Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179803
ทั้งหมด:13491035
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - 110 ปีรถไฟไทย กับการพัฒนาต่อไปในอนาคต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

110 ปีรถไฟไทย กับการพัฒนาต่อไปในอนาคต
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 07/11/2010 10:32 pm    Post subject: Reply with quote

pak_nampho wrote:
ผลตอบแทนจากการบริจาคต่างกันครับป๋า

1. ช่วยด้วยเงิน ได้ชื่อเสียง,หน้าตา, เพื่อนฝูงและเจ้ากระทรวงให้การยอมรับ...จับต้องได้หมด... Razz
2. ช่วยขนส่ง ไม่ได้อย่างข้อ 1 เลย..... Sad

ทำอย่างป๋าบอกที่เครื่องบินทำก็ วิน วิน

(นก+(แอร์)+เอเซีย) บินไปหาดใญ่ได้ผู้โดยสาร(งิน) ใต้ท้องว่างก็โหลดเอาของบริจาคไปไม่ให้เสียเที่ยวค่าใช้จ่ายก็ไม่เพิ่มแถมยังได้บุญอีก

ระบบรางก็ทำได้ถ้าคิดทำ....... Wink

ระบบรางเปิดเดินรถโดยสารถึงชุมพร พ่วงคอกหมูบรรทุกของบริจาคแค่ชุมพร ที่เหลือหน่วยงานเกี่ยวข้องประสานต่อไป...
ระบบรางเปิดเดินรถโดยสารถึงสุราษฎร์ เพิ่มบชส บรรทุกของบริจาคแค่สุราษฏร์ ที่เหลือหน่วยงานเกี่ยวข้องประสานต่อไป...
ระบบรางเปิดเดินรถโดยสารถึงทุ่งสง เพิ่มบชส บรรทุกของบริจาคแค่ทุ่งสง ที่เหลือหน่วยงานเกี่ยวข้องประสานต่อไป...
ระบบรางเปิดเดินรถโดยสารถึงหาดใหญ่ เพิ่มบชส บรรทุกของบริจาคแค่หาดใหญ่ ที่เหลือหน่วยงานเกี่ยวข้องประสานต่อไป...

แค่นี้ระบบรางก็ได้ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้เหมือนกันกับเครื่องบินแล้ว....


ระบบรางก็ทำได้ถ้าคิดทำ....... Wink

ถ้างั้นคงเห็น "ระบบราง" รอช่วยพี่น้องชาวภาคใต้ประสบภัยหนาว ซะมั้งพี่
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 07/11/2010 10:56 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบรางก็ทำได้ถ้าคิดทำ กับ ระบบรางทำไม่ได้เพราะไม่คิดทำ
สองประโยคนี้ รวมกันเป็น หนึ่งความหมาย ได้ไหม ช่วยตอบที... Idea
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 07/11/2010 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

pak_nampho wrote:
ระบบรางก็ทำได้ถ้าคิดทำ กับ ระบบรางทำไม่ได้เพราะไม่คิดทำ
สองประโยคนี้ รวมกันเป็น หนึ่งความหมาย ได้ไหม ช่วยตอบที... Idea


คนที่อยากถาม เขารอพี่ชงคำถาม เนี่ยแหละ Question

ตอนนี้ได้แค่ฝากเพื่อนร่วมทริป แก่งคอย มาบตาพุด ไปถามให้นะพี่
ในวันสองวันนี้ คงมีคำตอบ ถ้าเขียนข่าว อะครับ หึหึ Idea
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 07/11/2010 11:46 pm    Post subject: Reply with quote

หวังว่าที่ชงไป คงไม่ขม หรือ ชงล้นไปนะ.... Laughing
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2010 11:52 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ไม่ขม แต่เปรี้ยวพอจะกัดลำไส้เสียเรียบเลยเทียวหละ Embarassed Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 21/11/2010 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

^
แวะมาตอบที่ เรื่องที่ชงไปนั้น แค่ขำๆ แต่ไม่รู้สึก อะอะ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2011 7:35 am    Post subject: Reply with quote

อนาคต... การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4277 หน้า 11

การจัดการด้านโลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า-บริการ, กระบวนการในการจัดเก็บรักษาและกระบวนการในการกระจายสินค้าจากผู้ส่งสินค้ารายแรกจนถึงผู้รับสินค้ารายสุดท้ายอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงความต้องการ และมีต้นทุนที่แข่งขันได้ ซึ่งการจัดการโลจิสติกส์จัดเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งของภาคเอกชนและของประเทศ เกี่ยวข้องกับบทบาทของภาคการเมืองและภาครัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม รวมทั้งการอำนวยความสะดวกทางการค้าจากกฎหมาย ระเบียบ และระบบการสื่อสาร เพื่อใช้เป็นกลไกในการลดต้นทุนของภาคการผลิต ทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งด้านการค้า ทั้งนี้การพัฒนาโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้และลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในสังคม

ปั้นโลจิสติกส์เป็นวาระแห่งชาติ

ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 18.6 ของ GDP ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะอยู่ที่ร้อยละ 7-10 ของ GDP พบว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถลดต้นทุนได้เพียงร้อยละ 1.0 แสดงถึงการขาดประสิทธิภาพของการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ผ่านมาของประเทศ ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยเข้าสู่การเปิดเสรีภายใต้ AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งการค้า, การผลิต, การลงทุนและการขนส่งของอาเซียนจะมีการเปิดเสรีอย่าง เต็มรูปแบบ ประเทศไทยจึงต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์เป็นวาระของชาติ (National Agenda)

ทั้งนี้รัฐบาลตั้งแต่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนมาถึงนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรื่องการพัฒนาโลจิสติกส์ แต่เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเกือบ 5 ปี (พ.ศ. 2549-2553) ประเทศประสบปัญหาการเมืองในประเทศ, การรัฐประหาร และการจลาจลอย่างรุนแรง ทำให้ในช่วง 4 ปี มีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 5 รัฐบาล ส่งผลเสียต่อความต่อเนื่องและการผลักดัน แผนกลยุทธ์ให้มีความสัมฤทธิผล โดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2554 อันเป็นปีสิ้นสุดแผนพัฒนาโลจิสติกส์ 5 ปี ซึ่งตั้งเป้าหมายในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้เหลือร้อยละ 16 ต่อ GDP อาจทำได้จริงเพียงร้อยละ 17.6 ถึง 18.0 ทำให้เป็นข้อสงสัยว่า เหตุใดการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ผ่านมาของประเทศไทยไม่ก้าวหน้า ทั้งที่มีแผนยุทธศาสตร์และมีคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จึงไม่สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จได้

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากช่องว่างของการพัฒนาการขาดการบูรณาการของเป้าหมายแผนก, ยุทธศาสตร์ และงบประมาณรวมถึงการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะประเด็นเป้าหมายที่แยกส่วนกัน โดยแทบจะไม่มีการบูรณาการ อีกทั้งนโยบายที่ไม่ต่อเนื่องของรัฐบาลที่ผ่านมา และปัญหาการเมืองภายในประเทศที่มีความรุนแรงตลอดมา ทำให้รัฐบาลและรัฐมนตรี เจ้ากระทรวงรวมทั้ง สศช.ไม่มีเวลาที่จะเข้ามาดูแลการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ จากการรับฟังการชี้แจงจากผู้แทนของหน่วยงานรัฐและเอกชน ทำให้ยิ่งเห็นภาพที่ชัดเจนของการขาดการประสานและบูรณาการของแผนและงบประมาณ โดยหน่วยงานระดับกรม ที่อยู่ต่างกระทรวงแทบไม่ทราบว่ากระทรวงอื่นมีการพัฒนาอย่างไร จะสอดคล้องประสานกันได้อย่างไร เช่น กระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงการคลังต่างถือกฎหมายกันคนละฉบับ

แต่จากการที่ทางคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานหลักในการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลที่เรียกว่า NSW : National Single Window กับอีก 35 หน่วยงาน ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จของ ยุทธศาสตร์อำนวยความสะดวกทางการค้าได้ระดับหนึ่ง แต่ผลสำเร็จยังคงต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี อย่างไรก็ดีแม้แต่การพัฒนายุทธศาสตร์ประสิทธิภาพด้านการขนส่งก็ยังพบว่ามีช่องโหว่และคอขวด (Bottle Neck) อยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาของกรมต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมซึ่งไม่มีแผนหลักที่เป็น Master Plan ที่จะตอบโจทย์การพัฒนาการขนส่งทางบก, ทางน้ำ และทางรางให้สอดประสานรับช่วงการขนส่ง ทำให้เกิด Missing Link ของการปรับเปลี่ยนโหมดการขนส่งให้ไปสู่การขนส่งที่ประหยัดพลังงาน เช่น การขนส่งทางราง การขนส่งทางลำน้ำ และการขนส่งทางชายฝั่ง

อย่างไรก็ตามแผนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่ผ่านมาในอดีตขาดหน่วยงานหลักที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบที่จะมารับผิดชอบในการกำกับดูแลและผลักดันและประเมินยุทธศาสตร์ ทำให้มีการใช้งบประมาณที่ซ้ำซ้อน และไร้ทิศทาง ขาดตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศก้าวหน้าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากแต่ละกระทรวงไม่ได้มีการบูรณาการทั้งแผนงาน ยุทธศาสตร์และงบประมาณ ซึ่งจากปัญหาอุปสรรคและการไม่เข้าใจถึงการพัฒนาโลจิสติกส์ของภาครัฐ ซึ่งเน้นแต่เพียงโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการที่ภาคธุรกิจไม่สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์โลจิสติกส์ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง

ทำให้การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยอยู่ในระดับพื้นฐาน ที่เรียกว่า "Transport Base" ซึ่งก็ยังสับสนระหว่างการพัฒนาระบบโลจิสติกส์กับระบบคมนาคมขนส่ง ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร อีกทั้งการพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยที่ผ่านมาอยู่ในระดับการอบรม-สัมมนา-วิจัย และดูงาน โดยใช้ดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณมากกว่าที่จะวัดผลเชิงคุณภาพ ทำให้การพัฒนาโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม (ของคนไทย) พัฒนาไปได้ค่อนข้างช้า

ปฏิรูปรถไฟเป็นมืออาชีพ

ตัวชี้วัดการขาดประสิทธิภาพของการพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยเห็นได้จากดัชนีความสามารถในการแข่งขันหรือ LPI : Logistics Performance Index ของธนาคารโลก ระบุว่า ในปี 2553 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 35 ลดลงจากลำดับที่ 31 ในปี 2550 ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศที่ลดลงได้เพียงเล็กน้อย

จากการศึกษาพบว่า เหตุผลสำคัญนอกเหนือจากปัจจัยทางการเมืองแล้ว ปัจจัยสำคัญเกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภาคขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพไม่เชื่อม ต่อกัน โดยไม่สามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนโหมดขนส่งทางถนนซึ่งมีสัดส่วนอยู่ถึงร้อยละ 83.0 ไปสู่ทางรางหรือทางน้ำซึ่งประหยัดกว่า 3.5 เท่า และ 7.0 เท่า ตามลำดับ ทั้งนี้สัดส่วนการขนส่งทางรางมีสัดส่วนอยู่เพียงร้อยละ 2.3 ซึ่งเหตุผลเกิดจากการไม่ชัดเจนในการพัฒนาโครงสร้างการบริหารของ ร.ฟ.ท. ซึ่งยังมีโครงสร้างเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกติดอยู่กับระบบราชการ ทำให้การพัฒนา ร.ฟ.ท.จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการพัฒนาที่ไม่มีประสิทธิภาพและขาดความชัดเจน ทั้งนี้ระบบรางคู่ปัจจุบันมีเพียง 300 ก.ม. จากแผนการพัฒนาของ รัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งใช้งบประมาณ 77,458 ล้านบาท ในการพัฒนารางคู่อีก 5 เส้นทาง เป็นระยะทาง 778 กิโลเมตร (รวมงบประมาณเก่า 80 ก.ม.) อาจต้องใช้เวลาอีก 5-6 ปีข้างหน้า เพราะหลายเส้นทางยังต้องมีการสำรวจและต้องผ่านกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการที่มี รางคู่ หากไม่มีการปฏิรูประบบรถไฟไทยให้มีความเป็นสากล และมีความเป็นมืออาชีพในระดับที่จะเป็นรถไฟของภูมิภาค ก็ยากที่จะเป็นกลไกในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ

ทั้งนี้แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยให้มีความเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาทางรางเป็นหลัก เพราะการพัฒนาการขนส่งทางแม่น้ำและการขนส่งชายฝั่ง ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67 วรรค 2) ทำให้การพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง โดยเฉพาะท่าเรือปากบารา รวมทั้ง Landbridge และอุตสาหกรรมต้นน้ำ บริเวณหลังท่าเรือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความคุ้มค่าทางเชิงพาณิชย์ในการสร้างท่าเรือ อาจทำได้ค่อนข้างยากทั้งด้านการทำ EIA และ HIA เพราะเกี่ยวข้องกับการยอมรับของชุมชน ปัญหาผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมและสุขอนามัย ดังนั้นหากไม่สามารถปฏิรูประบบรถไฟไทยให้มีความเป็นสากล โดยใช้หลักธุรกิจที่ต้องมีการ แข่งขันนำหน้าหลักการเป็นข้าราชการ ของรัฐ ก็ยากที่จะเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางราง จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนร้อยละ 2.3 ให้เป็นร้อยละ 15 ถึง 20 ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว การขนส่งทางรางจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20-25 ประเทศไทยจึงต้องมีแผนการใช้การขนส่งทางถนนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการมียุทธศาสตร์พลังงานทางเลือกในภาคขนส่งทางถนน ลดการติดขัดทางจราจรและลดการขนส่งเที่ยวเปล่า ซึ่งมีอยู่ถึงประมาณร้อยละ 46

อีกทั้งสนับสนุนให้มีศูนย์กระจายสินค้าตามแยกเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงจังหวัดที่สำคัญ โดยเฉพาะการเร่งส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการโลจิสติกส์และรถบรรทุกไทยสามารถให้บริการเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับยุทธศาสตร์ที่ดูว่าค่อนข้างขับเคลื่อนได้ชัดเจนคือ ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนากำลังคนหรือ Capacity Building โดยพบว่าปัจจุบันมีสถาบันการศึกษากว่า 70 แห่ง เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับโลจิสติกส์ บางมหาวิทยาลัยเปิดสอนถึงระดับปริญญาเอก

แต่ก็พบว่าการผลิตบุคลากรที่ผ่านมาเป็นเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ จำเป็นที่จะต้องมาทบทวนหลักสูตรและพิจารณาการเทียบโอนคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อเร่งสร้างบุคลากรที่มีประสบการณ์แต่ขาดวุฒิทางการศึกษา ให้เป็นหัวขบวนของการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ทั้งระดับสถาบันการศึกษาและการเรียนรู้นอกมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับให้โลจิสติกส์เป็นวิชาชีพ

นอกจากนี้การพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายเล็กยังขาดความเป็นรูปธรรม มีเพียงกระทรวงพาณิชย์ที่เข้ามามีบทบาท แต่ด้วยการพัฒนาที่ขาดการบูรณาการและตัวชี้วัด จึงเป็นเพียงการขับเคลื่อนของบางหน่วยงานในกระทรวงที่กรมอื่น ๆ อาจไม่ร่วมมือหรือร่วมประสาน ทำให้การพัฒนาจึงเป็นเพียงอยู่ในระดับนโยบาย ซึ่งการพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคบริการ หากไม่นำกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงคมนาคมมาร่วมด้วยแล้ว ก็ยากที่จะเห็นความสัมฤทธิผลให้ผู้ให้บริการของไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้กรอบ AEC ในอีก 3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามพบว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ ค่อนข้างจริงจังกว่ารัฐบาลที่ผ่านมา โดยในครึ่งแรกของปี 2553 ได้มีการอนุมัติโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโลจิสติกส์หลายแสนล้านบาท โดยเฉพาะการอนุมัติแผน 5 ปี พัฒนาระบบรถไฟไทย งบประมาณ 176,800 ล้านบาท ในการพัฒนาระบบโครงสร้างของ ร.ฟ.ท. ทั้งด้านการก่อสร้างรางคู่ 5 สาย, การจัดหา หัวรถจักร, โบกี้

นอกจากนี้จากนโยบายพัฒนาท่าเรือด้าน West Gate มติ ครม.เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 เห็นชอบในการสนับสนุนให้เอกชนไทยไปพัฒนาท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จังหวัดทวายในประเทศพม่าภาคใต้ จะต้องมีการพิจารณาถึงผลกระทบที่จะมีต่อการพัฒนาท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเชิงลึกในหลายมิติ ทั้งทางบวกและทางลบที่อาจเกิดกับประเทศไทยในอนาคต โดยต้องมองในภาพใหญ่ทะลุไป ในอีก 10 ปีข้างหน้า ว่าภาคใต้และประเทศไทยจะวางอยู่ในบริบทใด โดยเฉพาะประเด็นด้านขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทั้งนี้การที่รัฐบาลได้อนุมัติโครงการร่วมทุนกับประเทศจีนในการ เชื่อมต่อระบบรางจากหนองคายจนไปถึง ปาดังเบซาร์ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบครั้งใหญ่ของระบบโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับอาเซียนไปจนถึงเอเชียภาคเหนือ

เร่งตั้งทบวงคุมโลจิสติกส์

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาโลจิสติกส์ของรัฐบาลทั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันค่อนข้างที่จะมีความก้าวหน้าน้อยมาก ผลลัพธ์ที่ชัดเจนเห็นได้จากแนวโน้มต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศที่ลดลงช้ากว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือ ปี 2552 ลดลงได้เพียงร้อยละ 0.2 (Y/Y) ซึ่งช่วงเวลาปี 2544 ถึงปี 2550 ลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ได้เพียงร้อยละ 1.0 โดยเฉพาะต้นทุนด้านขนส่งที่ในปี 2551 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.8 ทั้งหมดนี้จึงเป็นความท้าทายของนโยบายการพัฒนาขับเคลื่อนโลจิสติกส์ของประเทศ จะต้องมีการทำอย่างจริงจังมียุทธศาสตร์ที่มีการบูรณาการทั้งแผนและงบประมาณและเป้าหมาย

ในระยะเร่งด่วนรัฐบาลควรจะให้มีการแยกหน่วยงานที่ดูแลแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศเป็นการเฉพาะโดยควรมีการจัดตั้ง "สำนักงานแผนและนโยบายพัฒนาระบบ โลจิสติกส์แห่งชาติ" เป็นหน่วยงานระดับทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการเป็นบอร์ดกำกับดูแล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ

ประกอบด้วยรัฐมนตรี, ปลัดกระทรวง, สภาพัฒน์, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นบอร์ดกำกับแผนและนโยบาย และงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโลจิสติกส์ที่กระจัดกระจายไปอยู่แต่ละกระทรวง ก็จะต้องผ่านสำนักงานโลจิสติกส์แห่งชาติ ซึ่งการจัดตั้งสามารถดำเนินการได้ภายในรัฐบาลนี้ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศมีความต่อเนื่อง ไม่อิงกับการเมือง เป็นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
SUN5559
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/06/2011
Posts: 3

PostPosted: 07/06/2011 8:19 pm    Post subject: ข้อเสนอถึงการรถไฟ Reply with quote

ผมเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกใหม่เมื่อไม่กี่วันมานี้ หลังจากติดตามมานาน

ผมเองเป็นคนที่มีความรักในรถไฟ เห็นหัวรถจักรเก่าๆที่ทิ้งไว้ที่ โรงงานมักกะสันในสภาพทรุดโทรมแล้วเสียดายอยากให้กิจการรถไฟไทยมีการพัฒนาเหมือนในต่างประเทศ มีความอยากเห็นการพัฒนาดังนี้ครับ

1. อยากให้เมืองไทยมีการจัดทำ พิพิธภัณฑ์ รถไฟ เหมือนกองทัพอากาศมีพิพิธภัณฑ์ โดยพื้นที่ที่น่าจะเหมาะสมน่าจะเป็นที่ โรงงานมักกะสัน โดยดัดแปลงอาคารโรงงานบางหลังทำเป็นพิพิธภัฑ์ แล้วเอาหัวรถจักรที่จะตัดออกจากบัญชีมาบูรณะใหม่ เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ให้คนรุ่นหลังได้ดู

2. เรื่องความสะอาดของตัวรถเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้น่าใช้ รถบางคัน (โดยเฉพาะดีเซลราง และ หัวรถจักร) ดูเหมือนไม่เคยมีการล้างเลย หากล้างแล้วน่าจะสวยและดูดีขึ้นเยอะ

3. การขยายเส้นทาง โดยเพิ่มจุดเชื่อมเช่น จาก มหาชัย เชื่อมกับสายแม่กลอง และเชื่อมต่อกับเส้นทางสายใต้ หรือ ตัดเส้นทางเพิ่มจากอยุธยา ตรงไปนครสวรรค์ จะทำให้ร่นระยะทางสำหรับ รถระยะไกล และร่นระยะเวลาเดินทางลงได้

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความเห็นนะครับ ซึ่งอาจจะมีอุปสรรคบางอย่างที่ผมไม่ทราบ ก็ขอใช้พื้นที่นี้เป็นที่แสดงความเห็นก็แล้วกัน

ขอบคุณครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2011 8:30 pm    Post subject: Re: ข้อเสนอถึงการรถไฟ Reply with quote

SUN5559 wrote:

3. การขยายเส้นทาง โดยเพิ่มจุดเชื่อมเช่น จาก มหาชัย เชื่อมกับสายแม่กลอง และเชื่อมต่อกับเส้นทางสายใต้

เคยมีแนวคิดในปี พ.ศ. 2511 สร้างทางแยกจากชุมทางตลิ่งชันไปเชื่อมกับสายมหาชัยที่รางโพและบางบอนครับ แต่โครงการคงจะเงียบไปตั้งแต่ผมยังไม่เกิดครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/A/109/1.PDF

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 08/06/2011 10:21 am    Post subject: Reply with quote

ส่วนตัวของผมเอง ผมอยากจะให้ การรถไฟฯ พัฒนาเกี่ยวกับระบบรางให้เป็นมาตรฐาน ขนาดของรางทั่วประเทศไทย ใช้ขนาด 100 ปอนด์ต่อหลา เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง เปลี่ยนไม้หมอนใหม่ เป็นแบบโมโนอิฐบล็อค ในส่วนของตัวหัวรถจักร และตู้โบกี้รถต่าง ๆ ก็ใช้แบบตามมีตามเกิดไปก่อน ถ้าหากมีงบประมาณเพิ่มเติม ก็ค่อยจัดหาและจัดซื้อในแต่ละอย่าง และส่วนที่สำคัญคือ การสำรวจและก่อสร้างเส้นทางใหม่ ๆ เพื่อเป็นการขยายฐานเศรษฐกิจของประเทศในด้านการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ยังไม่มีรถไฟวิ่งผ่าน จนถึงการขนส่งผู้โดยสารและโลจิสติก รองรับรายได้ที่เข้ามาให้กับการรถไฟฯ ในเส้นทางที่เปิดใหม่ กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งที่อยากจะเห็นการรถไฟฯ เดินหน้าพัฒนาต่อไป ไม่ใช่หยุดอยู่กับที่ หรือทดถอยลง จนการรถไฟขาดทุนอย่างที่เห็น ๆ นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 8 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©