Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
Posted: 11/03/2024 2:50 pm Post subject:
Planned railways in Mainland Southeast Asian Mainland as proposed by Mr. Hallet in 1886 along with French imperialists which had been published by Cambridge University Press in 1890.
However, the railway that head to Chiangmai via Rahaeng (Tak) along Ping river has not been conceived at all since Siamese government had decided to follow the course of Nan River after reaching Paknam Pho in 1905 to reach Phitsanulok in 1908, Uttaradit in 1909, Denchai in 1912, Lampang in 1916 and Chiangmai in 1922 using the loan 💷 and budget surplus 💰. This Siamese policies had effectively starved Maulmain while strengthening the Royal Siamese Army based in Paknam Pho, Phitsanulok, Uttaradit before moving the troops to set the skeletal structure in Denchai, Lampang, Chiangmai before further reinforcements after the railway 🛤️ had reached Chiangmai while helping to improve the old dirt track or forest trials 🌳 into Highway from Lampang to Maesai via Phayao and Chiang Rai as one of early sections of Phahonyothin road (Highway No. 1) which later extended to Tak via Ko Kha and Thoen 🛣️ along with the road from Denchai to Phrae and Nan (Highway No. 101) which later extended to reach Sawankhalok and Sukhothai. There was also the dirt road for oxcart track from Phitsanulok to Sukhothai which later being upgraded to Highway 🛣️ which has become the early section of Highway No. 12 before further extension to Tak via Ban Dan Larn Hoy.
For the railway from Hanoi to Maulmain via Luang Phrabang, Pak Lay, Uttaradit, Rahaeng, it has not been conceived at all. Furthermore, the planned railway from Saigon to Phnom Penh via My Tho had been terminated at My Tho due to technological limitations to deal with the railway bridges across Mekong River and the swampy areas of Mekong delta.
https://www.facebook.com/ItsAseanSkylines/posts/834492618721387
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
Posted: 12/03/2024 4:30 pm Post subject:
"รถพยาบาล" รพ.๑ สัญลักษณ์แห่งเอื้ออาทร ตู้รถไฟโดยสารนี้ผลิต โดย บริษัท The MetroPolitan Amalgamated Birmingham ประเทศอังกฤษ กรมรถไฟหลวงนำเข้ามาใช้งานในช่วงปี พ.ศ.2455 สมัยต้นรัชกาลที่ 6 เพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค
ภายในตู้โดยสารมีเตียงสำหรับผู้ป่วยจำนวน 8 เตียง ห้องเก็บอุปกรณ์การแพทย์ ห้องสุขา หน้าต่างติดมุ้งลวด มีประตูทางขึ้นลงอยู่ตรงกลางตู้โดยสาร
ปัจจุบันมีอายุ 111 ปี เป็นรถโดยสารไม้สักเก่าแก่ที่มีเหลือไม่ถึง 10 คันในประเทศไทย อดีตจัดแสดงไว้ที่หอเกียรติภูมิรถไฟในสวนจตุจักร ปัจจุบันนำมาจัดแสดงไว้ที่โรงเก็บรถจักรประวัติศาสตร์ ภายในโรงงานมักกะสัน
https://www.facebook.com/witsawakamrotfai/posts/6419694898088984
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
Posted: 11/06/2024 4:25 pm Post subject:
#เมืองลำพูน มีสัณฐานไม่เท่ากัน #บันทึกเมื่อ140ปีก่อน
เส้นรอบวงเมืองยาวประมาณ ๒ ไมล์ครึ่งถึง ๓ ไมล์ เมืองไม่หันหน้าออกแม่น้ำ คูเมืองกว้างประมาณ ๔๐ ถึง ๖๕ ฟุต ล้อมรอบ๓ ด้าน แล้ว มีกำแพงอิฐล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง กำแพงด้านนอกสูงประมาณ ๑๕ ถึง ๒๓ ฟุต กำแพงด้านในสูงประมาณ ๑๓ ถึง ๑๘ ฟุต เชิงเทินรอบกำแพงเมือง สูง ๔ ฟุตครึ่ง หนา ๒ ฟุตครึ่ง บนกำแพงเจาะช่องสำหรับยิงปืน
ตัวเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อย ต้นไม้ใหญ่ขึ้นร่มรื่น เมืองอยู่ห่างฝั่งตะวันออกของ #น้ำแม่ปิง ๓ ไมล์ครึ่ง สมัยที่อาณาจักร #เชียงใหม่ ตกเป็นเมืองขึ้นของ #พม่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ จนถึงการปลดแอกจากพม่า หันไปเข้ากับสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้น เมืองลำพูนก็ยังอยู่ดีมีสุข เว้นแต่เกิดการจลาจลในระยะสั้นๆ สมัยที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าเท่านั้น
เมืองลำพูนร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๒ ถึง พ.ศ. ๒๓๖๓ เพราะ ถูกกองทัพพม่า หรือ ไทใหญ่ โจมตีเสมอ จน #พระเจ้าบุญมา "น้องหล้า" แห่งสายสกุลเจ้า ๗ ตนผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองละคอร และ เมืองลำพูน ฟื้น เมืองลำพูน ขึ้นใหม่
ตกค่ำ ข้าพเจ้าไปพบ #เจ้าหลวงเมืองลำพูน คุ้มหลวง ประกอบด้วยเรือน ๔ หลัง เรือนหลังหนึ่งแยกออกต่างหาก ส่วนอีก ๓ หลังร่วมพื้นเดียวกัน สถาปัตยกรรมของคุ้มหลวง ก็เหมือนเรือนเจ้านายทั่วไป มีขนาดใหญ่ มุงกระเบื้อง
เมื่อเดินขึ้นบนชาน ก็พบเจ้าหลวงนั่งขัดสมาธิบนพรมที่ลาดปูบนยกพื้น หรือ เติ๋น ท่ามกลางชายา
บรรดาแสนท้าวพญา และ พระญาติเข้าเฝ้า รอบกายตั้งเครื่องยศ ประกอบด้วย กระโถนทองคำ หีบหมาก พาน คนโท ฯลฯ ท่านนั่งอิงหมอนสามเหลี่ยม สูบบุหรี่อย่างสบายอารมณ์ หญิงสาวหน้าตาหมดจด ๒ คน นั่งหมอบเยื้องไปข้างหลัง ๑๒ ฟุต มือถือพัดด้ามยาว พัดวีให้ท่านเย็นสบาย
เจ้าหลวงเป็นชายมีอายุ ผมสีดอกเลา มารยาทงาม ดูมีเชาวน์ปัญญา ทว่า ท่านกำลังเพลิดเพลินกับ
สำรับมื้อค่ำจึงไม่ใคร่เจรจาเรื่องการค้าขาย ที่ยาวยืดเท่าใดนัก
เมื่อท่านสั่งให้ปูเสื่อ และ ยกหมอนมาให้พวกเราอิง แล้ว ท่านก็บอกว่า ท่านไม่สงสัยอะไรเลย โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ จะนำสิ่งดีๆ มาสู่บ้านเมืองของท่าน และ จะพาคนมาไหว้พระธาตุเพิ่มขึ้นด้วย
จากการสนทนาก็ทราบว่าท่านเป็นคนช่างคุย ท่านถามข้าพเจ้าว่า คิดอย่างไรกับทางเกวียนที่ตัดมาจากดอยติ แน่นอนว่า เจ้าหลวงจะช่วยเหลือเรื่องเส้นทางรถไฟอย่างสุดความสามารถ แต่หวังว่าโครงการจะเริ่มต้นในเร็ววัน มิเช่นนั้น ท่านจะแก่เกินกว่าจะช่วยอะไรได้
เมื่อเห็นท่าจะไม่ได้ข้อมูลอันใดอีก เพราะขณะสนทนากัน เจ้าหลวงกลั้นหาวในทุกประโยค พวกเราจึงจับมือขออำลากลับเรือน
วันที่ ๒๐ เมษายน ทันทีเมื่อแสงตะวันส่องฟ้า ข้าพเจ้าก็ออกจากเมืองลำพูน แต่ ดร.แมกกิลวารี
กับ ดร.คุชชิ่ง ได้เดินทางล่วงหน้าไปก่อนหลายชั่วโมงแล้ว จึงถึงเมืองเซียงใหม่ตั้งแต่ช่วงที่อากาศยังเย็นอยู่ ถนนจากเมืองลำพูน ไปยังเมืองเชียงใหม่มีระยะทาง ๑๒ ไมล์ บ้านเรือนตั้งเรียงเป็นแถวยาว น้อยครั้งที่จะมีสิ่งใดมาแทรกอยู่ตรงกลาง ต้นผลไม้ และ กอไผ่ขึ้นเป็นพุ่มสวยในสวนริมถนนที่ แสนร่มเย็น ช่วยให้ร่มเงาแก่ผู้สัญจรไปมาตลอดเส้นทางเป็นความเพลิดเพลินอย่างยิ่ง ที่เดินทางผ่านหมู่บ้าน และ ผู้คนภายหลังการสำรวจในป่าดงช้านาน สีทองเหลืองอร่ามของวัด ราวเสื้อคลุมอัศวินเปล่งประกาย ลอดผ่านทิวไม้ ธงสีแดง และ ขาวผืนเล็กยาวที่ห้อยบนปลายไม้แกว่งไกวตามแรงลมดึงดูดความสนใจผู้สัญจรบนท้องถนนให้ แวะเวียนมายังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คนงานกลุ่มหนึ่ง กำลังปรับผิวถนนให้ราบเรียบเพื่อเตรียมรับเสด็จเจ้านาย
เมื่อเดินทางต่อไปสักระยะ ใกล้กับวัด และ เจดีย์เก่าแห่งหนึ่ง เป็นแนวต้นยางใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขา
สูงเหนือพื้น ๕๐ ฟุต โคนต้นมีรอยบากขนาดใหญ่สำหรับเอาน้ำยาง แม้แต่กอไผ่ ใบก็เขียวสด นกแก้ว นกพิราบ นกหัวขวาน นกกระเต็นสีดำหางยาว นกเอี้ยง นกขุนทอง กา และ นกกระจอก ช่วยสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินระหว่างเดินทาง สู่ เมืองเชียงใหม่
ตัดตอนจากหนังสือ #ท่องล้านนาบนหลังช้าง
ของโฮลต์ ฮาลเลตต์ พ.ศ. ๒๔๒๗
สุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์ แปล
ภาพ ประตูเมือง ลำพูน เมื่อร้อยปีก่อน
คุณ ก้าว คนป่าบ้านนา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=800673832162363&id=100066592606327
Wisarut wrote: Planned railways in Mainland Southeast Asian Mainland as proposed by Mr. Hallet in 1886 along with French imperialists which had been published by Cambridge University Press in 1890.
However, the railway that head to Chiangmai via Rahaeng (Tak) along Ping river has not been conceived at all since Siamese government had decided to follow the course of Nan River after reaching Paknam Pho in 1905 to reach Phitsanulok in 1908, Uttaradit in 1909, Denchai in 1912, Lampang in 1916 and Chiangmai in 1922 using the loan 💷 and budget surplus 💰. This Siamese policies had effectively starved Maulmain while strengthening the Royal Siamese Army based in Paknam Pho, Phitsanulok, Uttaradit before moving the troops to set the skeletal structure in Denchai, Lampang, Chiangmai before further reinforcements after the railway 🛤️ had reached Chiangmai while helping to improve the old dirt track or forest trials 🌳 into Highway from Lampang to Maesai via Phayao and Chiang Rai as one of early sections of Phahonyothin road (Highway No. 1) which later extended to Tak via Ko Kha and Thoen 🛣️ along with the road from Denchai to Phrae and Nan (Highway No. 101) which later extended to reach Sawankhalok and Sukhothai. There was also the dirt road for oxcart track from Phitsanulok to Sukhothai which later being upgraded to Highway 🛣️ which has become the early section of Highway No. 12 before further extension to Tak via Ban Dan Larn Hoy.
For the railway from Hanoi to Maulmain via Luang Phrabang, Pak Lay, Uttaradit, Rahaeng, it has not been conceived at all. Furthermore, the planned railway from Saigon to Phnom Penh via My Tho had been terminated at My Tho due to technological limitations to deal with the railway bridges across Mekong River and the swampy areas of Mekong delta.
https://www.facebook.com/ItsAseanSkylines/posts/834492618721387
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46445
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 18/06/2024 6:43 am Post subject:
ร่องรอยแห่งการตรากตรำ: ตำนานมหากาพย์ของทางรถไฟมลายา
By ABBI KANTHASAMY
ASIA & OCEANIA
วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2024
เวลา 17:00 น. (MYT)
[ChatGPT-4o translated]
ส่วนหนึ่งของโฆษณาเก่าของทางรถไฟมลายา ภาพ: Handout
คุณเจอชุดโฆษณาเก่า ๆ ซีดจางของทางรถไฟมลายาซุกอยู่ในมุมที่เต็มไปด้วยฝุ่นของร้านหนังสือข้างถนนในกัวลาลัมเปอร์ กราฟิกที่โดดเด่น, เสน่ห์ของการเดินทางไกล, คำสัญญาของจุดหมายที่แปลกใหม่ ภาพที่จับใจยุคสมัยที่ล่วงไปเมื่อไอน้ำครองโลก, รางรถไฟเชื่อมต่อสถานที่ที่ไม่เคยเชื่อมต่อ, และโลกทั้งใบดูเหมือนจะเป็นเพียงการนั่งรถไฟไปเท่านั้น
แต่เบื้องหลังโฆษณาสวยงามเหล่านี้กลับมีเรื่องราวที่ยากลำบาก ไม่ใช่ของการเดินทางและการค้า แต่เป็นของเหงื่อ, การตรากตรำ, และชีวิตที่ทุ่มเทเพื่อวางรางเหล่านี้ที่กำหนดภูมิทัศน์เศรษฐกิจของมลายา
ลองจินตนาการถึงฉาก: ดวงอาทิตย์ร้อนแรงในเขตร้อน, เสียงจิ้งหรีดไม่หยุดหย่อน, อากาศหนาไปด้วยความชื้น และเสียงดังของค้อนพันเล่มที่ตีโลหะ ที่นี่, ในป่าลึกและตามเมืองที่กำลังเติบโตในต้นศตวรรษที่ 20 มลายา, แรงงานอินเดียคือชีวิตที่เติมเต็มการขยายตัวของทางรถไฟ พวกเขาห่างไกลจากการผจญภัยและโรแมนติกที่สัญญาไว้ในโปสเตอร์ท่องเที่ยว; พวกเขาคือคนที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก, คนที่ถูกมองข้าม, เสาหลักที่เศรษฐกิจอาณานิคมยืนอยู่
แรงงานอินเดีย, ที่ถูกดึงมาจากหมู่บ้านแห้งแล้งในทมิฬนาฑูและทุ่งเขียวขจีของเกรละ, ได้รับสัญญาว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นแต่กลับได้พันธนาการ ชีวิตประจำวันของพวกเขาคือการตรากตรำ การเคลียร์ป่าหนาทึบ, การวางรางรถไฟหนัก ๆ ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้สายตาของผู้คุมที่สนใจในเส้นตายและผลกำไร ไม่ใช่ชีวิตมนุษย์
ที่น่าเศร้าคือ ในระหว่างการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เช่น ทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสยาม-พม่า) ในประเทศเพื่อนบ้านในช่วงการยึดครองของญี่ปุ่น, มีแรงงานประมาณ 45,000 คนที่เสียชีวิตภายใต้สภาพการบังคับใช้แรงงาน, โรคภัย และความเหนื่อยล้าจากงานที่หนักหน่วง
ในขณะเดียวกัน, ชุมชนชาวศรีลังกา, ที่ถูกนำเข้ามาเพื่อความชำนาญด้านงานธุรการ, พบว่าตนเองต้องนำทางในลำดับชั้นที่ซับซ้อนของการปกครองอาณานิคม พวกเขาทำงานที่สถานี, เก็บบันทึก, และทำให้รถไฟเดินทางตรงเวลา สถานที่เช่น ลิตเติล จาฟนา ในบริกฟิลด์, กัวลาลัมเปอร์ และถนนศรีลังกาในปีนัง กลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม, เป็นสถานที่ที่ชาวศรีลังกามีชีวิตชีวาภายใต้บรรยากาศของมลายา
และแล้วก็มีเรื่องราวของอาหาร ร้านอาหารตามสถานีรถไฟ, ที่มักดำเนินการโดยภรรยาและครอบครัวของแรงงานเหล่านี้, กลายเป็นหม้อรวมวัฒนธรรม กลิ่นของข้าวมะขามใหม่ (tamarind rice), การสั่งอาหารแกงรสจัด รสชาติที่เตือนถึงบ้านเกิด, ดินแดนห่างไกลที่ทิ้งไว้เบื้องหลังในการไล่ตามการเอาชีวิตรอด
นี่คือตัวจริงของเรื่องราวทางรถไฟมลายา ไม่ใช่เพียงเรื่องของความทะเยอทะยานทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของอาณานิคม, แต่เป็นมหากาพย์แห่งความอดทนและการมีส่วนร่วม เรื่องราวที่ทุกแผ่นนอนที่วางและทุกแผ่นรางที่ติดตั้งเป็นการบอกเล่าถึงการตรากตรำของผู้ที่ถึงแม้จะมีอุปสรรคก็ยังสร้างรากฐานของมาเลเซียยุคใหม่
ในที่สุด, สิ่งที่เหลืออยู่คือมรดก สลักอยู่ไม่เพียงแต่ในรางเหล็กที่ข้ามคาบสมุทรแต่ในจิตวิญญาณที่ยั่งยืนของผู้ที่สร้างมันขึ้นมา มรดกที่ท้าทายให้เรามองข้ามความโรแมนติกของโปสเตอร์ท่องเที่ยวเก่า ๆ, ไปสู่เรื่องจริงที่มันซ่อนเอาไว้
นี่คือนิยายที่ต้องการความทรงจำและความเคารพ, เพราะมันถูกสร้างขึ้นไม่ใช่เพียงบนความปรารถนาของอาณาจักร, แต่บนหลังของผู้ที่ทำให้มันเป็นไปได้จริงๆ
https://www.thestar.com.my/lifestyle/travel/2024/06/15/tracks-of-toil-the-epic-tale-of-the-malayan-railway
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
Posted: 24/09/2024 11:24 am Post subject:
กือดา ญาบะ (ศูนย์กลางธุรกิจอำเภอรือเสาะ ในอดีต)
คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพ : -
เป็นภาพย่านต้นมะขาม ศูนย์กลางการค้าในอดีตของรือเสาะ ใกล้สถานีรถไฟ
สำหรับศูนย์กลางทางการค้าอยู่บริเวณสี่แยกหน้าสถานีรถไฟ ซึ่งยังคงมีอาคารที่ให้เห็นอยู่ เช่น โรงแรมกหยวน ปัจจุบันเป็นร้านค้าตรงหัวมุมถนน (บริเวณสี่แยกหน้าสถานีรถไฟระหว่างถนนสารกิจตัดกับถนนอุปการวิถี1) โรงแรมโกเต็ก, โรงแรมกงหลี, บ้านหะยีมานคาน และร้านค้าบริเวณถนนอุปการวิถี1ตัดกับถนนสารกิจ ร้านค้าที่ยังคงเหลือให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ คือ ร้านลี้น่ำเฮง
ในตลาดซึ่งเป็นย่านธุรกิจแทบทั้งหมดจะเป็นคนจีนที่มาประกอบธุรกิจในรือเสาะ มีโรงแรมอยู่หลายแห่ง มีโรงภาพยนตร์ที่บ้านท่าเรือและที่รือเสาะ มีร้านตัดเย็บเสื้อผ้าตามสมัยนิยม มีร้านบริการถ่ายรูปอยู่หลายร้านทีเดียว ทั้งห้องภาพรือเสาะ อัจฉรา เมโทร เสรีภาพ และไชยลักษณ์ มีร้านโชห่วย ร้านโกปี๊ ร้านรับซื้อยางพารา และมีแม้กระทั่งโรงฝิ่นกับซ่องของหญิงขายบริการโรงฝิ่น
ในสมัยนั้นก็อยู่ในบริเวณย่านการค้าแถบต้นมะขามหรือริมถนนรถไฟ ลูกค้าที่มาสูบฝิ่นมีทั้งคหบดีชาวจีนที่รํ่ารวยจากเหมืองหรือการเปิดห้างร้าน และคหบดีเจ้าของสวนยางชาวมลายูที่รํ่ารวยจากการขายยางพารา ไม่ปรากฏว่ามีลูกค้าที่เป็นคนไทย (สยาม) เข้ามาสูบฝิ่น ด้วยเหตุที่ค่าใช้จ่ายในการสูบฝิ่นค่อนข้างจะสูงมากทีเดียว ทำ ให้คนไทย (สยาม) ซึ่งไม่ได้กุมเศรษฐกิจในขณะนั้น ไม่มีกำ ลังพอที่จะเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ได้ เรื่องนี้ผมได้รับการบอกเล่าจากคนที่คลุกคลีกับโรงฝิ่นบ่อยๆ แต่แกไม่ได้สูบฝิ่นหรอก แกเที่ยวตระเวนลักขโมยรองเท้าของผู้ที่มาสูบฝิ่นในโรงฝิ่นไปขาย ซึ่งแกเล่าให้ผมฟังว่ารองเท้าของคนที่มาโรงฝิ่นมักเป็นรองเท้าหนังยี่ห้อ แบแร็กซ์ เสียส่วนใหญ่ ขายได้ราคาดี แกเที่ยวเดินสายตระเวนลักรองเท้าจากโรงฝิ่นทั้งที่ญาบะ ยี่งอ และตัวเมืองนราฯ เป็นอาชีพทีเดียว
ย่านต้นมะขามซึ่งเป็นบริเวณใกล้ๆ กับสถานีรถไฟ เป็นย่านการค้าขายที่คึกคักที่สุด มีร้านค้าหลากหลายประเภทเรียงรายไปตลอดสองฟากถนน ในสมัยหนึ่งที่มีการเปิดบริษัททำไม้ซุง ชื่อบริษัทซุงไทยจำกัด ลานหน้าสถานีรถไฟเต็มไปด้วยกองไม้ซุงท่อนใหญ่ๆ ที่เตรียมลำเลียงขึ้นขบวนตู้บรรทุกของรถไฟเพื่อส่งไปขายที่กรุงเทพฯบริเวณลานหน้าบ้านหรือ ร้านรวงของพ่อค้าชาวจีนก็เต็มไปด้วยลูกกระวานที่รับซื้อมาจากแผ่นดินตอนใน นำมาตากแดดเพื่อให้แห้งและส่งขายไปยังที่อื่น
สถานีรถไฟรือเสาะนับได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่มีความสำ คัญไม่น้อย เพราะเป็นหนึ่งในไม่กี่สถานีที่ขบวนรถด่วนสายธนบุรี-สุไหงโก-ลกจะต้องจอดรับผู้โดยสาร โดยปกติแล้วขบวนรถด่วนจะจอดตามสถานีที่เป็นตัวจังหวัดหรือสถานีที่เป็นอำ เภอขนาดใหญ่ของจังหวัดที่ทางรถไฟไม่ผ่านเท่านั้น เช่น สถานีหาดใหญ่ของสงขลา สถานีโคกโพธิ์ของปัตตานี และสถานีตันหยงมัสของนราธิวาส นอกเหนือจากนั้นขบวนรถด่วนจะไม่จอดให้บริการ ยกเว้นสถานีรือเสาะ เท่านั้น
หมายเหตุ : คัดย่อส่วนหนึ่งของข้อความ เรื่อง รือเสาะ พหุวัฒนธรรม : ความหลากหลายและมิตรภาพจากความทรงจำของ คนใน บนพื้นที่สีแดง. โดย อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง กรุงเทพฯ : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์, 2556.
เรียบเรียงโดย : ผู้โฟสเอง
ที่มาของรูปภาพและบทความ : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=122201329124023252&id=61550697580106
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43454
Location: NECTEC
Posted: 27/09/2024 2:59 pm Post subject:
เจ้าฟ้าสวีเดนและคณะนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกของ หัวหิน เมื่อ 100 กว่าปีก่อน
ผู้เขียน กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์
เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 13 เมษายน พ.ศ.2566
นักท่องเที่ยวคนแรกของ หัวหิน คือคณะของเจ้าชายวิลเลียมแห่งสวีเดนและสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ในการเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ. 2454 เมื่อเจ้าชายวิลเลียมในฐานะราชอาคันตุกะในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2454)
เมื่อเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว เจ้าชายวิลเลียม และแกรนดัชเชสมารีพระชายา ไม่ได้เสด็จกลับประเทศทันที แต่ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้พร้อมด้วยพระสหายคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ และหม่อมคัทริน พระชายา คณะของเจ้าชายวิลเลียมเสด็จหัวหิน โดยรถไฟจากชะอำไปหัวหินที่เพิ่งเปิดเดินรถครั้งแรกได้ประมาณ 1 สัปดาห์เท่านั้น คือในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
หัวหินเมื่อ 100 กว่าปีนั้นเป็นอย่างไร เจ้าฟ้าวิลเลียมและพระชายาทรงประทับใจหัวหินมากน้อยเพียงใด ปรามินทร์ เครือทอง ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ หัวหิน (สนพ.มติชน, ไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์) เนื้อหาส่วนหนึ่งมีดังนี้
เจ้าชายวิลเลียม (Prince William) แห่งสวีเดน บรรยายความงดงามของหัวหินเมื่อแรกพบไว้อย่างอัศจรรย์ในหนังสือชื่อ In the Land of Sun พิมพ์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2458 ว่า
หัวหินคือชื่อของสถานีรถไฟที่ตั้งอยู่บนกอไผ่โค้งงอ ข้างทางเต็มไปด้วยขบวนคาราวานของชาวสยามที่นำทั้งม้าพร้อมอาน และควายเทียมเกวียนอันงดงามมารอคอยต้อนรับพวกเราอยู่ และในไม่ช้าขบวนนี้ก็นำเราโดยสารไปบนผืนทรายเพื่อไปยังชายหาดอย่างลำบากยากเข็ญนำเราไปสู่ชายหาดอันงดงามด้วยทรายสีขาวละเอียดยิบที่เหยียดยาว ไปสู่น้ำทะเลที่ใสราวผลึกแก้ว ลมทะเลอันสดชื่นพัดโชยมาขจัดปัดเป่าความร้อน ทำให้เราสดชื่นขึ้น หลังจากการเดินทางอันยาวนานและเต็มไปด้วยฝุ่นจากการเดินทางโดยรถไฟ
ส่วนแกรนดัชเชสมารี (Grand Duchess Marie) แห่งรัสเซีย พระชายาเจ้าชายวิลเลียม เขียนหนังสือไว้ 2 เล่ม เล่มหนึ่งคือ LEducation dune Princess หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Education of a Princess a Memoir by Marie Grand Duchess of Russia พิมพ์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2473 กล่าวถึงการเดินทางไปหัวหินในคราวเดียวกับเจ้าชายวิลเลียมพระสวามีว่า
บนชายฝั่ง มีเต้นท์ขนาดใหญ่กางรอเราหลายหลัง ตกแต่งด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างเท่าที่จะพึงมีได้ เราพักกันที่นี่อยู่หลายวัน ลงเล่นน้ำในทะเลที่ใสบริสุทธิ์ให้ความสดชื่นกันทุกวัน ในขณะที่พวกผู้ชายต่างพากันออกป่าล่าสัตว์
สิ่งที่น่าสนใจในคำบรรยายเหล่านี้คือ หัวหินที่เจ้าชายวิลเลียมและแกรนดัชเชสมารีทรงบรรยายไว้ในหนังสือทั้ง 2 เล่ม คือหลักฐาน คำให้การ ที่อาจจะเก่าที่สุดในการบรรยายภาพชายหาดหัวหินยุคบุกเบิกอย่างแท้จริง ในช่วงเวลาที่หัวหินยัง บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งก่อสร้าง บ้านพักตากอากาศ หรือตำหนักใดๆ
วันที่คณะของเจ้าชายวิลเลียมเสด็จมาหัวหิน การเสด็จประพาสของเจ้านายยังไม่คึกคักเหมือนในเวลาต่อมา ยังไม่มีการสร้างตำหนักพักแรมใดๆ การเสด็จไปครั้งนั้นจึงต้องประทับค้างในเต็นท์ที่จัดถวาย
ห่างจากลูกคลื่นที่กําลังซัดสาดแตกซ่านประมาณ 10 หลา มีแคมป์เล็กๆ ตั้งกระโจมอยู่ เต็นท์แต่ละหลังมีขนาดใหญ่และงดงาม ณ ที่นี้ก็ใช้กฎเกณฑ์เดียวกันนั่นก็คือ ทุกคนล้วนมีเต็นท์เป็นของตนเอง แต่น่าสังเกตตรงที่ว่าเมื่อสองวันก่อนที่พวกเราจะเดินทางมาถึงนั้น บริเวณนี้ยังเป็นที่เปลี่ยวปกคลุมด้วยสุมทุมพุ่มไม้ ไม่เคยปรากฏสิ่งอันเป็นความทันสมัยใดๆ ที่จับต้องได้มาก่อน แต่แล้วที่นี่ก็ได้มีการลงมือลงแรงสร้างงานชิ้นนี้ขึ้นมาได้สำเร็จ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ก็เชื่อแน่ว่าต้องใช้เวลาสร้างไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์เป็นแน่
ภาพของหัวหินยุคบุกเบิกตามคำบรรยายของเจ้าชายวิลเลียมและแกรนดัชเชสมารี แสดงถึงความบริสุทธิ์ งดงาม และน่าหลงใหล แก่สายตาของผู้พบเห็น นับตั้งแต่วันแรกๆ ที่ชายหาดแห่งนี้ต้อนรับผู้มาเยือนกลุ่มแรกจากแดนไกล
ตั้งแต่วันนั้น หัวหินก็เริ่มเปลี่ยนแปลงจากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่ไม่มีใครรู้จักและจดจำได้ กลายมาเป็น ริเวียร่าแห่งตะวันออก ในชั่วข้ามคืน...
https://www.silpa-mag.com/history/article_64779
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group