Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179570
ทั้งหมด:13490802
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สะพานโค้ง ก่อนจะเป็นสะพานจุลจอมเกล้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สะพานโค้ง ก่อนจะเป็นสะพานจุลจอมเกล้า

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
kenshiro
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 09/09/2006
Posts: 950

PostPosted: 04/09/2008 8:31 pm    Post subject: สะพานโค้ง ก่อนจะเป็นสะพานจุลจอมเกล้า Reply with quote

สวัสดีครับ พี่น้องชาวรถไฟไทยดอทคอม ผม kenshiro หรือ เฟิร์ส
ผมได้หนังสือจากลุง ซึ่งผมได้ขอไว้อ่าน คือ "หลายเรื่องเมืองสุราษฎร์" เขียนโดย ทศพล งานไพโรจน์ เนื้อหาเล่มนี้ประกอบด้วยประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่เน้นไปที่ ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน และได้กล่าวถึงสถานีสุราษฎร์ธานี สะพานโค้ง และสะพานจุลจอมเกล้าด้วยครับ

ส่วนที่ผมจะกล่าวถึงนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ในเรื่องของสะพานโค้ง(สะพานข้ามแม่น้ำตาปี) และสะพานจุลจอมเกล้า

มิสเตอร์เฮนรี่ กิตตินส์ วิศวกรชาวอังกฤษ เป็นผู้อำนวยการสร้างทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๒ โดยนำวิศวกรต่างชาติมาร่วมงานและกำหนดช่วงต่าง ๆ จากชุมพรไปยังนครศรีธรรมราช ระยะทาง ๓๑๙ กิโลเมตร ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๓ ไปสิ้นสุดหลัง พ.ศ.๒๔๕๘ นั้นการก่อสร้างต้องผ่านเมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) และข้ามแม่น้ำสายสำคัญ ที่กว้างใหญ่สายหนึ่งที่ตำบลท่าข้าม คือ แม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) จึงสร้างเป็นสะพานเหล็กรูปทรงโค้ง แบ่งเป็นสามช่วง ใช้สำหรับให้รถไฟแล่นผ่านอย่างเดียว

Click on the image for full size
กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร)

เมื่อมาถึงการก่อสร้างตรงนี้ มิสเตอร์กิตตินส์ได้ถวายรายงานต่อกรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร) เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ว่าการก่อสร้างสะพานดังกล่าวต้องใช้งบประมาณ ๑๔๙,๓๖๔ บาท แต่ถ้าจะทำทางคนเดินต้องใช้งบประมาณเพิ่มอีก ๑๓,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๖๒,๓๖๔ บาท แต่ถ้าจะทำทางเกวียนใช้ข้ามด้วย ต้องใช้งบประมาณเพิ่มอีก ๑๔๘,๖๑๐ บาท ทำให้ราคาสูงเกือบเท่ากับการสร้างสะพานรถไฟอย่างเดียว และในท้องถิ่นนี้ยังไม่มีเกวียนใช้มากเหมือนสะพานข้ามแม่น้ำที่เพชรบุรี และราชบุรี อีกทั้งสะพานแห่งนี้อยู่ไกลกับที่ตั้งมณฑล (สมัยนั้นเมืองไชยาขึ้นกับมณฑลชุมพร) จึงยังไม่ควรทำทางเกวียนก่อน จึงขอพระบรมราชานุญาติจากองค์รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว สะพานข้ามแม่น้ำหลวงที่ตำบลท่าข้ามจึงไม่มีทางเกวียน

ปี พ.ศ.๒๔๘๔ ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สุราษฎร์ธานี และรัฐบาลไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะอันมีญี่ปุ่นเป็นแกนนำ ทหารญี่ปุ่นได้ใช้บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำตาปี เป็นจุดตั้งฐานทัพและกักกันเชลยศึกสงคราม และบริเวณนั้นยังเป็นเส้นทางลำเลียงพลไปสู่มลายู สิงคโปร์ และพม่าอีกด้วย สะพานเหล็กที่ตั้งตระหง่านอยู่นี้จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการทำลายเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

พ.ศ.๒๔๘๖ ทหารฝ่ายสัมพันธมิตร ขณะนั้นมีเครื่องบิน บี-๒๔, บี-๒๙ และ บี-๕๒ ใช้ในการทำสงคราม ได้นำเครื่องบิน บี-๒๔ บรรทุกระเบิดมาทิ้งทำลายสะพานแห่งนี้แต่ผิดเป้าหมาย ระเบิดตกลงข้าง ๆ สะพานเพียงแต่ชำรุด ญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกซ่อมแซมจนใช้การได้

หลังจากนั้นอีกไม่นาน สัมพันธมิตรได้นำระเบิดร้อยมาเป้นพวงกับโซ่ พวงละปรมาณ ๕ ลูก ทิ้งลงมาระเบิดทำลายจนกระทั่งหักกลาง จมลงสู่แม่น้ำตาปีตัดเส้นทางทัพของญี่ปุ่นได้สำเร็จ จากนั้นได้นำระเบิดมาทำลายที่ตั้งของถังน้ำมันของทหารญี่ปุ่นในตลาดท่าข้าม เป้นผลให้อาคารบ้านเรือน สถานีรถไฟถูกเผาผลาญวอดวาย ชีวิตผู้คนล้มตายและบาดเจ็บหลายสิบคน

พฤษภาคม 2488 ฝูงบินทิ้งระเบิดบี 24 ถล่มสะพานท่าข้าม ยก 1 ช่วงกลางขาดกระจุย

หลังสงครามสงบ รัฐบาลได้ทำการรื้อถอนสะพานที่ถูกทำลายออกมาวางไว้บริเวณสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี แล้วนำไปก่อสร้างเป็นสะพานข้ามคลองยัน ที่อำเภอคีรีรัฐนิคมเท่าทุกวันนี้

สำหรับสะพานใหม่นั้น รัฐบาลได้ว่าจ้างบริษัท DORMAN LONG CO.LTD. ประเทศอังกฤษ (ผู้สร้างสะพานพุทธยอดฟ้า) มาทำการซ่อมแซมระหว่างรื้อถอนซากสะพาน การสร้างสะพานใหม่ใช้ตอม่อเดิม แต่เปลี่ยนรูปทรงลักษณะใหม่ ไม่เป็นรูปทรงโค้งเช่นเดิม โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง มีทางรถไฟ ทางคนเดิน และช่องกลางเว้นไว้สำหรับรองรับผิวจราจรทางรถยนต์ ใช้เวลาสร้างประมาณ ๖ ปี จึงแล้วเสร็จ ทำพิธีเปิดให้รถไฟแล่นผ่านได้เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ และตั้งชื่อสะพานนี้ว่า "สะพานจุลจอมเกล้า"

เวลาจะผ่านไป ไม่ว่าคนรุ่นไหนลูกเด็กเล็กแดง ก็ยังเรียกติดปากว่า "สะพานโค้ง" แม้แต่ชื่อชุมชนที่อยู่บริเวณนั้นก็เรียกว่า "ชุมชนใต้โค้ง" เพราะ ทางรถไฟที่ จะขึ้นสะพานเป้นทางโค้ง

หวังว่าข้อมูลที่ผมนำเสนอไป คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
_________________
[ We R RFT ]
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 04/09/2008 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับน้องเฟิร์ส ขอบคุณที่นำมาให้ชมกันครับ Very Happy

พี่ว่าพี่เคยเห็นภาพสะพานจุลจอมเกล้าสะพานโค้ง(เดิม) แต่จำไม่ได้แล้วว่าอยู่ในกระทู้ไหน คิดว่าน่าจะอยู่ในกระทู้ประวัติศาสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งของท่าน หจช.เคลื่อนที่วิซซี่แบร์นะครับRolling Eyes

นึกขึ้นมาได้ว่า อ.สมบัติ(อ.ไก่) แห่ง วรฟ. ท่านเคยเอื้อเฟื้อภาพโบราณอันมีคุณค่ายิ่งมาให้ชมจำนวนหนึ่ง มีภาพหนึ่งเป็นภาพสถานีรถไฟติดแม่น้ำและมีเนินเขาหลังสถานีตามภาพนี้ครับ Exclamation

Click on the image for full size

ไม่แน่ใจว่าจะเป็นภาพสถานีสุราษฎร์ธานีหลังเดิมที่ตั้งอยู่คนละจุดกับสถานีสุราษฎร์ธานียุคปัจจุบันหรือไม่นะครับ นึกๆถึงสถานีรถไฟไทยที่ใกล้แม่น้ำและมีเนินเขาหลังสถานีแบบนี้ก็มีแต่สถานีสุราษฎร์ธานี (ท่าข้าม) นี่แหละครับ Rolling Eyes

ถ้าข้อวิเคราะห์นี้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนก็ต้องขออภัยมณีด้วยนะครับ Smile

นสน.าย. Cool
Back to top
View user's profile Send private message
kenshiro
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 09/09/2006
Posts: 950

PostPosted: 04/09/2008 9:18 pm    Post subject: Reply with quote

น่าจะจริงอย่างที่ อ.ตุ้ยว่าล่ะครับ จากรูปที่ อ.ตุ้ย โพสต์เป็นสถานีสุราษฎร์ธานีแน่นอนครับ (ผมจำต้นมะพร้าวด้านอีกฝั่งของแม่น้ำได้)

จากที่ผมได้อ่านในหนังสือเล่มนี้แล้ว (แต่ก็ยังอ่านไม่ละเอียดเท่าไหร่) ได้กล่าวถึงตำแหน่งของสถานีสุราษฎร์ธานีที่มีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งเอาไว้ด้วยครับ แต่ผมนึกไม่ออกว่าตำแหน่งมันอยู่ตรงไหน

และอีกอย่างนึงครับที่ทำให้ผมตะลึงเมื่อได้อ่าน คือ ได้มีสถานีสุราษฎร์ธานี ๒ อยู่ทางฝั่งตรงข้ามฝั่งนั้นด้วยครับ โดยรางจะแยกจากปากสะพานโค้ง มาสิ้นสุดที่วัดท่าข้าม ซึ่งเป้นสถานีชั่วคราวครับ รายละเอียดเดี๋ยวผมต้องกลับไปอ่านอีกทีครับ ยังงงอยู่เลย

ป.ล.ขอขอบคุณพี่ ๆ ด้วยครับ ที่เพิ่มเติมทั้งข้อมูล และรูปภาพ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
_________________
[ We R RFT ]
Click on the image for full size


Last edited by kenshiro on 05/09/2008 5:33 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2008 9:37 pm    Post subject: Reply with quote

kenshiro wrote:
น่าจะจริงอย่างที่ อ.ตุ้ยว่าล่ะครับ จากรูปที่ อ.ตุ้ย โพสต์เป็นสถานีสุราษฎร์ธานีแน่นอนครับ (ผมจำต้นมะพร้าวด้านอีกฝั่งของแม่น้ำได้)

จากที่ผมได้อ่านในหนังสือเล่มนี้แล้ว (แต่ก็ยังอ่านไม่ละเอียดเท่าไหร่) ได้กล่าวถึงตำแหน่งของสถานีสุราษฎร์ธานีที่มีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งเอาไว้ด้วยครับ แต่ผมนึกไม่ออกว่าตำแหน่งมันอยู่ตรงไหน

และอีกอย่างนึงครับที่ทำให้ผมตะลึงเมื่อได้อ่าน คือ ได้มีสถานีสุราษฎร์ธานี ๒ อยู่ทางฝั่งตรงข้ามฝั่งนั้นด้วยครับ โดยรางจะแยกจากปากสะพานโค้ง มาสิ้นสุดที่วัดท่าข้าม ซึ่งเป้นสถานีชั่วคราวครับ รายละเอียดเดี๋ยวผมต้องกลับไปอ่านอีกทีครับ ยังงงอยู่เลย

ป.ล.ขอขอบคุณพี่บอมบ์ด้วยครับ ที่เพิ่มเติมทั้งข้อมูล และรูปภาพ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


สถานีสุราษฏร์ธานีหลังเดิมที่เป็นอาคารไม้ ย้ายจากฝั่งหอประแจ ไปสร้างใหม่ที่ ฝั่ง โรงแรมควีน หลังโดนถล่มยับเยิน

สถานีสุราษฏร์ธานี 2 หนะอยู่ฝั่งเหนือ เลยสถานีสุราษฎร์ธานเดิม ราวๆ 500 เมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©