Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264107
ทั้งหมด:13575390
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ราคาน้ำมันกับการขนส่ง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ราคาน้ำมันกับการขนส่ง

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
GEA4548
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 10/12/2006
Posts: 594
Location: กรุงเทพฯ

PostPosted: 02/03/2007 5:26 am    Post subject: ราคาน้ำมันกับการขนส่ง Reply with quote

สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาว RFT ทุกท่านครับ ผมฟิวส์ครับ พอดีว่าไปท่องเว็บไปเรื่อยๆ หาเรื่องราวเกี่ยวกับรถไฟไปก็ไปเจอกับนี่เลยครับ เรื่องของราคาน้ำมันกับการขนส่งครับ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นก็ติดตามอ่านได้เลยนะครับ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง http://www.fpo.go.th/Fseg/Source/Article/Article30.htm

บทนำ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "น้ำมัน" เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ล้วนต้องใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การขนส่ง และการกระจายสินค้า เป็นต้น และเนื่องจาก "น้ำมัน" เป็นทรัพยากรเชื้อเพลิงที่มีจำนวนจำกัด หรือเป็นทรัพยากรที่สิ้นเปลือง เมื่อใช้แล้วหมดไปมนุษย์จึงไม่สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ เพราะการเกิดขึ้นของน้ำมันเกิดจากการทับถมของทรัพยากรต่าง ๆ ทางธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นพันปีหรือหมื่นปี ดังนั้น ถ้าหากมนุษย์เราใช้น้ำมันในปริมาณที่มากกว่าความสามารถของธรรมชาติที่จะผลิตได้ ในอนาคตเราก็ต้องขาดแคลนทรัพยากรเหล่านี้

เนื่องจากทรัพยากรเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย เยเมน โอมาน อิรัก เป็นต้น และประเทศเหล่านี้ก็ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือที่เราเรียกกันว่า OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อราคาและปริมาณของน้ำมันเป็นอย่างมาก โดยราคาน้ำมันจะขึ้นอยู่กับจำนวนอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันนั่นเอง และนั่นคือ

ถ้าความต้องการ ( Demand ) ในน้ำมันมากกว่าปริมาณน้ำมัน ( Supply ) ในทางกลับกัน ถ้าอุปสงค์ ( Demand ) มีน้อยกว่าอุปทาน ( Supply ) ราคาน้ำมันก็จะต่ำลง

ในปัจจุบัน ยุคที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือประเทศอุตสาหกรรมก็จะมีความได้เปรียบทางการค้า ส่วนประเทศเกษตรกรรมหรือประเทศกำลังพัฒนาก็จะเสียเปรียบทางการค้า ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ จึงพยายามผลักดันให้ประเทศของตัวเองเป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมนั้น จึงจำเป็ฯต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัย และวัตถุดิบที่สำคัญ คือ ทรัพยากรที่ให้พลังงาน นั่นก็คือ "น้ำมัน" นั่นเอง และยิ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้นเท่าไหร่ความต้องการพลังงานก็มากขึ้นเท่านั้น ราคาน้ำมันจึงเพิ่มสูงขึ้น เมื่อต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ราคาสินค้าก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่สินค้ามีราคาแพง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน รวมทั้งค่าโดยสารที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นด้วย เนื่องจากการขนส่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา ทุกย่างก้าวไม่ว่าเราจะเดินทางไปไหนก็จำเป็นต้องใช้พาหนะในการเดินทางทั้งสิ้น และสิ่งที่ทำให้พาหนะขับเคลื่อนไปได้ ก็คือ "น้ำมัน" นั่นเอง

ความหมายของการขนส่ง

การขนส่ง คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายบุคคล หรือสิ่งของด้วยอุปกรณ์การขนส่งจากสถานที่หนึ่ง ไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยเป็นไปตามความต้องการของบุคคลและก่อให้เกิดอรรถประโยชน์

อรรถประโยชน์ หมายถึง ขีดความสามารถของสิ่งของ หรือบริการที่จะบำบัดความต้องการของมนุษย์ สำหรับการขนส่งจะก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
1. อรรถประโยชน์เกี่ยวกับสถานที่ ( Place Utility ) คือ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสถานที่ สินค้าบางชนิดจะมีประโยชน์น้อย หรือมีมูลค่าต่ำในสถานที่หนึ่ง แต่อาจจะมีประโยชน์สูงกว่าหรือมูลค่ามากกว่าในสถานที่อื่น
2. อรรถประโยชน์เกี่ยวกับเวลา ( Time Utility ) คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการสนองความต้องการของผู้บริโภคในเวลาที่ต้องการ

ประเภทของการขนส่ง

1. การขนส่งทางถนน
การขนส่งโดยรถยนต์มีความสำคัญมาก และทวีความสำคัญยิ่งขึ้น เพราะทำให้การติดต่อเคลื่อนย้ายต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง มีการกระจายผลผลิต วัตถุดิบ จากแหล่งปัจจัยไปยังแหล่งผลิต จากแหล่งผลิตไปยังตลาดและผู้บริโภค ทำให้การค้าเจริญก้าวหน้า อุตสาหกรรมขยายตัว เศรษฐกิจเจริญเติบโต การศึกษา การสังคม การปกครอง ตลอดจนการทหาร มีความก้าวหน้าและทันสมัย ก็เนื่องมาจากผลของการขนส่งทางรถยนต์

ลักษณะของทุน
ทั้งนี้ เงินทุนที่ดำเนินการในการขนส่งทางถนนเป็นภาระของผู้ประกอบการขนส่ง และต้นทุนส่วนใหญ่ของการขนส่งทางถนนก็เป็นต้นทุนผันแปร คือ ค่าสึกหรอของยานพาหนะ ค่าแรงงาน และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนต้นทุนคงที่ คือ ดอกเบี้ยของการลงทุนในตัวยานพาหนะ และค่าบำรุงรักษาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขนส่ง

ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของการขนส่งทางถนน

ข้อได้เปรียบ
1. มีความคล่องตัวสูง สะดวกรวดเร็วในการขนส่ง
2. สามารถบริการได้ตลอดเวลา ทันตามเวลาที่ต้องการไม่ต้องรอเวลา
3. ต้นทุนการขนส่งระยะใกล้ต่ำ เนื่องจากต้นทุนคงที่ต่ำนั่นเอง

ข้อเสียเปรียบ
1. การขนส่งเหมาะสมกับการขนส่งในระยะทางใกล้ ๆ เพราะในระยะไกลจะทำให้ต้นทุนสูง เนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ผันแปรตามปริมาณการขนส่ง โดนเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนขนได้ในปริมาณน้อย เนื่องจากขอบเขตจำกัดของยานพาหนะ ดังนั้น การขนส่งในระยะทางไกล ๆ จะทำให้สิ้นเปลืองมาก
2. ในกรณีที่การจราจรคับคั่ง และอากาศเลวร้าย การขนส่งโดยรถบรรทุกจะช้ากว่ารถไฟ ทำให้ไม่ตรงต่อเวลาได้
3. อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ

2. การขนส่งทางรถไฟ
การขนส่งทางรถไฟ ในประเทศไทยมีขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมรถไฟ สังกัดกระทรวงโยธาธิการขึ้น และได้ก่อสร้างทางรถไฟหลวงสายแรกจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมาเป็นสายแรก ในการขนส่งผู้โดยสารแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ระยะไกล และระยะระหว่างบริเวณที่อยู่อ่ศัยกับที่ทำงาน ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งทางรถไฟจะกล่าวรวมกำลังขับเคลื่อนด้วย คือ รถจักร ซึ่งมีกำลังขับเคลื่อนตัวเองได้และมีหลายชนิดเรียกตามเครื่องจักรต้นกำลังที่นำมาติดตั้งใช้การ คือ รถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล รถจักรไฟฟ้า เป็นต้น

ลักษณะของทุน
การขนส่งทางรถไฟ เป็นการประกอบการขนาดใหญ่ ต้องลงทุนจำนวนมหาศาล และต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่มากกว่าต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าใช้จ่ายในการสร้าง บำรุงรักษา ตลอดจนปรับปรุงเส้นทางของตัวเอง ( ราง ไม้หมอน และโครงสร้างอื่นที่เกี่ยวข้อง ) และส่วนต้นทุนผันแปร เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการใช้และการเสียหายของตัวยานพาหนะ ตลอดจนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น รายได้ของการขนส่งทางรถไฟถูกจำกัดอย่างมากจากอัตราค่าบริการที่ถูกกำหนด แต่เนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ ดังนั้น เมื่อปริมาณการขนส่งเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ

ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของการขนส่งทางรถไฟ

ข้อได้เปรียบ
1. ประหยัด เหมาะสำหรับประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานจากประเทศอื่น เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่เรียบมีระดับแรงเสียดทานน้อย จึงทำให้ต้นทุนเฉลี่ยค่าเชื้อเพลิงต่ำ เป็นการประหยัดเชื้อเพลิง และขณะเดียวกันการขนส่งทางรถไฟมีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่ต้องใช้ปิโตรเลียม เช่น ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นมาจาก hydropower หรือถ่านหิน ลิกไนท์ geothemal energy พลังงานปรมาณู ก๊าซธรรมชาติ bio-fuels เช่น ไม้หรือของเสียจากการเกษตร ซึ่งเป็นการลดการใช้น้ำมันได้ในปริมาณมาก ยิ่งในสถานการณ์ในปัจจุบันที่น้ำมันมีราคาแพง ก็จะช่วยชาติประหยัดได้มากขึ้น
2. มีความปลอดภัยสูงกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ เพราะมีเส้นทางเฉพาะของตนซึ่งยานพาหนะของตนเองเท่านั้นที่จะใช้ได้
3. มีความสามารถในการบรรทุกสูง ทั้งในด้านผู้โดยสารและการบรรทุกสินค้า
4. สามารถขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะทางไกล ๆ เนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ ดังนั้น ถ้าขนส่งในระยะไกลในปริมาณมากย่อมทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดต่ำลง

ข้อเสียเปรียบ
1. มีความคล่องตัวต่ำในแง่ของความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ
2. ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งหมดสำหรับการขนส่งสูง เนื่องจากไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ถึงที่ต้องอาศัยการขนส่งประเภทอื่น ๆ
3. การลงทุนในจำนวนมาก โดยเฉพาะทุนที่ลงไปส่วนใหญ่เป็นทุนถาวร ทำให้ต้นทุนคงที่สูงกว่าต้นทุนผันแปรอย่างมาก ทำให้อัตราการคืนทุนต่ำ

3. การขนส่งทางอากาศ
การขนส่งทางอากาศในประเทศไทยนั้น เป็นกิจการที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ระหว่างกิจการทหารและพลเรือน โดยที่ผู้ให้กำเนิดการบินทหาร คือ พลโทพระยาเฉลิมอากาศ ได้จัดตั้งกองบินทหารบกขึ้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมามีความคิดที่จะใช้อากาศยานให้เป็นประโยชน์ในการขนส่งพลเรือน จึงก่อให้เกิดการบินพลเรือนขึ้นภายในประเทศเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 2502 รัฐบาลได้จัดตั้ง บริษัท การบินไทย จำกัด ขึ้น เพื่อดำเนินกิจการเดินอากาศระหว่างประเทศ ต่อมาก็ได้เกิดบริษัทเอกชนขึ้นตามมาอีกมากมาย

ลักษณะของทุน
การลงทุนในกิจการบินเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าในส่วนของเส้นทางและท่าอากาศยานผู้ประกอบการไม่ได้เป็นผู้ลงทุนเอง ลักษณะของต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปร ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการขนส่ง โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการขนส่งทางอากาศจะต้องใช้เชื้อเพลิงเป็นจำนวนมากและเป็นปัญหาในปัจจุบัน เมื่ออุปทานของพลังงานขาดแคลนและราคาสูงมากขึ้น โดยลักษณะการประกอบการนั้น มิได้หวังผลทางการค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาผลประโยชน์ทางการเมืองด้วย ดังนั้น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนจึงต่ำ

ข้อได้เปรีบยและเสียเปรียบของการขนส่งทางอากาศ

ข้อได้เปรียบ
1. ในด้านความเร็ว การขนส่งทางอากาศมีความรวดเร็วกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ มีผลทำให้เวลาในการขนส่งลดลง ซึ่งทำให้ต้นทุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องลดลงไปด้วย
2. สามารถเข้าถึงเกือบทุกสถานที่ไม่ว่าจะไกลเพียงไรก็ตาม
3. มีความคล่องตัวสูงกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ เพราะไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะทางฟิสิกส์ของเส้นทาง ให้บริการกว้างขวางไปยังจุดหมายหลายแห่ง

ข้อเสียเปรียบ
1. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง และต้องใช้ผู้ดำเนินงานที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ เนื่องจากเทคนิคยุ่งยากซับซ้อน
2. ความปลอดภัยมีน้อย ถ้าเครื่องยนต์กลไกขัดข้องเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมาก
3. บริโภคพลังงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ

4. การขนส่งทางน้ำ
การขนส่งทางน้ำนั้นจะใช้พลังงานน้อยกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ โดยเรือจะมีขนาดแตกต่างกันตามลักษณะของเส้นทาง ระยะทาง ตลอดจนสิ่งของที่ขน ซึ่งอุตสาหกรรมการขนส่งทางน้ำเป็นลักษณะของอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนถาวรน้อย เมื่อเทียบกับการขนส่งประเภทอื่น ๆ ดังนั้น ต้นทุนในการขนส่ง จึงเป็นต้นทุนผันแปรมากกว่าต้นทุนคงที่

ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบในการขนส่งทางน้ำ

ข้อได้เปรียบ
1. มีความสามารถในการบรรทุกได้ในปริมาณมาก ขนส่งสินค้าได้หลายชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่มูลค่าระดับกลางและต่ำ
2. อัตราค่าขนส่งสูงกว่าการขนส่งประเภทอื่น เพราะต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยของการขนส่งต่ำ
3. มีความเสี่ยงน้อย หรือมีความปลอดภัยสูง

ข้อเสียเปรียบ
1. การขนส่งทางน้ำมีความล่าช้า เพราะใช้ความเร็วต่ำและสภาพของเส้นทางน้ำคดเคี้ยว จึงเกิดความล่าช้ากว่าการขนส่งประเภทอื่น
2. การขนส่งจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสภาพของดินฟ้าอากาศ

การกำหนดและประเภทของอัตราค่าขนส่ง

ประเภทของอัตราค่าขนส่ง
1. อัตราค่าขนส่งระบบระยะทางจริง (Actual distance rate system ) เป็นระบบอัตราค่าบริการที่คิดราคาตามระยะทางที่วิ่งจริง เช่น กำหนดค่าโดยสารไว้กิโลเมตรละ 2 บาท ถ้าเดินทาง 10 กิโลเมตร ผู้โดยสารต้องเสียค่าโดยสาร 2x10 = 20 บาท ซึ่งผู้เดินทางไกลจะเสียค่าขนส่งมากกว่าผู้ที่เดินทางระยะใกล้

2. อัตราค่าขนส่งระบบกลุ่ม ( Group rate system หรือ Blanket rate ) เป็นอัตราค่าขนส่งที่รวมจุดต้นทาง และปลายทางหลาย ๆ จุดเข้าเป็นกลุ่ม เช่น จากกิโลเมตรที่ 1-5 เสียค่าโดยสาร 5 บาท และจากกิโลเมตรที่ 5.1-10 เสียค่าโดยสาร 10 บาท เป็นต้น

3. อัตราค่าขนส่งระบบอัตราเดียว ( Flat rate system ) เป็นระบบอัตราค่าขนส่งที่คิดค่าโดยสารอัตราเดียวกันหมด ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล เช่น การคิดค่าโดยสารของ ขสมก. (ครีม-แดง) มีอัตราค่าโดยสารตลอดสาย คือ 5 บาท

4. อัตราค่าขนส่งระบบชายธง (Tapering rate system ) เป็นระบบอัตราค่าขนส่งที่คิดอัตราค่าบริการลดลง เมื่อระยะทางยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้ระบบนี้

ปัจจัยการกำหนดอัตราค่าขนส่ง
1. อุปสงค์และอุปทานของการขนส่ง โดยอัตราค่าขนส่งจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน แต่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์

2. ต้นทุนการผลิตและการขนส่งเมื่อทราบถึงต้นทุนทั้งหมด จึงนำมาพิจารณากำหนดอัตราค่าขนส่ง โดยบวกกับกำไรที่คิดว่าจะได้รับเข้าไปกับต้นทุนก่อน แต่การกำหนดอัตราค่าขนส่งของ ขสมก. จะกำหนดอัตราค่าบริการไว้แน่นอน คือ 5 บาท ผู้ประกอบการขนส่งจะเก็บสูงกว่าที่กำหนดไม่ได้ การที่รัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงและขั้นต่ำ ตลอดจนอัตราที่แน่นอนนั้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการจะต้องถืออัตราเหล่านี้เป็นอัตราที่เหมาะสม โดยที่ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะค่าน้ำมัน อัตราค่าขนส่งก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
AlstomXEON
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 12/02/2007
Posts: 6
Location: อ.เมือง นครราชสีมา

PostPosted: 02/03/2007 10:01 am    Post subject: Reply with quote

ถือว่าไม่เสียเที่ยวที่ไปสรรหามาให้อ่านกันครับ เข้ากับสภาวะโลกวันนี้ได้ใกล้เคียงมากเลยที่เดียว

สาระความรู้แบบนี้สามารถนำไปเปรียบเทียบจุดเด่น จุดด้อยของการขนส่ง ดีไม่ดีอาจจะเป็นตัวเลือกให้นำไปคิดไว้ว่า "การขนส่งแบบใด จะช่วยทำให้ลดต้นทุน ปลอดภัย สะดวก และมีความคุ้มค่ามากที่สุด?" ต้องขอยกนิ้วให้ในฐาณะสมาชิกใหม่ด้วยคนครับ thumbsup
_________________
ติดตามดูชุมนุมรถไฟ(ทั่วโลก) จากเว็บ DeviantART ได้ที่ [img]http://a.deviantart.net/avatars/t/h/the-railfan-nation.gif?5[/img]
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©