RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263095
ทั้งหมด:13574377
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 69, 70, 71 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2022 8:16 pm    Post subject: Reply with quote

พิธีเปิดเดินขบวนรถปฐมฤกษ์ภายใต้ความร่วมมือกับเอกชนจัดหารถจักรของ บ.ทีพีไอฯ เพื่อใช้ในการส่งสินค้า 😃
การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
นำร่องโครงการให้เอกชนลงทุนซื้อหัวรถจักรมาใช้ในการขนส่งสินค้าเป็นรายแรกในประเทศไทย
************************************
วันนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2559) ณ สถานีรถไฟหินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถปฐมฤกษ์ ภายใต้โครงการความร่วมมือกับเอกชนจัดหารถจักร ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) โดยมีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที พี ไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีเปิดฯ พร้อมกับผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน
Credit เนื้อหาข่าว : PR SRT
https://www.facebook.com/jeffsrt/posts/1204260466269114
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2022 11:27 pm    Post subject: Reply with quote

รถดีเซลรางโตคิว ฮิตาชิ นิปปอนชาเรียว (THN) ที่การรถไฟสั่งมาใช้แต่ปี 2526
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=tawatchai38&set=a.498331248309367
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2022 1:07 am    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลรถจักรฮิตาชิประจำการปี 2536-37
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=tawatchai38&set=a.500976961378129
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/03/2022 3:51 pm    Post subject: Reply with quote

หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
3 มี.ค. 65 13:22 น.
https://www.facebook.com/NationalLibraryofSuphanburi/posts/2153125921510427

องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เรื่อง ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
เรียบเรียง : นางทัศนีย์ เทพไชย (ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ)
ภาพ : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี

เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่ช่วยให้ผู้คนสัญจรเข้าสู่กรุงเทพฯ หรือเดินทางต่อไปยังสายใต้ได้สะดวกขึ้น จากการสำรวจแนวทางการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2497 ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2504 หยุดการก่อสร้างชั่วคราวเนื่องจากขาดงบประมาณ หลังจากนั้นเมื่อได้รับงบประมาณในปีพ.ศ. 2505 จึงทำการก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ โดยสถานีรถไฟตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
มีพิธีเปิดเดินรถในวันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 เวลา 14.30 น. โดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่ 15 (อยู่ ญาโณทโย ) สถิต ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ทรงเจิม พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ ประพรมน้ำมนต์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีตัดแถบแพรเปิด ณ สถานีหนองปลาดุก ซึ่งเป็นการเปิดสถานีรถไฟพร้อมกัน 10 แห่งตามระยะทางสถานีหนองปลาดุก ถึงสถานีสุพรรณบุรี ทั้งนี้ในขบวนรถไฟมีนายสุนทร หงส์ลดารมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พลเอกไสว แสนยากร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายมนูญ บริสุทธิ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ร่วมเดินทางมาพร้อมขบวนรถไฟจนถึงสถานีสุพรรณบุรี
เริ่มเปิดให้บริการประชาชนโดยสารในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2506 มีทั้งสิ้น 4 ขบวน ได้แก่
ขบวนรถ 345 ออกจากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) เวลา 13.20 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก เวลา 15.50 น. และถึงสถานีสุพรรณบุรี เวลา 18.00น.
ขบวนรถ 346 ออกจากสถานีสุพรรณบุรี เวลา 06.40 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก 07.50 น. สามารถต่อขบวนรถเพชรบุรี ถึงสถานีกรุงเทพฯ เวลา 11.50 น.
ขบวนรถ 347 ออกจากสถานีธนบุรี เวลา8.20 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก เวลา 10.00 น. และถึงสถานีสุพรรณบุรี เวลา 12.10 น.
ขบวนรถ 348 ออกจากสถานีสุพรรณบุรี เวลา 12.40 น. ถึงสถานีหนองปลาดุก เวลา 14.50 น. สามารถต่อขบวนรถประจวบคีรีขันธ์ ถึงสถานีธนบุรี เวลา 17.20 น.
อัตราค่าโดยสารในขณะนั้น
ประเภทชั้น3 จากสถานีสุพรรณบุรี ถึงกรุงเทพฯ เที่ยวเดียว 13 บาท
ไปกลับ 24.40 บาท
จากสถานีสุพรรณบุรี ถึงธนบุรี เที่ยวเดียว 12 บาท
ไปกลับ 22.40 บาท
ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสุพรรณบุรี ยังคงให้บริการประชาชน พ่อค้าแม่ค้านำสินค้าไปขายยังกรุงเทพฯ นครปฐม หรือจังหวัดอื่นๆใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง โดยมีขบวนรถไฟให้บริการ วันละ 2 ขบวน ได้แก่
ขบวน 356 สุพรรณบุรี - กรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ออกจากสถานีสุพรรณบุรี เวลา 04.00 น. ถึงสถานีหัวลำโพง เวลา 07.55 น.
ขบวน 355 กรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี รถไฟออกจากหัวลำโพง เวลา 16.40 น. ถึงสถานีสุพรรณบุรี เวลา 20.04 น.
เป็นขบวนรถชานเมืองแบบพัดลม ในอัตราค่าโดยสาร 32 บาท
(ข้อมูลราคาเดือนก.พ. ปี 2565)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย
ด้วยความสวยงามคลาสสิคของอาคารสถานีรถไฟสุพรรณบุรี รวมทั้งรางรถไฟ ไม้หมอน ตู้สินค้าเก่าๆ ที่จอดเรียงรายอยู่ตามสถานี และทิวทัศน์ที่เงียบสงบของเมืองสุพรรณบุรี ดึงดูดให้ผู้ที่สนใจแวะเวียนไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอยู่เป็นประจำ
ที่มา :
คนสุพรรณ. 6,343 (10 พฤษภาคม 2506) 1, 8.
------------. 6,348 (5 มิถุนายน 2506) 1, 8.
-------------. 6,350 (15 มิถุนายน 2506) 1, 8.
ภาพพิธีเปิดจากเพจ : โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2022 11:23 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพถ่ายชุมทางทุ่งสง ถ่ายเมื่อปี ๒๕๒๓
https://www.facebook.com/groups/NakhonCountry/posts/1300628936736729/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2022 1:57 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟในฐานะเครื่องหมายของความเจริญ
Home /Art & Culture/อารามบอย
Journey of the Footprint
17 เมษายน 2565 เวลา 21:26 น.

เห็นวันนี้มีคนพูดถึงรถไฟไทย วันนี้เลยเอาประเด็นสนุกๆเกี่ยวกับรถไฟมาเล่าให้ฟังครับ เพราะในสมัยรัชกาลที่ 4 ในช่วงเวลาที่เรายังไม่มีรถไฟนั้น มุมมองของชาวสยามในสมัยนั้นถือว่ารถไฟเป็นเครื่องหมายของความเจริญรุ่งเรืองเลยครับ
หลักฐานสำคัญปรากฏอยู่ในจิตรกรรมฝาผนัง วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งปรากฏภาพรถไฟลอดใต้ซุ้มโค้งอยู่ที่ผนังสกัดหลัง ซึ่งฉากนี้จริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งของภาพปริศนาธรรมของวัด
แต่เหตุผลที่ฉากนี้น่าสนใจคือเหตุใดถึงได้เลือกรถไฟแทนที่จะเป็นขนส่งสาธารณะแบบอื่น นั่นก็เป็นเพราะว่า รถไฟนี้เป็นสิ่งแทนความเจริญก้าวหน้าของโลกตะวันตก เป็นความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความทันสมัยของประเทศอังกฤษที่ทำให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน และยังเป็นสิ่งที่แพร่หลายไปทั่วโลกอีกด้วย
ดังนั้น รถไฟในภาพนี้จึงเป็นเหมือนพาหนะที่นำพาความเจริญ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ พระธรรม) ไปสู่ผู้คนนั่นเอง
อนึ่ง ภาพซุ้มโค้งในภาพจิตรกรรมนี้เป็นการแสดงภาพสถานีรถไฟแบบหนึ่งซึ่งสร้างคร่อมทางรถไฟและมีสะพานทอดลงมายังบริเวณชานชาลานี้มีอยู่จริงนะครับ โดยขรัวอินโข่งน่าจะเห็นภาพรถไฟและสถานีรถไฟในลักษณะนี้มาจากภาพพิมพ์ที่มาจากตะวันตก แต่เราไม่รู้ว่าได้แรงบันดาลใจจากสถานีไหน แต่ถ้าตัวอย่างสถานีที่หน้าตาแบบนี้ผมพอมีตัวอย่างมาให้ดูแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ สถานีรถไฟ Maidstone East ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษครับ
(ที่มาภาพ: wikipedia)
อนึ่ง ใครอยากอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมหรือจิตรกรรมฝาผนังส่วนอื่นๆ ขอแนะนำหนังสือ เล่มนี้ครับ
ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์, วิไลรัตน์ ยังรอต. ถอดรหัส ภาพผนัง พระจอมเกล้า-ขรัวอินโข่ง. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, 2559.
กับอีกชิ้นเป็นงานเขียนของผมใน The Cloud ครับ
https://readthecloud.co/wat-boromniwas/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2022 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

ร.๕ ทรงเปิดเดินรถไฟสายหลวงและสายราษฎร์! สายหลวงเปิด ๒๖ มีนา สายราษฎร์เปิด ๑๑ เมษา!!
โดย: โรม บุนนาค
เผยแพร่: 11 เมษายน 2565 เวลา 10:25
ปรับปรุง: 11 เมษายน 2565 เวลา 10:25



วันที่ ๒๖ มีนาคม ถือกันว่าเป็น “วันสถาปนากิจการรถไฟไทย” จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพฯ-อยุธยา เป็นระยะทาง ๗๑ กิโลเมตรในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ ถึงวันนี้ก็แสดงว่าเรามีรถไฟมา ๑๒๖ ปีแล้ว

เส้นทางช่วงนี้เป็นช่วงแรกของการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งเป็นสายแรกของประเทศ มีระยะทาง ๒๖๕ กิโลเมตร ทรงประกอบพระราชพิธีพระฤกษ์เริ่มสร้างมาตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๓๔ เมื่อเสร็จไปถึงอยุธยาแล้วจึงทรงเปิดให้ประชาชนได้ใช้ก่อนในวันที่ ๒๖ มีนาคม โดยเดินรถขึ้นล่องวันละ ๔ ขบวน มี ๙ สถานีคือ สถานีกรุงเทพฯ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า

รถไฟสายนี้เป็นรถไฟหลวง จึงถือเอาวันที่ ๒๖ มีนาคมที่เริ่มเปิดเดินรถเป็น “วันสถาปนารถไฟไทย”

แต่ความจริงเรามีรถไฟมาก่อนหน้านั้นแล้วถึง ๓ ปี ในปี ๒๔๒๙ รัฐบาลได้ให้สัมปทานแก่บริษัทของชาวเดนมาร์ค สร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำสมุทรปราการ ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร เป็นเวลา ๕๐ ปี แต่มาเริ่มสร้างในปี ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเปิดเดินรถในวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๓๖ พระราชดำรัสในครั้งนั้นมีความว่า

“...เรามีความยินดีที่ได้รับหน้าที่อันเป็นที่พึงใจ คือจะได้เป็นผู้เปิดรถไฟสายนี้ ซึ่งเป็นที่ชอบใจและปรารถนามาช้านานแล้วนั้น ได้สำเร็จสมดังประสงค์ลงในครั้งนี้ เพราะเหตุว่าเป็นรถไฟสายแรกที่จะได้เปิดในบ้านเมืองเรา แล้วยังจะมีสายอื่นต่อๆไปอีกเป็นจำนวนมากในเร็วๆนี้ เราหวังใจว่าจะเป็นการเจริญแก่ราชการและการค้าขายในบ้านเมืองเรายิ่งนัก...”

รถไฟสายปากน้ำมี ๑๒ สถานี คือ สถานีบางกอก ซึ่งอยู่ริมคลองตรงข้ามกับสถานีหัวลำโพงในปัจจุบัน สถานีต่อไปคือ ศาลาแดง คลองเตย บ้านกล้วย พระโขนง บางจาก บางนา สำโรง จรเข้ บางนางเกรง มหาวง และสถานีปากน้ำ ตรงท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์

เมื่อเริ่มแรกรถไฟสายนี้ก็ใช้หัวรถจักรไอน้ำ ต่อมาบริษัทนี้ได้สัมปทานทำโรงไฟฟ้าที่ถนนมหาพฤฒาราม จึงได้เปลี่ยนมาเป็นรถไฟฟ้าเช่นเดียวกับรถรางของกรุงเทพฯ ซึ่งเดิมใช้ม้าลาก และบริษัทนี้ได้ซื้อกิจการมาดำเนินการด้วย จึงถือได้ว่าเป็นการใช้รถไฟฟ้าเป็นรถโดยสารแห่งแรกในโลก

กิจการรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำประสบกับการขาดทุน ทางราชการจึงได้ให้กู้ยืมเพื่อให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ให้บริษัทต่างชาติกู้เงิน ทั้งนี้นอกจากเพื่อไม่ให้รถไฟสายแรกของไทยต้องล้มเหลวแล้ว ทางรถไฟสายนี้ยังถือเป็นสายยุทธศาสตร์ป้องกันปากน้ำเจ้าพระยา เคลื่อนย้ายทหารได้รวดเร็ว

หลังสิ้นสุดสัมปทานรถไฟสายปากน้ำ กรมรถไฟได้ดำเนินกิจการต่อ จนกระทั่งเลิกไปเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๓ ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรื้อทางรถไฟ ถมคลอง ขยายเป็นถนนพระราม ๔ ร่องรอยของเส้นทางรถไฟสายนี้ที่ยังเหลืออยู่ ก็คือเส้นทางรถยนต์ที่เรียกกันว่า “ถนนทางรถไฟสายเก่า” นั่นเอง

X

นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของตำนานรถไฟในประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2022 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพการส่งมอบรถจักรดีเซลไฟฟ้าฮิตาชิเครื่องยต์ M. A. N. ขนาด 960 แรงม้า 5 หลังแรก เมื่อปี 2501 (โชวะ 33) ส่วนอีก 25 หลังส่งมอบเมื่อปี 2504 รถจักรนี้ความเร็วสูงสุด 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม รถจักรฮิตาชินี้มีปัญหาเรื่องวระบบห้ามล้อลมอัดที่ทำงานไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ ต้องหันไปซื้อรถจักรยี่ห้ออื่นแทน
https://twitter.com/Kawaishi_Kanae/status/1522542113187336193?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2022 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

ตลาดนัดสวนจตุจักรในยุคแรกปี 2525
https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/posts/3138714036458094/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2022 9:45 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อวานนี้ หลายคนคงเห็นข่าวรถกระบะแหกโค้ง ไปฟาดกับเสาไฟฟ้าตรงข้ามศาลอาญา ซึ่งตั้งแต่ผมเป็นเด็ก ก็เห็นข่าวแบบนี้มานานแล้ว ว่าเป็นโค้งผีสิงบ้าง โค้งร้อยศพบ้าง
LIM-Catalogue
วันเสาร์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 15:15 น.

ถ้าขับรถไม่เกินความเร็วที่กฎหมายกำหนด สภาพคนขับไม่เมา ง่วงเพลีย สภาพรถยนต์สมบูรณ์ ยางไม่หมดสภาพ ถนนไม่เปียกลื่น ก็คงไม่เกิดอุบัติเหตุ
.
บางคนก็บอกว่า ถนนรัชดาภิเษกส่วนนี้ ทำไมถึงตัดถนนแล้วทำทางค่อยๆ โค้งไปยาวๆ แบบนี้ พอมีรถวิ่งมาเร็วๆ ก็แหกโค้งกันแถวนี้ประจำ ทำไมถึงไม่ทำถนนยกโค้งไปเลย ฯลฯ ...
.
คือแต่เดิม ถนนรัชดาภิเษกส่วนนี้ ไม่ได้มีโครงการจะทำถนนแต่แรกเริ่มนะครับ เอาจริงๆ แล้ว ตรงนี้จะทำ "ทางรถไฟสายบางซื่อ - คลองตัน" ต่างหาก!
.
ราชกิจจานุเบกษา ปี พ.ศ. 2484 ออกประกาศสำรวจเส้นทางเพื่อเวนคืนที่ดิน ตั้งแต่สถานีรถไฟบางซื่อ เชื่อมเส้นทางรถไฟสายตะวันออกที่สถานีคลองตัน แต่พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เรื่องนี้หยุดไป
.
ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้น เพราะต้องการให้ใช้สถานีบางซื่อ เป็นสถานีต้นทางแทนที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) นั่นเอง
.
ลักษณะทางกายภาพจึงต้องออกแบบรัศมีโค้ง (Radius of Curve) ไว้กว้างมาก เพราะขบวนรถไฟเมื่อวิ่งเข้าโค้ง จะมีแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Force) เกิดขึ้น
.
จึงต้องออกแบบโค้งให้กว้าง เพื่อให้ขบวนรถสามารถทำความเร็วได้ต่อเนื่อง หรือรถจักรสามารถลากจูงขบวนรถได้ยาวขึ้น
.
สำหรับภาพด้านบน เป็นภาพถ่ายทางอากาศ Bangkok-Thonburi City Planning Project ของกรมแผนที่ทหาร ในเดือนมิถุนายน 1958 (พ.ศ. 2501) จาก National Library of Australia
.
แนวเส้นซ้ายมือคือ คลองเปรมประชากร และหมู่บ้านริมคลอง ส่วนเส้นตรงสีขาวถัดมา คือ แนวทางรถไฟสายเหนือ
.
จากภาพ จะมองเห็นแนวทางโค้งที่แยกออกจากทางรถไฟสายเหนือ จากสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ คือ แนวทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือกับสายตะวันออก
.
แต่สุดท้ายก็ไม่ได้สร้าง กลายมาเป็นถนนกำแพงเพชร 2 - ถนนรัชดาภิเษก - ถนนวัฒนธรรม - ถนน RCA
.
สำหรับทางในโครงการนี้ นอกจากเวนคืนที่ดินไปแล้ว ยังไม่เคยได้วางรางรถไฟแต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลไม่มีงบสร้างทางรถไฟ เลยทำได้แค่กันแนวเขตที่ดิน และถมดินคันทางรถไฟแค่บางช่วง
.
ในเดือนพฤศจิกายน 2506 มีราชกิจจานุเบกษาออกมาอีกครั้ง เพื่อออกกฎหมายเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม ในส่วนของการสร้างทางรถไฟเชื่อมกับสถานีมักกะสันเพิ่ม ซึ่งจะทำให้บริเวณนี้เกิดเป็นทางสามเหลี่ยม (Chord Line)
แต่สุดท้ายพอปี 2514 รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 25 ปี พร้อมจัดงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก เส้นทางเวนคืนดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งของถนนรัชดาภิเษก
.
ซึ่งแนวโค้งถนนรัชดาภิเษกปัจจุบันนี่เอง จึงเป็นเส้นทางโค้งเก่าของเส้นทางรถไฟสายบางซื่อ - คลองตัน ครับ
.
ดังนั้นไม่ต้องงงกันนะครับ ว่าทำไมอาคารสถานที่หลายแห่งย่านถนนรัชดาภิเษก ทำไมถึงต้องทำสัญญาเช่าที่ดินรถไฟ กับ รฟท. ที่มีที่ดินด้วยกันถึง 186 ไร่ 124 แปลง ตลอดแนวฝั่งตะวันตกของถนนรัชดาภิเษก
.
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก คุณพุทธพร ส่องศรี / หนุ่มรัตนะพันทิป ณล / ราชกิจจานุเบกษา

https://www.facebook.com/LIM.Catalogue/posts/5294225080640947


Last edited by Wisarut on 04/06/2022 10:11 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 69, 70, 71 ... 73, 74, 75  Next
Page 70 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©