Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181288
ทั้งหมด:13492523
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nOo-Neung
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 1013
Location: ARL ลาดกระบัง

PostPosted: 15/06/2007 3:30 pm    Post subject: Reply with quote

- -* ท่านรองฯ นคร ก็อธิบาย ปาวๆ แต่คอลัมม์นิสต์ท่านนึง ฟังกลับไปก็ยังเขียนไม่เข้าใจ
สรุปย่อยๆก็คือ ที่ทำราง 1m ของรถไฟฟ้าเนี่ย เพื่ออนาคตของรถไฟไทย ที่กำลัง
จะเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้าครับ ถ้าช่วงเวลารถไฟฟ้าว่างไม่มีวิ่ง รางนั้นก้สามารถให้รถไฟดีเซล
วิ่งได้ด้วย

ยกตัวอย่างในประเทศ ญี่ปุ่นที่เขายังใช้รถดีเซลวิ่งร่วมกับรางรถไฟฟ้า

อีกอย่าง Bts กับ รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ใช้รางที่ 3 น่ะ มันทำความเร็วได้ 60-70 km/h เอง
Back to top
View user's profile Send private message
iammai
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/07/2006
Posts: 50
Location: Sisaket & Ubon Rajathanee

PostPosted: 19/06/2007 9:31 pm    Post subject: Reply with quote

เอามาให้ดูเพิ่มเติมครับ...

พอดีแฟนทำงานที่บริษัท Siemens (Thai) ก็เลยพอมีข้อมูลบ้าง

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2007 12:38 pm    Post subject: Reply with quote

สีแดงบางซื่อ-รังสิตรุกฆาต! 3ชุมชน232หลังคาต้องย้าย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2228 21 มิ.ย. - 23 มิ.ย. 2550

Click on the image for full size


จี้แจ้งเกิดสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต "ปู่ห้าว" กำชับสนข. ปรับแบบ ขออนุมัติก่อสร้าง ให้ทันในรัฐบาลชุดพล.อ.สุรยุทธ์ เผยผลการศึกษาแนวสายทาง 26 กม.ของรฟท.พบ 3 ชุมชนต้องย้ายหนี รวม 232 หลังคาเรือน พร้อมเร่งคิดแผนซื้อรถไฟฟ้าคาดล็อตแรก 70 ตู้ ขณะที่ สนข. เร่งจ้างกลุ่มบริษัท "เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง" ผู้ออกแบบชุดเดิมมาสานงานต่อ ให้จบทันเสนอเข้าครม.กลาง พ.ย.50


จากการลงสำรวจพื้นที่เส้นทางก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ของ พล.ร.อ. ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้น รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การปรับแบบโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วง บางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการอีกประมาณ 4 เดือนจะแล้วเสร็จ หรือภายในเดือน ตุลาคมนี้จะสามารถเสนอรายละเอียดโครงการต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติก่อสร้างพร้อมทั้งขอปรับเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างได้


พล.ร.อ.ธีระกล่าวต่ออีกว่า ในอนาคตเมื่อมีการพัฒนาโครงข่ายทั้งหมดแล้ว บริเวณสถานีบางซื่อและสถานีมักกะสัน จะกลายเป็นศูนย์ขนส่งรวมของระบบราง ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟสายใต้ และสายเหนือ โดยจะลดบทบาทของสถานีหัวลำโพงลง ซึ่งการรถไฟฯ จะต้องศึกษาเพื่อวางแผนแม่บทการพัฒนาสถานี รองรับการเดินทาง ผู้โดยสาร การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนรูปแบบต่างๆ ให้ดี และเป็นระบบที่สมบูรณ์ ส่วนการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ นั้น จะทำได้เมื่อมีพื้นที่เหลือจากการพัฒนาอย่างเพียงพอแล้ว


ขณะที่ นายบัญชา คงนคร รองผู้ว่าการฯ และรักษาการ ผู้ว่าการรถไฟฯ ยืนยันว่า การก่อสร้างสถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของโครงการระบบราง สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน กับช่วงบางซื่อ-รังสิต จะแล้วเสร็จทันต่อแผนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน อย่างแน่นอน แม้ว่าแผนงานก่อสร้างสถานีบางซื่อ จะรวมอยู่ในโครงการของช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการปรับแบบ และคาดว่าจะเริ่มประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างได้ในช่วงกลางปี 2551 และ จะเร่งให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเริ่มก่อสร้างย่านสถานีบางซื่อเป็นลำดับแรกก่อน


ด้าน นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน การรถไฟฯ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างศึกษาและเตรียมแผนการจัดซื้อรถไฟฟ้า ซึ่งต้องรอความพร้อมในการตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯ ขึ้นมาดูแลด้านการเดินรถไฟฟ้า โดยจะกำหนดสเปคตัวรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อเสนอขออนุมัติงบลงทุนเพิ่มเติม ในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้รถไฟฟ้าประมาณ 70 ตู้ และจะต้องสั่งผลิตภายในปี 2552 เพื่อให้ทันการเปิดเดินรถในปี 2554-2555


สำหรับรายละเอียดโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร จะมีทั้งโครงสร้างทางยกระดับ และโครงสร้างระดับดิน โดยทางยกระดับออกจากสถานีบางซื่อ ไปทางด้านสถานีขนส่งหมอชิต 2 ผ่านจตุจักร วัดเสมียนนารี กิโลเมตรที่ 12+050 ผ่านสถานีรถไฟบางเขน กิโลเมตรที่ 13+025 ผ่านแยกงามวงศ์วาน อาคารยูคอม อุโมงค์นอร์ทปาร์ค (North Park) โรงแรมมิราเคิล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สถานีรถไฟหลักสี่ และวิ่งข้ามแยกถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านการเคหะทุ่งสองห้อง ดอนเมือง ถนนเชิดวุฒากาศ ธนาคารไทยพาณิชย์ สถานีรถไฟดอนเมือง และสน.ดอนเมือง


ทั้งนี้เมื่อถึงหน้า สน.ดอนเมือง แล้วทางรถไฟจะลดลงสู่ระดับดิน ผ่านสะพานข้ามทางรถไฟเกษมอุดมพันธุ์ ตรงไปจนถึงสถานีรถไฟรังสิต และสิ้นสุดแนวเส้นทางที่กิโลเมตรที่ 32+350 โดยตลอดแนวเส้นทางผ่านนั้น จะมีชุมชนบุกรุกในเขตทางรถไฟ 3 ชุมชน รวมจำนวนที่คาดว่าจะต้องรื้อย้ายออก 232 หลังคาเรือน ประกอบด้วย ชุมชนหลักหก 152 ครัวเรือน ชุมชนเลียบทางรถไฟใกล้สถานีคลองรังสิต 25 หลังคาเรือน และชุมชนคอกวัว 55 หลังคาเรือน


ในด้านขนาดของรางรถไฟนั้นจะใช้ขนาด 1.00 เมตร (Meter Gauge) จำนวน 3 ทาง โดยตลอดแนวเส้นทางจะผ่าน 5 สถานีสำคัญ คือ สถานีบางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และสถานีรังสิต โดยสถานีบางซื่อจะมีความสำคัญที่สุดเนื่องจากจะมีศูนย์ซ่อมบำรุง (DEPOT) ทั้งยังเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ด้วย


นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบโครงสร้างถนนเลียบทางรถไฟ (Local Road) โดยจะเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อ วิ่งเลียบขนานแนวเส้นทางด้านทิศตะวันตก ผ่านสถานีบางเขน หลักสี่ หลังจากนั้นย้ายฝั่งไปทางทิศตะวันออก วิ่งผ่านสถานีดอนเมือง แล้วย้ายไปฝั่งตะวันตก จนสิ้นสุดแนวเส้นทางที่สถานีรังสิต อีกทั้งออกแบบโครงสร้างสะพานข้ามถนนเลียบทางรถไฟไว้ 2 จุด ได้แก่ บริเวณทางผ่านเปรมประชา และบริเวณซอยพหลโยธิน 87 ด้วย


นายอารักษ์ กล่าวยืนยันอีกว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะใช้ประโยชน์เพื่อการเดินรถไฟสายเหนือ รองรับการเดินรถที่มีอยู่ในปัจจุบันวันละ 75 ขบวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยลดระยะเวลาการจราจรที่ติดขัดบริเวณทางรถไฟตัดกับถนนได้ถึง 8 จุด และใช้ประโยชน์เพื่อการเดินระบบรถไฟชานเมืองได้อีกด้วย โดยเมื่อเปิดเดินรถไฟฟ้าแล้ว จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตเข้าสู่บางซื่อได้ไม่น้อยกว่า 272,500 คน/วัน และเมื่อขยายโครงการจากบางซื่อไปมหาชัยแล้วจะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารที่คาดว่าจะมีประมาณ 400,000 คน/วัน และที่สำคัญยังสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างโฮปเวลล์ได้อีกด้วย


ส่วนการลงทุนนั้น คาดว่าในเบื้องต้นจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 52,220 ล้านบาท จำแนกเป็น ค่ารื้อย้ายชุมชน 25 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดประกวดราคา บริหารโครงการ และควบคุมงาน 1,920 ล้านบาท, ค่างานก่อสร้างช่วงบางซื่อ-รังสิต 14,324 ล้านบาท, ค่างานก่อสร้างสถานีรถไฟบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงและย่านสถานี 19,570 ล้านบาท, ค่างานระบบเครื่องกล-ไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ-รังสิต รวมสถานีรถไฟบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงและย่านสถานี (รวม Track Work) และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (ไม่รวม Track Work) 16,381 ล้านบาท (สนข.อยู่ในระหว่างปรับแบบรายละเอียด และออกแบบสถานีรายทางเพิ่มเติมอีก 4 สถานี คือ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี (สำหรับพวกอยู่ประชานิเวศน์ 1) สถานีทุ่งสองห้อง (สำหรับ North Park) และสถานีการเคหะ (สำหรับคนอยู่แฟลตการเคหะและลูกค้าเจ๊เล้ง) เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น )


ขณะเดียวกันสนข. ก็อยู่ระหว่างขออนุมัติจ้างที่ปรึกษาปรับปรุงแบบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ภายใต้กรอบวงเงินว่าจ้าง 94 ล้านบาท ซึ่งผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ดำเนินการคือ กลุ่มบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ออกศึกษารายละเอียดเดิมอยู่แล้วคาดว่าจะลงนามในสัญญาและเริ่มงานได้ในเร็วๆ นี้


อย่างไรก็ดีคาดว่าการปรับแบบจะดำเนินการได้ทันแผนงานการก่อสร้าง ที่ การรถไฟฯ ประเมินไว้ ว่าจะเสนอรายละเอียดโครงการทั้งหมดเข้าสู่ครม. ราวเดือนพฤศจิกายน2550เพื่อขออนุมัติ จากนั้นในเดือน มกราคม2551 จะประกาศประกวดราคา และเปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นซองในช่วงปลายเดือน พฤษภาคม2551 คาดว่าจะประเมินราคา/เสนอราคา/เจรจาเสร็จสิ้น ได้กลางเดือน กรกฎาคม2551 และทำสัญญาได้ต้นเดือน สิงหาคม2551 แล้วเริ่มก่อสร้างได้ โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปี 2554


Last edited by Wisarut on 21/06/2007 12:44 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2007 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ลดสเป็กทีโออาร์-จับตารับเหมาฟันราคารถไฟฟ้าสีแดง


ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3907

เปิดเงื่อนไขทีโออาร์รถไฟฟ้าสายสีแดง วงการฮือฮาก๊อบปี้เงื่อนไขประมูลรถไฟรางคู่ไปแหลมฉบัง เผยลดสเป็กเปิดทางรับเหมารายเล็ก รายกลางฟันราคาสู้ระดับบิ๊ก ลดเพดานเงินทุนจดทะเบียนเหลือแค่ 500 ล้านบาท วงในชี้งานนี้ฝุ่นตลบ เหตุจากรับเหมาทั้งระบบกำลังตกเป็นเสือลำบากขาดงานป้อน แห่ยื่นซองแย่งเค้ก 1.3 หมื่นล้านมันหยดแน่

นายนคร จันทศร รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ร่างทีโออาร์เปิดประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (หรือรถไฟฟ้าชานเมือง) ระยะทาง 15 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 13,000 ล้านบาท ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ จะเหมือนกับทีโออาร์โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง วงเงินก่อสร้าง 5,850 ล้านบาท จะแตกต่างกันเฉพาะในส่วนของเนื้องาน ซึ่งสายสีแดงจะมีเพียงแค่งานโยธาและระบบราง ส่วนรถไฟทางคู่จะมีทั้งงานโยธา งานราง พร้อมงานติดตั้งระบบอาณัติ สัญญาณ

"ที่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้เหมือนกัน เพราะไม่อยากให้เกิดข้อครหาว่ามีการล็อกสเป็ก ทั้งที่งานมีลักษณะคล้ายๆ กัน ถึงแม้ว่าจะต่างกันที่วงเงินก็ตาม แต่รถไฟฟ้าสายสีแดงจะเน้นผลงานที่เป็นทางยกระดับ งานสะพาน และงานถนนเป็นหลัก เพราะถือว่าเป็นจุดสำคัญของการก่อสร้าง ขณะที่รถไฟทางคู่เน้นระบบอาณัติสัญญาณ"

นายนครกล่าวว่า การกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะเสนอราคา จะเปิดกว้าง ไม่กำหนดคุณสมบัติสูงมากเกินไป เพื่อให้รับเหมาไทยมีสิทธิ์เข้ามาเสนอราคาได้มากขึ้น อีกทั้งเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ผู้รับเหมาเข้ามายื่นเอกสารประกวดราคากันมากๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน

อาทิ ผู้รับเหมาที่สนใจจะมายื่นซองประกวดราคา จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางคณะกรรมการร่างทีโออาร์กำลังพิจารณาว่าจะปรับลดทุนจดทะเบียนลงอีกหรือไม่ เนื่องจากโครงการรถไฟรางคู่หลังจากที่ประกาศในเว็บไซต์มีการร้องเรียนให้ปรับลดวงเงินทุนจดทะเบียนลงอีก โดยระบุว่าวงเงินที่ ร.ฟ.ท.กำหนดนั้นสูงเกินไป โดยจะปรับลดลงเหลือ 300 ล้านบาท ซึ่งกำลังรอให้ทีโออาร์ของรถไฟทางคู่ได้ข้อสรุป ในบางส่วนของสายสีแดงอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย เพื่อไม่ให้แตกต่างกันมาก

นอกจากนี้ต้องมีผลงานก่อสร้างถนน สะพาน ทางลอด ทางยกระดับ ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท มีผลงานระบบรางที่มีมูลค่าในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท มีผลงานก่อสร้างโครงสร้างอาคารสถานี ที่มีมูลค่าในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งผลงานดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี นับถึงวันที่ยื่นซอง ผู้รับเหมาที่จะมายื่นจะมาเป็นในรูปแบบร่วมทุนหรือเป็นบริษัทเดี่ยวๆ ก็ได้ เป็นต้น

"หากมีการปรับลดวงเงินทุนจดทะเบียนลงมา จะทำให้ผู้รับเหมารายกลางและรายเล็กมีสิทธิ์เข้ามาเสนอราคามากขึ้นกว่าเดิม เพราะเราไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้รับเหมาที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงการคลัง จำนวน 60 รายเท่านั้น แต่เปิดกว้างให้กับผู้รับเหมาจากหน่วยงานอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กทม. ฯลฯ คาดว่าจะมีผู้รับเหมาเข้าร่วมเสนอราคาโครงการนี้ 10-20 รายขึ้นไป"

นายนครกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ไม่อยากให้ผู้รับเหมาเข้ามาเสนอราคามากเกินไป เนื่องจากจะทำให้ควบคุมลำบาก เพราะจะเกิดการแข่งขันสูง และอาจจะมีผู้รับเหมาบางรายฟันราคา สุดท้ายจะได้บริษัทที่มีสายป่านทางการเงินไม่ดีเกิดการทิ้งงานภายหลังได้ นอกจากนี้อาจจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ทำให้การทำงานยากขึ้น ส่งผลให้งานล่าช้าออกไป แทนที่จะมีการเซ็นสัญญาก่อสร้างโดยเร็ว เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาข้อเสนอของแต่ละราย

"เราจะประกาศร่างทีโออาร์ลงในเว็บไซต์ปลายเดือนกรกฎาคม เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ หลังจากนั้นจะให้เอกชนยื่นข้อเสนอเดือนสิงหาคม ตัดสินเดือนพฤศจิกายน เซ็นสัญญาเดือนธันวาคม และเริ่มก่อสร้างเดือนมกราคมปีหน้า"

ด้านแหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า ตอนนี้ในวงการรับเหมาคึกคักเป็นพิเศษ เพราะมีงานใหญ่ของการรถไฟฯเปิดประมูล ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟทางคู่ เนื่องจากปัจจุบันงานในส่วนของภาครัฐมีค่อนข้างน้อย ไม่เหมือนที่ผ่านมาที่ผู้รับเหมามีงานประมูลมาก

"เมื่อไม่ค่อยมีงาน ผู้รับเหมาทั้งรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ ก็เปรียบเหมือนกับเสือหิว งานอะไรมีเข้ามาทุกรายจะยื่นประกวดราคาหมด เพื่อให้ได้งานมาต่อสายป่าน โดยไม่สนใจว่าอาจต้องไปฟันงาน และเกิดปัญหาทิ้งงานตามมา แค่ขอให้มีเงินมาเลี้ยงบริษัทให้อยู่รอด"

ยิ่งปัจจุบันหน่วยงานหลักอย่างงานกรมทาง หลวง ที่ในแต่ละปีจะมีงานประมูลหลายหมื่นล้านบาทลดน้อยลงมาก อย่างปีงบประมาณ 2550 มีงานใหม่แค่ 1,500 ล้านบาท และสิ้นเดือนมิถุนายนนี้จะต้องมีการเปิดประมูลให้หมด ผู้รับเหมาจึงต้องรองานใหม่ในปีงบประมาณ 2551 ในช่วงเวลาที่เหลืออีกนานหลายเดือน เพราะกว่าจะเปิดประกวดราคาก็คงประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคมปีหน้า ที่สำคัญไม่รู้ว่าจะมีงานใหม่กี่โครงการด้วย

"ตอนนี้ผู้รับเหมากรมทางหลวงแห่ไปซื้อซองประมูลของ กทม.กันเยอะมาก แต่ละงาน 20-30 ราย ทั้งที่งานมูลค่าไม่กี่ร้อยล้านบาท ในส่วนของสายสีแดง คาดว่าจะเกิดปรากฏการณ์ในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน คือ มีผู้รับเหมาทั้งรายใหญ่ รายกลาง และรายเล็ก แห่ไปซื้อซองประกวดราคาแข่งกันดุเดือดแน่ เพราะเป็นโครงการใหญ่ มูลค่าสูง และทีโออาร์ค่อนข้างเปิดกว้าง นอกจากนี้งานก่อสร้างไม่ค่อยยุ่งยากซับซ้อน"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า คาดว่าจะมีผู้รับเหมา ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดงอย่างน้อยเป็น 10 รายขึ้นไป โดยเฉพาะขาประจำ อาทิ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด บริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท จำกัด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาสูง และอาจได้เห็นผู้รับเหมาฟันราคากันหนัก เพราะงานใหญ่ขนาดนี้ไม่ค่อยมีแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2007 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จ้างม.เกษตรฯ ตรวจราคากลางรถไฟสีแดง

สยามธุรกิจ[ ฉบับที่ 808 ประจำวันที่ 7-7-2007 ถึง 10-7-2007]

นายนคร จันทศร รองผู้ว่าการด้านบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ได้ลงนามการให้บริการที่ปรึกษาการตรวจสอบราคากลาง กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อว่าจ้างตรวจสอบราคากลางของโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมือง สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 30 วัน ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะต้องนำเอกสารราคากลาง ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณราคากลาง (Cost Estimation) เช่น ที่มาของการคำนวณปริมาณงาน ราคาต่อหน่วย อัตราดอกเบี้ย ภาษี กำไร และค่าความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจ และการเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้างที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ไว้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อนำมาตรวจสอบให้รอบคอบและถูกต้องตามหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางฯ และตรวจสอบปริมาณและราคาต่อหน่วยให้ถูกต้องครบถ้วน จัดทำเป็นรายงาน ขั้นตอน วิธีการ การตรวจสอบราคากลาง พร้อมเสนอและยืนยันราคากลางที่ถูกต้องให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางทราบ

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้ว่า จ้างกลุ่มบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์เมเนจเมนท์ จำกัด มาช่วยจัดการประกวดราคา ซึ่งขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษามีงานกำหนดราคากลาง และกำหนดให้ที่ปรึกษาจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการคิดคำนวณราคากลางด้วย แต่เนื่องจากโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เป็นโครงการขนาดใหญ่ มีมูลค่าโครงการสูง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเป็นธรรมในการประกวดราคา จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีการตรวจสอบราคากลางอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เป็นกลางและเหมาะสมก่อนดำเนินการประกาศเป็นราคากลางในการออกประกาศประกวดราคาเชิญชวน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2007 9:47 am    Post subject: Reply with quote

หวั่นประมูลสายสีแดงไม่ทันแผน เร่งชงร่างทีโออาร์ให้ก.ก.ชี้ขาดศุกร์นี้


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2236 19 ก.ค. - 21 ก.ค. 2550


รฟท. สรุปชัดกรอบประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน เตรียมชงอนุกรรมการด้านขนส่งมวลชนทางรางพิจารณา 20 ก.ค.นี้ พร้อมลุ้นเลือกแนวทางประกาศร่างทีโออาร์ จะเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง หวั่นหากเลือกประกาศ 2 รอบ ต้องเลื่อนแผนเปิดประมูลจากเดือนนี้ไปเป็นต้นเดือน ส.ค.แทน เหตุขั้นตอนเยอะไม่ทันตามตารางเวลาที่รัฐบาลกำหนด


นายนคร จันทศร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ด้านบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการจัดทำร่างกรอบข้อกำหนด (ทีโออาร์) การประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ได้กำหนดรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะเสนอให้คณะอนุกรรมการด้านขนส่งมวลชนระบบราง ที่มีกรรมการบอร์ด คือ นายนพดล ประไพตระกูล วิศวกรใหญ่ ด้านวิจัยและพัฒนา กรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน พิจารณาในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้


โดยจะพิจารณาในรายละเอียดของร่างทีโออาร์ว่าเหมาะสมแล้ว หรือจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในส่วนใดหรือไม่ รวมถึงต้องพิจารณาด้วยว่าขั้นตอนการประกาศร่างทีโออาร์เพื่อรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์ จะทำเพียงครั้งเดียวตามระเบียบการประกวดราคา ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชั่น) หรือจะทำ 2 ครั้ง ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ


นายนคร กล่าวต่อว่า ตามระเบียบการอี-ออคชั่นนั้นจะทำการประกาศร่างทีโออาร์เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพียงครั้งเดียว แต่คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวต้องการให้มีความโปร่งใส และรอบคอบมากที่สุด จึงอยากจะกำหนดให้มีการประกาศรับฟังความคิดเห็นถึง 2 ครั้ง อย่างไรก็ตามการประกาศร่างทีโออาร์เพียงครั้งเดียว ก็ยากที่จะทำให้การประมูลก่อสร้างทันภายในเดือนกรกฎาคมนี้อยู่แล้ว ดังนั้นหากจะประกาศร่างทีโออาร์ 2 ครั้ง จะทำให้การประกาศประกวดราคาอย่างเป็นทางการไม่สามารถทำได้ทันภายในเดือนเดือนกรกฎาคม ตามที่รัฐบาลกำหนด แต่จะต้องเลื่อนไปประมาณต้นเดือนสิงหาคม เนื่องจากต้องใช้เวลาในกรทบทวนและปรับแก้ไข ดังนั้นจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าจะยึดแนวทางใด


ด้านแหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากการรถไฟฯ กล่าวว่า คาดว่าจะนำร่างทีโออาร์ประกาศรับฟังความคิดเห็นได้ภายในสัปดาห์หน้า โดยสาระสำคัญของร่างทีโออาร์นั้น ได้มีการกำหนดวงเงินทุนทุนจดทะเบียนทั้งในกรณีที่เป็นนิติบุคคลไทยรายเดียว และกรณีที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมค้า เป็นเงิน 300 ล้านบาทถ้วน โดยคุณสมบัติของผู้เสนอราคานั้นต้องเป็นผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในงานก่อสร้างประเภท งานโยธา งานทางรถไฟ งานอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมของรถไฟ จะเป็นนิติบุคคลไทยรายเดียว หรือนิติบุคคลไทยหลายรายร่วมกันในลักษณะกลุ่มผู้ร่วมค้าก็ได้ หรือหากเป็นนิติบุคคลต่างด้าว จะต้องร่วมกับนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย ร่วมกันในลักษณะกลุ่มผู้ร่วมค้า มีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50%


อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่สำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย คือ ผู้เสนอราคาจะต้องมีหนังสือรับรองการให้สินเชื่อจากธนาคารคิดเป็นวงเงินรวมไม่น้อยกว่า 30% ของราคากลาง รวมถึงต้องมีผลงานในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการก่อสร้างทางยกระดับ สะพาน ทางต่างระดับ คันทางรถไฟ หรืองานก่อสร้างถนน ทางลอด ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท และต้องมีผลงานการก่อสร้างทางรถไฟ เฉพาะงานวางราง ที่มีมูลค่าในสัญญาเดียวไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท รวมถึงต้องมีประสบการณ์ในงานก่อสร้างอาคารหรือสถานีรถไฟ ที่มีมูลค่าในสัญญาเดียวไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ด้วย


ทั้งนี้ มูลค่าโครงการ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากครม.ให้ดำเนินการก่อสร้างนั้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 13,133 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่ารื้อย้ายสิ่งกีดขวางและระบบสาธารณูปโภค 1,758 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 7 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 214 ล้านบาท ค่างานโยธาและโครงสร้างทางวิ่ง 7,637 ล้านบาท ค่างานระบบราง 1,443 ล้านบาท ค่างานถนนเลียบทางรถไฟ 2,074 ล้านบาท วันที่ 6 ก.พ.50


อย่าง ไรก็ตาม ขณะนี้ การรถไฟฯ ได้มีการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการตรวจสอบราคากลาง โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 30 วันนับจากวันลงนามในสัญญาคือวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อทำการทบทวนราคากลางของโครงการดังกล่าวให้ชัดเจนอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2007 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

ไร้รายละเอียดแขวนงบ รฟท.8พันล้าน

Dailynews 21 July 2007

นายประพันธ์ คูณมี สนช.โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 แถลงว่า กมธ. ได้พิจารณาเสร็จสิ้น แล้วในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงคมนาคม และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยในส่วนของกระ ทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญและตั้งข้อสังเกตกันมากว่าน่าจะสามารถสร้างรายได้เข้ารัฐมากกว่าที่เป็นอยู่เนื่องจากมีถึง 7 หน่วยงาน 13 รัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญ

อาทิ รฟม. รฟท. รวมทั้งมีการขนส่งทั้งทางน้ำและทางอากาศ ทั้งนี้ในการขนส่งทางอากาศในส่วนของสายการบินแอร์เอเชียที่ได้สิทธิพิเศษทางการบินทั้งที่มีปัญหาเรื่องการถือหุ้นที่เป็นต่างด้าว ส่วน รฟท. ที่ตั้งงบลงทุนไว้กว่า 8,078 ล้านบาท กมธ. ได้แขวนการพิจารณา เนื่องจากไม่มีรายละเอียดโครงการชัดเจน รวมถึงการบริหารจัด การทรัพย์สินและที่ดินของ รฟท.

ซึ่งหาก บริหารให้ดีจะช่วยลดหนี้สินของ รฟท. ลงได้นอกจากนี้ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการโยกงบประมาณ ของกรมทางหลวงในลักษณะล้างท่อนับหมื่นล้านบาทโดยใช้มติ ครม. ข้ามจากโครงการหนึ่งไปโครงการหนึ่ง ข้ามเขต ข้ามจังหวัด โดยไปลงในพื้นที่ของ ส.ส.ทรท.เดิม และยังเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้.

หวั่นประมูลสายสีแดงไม่ทันแผน เร่งชงร่างทีโออาร์ให้ก.ก.ชี้ขาดศุกร์นี้


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2236 19 ก.ค. - 21 ก.ค. 2550


รฟท. สรุปชัดกรอบประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน เตรียมชงอนุกรรมการด้านขนส่งมวลชนทางรางพิจารณา 20 ก.ค.นี้ พร้อมลุ้นเลือกแนวทางประกาศร่างทีโออาร์ จะเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง หวั่นหากเลือกประกาศ 2 รอบ ต้องเลื่อนแผนเปิดประมูลจากเดือนนี้ไปเป็นต้นเดือน ส.ค.แทน เหตุขั้นตอนเยอะไม่ทันตามตารางเวลาที่รัฐบาลกำหนด





นายนคร จันทศร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ด้านบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการจัดทำร่างกรอบข้อกำหนด (ทีโออาร์) การประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ได้กำหนดรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะเสนอให้คณะอนุกรรมการด้านขนส่งมวลชนระบบราง ที่มีกรรมการบอร์ด คือ นายนพดล ประไพตระกูล วิศวกรใหญ่ ด้านวิจัยและพัฒนา กรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน พิจารณาในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้


โดยจะพิจารณาในรายละเอียดของร่างทีโออาร์ว่าเหมาะสมแล้ว หรือจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในส่วนใดหรือไม่ รวมถึงต้องพิจารณาด้วยว่าขั้นตอนการประกาศร่างทีโออาร์เพื่อรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์ จะทำเพียงครั้งเดียวตามระเบียบการประกวดราคา ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชั่น) หรือจะทำ 2 ครั้ง ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ


นายนคร กล่าวต่อว่า ตามระเบียบการอี-ออคชั่นนั้นจะทำการประกาศร่างทีโออาร์เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพียงครั้งเดียว แต่คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวต้องการให้มีความโปร่งใส และรอบคอบมากที่สุด จึงอยากจะกำหนดให้มีการประกาศรับฟังความคิดเห็นถึง 2 ครั้ง อย่างไรก็ตามการประกาศร่างทีโออาร์เพียงครั้งเดียว ก็ยากที่จะทำให้การประมูลก่อสร้างทันภายในเดือนกรกฎาคมนี้อยู่แล้ว ดังนั้นหากจะประกาศร่างทีโออาร์ 2 ครั้ง จะทำให้การประกาศประกวดราคาอย่างเป็นทางการไม่สามารถทำได้ทันภายในเดือนเดือนกรกฎาคม ตามที่รัฐบาลกำหนด แต่จะต้องเลื่อนไปประมาณต้นเดือนสิงหาคม เนื่องจากต้องใช้เวลาในกรทบทวนและปรับแก้ไข ดังนั้นจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าจะยึดแนวทางใด


ด้านแหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากการรถไฟฯ กล่าวว่า คาดว่าจะนำร่างทีโออาร์ประกาศรับฟังความคิดเห็นได้ภายในสัปดาห์หน้า โดยสาระสำคัญของร่างทีโออาร์นั้น ได้มีการกำหนดวงเงินทุนทุนจดทะเบียนทั้งในกรณีที่เป็นนิติบุคคลไทยรายเดียว และกรณีที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมค้า เป็นเงิน 300 ล้านบาทถ้วน โดยคุณสมบัติของผู้เสนอราคานั้นต้องเป็นผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในงานก่อสร้างประเภท งานโยธา งานทางรถไฟ งานอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมของรถไฟ จะเป็นนิติบุคคลไทยรายเดียว หรือนิติบุคคลไทยหลายรายร่วมกันในลักษณะกลุ่มผู้ร่วมค้าก็ได้ หรือหากเป็นนิติบุคคลต่างด้าว จะต้องร่วมกับนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย ร่วมกันในลักษณะกลุ่มผู้ร่วมค้า มีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50%


อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่สำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย คือ ผู้เสนอราคาจะต้องมีหนังสือรับรองการให้สินเชื่อจากธนาคารคิดเป็นวงเงินรวมไม่น้อยกว่า 30% ของราคากลาง รวมถึงต้องมีผลงานในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการก่อสร้างทางยกระดับ สะพาน ทางต่างระดับ คันทางรถไฟ หรืองานก่อสร้างถนน ทางลอด ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท และต้องมีผลงานการก่อสร้างทางรถไฟ เฉพาะงานวางราง ที่มีมูลค่าในสัญญาเดียวไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท รวมถึงต้องมีประสบการณ์ในงานก่อสร้างอาคารหรือสถานีรถไฟ ที่มีมูลค่าในสัญญาเดียวไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ด้วย


ทั้งนี้ มูลค่าโครงการ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากครม.ให้ดำเนินการก่อสร้างนั้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 13,133 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่ารื้อย้ายสิ่งกีดขวางและระบบสาธารณูปโภค 1,758 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 7 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 214 ล้านบาท ค่างานโยธาและโครงสร้างทางวิ่ง 7,637 ล้านบาท ค่างานระบบราง 1,443 ล้านบาท ค่างานถนนเลียบทางรถไฟ 2,074 ล้านบาท วันที่ 6 ก.พ.50


อย่าง ไรก็ตาม ขณะนี้ การรถไฟฯ ได้มีการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการตรวจสอบราคากลาง โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 30 วันนับจากวันลงนามในสัญญาคือวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อทำการทบทวนราคากลางของโครงการดังกล่าวให้ชัดเจนอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2007 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กห้าว” ยันรถไฟฟ้าสีแดงประมูลทันเดือนสิงหาคมนี้

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2550 19:12 น.


“พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ” ยืนยันการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดงจะทันตามกำหนดในเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมกำชับ รฟท.เร่งรัดแผนก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงก์ ยอมรับหวั่นโครงการซ้ำรอยโฮปเวลล์


พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เส้นทางที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายจะก่อสร้างได้ภายในปีนี้ว่า ไม่มีปัญหาทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ส่วนเส้นทางบางซื่อ - รังสิตนั้น ยังล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย แต่ยังเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนความชัดเจนเรื่องเงินลงทุนนั้น กระทรวงการคลังยังยืนยันว่า ยังสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กระทรวงคมนาคมระบุ และจะพยายามประคับประคองการใช้จ่ายให้เป็นไปตามที่ตั้งไว้ หากไม่สามารถหาเงินกู้ได้ทันจริง ก็จำเป็นต้องออกพันธบัตรเพื่อลงทุนก่อสร้างแทน ส่วนแผนการประมูลที่กำหนดจะเริ่มในเดือนสิงหาคมนี้ ยืนยันว่ายังเป็นตามกำหนดเดิม

สำหรับความชัดเจนแผนก่อสร้างรถโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ที่มีความล่าช้า และผู้รับเหมาขอขยายเวลาก่อสร้างนั้น รมว.คมนาคม กล่าวว่าจะพยายามหาทางออกให้ดีที่สุด ไม่ต้องการเห็นโครงการนี้เหมือนกับโฮปเวลล์ ขณะนี้งานมีความก้าวหน้าไปบ้าง แต่ก็ยังล่าช้าอยู่ พร้อมกับได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไปดูเรื่องสัญญาให้เรียบร้อย ส่วนผลสอบสวนที่นาย สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานนั้น ได้เร่งรัดให้รีบดำเนินการ เพราะเหลือเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์แล้ว ที่ต้องตัดสินใจว่าจะขยายเวลาให้ผู้รับเหมาได้หรือไม่

วันเดียวกันนี้ พล.ร.อ.ธีระ พร้อมด้วยนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เรียกประชุมผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท โดย พล.ร.อ.ธีระ กล่าวว่าภาพรวมการทำงานมีความก้าวหน้าตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา ได้ติดตามทั้งการสร้างถนน การดูแลและการให้บริการของสายการบินที่กรมการขนส่งทางอากาศรับผิดชอบ ยอมรับว่ามีงานบางอย่างยังล่าช้าอยู่บ้าง สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณได้พยายามเร่งการเบิกจ่ายที่ล่าช้าตั้งแต่ไตรมาสแรก แต่ขณะนี้ทุกฝ่ายยืนยันว่า จะสามารถเบิกจ่ายได้ทันสิ้นเดือนกันยายนตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2007 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

รมช.คมนาคม ลั่น! "ทีโออาร์" รถไฟฟ้าสายสีแดง 1-8 ส.ค.นี้

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2550 18:05 น.


รมช.คมนาคม ยืนยันเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดงได้เป็นสายแรก เตรียมออกประกาศร่างทีโออาร์บนเว็บไซต์ 2 สัปดาห์นับจากนี้ ก่อนจะเปิดซองในเดือนกันยายนเป็นอย่างช้า ระบุเรื่องแหล่งเงินกู้ก่อสร้าง หากภายในประเทศไม่ได้ อาจจะต้องพิจารณาออกบอนด์แทน ยอมรับเป็นห่วงเรื่องการพิจารณาต่อสัญญาแอร์พอร์ตลิงก์มากกว่า ขีดเส้นคณะทำงานส่งผลสรุปในสัปดาห์นี้

วันนี้ (30 ก.ค.) นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รายงานให้ว่าจะสามารถออกประกาศเพื่อกำหนดการร่างเงื่อนไขทีโออาร์บนเว็บไซต์การรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคม ในช่วง 2 สัปดาห์นับจากนี้ จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) การรถไฟฯ ชุดที่มี นายศิวะ แสงมณี เป็นประธาน จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินได้ว่า มีเงื่อนไขใดต้องปรับแก้เพิ่มเติมบ้างหรือไม่ ก่อนจะเปิดประมูลทั่วไปได้ภายในปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกรกฎาคมเป็นอย่างช้า โดยรถไฟฟ้าสายสีแดงจะเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแรกที่เดินหน้าโครงการได้ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้

ส่วนงบประมาณที่นำมาใช้ก่อสร้างนั้น กระทรวงการคลังจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้ ซึ่งเบื้องต้นจะใช้เงินกู้ภายในประเทศเท่านั้น แต่หากมีปัญหาไม่สามารถกู้ได้ทัน ก็อาจใช้วิธีออกพันธบัตร หรือบอนด์แทน

รมช.คมนาคม ยอมรับด้วยว่า สำหรับเส้นทางที่เป็นห่วง คือ โครงการรถไฟฟ้าเส้นทางมักกะสัน เชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเรื่องนี้ พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็แสดงความเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากกำหนดการต่อสัญญาให้ผู้รับเหมานั้น จะต้องตัดสินใจก่อนวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ซึ่งภายในสัปดาห์นี้ คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีนายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ก็ควรจะรายงานผลสรุปให้ทราบ เพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้ว่าควรจะต่อเวลาให้ผู้รับเหมาตามที่ร้องขอได้หรือไม่ ซึ่งส่วนตัวยืนยันว่าจะทำให้ตามระเบียบที่ถูกต้อง และจะยึดข้อกฎหมายเป็นสำคัญเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2007 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ดิ้นอุดรูโหว่รถไฟฟ้าสายสีแดง

ไทยโพสต์ 31 กรกฎาคม 2550 กองบรรณาธิการ

ร.ฟ.ท.ได้ฤกษ์นำร่าง TOR สายสีแดงขึ้นเว็บไซต์ เปิดรับข้อท้วงติง เตรียมมัดมือเอกชนรับภาระเคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง หวั่นซ้ำร้อยแอร์พอร์ตลิงค์ ยัน ก.พ.2551 เซ็นสัญญาได้แน่


แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 1-8 ส.ค.นี้ ร.ฟ.ท.จะประกาศร่างเงื่อนไขการประมูล (TOR) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ขึ้นเว็บไซต์ของ ร.ฟ.ท., กระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อรับฟังความคิดเห็น จากนั้น ร.ฟ.ท.จะมีการปรับปรุงแก้ไขร่าง TOR ก่อนเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา คาดว่าจะสามารถประกาศขายซองประมูลได้ภายในต้นเดือน ก.ย.2550

ทั้งนี้ ในร่าง TOR จะระบุด้วยว่า ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบจัดการพื้นที่ก่อสร้างเอง กรณีมีการบุกรุก หรือต้องรื้อย้ายชุมชนออกจากพื้นที่เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เช่นกับโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ตเรลลิงค์) ที่งานก่อสร้างไม่เสร็จตามแผน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาได้ตามกำหนด

อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ไม่เห็นด้วยกับร่าง TOR ร.ฟ.ท.จะมาปรับแก้ใหม่ คือ ต้องรับผิดชอบภาระการจัดการพื้นที่ก่อสร้างเอง ขณะนี้ได้เตรียมดำเนินการไว้บ้างแล้ว โดยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาทำการศึกษาปัญหาในพื้นที่ก่อสร้างว่ามีชุนชน บ้าน และอาคารที่ต้องรอถอนเป็นจำนวนเท่าไร

แหล่งข่าวกล่าวว่า โครงการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เริ่มมีความล่าช้าแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ จากแผนเดิมที่วางไว้ว่าจะสามารถนำร่าง TOR ประกาศบนเว็บไซต์ในเดือน ก.ค.2550 และเปิดขายซองเดือน ส.ค.2550 แต่ยืนยันว่า ประมาณกลางเดือน ก.พ.2551 จะลงนามจ้างผู้รับเหมาได้แน่นอน.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 77, 78, 79  Next
Page 4 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©