Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181367
ทั้งหมด:13492602
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ขุ-ด อ่านว่า ขุด ครับ วันนี้มาว่าด้วยเรื่องรถจักรไอน้ำมั่ง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ขุ-ด อ่านว่า ขุด ครับ วันนี้มาว่าด้วยเรื่องรถจักรไอน้ำมั่ง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2007 2:34 pm    Post subject: Re: เชื้อเพลิงที่ใช้ในรถจักรไอน้ำ Reply with quote

pak_nampho wrote:
เฮีย และ ป๋า ถ้าผมจะแจ้งในกระทู้นี้ได้ไหม ? เรื่อง อัตราหน่วยล้อเลื่อน และ กำหนด ความยาวขบวนรถ


ไม่ขัดข้องแต่ต้องกำหนดแหล่งอ้างอิงข้อมูลด้วยก็จะดี
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 29/11/2007 3:52 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์คัมมิ่นท์ ขออนุญาตฝากในกระทู้ของอาจารย์ด้วยครับ ถ้าอาจารย์ให้โอกาส ผมอาจเสริมข้อมูลบ้าง

Click on the image for full size
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 29/11/2007 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

ตามสบายเลยครับ จะเพิ่มเติมเสริมข้อมูลอะไรได้เลยครับ จะได้มีความหลากหลาย และเป็นข้อมูลหลาย ๆ ช่องทางครับ ช่วย ๆ กันดู เพื่อความแม่นยำถูกต้องนะครับ ขอบคุณครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 30/11/2007 1:01 pm    Post subject: Re: เชื้อเพลิงที่ใช้ในรถจักรไอน้ำ Reply with quote

suraphat wrote:

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในรถจักรไอน้ำนั้น เราก็จะใช้ไอดงเป็นส่วนใหญ่ เพราะไอดงนั้น มีทั้งอุณหภูมิ และความดันที่สูงมากแปรตามกันไป


ดังนั้นด้วยเหตุนี้ ก่อนที่หัวรถจักรจะออกวิ่ง ต้องมีเวลาในการอุ่นหัวรถจักรอยู่ก่อน เพื่อต้มน้ำให้มีสถานะเป็นไอดงที่เพียงพอก่อนที่จะออกวิ่งนะ ซึ่งถ้าไอดงมีมากเกินไปแล้ว เจ้าไอดงส่วนเกินที่ว่านี้ก็จะระบายออกทาง วาล์วนิรภัย(Safety Valve) เพื่อรักษาระดับความดันที่มีในท่อไอดงให้คงที่ไว้นะ

ซึ่งเวลาที่ใช้อุ่นตัวจะมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่รวมภายในท่อไอดงด้วย คือรถจักรแต่ละชนิด จะมีเวลาอุ่นที่ไม่เท่ากัน



ขออธิบายเรื่องนี้สักหน่อยนะครับ รถจักรไอน้ำของประเทศไทยที่เคยมีใช้กันมาในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีทั้งรถจักรไอน้ำที่ใช้ไอเปียก (ไอที่เกิดจากการต้มน้ำแล้วนำมาใช้ดันลูกสูบเลย) เช่น รถจักรไอน้ำหมายเลข 7 ที่หน้าตึกบัญชาการรถไฟ หรือ รถจักรไอน้ำบรัชหมายเลข 63 ที่บริเวณสถานีกบินทร์บุรี และรถจักรไอน้ำที่ใช้ไอดง ( ไอที่เกิดจากการต้มน้ำแล้วนำมาผ่านความร้อนอีกครั้งเพื่อให้ความชื้นที่ยังมีอยู่กลายตัวเป็นไอให้หมด) เช่น รถจักรไอน้ำทั้ง 5 คันที่ประจำการอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรีในตอนนี้ หรือ รถจักรไอน้ำคันใหญ่ทั้งหลายที่จอดเป็นอนุสรณ์ตามที่ต่างๆ พวกนี้เป็นรถจักรไอดงทั้งหมด

ไอดงนั้น คือ การนำเอาไอน้ำที่มีความความชื้นมาเผาด้วยความร้อนอีกครั้งโดยจะทำให้ความชื้นกลายตัวเป็นไอ ซึ่งนอกจากไอดงจะมีความร้อนเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาตรก็จะเพิ่มขึ้นตามอีกด้วย แต่แรงอัดต้องคงที่ ปริมาตรที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถที่ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับรถจักรที่ใช้ไอเปียกที่ใช้น้ำในจำนวนที่เท่ากัน นั่นก็คือ ระยะทางที่วิ่งได้ไกลกว่า

ส่วนไอน้ำที่มีการระบายออกทางลิ้นนิรภัย หรือ safety valve นั้น เป็นไอน้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำที่ยังไม่ได้ผ่านการดงนะครับ ไอที่ผ่านการดงมาแล้วจะเข้าหีบไอและจ่ายลงสู่กระบอกสูบเพื่อขับเคลื่อนเลย ( แต่ถ้าแรงดันในกระบอกสูบสูงเกินก็จะมีลิ้นนิรภัยของกระบอกสูบเพื่อระบายแรงดันออกต่างหาก) ลิ้นนิรภัยของหม้อน้ำในปัจจุบันของแปซิฟิคและมิกาโดจะทำการปล่อยไอน้ำทิ้งที่แรงดัน 12.5 - 13 กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตร เพื่อป้องกันหม้อน้ำระเบิด


ส่วนการถ่ายเทความร้อนจากเตาไฟให้กับน้ำภายในหม้อเพื่อให้เกิดไอน้ำนั้น จะมีพื้นที่ดังนี้ คือ ท่อไฟเล็ก , ท่อไฟใหญ่ และพนังเตาไฟ แต่สองส่วนแรกจะมีความสำคัญมากกว่า ซึ่งการนำความร้อนจากเตาไฟผ่านท่อไฟเล็กและท่อไฟใหญ่นี้จะต้องมีแรงดูดจากห้องควัน ( บริเวณที่อยู่ใต้ปล่อง) มาช่วยด้วย การที่จะสร้างไอน้ำให้ได้เร็วหรือช้ามีตัวแปรหลายส่วนเข้ามาประกอบ ทั้งคุณภาพของน้ำเอง , ตะกรันที่จับตัวอยู่รอบท่อไฟ , เชื้อเพลิง , แรงดูดภายในห้องควัน , อากาศจากภายนอกที่เข้าผ่านเข้ามาภายในเตาไฟมากเกิน เป็นต้น




suraphat wrote:
อีกอย่างหนึ่งที่ขอบอกไว้เลยว่า ที่เราพบเห็นว่ามีการต่อรถจักรเป็นแบบ 2 หัวต่อกันนั้น ความจริงแล้ว ในเวลาทำขบวนไปนั้น จะมีรถจักรเพียงคันเดียวเท่านั้น ที่เป็นคันกำลัง(คือคันนำ)ที่แท้จริง ส่วนคันที่เหลือนั้นเป็นคันพ่วงไปนะโดยออกแรงเหมืนกันนะแต่น้อยกว่าคันนำนะ โดยที่คันพ่วงนี้ก็จะต้องมีการอุ่นเครื่องไปด้วยในขณะทำขบวนไปนะ เนื่องจากจะคอยหนุนในเวลาที่คันนำมีปัญหา(คือเป็นคันสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน)นะ ซึ่งจริงๆแล้วหัวรถจักรเพียงคันเดียว ก็สามารถทำขบวนได้แล้วนะ

ซึ่งจริงๆแล้วกระผมก็อยากจะเห็น การจัดรถในแบบชนหัวท้ายของขบวนนะ เพื่อรูปขบวนที่สวยนะ



สุดท้ายคือเรื่องของการลากจูง รถจักรไอน้ำทั้งสองคันที่ใช้ในการทำขบวนนั้นจำเป็นต้องใช้กำลังทั้งสองคันครับ อันมีเหตุผลมาจากหน่วยลากจูงนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันรถจักร 1 คัน สามารถลากตู้ บชส. ได้ 5 - 6 โบกี้เท่านั้น อีกทั้งกำลังอัดของกระบอกสูบก็ไม่เต็มที่ดังแต่ก่อน ทำให้ทุกวันนี้ต้องลดหน่วยลากจูงลงจากเดิมเหลือเพียงเท่านี้ ถ้าถามว่ารถจักรไอน้ำเพียงคันเดียววิ่งทำขบวนได้ไหม ? คำตอบก็จะอยู่ที่หน่วยลากจูงและจำนวนเครื่องห้ามล้อ อันจะส่งผลต่อความเร็วและการหยุดของขบวนรถนั่นเองครับ
Back to top
View user's profile Send private message
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 30/11/2007 4:17 pm    Post subject: Re: เชื้อเพลิงที่ใช้ในรถจักรไอน้ำ Reply with quote

suraphat wrote:
แหม! ผมว่านะ ก่อนอื่นนั้น ผู้เรียนก็น่าจะมารู้จักกับ สถานะต่างๆของน้ำเสียก่อนนะ เพราะนอกจากจะมีสถานะเป็นของเหลวอย่างที่เราได้ใช้กันแล้ว เมื่อเป็นไอน้ำ(Vapor)แล้วจะมีสถานะเป็นเช่นไร เพราะมีทั้งสถานะไอน้ำอิ่มตัว(Saturated Vapor) และมีสถานะเป็นไอดง(Overheated Vapor)



ขออนุญาตคุณ suraphat แก้ไข สถานะไอดง จากคำว่า Overheated Vapor เป็น Superheated ด้วยครับ ขอบคุณครับ


Last edited by anusorn on 30/11/2007 6:41 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 30/11/2007 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

Cummins wrote:
ตามสบายเลยครับ จะเพิ่มเติมเสริมข้อมูลอะไรได้เลยครับ จะได้มีความหลากหลาย และเป็นข้อมูลหลาย ๆ ช่องทางครับ ช่วย ๆ กันดู เพื่อความแม่นยำถูกต้องนะครับ ขอบคุณครับ


ขออนุญาตเสริมเพิ่มเติมของคุณ Conrail ครับ

ไอน้ำ ( Steam ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ไอเปียก ( Saturated Steam ) คือไอซึ่งเกิดจากน้ำที่ถูกเชื้อเพลิงเผาจนเดือด และเมื่อเดือดแล้วถ้าได้รับความร้อนทวีขึ้น น้ำก็จะกลายเป็นไอลอยอยู่เหนือระดับน้ำในหม้อ ส่วนจุดน้ำเดือดนี้มีส่วนสัมพันธ์กับแรงอัด ถ้าแรงอัดยิ่งมากจุดน้ำเดือดก็ยิ่งสูง เช่น

แรงอัด 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเซ็นติเมตร จุดน้ำเดือด 120 ดีกรีเซนติกราด

แรงอัด 5 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเซ็นติเมตร จุดน้ำเดือด 160 ดีกรีเซนติกราด เป็นต้น

ไอเปียกนี้ มีความชื้นเป็นละอองน้ำปนอยู่ และรถจักรที่ใช้ไอน้ำชนิดนี้ เรียกว่ารถจักรไอเปียก ( Saturated Steam Locomotive )

ตามที่กล่าวแล้วว่า ไอเปียกมีความชื้นปนอยู่ ฉะนั้น เมื่อไอน้ำต้องวิ่งมาตามท่อไอมากระทบความเย็นของหีบไอ และกระบอกสูบ ความชื้นก็ยิ่งทวีขึ้น โดยไอน้ำกลายเป็นน้ำ แรงอัดก็ลดน้อยลงตามส่วน จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้รถจักรไอเปียกมีกำลังลากจูงน้อย

2. ไอดง ( Superheated Steam ) คือ เอาไอเปียกมาเผาด้วยความร้อนของเชื้อเพลิงอีกครั้งหนึ่ง ความชื้นเช่นละอองน้ำที่ปนอยู่ จะกลายเป็นตัวไอหมด นอกจากนี้ ความร้อนของไอดงยังทวีขึ้นด้วย น้ำมีคุณสมบัติอีกอย่างคือ ถ้าความร้อนทวีขึ้น บริมาตร ( Volume ) จะทวีขึ้นเช่นเดียวกัน แต่แรงอัดต้องอยู่คงที่ เช่น

ไอเปียก แรงอัด 11 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร มีปริมาตร 0.16 เมตรลูกบาศก์

ไอดง แรงอัด 100 ดีกรีเซนติกราด แรงอัด 11 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร มีปริมาตร 0.19 เมตรลูกบาศก์

ไอดง แรงอัด 200 ดีกรีเซนติกราด แรงอัด 11 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร มีปริมาตร 0.21 เมตรลูกบาศก์

ไอดง แรงอัด 300 ดีกรีเซนติกราด แรงอัด 11 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร มีปริมาตร 0.24 เมตรลูกบาศก์

จากตัวเลขข้างบนนี้แสดงว่า น้ำ 1 กิโลกรัม ถ้าเอาไปดงให้พิ่มความร้อนขึ้น 300 ดีกรีเซนติกราด เนื้อที่เมื่อเทียบกับไอเปียก ทวีขึ้นถึง 0.07 เมตรลูกบาศก์ ซึ่งหมายความว่า น้ำที่หนักเท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกสูบเคลื่อนไปมาของรถจักรไอดง จะได้มากครั้งกว่ารถจักร ไอเปียก หรืออีกนัยหนึ่ง จำนวนน้ำเท่ากันรถจักรไอดง จะวิ่งได้ระยะทางไกลกว่า รถจักรไอเปียก

นอกจากคุณสมบัติที่กล่าวแล้ว ไอดงยังมีคุณสมบัติอีกอย่าง คือ เนื่องจากความร้อนจัดเมื่อมากระทบความเย็นของหีบไอ และกระบอกสูบ ก็ไม่กลายเป็นตัวน้ำ ความร้อนเป็นแต่เพียงลดลงเล็กน้อย ฉะนั้น รถจักรไอดง จึงมีกำลังลากจูงดีกว่า รถจักรไอเปียก

เครื่องดงไอ ( Super heater ) มีหลายชนิด แต่ชนิดที่ใช้กับรถจักรของกรมรถไฟ มากที่สุดคือ ชมิดท์ ( Schmidt Type ) ซึ่งเป็นนามของนายช่างกลชาวเยอรมัน เป็นผู้ประดิษฐ์ ซึ่งแข็งแรง , เหมาะกับเชื้อเพลิงที่ใช้ , และการบำรุงรักษาง่าย

วิธีดงไอ คือ ไอเปียกซึ่งผ่านเข้ามาทางเครื่องกำหนดไอ เมื่อพนักงานขับรถเปิดคันกำหนดไอ ไอจะวิ่งมาตามท่อไอในหม้อน้ำ เข้าไปในรังไอ ( Header ) ในรังไอนี้ มีห้อง 2 ห้อง ห้องขับหลัง คือห้อง ไอเปียก ห้องขับหน้า คือ ห้องไอดง

ครั้งแรก น้ำจะเข้ามารวมที่ห้องไอเปียกจากห้องนี้ น้ำจะวิ่งไปตามท่อไส้ไก่ ( Super heated Element ) ซึ่งขดอยู่ภายในท่อไฟใหญ่ ( Large Jlue ) เพื่อรับความร้อนเพิ่มขึ้น วิ่งวนกลับไป
กลับมา รวม 4 เที่ยว จึงมารวมที่ห้องไอดง ในรังไอ แล้วจึงผ่านมาตามท่อไอดีในห้องควัน มาที่หีบไอ เมื่อลิ้นเปิด จึงลงกระบอกสูบเพื่อทำการเคลื่อนลูกสูบ

ท่อไส้ไก่ มีขนาดเล็กมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ไอน้ำได้รับความร้อนเร็วขึ้น อีกประการหนึ่ง ปลายท่อไส้ไก่ทางเตาไฟนั้น ( ถ้าพิจารณาดูรูปประกอบ ) แล้วจะเห็นว่า ท่อไส้ไก่นี้ โค้งงอ
กลับเสียก่อน ไม่เลยไปจนถึงผนังเตาไฟ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ไฟเผาปลายท่อให้เกิดการชำรุด

ที่มา แนวการสอนวิชารถจักรไอน้ำ บรรยายโดย
หลวงวิทูรวิธีกล วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล
นายอาชว์ กุญชร ณ. อยุธยา วิศวกรอำนวยการกองลากเลื่อน
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................


Last edited by pak_nampho on 01/12/2007 9:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
KaittipsBOT
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 4150

PostPosted: 30/11/2007 7:10 pm    Post subject: Reply with quote

Razz เมื่อกูรูเรื่องรถไอน้ำมาเจอกัน มีการดีเบสกันเล็กน้อย...... ผลประโยฃน์ย่อมตกอยู่กับสมาชิกรถไฟไทยดอทคอมผู้ใฝ่รู้.......และผู้แสวงหา สุดยอดจริงๆ สุดยอดจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 30/11/2007 9:30 pm    Post subject: กระผมขอทำความเข้าใจเสียใหม่เกี่ยวกับการเกิดไอดง Reply with quote

จากที่ได้มีสมาชิกได้อภิปรายมานั้น กระผมไม่ทราบว่าด้วยความเข้าใจในแบบนี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่ ในเรื่องของการเกิดไอดงคือ ถ้าเราต้มน้ำในภาชนะปิดจนเดือด ซึ่งอุณหภูมิ และความดันในขณะที่น้ำกำลังเดือดนี้ จะเท่ากับ 100 องศาคงที่ตลอดเวลา ที่ความดัน 1 บรรยากาศ ต่อมาเมื่อนำเดือดจนหมดภายในภาชนะปิดใบนี้ก็จะเต็มไปด้วยไอน้ำที่ชื้น

จากนั้นเราก็ยังคงเพิ่มความร้อนเข้าไปอีก อุณหภูมิของไอน้ำเหล่านี้ก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจะไม่เท่ากับ 100 องศาอีกต่อไปแล้วแล้ว ซึ่งก็จะส่งผลให้ความดันในภาชนะปิดใบนี้ก็พลอยสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งถ้าภาชนะปิดใบนี้ไม่แข็งแรงพอแล้ว ก็อาจจะเกิดระเบิดได้ เนื่องจากความดันที่เกิดขึ้นมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นมานี้จากการที่เราเผาไอน้ำที่กำลังร้อนอยู่นี้นะ ซึ่งเจ้าไอน้ำที่อยู่ในสภาวะแบบนี้(คือมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 100 องศา และความดันจะไม่ใช่ที่ 1 บรรยากาศนะ) เขาเรียกว่าไอดงนะ(ไม่รู้จะใช่หรือเปล่า)

ส่วนที่เราเห็นวาล์วนิรภัยนั้น ก็จะมีหน้าที่ที่จะมาควาบคุม ความดันของไอน้ำที่เรากำลังเผาตัวนี้ ไม่ให้เกินค่าที่กำหนดไว้

แบบว่าที่บ้านของกระผมในขณะนี้ ก็มีหมอนึ่งความดัน อยู่ 1 ใบนะ ซึ่งครั้งหนึ่งกระผมด้วยความไม่รู้ในเรื่องแบบนี้ ก็เคยเผลอไปเปิดวาล์วตัวหนึ่งเข้า เป้นผลให้มีไอน้ำที่กำลังเผาอยู่นี่รั่วออกมาทางวาล์วนี้อย่างแรงจนเป็นไอน้ำสีขาวๆฟุ้งเต็มไปหมดนะ จนมีคนมาเตือนว่าต่อไปนี้ห้ามไปเปิดวาล์วตัวนี้อีก เพราะหม้อต้มนี้อาจจะเกิดระเบิดได้ แต่ให้ปล่อยให้วาล์วนิรภัยเขาทำงานกันไปเองจะดีที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่าขณะที่เราเปิดนี้ความดันของไอน้ำนี้มีอยู่ภายในถังเท่าใด ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของวาล์วนิรภัยของหม้อใบนี้ไปจะดีกว่านะ

ซึ่งไอน้ำที่อยู่ภายในถังในตอนนี้เราเรียกว่าไอดงนะ

แบบว่าหม้อนึ่งความดันใบนี้ คุณพ่อผมเขาไว้ใช้สำหรับนึ่ง อุปกรณ์ทางการแพทย์นะ จำพวก สำลี ผ้าก๊อซ หรือด้ายเย็บแผลนะ แต่กระผมเคยนำหม้อใบนี้มาใช้สำหรับนึ่งก้อนเชื้อเห็ดฟาง หรือเห็ดหูหนูนะ อย่าตลกนะ เพราะคุณพ่อผมเขานานๆใช้ที

ซึ่งความดันที่เกิดขึ้นมาในถังปิดใบนี้ เขาก็นำมาใช้ในการขับเคลื่อนลูกสูบได้อย่างนี้ใช่หรือไม่ และเมื่อลูกสูบนี้ได้ขยายตัวแล้ว ความของไอน้ำเหล่านี้ก็จะลดลงไปจนเหลือน้อยมาก ซึ่งถ้าเรานำเอาไอน้ำที่ว่านี้ไปต่อเข้าอีกด้านหนึ่งของฝาสูบแล้ว ลูกสูบนี้ก็จะเคลื่อนไปมาได้นะ


ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่กระผมอยากจะทราบเลยก็คือหน่วยลากจูงของรถจักรไอน้ำนะ รถจักรดีเซลนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะอย่างไรเสีย ก็จะเป็นการตอบได้ว่าทำไมรถจักรไอน้ำถึงต้องใช้ถึง 2 คันนะ ซึ่งแน่นอนมันก็เกียวข้องกับหน่วยลากจูงนี้แน่นอน อย่างหนีไม่พ้น

ซึ่งตรงนี้กระผมจึงได้ไปพยายามหาว่าหน่วยลากจูงของรถจักรไอน้ำในแต่ละรุ่นนี้มีเท่าไหร่ แต่ก็หาไม่ได้ซะทีนะ

ส่วนที่ว่าอยากจะให้จัดรูปขบวนเสียใหม่เป็นว่าให้เอาหัวรถจักรไอน้ำนี้มาชนขบวนหัวท้ายนี้ ก็เนื่องจากจะเป็นรูปขบวนที่สวยมากเลย โดยจะให้ 2 หัวที่ว่านี้ทำงานประสานกันไปมา แทนที่จะนำมาพหุหัวรถกันอยู่อย่างนี้นะ

ส่วนที่ว่าทำไมกระผมถึงเรียกไอดงว่าOverheat แทนที่จะเรียกว่า superheat นั้น ก็เนี่องจากว่าไม่ได้นึกถึงคำๆนี้มาก่อนเลยนะ

ซึ่งนี่ก็คล้ายๆกับคำว่าส้วม ที่ในอังกฤษเขาจะใช้คำว่า Toilet ส่วนในสหรัฐฯนั้นเขาจะใช้คำว่า Rest Room หรือในมาเลเซียเขาจะใช้คำว่า Tadas นะ

ซึ่งเชื่อหรือไหมครับว่ากระผมเคยเอาคำว่า"ส้วม"นี้ไปใช้ในสหรัฐว่า Toilet หรือ Tadas ก็ยังเคยเลยจนเขามาถามใหม่ว่า ที่คุณพูดนี้หมายถึงอะไรเลยนะสิ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
pixcel
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 26/12/2006
Posts: 43
Location: บ้านหมี่ ลพบุรี

PostPosted: 01/12/2007 8:19 am    Post subject: Reply with quote

เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ...
Back to top
View user's profile Send private message
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 01/12/2007 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

ตอบคุณ suraphat เป็นบางข้อครับ

- Safety Valve หรือวาล์วนิรภัยจะมีกลไกที่ตั้งเอาไว้ ตัวอย่างเช่น สปริง โดยสปริงจะมีความแข็งค่าหนึ่ง เมื่อแรงดันไอน้ำภายในมีมากพอที่จะเอาชนะแรงกดของสปริงได้ สปริงที่กดแผ่นปิดช่องทางไหลก็จะยกตัวเพื่อระบายไอน้ำออกให้ความดันภายในหม้อลดลงจนน้อยกว่าที่จะสู้แรงดันสปริงได้ก็จะปิดกลับสู่สภาวะเดิมครับ

การที่คุณ suraphat เปิดวาล์วออกก่อนที่มันจะระบายไอน้ำออกเองนั้น แสดงว่าเป็นการระบายทิ้งก่อนที่ความดันภายในจะสูงถึงจุดที่วาล์วทำงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของหม้อครับ แต่จะเป็นอันตรายต่อผู้เปิดตรงที่จะโดนไอร้อนลวกเอาครับ

ถามว่าหม้อจะระเบิดไหม? ตรงกันข้ามเลยครับ ไม่ระเบิดแน่นอนเพราะเป็นการไประบายความดันให้ลดลง แต่ถ้า Safety Valve ไม่ทำงานสิครับ บึ้ม แน่นอน

- ส่วนคำว่า Superheated Steam นั้นเป็นศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกลในวิชาสายความร้อนและของไหลครับใช้เรียกไอร้อนยิ่งยวดหรือไอดง จะไม่ใช้คำว่า Overheated ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
Page 3 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©