Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181277
ทั้งหมด:13492512
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2021 8:02 am    Post subject: Reply with quote

https://www.facebook.com/fineartskm/posts/115445373873989

องค์ความรู้ด้านงานจดหมายเหตุ เรื่อง "การสร้างทางรถไฟสายอีสาน"
โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี
--------------------------------------

การสร้างทางรถไฟสายอีสาน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑) ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๙๘ และยังทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น รวมทั้งหมด ๑๓ ประเทศ ผลของการทำสนธิสัญญาดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพไปสู่เศรษฐกิจการตลาด โดยเฉพาะในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือตอนล่าง แต่ในภาคอีสานเศรษฐกิจยังเป็นแบบเดิม เพราะการคมนาคมระหว่างภาคอีสานกับภาคกลางไม่สะดวกอย่างยิ่ง ทั้งเสียเวลามาก เช่น เดินทางด้วยเกวียนจากกรุงเทพฯ มาถึงโคราชถึง ๒๗ วัน และจากโคราชถึงเมืองอุบลราชธานีใช้เวลา ๑๒-๒๒ วัน นอกจากนี้ยังมีอันตรายจากไข้ป่า ดังจะเห็นได้จากตอนสร้างทางรถไฟสายนี้มีวิศวกรฝรั่ง ๓๖ คน และกรรมกรจีน ๔๑๔ คน ตายจากไข้ป่า
หลังจากสร้างทางรถไฟสายอีสาน เศรษฐกิจ สังคมอีสานเปลี่ยนไปอย่างมาก ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นทางรถไฟสายแรกของรัฐบาลไทย ความคาดหวังของรัฐบาลที่จะเห็นประโยชน์อันเกิดจากการสร้างทางรถไฟสายนี้ จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างทางรถไฟสายแรกนี้ สรุปได้ ๒ ประการ คือ

๑. เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งผู้คนและสินค้า

๒. เพื่อประโยชน์ในการปกครองและรักษาพระราชอาณาเขต (ขณะฝรั่งเศสได้ยึดครองเขมร, เวียดนาม แล้วก็พุ่งมาที่ลาวจนไทยต้องเสียสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๓๑ และเริ่มเข้าสู่ดินแดนลาวส่วนที่เหลือ) ในที่สุดทางการก็ตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายอีสาน
วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. ๒๔๓๑) มีการลงพระนามและลงนามระหว่างพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทยกับพลโท เซอร์แอนดรู คลาก ชาวอังกฤษ และคณะตัวแทนผู้รับจ้างสำรวจความเหมาะสมในการสร้างทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยจะต้องสำรวจและประมาณราคาให้เสร็จภายใน ๔๘ เดือน
ผู้รับจ้างต้องประมาณราคาสร้างทางรถไฟทั้งขนาดความกว้างของรางรถไฟ
๑ เมตร ๑.๔๓๕ เมตร และ ๖๐ เซนติเมตร โดยไทยจะจ่ายค่าจ้างสำรวจ ไมล์ละไม่เกิน ๑๐๐ ปอนด์ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้มีการประกาศขายหุ้นลงทุนสร้างทางรถไฟแก่มหาชน ๑๖,๐๐๐ หุ้น หุ้นละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒ แสนชั่ง หรือ ๑๖ ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนมาสมทบกับเงินทุนที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติกันไว้แล้วส่วนหนึ่ง
วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ มีการเปิดซองประมูลการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ปรากฏว่ามีผู้ยื่นประมูล ๒ ราย รายแรก นายเล็นซ์ (Lenz) ตัวแทนของบริษัทเยอรมันซึ่งมีธนาคารเยอรมัน ๓ ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา ๑๑,๙๗๖,๙๒๕.๕๐ บาท รายที่ ๒ นายยี. มูเร แกมป์เบลล์ (George Murray Campbell) ชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ มีห้างซาดินเมเทธชั่นแห่งอังกฤษเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา ๙,๙๕๖,๑๖๔ บาท รายที่ ๒ ชนะการประมูลเพราะเสนอราคาต่ำกว่ารายแรกมากกว่า ๒ ล้าน ได้มีการทำสัญญากับตัวแทนของรัฐบาลไทยในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๔

วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. ๒๔๓๕) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงพิธี ณ ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษมตรงท้ายวัดเทพศิรินทราวาส เพื่อทรงขุดดินเป็นพระฤกษ์ ทรงตักดินเทลงในเกวียนพอสมควร แล้วโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ไสเกวียนเดินไปตามทาง ถึงที่ต้นทางที่จะทำทางรถไฟแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเทดินลงถมที่นั้นแล้ว คนงานทั้งหลายได้ลงมือขุดดินตามทางที่กระทรวงโยธาธิการได้ปักกรุยไว้ แต่ปรากฏว่าหลังจากก่อสร้างไปได้ไม่นาน บริษัทอังกฤษผู้รับสัมปทานไม่สามารถสร้างทางรถไฟได้เสร็จตามสัญญา กรมรถไฟหลวงจึงเลิกจ้างแล้วดำเนินการก่อสร้างเองจนเปิดใช้การได้ช่วงแรกกรุงเทพฯ-อยุธยา (๗๑ กิโลเมตร) ในวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. ๒๔๔๐)

ต่อจากนั้นก็มีการสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปชุมทางบ้านภาชี สระบุรี เข้าสู่ดงพญาเย็น ปรากฏว่าคนงานและวิศวกรตายเป็นจำนวนมาก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การสร้างทางรถไฟดังกล่าวซึ่งกำหนดไว้ ๕ ปี แต่กว่าจะเสร็จถึงเป้าหมาย ใช้เวลาถึง ๙ ปีเต็ม รวมระยะทาง ๒๖๕ กิโลเมตร ใช้เงินก่อสร้าง ๑๗,๕๘๕,๐๐๐ บาท (เฉลี่ยกิโลเมตรละ ๖๖,๓๖๐ บาท) สูงกว่าที่บริษัทอังกฤษประมูลไว้ ๗.๖๒ ล้านบาท หรือร้อยละ ๗๖.๕ เงินที่ใช้ก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าวถือว่าเป็นเงินจำนวนมากในยุคนั้น เพราะงบประมาณรายรับของรัฐบาลใน พ.ศ. ๒๔๓๕ มีเพียง ๑๕,๓๗๘,๑๑๔ บาท และในปีที่ทางรถไฟสร้างถึงนครราชสีมา พ.ศ. ๒๔๔๓ รัฐบาลไทยมีรายได้ทุกประเภทรวม ๓๕,๖๑๑,๓๐๖ บาท
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดรถไฟที่นครราชสีมาเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ อนึ่งความกว้างของรางรถไฟที่ใช้ในภาคอีสานและภาคอื่นๆ ใช้ขนาดมาตรฐานที่ดีที่สุดของโลกขณะนั้น คือ ๑.๔๓๕ เมตร ยกเว้นสายใต้ใช้ขนาด ๑ เมตร เพราะถูกแรงบีบจากอังกฤษจึงต้องใช้เท่ากับของอังกฤษในมลายู
ส่วนทางรถไฟจากนครราชสีมาไปยังอุบลราชธานีและหนองคายได้หยุดการก่อสร้างไป ๒๐ ปีเศษ เนื่องจากรัฐบาลได้ใช้งบประมาณซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างรถไฟสายเหนือและสายใต้ไปจนสิ้นรัชกาลที่ ๕ (ทางรถไฟสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระยะทาง ๙๓๒ กิโลเมตร อยู่ในระหว่างก่อสร้าง ๖๙๐ กิโลเมตร) การก่อสร้างเส้นทางมาเริ่มอีกครั้งปลายรัชกาลที่ ๖ ต่อเนื่องมาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๙ จึงเสร็จสมบูรณ์ที่สถานีหนองคาย กินเวลาถึง ๖๕ ปี สำหรับการเปิดใช้บริการเดินรถไฟในภาคอีสาน

ข้อมูลอ้างอิง
๑. สุวิทย์ ธีรศาศวัต. “ทางรถไฟสายอีสานในสมัยรัชกาลที่ ๕-๗, ศิลปวัฒนธรรม มีนาคม ๒๕๕๐
เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์เมื่อ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒ WWW.Silpa-mag.com
๒. ภาพถ่ายส่วนบุคคลพระธรรมไตรโลกาจารย์ (๒) ภ หจช. อบ สบ ๘.๒/๑๙
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2021 9:56 pm    Post subject: Reply with quote

ExplorersClub
24 กุมภาพันธ์ เวลา 15:10 น. ·
ลับ|RARE - Ep.03 : สัมผัสหัวรถจักรไอน้ำ ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทาง ที่ "โรงรถจักรธนบุรี"
สัมผัสสถานที่แห่งประวัติศาสตร์
ของการรถไฟไทย ไปด้วยกัน
กับการชมหัวรถจักรไอน้ำ
ความงดงามของเครื่องจักรแห่งการเดินทาง
ที่เคยใช้งานในสงครามโลกครั้งที่สอง
และยังใช้งานจริงได้อยู่!!!
ที่"โรงรถจักรธนบุรี"
Explorers : บาส กิ้บ สิฐ ปราง นัท

https://fb.watch/3UN-s8aRbx/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2021 3:17 pm    Post subject: Reply with quote

★ 4 มีนาคม พ.ศ. 2486 ..
.
นายพลอาเคโตะ นากามูระ และคณะ ตรวจสอบเส้นทางรถไฟบริเวณ “ช่องเขาขาด” ซึ่งต้องระเบิดภูเขาเป็นช่องทางให้รางรถไฟผ่าน
https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/permalink/2805601669769334/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:50 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2510 พันเอก แสง จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการเดินรถระหว่างสถานีจันทึก - คลองไผ่ ที่ กม.190 + 640.00 ซึ่งเป็นทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่ทดแทนเส้นทางรถไฟเดิมเนื่องจากมีการสร้างเขื่อนลำตะคอง
กรมชลประทานได้เริ่มโครงการก่อสร้างโครงการลำตะคองเมื่อปี พ.ศ.2507 ที่คลองไผ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อเก็บกักน้ำที่มีปริมาณมากมายของลำตะคองตอนต้นน้ำไว้ แล้วปล่อยให้ไหลไปสู่ลำตะคองตอนล่างให้มีปริมาณสม่ำเสมอตลอดปี เพื่อให้โครงการลำตะคองเดิมและโครงการทุ่งสัมฤทธิ์ได้รับน้ำพอเพียง และช่วยพื้นที่เพาะปลูกใน อ.สีคิ้ว โนนสูง และ อ.เมืองนครราชสีมาให้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการที่จะสร้างขึ้นนี้
อ่างเก็บน้ำโครงการลำตะคองอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 277 เมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความยาวของอ่าง 19 ก.ม. ส่วนกว้างที่สุด 7.5 ก.ม. หรือคิดเป็นพื้นที่ท้องน้ำประมาณ 44.5 ตารางกิโลเมตร มีบริเวณกว้างใหญ่ท่วมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (สระบุรี – นครราชสีมา) เป็นระยะทาง 15 ก.ม. คือระหว่างหลัก ก.ม. 179 – 193 และท่วมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างสถานีจันทึกและคลองไผ่ ช่วง ก.ม. 191 – 205 ซึ่งมีระยะทาง 15 ก.ม.เช่นเดียวกัน
.........................................
ขอขอบคณภาพและข้อมูลจาก facebook โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ มา ณ โอกาสนี้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=627830020738991&id=100005359969066
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 11:30 am    Post subject: Reply with quote

ภาพรถจักรฮิตาชิ 619...รถจักร ฮิตาชิ.619 คันนี้เคยมาใช้บริการที่โรงรถจักรบางซื่อพอตรวจซ่อมเสร็จก็ส่งใช้การที่ทุ่งสง และในสมัยที่JICA มาช่วยพัฒนา สำนักงานศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาซึ่งอยู่ในโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ รถจักร Hitachi คันนี้ญี่ปุ่นได้ปรับปรุงจนใช้งานได้ดีเพื่อให้พนักงานรถจักรใช้ฝึกหัดมีทางฝึกหัดขับมีเสาสัญญาน แต่เมื่อยุบสำนักงานไป ก็ไม่มีใครสนใจ
ป.ล. ฮิตาชิ (รุ่นแรก) - DD 50
หัวรถจักรเลขที่ : 611- 630
เข้าประจำการ : 1958 (พ.ศ. 2501)
กว้าง : 2795mm
สูง : 3784mm
ยาว : 14300mm
น้ำหนัก : 72000 KG
เครื่องยนต์ : MAN.W8V22
รัศมีวงรอบการหมุน : 160 M
กำลังเครื่องยนต์ : 950 แรงม้า
มูลค่า : 2,736,747.45 บาท/คัน
ผลิตโดย : บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3862717167108533
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 11:03 am    Post subject: Reply with quote

#วันนี้ในอดีต วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 เวลา 17.00 น. เศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟหลวง ณ ปรำพิธี ที่ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม ตรงข้ามวัดเทพศิรินทราวาส
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5683516524995699
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/03/2021 10:37 pm    Post subject: Reply with quote

คลิปหาชมยาก ในหลวง ร.9 และสมเด็จพระพันปีหลวง เสด็จฯ เยือนกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี 2503
https://fb.watch/48EUFEET2h/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 4:41 pm    Post subject: Reply with quote

การขนรถ พห. จากไต้หวันก่อนลงเรือมาเมืองไทย เมื่อปี 1965
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=296984651854195&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

13 มีนาคม "วันช้างไทย"
โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
13 มีนาคม 2564 เวลา 11:33 น.

🐘 ช้าง มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการก่อสร้างทางรถไฟในสยามประเทศเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีเครื่องจักรที่ทันสมัยเช่นในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องนำช้างมาช่วยลากดึงวัสดุต่างๆที่ใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟ เช่น รางเหล็ก ไม้หมอน โครงเหล็กสะพาน เป็นต้น นอกจากนี้ช้างยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยปกป้องประเทศชาติของเราในอดีตอีกด้วย
จากภาพช้างที่ช่วยชักลากในการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือเมื่อปี พ.ศ.2451
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2021 10:33 am    Post subject: Reply with quote

สถานีกรุงเทพ ปี 2525
https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/permalink/2815535675442600/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 73, 74, 75  Next
Page 60 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©