Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180038
ทั้งหมด:13491270
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2008 11:53 am    Post subject: Reply with quote

ย้ำงบเก่าพอสร้างรถไฟฟ้า
โพสต์ทูเดย์ 20 มีนาคม 2551

— “สันติ” ยันต้นทุนเหล็กที่ปรับสูงขึ้น ไม่กระทบต่อกรอบวงเงินเดิม ที่ ครม.เคยอนุมัติ 2.59 แสนล้านบาท

นาย สันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า จากราคาเหล็กในตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม 20-30% ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าก่อสร้างในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงปรับเพิ่มขึ้นตามนั้นคาดว่าจะไม่ กระทบต่อกรอบค่าก่อสร้างในภาพ รวมของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเฟสแรก ที่ผ่านการพิจารณาของ ครม. ในวงเงิน 2.59 แสนล้านบาท สำหรับค่าก่อสร้างรถไฟฟ้า 6 เส้นทาง


“ขณะนี้ รฟม.ยังไม่ได้รายงานเรื่องราคาค่าเหล็กมา หากเขาเสนอมาต้องพิจารณารวมไปว่า จะมีราคาค่าวัสดุก่อสร้างหรือส่วนอื่น ที่ต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ แต่การปรับค่าก่อสร้างขึ้น จะต้องไม่เกินกรอบวงเงินงบประมาณในการก่อสร้างรถไฟฟ้าเฟสแรกตามที่ ครม.กำหนด” นายสันติ กล่าว


ด้านนายประภัสร์ จงสวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า อยู่ระหว่างเร่งรัดทางบริษัทที่ปรึกษาสรุปวิเคราะห์ตัวเลขต้นทุน ที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นตามภาวการณ์ของตลาดที่เปลี่ยนไป ซึ่งในการประเมินอย่างไม่เป็นทางการพบว่า ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 10-15% ซึ่งเป็นหน้าที่ของ รฟม.ที่ต้องนำเสนอข้อเท็จจริง ส่วนการตัดสินใจเป็นเรื่องระดับนโยบายเหตุผลที่เสนอ เพื่อให้การกำหนดราคาในการประมูลสอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากที่สุด เพราะหากไม่สามารถคัดเลือกเอกชนเข้ามาดำเนินการได้ จะทำให้โครงการต้องล่าช้าออกไป 6–7 เดือน


สำหรับราคาประเมินที่จะใช้ในการประกวดราคาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท และส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค วงเงิน 7 หมื่นล้านบาท เป็นการประเมินมูลค่าโครงการตั้งแต่ปี 2548 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับราคาให้เหมาะกับความเป็นจริง


นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ได้ข้อยุติในการกำหนดรูปแบบและเตรียมสรุปและจะออกแบบแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. พร้อมเปิดประมูลในเดือน ต.ค.-พ.ย. 2551 นี้ ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี เริ่มปี 2552


ทั้งนี้ รถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะทาง 14.5 กม.เป็นโครงการเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต มีสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารบริเวณสถานีราชวิถี ต่อไปจะเชื่อมต่อจากสถานีมักกะสันไปถึงหัวหมาก เป็นโครงสร้างยกระดับเพื่อรองรับผู้ใช้จากถนนศรีนครินทร์เข้าสู่ตัวเมือง ในอนาคตจะเปลี่ยนศูนย์กลางต่อเชื่อม จากสถานีหัวลำโพงเดิมกระจายไปยังจุดอื่นๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2008 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.รับลูกนายกฯเร่งซื้อรถไฟฟ้า กทม.

Dailynews 20/03/2008

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา อนุมัติตามมติการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางฯ ครั้งที่ 1/2551 มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดโครงการระบบขนส่งมวลชนตามมติ ครม.โดยเร็ว เพื่อให้การก่อสร้างโครงการเป็นไปตามเป้าหมายประกอบด้วย

1. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
2. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

3. พร้อมให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบ สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทร ปราการ สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค รวมถึงการปรับแนวเส้นทางให้เชื่อมกับสถานีตากสินของสายสีเขียว เข้าเสนอ ครม.เห็นชอบต่อไป

นอกจากนี้ให้ สนข. และ รฟม. เร่งศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดในเส้นทางเพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล ได้แก่ ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเข้มช่วงสะพานใหม่ถึงลำลูกกาคลอง 4 และสายสีเขียวอ่อน จากสมุทรปราการถึงบางปู และให้กระทรวง มหาดไทยมอบหมาย รฟม.กำกับดูแลสัมปทาน เพื่อให้เส้นทางต่อเนื่อง โดยให้รัฐจ่ายคืนเงินค่าก่อสร้างทางวิ่งและตัวสถานีช่วงสะพานสาทร-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ที่ กทม.ได้จ่ายไป ให้คลังพิจารณาซื้อหนี้จากเจ้าหนี้ ของ บีทีเอส รวมถึงเข้าถือหุ้นบีทีเอส ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2008 8:19 am    Post subject: Reply with quote

BTSปลื้มชี้ผลสำรวจผู้โดยสารพอใจสูงขึ้น

โดย ผู้จัดการรายวัน 20 มีนาคม 2551 12:59 น.


ผู้จัดการรายวัน - บีทีเอสปลื้มผลสำรวจดุสิตโพลพบผู้โดยสารพึงพอใจการบริการบีทีเอสเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในการเดินรถไฟฟ้าสูงสุด ขณะที่ด้านความคุ้มค่าของราคาค่าโดยสารต่ำสุด หวั่นพันธมิตรร่วมทุนใหม่บีทีเอสลังเลหลังมีกระแสข่าวรัฐต้องการซื้อบีทีเอส ทำให้บีทีเอสออกจากการฟื้นฟูฯส่อแววเลื่อน

นายอาณัติ อาภาภิรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(บีทีเอส) เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการจำนวน 1,563 คน ปรากฏว่า


1.ความพึงพอใจ:
1.1 ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยเฉลี่ยสูงกว่าปีที่แล้ว จาก 3.82 เป็น 3.97 โดยใช้เกณฑ์การวัดระดับความพึงพอใจอยู่ที่คะแนนเต็ม 5

1.2 ผู้โดยสารมีความพอใจอยู่ในระดับมากในเรื่องความปลอดภัยในการเดินรถไฟฟ้า ที่ได้ค่าเฉลี่ยมากสุดถึง 4.12

1.3 สำหรับด้านคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกบนสถานีและในขบวนรถ ได้ค่าเฉลี่ย 4.02

1.4 ด้านความน่าเชื่อถือของการเดินรถไฟฟ้า ค่าเฉลี่ย 4.01
1.5 ด้านการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูล ค่าเฉลี่ย 3.93
1.6 ด้านบัตรโดยสาร ค่าเฉลี่ย 3.77
1.7 ด้านความคุ้มค่าของราคาค่าโดยสาร อยู่ที่ 3.72 และ
1.8 ด้านการบริการของพนักงานบนสถานี อยู่ที่ 3.78

เมื่อเทียบกับคุณภาพการให้บริการรถไฟฟ้า ก็มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าปีก่อนเช่นกัน เนื่องจากผู้โดยสารยังคงให้ความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัยของระบบการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส

2. ผู้โดยสารต่อวัน
2.1 ปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยในวันทำการมีจำนวน 428,020 คน
2.2 ในวันเสาร์ เฉลี่ย 329,440 คน และ
2.3 วันอาทิตย์ เฉลี่ย 247,585 คน
2.4 โดยที่จำนวนผู้โดยสารในปี 2551 มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 1.51 % เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550

ซึ่งการสำรวจความพึงพอใจดังกล่าวบริษัทฯ ได้จัดทำขึ้นทุกปีเพื่อใช้เป็นเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับส่วนต่อขยายเส้นทางการให้บริการที่จะมีขึ้นในอนาคต

แหล่งข่าวในวงการ กล่าวว่า ขณะนี้บีทีเอสยังไม่ได้ยื่นที่จะขอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากยังไม่ได้มีการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯได้ครบถ้วน ซึ่งบริษัทจะต้องหานักลงทุนใหม่มาซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท ก่อนนำเงินเพิ่มทุนนี้ไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ รวมทั้งออกหุ้นเพิ่มทุนให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนก่อน ซึ่งขณะนี้บีทีเอสอยู่ระหว่างการเจรจาหาพันธมิตรใหม่

อย่างไรก็ตาม ตามที่รัฐบาลต้องการเข้ามาซื้อบีทีเอสเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและจัดการโครงข่ายรถไฟฟ้านั้น จะทำให้การเจรจาหาพันธมิตรบีทีเอสทำได้ยากขึ้น เนื่องจากเกิดความไม่มั่นใจในนโยบายรัฐ แม้ว่านักลงทุนจะคลายความกังวลกรณีที่มีเจ้าหนี้บางรายได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งฟื้นฟูฯศาลล้มละลายแล้วก็ตาม จึงมีความเป็นไปได้จะเลื่อนการออกจากแผนฟื้นฟูฯ

ก่อนหน้านี้ทางบีทีเอสเคยมีแผนจะออกจากแผนฟื้นฟูฯจากกลางปี 2550 แต่ได้เลื่อนมาเป็นเดือนเม.ย.2551แทน

// ------------------------------------------------------------------
“พนิช” จวก “สมัคร” ทำแสบ โยกรถไฟฟ้าสายสีเขียวพ้น กทม.

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 มีนาคม 2551 08:03 น.


หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติตามมติการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางฯ ครั้งที่ 1/2551 ว่า ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งเป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนที่ กทม.รับผิดชอบ พร้อมกับให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมร่วมกับ สนข.ในการทำส่วนต่อขยายสายสีเขียวอ่อน-เข้มเพิ่มเติมออกไปอีกนั้น

นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า โดยหลักการหากเป็นมติของ ครม.กทม.ก็ต้องดำเนินการตาม แต่ในตอนนี้ตนยังมองไม่เห็นประโยชน์ ทั้งนี้ ในส่วนต่อขยายที่ กทม.กำลังดำเนินการอยู่นั้นก็มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จ และถ้ารัฐจะนำกลับไปดำเนินการเองแสดงว่ารัฐบาลไม่มีความจริงจังในการที่จะกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น อีกทั้งการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะเป็นหน้าที่ที่ท้องถิ่นอย่าง กทม.ต้องรับผิดชอบการให้บริการสาธารณะ ซึ่งที่ผ่านมาได้ให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.ไปตั้งคณะกรรมการศึกษาโดยให้ดูทั้งข้อกฎหมาย ข้อสัญญาที่ได้ทำไว้กับเอกชนอย่าง บ.บอมบาดิเอร์ กับ บีทีเอสซี รวมถึงการชดใช้เงินคืนให้กับ กทม.อีกด้วย

ส่วนที่มอบหมายให้ รฟม.มากำกับดูแลสัมปทานนั้น ตนเห็นว่า รฟม.มีความสามารถระดับหนึ่งในการบริหารจัดการ แต่ กทม.ก็มีความมุ่งมั่นที่ดำเนินการทำส่วนต่อขยายดังที่เห็นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งงบประมาณที่จะใช้ก็ได้รับการอนุมติจากสภากทม.แล้ว ดังนั้นถ้ารัฐอยากจ่ายเงินค่าก่อสร้างทางวิ่ง ตัวสถานี ที่ กทม.ได้จ่ายไปก็อยากให้นำเงินส่วนนี้มาให้ กทม.ใช้สร้างส่วนต่อขยายหรือทำสายทางอื่นเพิ่มเติมดีกว่า

ส่วนการซื้อหุ้นคืนจากบีทีเอสซีของรัฐบาล ตนเห็นว่า ทางบีทีเอสซีสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว และถ้ารัฐนำไปดำเนินการเองจะสามารถบริหารจัดการได้ดีหรือไม่ และต่างประเทศก็ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนเพื่อจะได้เกิดการแข่งขันโดยเฉพาะเรื่องราคาค่าโดยสารที่จะถูกลงเพราะมีเอกชนหลายเจ้า

“เป็นหน้าที่ที่ท้องถิ่นต้องรับผิดชอบ และเมืองหลวงมีปัญหาจราจรอันดับหนึ่ง ตนไม่เข้าใจว่าในเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เคยเป็นผู้ว่าฯกทม.มาแล้ว และช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้มีการผลักดันส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ามาโดยตลอด แต่ทำไมเมื่อเป็นนายกฯแล้วต้องการนำสิ่งที่เคยได้ผลักดันมาตลอด และ กทม.กำลังดำเนินการเพื่อประชาชนไปทำเอง และที่สำคัญจริงๆแล้วอยากให้รัฐบาลโอนระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดมาให้กทม.ดูแลมากกว่าเพราะ กทม.รู้ปัญหาดีที่สุด”นายพนิช กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2008 9:43 pm    Post subject: Reply with quote

“สันติ”เหยียบคันเร่งรถไฟฟ้าพร้อมหาช่องยึดคืน BTS

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มีนาคม 2551 17:14 น.


รัฐบาลเหยียบคันเร่งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายรวดในปีนี้ ประเดิมสายสีม่วง สายสีแดง 3 ทิศทางและส่วนต่อขยายสายสีเขียว พร้อมเตรียมยึดคืนบีทีเอส หาช่องซื้อคืนหนี้จากเจ้าหนี้ต่างประเทศ ด้าน“สันติ พร้อมพัฒน์” รับลูกเดินหน้าขายซองประกวดราคาสายสีเขียว มิ.ย.-ก.ค.นี้

เคาะแล้วสำหรับการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า โดยปีนี้จะได้เห็นเข็มต้นแรกตอกลงในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าอย่างน้อย 3 เส้นทาง ประกอบด้วย สายสีม่วง เฟส 1 สายสีแดง 3 ทิศทางและส่วนต่อขยายสายสีเขียว 3 ทิศทาง รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆมูลค่าลงทุนกว่า 770,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังทำหน้าที่ในการหาแหล่งเงินทุน ซึ่งในเบื้องต้นอาจจะเป็นการออกพันธบัตรระดมทุน อายุ 30 ปี อัตราผลตอบแทนดอกเบี้ย 5.1-5.2 คาดว่าน่าจะสามารถออกพันธบัตรในล็อตแรก 5,000 ล้านบาทในเดือนเม.ย.นี้

ทั้งนี้ วงเงินลงทุน 770,000 ล้านบาท ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะหรือสบน. กระทรวงการคลัง จะแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกใช้เงินลงทุน 259,000 ล้านบาทและเฟส 2 อีก 510,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งจะใช้เงินกู้จากเจบิก โดยในวันที่30 มี.ค.2551 หมอเลี้ยบ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเดินทางไปเซ็นสัญญาเงินกู้กับเจบิก งวดแรก18,000 ล้านบาทที่ประเทศญี่ปุ่น

นอกจากรัฐบาลจะเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้ว รัฐบาลยังมีแนวคิดที่จะเจรจาซื้อคืนหนี้จากเจ้าหน้าที่ต่างประเทศของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(บีทีเอสซี) 89 % เจ้าของ BTS และจะจ่ายเงินลงทุนให้แก่กทม.ในส่วนการลงทุนส่วนต่อขยาย ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลเป็นเจ้าของสัมปทานแทนกทม.และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบโครงการต่อไป

สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐบาลมีแผนจะซื้อคืนหนี้จากเจ้าหน้าที่ต่างประเทศนั้น ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อยุติ และเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการ กระทรวงคมนาคมจะเดินหน้างานก่อสร้างสายสีเขียวทั้ง 2 เส้นทางตามกำหนดเดิม พร้อมออกแบบสถานีที่ต่อเชื่อมกับ BTS ที่สถานีอ่อนนุช และสถานีหมอชิตไว้ด้วย โดยทำเป็นสัญญาเพิ่มเติมซึ่งหากการเจรจามีข้อยุติก็สามารถเดินหน้าก่อสร้างได้

อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาล้มเหลว กระทรวงคมนาคมมีแผนรอบรับด้วยการให้ขสมก. จัดหารถชัตเตอร์บัสขนาด 30 ที่นั่ง ไว้รับ-ส่งผู้โดยสารแทน พร้อมกับให้ สนข.ออกแบบโครงการเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางจากแบริ่ง-ศรีนครินทร์ -บางกะปิ (รถไฟฟ้า แอร์พอร์ตเรลลิงค์) ด้วย โดยจะเริ่มดำเนินการประมูลก่อสร้างในปี 2553

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนแบริ่ง-สมุทรปราการ (บางปู) และสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา (คลอง 4) สามารถเปิดขายเอกสารประกวดราคา ได้เร็วขึ้น 1-2 เดือน จากกำหนดเดิม คือ เดือนมิ.ย.-ก.ค.เนื่องจากรฟม.และสนข.สามารถเร่งรัดขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้เร็วขึ้นอีก 1-2 เดือน สำหรับสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และสีแดง บางซื่อ-รังสิต สามารถเดินหน้าการทำงานได้ทันที

ด้านประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสนข.กล่าวภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ งานออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน ว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ได้ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จแล้ว ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถขายเอกสารประกวดราคาได้ภายในเดือน ก.ค.นี้

โดยโครงการดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่งของกทม.ที่สถานีแบริ่ง(E14) สำหรับส่วนต่อขยายช่างแบริ่ง-สมุทรปราการ มีทั้งหมด 9 สถานี ประกอบด้วย

สถานีสำโรง
สถานีปู่เจ้าสมิงพราย
สถานีพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
สถานีโรงเรียนนายเรือ
สถานีศาลากลาง (ตรงข้ามพระสมุทรเจดีย์)
สถานีศรีนครินทร์
สถานีแพรกษา
สถานีสายลวดและ
สถานีเคหะชุมชน
รวมระยะทาง13 กม. เป็นทางยกระดับ มูลค่าโครงการ 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็น งานโครงสร้างพื้นฐาน 14,000 ล้านบาท งานระบบ 5,500 ล้านบาท ค่าเวนคืน ประมาณ 670 ล้านบาท โดยมีการเวนคืน 251 แปลง 158 ไร่ เป็นอาคาร 90 หลัง และพื้นที่วางสำหรับใช้เป็นศูนย์ซ่อมบริเวณสิ้นสุดสถานี 160ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของเอกชน

สำหรับสถานีที่มีการเวนคืนมากที่สุด คือ สถานีสำโรงมากถึง 60 หลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารเก่าที่มีการก่อสร้างชิดขอบทาง
Back to top
View user's profile Send private message
puggi
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/07/2006
Posts: 119

PostPosted: 24/03/2008 9:05 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลนอมีนี เค้าจะทำ รางคู่ 1.435 เมตรให้ได้เลยนิ คุณวิศรุต

แล้วเมื่อไหร่จะเสร็จเนี่ย

เฮ้อ โปรเจคกัน ใหญ่ๆ อยู่ได้ มองความเป็นจริง

รางคู่ รางเมตรเดียวเหลือเฟือแล้ว แก้ปัญหาจุดตัด รถไฟก็วิ่งปร๋อ แล้ว Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2008 9:52 am    Post subject: Reply with quote

puggi wrote:
รัฐบาลนอมีนี เค้าจะทำ รางคู่ 1.435 เมตรให้ได้เลยนิ คุณวิศรุต

แล้วเมื่อไหร่จะเสร็จเนี่ย

เฮ้อ โปรเจคกัน ใหญ่ๆ อยู่ได้ มองความเป็นจริง

รางคู่ รางเมตรเดียวเหลือเฟือแล้ว แก้ปัญหาจุดตัด รถไฟก็วิ่งปร๋อ แล้ว Rolling Eyes


ก็ท่านถือ[อ]คติพจน์ว่า:

Quote:
ข้าอยากจะกินหนักกว่าชูชก ใครจะทำไม ข้าจะทำอะไรตามใจข้า ใครจะทำอะไรได้ ...


แค่นี้แล Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2008 11:27 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมกำหนดตารางประมูลรถไฟฟ้า
--------------------------------------------------------------------------------

โดย Post Digital 24 มีนาคม 2551 16:48 น.

รมว.คมนาคม กำหนดตารางประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วง-น้ำเงิน-เขียว-แดง ในปีนี้

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดตารางเวลาในการประมูลรถไฟฟ้าเส้นทางต่าง ๆ ภายในปีนี้ โดยสายแรกที่มีความพร้อม คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง(บางซื่อ-บางใหญ่) ที่จะมีการเปิดขายซองประมูลในช่วงปลายเดือน มี.ค.-ต้นเดือน เม.ย.นี้


จากนั้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ) จะเปิดขายซองประมูลในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.51 โดยอาจแยกดำเนินการเป็น 2 สัญญา, สายสีเขียวอ่อน(ปากทางลาดพร้าว-รังสิตคลองสี่ และ แบริ่ง-บางปู) อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าจะขายซองประมูลได้ราวเดือน ก.ค.51


ส่วนสายสีแดง(บางซื่อ-ตลิ่งชัน)ที่เปิดประมูลไปแล้ว อยู่ระหว่างรอผลการเสนอราคา ซึ่งคาดว่าอีก 1-2 เดือนจะเซ็นสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาได้ และสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) กำลังจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะขายซองประมูลได้ราวเดือนก.ค.-ส.ค.51


รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในปี 52 จะก่อสร้างส่วนขยายเพิ่มเติมจากเส้นทางเดิมออกไปยังนอกเมือง ได้แก่ สายสีเขียวอ่อน(ปากทางลาดพร้าว-รังสิตคลองสี่) จะขยายต่อไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพิ่มการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล(บางกะปิ-บางบำหรุ)

ในปี 53 จะก่อสร้างสายวงแหวนที่ต่อเชื่อมเส้นทางรถไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกและครอบคลุมพื้นที่เพิ่มมากขึ้น คาดว่าจะช่วยลดปริมาณความต้องการใช้รถยนต์ลงได้ราว 40%


ทั้งนี้ รัฐบาลวางกรอบการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็คต์ระบบรางไว้ทั้งสิ้น 7.7 แสนล้านบาท โดยในปีนี้จะใช้งบลงทุนราว 2.59 แสนล้านบาท และเพิ่มเป็น 5.1 แสนล้านบาทในปี 52


สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในโครงการรถไฟฟ้านั้น ในเบื้องต้นสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินจะมาจากเงินกู้ของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(เจบิค) อัตราดอกเบี้ย 1.4% จำนวน 1.4 แสนล้านบาท ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อนจะมาจากกระทรวงการคลังออกพันธบัตรอายุ 30 ปี วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท และส่วนที่เหลืออีกกว่า 1 หมื่นล้านบาทจะใช้งบประมาณแผ่นดิน


รมว.คมนาคม กล่าวว่า ยังได้เร่งรัดการจัดทำโครงการรถไฟรางคู่ทั่วประเทศระยะทาง 2 พันกิโลเมตร ซึ่งจะเชื่อมต่อไปถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยจะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุน
// --------------------------------------------------------

เอกชนเอือมรัฐเหวี่ยงแห-จี้เดินหน้ารถไฟสายแรก

โดย ผู้จัดการรายวัน 24 มีนาคม 2551 21:06 น.


ผู้จัดการรายวัน – เอกชนไม่สนเมกะโปรเจกต์รถไฟฟ้า 9 สายรัฐบาลสมัคร ระบุขอแค่ความชัดเจนและดำเนินการในสายหลัก ที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้าแล้วก็เพียงพอ ชี้แค่นี้ก็สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศได้แล้ว แนะรัฐไม่ควรเหวี่ยงแหกระจายการลงทุนก่อสร้างในทุกเส้นทางพร้อมกัน ด้าน สบน.ระบุทยอยปล่อยขายบอนด์ 30 ปี รวม 9.5 หมื่นล้านเพื่อก่อสร้าง ไม่จำเป็นต้องจัดตั้งวายุภักษ์ 2 ระดมทุน แต่หากจัดตั้งจริงจะมากจากภาครัฐเร่งรีบดำเนินการเฟส 2 เพื่อลดเพดานตัวเลขหนี้สาธารณะเท่านั้น

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายในสัมมนา “รถไฟฟ้า 9 สาย Big Goal ยกเครื่องประเทศไทย” ว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว เห็นได้จากเร่งดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย ซึ่งเสมือนการลงทุนภาครัฐ เพื่อที่จะเป็นการกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ และกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการซื้อที่อยู่อาศัย เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นวงจรที่ใหญ่มาก

สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายนั้น จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 7.7 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นงบประมาณสำหรับดำเนินการระยะแรก จำนวน 259,000 ล้านบาท และระยะที่สอง จำนวน 5.1 แสนล้านบาท

***ปิ๊งไอเดียสร้างทยอยเปิดสถานี**
รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สิ่งที่นากยกรัฐมนตรีและภาครัฐต้องการจะเห็นคือ การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆต้องเสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี หายถึงตั้งแต่เริ่มมีกรลงนามในสัญญา (30 เดือน) และช่วงในการทดสอบระบบ 5- 6 เดือนก่อนให้บริการ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีแนวคิดให้ระหว่างที่ดำเนินกรก่อสร้างอยู่นั้น หากเส้นทางไหนสามารถก่อสร้างสถานีให้แล้วเสร็จตั้งแต่ 3 สถานีขึ้นไปให้สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ในทันที โดยในส่วนสถานีที่เหลือก็ให้ดำเนินการก่อสร้าง และทยอยเปิดให้บริการเพิ่มเติมต่อไป

“เมื่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าเฟส และเฟส 2 แล้วเสร็จ เรื่องต่อไปคือการสร้างวงแหวนระบบรถไฟฟ้า เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง โดยเมื่อการดำเนินการดังก่าวแล้วเสร็จเชื่อว่าจะสามารถลดการจราจรลงได้ถึงร้อยละ 40 ของปริมาณรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งหากเป็นไปตามที่ต้องเป้าไว้เชื่อว่าจะมีประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้าถึงร้อยละ 60 ซึ่งหายถึงต้นทุนที่ใช้ในการดำเนินทางลดลง 100,000 ล้านบาท/ปีเมื่อเฟสที่ 1 เปิดให้บริการ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ล้านบาท/ปี เมื่อเฟสที่ 2 เปิดให้บริการ”

อย่างไรก็ตามในส่วนของงบประมาณที่ใช้ในกรก่อสร้างนั้น สำหรับระยะแรก จะแบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ (เจบิก) จำนวน 140,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 1.4% รวมทั้งการออกพันธบัตร (บอนด์) 30 ปี ของกระทรวงการคลัง จำนวน 95,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 10,000 กว่าล้านบาทนั้น มาจากงบประมาณภาครัฐในปี 2552 เพื่อนำมาใช้สำหรับค่าเวนคืนที่ดิน ฯลฯ

***หวังดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม**

นายสันติ กล่าวว่า ช่วงนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่ายต่าง ๆ เพราะนักลงทุนชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น ภายหลังจากทีเกิดปัญาหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่สหรัฐอเมริกา และรุกรามไปถึงประเทศในทวีปยุโรป ดังนั้นการสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 เส้นทางจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้กระตุ้นกรลงุนจากนักลงทุนเหล่านี้ให้หันมาสนใจเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ในทุกเส้นทาง เพื่อเป็นการกระจายรายได้ และเพิ่มจำนวนงานให้ประชาชนในจังหวัดต่างๆตามเส้นทาง รวมทั้งเป็นการช่วยต้นทุนค่าขนส่งที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลมีแผนที่ให้ทางรถไฟสายคู่ในเส้นทางต่างๆไปเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป้าหมายสู่กรเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งในภูมิภาค

***เอกชนขอชัดเจนแค่1สายก็พอใจ**

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า เมื่อได้รับฟังความคิดและความมุ่งมั่นของภาครัฐจะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ส่วนตัวมองว่าภาครัฐไม่ควรเร่งกระจาย หรือดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกเส้นทางให้เกิดขึ้นพร้อมกันในทันที แต่ควรดำเนินการก่อสร้างในเส้นที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้แล้ว จำนวน 3 -4 เส้นทางให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อทำให้เกิดปัจจัยบวกแก่ประเทศไทย ในด้านจิตวิทยาด้านการลงทุนกับนักลงทุนชาวต่างประเทศ

“ส่วนตัว แต่สร้างหรือดำเนินการอย่างจริงจังแต่ 1 สาย ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ภาครัฐไม่ควรกระจายก่อสร้างในทีเดียวทุกสาย โดยควรให้ความสำคัญกับสายหลัก หรือสายที่มีคามคืบหน้าหรือความชัดเจนมากแล้วก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม ดังนั้นจะก่อสร่งรถไฟฟ้ากี่สายนั้นไม่ใช่ปัญหาของผูประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่ที่ทุกคนเฝ้ารออยู่นั่นคือความชัดเจนในการดำเนินการก่อสร้างนั่นเอง”

ทั้งนี้ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า เรื่องที่สำคัญของภาครัฐในตอนนี้คือ เรื่องผังเมือง โดยภาครัฐต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ากรุงเทพมหานครจะเป็นศูนย์กลางในเรื่องใด และจังหวัดปริมณฑลรอบกรุงเทพฯจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง เพราะถือว่าเป็นการกำหนดความชัดเจนให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในการสร้างโปรดักส์ที่ตอบสนองตรงความต้องการของประชาชนได้ถูกต้อง ดังนั้นภาครัฐจึงควรดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายผังเมืองของกรุงเทพฯ และปริมาณมณฑลอย่างบูรณาการ

**3สายหลักช่วยกระตุ้นตลาดบ้านเดี่ยว**

ด้านนาย ชายนิด โง้วศิริมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ส่วนตัวยังมองว่าธุรกิจบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ยอดขายลดลง โดยเฉพาะในเส้นทางสายสีม่วงม่วง – เขียว – แดง ที่มีความแน่นอนแล้วจะช่วยผลักดันให้การเติบโตของตลาดบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์กลับมา เพราะหากมีรถไฟฟ้าเปิดให้บริกรได้จริงจะช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องค่าใช้จ่ายได้ ขณะเดียวกันส่วนตัวไม่เชื่อว่ากรปลูกพืชพลังงานทดแทน (ไบโอดีเซล) ร้อยละ 20 ของพลังทั้งหมดจะไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคพลังงานของประเทศ

นอกจากนี้ประเมินว่า ทิศทางของธุรกิจคอนโดมิเนียมจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อต่อไปในอนาคต โดยจากการสำรวจพบว่าคอนโดมิเนียมที่เปิดใหม่นั้น โดยเฉพาะโครงการที่ใกล้กับรถไฟฟ้า จะมียอดจองแล้วกว่าร้อยละ 80 เพราะผู้บริโภคเลี่ยงที่มีค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเพิ่มขึ้น

***แหล่งทุนเฟสแรกพร้อมเสร็จแล้ว**

นายพงษ์ภานุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับแหล่งเงินที่จะมาดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ในเฟสแรกจะเน้นจากเงินกู้และพันธบัตร เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยล่าสุด รฟม.จะมีการเซ็นสัญญากู้เงินกับเจบิกในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงในช่วงปลายเดือนนี้ ขณะที่ บีทีเอส และบีเอ็มซีแอล อาจจะให้กระทรวงคมนาคมเข้าไปเจรจาในปรับปรุงสัมปทานใหม่ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ นอกเหนือจากแนวคิดการเข้าซื้อกิจการที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

“ตอนนี้ เรามีหนี้สาธารณะประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท หรือ 37-38% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับไม่น่ากังวล ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำคือดูแลหนี้สาธารณะไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจนเกินไป ปีนี้งบประมาณปี 2552 อยู่ที่ 1.88 ล้านบาท เรานำมาใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าแค่ 1 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการออกบอนด์ระยะยาว และมาจากการกู้เงินเจบิก โดยเงินกู้เหล่านี้จะไม่มีปรากฏออกมาในงบประมาณทั่วไป แต่จะปรากฏออกมาเมื่อถึงเวลาที่จะต้องชำระเงินเท่านั้น”

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันว่าในการระดมทุนจากการออกบอนด์นั้น ภาครัฐจะทยอยนำบอนด์ดังกล่าวออกมาขายไม่ใช่การขายเพียงครั้งเดียว เพื่อให้ไม่เกิดผลกระทบจากปัจจัยทางกรเงินในช่วงนั้นเข้ามีผลกระทบต่อการระดมทุน ขณะเดียวกันการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เพราะงบประมาณในการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะแรกถูกกำหนดสัดส่วนและแหล่งที่มาของเงินทุนไว้เรียบร้อยแล้ว

***วายุภักษ์ 2 จะเกิดหากรัฐเร่งดำเนินการ**

ดร.พิชิต อัครทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของการจัดหาแหล่งระดมทุนก่อสร้างนั้น มองว่ามีด้วยกัน 2 ส่วน โดยแนวทางแรกคือ ซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน หรือมาจากเงินกู้ และเงินภาษีพิเศษต่างๆ อาทีภาษีน้ำมัน ซึ่งเมื่อครั้งก่อนที่จะมีการปรับลดการจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซล กองทุรสถาบันพลังงานสามารถจัดเก็บเงินภาษีน้ำมันได้ถึงปี 50,000 ล้านบาท โดยหากดำเนินกรได้ 5 ปี ก็จะมีเงินตรงส่วนไว้ถึง 250,000 ล้านบาท

ส่วนที่ 2 มาจากรายได้ในอนาคตของผู้ประกอบการ รวมทั้งรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะสามารถจัดเก็บรายได้ถึง 50,000 – 100,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังจะมาจากการขายหุ้น หรือที่ดินที่ไม่เกิดประโยชน์ของกระทรวงการคลัง แล้วนำไปลงทุนอย่างกองทุนวายุภักษ์ 1 ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการระดมทุนหาแหล่งเงินทุนได้

ขณะที่การจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 เชื่อว่าหากภาครัฐไม่เร่งดำเนินการก่อสร้างระยะที่สองเร็วจนเกินไป ก็ยังไม่มีความจำเป็นหรือต้องรีบเร่งในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เพราะดูจากตัวเลขหนี้สาธารณะขณะนี้ยังไม่ถึงร้อยละ 50 ของจีดีพี แต่หากตัวเลขดังกล่าวมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น การจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 หรือกองทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถือว่าเป็นเครืองมือทางการเงินที่สามารถช่วยเพดานตัวเลขหนี้สาธารณะได้ โดยจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวงเงินที่ต้องการในการจัดตั้งกองทุนนั่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/03/2008 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

ดึงผู้ผลิตรถไฟฟ้าทั่วโลกย้ายมาไทยมั่นใจเป็นฮับ

Dailynews 27/03/2008


นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยเข้าพบว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเชิญชวนนักลงทุนจากทั่วโลกที่สนใจจะเข้ามาร่วมลงทุน และตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าขึ้นในไทย เนื่องจากไทยมีปริมาณความต้องการใช้งานรถไฟฟ้าจำนวนมาก เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 สาย และการขยายรถไฟทางคู่ทั่วประเทศที่จะเกิดขึ้น และมั่นใจว่า ไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตรถไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียได้

อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนเงินกู้แบบผ่อนปรน เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างของคมนาคมโดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งญี่ปุ่นยังพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมกับได้เชิญชวนให้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตและประกอบรถไฟฟ้าทั้งระบบ การผลิตรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเทคโนโลยีการซ่อมแซม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่ผ่านมา เมื่อครั้งรถไฟฟ้าเกิดอุบัติเหตุต้องส่งไปซ่อมยังต่างประเทศใช้เวลาเกือบปี

“ประเทศที่เป็นผู้ผลิตและเป็นต้นตำรับของเทคโนโลยีการผลิตรถไฟฟ้าคงมองเห็นได้ว่า ไทยมีความเหมาะสมเป็นศูนย์กลางในการเป็นผู้ผลิตและตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในภูมิภาคได้”

นอกจากนี้มั่นใจว่านักลงทุนของไทยมีศักยภาพที่จะผลิตและตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าขึ้นในประเทศ โดยอาจร่วมทุนกับนักลงทุนต่างประเทศเพราะเป็นโครงการที่ดี และเป็นการช่วยส่งเสริมทำให้ต้นทุนการผลิตรถไฟฟ้าในประเทศอาจถูกกว่าการต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message
NGarage
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 25/09/2007
Posts: 540
Location: สายใต้เก่า วัดรวกสุธาราม

PostPosted: 27/03/2008 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

ผมว่าเราอาจจะได้เห็นโรงงานผลิตรถไฟฟ้าดังๆในประเทศไทยอย่างเช่น Hitachi Tokyu car Kawasaki Alstom หรือ ซีเมนส์ ก็(อาจจะ)เป็นได้นะครับ
_________________
Click on the image for full size Click on the image for full size
แอร์พอร์ทลิ้งค์
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2008 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

แฉแผนแจ้งเกิดรถไฟฟ้ายุค 'สันติ' + ตัดตอนกระบวนการทำงานจาก 13 เดือนเหลือ 8 เดือนครึ่ง/ระบุ 3 เดือนประมูลได้ 3 เส้นทางแน่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2314 17 เม.ย. - 19 เม.ย. 2551


ฉีดยาเร่งงคลอดรถไฟฟ้าเฟส 1 กว่า 7 เส้นทาง "สันติ" สั่งตัดตอนขบวนการทำงานจาก 13 เดือนเหลือ 8 เดือนครึ่ง หวังลงเสาในปีนี้ตามนโยบายรัฐบาล ด้านรฟม.เตรียมประกาศขายซองประมูลสายสีม่วงได้สัปดาห์หน้า ต่อด้วยสีเขียวเข้ม-อ่อนช่วงมิ.ย.-ก.ค. ส่วนการรถไฟฯคาดเคาะราคาสายบางซื่อ-ตลิ่งชันได้เร็วๆ นี้ ขณะที่สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง-บางแค", สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต" และ สายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ-หัวหมาก" รอความชัดเจนแหล่งเงินลงทุนก่อนกำหนดแผน


นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ไปพิจารณาเร่งรัดขั้นตอนการดำเนินงานให้เร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อแผนงานที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้มีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าภายในปี 51 นี้ 7 เส้นทาง


สำหรับการปรับลดแผนงานรถไฟฟ้า จะให้ปรับลดขั้นตอน ในส่วนของ EIA หรือ การพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากเดิม 2 เดือน เหลือ 1.5 เดือน, ลดขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอ จากเดิม 3 เดือน เหลือ 2 เดือน ลดขั้นตอนการประเมินข้อเสนอ จากเดิม 8 เดือน เหลือ 5 เดือน สรุปรวมระยะเวลา จากเดิม 13 เดือน เหลือ 8.5 เดือน ซึ่งจะช่วยลดเวลาให้สั้นลงจากแผนเดิม ได้ถึง 4.5 เดือน โดยให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับแผนงานให้สอดคล้องกันต่อไป


ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ร่วมกับ ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมาแล้ว คาดว่าจะสามารถประกาศขายเอกสารประกวดราคาได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะขายเอกสารจนถึงช่วงสิ้นเดือน โดยจะให้เวลาระยะหนึ่งแก่ผู้ซื้อเอกสารเพื่อจัดทำรายละเอียดข้อ เสนอ ทั้งนี้การประมูลจะเป็นแบบนานาชาติ (International Bidding) โดยคาดว่าจะได้ผู้รับเหมาที่ชนะประมูลประมาณไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 ปีนี้


ส่วนโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินช่วง บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง-บางแค ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการมีส่วนร่วมของเอกชน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ซึ่งทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะประสานเพื่อขอให้เร่งรัดการพิจารณา เพื่อที่จะได้เปิดประกวดราคาให้ได้โดยเร็ว


อย่างไรก็ดี จะต้องพิจารณาด้วยว่าในส่วนของสายสีน้ำเงินนั้น จะใช้เงินลงทุนจากแหล่งใด หากใช้เงินกู้เจบิค ขั้นตอนการทำงานก็จะต้องมากขึ้น เนื่องจากจะต้องมีคณะทำงานเข้ามาร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงานด้วย แต่หากรัฐบาลตัดสินใจใช้เงินลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ หรือออกพันธบัตรรัฐบาล ก็จะสามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น ในส่วนของการก่อสร้าง รฟม.อาจจะพิจารณาแยกดำเนินการ โดยอาจจะแยกประมูลในส่วนของช่วงหัวลำโพง-บางแคก่อน เพราะเป็นโครงสร้างยกระดับ ก่อสร้างได้ง่าย แล้วจึงเปิดประมูลช่วงบางซื่อ-ท่าพระเป็นช่วงต่อไป


ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า ในส่วนของโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-พหลโยธิน-สะพานใหม่ และสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สำโรง-สมุทรปราการนั้น รฟม. จะประสานกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อขอให้เร่งส่งมอบแบบรายละเอียดให้รฟม. เพื่อนำมาเตรียมการประกวดราคาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้าง ทั้ง 2 ช่วงได้ภายในเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคมนี้


ด้านแหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่ง จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบว่า ภายในปีนี้ การรถไฟฯ มีแผนดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชน 3 โครงการ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งการรถไฟฯ ได้เปิดประกวดราคาไปแล้วโครงการหนึ่ง คือ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นเอกสารประกวดราคา คาดว่าจะสามารถแข่งขันเสนอราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออกชัน ได้ในเร็วๆ นี้


ส่วนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ที่อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด โดยมี สนข. รับผิดชอบอยู่นั้น คาดว่าจะสามารถส่งมอบแบบรายละเอียดให้การรถไฟฯ ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ จากนั้นจะใช้เวลาอีกประมาณเดือนครึ่งในการกำหนดร่างข้อกำหนดการประกวดราคา หรือทีโออาร์ คาดว่าประมาณปลายเดือนกรกฎาคม หรือประมาณสิงหาคมจะสามารถดำเนินการประกวดราคาด้วยวิธีการอี-ออกชันได้


ขณะที่ โครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และ ช่วงบางซื่อ-หัวหมากนั้น คาดว่า สนข. จะส่งมอบแบบการก่อสร้างมาให้การรถไฟฯ ได้ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ จากนั้นจะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) การรถไฟฯ พิจารณา จากนั้นจะได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติความเห็นชอบในการดำเนินโครงการเป็นลำดับต่อไป


แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวต่อว่า ในส่วนโครงการที่การรถไฟฯ รับผิดชอบนั้น คาดว่าจะเป็นไปตามแผนงานที่รัฐบาลกำหนด คือสามารถประกวดราคาและก่อสร้าง ได้ภายในปีนี้ อย่างไรก็ตามในส่วนของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และสายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง กับ บางซื่อ-หัวหมากนั้น จะต้องรอดูความชัดเจนในเรื่องของแหล่งเงินด้วยว่าจะใช้จากแหล่งใด หากจะใช้เงินกู้จากเจบิค ขบวนการก็จะมากขึ้น อาจจะมีผลให้แผนการก่อสร้างต้องยืดออกไป แต่หากใช้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ หรือจากการออกพันธบัตรก็จะสามารถดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ในทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชัดเจนจากรัฐบาล และการพิจารณาจัดหาแหล่งเงินจากกระทรวงการคลัง


อนึ่ง โครงการที่รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการนั้น มีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 770,700 ล้านบาท โดยเร่งรัดให้เริ่มดำเนินการโครงการในระยะแรกภายในปี 2551 นี้ เป็นเงิน 259,700 ล้านบาท รวม 7 เส้นทาง ประกอบด้วย
1. สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ,
2. สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง-บางแค, (2 สาย)
3. สายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่, สายสีเขียวอ่อนแบริ่ง-สมุทรปราการ (บางปู), (2สาย)
4. สายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน,สายสีแดงบางซื่อ-รังสิต-มธ.รังสิต (2 สาย)

รวม 126 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ตั้งแต่ปี 2551 และจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2554 และจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดภายในปี 2558


ส่วนระยะที่ 2 เป็นเงิน 511,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. สายสีส้ม บางบำหรุ-บางกะปิ
2. สายสีเขียว ตากสิน-บางหว้า-พุทธมณฑลสาย 4,
3. สายสีน้ำตาล ศาลายา-บางบำหรุ/บางกะปิ-มีนบุรี,
4. ลูปบางหว้า-เกษตรฯ-ศรีนครินทร์,
5. สายสีม่วง บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ-ป้อมพระจุล,
6. ลูปรัชดาฯ-พระราม 7/ท่าพระ-คลองเตย,
7. สายสีเขียว สะพานใหม่-ลำลูกกา,
8. สายสีแดง หัวลำโพง-มหาชัย

รวม 298 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2552 เป็นต้นไป


ทั้งนี้ ในส่วนของแผนงานระยะที่ 2 นั้น คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นปี 2552 ซึ่งในขณะนี้ ทาง สนข. กำลังเตรียมการว่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อดูความเหมาะสม แบบรายละเอียด ความคุ้มค่า ความคุ้มทุน งบประมาณ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงต้องพิจารณาปรับแนวเส้นทางตามแผนแม่บทเดิม ให้สอดคล้องกับโครงการตามแนวคิดของนายกรัฐมนตรีด้วย
__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 277, 278, 279  Next
Page 4 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©