Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180604
ทั้งหมด:13491839
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับรถไฟไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับรถไฟไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2006 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

น่ากลัวว่าหาได้เฉพาะรถจักรฟริกซ์ ซึ่งไม่อยากให้ปืนเขาเพราะล้อตาย นั้นมันจะครูดกะรางจนเป้นแผล โดยเฉพาะทางภูเขา ... แบละตอนนั้นดาร์เวนปอร์ดและฮิตาชิก็ไปใช้ขนสินค้าภาสคอีสานอยู่เลยไม่มีให้กระบวนเสด็จกระมัง Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2006 12:35 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ได้หนังสือเรื่อง การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคอีสาน เมื่อ พฤศจิกายน 2498 เรียบเรียงโดย พันตำรวจโท หลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) อดีตผู้ต้องหากบฏบวรเดช ขณะนั้นได้เป็นตำรวจสันติบาลให้อธิบดีเผ่าอยู่ หนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดที่ ไม่ปรากฏในหนังที่แสดงภาพยนตร์ส่วนพระองค์

ในช่วงตุลาคม 2498 นั้นผู้เขียนต้องไปฟังการเคลื่อนไหวของคนญวน ในจังหวัดที่มีควบคุมญวนอพยพ โดยไปที่อุดรธานีและหนองคาย เมื่อ 4 ตุลาคม 2498 และขอนแก่นเมื่อ 7 ตุลาคม 2498 และ ได้ไปอบรมให้บรรดาตำรวจใอกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 3-4 ให้พร้อมถวายการอารักขาแก่พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยและคณะอีก 3 ร่วมเดินทางไปด้วย ซึ่งไดกำหนดให้

1) นอกเขตเทศบาล ให้จัดตำรวจทุกๆ 1000 - 1500 เมตร และให้เพิ้มที่ ทางเลี้ยวทางแยกอีก 1 คนทุกแห่ง

2) ในเขตเทศบาล ให้วางตำรวจไว้ทุกๆ 500 เมตร และให้เพิ่มกำลังตามทางแยก ทางเลี้ยวในขตเทศบาลด้วยกำลังตำรวจจราจร

3) ที่สะพานแคบ ให้จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยืนที่หัวสะพานตรงกรอบสะพาน ข้างละ 1 คน ถ้ามีเจ้าหน้าที่กรมทางก็ให้เจ้าหน้าที่กรมทาง ยืนแทนตำรวจ 1 นาย ถ้าสะพานยาวมาก ให้ยืนตรงหัวสะพานทั้ง 2 ฝั่ง (รวมเปน 4 นาย)

4) เครื่องแบบกระดุม 7 เม็ด ถ้าไม่มีให้ใช้ที่เป้นสีเดียวกันก็ได้

5) ในเขตเทศบาลให้พกแต่ดาบปลายปืน นอกเขตเทศบาลให้ พกปืนให้มิดชิด ถ้าไม่ถือปืนยาว โดยห้ามฉีกซองเก็บกระสุนปืนยาวที่แจกให้คนละห่อ โดยเด็ดขาด ถ้าไม่มีเหตุจำเป็น มิฉะนั้นจะได้รับโทษหนัก

6) ถ้ามีคนเฝ้ารับเสด็จหนาแน่น ให้ถวายควาสมเคารพด้วยการชิดเท้า ตำรวจจราจรที่ทำหน้าที่อยู่ให้ใช้สัญญาณมือแทนย

7) ให้จัดญวนอพยพกันเป็นหมวดหมู่ ให้ผู้หญิงและเด็กอยู่ 2 แถวหรน้า ส่งวน คนแก่และผู้หญิงให้อยู่แถว 3-4 ผู้ชายอยู่แถวหลัง และคนญวณที่รู้ภาษาไทยทำหน้าที่เป็นล่ามให้ เพื่อให้สะดวกแก่การกราบบังคมทูล

// ---------------------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2498
Click on the image for full size
เวลา 0700 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง ถึงสถานีจิตรลดา นายกรัฐมนตรี ข้าราชการทหารพลเรือนคอยส่งเสด็จ มีทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ แฃละนักเรียนหยฺงชายมาส่งเสด็จด้วย
เวลา 0800 รถไฟพระที่นั่งทำขบวนออกจากสถานีจิตรลดา

เวลา 0918 รถไฟพระที่นั่งถึงสถานีอยูธยา มีประชาชน และ นักเรียนมารับเสด็จกันที่สถานีอย่างล้นหลาม ผู้สว่าราชการภาค 1 (หลวงอรรถวิภาคไพศาล) และ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (น่าย สุทัศ ศิริสวย) ได้รับเสด็จ มีหญิงชรนราถวายช่อดอกไม้ให้สมเด็จพระบรมราชินี

ขบวนรถพระที่นั่งหยุดที่ สถานีอยูธยาเป้นเวลา 5 นาทีก่อนทำขบวนออกไป ประชาชนถวายพระพรตลอดทาง

เวลา 0918 รถไพระที่นั่งถึงสถานีชุมทางบ้านภาชี มีราษฎรมาเฝ้ารับเสด็จไม่ต่ำกว่า 1000 คน นายอำเภอภาชี (นาย จรัญ อารีรักษ์) ได้กราบบังคมทูลนำราษฎร มาเข้าเฝ้าถวายขิอง
รถไฟอยุดที่สถานีชุมทางบ้านภาชี 3 นนาทีก่อนเคลื่อนขบวนออกไป

เวลา 1023 รถไฟพระที่นั่งหยุดที่สถานีสระบุรี มีประชาชนไม่ต่ำกว่าส 5000 คนมารับเสด็จที่สถานี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (นาย ประสิทธิ อุไรรัตน์ - น่าจะเป็นพ่อหรือลุงของ คุณอาทิตย์ อุไรรัตน์) ได้นำประชาชนเข้าเฝ้าถวายกระเช้าดอกไม้และ ของวิเศษของชาวบ้าน
Click on the image for full size
Quote:
วันที่ 2 พ.ย 2498 ขบวนรถไฟพระที่นั่งสถานีรถไฟ สระบุรี พระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลพระกรุณาเบิกนายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด สระบุรี นำราษฎร เข้าเฝ้าถวายพระพร - ภาพจากหนังสือ ตามรอยเสด็จ จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2540




เวลา 1044 รถไฟพระที่นั่ง หยุดที่สถานีแก่งคอย นายอำเภอแก่งคอยได้นำประชาชนเข้าเฝ้า มีประชาชนรับเสด็จราวๆ 3000 คน แซ่ซ้องถวายพระพรชัยเมื่อรถหยุด และ เปล่งเสียงไชโยเมือ่ขบวนรถเคลื่อนออกไป

เวลา 1240 รถไฟพระที่นั่ง หยุดที่สถานีปากช่อง มีข้าราชการทหารพลเรือน และ ประชาชนเข้าเฝ้าที่สถานี นับหมื่นคน Shocked เฉพาะราษฎรก็ 3000 คนเข้าไปแล้ว สมุหราชชองครักษ์ได้กราบบังคมทูลเบิก แม่ทัพที่ 2 (พลโท ครวญ สุทธานินท์) เข้าเฝ้า ปลัดกระทรวงมหาดไทยนได้เบิกความให้ ผู้ว่าราชการภาค 3 (พลตรี แสร์ น้อยเศรษฐ) และ อธิบดิผู้พิพากษาภาค 3 (หลวงอาทรคดีราษฎร์) ผู้บังคับการตำรวจภาค 3 (พันตำรวจเอก ถม สมบูรณ์ทรัพย์) เข้าเฝ้า ราษฎรถวายกระเช้าดอกไม้ ในหลวงและพระราชินีไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ ของราษฎร

ที่สถานีปากช่องได้มีการทำซุ้มทำด้วยพื้ชผักผลไม้สด และมีการขุดสัปปะรดลูกโตขึ้นมาแสดงด้วย Laughing

รถไฟหยุดที่สถานีปากช่อง 10 นาทีก่อนเคลื่อนขบวนออกไป

เวลา 1347 รถไฟพรนะที่นั่งถึงสถานีสีคิ้ว นายอำเภอสีคิ้วได้เข้าเฝ้า มีประชาชนมารอรับเสด็จ ไม่ต่ำกว่า 5000 คน ได้ถวายพระพรและ เปล่งเสียงไชโย จนเรถพระที่นั่งเคลื่นอขบวนลับไป

เวลา 1405รถไฟพระที่นั่ง หยดุที่สถานีสูงเนิน มีราษฎรเข้าเฝ้าชื่นชมพระบารมีไม่ต่ำกว่า 5000 คน ได้มีพระราชปฏิสันถาร กับนายอำเภอสูงเนินและราษฎรบางคน

รถไฟหยุดที่สถานีสูงเนิน 3 นาทีก่อนเคลื่อนขบวนออกไป

เวลา 1448 รถไฟถึงสถานีนครราชสีมา มีประชาชนมาเข้าเฝ้ารับเสด็จกันเนืองแน่น ไม่ต่ำกว่า 50000 คน จนถึงศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ปราชาชนได้แซ่ซ้องสาธุการ ถวายพระพรกันเสียงสะเทอนเลื่อนลั่นShocked ทางราชการ พ่อค้า คหบดี ได้จัดซุมรับเสด็จไม่ต่ำกว่า 40 ซุ้มดูเจริญตาดี

เมื่อรถไฟหยุดที่สถานีนครรสีมา ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้เบิกความให้ รองผู้ว่าราชการภาค 3 (นายชอบ ชัยประภา) และ บรรดาข้าราชการทหาร พลเรือน ชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าเช่น
พลตรี หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ (เสนาธิการกองทัพที่ 2) พลจัตวา เชื่อม ปายนันท์ (ผบ. พล. 3) พลอากาศจัตวา ศิริ เมืองมณี (ผู้บังคับการโรงเรียนการบิน) ทหารตำรวจกองเกดียรติยศ ตั้งแถวรับเสด็จ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา หม่มหลวง ทวีพร น้อยเศรษฐ (นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จังหวัดนครราชสีมา - ภริยาผู้ว่าราชการภาค 3) ถวายช่อดอกไม้แด่สมเด้จพระบรมราชินี

จากนั้นจึงเสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่ง ผ่านซุ้มประตู เพื่อสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ... โดยมี หลวงศุภนัยเนติรักษ์ (นายกเทศมนตรีเมืองนครรราชสีมา) และ คณะเทศมนตรี พร้อมนักเรียนหยิงชายเข้าเฝ้ารับบเสด็จ มีประชาชนเข้าเฝ้าล้นหลาม ขนาด มีพวกเด็กหนุ่ม กระโดดหลุดจาก แนวกั้นทาง เข้ามใกล้องค์พระประมุขและสมเด็จพระบรมราชินี เพื่อถวายความเคารพ เล่นเอาฝ่ายการอารักษาต้องกลุ้มใจไปตามๆกัน

Click on the image for full size
Quote:
ทรงวางพวงมาลา ที่อนุสาวรีย์ท้าวสุระนารีขณะนั้นมีนายสุวรรณ รื่นยศ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด



เมือ่เสด็จถึงศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และประทับทีร่ะพลับพลารับเสด็จ นายสึวรรณเรืองยศ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้กราบบังคมทูล เรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดนครราชสีมา (ที่ตั้งที่ว่าการภาค 3) ซึ่งมี 13 จังหวัดกับ 1 กิ่งอำเภอ พลเมือง 800000 คน

Click on the image for full size
Quote:
ที่พลับพลาหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา


เมื่อกราบบังคมทูลเสร็จแล้วจึ่งทูลเกล้าฯถวายพระพุทธรูปปางมารวิชัย ส่วน พระสมรรถบริหาร (พ่วง พรหมบุตร) และ นาง สมรรถบริหาร (ลูกจันทร์พรหมบุตร) ได้ถวายพระอวโลกิเตศวร 8 กร ที่ขุดได้ จากบ้านกระเสียว ตำบลกำปง อำเภอโนนไทย นครราชสีมา เมื่อปี 2457 จต่อมาเมื่อ กรมหมื่น นครสวรรค์ศักดิ์พินิต (ทูลกระหม่อมจุมภต บริพัตร) หมอมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (พระองค์ชายดิศ) และ เมอร์ซิเออร์ เจบอส วุลิเวร์ ได้เสด็จมาที่บ้าน คุณพระสมรรถบริหาร เมื่อ 17 มีนาคม 2498 โดยได้ชี้แจงวว่าพระโพธิสัตว์องค์นี้อายุราวๆ 1100 ปี หายากมาก มีองค์เดียวในโลก สมควรแก่การทูลเกล้าถวายยิ่งนัก จึงได้ทูลเก้าถวายรูปพระโพธิสัตว์แก่พระเจ้าอยู่หัว

ปีนั้นภาคอีสานแล้งนัก แต่ด้วยพระบารมีของใรนหลวง ทำให้มีลมฝนและแดดอ่อน ไม่เกิดแดดเผาเหมือนเคย เมื่อฝนตก มหาดเล้กจะถวายพระมาลาแต่ทรงปฏิเสธ

หลังจากนั้นพระเจ้าอยู่หัวได้ มีพระราชดำรัสตอบขอบใจประชาชนชาวโคราชเรื่องการต้อนรับพร้อมทั้งพระราชทานพร ให้บบรรดาชาวโคราชนับแสนคนที่มาชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัด
มีผู้เฒ่าอายุกว่า 80 ปี ถวาย ผ้าไหมปักธงชัย ให้พระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระบรมราชินี โดยค้างบ้านญาติมิตร หรือแม้กระทั่งนอนตามศาลาวัดก็มี Smile Very Happy Shocked

Click on the image for full size
Quote:
สุภาพสตรี ชาวโคราช ถวาย ผ้าไหมปักธงชัย


พระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระราชินีได้เสด็จประทับรถยนต์พระที่นั้งจากศาลากลางจังหวัด ไปตามถนนราชดำเนิน ถึงยังค่ายสุนารี ซึ่งเป็นที่ประทับแรม วันนั้นเมื่อเสวยพระกระยาหารค่ำแล้ว เวลา 2100 เศษ พระเจ้าอยู่หัวแลเสมเด็จพระบรมาราชินีได้เสด็จลำลองโดยรถยนต์พระที่นั้งทอดพระเนตรเมืองวโคราช จนเกือบทั่งเมือง ประชาชนที่ได้เห็นไนหลงได้โห่ร้องชัยโยไปตามๆกัน ... เสด็จขอยู่ชั่วนาฬิกา ก็เสด็จกลับที่ประทับแรมค่ายสุรนารี คืนนั้นเมืองโคราชฝนตกโปรยปราย จนกลายเปแนฝนตกใหญ่ กว่าจะหยุดก็ 9 โมงเช้าวันรุ่งวขึ้น

ในกระบวนเสด็จนั้น มีเจ้าหน้าที่กรรราไฟ ไม่ต่ำพกว่า 10 นาย รวมทั้งผู้ว่าการ รฟท. และ อดร. คนของกรมทาง ทมีอธิบดีและ คนติดตาม แอหก 2-3 คน ข้าราชบริพาน และผูเตามเสด็จ รวม76 คน รวมทั้งประธานองคมนตรี (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) และหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ สมุหราชองครักษ์ (หลวงสุรณรงค์) และภรรยา ... นายตำรวจติดตาม 8 นาย และ นายสิบ - พลตำรวจ อีก 80 นาย และ และมีฝ่ามหาดไทย (พลบเอก เดช เดชปฏิยุทธ - รมช มหาดไทย และ พระยารามราชภักดี)

ส่วนภูมิภาคก็มีผู้ว่าราชการภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด แม่ทัพนายกอง พร้อมคุณหญิงคุณนายรวมรับเสด็จกันอย่างคับคั่ง

ในวันที่ 3 มีนาคม ได้เสด็จไปทอดพระเนตรโครงการชลประทานที่พิมาย ปราสาทหินพิมาย (ก่อนการบูรณะใหญ่) และไทรงามที่ พระพันปีหลวงได้เสด็จไปทอดพระเนตรเมื่อปี 2454 ด้วย Laughing

อ้างอิง:
http://www.cmadong.com/cmd_board/webboard_view.php?qid=100


Last edited by Wisarut on 17/12/2013 12:57 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2006 1:29 am    Post subject: Reply with quote

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2498
เวลา 1030 รถพระที่นั่งเคลื่นที่จากที่ประทับในจังหวัดชัยภูมิไปยังอำเภอบัวใหญ่ เวลา 1130 ถึงสถานีบัวใหญ่
Click on the image for full size
สมเด็จพระบรมราชินีที่สถานีบัวใหญ่

เวลา 1200 รถไฟพระที่นั่งทำขบวนออกจากสถานีบัวใหญ่ โดยมีผู้ว่า รฟท. (พลเอก จรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์) และ เจ้าหน้าที่ รฟท. เช่น นายจำลอง ชลชิลราน ตามเสด็จด้วย

เวลา 1245 รถไฟพระที่นั่งถึงสถานีเมืองพล รถพระที่นั่งหยุดที่สถานีเมืองพลเป็นเวลา ประมาณ 5 นาที
Click on the image for full size
Quote:
ขบวนรถไฟพระที่นั่ง ถึงสถานีรถไฟเมืองพล พล.ต. แส น้อยเศรษฐ ผู้ว่าราชการภาค3 ตามเสด็จ กับขบวนรถไฟ

พล.อ. จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ ผู้ว่าการรถไฟ ติดตามถวายความสะดวกในการเสด็จ ด้วย

เมื่อถึงสถานีเมืองพล พระยารามราชภักดี (สวัสดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลเบิกนายพันตำรวจเอก ขุนศุภกิจวิเลฃการ ผู้ว่าราชการภาค 4 และ นายพันตำรวจเอกบุณณะ ตาละลักษณ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค4 เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มี ร.ต.อ. แถว พรหมประกาย ณ นครพนม นายอำเภอเมืองพล นำข้าราชการและประชาชน เข้าเฝ้าถวายการต้อนรับ เสียงไชโยถวายพระพร กึก ก้องไปทั่ว


Click on the image for full size
พระยารามราชภักดี (สวัสดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) - อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย

Click on the image for full size
เวลา 1325 รถไฟพระที่นั่งถึงสถานีบ้านไผ่ รถพระที่นั่งหยุดที่สถานีบ้านไผ่เป็นเวลา ประมาณ 5 นาที

ขณะรถไฟเคลื่อนขบวนจากสถานีบ้านไผ่ไปยังสถานีขอนแก่น พระเจ้าอยุ่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีได้เสวยพระกระยาหารกลางวันที่ทาง รฟท. ได้จัดถวายจากรถเสบียง และ บรรดาชาวบ้านที่เฝ้ารับเสด็จที่สถานีบ้านไผ่ซึ่งมาจาก อำเภอบ้านไผ่ อำเภอ พลอำเภอมัญจาคีรี, ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ได้ตามเสด็จต่อไปยังสถานีขอนแก่น ก็มี
Shocked

Click on the image for full size
Quote:
สถานีบ้านไผ่ - พสกนิกรมารับเสด็จกันอย่างล้นหลามจริงๆ Laughing



เวลา 1430 รถไฟพระที่นั่งถึงสถานีขอนแก่น
Click on the image for full size
Quote:
สถานีขอนแก่น - พสกนิกรมารับเสด็จกันอย่างล้นหลามจริงๆ Laughing


แต่ที่ขอนแก่นนี้เองที่เกิดเหตุไม่เรียบร้อยคือม้านั่งที่ใช้กั้นคน เกิดล้มจนชาวบ้านกรูกันเข้ามาจะชื่นชมพระบารมีในหลวงและพระราชินี จนต้องเดือดให้ระดับพลตำรวจโท ต้องนั่งคุกเข่าเพื่อกั้นฝูงชน ... ทำให้ท่านายยพลตำหนิว่า การจัดระเบียบของภาค 4 เละเทะเอามากๆ
จนทาง ภาค 4 ต้องชี้แจงว่า ผู้กำกับการภาค 4 ท่านต้องวิ่งรอกเตรียมสถานีที่ตั้งแต่สถานีรถไฟยันศาลากลางทำให้ไม่ได้พักผ่อน การจัดระเบียบเลยหละหลวมไปบ้าง Sad

Click on the image for full size
ในหลวงกับพระบรมราชินีที่ปะรำพิธีหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
ดูสิครับ ที่หน้าศาลากลางประชาชนมาชื่นชมพระบารมีกันล้นหลามจริงๆ Laughing Shocked

Click on the image for full size
โอ้, ในหลวงท่าถ่ายภาพยนตร์ส่วนพระองค์หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่นด้วย

วันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนก่นได้กล่าวรายงานถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้พระราชทานเงิน 1แสนบาทสร้างอาคารสงเคราะห์ผู้ได้รับความเดือดร้อนนจากไฟไหม้ตลาด กงเม้งเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2498


เวลา 1700 ในหลวงและพระราชินีเสด็จ ไปยัง มพัน 6 และมีชายคนหนึ่งชื่อ นาย ประสงค์ ศรีเพ็ญได้ทิ้งหนังสือเข้าไปในรถพระที่นั่ง ทำให้โดนตำรวจจับฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต้องติดตะราง 3 เดือน

งานนี้ ผู้เขียนบ่นว่าใช้ตำรวจเกินความจำเป็น เพื่อเบิกเบี้ยเลี้ยงให้เปลือง จนเสียราชการหมด

นอกจากนี้ท่านก็บ่นเรื่อง ทางรถไฟมาป่าหมด โดยเฉพาะกรณีการสร้างทาง จาก ขอนแก่นไป อุดรธานี (2476 - 2484) ที่โค่นป่ายางจะเหี้ยน ทำให้ฝนแล้ว และน้ำท่วม ซึ่งวแม่แต่อุบลก็โดนน้ำท่วมมีแต่ที่สกลนครที่คอยดีหน่อย ซึ่งน่าจะมีการย้ายศาลากลางจังหวัดมหาสารคามกับร้อยเอ็ดไปอยู่ติดลำน้ำชี และ ย่านขอนแก่นติดลำน้ำพอง, หรือ ยุบอุดรและหนองคายเข้าด้วยกันเพราะเงื่อนไขห้ามตั้งกองทหาร ในรัศมี 25 กิโลเมตรก็ยกเลิกไปแล้วหลังลาวเป็นเอกราช หรือไม่ก็ขุดลอกคลองให้ใหญ่เชื่อมต้อกับแม่น้ำแทนที่จะปล่อยมให้ลงแม่น้ำโขงเสีหมด เพราะเขื่อนอย่างเดียวไม่พอแน่สำหรับภาคอีสาน


Last edited by Wisarut on 02/04/2014 1:47 am; edited 7 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2006 1:51 am    Post subject: Reply with quote

18 พฤศจิกายน 2498
ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินยังแก่งสะพืโดยทรงขัยรถด้วยพระองค์เอง พร้อมสสมเด็จพระบรมราชินี Embarassed
ในวันนั้นว่าจจะมีหมายกำหนดการเยี่ยมศูนย์การอบรมศึกษาผู้ใหญ่อุบลราชธานีและปลุกต้นไม้คู่แต่ก็งดเสีย ทำให้เสียดายไปตามๆกัน นัยว่าเพราะทางราชสำนักเห็นว่าทรงภารกิจเยอะแล้ว ไม่ควรหามาเพิ่มอีก Sad

Click on the image for full size
19 พฤศจิกายน 2498
เวลา 0830 ในหลวงและพระราชินี เสด็จจากที่ประทับแรม ใน พล ร.6 (ค่ายสรรพสิทธิประสงค์) ไปยังสถานีรถไฟ มีประชาชนส่งเสด็จกันอย่างล้นหลาม จนผู้ตามเสด็จต้องติดขบวนผูเมาส่งเสด็จ Shocked ทำให้ต้องชะลอเวลาทำขบวนรถออกจากสถานีอุบลราชธานีออกไป

เวลา 0905 ถึงสถานีกันทรารมย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้เบิปกตัวผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสระเกศเข้าเฝ้า รถจอดสถานีกันทรามย์ 3 นาทีก่อนทำขบวนออกไป ยังสถานีเศรัสะเกศ

เมื่อถึงสถานีศรีสะเกศได้ประทับรถยนต์พระที่นั่ง ไปยังศาลากลางจังหวัด มีคนมาเจข้าเฝ่าล้นหลาสมในกหลวงและพระราชินีได้มีพระราชปฏิสันฐานกับราษฎรกลางเปลว
แดดยามเที่ยง จากนั้นจึงเยือนโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดที่ได้พระราชทานเงินก่อสร้าง

เวลา 1245 ได้เสด้จประทับรถไฟพระที่นั่งไปยัง สถานีอุทุมพรพิสัย ได้หยดุรถที่สถานี 3 นาที และ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เบิกตัวรักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ให้เข้าเฝ้าจากนั้นจึงเสวลยพีระกระยาหารที่ทางการรัถไฟได้จัดเตรียมไว้


เวลา 1445 ถึง สถานีสุรินทร์ ประชาชนมาเข้าเฝ้ากันล้นหลาม มีการถวายผ้าไหมและ มีพระราชปฏิสันฐานกับประชาชนที่มาเข้าเฝ้า

ตอนค่ำมีการแห่มังกรที่ทางสมาคมพ่อค้าจีนจัดถวาย ที่หน้าที่ประทับแรม หน้าศาลากลางจังหวัด

จากนั้นมีการแสดง ชายเป่าปีจรวง หญิงเล่นเจรียง แวตามด้วนยการดีดพิณน้ำเต้า
ชายหญิงร้องเพลงแก้กัน ปี่กระจับ และแสกเต้นสาก ซึ่งเป็นที่สำรญพระทัยในหลวงและพระบรมราชินีเป็นอย่างยิ่ง จขาสกนั้นก็มีรำโทนโดยแม่ทัพที่ 2 ผบ. พล. 6. ผู้ว่าราชการภาค 3 ผู้ว่าราชการภาค 4 และบรรดนายทาหรตำรวจติดตาม


20 พฤศจิกายน 2498
เวลาเช้าเสด็จจากที่ประทับไปยัง สถานีสุรินทร์ เพื่อเสด็จยังสถานีบุรีรัมภ์
เวลา 1000 ถึงสถานีบุรีรัมภ์ นางห่วงพงศ์สมบัติถวายช้างเผือกสีดอชื่อพลายสมนึก อายุ 5-6 ปี
นายรักษ์อินททรศักดิ์ถวายของ้วยที่บรรพชนเคยใช้รบกับเจ้าอนุสวงศ์
นายศิริ ยิ่งสิราถวาบยงาช้าง 1 คู่
นายทองพูน อัครววิเชียรถวายตะเกียบงาช้าง
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ขอพระบรมราชานุญาตอัดพระบราชดำรัสวลงลวดทองแดง (ใช้แทนแผ่นเสียง) เสวยพระกระยาหานในศาลาว่าการจังหวัด จากนั้นได้เดินทางต่อยังนครราชาสีมา

เวลา 1520 ถึงนครราชสีมา มีกองเกียรติยศและประชาชรนเข้าเฝ้าล้นหลามจากสถานีรถไฟถึงสนามบืน

เวลา 1600 ประทับเครื่องบินพระที่นั่ง ข้าราชบริพานประทับเครื่องบินตามมาอีก 2 ลำ มีเครื่องบิน 3 ลำของกองทัพอากาศคอบินคุ้มกัน

เวลา 17010 ถึงท่าอากาศยานดอนเมือง สิ้นสุดการเสด็จเบยิอนภาคอีสานยแต่เพียงเท่านี้




ในการเสด็จพระราชดำเนินภาคอีสานนี้ ไทยทีวีช่อง 4 ได้ถ่ายภาพยนตร์ไว้เพื่อออกอากาศ
(ไม่รู้ว่าลุงสพพสิริ ได้ถ่ายด้วยอะเปล่า Embarassed )และ มีการถ่ายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ด้วย


Last edited by Wisarut on 02/04/2014 1:40 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2006 3:38 pm    Post subject: Reply with quote

หนังสือเสด็จภาคใต้ แบบ 2 เล่มจบ นั้นมีขายเหมือนกันแต่แพงมาก .... 1 ชุด คิด 2800 บาท แน Shocked Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2006 9:28 am    Post subject: Reply with quote

" ดอกบัวจากหัวใจ "
Click on the image for full size

ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร - เรณูนคร
บ่ายวันที่ 13 พ.ย. 2498 อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์
ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญ ที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ

ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ

วันนั้นหลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร
เสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง
กลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น

ดังเช่นครอบครัวจันท์นิตย์ ที่ลูกหลานช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี
ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพู
ให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด

เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า
แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้น ขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง
พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า
ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอย่างอ่อนโยน

เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย
ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม

เช่นเดียวกับที่ ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น
หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า

" หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวัง
ได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนม ให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก "

พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีก ด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปีเต็ม ๆ

แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี

ข้อมูลจาก " แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ " ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

Quote:
ภาพนี้เอง ที่ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Thailand Illustrated (วารสารของกรมประชาสัมพันธ์) ฉบับ มกราคม 2504



ในหลวง เสด็จนครพนม เมื่อปี 2498


Last edited by Wisarut on 02/04/2014 1:41 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2006 2:38 am    Post subject: Reply with quote

9 มีนาคม 2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ได้เสด็จเมืองลพบุรีโดยทางรถไฟ เพื่อเปิดศาลพระกาฬแล้วเสด็จ พระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งยังพระพุทธบาทสระบุรีเพื่อยกจุลมงกุฏเหนือพุ่มข้าวบิณฑ์ยอดมณฑป วัดพระพุทธบาทสระบุรี
Click on the image for full size

อ้างอิง: เหตุการณ์ต่าง ๆ ในลพบุรี
http://www1.rits.ac.th/culture/hetkarn.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2007 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

15 ธันวาคม 2497ได้มีการจัดกระบวนรถไฟพิเศษรับสมเด็จเจ้าสีหนุ พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยให้มีการจัดกระบวนรถดังนี้ ตามปดร. 906/97 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2497

1) ให้จัดกระบวนรถนี้จากกรุงเทพ ไปรับผู้แทนพระองค์ที่สถานีหลวงจิตลดา แล้วทำขบวนรถออกไปที่สถานีดอนเมือง โดยให้นับจากรถจักรดีเซลไฟฟ้า เป็นเกณฑ์

1.1) บพห. เลขที่ 18 สำหรับพนักงานรถไฟ
1.2) บจพ. เลขที่ 3 สำหรับผู้ว่าการรถไฟโดยหันห้องตรวจไปทางทิศเหนือ
1.3) พนก. เหป็นรถพระที่นั่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงกัมพูชา และ ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.4) บชท. เลขที่ 55 ( รถ 2 หลังนี้ สำหรับข้าราชบริพาร ผู้ติดตามฝ่ายไทยและ กัมพูชา
1.5) บชอ. เลขที่ 1 (สารวัตรทหาร และ ตำรวจ

2) เมื่อถึงสถานีดอนเมืองให้จัดกระบวนรถดังนี้ โดยให้กระบวนรถพิเศษอยู่ที่หลีกรางที่ 3
2.1) บพห. เลขที่ 18 สำหรับพนักงานรถไฟ
2.2) บชอ. เลขที่ 1 (รถ 2 หลังนี้ สำหรับข้าราชบริพาร ผู้ติดตามฝ่ายไทยและ กัมพูชา
2.3) บชท. เลขที่ 55 ( สารวัตรทหาร และ ตำรวจ
2.4) พนก. เหป็นรถพระที่นั่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงกัมพูชา และ ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.5) บจพ. เลขที่ 3 สำหรับผู้ว่าการรถไฟ

3) ให้เริ่มจัดการซ่อมแซมและทำความสะอาดรถตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในวันที่ 14 ธันวาคม 2497 ต้องเติมน้ำประปาให้เต็ม ทำความสะอาดโดยประณีต และในวันที่ 15 ธันวาคม 2497 ให้ทำความสะอาดกระบวนรถ อีกครั้ง

4) ให้สารวัตรเดินรถกรุงเทพ ทำหน้าที่พนักงานรักษารถพระที่นั่ง แลบะ ให้จัดผู้ช่วย อีก 1 นาย นอกจากนี้ให้จัดพนักงานห้ามล้อ อีก 2นาย สำหรับรถพรนะที่นั่งและ พนักงานรักษารถ 1 นายประจำรถ บชท. เลขที่ 55 ด้วย

5) ให้ กดร. จดข. 1 จัดคนประจำรถ บพห. 18 และ บชอ. 1

6) ให้นายสถานีกรุงเทพ ประจำการที่สถานีหลวงจิตลดา และ อดร. แสง จะไปตรวจดูความเรียบร้อย ... เมื่อรถยนต์พระที่นั่งที่ผู้แทนพระองค์ มาถึงให้ตีระฆัง 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง ตามลำดับ

7) ให้นายสถานีคลองรังสิต (คส.) กักรถ ขบวน 502 รถ 160 รถ 258 และ รถ 1110 ไว้จนกว่ารถพระที่นั่งจะทำขบวนออกจากสถานนีดอนเมือง

8) ให้ปิดทางล่องช่วง บางซื่อ - ดอนเมิอง เวลา 0900 - 0930 และ ให้ปิดทางขึ้นช่วง กรุงเทพ - บางซื่อ เวลา 1030 - 1120 เพื่อให้กระบวนรถพระที่นั่งผ่านไปได้

9) ให้นายสถานีมักกะสันปิดทางช่วงสามเหลี่ยม มักกะสัน - จิตรลดา - หอประแจยมราช อย่าให้รถผ่านเด็ดขาด ใรนช่วงเวลา 1030 - 1120

10) ให้นายสถานีกรุงเทพ จัดคนเตรียมปูลาดพระบาท และ ปักหลักเพื่อให้พนังงานขับรถ
สามารถหยุดกระรบวนรถให้ประตูรถโบกี้พระที่นั่งหยุดที่ลาดพระบาท

11) ให้นายสถานีตลอดทางเสด็จจัดการทำความสะอาดโดยรอบสถานีและ รถน้ำชานชฃลาไม่ให้มีฝุ่นและให้ตรวจประแจด้วยตัวเอง พร้อมสงงพนักงานและคนการ ไปประจำที่ประแจทุกตัว

12)

..........................................................
ตารางเดินรถพิเศษ จะเป็นดังนี้
เที่ยวไป:
ถึง ออก
กรุงเทพ -------- 0850 หลีกขบวนรถ 164
จิตรลดา 0857 0900 หยุดรถรับผู้แทนพระองค์
สามเสน ------- 0904
บางซื่อ ------- 0910
บางเขน ------- 0917
หลักสี่ ------- 0923
ดอนเมือง 0930 ------- เข้าหลีกราง 3 เพื่อรับพระเจ้ากรุงกัมพูชา

เที่ยวกลับ:
ถึง ออก
ดอนเมือง ------- 1030 เข้าหลีกราง 3 เพื่อรับพระเจ้ากรุงกัมพูชา
หลักสี่ ------- 1037
บางเขน ------- 1043
บางซื่อ ------- 1050 ปรับกระบวนรถเข้าทางขึ้น
สามเสน ------- 1056
จิตรลดา 1100 1110
กรุงเทพ 1117 ---------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2007 7:26 pm    Post subject: Reply with quote

ปี 2499 สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ได้เสด็จจากเวียงจันท์เพื่อไปรักษาพระองค์ ที่ฝรั่งเศส โดยการเดินทางข้ามฟากไปท่าเรือของกรมทางหบลวง ที่ วัดหายโศรก เมืองหนองคาย เพื่อประทับรถไฟจากหนองคาย ไปที่จิตรลดา แล้วทำขบวนต่อไปยังปาดังเบซาร์ แล้วเจ้าหน้าที่กรมรถไฟมลายูจะมาจัดการทำขบวนรถพระที่นั่งไปยังสิงค์โปร์ จากนั้นจึงประทับเรือไปยังฝรั่งเศส เนื่องจาก ทรงพระประชวรพระบาทบวมจนสวม ฉลองพระบาทไม่ได้ และ มีอาการประชวรจนประทับเครื่องบินไม่ได้

ในการนี้พระเจ้าอยู่มีพระบรมราชานุญาตให้นำรถโบกี้พระที่นั่งกลางวันและ รถโบกี้พระที่นั่งบรรทม ของพระองค์ไปรับสมเด็จพระเจ้ากรุงลาว พระบรมวงศานุวงศ์ (รวมทั้งสมเด็จพระมงกุฎราชกุมารสว่างวัฒนา) และ ข้าราชบริพาร 40 คน ที่ตามเสด็จไปด้วย

ปดร. 348/2499 สำหรับขบวนรถพิเศษ ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2499 เป็น ดังนี้ โดยใช้รถจักร 500 แรงม้า 2 คัน ทำขบวนรถพระที่นั่งเปล่า จาก กรุงเทพ ไปหนองคาย (นาทา) และให้มีรถพ่วงไปดังนี้เพื่อทำขบวนรถออกจากกรุงเทพ วันที่ 7 มิถุนายน 2499

1) บพห. เลขที่ 18
2) บพห. เลขที่ 14
3) พนก. (รถโบกี้พระที่นั่งกลางวัน)
4) พนธ. (รถโบกี้พระที่นั่งบรรทม - บางฉบับใช้ บรรธม)
5) บนอ. เลขที่ 20
6) บนอ. เลขที่ 19
7) บกข. เลขที่ 17
8) บจพ. เลขที่ 1
9) บจพ. เลขที่ 3 สำหรับผู้ว่า รฟท. (พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ - หลวงเสรีเริงฤทธิ์)

เมื่อถึงสถานีอุดรธานี ให้ สารวัตรเดินรถนครราชสีมาจัดกระบวนรถสำหรับวันที่ 10 มิถุนายน2499 ดังนี้ โดยนับจากหัวรถจักร 500 แรงม้า 2 คันเป็นเกณฑ์ เนื่องจากสถานีหนองคาย (สถานีนาทา) มีย่านเล็ก ไม่พอจัดกระบวนรถ

1) บพห. เลขที่ 18
2) บกข. เลขที่ 17
3) บนอ. เลขที่ 19
4) บนอ. เลขที่ 20
5) พนธ. (รถโบกี้พระที่นั่งบรรทม - บางฉบับใช้ บรรธม)
6) พนก. (รถโบกี้พระที่นั่งกลางวัน)
7) บพห. เลขที่ 14
8) บจพ. เลขที่ 1
9) บจพ. เลขที่ 3 สำหรับผู้ว่า รฟท. (พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ - หลวงเสรีเริงฤทธิ์)

10 มิถุนายน 2499 รถพระที่นั่งทำขบวนออกจากสถานีหนองคาย (นาทา) เวลา 1400

11 มิถุนายน 2499 รถไฟพิเศษถึงสถานีจิตรลดา เวลา 0615 จากนั้นจึงทำขบวนออกจากสถานีจิตรลดา เวลา 0640 แล้วให้จัดกระบวนรถเพื่อทำขบวนไปปาดังเบซาร์ โดยให้จัดกระบวนรถ ดังนี้

1) บพห. เลขที่ 18
2) บกข. เลขที่ 17
3) บนอ. เลขที่ 19
4) บนอ. เลขที่ 20
5) พนธ. (รถโบกี้พระที่นั่งบรรทม - บางฉบับใช้ บรรธม)
6) พนก. (รถโบกี้พระที่นั่งกลางวัน)
7) บพห. เลขที่ 14
8) บจพ. เลขที่ 1
9) บจพ. เลขที่ 3 สำหรับผู้ว่า รฟท. (พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ - หลวงเสรีเริงฤทธิ์)

รถโบกี้ทุกคันและหัวรถจักรต้องได้รับการซ่อมแซม และทำความสะอาดอย่างประณีตที่สุด

สถานีที่ ขบวนรถพระที่นั่งหยุด หรือผ่านต้องได้รับการทำความสะอาดอย่างดี และ ให้รดน้ำอย่า
ให้มีฝุ่นจับชานชลา ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ

นายสถานีที่รถพระที่นั่งผ่าน ให้ลงมาตรวจประแจทุกตัวด้วยตัวเอง และล็อกประแจ อย่าให้ใครมาโยกเล่นเป็นอันขาด และให้เตรียมคนการและพนักงานประจำประแจทุกตัว

ให้กักขบวนรถ ระหว่างที่รถพระที่นั่งผ่านสถานี อย่างให้รถพระที่นั่งล่าช้าเป็นอันขาด และ ช่วงที่เป็นทางปิด ห้ามนำขบวนรถออกจากที่กักโดยเด็ดขาด

นายสถานีหนองคายและนายสถานีจิตรลดา (ก็นายสวถานีกรุงเทพนั่นแหละแต่ต้องรับงานพิเศษที่สถานีจิตรลดาด้วย) ให้ปูลาดพระบาทโดยให้เจ้าหน้าที่การรถไฟและ สำนักพระราชวัง จัดเตรียมสถานที่

// -----------------------------------------------------------------------
13 มิถุนายน 2499 รถพระที่นั่ง ถึงสถานีสิงคโปร์ ที่ตันหยงผกา เวลา 0800 (เวลามลายู) ซึ่งทันขึ้นเรือ ไปฝรั่งเศสซึ่งออกจากท่าเรือเวลา 1800

14 มิถุนายน 2499 ทำขบวนรถออกจากสิงคโปร์ เวลา 1800
16 มิถุนายน 2499 ขบวนรถออกถึงสถานีจิตรลดา เวลา 1400
จากกนั้นจึงส่งเสด็จมงกุฏราชกุมารสว่างวัฒนา ยังสถานีดอนเมืองเพื่อประทับบเครื่องบินพระที่นั่ง กลับเวียงจันท์ โดยมีเครื่องบินขับไล่ไปส่งเสด็จถึงชายพระราชอาณาเขต

// ----------------------------------------------------------------------------------------------------------
10 ตุลาคม 2499 มีปดร.พิเศษ เพื่อทำขบวนรถพระที่นั่งให้สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ที่เสด็จกลับจากการรักษาพระองค์ที่ฝรั่งเศส

17 ตุลาคม 2499 ทำขบวนรถออกจากสิงคโปร์ เวลา 1800
18 ตุลาคม 2499 รถไฟพระที่นั่งถึงบางซื่อ เวลา 1140 ในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลาผนวช เลยต้องมีการปรับขบวนรถพระที่นั่ง ที่ตลิ่งชันเนื่องจากที่ย่านสถานีกรุงเทพและบางซื่อ ผู้คนพลุกพล่านมาก จะจัดขบวน เพื่อไปที่จิตรลดา เวลา 1210 ตามพระราชประสงค์ ในสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต ก่อนทำขบวนตรงไปที่หนองคาย

19 ตุลาคม 2499 ถึงสถานีหนองคาย (นาทา) เวลา 0600
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2007 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

รถพระที่นั่งที่ ทำขบวนพิเศษ ปาดังเบซา - จิตรลดา - หนองคาย (นาทา)
1) บพห. 1 คัน
2) บนท. 2 คัน
3) พนก. (รถโบกี้พระที่นั่งกลางวัน)
4) พนธ. (รถโบกี้พระที่นั่งบรรทม - บางฉบับใช้ บรรธม)
5) บกข. 1 คัน
6) บจพ. 2 คัน โดยมี บจพ สำหรับผู้ว่า รฟท. (พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ - หลวงเสรีเริงฤทธิ์) 1 คัน พ่วงท้าย รวมเป็น 8 คัน

ให้ พลโทบุศรินทร์ ภักดีกุล (ราชองครักษ์) คอยรับเสด็จด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 12, 13, 14  Next
Page 3 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©