Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264292
ทั้งหมด:13575575
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 55, 56, 57 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2020 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟอุตรดิตถ์หลังเก่า)ตรงวงเวียนหอนาฬิกาเปิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคมพ. ศ. 2496
https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/permalink/2653522921643877/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2020 12:34 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีพรหมพิราม จ.พิษณุโลก แต่เดิมชื่อสถานี "บ้านกรับพวง" เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2451 (สมัยรัชกาลที่ 5) พร้อมกับการเปิดการเดินรถจากสถานีพิษณุโลกถึงสถานีบ้านดารา ในอดีตดั้งเดิม อำเภอพรหมพิรามได้ถูกเรียกกันว่า “เมืองพรหมพิราม” โดยศูนย์กลางของเมืองได้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ตำบลมะตูม ต่อมา ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่า “พรหมพิราม” เมื่อปี พ.ศ. 2438 และได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำน่าน ณ บ้านย่านขาด ต่อมาเมื่อมีการสร้างทางรถไฟผ่านจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ใกล้ทางรถไฟ ณ บ้านกรับพวงกลาง ตำบลพรหมพิราม โดยอยู่ห่างจากสถานีรถไฟเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร กรมรถไฟจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อสถานี "บ้านกรับพวง" มาเป็น "พรหมพิราม" ตั้งแต่วันที่ 01 มกราคม 2485 เพื่อให้ตรงกับชื่ออำเภอมาจนถึงปัจจุบัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3407029779355526&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2020 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

คุณ Anucha Patan ได้เขียนเล่าเรื่องเมื่อรถไฟมาถึงนครปฐม จนตั้งสถานีพระปฐม

Anucha Patan wrote:
จังหวัดนครปฐม หรือเมืองนครไชยศรีในสมัยก่อน แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ แต่การเดินทางยากลำบากมาก ยังไม่มีถนนหนทางวิ่งตรงจากกรุงเทพฯเหมือนในปัจจุบัน การเดินทางที่สะดวกที่สุดคือมาทางเรือโดยอาศัยลำน้ำหรือคลอง เช่นคลองมหาสวัสดิ์ที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในเอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี เมื่อ ร.ศ.๑๑๗ (พ.ศ.๒๔๔๒) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงความยากลำบากในการขนส่งสินค้าก่อนการมาถึงของรถไฟในสมัยนั้นว่า
"อย่างช้าอีก ๓ ปีที่นี้คงเปนเมือง ด้วยรถไฟจะเปนกำลังใหญ่ที่จะช่วยบำรุง เวลานี้ได้พบพวกมิศเตอร์กิงกำลังปักกรุยรถไฟเข้ามาในตอนคลองเจดีย์บูชาแล้ว ฟังเสียงพ่อค้าราษฎรในที่นี้อยู่ข้างจะพากันนิยมเรื่องรถไฟเปนอันมาก มีคนมาขอให้ฉันบอกว่ารถไฟจะแล้วเมื่อใดหลายคน ตามความเห็นของพวกพ่อค้าเห็นว่าถ้ารถไฟสายนี้แล้ว พวกเขาจะได้ความบริบูรณ์ขึ้นอีกมาก เพราะทุกวันนี้การทำไร่ขายสินค้ามีความขัดข้องอยู่หลายอย่าง คือต้องหาบขนสินค้ามาขายที่พระปฐมเปนความลำบากแลเปลืองโสหุ้ย บางทีในระดูฝนเหมือนอย่างเดียวนี้ ที่ไร่อยู่ไกลก็มาค้าขายไม่ได้ เพราะฝนชุกหนทางเปนหล่มเปนโคลน ใช้เกวียนหรือพาหะนะอย่างใดไม่ได้ อีกประการหนึ่งสินค้าที่เอามาขายที่ตลาดพระปฐมราคายังต่ำเปนต้นว่าน้อยหน่า บางวันถ้ามาขายมากด้วยกันขายได้เพียง ๑๐๐ ละ ๒ สลึง ต่อบางวันมีเรือมารับมากหรือคนมาขายน้อย จึงขึ้นราคาถึงกว่า ๑๐๐ ละ ๓ สลึง เพราะพวกที่รับคิดเพื่อเสียหายในระหว่างทางที่จะพาไปขาย น่านี้พอค่อยยังชั่ว ถ้าน่าแล้งบางทีถึง ๔ วัน ๕ วันจึงจะไปถึงกรุงเทพฯ ถ้ามีรถไฟความลำบากเหล่านี้จะหมดไป คงจะขายสินค้าได้ราคาดีกว่าเดี๋ยวนี้ คนจึงหวังใจในรถไฟมาก"
ในปี พ.ศ.๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้กระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟวางแผนงานเพื่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปเพชรบุรี ซึ่งต่อมาในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๒ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยถึงเพชรบุรี ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๔๕ และเปิดเดินรถตั้งแต่วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๖
(ภาพจากหนังสือ ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุฯ)

https://www.facebook.com/anucha.patan.927/posts/740166333377111

หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ ดิศกุล มีพระประสงค์จะจัดพิมพ์เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเพื่อแจกในงานฌาปนกิจศพ หม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยากำหนดงานวันที่ ๒๒ กรกฎาคมพุทธศักราช ๒๕๑๑ ณวัดเวฬุวัดเทพศิรินทราวาส เอกสารตรวจราชการเมืองนครชัยศรีนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งทรงพระยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้เสด็จตรวจราชการหัวเมืองในมณฑลกรุงเก่ามณฑลนครไชยศรีและมณฑลราชบุรีเมื่อปี ร. ศ.๑๑๗(พ.ศ.๒๔๔๑)เสด็จออกจากกรุงเทพฯโดยรถไฟตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม เริ่มส่งตรวจราชการที่มณฑลกรุงเก่าและประทับแรมตามรายทางจนถึงวันที่ ๑๒สิงหาคมเสด็จไปตรวจราชการที่มณฑลนครไชยศรีจนถึงวันที่ ๑๗สิงหาคมและเสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรีต่อไปจนถึงวันที่ ๒๖ สิงหาคมในการเสด็จตรวจราชการครั้งนั้นได้ทรงประมวลรายงานส่งมาให้พระยาสฤษดิพจนกร(เส็งวิ รยศิริ)ซึ่งภายหลังเป็นพระยามหาอำมาตยาธิบดีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยโปรดให้จัดพิมพ์เรื่องนี้ขึ้นไว้สำหรับใช้ในราชการครั้งหนึ่งแล้วให้ชื่อว่า"จดหมายเหตุระยะทางพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสด็จตรวจราชการหัวเมืองมณฑลกรุงเก่ามณฑลนครไชยศรี มณฑลราชบุรีในรัตนโกสินทร ศก ๑๑๗"

หนังสือที่พิมพ์ในคลังน้ำได้รวมเรื่องเสด็จตรวจราชการมณฑลปราจีนบุรีในเดือนมกราคม ร.ศ.๑๑๙(๒๔๔๓)ไว้ด้วยแต่มีได้โปรดให้แจกจ่ายเผยแพร่ทั่วไปโครงให้ใช้แต่เฉพาะในราชการเท่านั้นดังมีคำนำแจ้งไว้ตอนต้นของหนังสือที่พิมพ์ครั้งนั้นว่า "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงพระดำริเห็นว่าหนังสือราชการบางอย่างเช่นรายงานตรวจราชการตามหัวเมืองและข้อบังคับต่างๆซึ่งได้ตั้งขึ้นในเมืองหนึ่งเมืองใด เหล่านี้เป็นต้นควรจะลงพิมพ์ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชาตามหัวเมือง ได้อ่านทราบความไว้จะเป็นประโยชน์แก่ราชการได้มากจึงได้มีรับสั่งให้เลือกเรื่องหนังสือราชการที่จะเป็นประโยชน์เหล่านี้ลงพิมพ์ไว้ในกระทรวงสำหรับแจกไปไว้ในสถานที่ว่าราชการหัวเมืองเป็นประโยชน์เป็นความรู้เห็นของข้าราชการในที่นั้นๆ หนังสือเหล่านี้เป็นหนังสือซึ่งพิมพ์ขึ้นในราชการห้ามมิให้ซื้อขายให้ปัน หรือให้คัดลอกต่อออกไปจากที่ใช้ในราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

ส่วนเอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี ที่นำมาตีพิมพ์คราวนี้คัดจากต้นฉบับพิมพ์ดีดเก็บรักษาอยู่ที่กองจดหมายแห่งชาติกรมศิลปากรเมื่อได้นำมาเปรียบเทียบกับหนังสือที่ตีพิมพ์แล้วปรากฏว่าในการจัดพิมพ์ครั้งนั้นสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัดทอนข้อความบางตอนออกจากต้นฉบับเดิมบ้างเล็กน้อยตามที่ทรงเห็นว่าเหมาะสมแต่ฉบับที่หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ ดิศกุล โปรดให้จัดพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพหม่อมลำดวนดิศกุล ณ อยุธยานี้เป็นฉบับที่ทรงขอรับสำเนาเอกสารซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ โดยที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงเอกสารตรวจราชการนี้ไว้อย่างละเอียดทั้งในด้านภูมิสถานบ้านเมือง การคมนาคม การค้าขาย การเกษตร การปกครอง การศาสนา การศาลและอื่นๆทั้งเมื่อทรงพบข้อบกพร่องในราชการที่ควรแก้ไขก็ได้ทรงบันทึกชี้แจงข้อแก้ไขไว้ในรายงานด้วยการจัดพิมพ์เอกสารเรื่องนี้ออกเผยแพร่จึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าทั้งในด้านภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ตลอดจนการปกครองและการบริหารราชการบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่๕เป็นอันมาก กรมศิลปากรขอถวายอนุโมทนากุศลราศีทักษิณานุปทานซึ่งหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ ดิศกุล ได้ทรงบำเพ็ญอุทิศ แด่ หม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยาผู้เป็นหม่อมมารดาและโปรดให้พิมพ์หนังสือนี้จะจ่ายเป็นกุศลวิทยาทานของกุศลทั้งปวงนี้จงเป็นพลว ปัจจัยส่งเสริมให้ หม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา ประสบแต่อิฏฐคุณมนูญผลในสัมปรายภพสมดังมโนปณิธานทุกประการ เทอญ.
http://mobile.nlt.go.th/ebook-detail/371320


Last edited by Wisarut on 25/09/2020 2:53 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 2:11 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้เจอเรื่องหายากจากสาส์นสมเด็จ คือ กรมพระยานิศรานุวัติวงศ์ได้เล่าว่า ก่อน สงครามโลกครั้งที่ 1 พระยาพิพัฒนโกษา (เซเรสติโน ซาเวียร์) เจ้าของบริษีทรถไฟแม่กลอง เคยขออนุญาตทำรถไฟ จากกรุงเก่าไปอ่างทอง และจากอ่างทองไปผักไห่ ถ้ามีกำไรก็จะทำถึงสุพรรณบุรี หลังจากทำรถไฟแม่กลองสำเร็จมาแล้ว แต่ปรากฏว่า คงหาแหล่งทุนมาไม่ได้ เนื่องจากพระคลังข้างที่ไม่อนุมัติให้ลงทุนทำรถไฟ เลยต้องระงับแผนไป

ภาพถ่าย พระยาพิพัฒนโกษา (เซเรสติโน ซาเวียร์) ดูได้ ที่นี่ครับ

นอกจากนี้ ยังได้ทราบว่า เมื่อ มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สิ้นพระชนม์ ณ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ได้มีพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ที่ วัดปิ่นบังอร เมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ก่อนนำพระอัฐิกลับพระนคร ทางรถไฟ ไปประดิษฐาน ณ วัดราชาธิวาส เมื่อ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2478


Last edited by Wisarut on 30/09/2020 1:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

"สารคดีสองข้างทางรถไฟ"
กรมรถไฟหลวงThe Royal State Railways of Siam, กรมรถไฟ Thai State Railways
25 กันยายน 2563 เวลา 11:03 น.


ขบวนรถเร็วกรุงเทพฯ-หนองคายนำคณะกฐินของกลุ่มชาวนาจากทั่วประเทศเดินทางไปยังจังหวัดหนองคาย ขบวนรถไฟแล่นผ่านบริเวณทุ่งสวน ไร่นาของอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี กลุ่มชาวนาอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิมารอรับคณะกฐินของกลุ่มชาวนาที่สถานีรถไฟ กลุ่มชาวนาอำเภอบัวใหญ่มารอรับคณะกฐินของกลุ่มชาวนาที่สถานีรถไฟ มีการร้องรำทำเพลงเป่าแคนต้อนรับกันอย่างสนุกสนาน รถไฟถึงสถานีรถไฟหนองคาย แม่น้ำโขงด้านฝั่งตรงข้ามคือประเทศลาว ชาวบ้านใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางในแม่น้ำโขง เรือแข่งที่เก็บรักษาไว้ใต้ถุนกุฏิในวัด ช่างตรวจดูสภาพความเรียบร้อยของเรือแข่งก่อนจะนำมาใช้ในการแข่งขัน ลวดลายบนเรือแข่ง การฝึกซ้อมเรือแข่งในแม่น้ำโขง ชาวบ้านนำสินค้าลงเรือที่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำโขง ช่างกำลังก่อสร้างท่าเรือและด่านศุลกากรแห่งใหม่ สถานีถ่ายทอดโทรทัศน์จากช่อง 5 จังหวัดขอนแก่นมายังจังหวัดหนองคาย เด็กๆ ดูโทรทัศน์ด้วยความสนใจ ชาวบ้านใช้วัวเทียมเกวียนเป็นพาหนะในการเดินทาง ประตูทางเข้าวัดโพธิชัย พระอุโบสถ ชาวบ้านมาสักการะบูชาหลวงพ่อพระใสพระประธานในพระอุโบสถ
ป้ายกฐินสามัคคีกลุ่มชาวนาทั่วประเทศ พัดรองที่ระลึกงานกฐินสามัคคีของกลุ่มชาวนา พุ่มกฐินวางเรียงรายอยู่ภายในศาลาว่าการเทศบาลเมืองหนองคาย คณะกรรมการงานกฐินสามัคคีของกลุ่มชาวนา ขบวนการแสดงฟ้อนภูไท การบรรเลงดนตรี กลอง ปี่และแคนประกอบการฟ้อนภูไท ขบวนฟ้อนนมัสการพระธาตุเชิงชุมของชาวนาจังหวัดสกลนคร ขบวนแห่ฟ้อนภูไทของชาวนาจังหวัดนครพนม ขบวนแห่ฟ้อนแม่ศรีฝัดข้าว ประชาชนมามุงดูการแสดงอย่างแน่นขนัด ขบวนแห่องค์กฐินของชาวนาจังหวัดต่างๆ ขบวนของกลุ่มชาวนาจังหวัดชัยภูมิ ขบวนของกลุ่มชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด ขบวนของกลุ่มชาวนาจังหวัดระยอง ขบวนของกลุ่มชาวนาจังหวัดสกลนคร การแสดงการฟ้อนรำของขบวนชาวนาจังหวัดสกลนคร ขบวนของกลุ่มชาวนาจังหวัดนครพนม ขบวนชาวนาจังหวัดอุดรธานี ขบวนแห่กลองยาว
องค์กฐินประดิษฐานบนรถยนต์เคลื่อนไปตามขบวน องค์กฐินของหน่วยอาสาสมัครรักษาดินแดนที่นำมาร่วมสมทบ ขบวนของหน่วยอาสาสมัครรักษาดินแดน ขบวนแห่กลองยาวของคณะหน่วยเร่งรัดพัฒนาชนบทหนองคาย ขบวนแห่หัวโต ขบวนแห่คนขาไม้ รถแทรกเตอร์ของหน่วยเร่งรัดพัฒนาชนบทร่วมขบวนด้วย มนุษย์หุ่นยนต์รั้งท้ายในขบวนแห่ ขบวนแห่ของกลุ่มเยาวชนชนบท อำเภอโพนพิสัย ขบวนแห่ของพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคาย ขบวนผ้าป่ากลุ่มชาวนาจังหวัดอุดรธานี ขบวนแห่เคลื่อนผ่านย่านการค้าในตัวเมืองหนองคาย ขบวนแห่ของกลุ่มชาวนาจังหวัดชัยภูมิ ขบวนแห่เคลื่อนมาถึงบริเวณศาลากลางจังหวัดหนองคาย
จอมพลถนอม กิติขจร นายกรัฐมนตรีรอรับขบวนแห่กฐินที่ศาลากลางจังหวัดหนองคาย ขบวนแห่เคลื่อนผ่านหน้าจอมพลถนอม กิติขจร ขบวนแห่แสดงการฟ้อนรำภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดหนองคาย จอมพลถนอม กิติขจร ขณะชมการแสดงฟ้อนรำ ประตูทางเข้าวัดอรุณรังสี จังหวัดหนองคาย พระอุโบสถ คณะกฐินของกลุ่มชาวนาเดินทางถึงวัดอรุณรังสี ผู้ร่วมในคณะกฐินฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จอมพลถนอม กิติขจร เป็นประธานในพิธี ขบวนแห่ของคณะกฐินชาวนาจังหวัดต่างๆ เดินทางถึงวัดอรุณรังสี ขบวนแห่ของชาวไทยเชื้อสายจีนมาร่วมสมทบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวขอบคุณในนามของชาวจังหวัดหนองคาย
พระประกาศสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวรายงานต่อจอมพลถนอม กิติขจร จอมพลถนอม กิติขจร กล่าวแสดงความยินดี จอมพลถนอม กิติขจร มอบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้สนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ จอมพลถนอม กิติขจร จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ผู้มาร่วมในพิธีรับฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จอมพลถนอม กิติขจร กล่าวถวายผ้ากฐิน พระประธานในพระอุโบสถ ทีประชุมสงฆ์กล่าวรับผ้ากฐิน จอมพลถนอม กิติขจรกรวดน้ำ สาวๆ พายเรือแข่งในแม่น้ำโขง ขบวนรถไฟออกจากสถานีรถไฟหนองคาย
https://www.youtube.com/watch?v=p3akLHw0QH0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2020 5:35 am    Post subject: Reply with quote

สะพานถ้ำกระแซสมัยใช้รถดีเซลรางฮตาชิทำขบวน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3411154812276356&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2020 5:36 am    Post subject: Reply with quote

รถเร็วสายเหนือสมัยผ่านสะพานห้าหอ พฤศจิกายน 1966
https://www.facebook.com/photo/?fbid=10215129557107299&set=a.10215129560307379
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2020 5:43 am    Post subject: Reply with quote

27 กันยายน 2506 ทางช่วงมวกเหล็ก
การวิ่งทดสอบสมรรถภาพรถจักรดีเซลไฮดรอลิค พลีมัธ (Plymouth) ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตามโครงการความช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ ในสมัยนั้น มีรุ่นเลขที่ 2001-2010 มีกำลัง 1000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. นำมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดยในตอนหลังทางสหรัฐอเมริกาได้นำเอารถจักรรุ่นนี้ทั้งหมด ไปใช้งานในเวียดนาม แล้วเอารถจักรดีเซลไฟฟ้า GE หมายเลข 4041-4050 มาแลกเปลี่ยน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3423987210993116&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2020 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

หลายวันก่อน ได้อ่านสาส์นสมเด็จทำให้ทราบว่า รถด่วนสายใต้ที่ผ่านปาดังเบซาร์ไปที่ไปรนั้น มีเดินจากกรุงเทพเฉพาะวันพุธและเสาร์ และ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2484 ให้รถด่วนสายใต้ เที่ยววันเสาร์ ตัดระยะที่หาดใหญ่ เพราะวันพุธเท่านั้นที่มาถึงไปรได้ ทำให้ ต้องปรับการส่งจดหมายจากปีนังกันใหม่ คือส่งกันทุกวันเสาร์ ตอนที่รถด่วนสายใต้เดิน จากไปรมากรุงเทพ พอญี่ปุ่นบุก ไทยและ ปีนังเมื่อเดือนธันวาคม 2484 นั้นกว่าจะส่งจดหมายจากปีนังได้อีกก็ราวๆ กลางเดือนเมษายน 2485 เพราะต้องหลบภัยอยู่สามเดือน และ รถที่เข้ามาฝั่งไทยนั้นมีวงโคจรเหมือนดาวหาง คือไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ มีรถมาเมื่อไหร่ก็ส่งเมื่อนั้น และ ช่วง 2484 นั้นหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ ต้องงดลงภาพประกอบข่าวเพื่อประหยัดต้นทุนและมาเลิกการพิมพ์เมื่อ 10 กันยายน 2485 และ ในช่วงปี 2483 - 84 นั้น การส่งจดหมายห้ามแนบภาพถ่ายไปด้วย ไม่งั้นจดหมายจะถูกตีกลับเว้นแต่ได้รับอนุญาตพิเศษจริงๆ

ช่วง ตุลาคม 2485 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ รถไฟสายใต้ทางขาด 4 ช่วง และ รถไฟสายใต้ไปได้แค่นครปฐม เพราะ ทางช่วงศาลายา โดนน้ำท่วมทางขาด ถ้านั่งรถไฟจากหาดใหญ่ กลับบ้าน ที่กรุงเทพก็จะไปได้แค่หัวหิน และ ตอนน้ำท่วมปี 2485 การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพจะพายเรือไปเยี่ยมบรรดามิตรสหายที่ไม่ได้เจอกันมานานก็เป็นเรื่องที่แสนเหน็ดเหนื่อยมาก ทำให้งดความตั้งใจที่จะไปเยี่ยมกรมพระยานรbศรานุวัติวงศ์ที่คลองเตย

REF: หนังสือสาส์นสมเด็จ-ฉบับที่ระลึกงานศพ-10-เล่มชุด


Last edited by Wisarut on 01/10/2020 1:58 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 1:47 am    Post subject: Reply with quote

ย่านสถานีบ้านแหลม ปี 2536 ภาพถ่ายโดยชาวต่างประเทศ โดย Lan Lynas
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/38578714214/in/album-72157688709373282/
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/27510318819/in/album-72157688709373282/
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/27510327699/in/album-72157688709373282/
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/27510321319/in/album-72157688709373282/

บรรยากาศเส้นทางรถไฟสาย(บ้านแหลม - แม่กลอง) รถดีเซลราง RHN
ในภาพขบวนรถกำลังจะเข้าสถานีปลายทางแม่กลองและตัวสถานีแม่กลอง ภาพเก่าช่วงปี 1993(พ.ศ.2536)
ภาพถ่ายโดยชาวต่างประเทศ // Lan Lynas
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/24423784487/in/album-72157688709373282/
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/38578721244/in/album-72157688709373282/
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/39285863621/in/album-72157688709373282/

สถานีมหาชัย(พ.ศ.2536"ภาพเก่าปี 1993")
โรงรถดีเซลรางสมุทรสาคร // พซข.13(RHN)
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/38578716954/in/album-72157688709373282/
https://www.flickr.com/photos/151168744@N05/27510324659/in/album-72157688709373282/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 55, 56, 57 ... 73, 74, 75  Next
Page 56 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©