RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180486
ทั้งหมด:13491720
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2021 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

โฆษณาโรงแรมรถไฟที่หัวหิน เชียงใหม่ และ ที่ หาดใหญ่ ที่น่าจะลงวารสาร อสท. ปี 2511-12
https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/permalink/2816572948672206/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2021 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องตึกแดง ตึกขาว ที่มีข้อผิดพลาดอย่างแรง ตรงที่ ตึกแดงที่เห็นอยู่นี้เปิดใช้งานจริง เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2474 หลังจากที่ ได้ยุบรวมคลังพัสดุเดิม ที่กระจายไปทั่วให้มารวมศูนย์ที่ ตึกแดง นะครับ ที่ทราบก็เพราะผมอ่านรายงานประจำปีกรมรถไฟประจำปี 2474 ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2476
https://www.facebook.com/roomfan/posts/10159366320521419
https://www.baanlaesuan.com/225556/design/design-update/places/once-in-hua-lamphong-2
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟวังหิน อยู่ระหว่างสถานีท่าสักกับสถานีวังกะพี้ เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2452 พร้อมกับการเปิดการเดินรถไฟสายเหนือช่วงจากสถานีชุมทางบ้านดาราถึงสถานีปางต้นผึ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านวังหิน ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมากรมรถไฟได้เปลี่ยนนามสถานีให้ตรงตามทำเนียบท้องที่ส่วนภูมิภาคให้ตรงกับชื่ออำเภอ จาก "สถานีวังหิน" เป็น "สถานีตรอน" เมื่อวันที่ 01 มกราคม 2485
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=301003434785650&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2021 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

ตู้รถไฟโดยสารนี้ผลิต โดย บริษัท The MotroPolitan Amalgamated Birmingham ประเทศอังกฤษ กรมรถไฟนำเข้ามาใช้งานในช่วงปี พ.ศ.2455 สมัยต้นรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันมีอายุ 109 ปี ดูจากลักษณะภายในตู้โดยสารคาดว่าน่าจะเป็นรถพยาบาล ถูกนำมาดัดแปลงเป็นห้องสมุดตามโครงการของตำรวจรถไฟ นำไปตั้งไว้ที่สถานีชุมทางบางซื่อ(ไม่ทราบว่านำมาปีใด) เพื่อเป็นห้องสมุดสำหรับเยาวชน เมื่อมีโครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ได้ทำการรื้อถอนอาคารสถานีชุมทางบางซื่อและปรับพื้นที่โดยรอบ จึงได้ทำการย้ายตู้รถไฟนี้ออก ปัจจุบันนำมาตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3913833552008477&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 3:16 pm    Post subject: Reply with quote

เจ้าฟ้าสวีเดนและคณะ นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกของ “หัวหิน” เมื่อ 100 กว่าปีก่อน

เผยแพร่ วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2564
นักท่องเที่ยวคนแรกของหัวหิน คือ คณะของเจ้าชายวิลเลียมแห่งสวีเดนและสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ในการเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ปี พ.ศ. 2454 เมื่อเจ้าชายวิลเลียมในฐานะราชอาคันตุกะในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (วันที่ 2 ธันวาคม 2454)

เมื่อเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว เจ้าชายวิลเลียม และแกรนดัชเชสมารีพระชายา ไม่ได้เสด็จกลับประเทศทันที แต่ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้พร้อมด้วยพระสหายคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถและหม่อมคัทริน พระชายา คณะของเจ้าชายวิลเลียมเสด็จหัวหิน โดยรถไฟจากชะอําไปหัวหินที่เพิ่งเปิดเดินรถครั้งแรกได้ประมาณ 1 สัปดาห์เท่านั้น คือในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2454

หัวหินเมื่อ 100 กว่าปีนั้นเป็นอย่างไร เจ้าฟ้าวิลเลียมและพระชายาทรงประทับใจหัวหินมากน้อยเพียงใด ปรามินทร์ เครือทอง ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ หัวหิน (สนพ.มติชน, ไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์) เนื้อหาส่วนหนึ่งมีดังนี้

เจ้าชายวิลเลียม (Prince William) แห่งสวีเดน บรรยายความงดงามของหัวหิน เมื่อแรกพบไว้อย่างอัศจรรย์ในหนังสือชื่อ In the Land of Sun พิมพ์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2458 ว่า

“หัวหินคือชื่อของสถานีรถไฟที่ตั้งอยู่บนกอไผ่โค้งงอ ข้างทางเต็มไปด้วยขบวนคาราวานของชาวสยามที่นําทั้งม้าพร้อมอาน และควายเทียมเกวียนอันงดงามมารอคอยต้อนรับพวกเราอยู่ และในไม่ช้าขบวนนี้ก็นําเราโดยสารไปบนผืนทรายเพื่อไปยังชายหาด อย่างลําบากยากเข็ญนําเราไปสู่ชายหาดอันงดงามด้วยทรายสีขาวละเอียดยิบที่เหยียดยาว ไปสู่น้ำทะเลที่ใสราวผลึกแก้ว ลมทะเลอันสดชื่นพัดโชยมาขจัดปัดเป่าความร้อน ทําให้เราสดชื่นขึ้น หลังจากการเดินทางอันยาวนานและเต็มไปด้วยฝุ่นจากการเดินทางโดยรถไฟ”

ส่วนแกรนดัชเชสมารี (Grand Duchess Marie) แห่งรัสเซีย พระชายาเจ้าชายวิลเลียม เขียนหนังสือไว้ 2 เล่ม เล่มหนึ่งคือ L’Education d’une Princess หรือในชื่อภาษา อังกฤษว่า Education of a Princess a Memoir by Marie Grand Duchess of Russia พิมพ์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2473 กล่าวถึงการเดินทางไปหัวหินในคราวเดียวกับเจ้าชายวิลเลียมพระสวามีว่า

“บนชายฝั่ง มีเต้นท์ขนาดใหญ่กางรอเราหลายหลัง ตกแต่งด้วยเครื่องอํานวย ความสะดวกทุกอย่างเท่าที่จะพึงมีได้ เราพักกันที่นี่อยู่หลายวัน ลงเล่นน้ำในทะเลที่ใสบริสุทธิ์ให้ความสดชื่นกันทุกวัน ในขณะที่พวกผู้ชายต่างพากันออกป่าล่าสัตว์”

สิ่งที่น่าสนใจในคําบรรยายเหล่านี้คือ หัวหินที่เจ้าชายวิลเลียมและแกรนดัชเชส มารีทรงบรรยายไว้ในหนังสือทั้ง 2 เล่ม คือหลักฐาน “คําให้การ” ที่อาจจะเก่าที่สุดในการบรรยายภาพชายหาดหัวหินยุคบุกเบิกอย่างแท้จริง ในช่วงเวลาที่หัวหินยัง “บริสุทธิ์” ปราศจากสิ่งก่อสร้าง บ้านพักตากอากาศ หรือตําหนักใดๆ…

วันที่คณะของเจ้าชายวิลเลียมเสด็จมาหัวหิน การเสด็จประพาสของเจ้านายยังไม่คึกคักเหมือนในเวลาต่อมา ยังไม่มีการสร้างตําหนักพักแรมใดๆ การเสด็จไปครั้งนั้นจึงต้องประทับค้างในเต็นท์ที่จัดถวาย

“ห่างจากลูกคลื่นที่กําลังซัดสาดแตกซ่านประมาณ 10 หลา มีแคมป์เล็กๆ ตั้งกระโจมอยู่ เต็นท์แต่ละหลังมีขนาดใหญ่และงดงาม ณ ที่นี้ก็ใช้กฎเกณฑ์เดียวกันนั่นก็คือ ทุกคนล้วนมีเต็นท์เป็นของตนเอง แต่น่าสังเกตตรงที่ว่าเมื่อสองวันก่อนที่พวกเราจะเดินทางมาถึงนั้น บริเวณนี้ยังเป็นที่เปลี่ยวปกคลุมด้วยสุมทุมพุ่มไม้ ไม่เคยปรากฏสิ่งอันเป็นความทันสมัยใดๆ ที่จับต้องได้มาก่อน แต่แล้วที่นี่ก็ได้มีการลงมือลงแรงสร้างงานชิ้นนี้ขึ้นมาได้สําเร็จ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ก็เชื่อแน่ว่าต้องใช้เวลาสร้างไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์เป็นแน่”

ภาพของหัวหินยุคบุกเบิกตามคําบรรยายของเจ้าชายวิลเลียมและแกรนดัชเชส มารี แสดงถึงความบริสุทธิ์ งดงาม และน่าหลงใหล แก่สายตาของผู้พบเห็น นับตั้งแต่วันแรกๆ ที่ชายหาดแห่งนี้ต้อนรับผู้มาเยือนกลุ่มแรกจากแดนไกล

ตั้งแต่วันนั้น หัวหินก็เริ่มเปลี่ยนแปลงจากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่ไม่มีใครรู้จักและจดจําได้ กลายมาเป็น “ริเวียร่าแห่งตะวันออก” ในชั่วข้ามคืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 10:35 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟกำเนิดในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ สมัย ร.๕! แต่วันนี้กำลังจะมีรถไฟเร็วกว่าเครื่องบิน!!
เรื่องเก่า เล่าสนุก
โดย: โรม บุนนาค
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:21 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:21 น.

รถไฟเป็นยานพาหนะที่สำคัญอย่างหนึ่งของโลก ได้รับความนิยมทุกทวีปและทุกประเทศ ทุกวันนี้ก็ยังมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และจะเป็นยานหนะที่เชื่อมโลกได้ไม่แพ้เครื่องบิน ประเทศไทยเราเริ่มให้ความสนใจรถไฟตั้งแต่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ ได้ทรงส่งขบวนรถไฟจำลองที่มีเครื่องวิ่งได้มาเป็นบรรณาการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ลัทธิอาณานิคมได้รุกเข้ามาล้อมประเทศไทย และยังเกลี้ยกล่อมคนไทยที่อยู่ชายของติดกับอาณานิคมของตนให้หันไปนิยมการปกครองของชาวตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริที่จะโยงใยคนที่อยู่ห่างไกลให้เข้าใกล้ชิดกับส่วนกลาง ทั้งยังจะช่วยบุกเบิกที่ว่างเปล่าให้ประชาชนได้เข้าใช้ประโยชน์ในเพื่อเศรษฐกิจของประเทศ

ทรงว่าจ้างเซอร์แอนดรู คลาก สำรวจเส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-นครราชสีมาเป็นสายแรก โดยมีทางแยกที่เมืองลพบุรีขึ้นไปเชียงใหม่ และแยกจากเมืองอุตรดิตถ์ไปตำบลท่าเดื่อ ถึงริมฝั่งแม่น้ำโขง ยังมีสายต่อจากเชียงใหม่ไปถึงเชียงรายอีก โดยเริ่มสร้างสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมาเป็นสายแรก ซึ่งชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ เป็นผู้ประมูลได้ในราคา ๑๒๔,๔๕๒ ชั่ง ๔ บาท (๙,๙๕๖,๑๖๔ บาท)

ต่อมาในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๓๔ สมเด็จพระปิยมหาราชได้เสด็จพระราชราชดำเนินพร้อมด้วยเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์เริ่มการสร้างทางรถไฟหลวงที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หัวลำโพง ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงอันเป็นประวัติศาสตร์รถไฟไทยนี้ไว้เมื่อปี ๒๕๓๔ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหารกรุณาธิคุณ

ครั้นเมื่อสร้างไปถึงพระนครศรีอยุธยาแล้ว เห็นว่าพอจะเปิดอำนวยความสะดวกให้ราษฎรได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จึงเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเปิดเดินรถถึงสถานีพระนครศรีอยุธยาในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ วันนี้จึงถือว่าเป็นวันเริ่มกิจการรถไฟสายแรกของกรุงสยาม

ต่อมาได้เปิดเดินรถตามระยะทางที่สร้างได้เป็นลำดับ คือ ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๔๐ เดินรถถึงสถานีแก่งคอย เป็นระยะทาง ๑๒๕ กิโลเมตร วันที่ ๓ มีนาคมต่อมา เดินรถถึงสถานีมวกเหล็ก วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๔๒ ถึงสถานีปากช่อง เป็นระยะทาง ๑๘๐ กิโลเมตร จนในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ จึงเสด็จฯไปเปิดทางรถไฟสายนี้อีกครั้งเมื่อสร้างเสร็จตามโครงการไปถึงสถานีนครราชสีมา เป็นระยะทาง ๒๖๕ กิโลเมตร สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น ๑๗,๕๘๕,๐๐๐ บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ ๖๖,๓๖๐ บาท และเมื่อเริ่มเดินรถ มีหัวรถจักร ๑๙ คัน รถตู้โดยสาร ๓๘ คัน และรถบรรทุกสินค้า ๒๑๑ คัน เป็นการเริ่มต้นทางรถไฟสายแรกของราชอาณาจักรสยาม

ปัจจุบันเป็นยุคที่การรถไฟของไทยมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยความสำคัญของสถานีกรุงเทพฯได้ย้ายจากหัวลำโพงไปอยู่ที่ “สถานีบางซื่อ” เป็นศูนย์กลางระบบรางของไทย ซึ่งเป็นสถานีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และนอกจากจะมีรถไฟทางคู่มากขึ้นเป็นลำดับแล้ว ยังจะมีรถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็วกว่า ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงอีก ๔ สาย ได้แก่สายเหนือ กรุงเทพฯเชียงใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-หนองคาย สายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง และสายใต้ กรุงเทพฯปาดังเบซาร์ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

มีตัวเลขในวารสารรถไฟสัมพันธ์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า ระยะเวลาเดินทางของรถไฟความเร็วสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ รถไฟทางไกล และเครื่องบิน เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รถไฟทางไกลจะใช้เวลา ๑๑-๑๔ ชม. รถยนต์ใช้เวลา ๘-๙ ชม. เครื่องบิน รวมเวลาเช็กอิน โหลดสัมภาระ และรอ จะใช้เวลา ๓.๓๐ ชม. แต่รถไฟความเร็วสูงที่ความเร็วไม่เกิน ๓๐๐ กม.ต่อ ชม. จะใช้เวลาเพียง ๓ ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าไปถึงขั้นรถไฟความเร็วสูงมาก จะมีความเร็ว ๓๐๑-๕๐๐ กม.ต่อชม. หรือรถไฟความเร็วสูงพิเศษที่มีความเร็ว ๕๐๐-๑,๐๐๐ กม.ต่อ ชม. เครื่องบินคงต้องไปจอดเป็นเครื่องประดับตามที่ต่างๆไปแล้ว


🚂"ครบรอบ 124 ปี วันสถาปนากิจการรถไฟ"
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:14 น.

วันที่ 26 มีนาคม 2439 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนรถพระที่นั่ง ออกจากพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวไปตามถนนบำรุงเมือง แล้วเลี้ยวไปทางถนน หน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสะพานกรมรถไฟ ข้ามสพานไปเทียบพระที่นั่ง ณ ที่พักรถม้า ในบริเวณรถไฟ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น พิทยลาภพฤติธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ และข้าราชการกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ พร้อมกันรับเสด็จอยู่ที่นั่น

ครั้นเสด็จฯ ลงจากรถพระที่นั่งแล้ว หม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ ใน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติธาดา ได้ทูลเกล้าฯ ถวายดอกกุหลาบมัดแด่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เมื่อมีพระราชดำรัส พอสมควรแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปตามทางซึ่งดาดปรำตกแต่งเป็นระยะทาง 3 เส้น จึงถึงโรงพระราชพิธี ซึ่ง ณ ที่นั้น มีพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมห้าม เจ้านาย ข้าราชการ และภรรยา ตลอดจนทูตานุทูต และภรรยา กับผู้มีบรรดาศักดิ์ และพ่อค้าบรรดาที่ได้รับเชิญ ได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส กับบรรดาผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท บางท่านแล้ว ก็ทรงจุดเทียนนมัสการ ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จพระราชดำเนินสู่ที่ ซึ่งจะได้ทำพระราชพิธี ที่หน้าพลับพลา ตรงที่ได้เทมูลดิน ซึ่งทรงขุดกระทำพระฤกษ์ เริ่มการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2434 ทรงตรึงหมุดที่รางทองรางเงิน ข้างเหนือให้ติดกับหมอนไม้มริดคาดเงิน มีอักษรจารึก เป็นพระฤกษ์ พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ 15 รูป มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธาน สวดคาถาชัยมงคล เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรพิณพาทย์ และแตรวงขึ้นพร้อมกัน แล้ว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ จึงทรงตรึงรางเงินรางทอง ลงเหนือหมอนไม้มริดคาดเงิน มีอักษรจารึก ซึ่งทอดไว้ทางด้านใต้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต ทั้งชายหญิง ช่วยกันตรึงต่อไป จนเสร็จทั้ง 2 ราง ซึ่งนับว่าทางรถไฟ ในระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าติดต่อกันแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมา เจ้าพนักงานกรมรถไฟ ได้เคลื่อนขบวนรถไฟพระที่นั่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินประทับ เป็นพระฤกษ์ เข้ามาเทียบที่หน้าพลับพลา เมื่อพระองค์ทรงเจิมรถไฟพระที่นั่งแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระชัยเนาวโลหะขึ้นสู่รถนำ พร้อมด้วยพระราชาคณะผู้ใหญ่ 3 รูป มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ และ หม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร กับพระราชาคณะฝ่ายรามัญ 1 รูป ฝ่ายวิปัสสนาธุระ 1 รูป สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และโปรยทรายไปในรถนำ ซึ่งอยู่หน้าพระที่นั่งแล้ว พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่รถพระที่นั่ง (ส่วนสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถนั้น ไม่ได้โดยเสด็จด้วย เมื่อส่งเสด็จจนรถพระที่นั่งเคลื่อนออกจากหน้าพลับพลาแล้ว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง) โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูตและพ่อค้า ตามเสด็จขึ้นสู่รถพ่วงคัน ต่อจากรถพระที่นั่งตามลำดับ
ครั้นพร้อมแล้ว ขบวนรถไฟพระที่นั่ง ซึ่งนับเป็นรถโดยสารขบวนแรก ก็เคลื่อนออกจากพลับพลา พระสงฆ์ ที่ยังเหลือ 10 รูป มีสมเด็จพระวันรัต เป็นประธานสวดคาถาถวายชัยมงคลอีกครั้งหนึ่ง ชาวประโคม ก็ประโคมสังข์ แตรและพิณพาทย์พร้อมกัน


https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5760667373947280
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/03/2021 8:10 am    Post subject: Reply with quote

รายการ สองข้างทางรถไฟ เคยฉายทางช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2515
จากกำหนดเวลาออกอากาศที่นี่ครับ
Arrow https://www.facebook.com/weloveoldphoto/posts/4100579003319979
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2021 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

24 มิถุนายน 2484 - เปิดสถานีอุดรธานีเป็นปลายรางเนื่องจากทางช่วงอุดรธานี ผ่านสกลนครไปนครพนม (ทางหลวง เลขที่ 22) กลายสภาพเป็นถนนลูกรังที่ราคาถูกกว่า เพราะ ชั้นแต่ทางจากขอนแก่นไปอุดรธานียาว 119 กิโลเมตรก็หมดไป 8 ล้านบาทแล้ว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=306406977578629&id=100046279876123

สถานีวารินทร์ ปี 2476
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5788112311202786
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2021 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ

สถานีรถไฟกันตัง เดิมใช้ชื่อสถานีตรัง ตั้งอยู่บนถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นสถานีรถไฟสุดทางของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อปี 2458 มีการย้ายเมืองไปที่ตำบลทับเที่ยงสถานีตรังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีกันตังจนถึงปัจจุบัน
สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร ถึงท่าเทียบเรือกันตัง ซึ่งเป็นท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันทางรถไฟส่วนนี้ถูกชาวบ้านรุกล้ำที่ และไม่มีรางรถไฟส่วนนี้แล้ว
ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวรูปทรงยังไม่แน่ชัดทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้ามีมุขยื่นประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูบานเฟี้ยมแบบเก่า คงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3941573629234469&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2021 8:23 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสถานีรถไฟนครลำปาง 1 เมษายน 2459
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5794543470559670

สถานีอุบลราชธานี เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 01 เมษายน 2473 แต่เดิมชื่อ "สถานีวารินทร์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น"สถานีอุบลราชธานี" เมื่อวันที่ 01 มกราคม 2485 ตัวอาคารสถานีแต่เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวต่อมาเมื่อปี 2537 ได้ทำการรื้อสร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้นขึ้นมาใช้การแทนเปิดใช้งานเมื่อปี 2538
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3942479329143899&id=222323771159492
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5788112311202786

เปิดสถานีท่าเรือ 1 เมษายน 2444
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2923586821033160&id=222323771159492

เปิดสถานีลพบุรี 1 เมษายน 2445
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5794715517209132
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 73, 74, 75  Next
Page 61 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©