดือนมิถุนายน เขาและคณะได้เดินทางสำรวจงานคณะมิชชั่นสยามใต้ คือตรัง และนครศรีธรรมราช หลังจากมาถึงภาคเหนือเพื่อเยี่ยมเยียนคณะมิชชั่นสยามเหนือแล้ว เขาก็กลับไปเยือนคณะมิชชั่นของสยามในเพชรบุรี พิษณุโลกและบางกอก การเดินทางมาภาคเหนือนั้น เขาไปแพร่ก่อน โดยทางรถไฟ แต่เดินทางมายังตัวเวียงลำปางด้วยม้า เนื่องจากตอนนั้นทางรถไฟมาลำปางยังเพิ่งสร้างมาถึงบ้านป่าคา แต่เมื่อมาเชียงใหม่ เขาได้เดินทางโดยลำน้ำปิงอีกครั้ง ยืนยันจากภาพที่สี่ที่น่าจะถ่ายแถวหน้าที่ทำการมิชชั่น สถานีเชียงใหม่ ในเดือนกรกฎาคม 1915 คือโบสถ์คริสตจักรที่หนึ่งในปัจจุบัน งานสำรวจของเขา ได้บันทึกไว้ในหนังสือชื่อ "Report of deputation sent by the Board of foreign missions of the Presbyterian church in the U.S.A. in the summer of 1915 to visit the missions in Siam and the Philippine Islands, and on the way home to stop at some of the stations in Japan, Korea and China;
presented by Mr. Robert E. Speer, Mr. Dwight H. Day and Dr. David Bovaird, 1915".

https://www.facebook.com/arisa.lertpruks/posts/823715042323506
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2022 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

หลังจากที่ ได้อ่านบทความเรื่อง ขุนนิพัทธ์จีนนคร กับการสร้างทางรถไฟสายใต้และเมืองหาดใหญ่ แล้วพบว่า ลิงก์ไปที่ เวบบอร์ด เก่า ที่ Klong U Ta Pao ได้ปิดตัวลงไปแล้ว ให้นำลิงก์ จากศิลปวัฒนธรรม ที่ ถาวรกว่ามาแทนครับ

Click on the image for full size
ขุนนิพัทธ์จีนนคร ผู้บุกเบิกหาดใหญ่ยุคแรกสุด อุทิศที่ดิน พัฒนาจากป่าสู่เมืองใหญ่
ขุนนิพัทธ์จีนนคร ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2511 (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม 2528) ประกอบกับฉากหลังที่เป็นบรรยากาศตลาดหาดใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2548 (ภาพจาก PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2528
ผู้เขียน ลักษมี จิระนคร เรียบเรียง
เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2565
https://www.silpa-mag.com/history/article_42351
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2022 10:33 am    Post subject: Reply with quote

เพิ่งสังเกตว่า brake shoes ของรถจักรถพ่วงสมัยก่อนใช้ไม้เนื้อแข็งจนกระทั่งไม้ชักหายากและมีราคาแพงเลยหันไปใช้เหล็กหล่อแทน
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/8604970582850264
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2022 10:39 pm    Post subject: Reply with quote

#นิทานรถไฟ
เรื่องโดย กมล เกตุสิริ
ภาพโดย อ.ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง

กาลครั้งหนึ่งนานกว่า 70 ปีมาแล้ว หากจะให้ว่าถึงปี พ.ศ.ก็น่าจะเป็นราวๆ พ.ศ.2487 หรือ 2488 จำกัดลงให้แคบเข้ามานิดก็ในราวปลายๆ สงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะสิ้น เป็นตอนที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มตีตื้น มีชัยชนะทั้งทางฝ่ายทะเลและกำลังค่อยๆเป็นเจ้าอากาศ บางครั้งบางคราวก็มีเรือบินทิ้งระเบิด เรือบินขับไล่ผ่านด่านป้องกันของญี่ปุ่น เข้ามาโจมตีจุดยุทธศาสตร์ในเมืองไทยนับวันที่จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ แต่จะอย่างไรก็ตาม ครั้งที่ผมว่าถึงนี้ สถานีบางซื่อยังไม่ถูกทิ้งระเบิดแบบปูพรม สถานีหัวลำโพงถูกปืนกลจากเรือบินมีรูหลายรูที่หลังคา คานเหล็กบางอันถูกกระสุนปืนกลตัดขาด
ครั้งกระโน้นเรื่องจะให้รถไฟไปถึงจุดหมายปลายทางเสมอไปนั้นไม่ค่อยจะได้ เพราะทุกอย่างมันจำกัดจำเขี่ยไปหมด รถจักร รถโบกี้โดยสารค่อยๆถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทำลายลงร่อยหรอลงทุกวัน จำนวนผู้โดยสารรถไฟยังคงมีจำนวนเท่าเดิม และค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้นตามลำดับอีกด้วย ฉะนั้นรถโดยสารแต่ละขบวนจึงแน่น เหมือนปลาซาดีนในกระป๋องยังล้นไปถึงหลังคา พอรถไฟเข้าสู่ชานชาลาเตรียมเดินทางต่อไป หากท่านไม่ใช้วิชายูโดโดยการพุ่งตัวขึ้นทางหน้าต่างรถท่านก็ไม่มีหวังได้ที่นั่ง และอาจไม่มีที่ยืน ผู้เฒ่าผู้แก่เด็กผู้หญิงได้รับความลำบากยากแค้นในการโดยสารรถไฟครั้งกระโน้นอย่างสาหัสเหลือที่จะพรรณนา ยวดยานอื่นที่พอจะแบ่งเบาภาระรถไฟ เช่น รถบัสเดินทางต่างจังหวัดก็ยังไม่มี
ครั้งกระนั้นแหละ ผมพึ่งปลดจากทหารประจำการหลังจากทำการรบทั้งด้านอินโดจีน และด้านสหรัฐไทยเดิมอยู่ถึง 4 ปี เมื่อได้รับการปลดปล่อยให้เข้ารับราชการในกรมศิลปากรตามเดิม ก็ถูกส่งไปเป็นหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่จังหวัดลพบุรี ต้องโดยสารรถไฟขึ้นล่องระหว่างลพบุรี - กรุงเทพ อย่างน้อยก็เดือนละครั้งสองครั้ง ครั้งหนึ่งเคยสนุกสนานตื่นเต้น ตอนกลับจากกรุงเทพฯไปลพบุรี นายสถานีตะโกนว่า “สถานีข้างหน้ากำลังถูกโจมตีทางอากาศ” นายสถานีหัวเห็ดเป่านกหวีดปรี๊ดดังแสบหู ยกธงแดงแป๊ด !รถไฟทั้งขบวนหยุดกึกลง ผู้โดยสารหัวคะมำไปตามๆกัน เอาละครับพอจะเดินเรื่องได้แล้ว สถานีที่ผมว่านี้ได้แก่สถานีบางเขน พอรถไฟเคลื่อนขบวนอึดใจเดียว สถานีดอนเมืองและท่าอากาศยานดอนเมืองถูกโจมตีทางอากาศจากเรือบินขับไล่ ยังไม่ถึงกับทิ้งระเบิด นั่นหละครับผมมาราชการที่กรุงเทพฯ เพื่อเบิกกระดาษเครื่องเขียนไปใช้ในราชการลพบุรี แล้วก็ซื้อจะเข้งาไปด้วยผมทะนุถนอมมาก พอได้ยินนายสถานีตะโกนว่า “ดอนเมืองกำลังถูกโจมตีทางอากาศ ขอให้ผู้โดยสารทุกท่านหลบภัยออกจากรถโดยสาร เมื่อการโจมตีทางอากาศผ่านไปแล้ว รถไฟจะเดินทางต่อไป..”
ไม่รีรอทุกคนก็รักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น ผมคว้าจะเข้ตัวโปรดของผม วิ่งปุเลงปุเลงไปทางสะพานข้ามคลองไปหมอบอยู่เชิงสะพานฝั่งโน้น (หลังสถานีรถไฟบางเขน) หมอบหลบภัยอยู่หลายสิบคนใกล้ๆกัน กลัวตายใจแทบขาด มองเห็นเรือบินขับไล่ของสัมพันธมิตร โฉบขึ้นโฉบลงกราดปืนกลใส่ท่าอากาศยานอย่างมันมือและน่าตื่นเต้นอย่างสุดขีด ขณะที่ทุกคนกำลังงกๆเงิ่นๆด้วยความกลัวลูกหลง เพื่อนผู้โดยสารคนหนึ่งหมอบอยู่ข้างๆผม ตะโกนสอดแทรกเสียงปืนกลจากเรือบินและเสียง ปตอ.จากสนามบินว่า “ระวัง! ไอ้เข้ตัวเบ้อเร่อขึ้นมาจากคลอง!” ทุกคนที่ได้ยินเสียงตะโกนเตรียมจะลุกขึ้นวิ่งไปสู่กลางถนน เพราะหนีกระสุนปืนกลหลงมาปะเอาจระเข้เข้าให้แล้ว! ผู้ตะโกนเห็นทีจะไปกันใหญ่หัวเราะดังก๊าก ไม่ต้องลุกขึ้นไปไหนเดี๋ยวโดนลูกหลง “ที่ว่าไอ้เข้นั้น คือ จะเข้เครื่องดนตรีของคุณคนนั้นน่ะ..”
จริงอย่างเขาว่า ผมนอนแนบอยู่เชิงสะพานข้ามคลองกอดจะเข้กลมดิกอย่างลืมตัว ทุกคนหันขวับดูผมแล้วทุกคนก็ปล่อยหัวเราะก๊ากออกมาพร้อมๆกัน ต่อมาไม่กี่อึดใจ นายสถานีบางเขนผู้อารีย์ได้ส่งนักการออกตะโกนบอกผู้โดยสารว่า “ปลอดภัยแล้วครับเชิญขึ้นรถไฟได้”
ขณะที่ผู้โดยสารทยอยเดินสู่รถไฟ ผมก็เดินปะปนอยู่ด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ผมเป็นที่ครื้นเครง เพราะผมแบกจะเข้ตัวโปรดของผมอยู่บนบ่าตลอดเวลา รถไฟขบวนกรุงเทพ - ลพบุรี แล่นตามรางไปโดยปกติ หยุดเติมน้ำเติมฟืนที่สถานีอยุธยาครึ่งชั่วโมง ดื่มกินอย่างเต็มคราบพร้อมจะออกเดินทางสู่จุดหมายปลายทางได้ทุกเวลา ทันใดนั้นนายสถานีผู้ใจดีตะโกนบอกผู้โดยสารว่า “ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ มีข้อขัดข้องบางประการ รถไฟจะออกจากสถานีอยุธยาไม่ได้จนกว่าจะถึงเวลา 16.30 น.และการถ่ายทอดที่สะพานท่าเรือยังขลุกขลัก” (ตอนนั้นสะพานรถไฟท่าเรือถูกโจมตีหนัก รถไฟแล่นผ่านไม่ได้ต้องถ่ายทอดผู้โดยสารไปขึ้นรถไฟอีกขบวนหนึ่งซึ่งจะมารออยู่ฝั่งตรงกันข้าม)
มองดูทั้งนาฬิกาที่ข้อมือของผม ทั้งนาฬิกาประจำสถานีรถไฟ บอกเวลาพึ่ง 15.00 น.มีเวลาอีกตั้งชั่วโมงกว่า เรื่องอะไรจะมานั่งแกร่วบนรถไฟให้เมื่อย ร้อนก็ร้อน ก็เลยชวนเพื่อนชื่อคุณหิน ลูกคุณห่วงเจ้าของโรงพิมพ์สิริวัณ ลพบุรี นั่งเรือจ้างข้ามแม่น้ำไปเยี่ยมคุณเธอทั้งหลายที่ย่านมะยมเตี้ย ตัวเบาไปถนัด นั่งเรือจ้างข้ามฟากสู่สถานีรถไฟ เหลือเวลาอีกตั้ง 10 นาที มองไม่เห็นขบวนรถไฟ นึกไปว่าคงสับเปลี่ยน เดินอย่างใจชื้น เห็นนายสถานีสวมหมวกริบบิ้นสีแดงฉูดฉาด ยืนถือธงเขียว-แดง เตร่อยู่ชานชาลา
เลยถามท่านว่า “รถไฟไปไหนเล่าครับ!”
ท่านถามด้วยอารมณ์ดีว่า “คุณเป็นผู้โดยสารสายกรุงเทพ – ลพบุรีใช่ไหม?”
ตอบท่านไปว่า “ใช่ครับ”
นายสถานีทำท่าตกใจ พูดออกมาอย่างเร็วปรื๋อว่า “คุณมัวไปอยู่เสียที่ไหนเล่าครับ เดิมกะว่าจะปล่อยรถเวลา 16.30 น. แต่ทางสถานีท่าเรือโทรเลขบอกมาว่าให้ปล่อยรถก่อนเวลาได้ เพราะทางโน้นเรียบร้อยแล้วผมพึ่งปล่อยรถไฟไปเมื่อกี้นี่เอง เพิ่งแล่นผ่านโค้งหน้าวัดพิชัยนี่เอง ไม่เป็นไรหรอกครับ รถไฟระยะนี้แล่นช้า ทางก็ชำรุดหลายแห่งแล้วก็รถขบวนนี้จะหยุดที่สถานีภาชีนาน ผมจัดรถโยกให้คุณแล่นตามรถขบวนนี้ อาจจะทันที่สถานีภาชี..”
เรื่องบริการโทรเลข หรือโทรศัพท์ขอให้สถานีข้างหน้าช่วยเหลือเอาข้าวของลงสมัยโน้นยังไม่บริการยอดเยี่ยมเหมือนสมัยนี้
ภายใน 3 นาที ผมก็ขึ้นไปนั่งปร๋อบนรถโยก มีพนักงานรถไฟผู้อารีอาสาสมัครโยกรถโยกไล่กวดรถไฟ ลานายสถานีด้วยความขอบคุณ ผมกับคุณหินช่วยกันโยกเพื่อผ่อนแรงผู้อารี ผ่านสถานีมาบพระจันทร์ พระแก้ว ล้วนได้รับคำตอบว่า รถไฟขบวนลพบุรีพึ่งออกไปเดี๋ยวนี้เอง เราเร่งการโยกให้หนักขึ้น ชักพลบค่ำ แต่เมื่อเพ่งไปข้างหน้าซึ่งเป็นสถานีบ้านภาชีใจชักชื้น รถไฟยังไม่ออกจากสถานี แต่อนิจจาพอรถโยกของเราแล่นเข้าใกล้กองฟืนก่อนถึงสถานี รถไฟก็เปิดหวูดใช้ฝีจักรแล่นมุ่งหน้าไปสู่สถานีท่าเรือ!!
พนักงานผู้อารีที่อุตส่าห์โยกรถให้ผมกับเพื่อนนั่งมาจนถึงสถานีชุมทางบ้านภาชี กระโดลงไปเล่าเหตุการณ์ให้นายสถานีฟัง ผมยับยั้งพนักงานผู้หนึ่งว่า “รบกวนท่านมากแล้ว ขอพักที่นี่แหละ” พนักงานผู้อารีตอบด้วยน้ำใจอันสะอาดว่า “ที่นี่ไม่มีโรงแรม ไปเถอะครับกว่ารถไฟจะถึงสถานีท่าเรือ กว่าจะขนถ่ายเสร็จ เราก็ไปทัน...”
พร้อมกันกับที่พนักงานโยกรถผู้อารีพูดจบ นายสถานีผู้อารีอีกนั่นแหละพูดกับผมว่า “ไม่เป็นไรครับ ผมจะช่วยส่งให้ถึงสถานีท่าเรือ รถโยกของผมกำลังจะไปทางโน้น พอทันครับ รถไฟแล่นช้าเพราะพรางแสงไฟ เพื่อความปลอดภัยจากการโจมตีทางอากาศ เชิญเลยครับรถมาพอดี”
รำพึงในใจว่า ทำไมโชคดีอย่างนี้ขึ้นนั่งรถลานายสถานีด้วยความขอบคุณอย่างสูง คุยกับพนักงานโยกรถด้วยความครื่นเครงและเป็นภาษาอีสาน เพราะเป็นคนอีสานด้วยกัน รถแล่นผ่านสถานีหนองวิวาท (ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม สั่งให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสถานีหนองวิวัฒน์ ท่านว่าเรื่องอะไรจะมาวิวาทกันอยู่ วิวัฒนาการดีกว่า) แล้วก็มุ่งตรงไปสถานีท่าเรือ ใช้เวลาราวๆ ชั่วโมงกว่าก็ถึงสถานีท่าเรือด้วยความสวัสดิภาพ แต่อนิจจา เมื่อผมถึงสะพานฝั่งนี้นั้น เขาขนถ่ายกันเสร็จแล้วพอดี พอร่ำลาพนักงานโยกรถผู้มีน้ำใจเสร็จกระโดดลงจากรถโยกจะวิ่งข้ามสะพานก็พอดีรถไฟช่วงโน้นเคลื่อนขบวนออกจากสถานีท่าเรือมุ่งหน้าสู่สถานีลพบุรีพอดี สนุกและตื่นเต้นอะไรเช่นนั้น! ข้อที่น่าห่วงใยที่สุดก็คือจะเข้ เครื่องดนตรีซึ่งพึ่งซื้อมาจากร้านดุริยบรรณใหม่ๆยังไม่ได้เล่นเลย ใครหนอจะเป็นผู้มีเมตตาช่วยขนถ่ายให้ด้วย!
ผ่านหน้าสถานีท่าเรือ ยืนเก้ๆกังๆคอยหาโอกาสซึ่งอาจจะมีโชคได้พาหนะบ้าง เพราะไม่ใช่คนเดียวที่ห่วงของคุณหินเองก็ซื้อกระดาษพิมพ์ มาเอาบล็อกหลายชิ้น ถ้าไม่มีใครอนุเคราะห์ก็เสียงานหมด โชคดีอีกตามเคย ทางสถานีท่าเรือมีงานจะต้องไปสถานีบ้านหมอในคืนนั้น ไม่ใช่รถโยกแต่เป็นรถถ่อ ผมเข้าไปขออาสาสมัครช่วยเป็นพลถ่อจากนายสถานี ชี้แจงความจำเป็นให้ท่านฟัง ท่านโอเคทันที แค่บ้านหมอก็ยังดี ก็จากบ้านหมอไปสถานีลพบุรี ก็เป็นระยะทางเพียง 24 กิโลเมตร ช่วยเขาถ่อ ช่วยเขาพัก มิช้ามินานนักก็ถึงสถานีบ้านหมอ ผมกับคุณหินร่ำลาพลถ่อทั้งหลาย ย่ำแดนไทย บนทางรถไฟไทยถึงลพบุรี เที่ยงคืนพอดีรุ่งเช้า คุณที่ตะโกนยั่วเรื่องไอ้เข้ขึ้นบกที่ตอนหลบภัยที่สถานีบางเขน มีแก่ใจขนย้ายจากรถขบวนหนึ่งไปสู่รถอีกขบวนหนึ่งด้วยความทะนุถนอม แล้วไม่ลืมไหว้วานเพื่อนผู้โดยสารด้วยกัน ช่วยยกเครื่องเขียน กระเป๋าเดินทางของผม นำมาให้ด้วยความเรียบร้อย ส่วนกระดาษพิมพ์ บล็อกของคุณหิน ก็มีเพื่อนชาวลพบุรีผู้อารี จัดการนำมาให้เสร็จสรรพ เหตุการณ์อันนี้เกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ปี มาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจของคนไทยที่มีมาอย่างยาวนาน...
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/8631583776855611
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2022 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

การเสด็จประพาสประเทศอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ 2503
Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)
Sep 28, 2022

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักรของของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ระหว่างวันที่ 19-23 ก.ค. 2503

ถ่ายด้วยฟิล์ม 16 มม เงียบ
โดยสำนักงานแถลงข่าวไทย


https://www.youtube.com/watch?v=Y2oUxGZE514
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2022 11:36 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟกับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏ วิทยมหาราช
.
ทำให้นึกถึงเรื่องต้นกำเนิดกิจการรถไฟในกรุงสยามสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งโลกวิทยาศาสตร์ในขณะนั้นวิศวกรอังกฤษได้ทำการดัดแปลงรถม้าเคลื่อนบนรางเหล็กและมีหัวรถจักรไอน้ำเป็นตัวฉุดลาก ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชสาส์นตรัสบรรยายให้ตันกิมจิ๋งความว่า มีฝรั่งมาติดต่อขอทำรถไฟและเตรเลกราฟ (สายโทรเลข) ปีหนึ่งกว่า ๒๐ กว่าครั้งแต่ไม่ทรงตัดสินพระทัยเนื่องจากทรงให้เหตุผลว่าการสร้างทางรถไฟจะทำให้ชาวสยามไม่เดินใช้เส้นทางกัน เพราะทุกวันนี้ชาวสยามใช้การเดินทางโดยเรือสัญจรอยู่มาก ครั้นเมื่อทำทางรถไฟแล้วกลัวว่าชาวสยามจะไม่กล้าขึ้นหรือขึ้นก็ขึ้นรถไฟแต่น้อยมาก และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ รัฐบาลสยามยังไม่มีเงินลงทุนมากพอที่จะสร้างเส้นทางวางรางรถไฟได้
.
ชาวสยามกลุ่มแรกๆ ที่ขึ้นรถไฟเห็นจะเป็นคณะราชทูตโดยมีหม่อมราโชทัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ ตอนไปถึงประเทศอังกฤษและขึ้นรถไฟเดินทางและชื่นชมว่าสะดวกรวดเร็วมาก
.
นอกจากนี้หลายประเทศก็ใช้ภาพรถไฟเครื่องจักรไอน้ำเป็นสัญลักษณ์แห่งยุคสมัยใหม่ที่ก้าวมาแทนมี่ยุคเก่า เข่นในภาพยนตร์จีน และญี่ปุ่น
https://www.facebook.com/noomrattana/posts/2574340046041226
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2023 11:22 am    Post subject: Reply with quote

นโยบายสร้างชาติของจอมพล ป. “รถไฟต้องมา”
ประวัติศาสตร์

ผู้เขียน เสมียนนารี
เผยแพร่ วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2566
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศถึง 2 สมัย (พ.ศ. 2481-2487 และ พ.ศ. 2491-2500) ได้พยายามสร้างเส้นทางคมนาคมโดยใช้รถไฟเป็นตัวขับเคลื่อนนโยบาย แต่ก็ถูกแทรกโดยกองทัพญี่ปุ่น อันเนื่องจากสงครามมหาเอเชียบูรพา

เมื่อสงครามสงบลง “รถไฟ” ก็ยังถูกจัดเป็นนโยบายสำคัญลำดับแรกๆ ของจอมพล ป.

เรื่องนี้ ไกรฤกษ์ นานา เขียนอธิบายไว้ใน “เส้นทางรถไฟ ‘สายนิรนาม’ ของสยามรัฐที่ไม่อยู้ในประวัติศาสตร์รถไฟไทย” (ศิลปวัฒนธรรม, พฤศจิกายน 2565) ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยผู้เขียน)



นโยบายสร้างชาติของจอมพล ป. “รถไฟต้องมาก่อน”
แต่ทันทีที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามมหาเอเชียบูรพาและอิทธิพลของญี่ปุ่นสูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย เป็นโอกาสเดียวกันกับการกลับเข้ามารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของคณะรัฐบาลไทยในสมัยที่ 2 ของจอมพล ป. (พ.ศ. 2491-2500/ ค.ศ. 1949-1957)

เราจึงได้เห็นความพยายามของท่านผู้นําในรอบใหม่ที่รณรงค์ให้มีเส้นทางรถไฟเพิ่มขึ้นในประเทศ แม้นว่าจะเป็นช่วงเศรษฐกิจถดถอยและเป็นยุคข้าวยากหมากแพงหลังสงคราม แต่รัฐบาลในยุคนั้นก็มิได้ลดความสําคัญของการพัฒนาเส้นทางคมนาคม โดยมี “รถไฟ” เป็นเครื่องจักรและกลไกสําคัญในการพัฒนาประเทศ [1]

ดังจะเห็นได้ใน “คําแถลงนโยบาย” ของรัฐบาล โดยจอมพล ป. เป็นผู้อ่านคําแถลงนี้เอง ในหมวดของการคมนาคม (ข้อ 8) ท่านก็นําเรื่องของการรถไฟที่หายไปกลับมาเป็นประเด็นแรกของนโยบายในการหมวดนี้ที่กลับมาเป็นนัยสําคัญอีกครั้ง

“8. การคมนาคม

จะปรับปรุงส่งเสริมและขยายการขนส่งทางบก ทางน้ำ และ ทางอากาศ ตลอดจนการสื่อสารให้พอแก่ความต้องการของประเทศ ในการขนส่งสินค้าและโดยสารโดยเฉพาะ

(1) การรถไฟจะได้จัดการปรับปรุงสิ่งที่เสียหายจากการสงครามให้คืนใช้งานได้ จะได้สั่งซื้อรถจักร รถบรรทุก รถโดยสาร ทั้งเครื่องอุปกรณ์ในการโรงงานและการเดินรถและจะได้สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมต่อไป ตามโครงการ

(2) การทางจะได้เร่งบูรณะทางหลวงที่ชํารุดและจะได้สร้างทางตามโครงการสร้างทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงจังหวัดทั่ว ราชอาณาจักรต่อไปโดยด่วน พยายามให้ทุกจังหวัดและทุกอําเภอติดต่อถึงกันได้ และจะได้จัดหาเครื่องจักรทุ่นแรงมาใช้ในการบูรณะและสร้างทางเหล่านี้

(3) ท่าเรือกรุงเทพฯ จะได้ปรับปรุงกิจการให้สมบูรณ์ตามโครงการเดิมต่อไป และจะได้เร่งรัดในการขุดลอกสันดอน เพื่อให้เรือซึ่งกินน้ำลึกประมาณ 21 ฟีต เข้าออกได้ กับจะพิจารณาสร้างท่าเรืออื่นต่อไป

(4) การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ และการสื่อสารอื่นๆ จะได้ปรับปรุงส่งเสริมและขยายให้กว้างขวางทั่วราชอาณาจักร ต่อจาก ที่ได้ทํามาแล้ว เพื่อสนองความต้องการของประชาชนทั่วไป

รัฐบาลนี้มีความตั้งใจอันแน่วแน่ ที่จะปฏิบัติงานของชาติให้สําเร็จสมบูรณ์ตามนโยบายที่แถลงมาข้างต้นนี้ แต่ที่จะปฏิบัติให้ เป็นผลสําเร็จได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย รัฐบาลจึงหวังว่าจะได้รับความร่วมมือของท่านสมาชิกรัฐสภาตลอดถึงข้าราชการและประชาชนที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถทํางานให้ประเทศ ชาติผ่านพ้นความยากลําบากในเวลานี้และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับวิกฤติการณ์ที่อาจจะมีขึ้นในวันข้างหน้า

รัฐบาลได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาด้วยคะแนนเสียง 70 ต่อ 26 คะแนน” [1]


คณะรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ของ จอมพล ป. ที่ส่งเสริมให้รถไฟล่องหนสมัย จอมพล ป. กลับมาเกิดขึ้นจริง
แม้นว่าเศรษฐกิจจะไม่ดีเอาเลยในช่วงหลังสงคราม แต่รัฐบาลจอมพล ป. กลับมองว่า “รถไฟ” เป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อฟื้นฟูประเทศชาติ ในช่วงนั้น นโยบายของจอมพล ป. เน้นไปที่การวางเส้นทางรถไฟสายใหม่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกที่ท่านได้เริ่มต้นสํารวจในระหว่างเป็นผู้นําสมัยแรก โดยไม่เน้นถึงรถไฟสายกาญจนบุรีและสายใต้ ซึ่งพัฒนาไปมากในสมัยที่ญี่ปุ่นเข้ามาบริหาร

ทางรถไฟสายตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้เขียน [ไกรฤกษ์ นานา] เรียกชื่อภายใต้หัวข้อว่า “ทางรถไฟล่องหน” ของจอมพล ป. ถูกวางนโยบายไว้ใน พ.ศ. 2492 แต่ก็กลับสูญหายไปจากโครงการหลักอีกครั้ง ทั้งที่ถูกกําหนดไว้ตามคําแถลงนโยบายของรัฐบาลเป็นเรื่องที่จะอธิบายต่อไป

นโยบายรถไฟของจอมพล ป. มีรายละเอียดต่อท้ายคําแถลงการณ์ของ รัฐบาลเพิ่มเติมว่า

“ข. รถไฟ

โดยที่การรถไฟเป็นกิจการแขนงหนึ่งของงานขนส่ง มีสาระสําคัญต่อประเทศชาติถึง 3 ประการ คือเป็นประโยชน์ในด้าน เศรษฐกิจ ในด้านสังคมและในด้านบริหาร รัฐบาลจึงส่งเสริมให้การรถไฟเจริญก้าวหน้า ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานต่อไปนี้

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสมัยซ่อมบูรณะและฟื้นฟู กิจการรถไฟครั้งใหญ่ที่สุด เพราะภัยแห่งสงครามทําให้โรงงาน อาคาร สถานที่ทําการตลอดจนทาง สะพาน และล้อเลื่อนนานาชนิดได้รับความเสียหาย จึงได้จัดการซ่อมแซมและจัดหาสิ่งที่จะมาใช้แทน เป็นขั้นๆ ไป เช่น บูรณะโรงงานมักกะสันเสร็จเรียบร้อย ใช้การได้เป็นส่วนมากในปี พ.ศ. 2498 และต้นปี พ.ศ. 2499 รวม 14 โรง ซ่อมสะพานพระจุลจอมเกล้า สะพานปรมินทร์ และสะพานพระราม 6 ให้เปิดใช้ได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2496

อนึ่ง รัฐบาลได้เจรจาขอกู้เงินจากธนาคารโลก 3 ล้านบาท เพื่อบูรณะฟื้นฟูกิจการรถไฟโดยบูรณะโรงงานมักกะสัน จัดหาและ ติดตั้งเครื่องอาณัติสัญญาณประจําที่ จัดหาเครื่องอะไหลในการซ่อม เครื่องล้อเลื่อน และได้ตกลงจะปรับปรุงระบบบริหารกิจการใหม่ ให้ต้องด้วยหลักการรถไฟ ตามระบบสากลนิยมในปัจจุบัน คือจัดกิจการให้เป็นแบบอาณาอิสระ

ใน พ.ศ. 2494 ได้สร้างทางรถไฟสําเร็จ 5 สาย คือ

สายบางซื่อ-คลองตัน ระยะทางยาว 13 กิโลเมตร
สายแก่งคอย-ไชยบาดาล ระยะทางยาว 84 กิโลเมตร
สายไชยบาดาล-จัตุรัส ระยะทางยาว 92 กิโลเมตร
สายจัตุรัส-บัวใหญ่ ระยะทางยาว 86 กิโลเมตร
สายอุดร-หนองคาย ระยะทางยาว 50 กิโลเมตร”
และเป็นครั้งแรกที่เราได้ทราบว่าการสร้างทางรถไฟสมัยจอมพล ป. ทางรัฐบาลจะทําการกู้เงินจาก “ธนาคารโลก” มาสนับสนุนเนื่องจากงบประมาณแผ่นดินไม่เพียงพอจะนํามาใช้ โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังสงคราม

…………


แต่ภายหลังการแถลงนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. ใน พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1949) แล้ว ความคืบหน้าของโครงการรถไฟ 5 สาย สู่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือกลับขาดหายไปอีกครั้ง โดยที่ไม่พบหลักฐานว่า “เงินกู้” จากธนาคารโลกที่กู้มาทําทางรถไฟนั้นได้ใช้ไปอย่างไรบ้าง

ต่อมาผู้เขียนก็พบว่ากรมรถไฟในสมัยจอมพล ป. ได้ออกแถลงการณ์ในที่ประชุมคณะทํางานรายงานผลการประกอบการเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2495 ว่ามีความติดขัดบางอย่างเกิดขึ้นในการหาซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือซ่อมสร้างทางรถไฟ เนื่องจากความขาดแคลนจากภาวะสงครามที่เพิ่งผ่านมา (ดูเอกสารแนบท้ายการประชุม)


รายละเอียดเอกสารแนบท้ายการประชุม จากโครงการสร้างทางรถไฟสมัยที่ 2 ของ จอมพล ป. (ขอบคุณภาพจาก คุณประวิทย์ สังข์มี)
โครงการรถไฟแห่งปประเทศไทย (สมัยจอมพล ป.)
“ตามหลักการทั่วไป การรถไฟฯ จัดเป็นอุตสาหกรรมที่หารายได้เลี้ยงตัวเองรายได้ส่วนใหญ่อยู่ที่การเดินรถรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตามเส้นทางที่เปิดการเดินรถแล้ว แต่ทางที่เปิดการเดินรถแล้วในขณะนี้ (ถึงสิ้น พ.ศ. 2499 มีระยะทาว 3,333 กิโลเมตร)หากจะดูเพียงผิวเผินก็เห็นว่าน่าจะยาวพอแก่ความต้องการแล้ว

แต่แม้กระนั้นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยทุกสมัยเล็งเห็นว่า ทางรถไฟที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอและได้ส่วนสัมพันธ์กับความเจริญของประเทศในด้านอื่นๆ ซึ่งคลี่คลายขยายตัวและก้าวหน้ามาเป็นลําดับ จึงได้พยายามส่งเสริมให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ดังกล่าวเป็นลําดับมา แต่การก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมต้องประสบอุปสรรคเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเหตุ เมื่อภาวะสงครามสิ้นสุดลงแล้ว ภาระอันหนักตกอยู่แก่การบูรณะซ่อมสร้างบรรดาล้อเลื่อน อาคาร สะพาน ทาง ฯลฯ ให้คงคืนภาวะเดิม การก่อสร้างทาง รถไฟเพิ่มเติมจึงจัดให้ดําเนินไปไม่ได้เต็มที่

บัดนี้ภาระดังกล่าวได้ จัดให้สําเร็จลุล่วงไปจนเกือบคืนคงภาวะเดิมแล้ว จึงเป็นการสมควรที่เร่งรีบดําเนินการก่อสร้างและจัดหาล้อเลื่อนและบริภัณฑ์รถไฟ ส่วนอื่นบรรดาที่จะอํานวยประโยชน์ในการแสวงหาและเพิ่มพูนรายได้ ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่มพูนความเจริญในด้านเศรษฐกิจโดยทั่วไป แล้วยังเป็นการสร้างฐานะที่ต้องเลี้ยงตัวเองให้มั่นคงในกาลภายหน้า ด้วย

อาศัยเหตุนี้ การรถไฟฯ จึงได้จัดทําโครงการระยะยาวขึ้น โดยจําแนกงานที่จะจัดทําออกเป็นแผนๆ คือ

แผนการก่อสร้างทางรถไฟ 11 สาย
แผนการจัดหาล้อเลื่อนและเครื่องมือกล
แผนการจัดหาวัสดุเพื่อปรับปรุงภาวะของทางให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น และติดตั้งโทรคมนาคม
รายละเอียดของแผนข้างต้นแนบอยู่ต่อท้ายนี้

เมื่อได้ดําเนินการตามแผนดังกล่าวแล้ว รายได้สุทธิของการรถไฟฯ จะประมาณเป็นผลที่พอจะคาดได้ตามบัญชีแสดงตัวเลข รายได้ รายจ่าย และผลกําไรในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2496, 2497, 2498, 2499 และ 2500) ดั่งแนบอยู่ท้ายโครงการณ์” [2]

การประชุม ครั้งที่ 6/91 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2491

“1. พิจารณารายการประกวดราคาเครื่องเหล็กต่างๆ ตาม ใบประกวดราคาที่ 91377 ซึ่งค้างมาแต่การพิจารณาของที่ประชุม ครั้งที่ 5/91







2. พิจารณาเปิดซองประกวดราคาสําหรับเหล็กเหนียวต่างๆ รวม 32 รายการ ตามใบประกวดราคาที่ 91380
3. พิจารณาเปิดซองประกวดราคาสําหรับท่อไฟ ท่อไอ และ ข้อต่อ ตามใบประกวดราคาที่ 91381
ต่อจากนี้เลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า ได้รับแจ้งจากหัวหน้าแผนกจัดหาพัสดุกรมรถไฟว่า ร้านสีห์โสภณ ซึ่งเป็นผู้ประมูลเหล็กเหนียวแผ่นได้ ตามใบประกวดราคาที่ 91379 และได้สนองรับใบสั่งของทางการกรมรถไฟแล้ว ได้แจ้งมาแล้วว่า ไม่มีของจะส่งให้ตามรายการที่ประมูลได้ (รายการที่ 1) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ริบเงินมัดจําของประกวดราคาของร้านสีห์โสภณ เสียฐานผิดสัญญา” [2]

จากเอกสารการประชุมของคณะทํางานการรถไฟข้างต้นทําให้เราทราบว่า แม้จะได้กู้เงินจาก “ธนาคารโลก” มาแล้ว แต่ทางรัฐบาลก็มิอาจดําเนินการสร้าง ทางรถไฟด้วยตนเองทั้งหมด

“ทว่าได้จัดจ้าง ‘ผู้รับเหมา’ มารับช่วงต่องานของกรมรถไฟอีกทอดหนึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังกลับมิใช่ขาดสภาพคล่อง แต่เป็นการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์และเครื่องอะไหล่ ซึ่งหายากและอาจซื้อหาไม่ได้เลยในตลาดทั้งในและนอกประเทศจากภาวะหลังสงคราม” [2]

โครงการรถไฟล่องหนของจอมพล ป. ขาดตอนไปอีกแม้จะอยู่ในขั้นตอนดําเนินการ แต่แล้วข้อมูลบางอย่างก็โผล่ขึ้นมาในช่วงท้ายของสมัยที่ท่านดํารง ตําแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 (พ.ศ. 2498/ค.ศ. 1955)

หนังสืองานศพเล่มหนึ่งของอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงให้ทราบว่าความสัมพันธ์ของรัฐบาลไทยช่วงท้ายๆ ของจอมพล ป. นั้น ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทั้งการระดมเงินทุนและวัสดุอุปกรณ์แบบเร่งด่วนโดยชาติมหาอํานาจอย่างสหรัฐอเมริกา อัดฉีดโครงการนี้ในลักษณะให้เปล่า เพื่อขัดขวางและต่อต้านการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสม์จากฝั่งประเทศลาว ประมาณ พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) [3]

โครงการรถไฟล่องหนของจอมพล ป. จึงเกิดขึ้นอีกครั้งอย่างรีบด่วน ภายหลังความชะงักงันมาหลายปี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด!?

“การก่อสร้างทางจากขอนแก่นขึ้นไปถูกระงับไว้ชั่วขณะ ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ต่อมาจึงลงมือก่อสร้างต่อจนสามารถเปิดการเดินรถระหว่างขอนแก่น ถึงอุดรธานี ระยะทาง 120 กิโลเมตร ได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 จากนั้นการสร้างทางสายนี้ก็ถูกระงับเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2497 จึงเริ่มการก่อสร้างต่อไปถึงจังหวัดหนองคาย ระยะทาง 49 กิโลเมตร โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกเงินสมทบช่วยค่าก่อสร้าง เป็นมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 80 ล้านบาท เพื่อให้เสร็จภายใน 7 เดือน ตามความจําเป็นทางด้านยุทธศาสตร์ การก่อสร้างเสร็จตามกําหนดสามารถเปิดเดินขบวนรถจากสถานีอุดรธานี ถึงสถานีนาทา ระยะทาง 49 กิโลเมตรได้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2498

ต่อมาการรถไฟฯ ได้ขยายการก่อสร้างจากสถานีนาทาไปถึงสถานีหนองคายริมฝั่งแม่น้ำโขง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านไปยังประเทศลาวแล้วเสร็จเปิด การเดินรถได้ตลอดทางเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2501

ความยาวตลอดสายตั้งแต่ชุมทางถนนจิระ ถึงหนองคาย ยาว 359 กิโลเมตร” [3]

ความพยายามที่จะมีรถไฟของจอมพล ป. ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นบริบทหนึ่งของการดําเนินนโยบายภายในอันสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่น่ารู้ ทว่ายังขาดการรับรองโดยทางการให้คนภายนอกรับรู้แม้จนบัดนี้

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เอกสารประกอบการค้นคว้า :
[1] บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2491-2499. พระนคร : กรมศิลปากร, 2500.

[2] รายงานการประชุมคณะทํางาน. โครงการสร้างทางรถไฟสําหรับผังเศรษฐกิจ (โครงการระยะยาว พ.ศ. 2496-2500). กรมรถไฟหลวง, 2495.

[3] กําเนิดรถไฟ. ม.ป.ท., ม.ป.ป. (อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสหทัย โดษะนันทน์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 28 กันยายน 2539).

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 25 เมษายน 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2023 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ พะเยา
22 ก.พ. 66 09:11 น.

https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/246138654406668

-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : อุทาหรณ์สอนใจชาย --
บทบาทของหนังสือพิมพ์ในอดีต นอกเหนือจากการนำเสนอข่าว วิพากษ์วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนแล้ว ยังรวมไปถึงการเตือนบรรดาผู้อ่านให้ระมัดระวังภัยจากมิจฉาชีพที่อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินของมีค่าของตนได้ มิจฉาชีพในสมัยก่อนมีหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งก็คือ มิจฉาชีพในคราบของหญิงสาวที่ทำให้ชายอกสามศอกที่หลงเสน่ห์ต้องมาเสียใจในภายหลัง ดังตัวอย่างบทความข่าวที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย
.
บทความข่าวชิ้นหนึ่งเรื่อง “อยากหนุ่มจงระวังสาว” ในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2472 (นับตามปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2473) เล่าเรื่องราวของชายสองคนพี่น้องที่โดยสารรถไฟจากสถานีอุตรดิตถ์จะมากรุงเทพฯ พอถึงสถานีปากน้ำโพ ทั้งคู่ได้พบกับหญิงสาวสวยสองราย ฝ่ายชายสอบถามทั้งคู่ได้ความว่าจะลงไปกรุงเทพฯ เช่นกัน จึงชวนฝ่ายหญิงมานั่งด้วยกันเผื่อว่าถ้าเกิดเรื่องอะไรขึ้นก็จะได้ช่วยเหลือกัน จากนั้นทั้ง 4 คนได้สนทนากันจนเป็นที่พอใจ เมื่อขบวนรถไฟมาหยุดที่สถานีบ้านภาชี หญิงสาวขอลงไปซื้อของรับประทาน และบอกฝากสัมภาระไว้ แต่ชายหนุ่มอาสาว่าจะเป็นผู้ลงไปซื้อให้แทน ฝ่ายหญิงเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงฉวยเอาเสื้อนอกแพรของฝ่ายชายลงจากรถแล้วหลบหนีไป ชายทั้งสองกว่าจะทราบเรื่องก็ไล่ติดตามไม่ทันเพราะรถออกเสียแล้ว สุดท้ายทั้งคู่จึงมาถึงกรุงเทพฯ โดยเหลือแค่ผ้าม่วงที่นุ่งอยู่คนละผืนและหมวกคนละใบเท่านั้น ส่วนของมึค่าเช่น หีบใส่บุหรี่ และเงินรวมกว่า 30 บาท ได้อันตรธานไปพร้อมกับเสื้อนอกด้วยฝีมือของหญิงสาวที่พวกเขาเอาอกเอาใจนั่นเอง
.
เรื่องนี้จึงนับเป็นอุทาหรณ์อย่างยิ่งสำหรับผู้ชายที่จะต้องระวังมิจฉาชีพในรูปแบบนี้ให้มากๆ ซึ่งในตอนท้ายของบทความทำให้เราทราบว่าผู้หญิงที่หากินในลักษณะนี้มีปรากฏอยู่เนืองๆ แล้วตั้งแต่สมัยนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะต้องตรวจตราจับกุมไม่ให้มิจฉาชีพเหล่านี้ย่ามใจกระทำผิดต่อไปได้
.
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร.7 ม 26.5 ก/35 เรื่อง จังหวัดอุตรดิตถ์ [ 12 มิ.ย. 2471 – 7 มี.ค. 2472 ].
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 71, 72, 73, 74, 75  Next
Page 72 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©