Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263384
ทั้งหมด:13574667
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับรถไฟสายตะวันออก
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับรถไฟสายตะวันออก
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
RSR38
VIP Member
VIP Member


Joined: 04/07/2007
Posts: 266
Location: แก่งคอย สระบุรี

PostPosted: 24/08/2007 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บ.วินส์โคสท์ส่วนใหญ่เราจะคุ้นกับนามสกุลกันครับ เช่นเทียนทอง
หรือ วงษ์สวัสดิ์ เมื่อเปิดเดินรถใหม่ๆวันละ 3 ขบวนก็ถูกอีกบริษัทหนึ่งซึ่งขนส่งทาง
รถไฟเช่นเดียวกันว่าเป็นการวิ่งเหมาขบวนในลักษณะ"โรดโชว์"ผมเองก็แอบดูอยู่
เหมือนกันครับ เพราะเที่ยวแรก ๆ ไม่ค่อยจะมีสินค้า แต่เมื่อนานๆเข้าก็มีการเพิ่มทุน
และเพิ่มขบวน(ขณะนี้เดินขึ้นล่องวันละ 10 ขบวน) นอกจากนี้ยังมีแผนเดินรถออกมา
ทางสายตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย เรื่องการจัดหารถจักรทางบริษัทก็มีแผนอยู่
ด้วยครับ โดยจะสั่งรถสเปคเดียวกับการรถไฟฯ แต่ยังติดขัดปัญหา 2 ข้อคือ เรื่อง
การสั่งครั้งละน้อย ๆ คันบริษัทการผลิตใหญ่ๆจะไม่รับ ข้อต่อมาคือเรื่องกฎหมายการ
ใช้ทางรถไฟฯยังเป็นปัญหาอยู่ เรื่องการจัดซื้อรถจักรยังเป็นเพียงแผนงานครับ
ที่ผมพอจะรู้เรื่องนี้มาเพราะว่าผมก็ไปร่วมประชุมกับบริษัทมาหลายครั้ง
เรื่องทางคู่คงจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะรวดเร็วนะครับ คงจะเสร็จตามกำหนด
แต่รถไฟควรเร่งจัดหารถจักรและพนักงานไว้รองรับนะครับ ขณะนี้มติ ครม.
ที่รัฐบาลทักษิณกำหนดไว้เรื่องไม่ให้รับพนักงานเรายังไม่ได้ขอยกเลิก จะเป็นปัญหา
เรื่องนี้ในอนาตคได้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/08/2007 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องมาตรการจำกัดกำลังคนที่ กพร.กำหนดเอาไว้นั้น ถ้ามีการประสานงานกันดีๆ มีเหตุผลประกอบ สามารถขอเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ได้ครับ

สำคัญตรงที่ ผู้เกี่ยวข้องสามารถประสานงานกับทาง กพร.เขาได้ทุกระยะหรือยัง ?

หรือว่า...ใช้แต่ลูกน้องไปพูด ตัวผู้ใหญ่ไม่เคยพบปะกับเขา ก็ไร้ประโยชน์เหมือนกัน Cool
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2007 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

14ผู้รับเหมารายใหญ่แห่ร่วมประมูล สร้างรถไฟรางคู่ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง

Bangkokbiznews 7 กันยายน พ.ศ. 2550 15:30:00

ผู้รับเหมา14รายสนร่วมประมูลสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง มูลค่า 5,850 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผู้รับเหมารายใหญ่

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : น.ส.มณฑกาญจน์ ศรีวิลาศ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟฯ แจ้งว่า การรถไฟฯ ได้ออกประกาศประกวดราคา โครงการก่อสร้างทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออกพร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมช่วงฉะเชิงเทรา – ศรีราชา – แหลมฉบัง ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550 ถึงวันที่ 5 กันยายน 2550 ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 ให้ขยายกรอบวงเงินลงทุนและระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากเดิมวงเงินลงทุน 5,235 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการจากปี 2547 - 2550 เป็นวงเงินลงทุน 5,850 ล้านบาท ระยะเวลาจากปี 2547 – 2553

สำหรับรายชื่อบริษัทที่มาซื้อเอกสารประกวดราคา มีทั้งสิ้น 14 ราย ประกอบด้วย

1. กิจการ่วมค้า ซีทีเอ็ม มีบริษัท ไทยวัฒน์ฯ, บริษัท มอร์ มอเตอร์ จำกัด, บริษัท China Railway 13th Bureau Group

2. บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

3. กิจการร่วมค้า CKTU J/V บริษัท ช.การช่างฯ. บริษัท TOKYO Construction, บริษัท UNIQUE engineering and Construction Public

4. กิจการร่วมค้า CR 18 G M.A.L. GROUP ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.นำเบญจพลพาณิชย์, กลุ่มกิจการร่วมค้า CR 18 G M.A.L.

5.กิจการร่วมค้า เอ็น – บี – โอ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการจำกัด มหาชน, บริษัท พรหมวิวัฒน์ จำกัด, บริษัท โอบายาชิ คอปอร์เรชั่น จำกัด

6. บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

7. กิจการร่วมค้า V H T บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด Hikmat Asia Sdn Bhd Thai Nippon Road Co.,Ltd

8.กิจการร่วมค้า ที.เอส.ซี บริษัท ไทยพีค่อนและอุตสาหกรรม จำกัด, บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด, บริษัท ช.ทวีการช่าง จำกัด

9. บริษัท HCT JOINT VENTURE บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์, China State Construction Engineering Corporation (CSCEC), Thai Engineer and Industry Co.,Ltd (TEC)

10. กิจการร่วมค้า SC 07 JOINT VENTURE บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด (SKY) CHINA-EAST RESOURCES IMPORT&EXPORT COMPANY (CERIECO)

11. กิจการร่วมค้า JNC JOINT VENTURE บริษัท จัสมิน เทเลคอมซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท นามประเสริฐก่อสร้าง จำกัด Chum Wo Construction & Engineering Company Limited

12. กิจการร่วมค้า เอ ดี เค บริษัท แอสคอน คอนสครัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ASCON) DYWIDAG INTERNATIONAL GmbH (Dywidag) บริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด (KPV)

13. กิจการร่วมค้า เอส แอนด์ แอล บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอลโออาร์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ

14. RUSSIAN –EMC TECH COOPERATION, Joint Venture บริษัท แอดวานซ์ เทคโนโลยี คอนซัลติ้ง แอนด์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด EMC PUBLIC Company Limited

ในวันที่ 10 กันยายนนี้ จะได้พาบริษัทเหล่านี้ดูสถานที่ก่อสร้างจริงและจะประชุมก่อนการเสนอราคาในวันที่ 11 กันยายน 2550 ซึ่งโครงการนึ้หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้า (Logistics) สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยการสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าทางรถไฟและเรือ (Model Shift & Multimodal Transportation) มากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถลดต้นทุนในการขนส่งลงได้ และการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้านั้น ถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้พัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าต่อไป

// ----------------------------------------------------------------------------------

หวยท่าจะออกไปทางอิตาเลียนไทย ... ถ้าไม่ติดคดีสนามบินสุวรรณภูมิ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2007 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

14 บริษัทสนทำงานรถไฟรางคู่ด้านตะวันออก
Dailynews - 8 September 2007

นายศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า จากการที่ รฟท. เปิดขายเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา- แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 5,850 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 24 ส.ค.-5 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาจำนวน 14 รายได้แก่

1.กิจการร่วมค้า ซีทีเอ็ม
2.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
3.กิจการร่วมค้า CKTU J/V 4.กิจการร่วมค้า CR 18 G M.A.I. GROUP
5.กิจการร่วมค้า เอ็น-บี-โอ
6.บริษัท เอ.เอส.แอสโซ ซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด
7.กิจการร่วมค้า VHT
8.กิจการร่วมค้า ที.เอส.ซี
9.กลุ่มบริษัท KCT JOINT VENTURE
10.กิจการร่วมค้า SC 07 JOINT VENTURE 11.กิจการร่วมค้า JNC JOINT VENTURE
12.กิจการร่วมค้า เอ ดี เค
13.กิจการร่วมค้า เอส แอนด์ แอล และ
14.RUSSIAN-EMC TECH COOPERATION, JOINT VENTURE )

ทั้งนี้ รฟท. กำหนดให้ผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาดูสถานที่ก่อสร้างภาคสนามในวันที่ 10 ก.ย.นี้ และประชุมก่อนการเสนอราคาในวันที่ 11 ก.ย.
หลังจากนั้นจะให้ยื่นเอกสารประกวดราคาใน วันที่ 4 ต.ค. โดยจะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 16 ต.ค. 2550.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2007 7:45 pm    Post subject: Reply with quote

14 รับเหมาสนรถไฟรางคู่
Thairath 10 ก.ย. 50 - 04:25

นายศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า จากการที่ รฟท.เปิดขายเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 5,850 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 24 ส.ค.-5 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาจำนวน 14 ราย ได้แก่

1. กิจการร่วมค้าซีทีเอ็ม
2. บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
3. กิจการร่วมค้า CKTU J/V
4. กิจการร่วมค้า CR 18 G M.A.I. GROUP
5. กิจการร่วมค้า เอ็น-บี-โอ
6. บริษัทเอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด
7. กิจการร่วมค้า VHT
8. กิจการ ร่วมค้า ที.เอส.ซี
9. กลุ่มบริษัท KCT JOINT VENTURE
10. กิจการร่วมค้า SC 07 JOINT VENTURE
11. กิจการร่วมค้า JNC JOINT VENTURE
12. กิจการร่วมค้า เอ ดี เค
13. กิจการร่วมค้า เอส แอนด์ แอล และ
14. (RUSSIAN-EMC TECH COOPERATION, JOINT VENTURE)

ทั้งนี้ รฟท.กำหนดให้ผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาดูสถานที่ก่อสร้างภาคสนามในวันที่ 10 ก.ย.นี้ และประชุมก่อนการเสนอราคาในวันที่ 11 ก.ย. หลังจากนั้นจะให้ยื่นเอกสารประกวดราคาในวันที่ 4 ต.ค. โดยจะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 16 ต.ค. 2550

ประธานบอร์ดการรถไฟฯกล่าวว่า รู้สึกพอใจที่มีผู้สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาเป็นจำนวนมาก และแต่ละบริษัทที่ซื้อเอกสารประกวดราคาต่างก็เป็นบริษัทขนาดใหญ่ โดยเชื่อว่าการประกวดราคาครั้งนี้จะมีการแข่งขันราคาค่อนข้างสูง และจะมีความโปร่งใส 100% และขอให้ผู้ซื้อเอกสารทุกรายทราบว่าอย่าเชื่อคำ

// -------------------------------------------------------------------------------------------------
รฟท.เชิญเอกชน 14 ราย แจงรายละเอียดประมูลรถไฟรางคู่

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2550 18:24 น.


รฟท.เชิญผู้ประกอบการก่อวร้าง เสนอราคางานก่อสร้างรถไฟฟ้ารางคู่ช่วง ฉะเชิงเทรา – ศรีราชา-แหลมฉบัง โดยมีผู้สนใจจำนวน 14 ราย รับฟังการแจงรายละเอียดการก่อสร้าง

วันนี้(11 ก.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.ได้เชิญผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้าเสนอราคางานก่อสร้างรถไฟฟ้ารางคู่ช่วง ฉะเชิงเทรา – ศรีราชา-แหลมฉบัง ชี้แจงถึงรายละเอียดการก่อสร้าง โดยมีเอกชนจำนวน 14 กลุ่ม ที่ให้ความสนใจเข้าประมูลงานก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออก พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง

โดยในวันนี้ เอกชนทั้ง 14 กลุ่มได้เข้ารับฟังการชี้แจงถึงรายละเอียดของงาน และตอบข้อซักถามผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้าเสนอราคางานก่อสร้าง จากการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ โดยนายกิตติ บำรุงไทย รองวิศวกรใหญ่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะกรรมการชี้แจงว่าวันนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจเกี่ยวกับรูปแบบของอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ซึ่งแต่ละบริษัทมีข้อสงสัยรวมถึงเอกสารทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม รฟท.ได้รวบรวมข้อสงสัยกว่า 100 ข้อ โดยในวันที่ 19 ก.ย.นี้ คณะกรรมการฯ จะให้ข้อสรุปอีกครั้งถึงรูปแบบการก่อสร้างที่ชัดเจน

ทั้งนี้ รฟท.ได้ประกาศเชิญชวนประกวดราคาจ้างก่อสร้างรถไฟทางคู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – ศรีราช – แหลมฉบัง ระหว่าง 24 ส.ค. - 5 ก.ย. 2550 และมีกลุ่มบริษัทผู้สนใจซื้อซองเอกสารประกวดราคา จำนวน 14 กลุ่ม
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 11/09/2007 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

ขอส่องกล้องทั้ง 14 กลุ่ม มี 1 บริษัทจำกัด 1 บริษัท(มหาชน) และ 12 กิจการร่วมค้า

มองลึกไปอีกนิด
1.มี 2 บริษัท เป็นของคนไทย และเคยรับงานของรฟท
2.ในกิจการร่วมค้า 12 ราย ระหว่างบริษัทไทยและต่างชาติปนๆ กัน
มีค่ายญี่ปุ่นอยู่ 3 ราย ค่ายจีน 4 ราย รัศเซีย 1 ราย มาเลเซีย 1 ราบ และจากยุโรบ อีก 3 ราย เดาถูกเดาผิด ต้องขออภัย.......

จากตามที่เรียงตามลำดับหากมองในเรื่องของทุนและฐานะทางการเงิน บางราย เห็นเงาเครื่องบิน บินผ่านนึกว่านก อาจมีรายการ เสียว....หลังนะเอ้อ....

แต่อย่างว่าช่วงนี้เงินทองหายาก ดีไม่ดีมีรายการเลือดท่วมจอ LCD ก็คราวเนี้ยแหละ..คริคริ...
(ไงๆ ผมก็รักและเชียร์คนไทยด้วยกันขอรับ)
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2007 11:58 am    Post subject: Reply with quote

จีน-เยอรมนีผนึกรับเหมาไทย ประมูลงานรถไฟรางคู่6พันล้าน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 กันยายน 2550 07:58 น.


แอสคอนฯระบุโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟรางคู่ มูลค่าเกือบ 6,000 ล้านบาทแข่งดุเดือด รับเหมาจากจีนและเยอรมนีแห่จับคู่บริษัทไทยชิงงานก่อสร้าง "พัฒนพงษ์ ตนุมัธยา"ยอมรับโอกาสเหนื่อยสู้คู่แข่ง แต่ลุ้นหากกำหนดคะแนนพีคิวเกิน 80% บริษัทก็อาจจะมีสิทธิ

นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON เปิดเผยว่า หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้ดำเนินการเปิดขายซองประกวดราคา ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง มูลค่า 5,900 ล้านบาทนั้น ล่าสุดปรากฏว่า ได้มีบริษัทเอกชนเข้าซื้อซองทั้งสิ้น 14 ราย โดยบริษัทเป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าซื้อซองประกวดราคา ภายใต้ชื่อ กลุ่มกิจการร่วมค้าเอดีเค ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับกลุ่มกำแพงเพชรวิวัฒน์ และกลุ่มดิวิดัชท์จากประเทศเยอรมนี ในสัดส่วนการถือหุ้น 35% 40% และ 25% ตามลำดับ

ก่อนหน้านี้ บริษัทจะร่วมกับทางดีวิดัชท์เท่านั้น โดยทางรฟท.จะเปิดให้ยื่นซองในเดือนตุลาคมนี้เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น (พีคิว) ว่าผ่านหรือไม่ ซึ่งหากผ่านก็จะมีสิทธิที่จะเข้าไปประกวดราคาแบบการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อีอ๊อคชั่น) ต่อไป

"โครงการนี้ ทางบริษัทไม่มีความหวังจากโครงการนี้มากนัก เพราะมีคู่แข่งมาก และที่สำคัญที่สุดคือ ในเรื่องของการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นนั้น ค่อนข้างกำหนดไว้กว้าง ๆ จึงเชื่อว่าจะมีผู้ผ่านคุณสมบัติค่อนข้างมาก และเมื่อไปประมูลแบบอีอีอคชั่นด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้แข่งขันสูง ซึ่งผู้ที่จะได้เปรียบมากที่สุดในครั้งนี้คือกลุ่มที่ร่วมทุนกับทางประเทศจีน เนื่องจากมีต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มจากเยอรมนีที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง แต่หากมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนสูง 80% ขึ้นไปก็เชื่อว่าจะมีผู้ผ่านคุณสมบัติน้อย ทำให้ต้นทุนการแข่งขันอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน" นายพัฒนพงษ์กล่าวและตั้งข้อสังเกตว่า

การประมูลโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ในครั้งนี้ กลุ่มผู้รับเหมาจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาค่อนข้างน้อย คือเพียง 1 รายเท่านั้น ซึ่งน่าจะเกิดจากกรณีที่ทางธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) ไม่ได้ให้เงินกู้ในโครงการดังกล่าว จึงทำให้ไม่แน่ใจว่าจะมีการแข่งขันเป็นธรรมหรือไม่จึงไม่เข้ามา ขณะที่ทางผู้รับเหมาจากจีนนั้นค่อนข้างเข้ามามากคือประมาณ 4 ราย ขณะที่บริษัทเอกชนจากประเทศเยอรมนีมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับบริษัทรับเหมาจากจีน ดังนั้นจึงเชื่อว่าผู้ที่น่าจะชนะการประมูลน่าจะมาจากทางประเทศจีนมากกว่า

"แม้ว่าจะไม่มีความหวังมากนัก แต่ก็จะสู้อย่างเต็มที่ และหากไม่ได้โครงการดังกล่าวก็จะเข้าไปประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงต่อไป"

สำหรับบริษัทรับเหมา 14 บริษัทที่ได้เข้าซื้อซองประกวดราคา จะเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ในไทย อาทิ กิจการร่วมค้า ซีทีเอ็ม มีบริษัทไทยวัฒน์ฯ บริษัท มอร์ มอเตอร์ จำกัด และบริษัท China Railway 13th Bureau Group , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ,กิจการร่วมค้า CKTU J/V บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท TOKYU Construction และบริษัท UNIQUE Engineering and Construction Public , กิจการร่วมค้า เอ็น-บี-โอ มีบริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท พรหมวิวัฒน์ จำกัด และบริษัท โอบายาชิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และกิจการร่วมค้า เอส แอนด์ แอล มีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอลโออาร์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2007 11:29 pm    Post subject: Reply with quote

ชง ครม.อนุมัติแผนโลจิสติกส์ รถไฟเชื่อมแหลมฉบัง 2 หมื่น ล.

โดย ผู้จัดการรายวัน 7 ตุลาคม 2550 21:46 น.


คมนาคมชงครม.16 ต.ค.นี้ อนุมัติแผนพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการ (Logistics) ทางรถไฟนำร่อง 2 เส้นทางช่วงขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังและช่วงนครสวรรค์-สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบัง-แหลมฉบัง วงเงินลงทุนเบื้องต้นรวม 20,541.40 ล้านบาทเสนอครม.16 ต.ค.นี้ คาดลดต้นทุนขนส่งสินค้าภาคเกษตรจากอีสานออกท่าเรือแหลมฉบังได้ปีละ100 ล้านบาท พร้อมรถไฟสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) ปรับวงเงินเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่าในระหว่างตรวจเยี่ยมเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือวานนี้( 7 ต.ค.) ว่า จากที่กระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายในการจัดทำโครงการนำร่องการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการ (Logistics) ทางรถไฟซึ่งมีโครงการนำร่อง 2 เส้นทางจากจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมต่อขนส่งรูปแบบต่างๆ ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง คือ ช่วงขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังและช่วงนครสวรรค์-สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบัง-แหลมฉบัง วงเงินลงทุนเบื้องต้นรวม 20,541.40 ล้านบาทระยะเวลาดำเนินงาน 7 ปี (2551-2557)
โดยโครงการมีเป้าหมายเพื่อประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และแก้ไขปัญหาการจราจรโดยการขนส่งด้วยระบบรางแทนการขนส่งทางถนน โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะจัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นในวันนี้ (8 ต.ค.) ซึ่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นรวมถึงผู้ประกอบเอกชนจากจ.นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา เพื่อสรุปแผนรวมซึ่งประกอบด้วย ระบบราง ระบบรถขนส่งสินค้า ย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY:Container Yard) เพื่อนำเสนอขออนุมัติกรอบการดำเนินงานจากคณะรัฐมนตรีในวันที่ 16 ต.ค.นี้

ทั้งนี้ในแผนการดำเนินงานในด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวม 20,198 ล้านบาทประกอบด้วย ระยะเร่งด่วน คือ

1. การจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 5 คัน
2. แคร่บรรทุกตู้สินค้า 125 คัน วงเงิน910 ล้านบาท

นอกจากนี้จะมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่

1. เส้นทางฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กม.วงเงิน 5,850 ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณจากครม.แล้ว
2. เส้นทางฉะเขิงเทรา-คลองสิบเก้า–แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. วงเงิน 7,648 ล้านบาทดำเนินการตั้งแต่ปี 2552-2556
3. เส้นทางมาบกะเบา-ปากช่อง-นครราชสีมา ระยะทาง 126 กม.วงเงิน 11,640 ล้านบาท ระยะดำเนินการ 2552-2557

4. นอกจากนี้จะมีการพัฒนาลานขนถ่ายตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ทางรางรถไฟในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังระหว่างท่าเทียบเรือชุดB และC
5. การปรับปรุงขยายถนนเทศบาลทางเข้าย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) วงเงิน 43.40 ล้านบาท (ท้องถิ่นดำเนินการ)
6. การจัดตั้งโรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าว จ.นครสวรรค์ วงเงิน 300 ล้านบาท

นายสรรเสริญกล่าวว่า โครงการแรก ช่วง ขอนแก่น-นครราชสีมา-ท่าเรือแหลมฉบัง จะเป็นการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสาร แป้งมันสำปะหลัง และน้ำตาลทรายเป็นหลัก ซึ่งในปี 2549มีปริมาณขนส่งสินค้าทางรถไฟรวม 22,000 ตันต่อเดือน คาดว่าความต้องการจะเพิ่มเป็น 48,000 ตันต่อเดือนทำให้ร.ฟ.ท.ต้องจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก5 คัน แคร่บรรทุกตู้สินค้า 125 คัน รวมวงเงิน 910ล้านบาท และพนักงานขับหัวรถจักร 54 คนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการรถไฟที่จะเพิ่มขบวนเที่ยววิ่งรถจาก 55 ขบวนต่อเดือนเป็น 120ขบวนต่อเดือน

หากดำเนินการตามแผนดังกล่าวได้ จะลดต้นทุนค่าขนส่งได้ 94.56 ล้านบาทต่อปี ลดจำนวนการใช้รถบรรทุก 58,500 เที่ยว ต่อปี (ไป-กลับ) ช่วง นครสวรรค์-ICDลาดกระบัง- แหลมฉบัง จะเน้นขนส่งข้าวสาร ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งผ่านทางรถไฟ ไปยังICDลาดกระบัง และท่าเรือแหลมฉบัง เพียงปีละ 20,00 ตัน

โดยในส่วนนี้จะมีการสนับสนุนให้มีการตั้งโรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวในจังหวัดนครสวรรค์เพื่อที่จะส่งออกโดยทางรถไฟไปยังไอซีดีลาดกระบังและแหลมฉบังได้โดยตรง ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการขนถ่ายได้มากขึ้นรวมทั้งมีแผนโครงการที่จะต้องพัฒนาระบบรางในอนาคตในการก่อสร้างรางคู่ช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118กม. และจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 4 คันและแคร่บรรทุกตู้สินค้า 80 คัน วงเงินจะมีการประเมินในอนาคต

นายสรรเสริญ กล่าวชี้แจงว่าแนวทางหลักในการพัฒนาโครงการดังกล่าวก็เพื่อต้องการเพิ่มความจุของราง โดยการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ในเส้นทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปยังท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากปัจจุบันสภาพรางเก่า รับน้ำหนักได้ต่ำกว่าพิกัด และยังเป็นเส้นทางรถไฟทางเดี่ยว

รวมทั้งต้องมีการจัดหารถจักรและแคร่บรรทุกตู้สินค้าเพิ่ม เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางรถไฟที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยจะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ เพื่อให้การบริหารจัดการขบวนรถไฟขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะต้องมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งต้นทางและปลายทาง ได้แก่การขยายถนนที่จะเชื่อมเข้าสู่ย่านกองเก็บตู้สินค้า(container yard) และพัฒนาลานขนถ่ายตู้สินค้า ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบังอีกด้วย ซึ่งการเสนอครม.เพื่ออนุมัติกรอบการดำเนินโครงการส่วนแผนปฎิบัติ (Action Plan) จะมีการกำหนดในระยะต่อไป และจะพยายามเร่งรัดกรอบการดำเนินโครงการให้เร็วขึ้นเป็น 5 ปีเพื่อให้ทันกับความต้องการพร้อมกันนี้ควรจะเสนอให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อประสานและติดตามการดำเนินงานตามแผนงานหลังจากครม.เห็นชอบ

จากผลการศึกษาของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่าต้นทุนการขนส่งต่อหน่วย ในปัจจุบัน รถบรรทุกคิดเป็น 2.18 บาท/ตัน/ กม. รถไฟ 1.37 บาท/ตัน/กม.ส่วนเรือลำเลียง-ชายฝั่ง อยู่ที่ 0.52 บาท/ตัน/ กม. ในขณะที่ส่วนแบ่งการขนส่งสินค้าทางถนนสูงถึง 86.32 %ทางน้ำ 11.62% ทางราง 2.05 % และ ทางอากาศ 0.01% ซึ่งการขนส่งทางรถไฟในเส้นทางดังกล่าวหากเพิ่มปริมาณอีก 50% จะลดต้นทุนการขนส่งได้100 ล้านบาทต่อปีและสามารถประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงลง3-4 เท่า

นายนคร จันทรศร รองผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ปัจจุบันเส้นทางรถไฟมีขีดจำกัดโดยจาก สถานีท่าพระ จ.ขอนแก่น ไปท่าเรือแหลมฉบัง ใช้เวลา 16 ชม. เนื่องจากต้องเสียเวลาในการกลับรถจักรเพื่อเปลี่ยนเส้นทางที่ ชุมทางฉะเชิงเทรา แก่งคอย และบ้านภาชี ถึง 2ชม.

ดังนั้นร.ฟ.ท.มีแผนระยะสั้นในการทำ Chord Line 5.7 กม. (ฉะเชิงเทรา 1. กม. บ้านภาชี 1 กม. แก่งคอย 3.7 กม.)

นายสรรเสริญกล่าวว่า ในวันที่ 16 ต.ค.นี้คาดว่าจะสามารถเสนอขออนุมัติกรอบแนวทางและวงเงินลงทุน ในการดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายบางซื่อ-รังสิต ซึ่งขณะนี้ทาง สนข.อยู่ระหว่างการปรับแผนการดำเนินโครงการ วงเงินประมาณ62,000 กว่าล้านบาทปรับเพิ่มจากรอบเดิมประมาณ 10,000 ล้านบาท ในส่วนนี้รวมถึงการพัฒนาสถานีบางซื่อ ซึ่งจะเป็นสถานีหลักในการเชื่อมโยงไปยังเส้นทางต่างๆ วงเงิน ประมาณ 20,000 กว่าล้านบาท รวมทั้งล่าสุดยังจะมีการเสนอขออนุมัติให้มีการขยายแนวเส้นทางจากรังสิตไปยังม.ธรรมศาสตร์ ระยะทางประมาณ 10 กม.เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของสถานศึกษา สนามกีฬาธรรมศาสตร์และเป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก โดยคณะกรรมการร.ฟ.ท.จะประชุมเพื่อสรุปแผนในวันที่10 ต.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2007 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม วางแผนรถไฟรางคู่ ขนสินค้าขอนแก่น-แหลมฉบัง

Bangkok Biznews 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550 11:58:00

คมนาคมเผยอยู่ระหว่างศึกษารถไฟรางคู่ขอนแก่น-โคราช-แหลมฉบัง ตามแผนพัฒนาระบบจัดการขนส่งและบริการ ด้าน สนข. ระบุอยู่ระหว่างพิจารณาให้เอกชนร่วมทุน คาดใช้งบประมาณราว 2 หมื่นล้าน ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ขอนแก่น - นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานเปิดการสัมมนา “โครงการการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการ” ที่โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส จ.ขอนแก่น วานนี้ (8 ต.ค.) ว่า กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดทำโครงการนำร่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและลดต้นทุนการขนส่งสินค้า รวมถึงแก้ไขปัญหาการจราจรในการขนส่งด้วยระบบรางแทนการขนส่งทางถนน

โดยโครงการดังกล่าวกำหนดเส้นทางนำร่อง 2 เส้นทาง เส้นทางที่ 1 คือ การขนส่งสินค้าจากสถานีท่าพระ จ.ขอนแก่น และสถานีกุดจิก จ.นครราชสีมา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ส่วนเส้นทางที่ 2 คือการขนส่งสินค้าจากท่าข้าวกำนันทรง จ.นครสวรรค์ ไปยังไอซีดีลาดกระบังและท่าเรือแหลมฉบัง

“โครงการพัฒนาทั้ง 2 เส้นทางนำร่องดังกล่าว จะเน้นการขนส่งระบบราง เพราะเป็นระบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และยังสร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านน้ำมันเชื่อเพลิง ส่วนการสัมมนาในครั้งนี้ ก็จะเปิดรับความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนโครงการ นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในหลักการต่อไป"

แผนสร้างรถไฟรางคู่ขอนแก่น-แหลมฉบัง

นายสรรเสริญ กล่าวว่า การพัฒนาเส้นทางดังกล่าว จะพิจารณาถึงประโยชน์ในทุกส่วน ตั้งแต่อุตสาหกรรมภาคต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากการผลิต การขนส่ง จุดกระจายสินค้า การนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนาระบบการขนส่ง รวมถึงวิธีการบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่ง โดยโครงการนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการ 5-7 ปี

"แม้โครงการนี้จะใช้เวลานานในการดำเนินการ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพื่อให้การขนส่งระบบรางมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

สำหรับเส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังนั้น จะต้องปรับปรุงรางรถไฟให้เป็นรางคู่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนและร่นระยะเวลาขนส่งได้อย่างแท้จริง โดยปัจจุบันการขนส่งสินค้าจากขอนแก่นไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ต้องใช้เวลานานถึง 6 ชั่วโมง เพราะระบบรางเดียวทำให้ต้องคอยสลับระหว่างขาไป-กลับ ทำให้เสียเวลา

อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้มีการขนส่งสินค้าระบบราง ไม่ได้หมายความว่าจะให้ผู้ประกอบการเลิกขนส่งทางถนน แต่เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกมากขึ้น รวมถึงเป็นการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง และรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

สนข.คาดงบประมาณ 2 หมื่นล้าน

ด้านนายวรเดช หาญประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักแผนงาน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากการศึกษาแผนรถไฟรางคู่เส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบัง พบว่า การขนส่งสินค้าที่สำคัญจากขอนแก่นส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบังประกอบด้วย ข้าวสาร แป้งมันสำปะหลัง และน้ำตาล

โดยปี 2549 มีปริมาณการขนส่งทั้งสิ้น 22,000 ตันต่อเดือน หรือปีละ 264,000 ตัน สำหรับสถิติดังกล่าวยังต่ำอยู่ เนื่องจากระบบขนส่งทางรถไฟมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนรถจักร และอุปกรณ์ส่วนควบในการบรรทุกสินค้า รวมถึงบุคลากร ทำให้การขนส่งสินค้าทางรถไฟได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการน้อย

“การขนส่งสินค้าจากภาคอีสานไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยเส้นทางรถไฟเฉลี่ยเดือนละ 55 ขบวน แต่จากการสำรวจความต้องการขนส่งที่แท้จริงพบว่ามีความต้องการถึง 120 ขบวนต่อเดือน ดังนั้นการรถไฟฯ จำเป็นต้องเพิ่มความสะดวกในการขนส่งระบบรางในภาคอีสานให้มากขึ้น เช่นอาจต้องเพิ่มรถจักรอีก 5 ขบวน”

นายวรเดช กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หากโครงการนำร่องการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งทางรถไฟ เส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังสำเร็จ จะทำให้การขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นจาก 22,000 ตันต่อเดือน เป็น 48,000 ตันต่อเดือน คิดเป็นเที่ยวขบวนรถไฟที่จะเพิ่มขึ้นอีก 65 ขบวนต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้ถึง 7.88 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 94.56 ล้านบาทต่อปี รวมถึงยังสามารถลดการใช้รถบรรทุกขนส่งตู้สินค้าทางถนนได้ถึง 4,875 เที่ยวต่อเดือน

สำหรับโครงการนำร่องฯ เส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังดังกล่าว คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 7 ปี ระหว่างปี 2551-2557 โดยจะมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งรับผิดชอบโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ การจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าเพิ่มเติม พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ และการก่อสร้างรางคู่ในเส้นทางจากภาคอีสาน-ไอซีดีลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงขยายถนนเทศบาลทางเข้าย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard: CY) ของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 20,241.40 ล้านบาท โดยการจัดหางบประมาณขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า จะให้ภาคเอกชนเข้ามาลงร่วมลงทุนได้ในส่วนใดบ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2007 12:16 am    Post subject: Reply with quote

สรรเสริญ ตีปี๊บดันระบบขนส่งเชื่อมแหลมฉบัง
วางรถไฟเป็นพระเอกชี้สารพัดปัญหารุมทึ้งเข็นลำบาก
Siamturakij [ ฉบับที่ 836 ประจำวันที่ 13-10-2007 ถึง 16-10-2007]



คมนาคมตีปี๊บเร่งพัฒนาระบบขนส่ง สั่ง สนข. ร.ฟ.ท.กทท.จัดทำโครงการนำร่องพัฒนาลอจิสติกส์เพื่อประหยัดพลังงานลดต้นทุน กำหนดเดินเครื่องนำร่อง 2 โครงการ คือ “ขอนแก่น-แหลมฉบัง” และ “นครสวรรค์-แหลมฉบัง” เน้นขนส่งด้วยราง คาดใช้เวลาดำเนินการ 5-7 ปีเห็นผล “สรรเสริญ” ระบุแม้จะใช้เวลานานแต่ดีกว่าไม่เริ่มเลย “วรเดช” เผยความต้องการขนสินค้าเกษตรทางรางปีละ 120 ขบวน แต่ขณะนี้ทำได้สูงสุดแค่ 55 ขบวน ชี้สารพัดปัญหาไม่เอื้อ มีรางเดียว ต้องรอหลีก ช้า ทำเวลาไม่ได้ ออกไม่ตรงเวลา หัวรถจักรเก่า ความจุบางช่วงเต็ม

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึง การพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งในอนาคต ว่า ในการดำเนินการนั้นต้องให้ความสำคัญไปพร้อมกัน ทั้ง 5 ด้าน คือ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบรางรถไฟ ท่าเรือ และโครงข่ายถนนที่จะเชื่อมโยงการขนส่งจากแหล่งผลิตไปสู่ตลาด ผ่านผู้ส่งออกจนไป ถึงมือผู้บริโภค 2.การพัฒนาระบบคลังสินค้า 3.การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่ง 4.การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในระบบขนส่ง และ 5.สำคัญที่สุดก็ว่าได้ คือ ความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จนถึงการ ดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทั้งหมด นี้จะมีส่วนช่วยให้การพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่ง หรือลอจิสติกส์ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ประสบผลสำเร็จ

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดทำโครงการนำร่องการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและลดต้นทุนการขนส่งสินค้า รวมถึงแก้ไขปัญหาการจราจรในการขนส่งด้วยระบบรางแทนการขนส่งทางถนน โดยโครงการดังกล่าวกำหนดเส้นทางนำร่อง 2 เส้นทาง เส้นทางที่ 1 คือ การขนส่งสินค้าจากสถานีท่าพระ จ.ขอนแก่น และสถานีกุดจิก จ.นครราชสีมา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ส่วนเส้นทางที่ 2 คือการขนส่งสินค้าจากท่าข้าวกำนันทรง จ. นครสวรรค์ ไปยังไอซีดีลาดกระบังและท่าเรือแหลมฉบัง

“โครงการพัฒนาทั้ง 2 เส้นทางนำร่อง ดังกล่าว จะเน้นการขนส่งระบบราง เพราะเป็นระบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และยังสร้างผล กระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนการสัมมนาในครั้งนี้ ก็จะเปิดรับความคิดเห็น เพื่อ นำไปสู่การจัดทำแผนโครงการ นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในหลักการต่อไป”

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเส้นทางดังกล่าว จะพิจารณาถึงประโยชน์ในทุกส่วน ตั้งแต่อุตสาหกรรมภาคต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากการผลิต การขนส่ง จุดกระจายสินค้า การนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนาระบบการขนส่ง รวมถึงวิธีการบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่ง โดยโครงการนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนิน การ 5-7 ปี แม้โครงการนี้จะใช้เวลานานในการดำเนินการ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพื่อให้การขนส่งระบบรางมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับเส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังนั้น จะต้องปรับปรุงรางรถไฟให้เป็นรางคู่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนและร่นระยะเวลาขนส่งได้อย่างแท้จริง โดยปัจจุบันการขนส่งสินค้าจากขอนแก่นไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ต้องใช้เวลานานถึง 6 ชั่วโมง เพราะระบบรางเดียวทำให้ต้องคอยสลับระหว่างขาไป-กลับ ทำให้เสียเวลา อย่างไรก็ดีการผลักดันให้มีการขนส่งสินค้าระบบราง ไม่ได้หมายความว่าจะให้ผู้ประกอบการเลิกขนส่งทางถนน แต่เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกมากขึ้น รวมถึงเป็น การลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง และรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

ด้านนายวรเดช หาญประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักแผนงาน (ระดับ 9) สนข. กล่าวว่า จากการศึกษาแผนรถไฟรางคู่เส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบัง พบว่า การขนส่งสินค้าที่สำคัญจากขอนแก่นส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบังประกอบด้วย ข้าวสาร แป้งมันสำปะหลัง และน้ำตาล โดยปี 2549 มีปริมาณการขนส่งทั้งสิ้น 22,000 ตันต่อเดือน หรือปีละ 264,000 ตัน สำหรับสถิติดังกล่าวยังต่ำอยู่ เนื่องจากระบบขนส่งทางรถไฟมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนรถจักร และอุปกรณ์ส่วนควบในการบรรทุกสินค้า รวมถึงบุคลากร ทำให้การขนส่งสินค้าทางรถไฟได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการน้อย

“การขนส่งสินค้าจากภาคอีสานไปยังท่าเรือแหลมฉบังโดยเส้นทางรถไฟเฉลี่ยเดือนละ 55 ขบวน แต่จากการสำรวจความต้องการขนส่งที่แท้จริงพบว่ามีความต้องการถึง 120 ขบวนต่อเดือน ดังนั้นการรถไฟฯ จำเป็นต้องเพิ่มความสะดวกในการขนส่งระบบรางในภาคอีสานให้มากขึ้น เช่นอาจต้องเพิ่มรถจักรอีก 5 ขบวน”

ทั้งนี้ หากโครงการนำร่องการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งทางรถไฟ เส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังสำเร็จ จะทำให้การขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นจาก 22,000 ตันต่อเดือน เป็น 48,000 ตันต่อเดือน คิดเป็นเที่ยวขบวนรถไฟที่จะเพิ่มขึ้นอีก 65 ขบวนต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้ถึง 7.88 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 94.56 ล้านบาทต่อปี รวมถึงยังสามารถลดการใช้รถบรรทุกขนส่งตู้สินค้าทางถนนได้ถึง 4,875 เที่ยวต่อเดือน

สำหรับโครงการนำร่องฯ เส้นทางขอนแก่น-นครราชสีมา-แหลมฉบังดังกล่าว คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 7 ปี ระหว่างปี 2551-2557 โดยจะมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งรับผิดชอบโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ การจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าเพิ่มเติม พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ และการก่อสร้างรางคู่ในเส้นทางจากภาคอีสาน-ไอซีดีลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงขยายถนนเทศบาลทางเข้าย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) ของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 20,241.40 ล้านบาท โดยการจัดหางบประมาณ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า จะให้ภาคเอกชนเข้ามาลงร่วมลงทุนได้ในส่วนใดบ้าง ส่วนวงเงินลงทุน จัดตั้งโรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวบริเวณพื้นที่ จ.นครสวรรค์คาดว่าใช้เงินลงทุนราว 300 ล้านบาท

ด้านดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์ รองผู้ อำนวยการฝ่ายการเดินรถ (ด้านบริการ) ระดับ 12 ร.ฟ.ท. กล่าวถึงปัญหาและสาเหตุ ของ ร.ฟ.ท. ว่า ปัญหาของ ร.ฟ.ท.คือ ขบวน รถช้า/เสียเวลา ขบวนรถออกต้นทางไม่ตรง เวลา เพราะต้องรอรถจักร รอพนักงาน และไม่สามารถเดินขบวนรถเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ สาเหตุเนื่องมาจากสภาพทางในปัจจุบันชำรุดทรุดโทรม เพราะว่าอายุการใช้งานนาน ความจุทางบางช่วงเต็ม และรถจักรและรถสินค้าไม่เพียงพอให้บริการในปัจจุบัน รวมทั้งพนักงานด้านปฏิบัติการไม่เพียงพอ สำหรับแนว ทางแก้ไขในระยะเร่งด่วน คือ 1.เร่งซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนทั้งด้านโดยสารและสินค้า ให้อยู่ในระดับเพียงพอกับการใช้งานใน ปัจจุบัน 2.เร่งซ่อมทางในส่วนที่เหลือ 3. วางแผนกำลังคนอย่างเป็นระบบ 4.เร่งรัดการอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการรถไฟฯ

ด้านนายโชคชัย คัมภิรานนท์ ประธาน บริษัท เอ็น.ดี.ซี ลอจิสติกส์ จำกัด และ R&C Intertrans Co.,Ltd. กล่าวว่า กระบวนการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างเป็นระบบ เพื่อ สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า คือ ต้องตรงเวลา ไปถูกสถานที่ตามที่ตกลง ปริมาณถูกต้อง คุณภาพตามที่ตกลง ราคาที่เหมาะสม และทีมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่ง เหล่านี้มีความสำคัญในการประกอบการด้าน ลอจิสติกส์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การ สัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เมื่อรัฐบาลมองเห็นความสำคัญการขนส่งด้านลอจิสติกส์ด้วยรถไฟ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐบาลต้องพึ่งเอกชน และเอกชนก็ไม่สามารถ ขาดทางภาครัฐได้ในการร่วมมือกันผลักดัน ให้ลอจิสติกส์ไทยสามารถแข่งขันกับ ต่างชาติได้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©