Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263815
ทั้งหมด:13575098
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 67, 68, 69 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2021 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

ยุทธศาสตร์จากบรรพบุรุษ
16 ธันวาคม 2564 เวลา 0:03 น.
....

พูดถึงการให้มหาอำนาจคานอำนาจกันเอง บรรพบุรุษของเรา ภายใต้การนำของ สถาบันพระมหากษัตริย์ พิสูจน์ให้ทั้งโลกเห็นแล้วว่า ไทยมีความล้ำลึกทางการทูตขนาดไหน

ปัจจุบันทั้ง จีน และ อเมริกา ต่างต้องการเข้ามามีบทบาทในอาเซียน เพราะมีผลประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคง

สถานะของอเมริกาคือ พยายามยึดฐานที่มั่นเดิมคืน

ขณะที่จีนรุกคืบอย่างหนักหน่วง มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจล่อใจ

ที่เถียงกันเรื่องรถไฟจีน-ลาว เวียงจันทน์-คุนหมิง ทำให้ลาวเจริญกว่าไทยไปแล้ว ขนาดอดีตรัฐมนตรีคมนาคมของพรรคเพื่อไทยยังเอาไปแชร์เป็นตุเป็นตะ พอเขาด่าพวกขายชาติทำเป็นรับไม่ได้

ช่างเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ และไร้สาระจริงๆ

เรื่องรถไฟความเร็วสูงไม่สูง เถียงกันไปก็เท่านั้น เพราะวิ่งจริง ๑๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันก็คือความเร็วสูงสุดของ แอร์พอร์ตลิงก์ บ้านเรา

แต่ที่ต้องไปศึกษากันให้ถี่ถ้วนคือ ลาวได้อะไรจากโครงการนี้บ้าง และไทยได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

ข่าวล่าสุดบอกว่าผัก-ผลไม้จีน จากคุนหมิง ถึง ตลาดไท ไม่เกิน ๒ วันทะลักท่วมตลาดแล้ว

ที่น่ากังวลคือจะทุบราคาพืชผลทางการเกษตรของไทยร่วงไปด้วย เรื่องนี้เหมือนหนังเก่ามาถ่ายทำใหม่

โครการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน บางคนบอกว่าช้า ไม่ทันกิน ชาติหน้าจะได้นั่งหรือเปล่า เรื่องแบบนี้เอามันไม่ได้นะครับ

ก็ไม่รู้ตั้งใจหรือบังเอิญ ที่ "รัฐบาลลุงตู่" สร้างท่อนกรุงเทพฯ-โคราช ก่อนส่วนโคราช-หนองคาย จะตามมาทีหลัง

มันเป็นพล็อตเรื่องเก่าที่ย้อนกลับไปสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ และต้นรัชกาล ๖ ยุคที่ไทยตัดสินใจสร้างทางรถไฟ มีการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกเป็นเดิมพัน

ไม่ต่างจากการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนและอเมริกาในขณะนี้

การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้คือหัวใจของเรื่อง

ปี ๒๔๔๐ ไทยรู้ข่าวว่ารัฐบาลอังกฤษมีโครงการสร้างทางรถไฟจากพม่าผ่านประเทศไทยไปถึงแหลมมลายู โดยรัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้บริษัทอังกฤษเข้ามาขอสัมปทานจากไทย ทำให้ไทยเกรงว่า ถ้ายอมเช่นนั้น อังกฤษจะฉวยโอกาสผนวกเอาภาคใต้ของไทยเข้าเป็นอาณานิคม

รัชกาลที่ ๕ จึงตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายใต้เอง โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๒

ขั้นตอนการก่อแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ ๕ ที่เจ้าลัทธิอาณานิคมไม่สามารถเอาเปรียบได้เลย

พนักงานผู้ดำเนินการก่อสร้างต้องใช้ชาวยุโรปเป็นหลัก แต่เพื่อไม่ให้ถูกครอบงำโดยอังกฤษ พนักงานผู้ดำเนินการก่อสร้างจึงมีคนไทย ๑๓ คน อังกฤษ ๔ คน เยอรมันที่ขณะนั้นมีความเป็นมิตรกว่าอังกฤษ ๕ คน อิตาลี ๑ คน

ช่วงการก่อสร้างก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด มีการแบ่งเป็นตอนๆ

เพชบุรี-บ้านชะอำ

ตรัง-พัทลุง

สงขลา-พัทลุง

ชุมพร-นครศรีธรรมราช

พัทลุง-นครศรีธรรมราช

บ้านชะอำ-ชุมพร

และสุดท้าย สงขลา-ระแงะ

เดิมทีกำหนดสร้างช่วงสงขลา-ระแงะ ไว้ในปีที่สอง แต่ถูกเปลี่ยนเป็นท้ายสุด ให้การก่อสร้างจากเพชรบุรีมาถึงสงขลา แยกไปตรัง ไปนครศรีธรรมราช ให้เสร็จก่อน

วัตถุประสงค์เพื่อให้การขนส่งค้าขายระหว่างจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้เชื่อมถึงกันหมด และเพื่อให้ประชาชนตั้งรกรากริมทางรถไฟให้หนาแน่น

จัดวางรูปแบบการปกครองให้ชัดเจน

เสร็จแล้วการสร้างทางรถไฟจากสงขลา-ระแงะ เพื่อเชื่อมสิงคโปร์ อาณานิคมของอังกฤษ จึงดำเนินการได้

มีบันทึกระบุว่า อังกฤษไม่พอใจอย่างมาก เพราะได้ประโยชน์จากทางรถไฟสายใต้ของไทยน้อยมาก อีกทั้งยังใช้เยอรมันถ่วงดุล ทำให้อังกฤษไม่กล้าผนวกภาคใต้ของไทยเป็นอาณานิคมเหมือนที่ตั้งใจไว้แต่แรก

ครับ...นี่คือตัวอย่าง บรรพบุรุษของเราต่อสู้มาให้คนรุ่นหลังมีแผ่นดินอยู่อาศัย

เมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน วันนี้ส่งสัญญาณชัดเจนที่ตลาดไท แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเลิกสร้าง

เราควรเชื่อมกับจีนโดยรถไฟความเร็วสูง และเชื่อมไปถึง มาเลเซีย-สิงคโปร์ ประเทศอาณานิคมเก่าของอังกฤษ แต่เชื่อมอย่างไรไม่ให้ไทยเสียประโยชน์อย่างที่ลาวกำลังเป็น

ถูกแล้วที่ไทยลงทุนสร้างเอง บริหารเอง ใช้เทคโนโลยีจีน โดยมีข้อตกลงจีนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้

อีกมุมหนึ่งเรายังมีเวลารับมือ การทะลักเข้ามาของจีน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน หรือสินค้า

"ลุงตู่" บอกว่ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงโคราช-หนองคาย-เวียงจันทน์ จะเสร็จภายในปี ๒๕๗๑ เหลือเวลาอีก ๖ ปี

เตรียมตัวให้พร้อม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2021 10:12 am    Post subject: Reply with quote

ภาพพลับพลาเมื่อตอนเปิดการเดินรถไฟไปพิษณุโลกและแปดริ้ว เมื่อ 24 มกราคม 2450 ครับ สถานีกรุงเทพจริงๆเป็นแค่เรือนไม้เองครับ
https://www.facebook.com/noomrattana/posts/2299159130225987
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2022 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

ปี 2528 หมู่บ้านล้านนาฮิลล์ จ.เชียงใหม่
ปัจจุบัน บ้านสวนรถไฟรีสอร์ท จ.เชียงใหม่
รถจักรไอน้ำ โมกุล(ซี 56) หมายเลข 744
สร้างโดย มิตซูบิชิ,คาวาซากิ,นิปปอน ชาร์เรียว,คิชะ เซโซ ไคชะ ประเทศญี่ปุ่น
แบบล้อ 2-6-0 มีหมายเลข 701-746
นำมาใช้งาน ปี พ.ศ.2478
ใช้ในทางขนาด 1.00 เมตร
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ บ้านสวนรถไฟรีสอร์ท จ.เชียงใหม่
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4816271285098028&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2022 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

สะพานรถไฟที่คลองลึก-ปอยเปต จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกฯมาสำรวจดูเมื่อปี 2513 แต่ไม่สร้างใหม่ ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายกฯประยุทธ จึงสร้างใหม่ราคา 70 ล้านบาท ไทยจ่ายแต่ผู้เดียว และเปิดใช้งานเมื่อ 15 กันยา 2559 ....สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นโดยองค์ในหลวงพระปกเกล้าฯ (ร.๗) ได้ชวนฝรั่งเศสสร้างเสร็จเมื่อปี 2463 ไทย-ฝรั่งเศสจ่ายค่าสร้างคนละครึ่ง
https://www.facebook.com/viroj.tuntikula/posts/3242809996005134
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2022 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อพระพุทธโสธร ประจำปี 2484 โดยการรถไฟร่วมประชาสัมพันธ์ ลดราคาให้แก่ผู้ใช้บริการในเดือนพฤศจิกายน ตลอด 5 วันงานปิดทองหลวงพ่อ (1-5 พฤศจืกายน 2484)

งานปิดทองหลวงพ่อถูกจัดขึ้นทุกปี ผู้คนต่างเดินทางมามากมาย ช่วงพฤศจิกายนหมดฤดูกาลเกี่ยวข้าวกันแล้ว มาเที่ยวได้สบาย
https://www.facebook.com/noomrattana/posts/2328764587265441
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2022 9:44 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

6. ข้อความบางประการที่ประชาชนควรทราบในการใช้รถไฟ - อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิง เสรี เร่งฤทธิ์ (เฉิบ รัตนกุล) ต.จ.
พระนคร : โรงพิมพ์การรถไฟ, 2494
Call Number 385.02 ข281ฉส On shelf


หาอ่านออนไลน์ที่ ห้องหนังสือหายา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ครับ
https://www.facebook.com/Chula.RareBooksCollection/photos/pcb.489806015732654/489802859066303/
http://adminebook.car.chula.ac.th/viewer/7975721125412110672877378105111707472714881121841196161/1/2/0/viewer.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2022 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ว่าแต่ว่า ใครพอจะหาหนังสือเรื่อง ต่อไปนี้ได้บ้างหนอ Rolling Eyes

15. แผนที่ทางรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามจากรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ - ที่ระฤกในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภาคเหนือ พระพุทธศักราช 2469 - มีเป็นไมโครฟิล์มในหอสมุดแห่งชาติ - 912.014 ผ932


เรื่องนี้หาอ่านได้จากห้องหนังสือหายาก ของจฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/Chula.RareBooksCollection/photos/pcb.489806015732654/489802922399630/
http://adminebook.car.chula.ac.th/viewer/1198710378895311354119845450107100514810011588761051036161/1/2/0/viewer.html

คู่มือเที่ยว ศึกษา ความเป็นมา 20 จังหวัดตามทางรถไฟสายใต้ กลันตัน ไทรบุรี ปีนัง
คู่มือล่องใต้ไปกับรถไฟ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ตั้งแต่กรุงเทพ ฯ จนถึงปีนัง อีกทั้งบอกเล่าเรื่องราวของการกำเนิดรถไฟ ประวัติรถไฟไทย และประวัติของจังหวัดต่าง ๆ ตามเส้นทางรถไฟ
http://adminebook.car.chula.ac.th/viewer/691201018090738010886737085117817710811311210911667656161/1/2/0/viewer.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2022 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ถ้าใครหาตำราภาษาอังกฤษนี้ได้ กรุณากระซิบบอกผมด้วยครับ


3. Guide to Bangkok with a Note to Siam, by Erik Seidenfaden, Oxford Press 1984


เจอฉบับปี 1932 ที่ ห้องหนังสือหายากที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่าเลิกกิจการโรงแรมวังพญาไท เมื่อ 1 ตุลาคม 1932
http://adminebook.car.chula.ac.th/viewer/98781191021049010167579810211282491021071165356104431196161/1/2/0/viewer.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2022 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

เครื่องบินญี่ปุ่นตกที่ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา เมื่อสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ช่วงปี พ.ศ.2485 - 2488
มีสมาชิกให้ความเห็นว่า เครื่องบินในภาพคือ "มิตซูบิชิ คิ-21" (Mitsubishi Ki-21) เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดหนักของญี่ปุ่น ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ใช้โดยกองทัพอากาศทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่น และกองทัพอากาศไทย / ที่มาข้อมูล - วิกิพีเดีย (ดูภาพในช่องความเห็น)
*ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ สันนิษฐานว่าเครื่องยนต์ขัดข้อง จึงตกก่อนถึงสนามบิน ซึ่งใกล้สถานีรถไฟจิระนี้ มีสนามบินอยู่ตรงบริเวณหน้าค่ายหนองบัว (บริเวณด้านหลังอาคารในภาพ หรือ สนามกีฬาหน้าค่ายสุรนารี ในปัจจุบัน)
https://www.facebook.com/korat.in.the.past/posts/4771157742952953
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2022 11:16 am    Post subject: Reply with quote

"UDORN DHANI" ภาษาอังกฤษ บนป้ายสถานี "อุดรธานี"
24 มิถุนายน 2484 "อุดรธานี" วันพิธีเปิดสถานีรถไฟอุดรธานี ในวันเดียวกับที่เปิดเดินรถจากขอนแก่น มายังจังหวัดอุดร สังเกตุตัวสะกดภาษาอังกฤษ UDORN DHANI ในปี 2484 ปีแรก ที่มีการเขียนคำภาษาอังกฤษ UDORN DHANI บนป้ายสถานี ครั้นญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ประกอบกับมีทหารญี่ปุ่น อยู่ในอุดรมากมายที่มาจากลาว (อินโดจีน) รอขึ้นรถไฟ อาจจะด้วยความเป็นพันธมิตร ชาตินิยม หรืออะไรก็ตาม ในปี 2485 ภาษาอังกฤษได้มีการจัดการลบออกตามคำสั่งกรมรถไฟ ที่ ก.๓๖/๘๕๔๐ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๕ เรื่อง เปลี่ยนตัวอักษรภาษาไทยนามสถานีและที่หยุดรถ รวมไปถึงให้ลบชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงที่ติดตามข้างรถต่างๆ ทั้งหมด
และนั่น ก็น่าจะเป็น ตำนาน "อุดรธานี" ของสถานีรถไฟ ที่สกดภาษาอังกฤษ UDORN DHANI และจากในวันนั้น จึงกลายเป็น UDORN THANI ในวันนี้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=504386551114003&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 67, 68, 69 ... 73, 74, 75  Next
Page 68 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©