RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271243
ทั้งหมด:13582532
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 62, 63, 64 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2021 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีเด่นชัย ช่วงปี 2490 อาคารสถานีหลังแรกเหมือนจะแปลนเดียวกับสถานีแม่พวก
สถานีรถไฟเด่นชัย เปิดการเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2455 พร้อมกับการเปิดการเดินรถจากสถานีแม่พวกถึงสถานีปากปาน อาคารสถานีหลังแรกเป็นอาคารไม้ต่อมามีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงและคับแคบ ทั้งบริเวณย่านสถานีเดิมก็ไม่เพียงพอกับขบวนรถต่างๆที่จะมาหลีกและพักค้างคืน ตลอดจนการมารอการบรรทุกสินค้าได้สะดวก นอกจากนั้นในช่วงปี 2500 ยังมีทางหลวงตัดใหม่ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง จากอำเภองาวผ่านอำเภอสองเข้าบรรจบทางหลวงสายแพร่และน่าน มุ่งเข้าสู่สถานีเด่นชัยอีกสายหนึ่ง ทางหลวงสายนี้ย่อมนำผลผลิตต่างๆ จากเชียงราย น่าน พะเยา และงาวเข้าสู่ตลาดกรุงเทพฯ โดยนำมาส่งทางรถไฟที่สถานีเด่นชัยเพิ่มปริมาณขึ้นมากอีก เพราะมีระยะทางใกล้และสะดวกกว่าการนำไปส่งที่สถานีนครลำปาง นอกจากนี้การรถไฟฯยังมีโครงการที่จะสร้างทางรถไฟแยกจากสถานีเด่นชัยไปสู่ น่าน เชียงราย และเชียงแสนหลวงอีกด้วย จึงนับได้ว่าสถานีเด่นชัยในอนาคต ย่อมจะต้องเป็นสถานีชุมทางที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง
ดังนั้นในปี พ.ศ.2498 การรถไฟฯจึงได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการก่อสร้างอาคารสถานี อาคารที่ทำการรับส่งสินค้าตลอดจนการขยายย่านสถานีเสียใหม่ ในการก่อสร้างได้เรียกประกวดราคารับเหมาทำการ ผลของการประกวดราคาตัวอาคารสถานี ได้แก่ นายสม นันทสาร อาคารที่ทำการรับส่งสินค้าได้แก่ นายเจตน์ พูลประพันธ์ อาคารทั้ง 2 หลังได้เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2500 แล้วเสร็จเมื่อประมาณต้นเดือนมิถุนายน 2500 ค่ามช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นเงิน 560,312.15 บาท
ในการทำพิธีเปิดอาคารทั้ง 2 หลัง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2500 เวลา 07.25 น.โดยมี มล.กร อิศรางกูร วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธี และนายวิมล เลิศศิริ หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต 3 เป็นผู้อ่านรายงานการก่อสร้าง ในการนี้มีข้าราชการฝ่ายบ้านเมือง พ่อค้า และประชาชนไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ตามบันทึกกรมรถไฟหลวงในอดีต เดิมเรียกชื่อ “สถานีเด่นใจ” ซึ่งน่าจะมาจากการพูดออกเสียง “ช” ของคนเหนือจะออกเสียงเป็น “จ” ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเปลี่ยนมาใช้คำว่า “สถานีเด่นชัย” ตั้งแต่เมื่อใด
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/6046706572010024
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2021 12:13 am    Post subject: Reply with quote

"ช่ า ง ไ ฟ 1"
SL Team
19 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:51 น.

ในยุคช่วง ต้นรัชกาลที่ 9 หัวรถจักรไอน้ำรุ่นใหม่ล่าสุด ที่พัฒนาการดีไซน์มาจากรุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยวิศวกรชาวญี่ปุ่น มีชื่อที่ พนักงานรถจักรไอน้ำสมัยนั้นขนานนามว่า "รถจักร์ ญี่ปุ่น มิกาโด้" และ "รถจักร์ ญี่ปุ่น แปซิฟิก"
ในยุคที่ รถจักรไอน้ำใช้"ฟืน"เป็นเชื้อเพลิงมาถึงจุดอิ่มตัวเนื่องจากป่าไม้เริ่มหมดลง...จึงจำเป็นที่จะหาเชื้อเพลิงอื่นทดแทนนั้นคือ "น้ำมันเตา"
จึงเป็นหน้าที่ของ "ช่างไฟ 1" ในการปรุงน้ำปรุงไอ เพื่อสร้างสตีมแก่บอยเลอร์รถจักรไอน้ำให้มากพอ ที่พขร. (พนักงานขับรถ) จะเปิดใช้ไปขับเคลื่อนลูกสูบ ให้ลูกสูบทั้งฝั่ง R.และ L.มาขับเคลื่อน"คันชักคันโยง " ก่อนส่งกำลังไปที่ ล้อกำลัง และล้อโยง...ต่อไป และยังต้องมีหน้าที่ในการดูระดับน้ำมัน ในเครื่องพ่นน้ำมันว่าสัมพันธ์กับความเร็วของรถจักรหรือไม่ รวมถึงการดู
เชื้อเพลิงในรถลำเลียงว่ามีเพียงพอต่อการทำขบวนหรือไม่....
จากที่เราเคยศึกษาในฐานะ "ผู้ศึกษา"จากผู้ที่ทันเหตุการณ์ในการเป็น"ช่างไฟ"ของรถจักรไอน้ำในยุคที่ยังใช้บริการเชิงพาณิชย์ ทำให้ทราบว่า ต้องใช้ ความรักความเข้าใจและความพยายามที่ทำให้ รถจักรไอน้ำ วิ่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ.....ร่วมกับ พขร.(พนักงานขับรถ) และ ช่างไฟ 2

https://www.facebook.com/SLTeamTH/posts/4499020036784319
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2021 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

อาคารสถานีจิตรลดา ปี 2473 ถ่ายโดยช่างภาพอิตาเลียน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4096553930403104&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2021 10:14 pm    Post subject: Reply with quote

Airconditioner Tokyu car Railcar"ATR"(タイ国鉄ATR型気動車) Thailand // Tokyu Car Corporation 1985
รถดีเซลรางไม่มีห้องขับปรับอากาศ ATR ของการรถไฟแห่งประเทศไทย สมัยผลิตในโรงงาน Tokyu Car Corporation เมืองโยโกฮาม่าประเทศญี่ปุ่นปี 1985 รุ่นผลิตส่งออกมาประเทศไทย
Tokyu Car Corporation(東急車輛) Yokohama Japan 1985 // Export To Thailand
Japanese Railway Information(JORSA) 026-A
https://www.jorsa.or.jp/en/jri/detail.php?id=77
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 12:22 am    Post subject: Reply with quote

รถจักรมิกาโด้ ใช้น้ำมันเตา จากมิตซูบิชิ เลขที่ 944 ประจำการแต่ปี 2493 ถ่ายเมื่อเมษายนปี 2516
ก่อนปลดประจำการไม่กี่ปี

https://www.facebook.com/WorldRailway/photos/a.1913267242283140/3069411400002046/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

“รถไฟไทย-จีน” สมัยรัชกาลที่ 5 หนึ่งในฝันของนักจักรวรรดินิยม

ที่มา ศิลปวัฒนธรรม กันยายน 2562
ผู้เขียน ไกรฤกษ์ นานา
เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2564

วันที่ 16 พฤศจิกายน 1885 เวลาเย็น นายคอลคุฮอนหัวหน้าทีมวิศวกรนำผลสำรวจโครงการนี้เสนอต่อที่ประชุมราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Geographical Society of Great Britain) ที่กรุงลอนดอน โดยให้นายฮอลเล็ตต์ (Holt. S. Hallett) ผู้ช่วยของเขาอ่านรายงานความยาว 20 หน้ากระดาษต่อหน้าที่ประชุม พร้อมด้วยข้อมูลดิบที่วงการรถไฟอังกฤษไม่เคยได้ยินมาก่อน (อนึ่งได้รักษาชื่อเมืองต่างๆ และชื่อบุคคลด้วยอักษรโรมันตามชื่อเรียกเดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่ออนุรักษ์หลักฐานเดิมเอาไว้ – ผู้เขียน)

“ข้าพเจ้าเรียนเชิญท่านผู้มีเกียรติมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้เพื่อแถลงรายงานการเดินทางและแผนแม่บทของการสำรวจพื้นที่ในเขตดินแดนพม่า สยาม และรัฐฉาน เพื่อกำหนดเส้นทางการวางทางรถไฟ ซึ่งคณะทำงานของเราเชื่อว่าสามารถเชื่อมต่ออินเดียและจีน 2 อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกเข้าด้วยกัน

ตลอดเวลา 30 ปี มันเคยเป็นเป้าหมายของบรรดาพ่อค้าและกลุ่มนักธุรกิจอังกฤษ ตลอดจนคนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ปกครองในอินเดียของเราที่จะเปิดและพัฒนาเส้นทางการค้ากับจีนภาคใต้ เกิดเป็นโครงการหลายชุด ทว่าเนื่องจากขาดการสำรวจหาข้อมูลทางบก ดังนั้น โครงการส่วนใหญ่ต่างมุ่งไปยังเส้นทางค้าขายทางเรือตามลำแม่น้ำสายใหญ่ๆ ในอินโดจีน มีอาทิ แม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน เป็นต้น ภายหลังที่นักสำรวจรุ่นก่อนๆ ทำความคุ้นเคยกับหนทางสายแม่น้ำเพื่อการพาณิชย์นาวี แล้วต่างก็พบกับความผิดหวังที่ไม่อาจใช้เป็นเส้นทางคมนาคมหลักได้

เราพบว่าหากวางทางรถไฟเลียบฝั่งแม่น้ำอิรวดีในพม่าสิ่งที่จะประสบก็คือ แนวภูเขาเตี้ยๆ ซึ่งทอดยาวไปสู่อ่าวเบงกอลทางตอนใต้ และถึงแม้จะสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟจากอินเดียเลาะเลียบไปตามฝั่งทะเลนั้นทำได้ แต่จะใช้ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เพราะระยะทางจะยาวมาก ดังนั้น ถ้าจำเป็นอาจวางเส้นทางเข้ามาทางแคว้นอัสสัมด้านตะวันตกของพม่าจะดีกว่า

เส้นทางนี้ก็คือทฤษฎีเดิมตามเส้นทางคาราวานสายบาโม (Bhamo Route) นายคอลคุฮอนและข้าพเจ้าได้ทดลองเดินทางบนเส้นนี้แล้ว พบว่าห่างออกไปเพียง 250 ไมล์ (300 กิโลเมตร) ก็ถึงเมือง Tali-Fu ในจีน (คือยูนนาน)

แต่ถ้าเป็นทางรถไฟจะต้องใช้ระยะทางถึง 600 ไมล์ (560 กิโลเมตร) เพราะต้องเชื่อมเมืองต่างๆ ระหว่างอินเดียกับจีนเข้าไว้ตามทางรถไฟ ทางสายบาโมนี้ต้องผ่านหุบเขาใหญ่ๆ 4 หุบเขาด้วยระยะความสูง 8,000-9,000 ฟิต จากระดับน้ำทะเล ทางสายนี้จะมีราคาต่ำลง 4 เท่าหากวางบนพื้นที่ราบลุ่มที่มิใช่เทือกเขาในอีกด้านหนึ่ง หรือฟากตะวันออกของพรมแดนพม่าแทน ทว่าหากพิจารณาจากทางแม่น้ำอีกสายหนึ่งคือ แม่น้ำสาละวินที่ไหลออกทะเล ณ เมืองท่ามะละแหม่ง (Moulmein) หรือฟากด้านตะวันออกของพม่าก็จะมีผลดีมากกว่าผลเสีย และมีเหตุผลมากกว่าด้านตะวันตกของประเทศซึ่งเต็มไปด้วยที่ราบสูง


ดังนั้นเมื่อได้พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและเหตุผลด้านภูมิศาสตร์ด้วยหลักการแล้ว เราจึงลงความเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะวางทางรถไฟจากมะละแหม่งผ่านเนินเขาลูกเตี้ยๆ แถบเมือง Maing Loongyee [คือ เมืองแม่สะเรียง ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน] ซึ่งน่าจะเป็นแนวเขาแนวเดียวตรงไปยังเมืองตาก (ฝรั่งเรียกเมือง Raheng) แถบลุ่มแม่น้ำปิง (Meh Ping River) ในเขตแดนสยาม อนึ่ง ความสูงของภูเขาในละแวกนี้มีความสูงเพียง 1,600 ถึง 2,287 ฟิต จากระดับน้ำทะเลเท่านั้น ซึ่งเตี้ยกว่าเทือกเขาในพม่าตอนหนือเป็นอย่างมาก ดังที่ข้าพเจ้ากราบเรียนท่านไปแล้ว

เส้นทางรถไฟจะหักเหข้ามพรมแดนจากสยามเข้าสู่ชายแดนจีนที่บริเวณเมืองเชียงแสน จากนั้นก็จะวิ่งต่อไปริมฝั่งแม่น้ำโขง ผ่านเมืองเชียงแขงแล้ววิ่งตรงต่อไปยังเมืองเชียงรุ้ง ข้ามแคว้นอิสระที่เรียกว่าสิบสองปันนา (Sipsong Pana) หรือ Independent Shan States

เชียงรุ้ง (Kiang Hung) นั้นอยู่ห่างจากเมืองชายแดนของจีนเรียกซูเมา (Ssumao) ประมาณ 50 ไมล์ (80 กิโลเมตร) ซูเมาเป็นเมืองป้อมปราการหน้าด่านของจีน และเป็นชุมทางการค้าขนาดใหญ่ที่สุดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ณ ที่นี้ทางรถไฟของอังกฤษก็จะเชื่อมต่อกับทางรถไฟของจีน และนี่แหละคือแผนแม่บทที่เราเชื่อว่าเป็นเส้นทางบกที่เป็นไปได้ดีที่สุดเข้าสู่ประเทศจีนทางประตูหลัง

รัฐฉานอิสระ หรือสิบสองปันนา มีประชากรราว 1 ล้านถึงล้านห้าแสนคน ส่วนแคว้นล้านนาของสยามมีประชากรราว 2 ล้านห้าแสนคน ส่วนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ลงมามีประชากรประมาณ 3 ล้านห้าแสนคน

การสำรวจครั้งนี้พิสูจน์ว่าเส้นทางมะละแหม่ง-ตาก-เชียงแสน-เชียงรุ้ง-ซูเมา เป็นเส้นทางเยี่ยมที่สุดสำหรับการสร้างทางรถไฟเข้าสู่ประเทศจีนในราคายุติธรรม โดยใช้วิธีลัดเข้ามาวิ่งภายในดินแดนล้านนาของสยาม แผนงานนี้ถูกยอมรับและรับรองโดยคณะวิศวกรโยธาของกรมรถไฟอังกฤษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คณะของเราได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลสยามเป็นอย่างดีเกินความคาดหมาย คงไม่เกินเลยไปที่จะกล่าวว่าพระมหากรุณาธิคุณที่พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานแก่เราเป็นผลลัพธ์จากความจริงใจ และความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลอังกฤษกระทำต่อสยามเป็นเวลายาวนาน

ข้าพเจ้าและชาวคณะได้รับความช่วยเหลือและอนุเคราะห์ตลอดการสำรวจในพรมแดนสยาม จากบรรดาเจ้าเมืองและกรมการเมืองที่เราเดินทางผ่านไป ทุกฝ่ายดูตื่นเต้นกับข่าวการเปิดเส้นทางการค้าใหม่แทนเส้นทางคาราวานที่ใช้กันมาเป็นร้อยๆ ปี เจ้าหลวงเชียงใหม่ และเจ้าฟ้าเมืองเหนือแห่งลำปาง ลำพูน เชียงแสน เชียงราย เมืองฝาง เชียงดาว และที่อื่นๆ ส่งพนักงานและล่ามมาอำนวยความสะดวกแก่เราอย่างอบอุ่นและต่างก็มุ่งหวังให้โครงการนี้สำเร็จสมประสงค์

เส้นทางรถไฟที่คณะทำงานขอนำเสนอเพื่อเชื่อมโยงรางรถไฟจากเมืองท่ามะละแหม่งของอังกฤษก็คือเส้นทางต่อเนื่องสายสยาม-จีน ต้นทาง ณ เมืองมะละแหม่ง ต่อจากนั้นคือเมืองตากของสยามมีพลเมืองราว 20,000 คน รางรถไฟจะผ่านเมืองใหญ่น้อยและหมู่บ้านระหว่างทางรวม 481 แห่ง นอกจากนี้ทางการสยามยังเสนอให้ทำรางต่อลงไปยังเมืองท่าที่บางกอก ที่มีพลเมืองหนาแน่นประมาณ 500,000 คน รางจากมะละแหม่งและบางกอกจะวิ่งไปบรรจบกันที่เชียงแสน เมืองชายแดนของสยาม ซึ่งอยู่ห่างราว 190 ไมล์ (310 กิโลเมตร) จากชายแดนจีน โดยมีพื้นที่ของรัฐอิสระสิบสองปันนาคั่นกลางอยู่

เป็นที่น่ายินดีที่แม้นว่าภูมิประเทศในพม่าและสยามภาคเหนือจะทุรกันดารและมีอุปสรรคเพียงใด แต่พวกท่านก็สามารถสรุปให้เราเห็นเส้นทางที่ย่นย่อและใช้ได้จริงตามแผนแม่บทที่ทุกคนรอคอย โดยเฉพาะการค้นพบเส้นทางลัดผ่านราชอาณาจักรสยามซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเรา

การประชุมในวันนี้ถือเป็นเกียรติยศอย่างสูงที่ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสยามประจำอังกฤษ [คือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์] ได้ประทานเกียรติมารับทราบข้อมูลด้วย ข้าพเจ้าในนามของทีมวิศวกรอังกฤษทุกคน ขอกราบขอบพระทัยในพระกรุณาธิคุณของท่านและพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้ากรุงสยาม ที่ทรงรับโครงการสำรวจครั้งประวัติศาสตร์นี้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และทางรัฐบาลอังกฤษก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะส่งผลดีและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระบบคมนาคมภายในสยามซึ่งขวนขวายที่จะดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสถานะอันมั่งคั่งและเสถียรภาพมั่นคงของสยามเอง…”

จากนั้นกรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์ก็ทรงลุกขึ้น แล้วมีพระดำรัสขอบใจที่ประชุมที่เชื้อเชิญพระองค์มารับฟังคำแถลงของคณะทำงานและทรงให้ความมั่นใจต่อที่ประชุมว่ารัฐบาลสยามจะดำเนินนโยบายเปิดประเทศและให้โอกาสโครงการนี้นำความเจริญมาสู่ภูมิภาคด้วยความจริงใจ

(แปลและเรียบเรียงโดย ไกรฤกษ์ นานา จากเอกสารต้นฉบับ)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2021 12:01 am    Post subject: Reply with quote


ตำนานประวัติศาสตร์ : ผกค.สุราษฎร์ธานี ระเบิดภูเขา เผาหัวรถจักร
https://www.youtube.com/watch?v=KCwEEAKuvS4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2021 1:49 am    Post subject: Reply with quote

ย่านสถานีรถไฟหัวลำโพง บันทึกภาพจากเครื่องบินเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2465 โดยคุณเชิดสติ สท.พิมพรัตน์ นักบิน ตั้งแต่ยังไม่มีการก่อสร้างโรงแรมราชธานี
ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/6203394446341235
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2021 4:25 pm    Post subject: Reply with quote

"สถานีรถไฟตาคลี" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีบ้านตาคลี" เป็นสถานีรถไฟหลวงในเส้นทางสายเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 193.017 กม. และเป็นสถานีรถไฟชั้น 1 เปิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2448
ปัจจุบันกำลังจะมีการ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการในเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วง ลพบุรี - นครสวรรค์
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=359505255602134&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2021 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

เภา วสุวัต (หลวงกลการเจนจิต) ช่างภาพกรมรถไฟหลวง คนสำคัญในการถ่ายหนังบันทึกการปฏิวัติ และพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ 2475
.
ที่มา หอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน)
https://www.facebook.com/noomrattana/posts/2154644021344166
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 62, 63, 64 ... 73, 74, 75  Next
Page 63 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©