Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179634
ทั้งหมด:13490866
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2018 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

“ฝรั่งจับเจ๊กไปฝังเป็นรากสะพานพระราม ๖” ลือกันหนักมาก-เจ้าหน้าที่ว่าอย่าให้โง่เง่านัก!
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ “สัมพันธ์ไทย” ฉบับประจำวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ (หนังสือพิมพ์ออกทุกวันพุธและวันเสาร์)
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_11599

การก่อสร้างทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 7 แม้มีอุปสรรค แต่ได้ระยะทางรวมกันกว่า 3 พันกม.
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_15119
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2018 10:24 am    Post subject: Reply with quote

หนังสือจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมแผนที่ เรื่องเส้นทางรถไฟตั้งแต่เมืองสงขลาไปถึงเมืองกูลิม ใน เคดาห์ หรือไทรบุรี ร.ศ. ๑๐๙ พ.ศ. ๒๔๓๔ ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ลงพิมพ์ในหนังสือ สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ พ.ศ.2558
Arrow สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ พ.ศ.2558

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2018 12:36 am    Post subject: Reply with quote

สำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะ-เพื่อให้เรื่องราวของแรงงานเอเชียถูกมองเห็นอีกครั้ง
Submitted on 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561 19:16

ในโอกาส 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟไทย-พม่าหรือ 'ทางรถไฟสายมรณะ' เสร็จสมบูรณ์ ญาติมิตรของแรงงานเหล่านั้นได้สำรวจร่องรอยของเส้นทางรถไฟจากบ้านโป่งไปจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ ชายแดนไทย-พม่า รวมทั้งประกอบพิธีทางศาสนาแบบฮินดูที่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ให้กับดวงวิญญาณของแรงงานก่อสร้างทางรถไฟที่ไม่มีโอกาสได้กลับภูมิลำเนาอีกเลย โดยทางคณะเพิ่งทางรถไฟจากสถานีรถไฟ จ.ราชบุรี และเพิ่งกลับถึงชายแดนไทย-มาเลเซียที่ด่านปาดังเบซาร์ในวันศุกร์นี้

พ. จันทราเสคาราน ประธานกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ (DRIG) ให้สัมภาษณ์ถึงการเยือนในโอกาสครบรอบ 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟไทย-พม่า หรือ 'ทางรถไฟสายมรณะ' โดยเรียกร้องให้ทางการไทยสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับแรงงานชาวเอเชียที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟไทย-พม่าความยาวกว่า 415 กม. ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากทั้งแรงงานเชลยศึกสัมพันธมิตรและแรงงานชาวเอเชียจากประเทศต่างๆ

ตามที่มีข่าวกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ (Death Railway Interest Group-DRIG) องค์กรภาคประชาสังคมที่มุ่งบันทึก นำเสนอเรื่องความทรงจำของคนงานชาวมาเลเซียที่มาสร้างทางรถไฟได้ ได้นำคณะญาติคนงานสร้างทางรถไฟไทย-พม่า มาย้อนรอยและจดจำประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม โดยผู้ร่วมเดินทางประกอบด้วชาวมาเลเซีย อินเดีย ญี่ปุ่นและไทย รวม 13 คน ซึ่งออกเดินทางมาจากมาเลเซียตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. และเริ่มเยือนสถานีรถไฟบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อ 14 ต.ค. และเริ่มเยือน จ.กาญจนบุรีในวันที่ 15 ต.ค. นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ญาติมิตรแรงงานเอเชียสำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะจนถึงชายแดนไทย-พม่า


คณะผู้ร่วมเดินทางส่วนหนึ่ง ที่เดินทางมารำลึก 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ถ่ายรูปร่วมกันที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2561 โดยที่บ้านโป่งเป็นจุดแรกๆ ที่แรงงานเอเชียและเชลยศึกสัมพันธมิตรเดินทางมาถึงเพื่อเตรียมสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อกับพม่า (ที่มา: DRIG)



แรงงานเชื้อสายทมิฬรวมตัวกันในแคมป์พัก หลังทราบถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 ส่วนทหารญี่ปุ่นที่อยู่ด้านหน้าของภาพที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ รปภ. ของสถานีรถไฟ บัดนี้ถูกควบคุมตัวโดยฝ่ายสัมพันธมิตรแทน อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แรงงานสร้างทางรถไฟชาวเอเชียเหล่านี้ก็มักจะอยู่ท้ายแถวเสมอเวลาต้องรับอาหารและยารักษาโรค ขณะที่เจ้าอาณานิคมให้ความสำคัญในการพาเชลยทหารสัมพันธมิตรเดินทางกลับบ้านเป็นลำดับแรกๆ ก่อน (ที่มา: anzacportal.dva.gov.au)

สถูปใหญ่บรรจุกระดูกของแรงงานชาวเอเชียที่เสียชีวิตในช่วงก่อสร้างทางรถไฟ ที่สุสานของวัดถาวรวราราม อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสุสานดอนรัก ที่เป็นที่ฝังศพเชลยสัมพันธมิตร (ที่มา: ประชาไท/แฟ้มภาพ/เมษายน 2557)

อนุสรณ์สถานที่ฝ่ายญี่ปุ่นสร้างไว้ใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 โดยรอบอนุสรณ์สถานมีข้อความจารึกเป็นภาษาต่างๆ ที่เป็นภาษาของแรงงานชาวเอเชียทั้งภาษาจีน ภาษาเวียดนาม ภาษาทมิฬ และภาษามลายู เป็นต้น (ที่มา: ประชาไท/แฟ้มภาพ/มีนาคม 2558)

ต่อมาวันที่ 15 ต.ค. ทางคณะได้เดินทางด้วยรถไฟจากสถานีรถไฟสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ไปถึงสถานีรถไฟน้ำตกที่ อ.ไทรโยค ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายมรณะที่เปิดใช้งาน ก่อนเดินทางด้วยรถยนต์ไปยัง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

และในวันที่ 16 ต.ค. ได้สำรวจสภาพเส้นทางรถไฟสายมรณะที่เหลืออยู่ โดยเริ่มจากสถานีด่านเจดีย์สามองค์ ชายแดนไทย-พม่า และเดินทางย้อนกลับมาที่สถานีรถไฟซองกาเลีย เพื่อสำรวจส่วนที่เหลือของสะพานคอนกรีตข้ามห้วยซองกาเลีย ซึ่งเคยใช้เป็นสะพานชั่วคราวในช่วงก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ นอกจากนี้ได้แวะสำรวจบริเวณสะพานรันตี บนทางหลวงหมายเลข 323 ซึ่งใกล้กับสถานีรถไฟนิเกะ จมอยู่ใต้ระดับน้ำของเขื่อนวชิราลงกรณ์

อย่างไรก็ตามทางคณะไม่ได้ไปบริเวณสถานีรถไฟแก่งคอยท่า ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีเปิดการเชื่อมต่อรถไฟไทย-พม่าเมื่อ 75 ปีที่แล้ว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นั้นที่ตั้งปัจจุบันอยู่ห่างจากทางหลวงรวมทั้งชุมชน อีกทั้งยังจมอยู่ใต้ระดับน้ำของเขื่อน

ชาวญี่ปุ่นในไทยทำบุญรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการสร้างทางรถไฟสายมรณะ, 7 มีนาคม 2559

แรงงานผู้รอดชีวิตจากการสร้างทางรถไฟสายมรณะฉลองวันเกิดครบ 100 ปี, 12 เมษายน 2560

75 ปีทางรถไฟสายมรณะ-ญาติแรงงานชาวเอเชียหวังให้ในบันทึกไม่ได้มีแค่ฝ่ายตะวันตก, 16 ตุลาคม 2561

เยี่ยมลูกชายอดีตแรงงานก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ
โดยในช่วงเย็นวันที่ 16 ต.ค. ทางคณะมาถึง ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และยังได้พบกับสมจันทร์ ชาละวันกุมภี วัย 53 ปี บุตรชายของอยู่ ชาละวันกุมภี หรือลุงอยู่ อดีตแรงงานก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นใช้วิธีเกณฑ์คนหนุ่มมาจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียตั้งแต่อายุ 15 ปี ด้วย โดยหลังสงคราม ลุงอยู่ตัดสินใจอาศัยและมีครอบครัวอยู่ในประเทศไทย และเพิ่งเสียชีวิตไปไม่กี่ปีมานี้

ทั้งนี้จันทราเสคารานกล่าวถึงการได้มีโอกาสพบกับทายาทของแรงงานก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะอีกครั้งว่า "เป็นความรู้สึกที่แปลกประหลาด ไม่ใช่ดีใจหรือเสียใจ พอดีผมพูดภาษาไทยไม่ได้ ส่วนเขาก็พูดภาษามลายูไม่ได้ ต้องสื่อสารกันผ่านล่าม" ขณะที่สมจันทร์จะทำบุญกระดูกอุทิศส่วนกุศลให้กับบิดาในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้้ด้วย

ค.คณะปติ (K. Kanapathy) อายุ 71 ปี ชาวมาเลเซียเชื้อสายทมิฬ จากพอร์ต ดิกสัน รัฐเนกรีเซมบิลัน ประเทศมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าพ่อและแม่ของเขาถูกเกณฑ์มาจากบริติชมลายาเพื่อมาก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ต่อมาลุงกับป้าของเขาที่เดินทางมาด้วยได้เสียชีวิตระหว่างที่มาทำงาน โดยหลายปีต่อมาหลังสิ้นสุดสงคราม แม่ได้คลอดเขาที่บริติชมลายา

คณะปติกล่าวว่าเมื่อเขาโตขึ้น เคยเดินทางมาประเทศไทยหลายครั้งแต่ก็มาเฉพาะกรุงเทพฯ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้กลับมารำลึกเส้นทางรถไฟสายมรณะที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกในครอบครัวของเขา โดยในครอบครัวยังคงเก็บธนบัตรญี่ปุ่นที่มีการพิมพ์ใช้ในสมัยสงครามอีกด้วย

เยือนพิพิธภัณฑ์ที่กาญจนบุรีและประกอบพิธีทางศาสนาให้ผู้เสียชีวิต

สำหรับกำหนดการในช่วงท้ายของการเยือนนั้น ในวันที่ 17 ต.ค. ทางคณะได้เยือนพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟสายมรณะในตัวเมือง จ.กาญจนบุรี รวมทั้งสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก และในวันที่ 18 ต.ค. ทางคณะได้ทำพิธีทางศาสนาฮินดูที่ริมแม่น้ำ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ให้กับแรงงานผู้เสียชีวิตจากการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะและไม่มีโอกาสได้กลับภูมิลำเนาหลังสงครามสิ้นสุด โดยจันทราเสคารานอธิบายด้วยว่าพิธีที่ประกอบนั้นเป็นพิธีทางศาสนาฮินดูที่แต่เดิมประกอบที่แม่น้ำคงคาให้กับผู้เสียชีวิต

โดยทางคณะได้เดินทางกลับโดยรถไฟขบวน 31 จากสถานีรถไฟ จ.ราชบุรี ในช่วงเย็นวันที่ 18 ต.ค. ไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ก่อนเดินทางพรมแดนมาเลเซียที่ด่านปาดังเบซาร์ในวันนี้ (19 ต.ค.)

อนึ่งทางกลุ่ม DRIG ได้เผยแพร่แถลงการณ์ในโอกาสครบรอบ 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ โดยเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นถึงความจำเป็นในการมีอนุสรณ์สถานและศูนย์ข้อมูลที่เป็นกิจจะลักษณะที่จะทำให้แรงงานชาวเอเชียถูกมองเห็น แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แต่ทางกลุ่มก็ยังหวังว่าจะได้เห็นข้อเรียกร้องเป็นจริงในขณะที่เหล่าแรงงานผู้รอดชีวิตที่ยังเหลือเป็นกลุ่มสุดท้ายยังไม่จากไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2018 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพยนตร์ ภารกิจจอมพล ป. ปี 2498 จากหอภาพยนตร์แห่งชาติ
น่าสนใจครับ

ไม่มีเผยแพร่ออนไลน์ ต้องไปขอสำเนาที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ
Arrow http://164.115.22.43/library/mylib/bookdetail.php?book_id=10584&fbclid=IwAR0d7BUBZFeGsvRvc8FQsPAQyrLCzmEOoLcWJOe7x3DDee-IouNC62Qrn24
Arrow http://164.115.22.43/library/library/shared/biblio_view_sbs.php?bibid=10584&rnd=13782

--------------------------

รายการข้อมูล:
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ: สื่อโสตทัศน์
สถานที่จัดเก็บ: ชั้นโสตทัศนวัสดุ
เลขเรียกหนังสือ: D2-05080
245 ชื่อเรื่อง: ภารกิจจอมพล ป. ปี 2498
100 ผู้แต่ง(บุคคล):
ภารกิจจอมพล ป. ปี 2498
รายการข้อมูลอย่างละเอียด:
Title: ภารกิจจอมพล ป. ปี 2498
Subject: ภาพยนตร์สารคดี
Subject: แปลก พิบูลสงคราม, จอมพล
Subject: ละเอียด พิบูลสงคราม, ท่านผู้หญิง

Synopsis: จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาเดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ตโดยทางเรือ เมื่อขึ้นจากเรือที่ท่าฉัตรไชยแล้วนายมงคล สุภาพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดให้การต้อนรับ จากนั้นเดินทางโดยแพข้ามฟากไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อเดินทางถึงมีราษฎรมาให้การต้อนรับ นายกรัฐมนตรีได้พูดคุยสนทนากับราษฎรอย่างใกล้ชิดแล้วเดินทางกลับมาขึ้นฝั่ง มีข้าราชการและประชาชนมาให้การต้อนรับเป็นจำนวนมากนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศัยกับผู้ที่มาให้การต้อนรับแล้วตัวแทนราษฎรกล่าวต้อนรับแล้วนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังโรงเรียนการช่างสตรีตรัง นายกรัฐมนตรีกล่าวปราศัยต่อผู้ที่มาต้อนรับแล้วนายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดตรังกล่าวต้อนรับแล้วภริยานายกรัฐมนตรีกล่าวตอบแล้วนายกรัฐมนตรีทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดตรังแล้วนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังอำเภอกันตัง เมื่อเดินทางถึงนายอำเภอกันตังให้การต้อนรับแล้วนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางไปเยี่ยมด่านศุลกากรกันตัง เยี่ยมชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั้นแล้วไปวางพวงมาลาอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) อดีตเจ้าเมืองตรังแล้วเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลตรัง เยี่ยมชมตึกคนไข้นอกแล้วทักทายเจ้าหน้าที่และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกันแล้วเดินทางต่อไปยังวัดท่าแคมีนักเรียนมารอให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก หลังจากทักทายนักเรียนและลูกเสือแล้วนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังอำเภอรัตตภูมิ จังหวัดสงขลา เมื่อถึงที่ว่าการอำเภอรัตตภูมิมีข้าราชการและประชาชนมารอให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก นายกรัฐมนตรีและท่านผู้หญิงได้ทักทายข้าราชการและประชาชนที่มารอต้อนรับอย่างอบอุ่นแล้วไปเยี่ยมบ้านประชาชนพร้อมพูดคุยสนทนาด้วยอย่างเป็นกันเองและตรวจเยี่ยมแถวลูกเสือและข้าราชการที่มารอต้อนรับอยู่ด้วยแล้วเดินทางต่อไปยังจังหวัดสตูล มีข้าราชการและประชาชนมารอต้อนรับอยู่เป็นจำนวนมาก นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีเปิดสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดสตูลแล้วนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศัยกับผู้มาร่วมในพิธี จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยา เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารที่ว่าการภาค 9 ศาลากลางจังหวัดสงขลา มีพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจร่วมในพิธีด้วย เมื่อประธานในพิธีจุดธูปเทียนสักการะบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลากล่าวรายงานแล้วนายกรัฐมนตรีกล่าวตอบแล้วทำพิธีกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ ที่ว่าการภาค 9 ศาลากลางจังหวัดสงขลาแล้วกล่าวปราศัยต่อผู้ที่มาร่วมในพิธีแล้วปลูกต้นไม้เป็นที่ระลึก จากนั้นเดินทางต่อไปยังสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดสงขลา

นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดสงขลากล่าวรายงานแล้วท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามกล่าวตอบแล้วนายกรัฐมนตรีกล่าวปราศัยแล้วถ่ายภาพเป็นที่ระลึกและรับประทานอาหารร่วมกันแล้วแวะทักทายนักเรียนและประชาชนที่มารอต้อนรับแล้วเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟสงขลาถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่แวะทักทายประชาชนที่รอต้อนรับแล้วเดินทางต่อไปถึงสถานีรถไฟนาม่วงเดินทางต่อไปถึงสถานีรถไฟจะนะหยุดแวะลงทักทายประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมารอต้อนรับอยู่เป้นจำนวนมากแล้วดินทางต่อไปถึงสถานีรถไฟเทพาแวะลงทักทายประชาชนที่มารอต้อนรับแล้วเดินทางโดยรถยนต์ไปยังโรงเรียนมีคณะครู นักเรียนและประชาชนมารอต้อนรับอยู่เป็นจำนวนมาก จากนั้นเดินทางต่อไปยังค่ายตำรวจตระเวนชายแดน ผู้บังคับการค่ายกล่าวรายงานแล้วนายกรัฐมนตรีกล่าวปราศัยแล้วตรวจแถวตำรวจตระเวนชายแดนแล้วมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้บังคับการค่ายแล้วเดินทางต่อไป นายกรัฐมนตรีกล่าวปราศัยกับข้าราชการที่มาต้อนรับแล้วเดินทางต่อไป ทักทายและถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับผู้ที่มาต้อนรับแล้วเดินทางต่อไปยังอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีเยี่ยมเยียนบ้านเรือนราษฎรแล้วเดินทางไปยังโรงเรียนยะรัง "บริรักษ์บำรุงราษฎร์" คณะครู ข้าราชการและราษฎรให้การต้อนรับแล้วไปชมการทำขนมของราษฎร ซื้อขนมแจกเด็กๆ ชมสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร เช่น ระบบการประปาแล้วเดินทางไปยังหมู่บ้านในอำเภอสายบุรีแวะเยี่ยมเยียนราษฎรแล้วเดินทางต่อไปถึงอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีทักทายกับประชาชนที่มารอต้อนรับแล้วเดินทางไปยังจังหวัดนราธิวาส ถึงโรงเรียนอนุบาลนราธิวาส นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดนราธิวาสกล่าวรายงานแล้วภริยานายกรัฐมนตรีกล่าวตอบแล้วนายกรัฐมนตรีกล่าวปราศัยแล้วทำพิธีกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดนราธิวาสแล้วมอบของที่ระลึกให้แก่นายกสมาคมฯ แล้วนายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณแล้วถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับสมาชิกสมาคม แล้วเดินทางไปเยี่ยมสุเหร่าผู้แทนชาวมุสลิมมอบของที่ระลึกแก่นายกรัฐมนตรีแล้วเดินทางไปชมบริเวณชายหาดและแม่น้ำบางนราก่อนจะเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลนราธิวาสแล้วเดินทางไปยังสถานีรถไฟตันหยงมัสทักทายกับข้าราชการที่มารอต้อนรับแล้วเดินทางโดยรถไฟไปถึงสถานีรถไฟสุไหง-โกลกแวะทักทายกับประชาชนที่มารอต้อนรับก่อนจะเดินทางโดยรถยนต์ต่อไป

Duration: 42.55 นาที
Sound,Color: เงียบ, สี
Original: ฟิล์ม 16 มม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2018 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

หนึ่งในแผนพัฒนารถไฟของญี่ปุ่นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา
โครงข่ายทางรถไฟหมายเลข 1 (第1縱貫鐵道群) หรือทางรถไฟสายโตเกียว - โชนัน (東京~昭南島間)สายนี้จะเริ่มต้นจากกรุงโตเกียว(東京 ) ไปยังชิโมโนเซกิ(下關) จากนั้นจะข้ามทะเลเหลืองไปที่เมืองปูซาน(釜山) ของเกาหลี ไปถึงเฟิ่งเทียน [มุกเดน] (奉天) หรือเมืองเสิ่นหยาง (沈阳市) ในแมนจูเรีย จากนั้นไปยังนครเทียนจิน(天津) - ปักกิ่ง(北京) - ฮั่นโข่ว(漢口) - เหิงโจว(衡州) - กุ้ยหลิน(桂林) - หลิ่วโจว(柳州) - หนานหนิง(南宁) - ด่านเจิ้นหนานกวน(鎮南關 ชายแดนจีน - เวียดนาม) เข้าสู่ซอมกุก( 村局/Xóm Cục)ในเวียดนาม ถึงเมืองท่าแขก (他曲) ในแขวงคำม่วนของลาว ข้ามมายังฝั่งไทยสู่ อ.กุมภวาปี (公抱哇比 ) จ.อุดรธานี เข้าสู่ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยถึงกรุงเทพ จากนั้นเข้าสู่ทางรถไฟสายใต้ของไทยจนถึงปาดังเบซาร์(巴东勿刹) สิ้นสุดที่เกาะโชนัน (昭南島) หรือสิงคโปร์ ทั้งนี้ จะมีทางรถไฟแยกจากเทียนจินไปถึงเมืองนานกิง(南京) และเชื่อมทางรถไฟย่อยจากนางาซากิ(长崎市) ถึงเซี่ยงไฮ้(上海市) ด้วย

.... ปรากฎในบันทึกของรถไฟ และฝ่ายไทย ระบุว่า จะมีการทำทางเชื่อม "ค้ำกลิ้ง" อุดรธานี - สกลนคร .....ซึ่งตรงกับช่วงทางรถไฟสายอีสานเหนือ ขอนแก่น - อุดรธานี ที่เปิดใช้งานในวันชาติปี 2484 เป็นต้นมา

https://www.facebook.com/worapong.keddit/posts/2052139428177026
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10218093037375573
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2018 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

"รถนอนรุ่นแรก"
ภาพและข้อมูลจากหนังสือ หัวหิน, สนพ. มติชน, 2553
รถไฟโบกี้นั่งและนอน ของใหม่ที่กรมรถไฟหลวงสายใต้สั่งเข้ามาใน พ.ศ. 2465 เพื่อบริการผู้โดยสารที่เดินทางระยะไกลระหว่างกรุงเทพฯ-มลายู ในภาพคือพระองค์เจ้าหญิงจุฑารัตนราชกุมารี พระธิดาในรัชกาลที่ 5 เสด็จมาถึงสถานีรถไฟหัวหิน

ด้านบนโบกี้มีตัวหนังสือกำกับ "รถสำหรับนอน" แต่ในความเป็นจริงบางครั้งเจ้านายที่เสด็จมากับรถไฟในโบกี้ "รถสำหรับนอน" นี้ ไม่ได้หมายความว่าจะทรงเดินทางไกลหรือบรรทมในรถไฟแต่เป็นเพราะโบกี้นี้เป็นรถ "ชั้น 1" จึงเลือกที่จะประทับในรถสำหรับนอนแม้ว่าจะเสด็จมาเพียงหัวหินก็ตาม
https://www.facebook.com/SilpaWattanatham/photos/a.140180076111393/1805589976237053/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 04/12/2018 10:55 am    Post subject: Reply with quote

ภาพอาคารสถานีอุตรดิตถ์ ที่คาร์ล ดอห์ริงค์ สถาปนิกปรัสเซียได้ฝากฝีมือไว้:
"สถานีอุตรดิตถ์"
พ.ศ. 2448 - 2449 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เตรียมการที่จะสร้างทางรถไฟสายเหนือ ไปเชียงใหม่ และอีกสายหนึ่งจากอุตรดิตถ์ไปบ้านไกร ตำบลท่าเดื่อ ล่องแม่น้ำโขงไปหลวงพระบาง จึงมีการสร้างสถานีรถไฟไว้ที่อุตรดิตถ์เพื่อเตรียมสำหรับสร้างทางรถไฟอีกสายหนึ่งไปบ้านไกร ได้เตรียมถางทาง โค่นต้นไม้ถมดิน ทางรถไฟตรงมาทางหลังวัดท่าถนน ผ่านป่าช้าของวัดท่าถนน (คือสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) สร้างมุ่งตรงไปถึงป่าไผ่หนาทึบ (คือที่ตั้งสถานีรถไฟท่าเสาในปัจจุบัน) ตัดผ่านหน้าวัดใหญ่ท่าเสาไปถึงหน้าวัดดอยท่าเสา

ในปี พ.ศ. 2450 ก็ได้วางรถไฟไปตามเส้นทางดังกล่าว ขณะที่ทางการวางรางรถไฟก็มีรถจักรทำงานจูงรถพ่วงที่บรรทุกดิน หินกรวดไปด้วย ประชาชนชาวอุตรดิตถ์ จึงได้เห็นรถไฟที่มาถึงอุตรดิตถ์ในปีนี้ และในปี พ.ศ. 2452 - 2453 ทางการจึงได้จัดการสร้างสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ขึ้นในบริเวณที่เป็นป่าช้าหลังวัดท่าถนนซึ่งเป็นสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์แต่เดิมที่สร้างมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ หรือจุงเก้นสติล มีป้อมตากอากาศอยู่ตรงกลางสร้างโดยสถาปนิกชาวเยอรมัน ชื่อ คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการรื้อป้อมออกแล้วสร้างเป็นหลังคาเพื่อป้องกันการเป็นเป้าโจมตีทางอากาศแต่ภายหลังก็ถูกโจมตีทางอากาศจนเสียหายทั้งหมดในปี 2487
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2736846472996067&set=a.2155846161096104&type=3&theater

เมืองท่าเดือ แขวงไชยบุรี ตรงข้ามหลวงพระบางตอนนี้มีสะพานแล้วครับ แต่ google map ยังไม่แสดงให้เห็น
https://www.google.co.th/maps/place/Muang+Thadua,+ลาว/@19.4333625,101.8154944,13.5z
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 10:03 pm    Post subject: Reply with quote

มีคนถามมากมายถึงเส้นทางรถไฟที่หายสาบสูญ admin ได้ลงสำรวจพบเบาะแสในวัดป่าพูลสิน เขตหนองกินเพล ที่นี้ มีเส้นทางรถไฟที่ยังพอให้เห็น อุโมงน้ำลอดยังคงสมบูรณ์ บรรยากาศร่มรื่นมากครับ แต่ก่อนเคยเป็นเส้นทางขนถ่ายสินค้าขึ้นลงที่นี่ จากรถไฟมาลงเรือ ขนจากเรือขึ้นรถไฟ ไปบ้านสถานีบุ่งหวายแล้วเข้า กทม ส่วนสิ้นค้าจากรถไฟไปขนลงที่บ้านโพธิมูล แล้วลำเลียงไปทางน้ำโดยเรือขนถ่ายสินค้าไปสู่จุดหมาย ปลายทางที่ลูกค้าสั่งซื้อ ขนข้าวสาร ขนฟืนเพื่อเป็นเชื้อเพลิงของรถไฟเอง ฯลฯ เมื่อปี 2523 ยังมีสภาพเป็นทางรถไฟ วิ่งผ่านได้แต่ไม่ใช้ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฟืนต้ม รถจักรไอน้ำอีกแล้ว เปลี่ยนเป็นรถจักรดีเซลแทนและอีกอย่างได้มีการตัดถนนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การรถไฟจคงยกเลิกเส้นทางสายนี้ ตัดถนนอุบลฯ/ศรีสะเกษ ตรง หมู่บ้านร่วมสร้าง ข้ามถนนตรงไวด์ฟาร์ม ไปบ้านโพธิมูล ครับผม
https://www.facebook.com/warinzoom/posts/2338851059676484
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2018 10:21 am    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลรถจักรจีอี UM12C ที่ขายให้ไทย เมื่อปี 2506 ส่งมอบปี 2507 - 2509
http://www.railroad.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=159801&start=30
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2018 11:34 am    Post subject: Reply with quote

กิจกรรมของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมื่อ ธันวาคมปี 2510 ทั้งแร่ฟลูออไรด์ แมงกานิส ยิปซั่ม ดีบุก ดินขาว และแม้กระทั่งแร่เหล็ก
http://www.songkhlastation.com/pdf/cargo2510/7267.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 73, 74, 75  Next
Page 46 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©