RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181283
ทั้งหมด:13492518
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รายงานลับเรื่องรถไฟสยาม จาก อัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงสยาม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รายงานลับเรื่องรถไฟสยาม จาก อัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงสยาม

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2006 2:27 am    Post subject: รายงานลับเรื่องรถไฟสยาม จาก อัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงสยาม Reply with quote

รายงานลับจาก เซอร์ โจเซีย ครอสบี (Sir Josiah Crosby - อัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงสยาม) ถึงไวสเคาท์ ฮาลิแฟกซ์ (Viscount Halifax - รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ) เรื่องรถไฟสยาม

สถานทูตอังกฤษ
กรุงเทพ
5 เมษายน 1938
เรียนท่านลอร์ดฮาลิแฟกซ์ (รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ),

ข้าพเจ้าได้ส่งบันทึกที่ นาย อี ที แลมเบิร์ต รักษาการกงสุลอังกฤษประจำกรุงสยามเกี่ยวกับกิจการภายในกรมรถไฟกรุงสยามซึ่งเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากได้แสดงให้เห็นถึงระยะทางที่เปิดให้บริการและ ระยะทางที่กำลังก่อสร้าง ในขณะนี้

.......................................
ด้วยความเคารพอย่างสูง,
ลงนาม
เจ ครอสบี

// --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นี่คือเส้นทางรถไฟที่เปิดถึง 31 มีนาคม 1938 (ปลายปี 2480) ที่ หลวงเสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมรถไฟ ได้ให้ข้อมูลนี้

สาย ทางเดี่ยว ทางคู่ รวม
เปิด (กม.) (กม.) (กม.)
ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา
(สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
สายตะวันออก)
กรุงเทพ - นครราชสีมา 263.79 28.44 292.83
นครราชสีมา - วารินทร์ 311.91 ------ 311.91
ถนนจิระ - ขอนแก่น 184.21 ----- 184.21
บ้านภาชี - เชียงใหม่ 661.22 ------- 661.22
บ้านดารา - สวรรคโลก 29.00 ------ 29.00
มักกะสัน - สถานีแม่น้ำ 4.86 --------- 4.86
บางซื่อ - ตลิ่งชัน 14.34 ------- 14.34

ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา
(สายใต้)
บางกอกน้อย - หาดใหญ่ - สุไหงโกลก 1144.38 --------- 1144.38
หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ 44.24 ---------- 44.24
หาดใหญ่ - สงขลา 29.74 -------- 29.74
ทุ่งสง - กันตัง 93.63 ------- 93.63
เขาชุมทอง - นครศรีธรรมราช 35.31 ------- 35.31

กำลังสร้าง
ขอนแก่น - อุดร 119.00 -------- 119.00
คลองรังสิต - บ้านภาชี -------- 61.84 61.84
// -------------------------------------------------------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2006 2:57 am    Post subject: Reply with quote

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตอนนี้สำรวจทางจากขอนแก่นไปอุดร (120 กม.) เสร็จแต่ปี 1931 แต่เพราะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 1932 ทำให้โครงการล่าช้าออกไปเนื่องจากมีการตัดทอนงบประมาณ งานก่อสร้างเพิ่งเริ่มทำกันเมื่อ เมษายน 1933 ตอนแรกกะจะสร้างไปถึงหนองคายแต่เพราะถนนจาก
อุดรถึงหนองคายนั้นมีสภาพดีอยู่แล้วทำให้งดการสร้างทางจากอุดรไปหนองคาย

รายงานความก้าวหน้าของการสร้างทางสาย ขอนแก่น - อุดร ถึงวันที่ 31 มีนาคม 1938 เป็นดังนี้

a) กรมรถไฟได้เวนคืนที่ดินทำทางเกือบหมดแล้วเว้นแต่รายที่มีข้อพิพาทเรื่องค่าชดเชยการเวนคืน
b) การถางป่าเพื่อบุกเบิกทางได้ทำไปตลอดระยะทางแล้ว
c) งานดินสำหรับสถานีและย่านสถานี เสร็จไป 95%
d) ตั้งเสาโทรเลขกันตลอดแนวแล้ว
e) มีการวางรางและลงหินถมทางไปครึ่งหนึ่งแล้ว
f) สะพานเข้าคลองเสร็จไป 40%
g) มีการปลูกอาคารสถานีและตึกอื่นๆที่เกี่ยวข้องแล้ว

ตอนนี้รถสินค้าสามารถไปได้ถึงหัวรถไฟ ซึ่งห่างจากสถานีขอนแก่น ประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งหวังกันว่าในวันที่ 1 ตุลาคม คงจะเปิดเส้นทางช่วงขอนแก่น - น้ำพอง (25 กิโลเมตร) ให้รถโดยสารผ่านได้ และเส่นทางนี้อาจเปิดให้ไปถึงกุมภวาปีเมื่อเดือนเมษายน 1940
และถึงอุดรเมื่อ เดือนเมษายน 1941

เมื่อหลายปีก่อนเคยมีโครงการจะสร้างทางจากกุมภวาปีผ่านสกลนครไปนครพนม โดยให้เลิกแผนการต่อเส้นทางจากขอนแก่นไปนครพนม เนื่องจากเส้นทางผ่านได้ยากลำบาก ในปี 1929 ได้มีการจ้างบริษัทฝรั่งเศสจัดการบินสำรวจ เส้นทางระหว่างอุดรและสกลนคร แต่โครการสร้างทางจากกุมภวาปีไปนครพนมได้ล้มไปโดยให้สร้างถนน ราดยางมะตอยแทน

ปี 1936 ได้มีการอภิปรายให้สร้างทางรถไฟจากโคราชไปกบินทร์บุรี และได้มีการสำรวจเส้นทางแล้วแต่ยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อไปดี

ทางเลือกอื่นที่จะแทนคลองกระ ก้คือ
1) ทางรถไฟจากปีนังไปกรุงเทพ
2) กรุงเทพ - อุบล เริ่มให้บริการรถด่วนเมื่อ 21 มีนาคม 1938
3) อุบล - มุกดาหารโดยถนนราดยางมะตอย
4) ทางรถไฟ จากท่าแขกไปวินห์ (ถ้ามีการสร้างจริงๆ) ทางเช่นนี้จะทำให้การเดินทางจากปีนังไปโตเกียวใช้เวลา 6-7 วัน

การสร้างทางคู่คลองรังสิต - บ้านภาชีโดนชะลอไปในปี 1933 แต่ได้เริ่มใหม่ในปี 1936 แต่ก็ทำได้แค่ซ่อมทางดินกับสร้างสะพานเท่านั้น

นอกจากการสร้างทางแล้ว ยังมีงานสำคัญอีก 2 ชิ้นที่กรมรถไฟกำลังทำคือ
1) แปลงย่านสถานีกรุงเทพ เพิ่งเสร็จไป 75% กว่าจะเสร็จใช้งานได้ก็ปีถัดไป

2) ปรับปรุงพร้อมขยายโรงงานมักกะสันให้ใหญ่และทันสมัยยิ่งกว่าเดิม ขณะนี้เพิ่งร่างแผนโดยได้ประมาณงบที่จำเป็นต้องใช้ ไว้ 5 ล้านบาทเพื่อการใช้จ่ายใน 6-7 ปี จากการเยี่ยมชมโรงงานมักกะสันก็ทำให้รู้สึกว่ากรมรถไฟต้องเร่งปรับปรุงโรงงานมักกะสันกันขนานใหญ่
โดยด่วนที่สุดจริงๆ เนื่องจากเครื่องจักเครื่องกลส่วนใหญ่ในโรงงานมักกะสันมีสภาพเก่าขนาดต้องรุสต็อกออกไปโดยเร็ว อาคารที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอต่อคนงานและเจ้าหน้าที่ อีกทั้งเวลาและแรงงานก็เสียไปโดยเปล่าประโยชน์เนื่องการจัดระเบียบที่เละเทะเสียเหลือเกิน

ขณะนี่รัฐบาลให้งบประมาณปี 1938-1939 มา 5แสนบาทเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ มาทดแทนเครื่องจักรเก่า และซื้อที่ดินตั้งแต่เดือนเมษายน 1938
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2006 12:19 am    Post subject: Reply with quote

การเปรียบเทียบผลประกอบการกรมรถไฟหลวง

รายการ หน่วย พ.ศ.2478 พ.ศ. 2479
(เมษายน 1935- (เมษายน 1936-
มีนาคม1936) มีนาคม 1937)
01 ระยะทางเปิดให้บริการ กม. 3,100 3,100
02 ระยะทางกำลังก่อสร้าง กม. 181 181
03 จำนวนสถานีและที่หยุดรถ แห่ง 431 434
04 ทุนที่ใช้ทั้งหมด บาท 199,894,518 200,570,833
05 เฉลี่ยทุนต่อกิโลเมตรที่เปิด บาท 64,485 64,700
06 รายได้รวม บาท 13,752,314 15,096,534
07 รายจ่ายรวม บาท 6,767,008 7,117,439
08 ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ร้อยละ 49.21 47.15
09 ส่งเข้า Renovation Funds บาท 999,472 1,002,854
10 กำไรรวม บาท 5,985,834 6,976,241
11 จำนวนผู้โดยสาร คน 5,112,019 5,672,283
12 ปริมาณสินค้าที่ขนส่ง ตัน 1,414,872 1,590,287
13 จำนวนปศุสัตว์ที่ขนส่ง หัว 227,836 238,296
14 จำนวนหัวรถจักร หัว 182 192
(รมรถจักรดีเซล ดีเซลไฟฟ้า)
15 จำนวนตู้โดยสารรวมรถราง หลัง 321 332
16 จำนวนรถพ่วง และ รถอื่นๆ หลัง 3,448 3,490

//-----------------------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2006 12:55 am    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดเกี่ยวกับทางถาวร

ขนาดรางทั้งระบบ 1 เมตร
น้ำหนักราง 50 ปอนด์ต่อหลา
ความยาวของราง 8 เมตร และ 9 เมตร
ความยาวไม้หมอน 15 x 20 x 190 เซนติเมตร
ความยาวของทาง
ทางเดี่ยว 3071.424 กิโลเมตร
ทางคู่ 28.438 กิโลเมตร
ทางหลีก 213.307 กิโลเมตร
รวม 3313.169 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2006 1:04 am    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดเกี่ยวกับรถจักรรถพ่วง
a. รถจักรไอน้ำ 177 คัน
b. ระจักรดีเซล 2 คัน
c. รถจักรดีเซลไฟฟ้า 13 คัน

ขณะนี่กรมรถไฟได้สั่งรถจักรมิกาโด้ญี่ปุ่นมา 8 คัน เมื่อกรกฎาคม 1937 และคาดว่าจะมาถึงกรุงสยามในเดือนตุลาคม 1937 แต่การส่งมอบล่าช้าเพราะกรมรถไฟกับผู้ผลิตที่ญี่ปุ่นมีข้อพิพาทเรื่องราคาขายรถจักรมิกาโด้ญี่ปุ่น ทำให้เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่ารถจักรมิกาโด้ 4 คันแรก หัวจุ๊ปในรถจักรชำรุดไป 5 หัว ต้องเอาหัวจุ๊ปเยอร์มันมาเปลี่ยนแทนหัวจุ๊ปญี่ปุ่น

d. ตู้รถโดยสาร 296 หลัง
e. รถราง 4 ล้อและ รถพ่วง 19 หลัง
f. รถดีเซลราง 6 หลัง
g. รถพ่วงสินค้า 3461 หลัง
h. รถถังน้ำ 9 หลัง
i. รถน้ำมัน 1 คัน
j. รถอื่นๆ เช่นรถปั้นจั่นไอน้ำ 19 คัน

โปรดดูโผบัญชี รายละเอียดรถจักรรถพ่วง
ด้วยความเคารพอย่างสูง
(ลงนาม) อี ที แลมเบิรต์ (E.T. Lambert)
รักษาการกงศุลสามัญสถานอัคราชทูตอังกฤษ กรุงเทพ
28 มีนาคม 1938
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2006 2:13 am    Post subject: Reply with quote

โผบัญชีรถจักรไอน้ำ

การวางล้อ ผู้ผลิต จำนวน
0-6-0 เฮนส์เชลแอนด์ซอห์น (Henschel & Sohn) 6 หัว
0-6-0 เฮนส์เชลแอนด์ซอห์น (Henschel & Sohn) 5 หัว
2-4-2 เคราส์ แอนด์ โก (Krauss & co.) 2 หัว
2-4-2 เคราส์ แอนด์ โก (Krauss & co.) 2 หัว
2-6-0 เคราส์ แอนด์ โก (Krauss & co.) 2 หัว
2-6-0 เคราส์ แอนด์ โก (Krauss & co.) 2 หัว
4-6-0 นอร์ธบริติช โลโค (North British Loco.) 42 หัว
2-6-0 ยอร์ชอีเกสตอฟฟ์ (George Egestoff) 13 หัว
4-6-2 บาติกญอลส์ (Batignolles) 4 หัว
4-6-2 บอลด์วินโลโคเวอร์กส (Baldwin Loco. Works) 26 หัว
4-6-2 ฮาโนแม็ก (Hanomag) 23 หัว
2-8-2 บอลด์วินโลโคเวอร์กส (Baldwin Loco. Works) 6 หัว
2-8-2 นาสมิธ (Nasmyth Wilson & Co. Ltd.) 2 หัว
2-8-2 บาติกญอลส์ (Batignolles) 6 หัว
2-8-0 สวิสโลโค แอนด์แมชีนเวิร์กส (Swiss Loco. & machine Works) 18 หัว
2-8-2 นิปปอนชาเรียว ไคชา ญี่ปุ่น (Nippon Sharyo Kaisha Japan) 8 หัว
0-10-0 ยอร์ชอีเกสตอฟฟ์ (George Egestoff) 2 หัว
2-8-2+2-8-2 เฮนส์เชลแอนด์ซอห์น (Henschel & Sohn) 8 หัว
รวม 177 หัว

รถจักรดีเซล
การวางล้อ
0-4-0 สวิสโลโค แอนด์แมชีนเวิร์กส (Swiss Loco. & machine Works) 2 หัว
รวม 2 หัว

รถจักรดีเซลไฟฟ้า
ขนาดแรงม้า ผู้ผลิต จำนวน
450 แรงม้า ซุลเซอร์บราเธอร์ (Sulzer Brothers) 6 หัว
2 x 450 แรงม้า (เอเอส ฟริกซ์(A/S Frichs) 6 หัว
1400 แรงม้า เอเอส ฟริกซ์(A/S Frichs) 1 หัว
รวม 13 หัว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2006 2:53 am    Post subject: Reply with quote

รถโดยสาร
รถโบกี้พระที่นั่งกลางวัน 1 หลัง
รถโบกี้พระที่นั่งกลางคืน 1 หลัง
รถโบกี้จัดเฉพาะ 4 หลัง
โบกี้ชั้น 1 กลางวันกลางคืน 10 หลัง
โบกี้ชั้น 2 กลางวันกลางคืน 10 หลัง
รถโบกี้ชั้น 1 นั่ง 1 หลัง
รถโบกี้ชั้น 1 + ชั้น 2 นั่ง 7 หลัง
รถโบกี้ชั้น 1 + ชั้น 3 นั่ง 12 หลัง
รถโบกี้ทุกชั้น 19 หลัง
รถโบกี้ชั้น 2 + ชั้น 3 นั่ง 26 หลัง
รถโบกี้ ชั้น 3 นั่ง 98 หลัง
รถโบกี้จ่ายเงิน 2 หลัง
รถโบกี้ชั้น 3 + สัมภาระ 17 หลัง
รถโบกี้ขายอาหาร 7 คัน
รถโบกี้สัมภาระ 30 คัน
รถ 4 ล้อจัดเฉพาะ 19 หลัง
รถ 4 ล้อชั้น 1 + ชั้น 3 นั่ง 2 หลัง
รถ 4 ล้อชั้น 1 + ชั้น 2 นั่ง 7 หลัง
รถ 4 ล้อชั้น 2 + ชั้น 3 นั่ง 8 หลัง
รถ 4 ล้อ ชั้น 3 นั่ง 21 หลัง
รวม 297 หลัง
// -----------------------------------------------------------------
รถราง
โบกี้กลไฟ 1 หลัง
รถราง4 ล้อ มีเครื่องยนต์ 9 หลัง
รถราง 4 ล้อพ่วง 9 หลัง
รถดีเซลราง 6 หลัง
// ---------------------------------------------------------
รถพ่วงสินค้า
รถโบกี้ข้างสูง 45 หลัง
รถโบกี้เทข้าง 25 หลัง
รถโบกี้ข้างโถง 67 หลัง
รถโบกี้ถังน้ำ 7 หลัง
รถโบกี้น้ำมัน 1 หลัง
รถโบกี้ช่วยอันตราย 3 หลัง
รถโบกี้พื้นต่ำ 1 หลัง
รถสัมภาระมีเครื่องห้ามล้อ 75 หลัง
รถตู้ใหญ่ 1431 หลัง
รถข้างสูงมีหลังคา 316 หลัง
รถข้าวเปลือก 49 หลัง
รถสัตว์ 294 หลัง
รถข้างสูง 176 หลัง
รถบรรทุกยานพาหนะ (Carriage Truck) 6 หลัง
รถบรรทุกฟืน (Fuel Truck) 49 หลัง
รถไม้คู่ 22 หลัง
รถตู้เย็น (ใส่น้ำแข็ง) 2 หลัง
รถเทข้าง 50 หลัง
รถเกลือ 57 หลัง
รถข้างต่ำ 782 หลัง
รถถังน้ำ 2 หลัง
รถขังนักโทษ 4 หลัง
รวม 5464 หลัง

// --------------------------------------------------------------------------
รถปั้นจั่น
รถโบกี้ปั้นจั่นไอน้ำ 25 ตัน 4 หลัง
รถโบกี้ปั้นจั่นไอน้ำ 10 ตัน 1 หลัง
รถโบกี้ปั้นจั่นมือหมุน 12 ตัน 1 หลัง
รถ 8 ล้อ ปั้นจั่นมือ 10 ตัน 3 หลัว
รถ 6 ล้อ ปั้นจั่นมือ 6 ตัน 1 หลัง
รถปั้นจั่น 4 ล้อ 9 หลัง
รวม 19 หลัง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2006 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

อดใจรอเสียหน่อย กำลังจะแก่รายงานจากฝ่ายเสนาธิการกองทัพอังกฤษ พิมพ์ที่อินเดียเมื่อปี 2486 ซึ่งสำคัญมาก เพราะมีข้อมูลลับ ที่ทำให้กองทัพอิงกฤษสามารถถล่มสะพานพระราม 6 ได้สำเร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2007 10:05 am    Post subject: Reply with quote

ฝ่ายเสนาธิการสัมพันธมิตรรายงานเมื่อปี 2486 ว่า

ปกติการ Turntover รถจักร วิ่งจากกรุงเทพ ไปสิงคโปร์ใช้เวลา 6 วันครึ่ง ดังนั้นเป้าหมายสำคัญคือการระเบิดสะพานท่าข้ามที่บ้านดอน และ สะพานพระราม 6 และให้ถล่มอุโมงค์ช่องเขาด้วย

ส่วนรถที่วิ่งไปเชียงใหม่ ให้ระเบิดสะพานปรมินทร์ และ ถล่มอุโมงค์ตามรายทาง และสะพานหอสูงทั้ง 3

ส่วนรถที่วิ่งสายนครราชสีมาให้ ถล่มอุโมงค์ช่วงดงพระยาเย็นด้วย

ถ้าถล่มโรงงานมักกะสัน และ ย่านบางซื่อ จะทำให้ กรมรถไฟเป็นอัมพาตทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©