RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180331
ทั้งหมด:13491565
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เผยโฉม รถ "สายสีแดงอ่อน"
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/04/2018 9:08 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นผลิตรถช้า “สายสีแดง”เลื่อน 1 ปี อสังหาไม่สนไทม์ไลน์แห่ลงทุน “ปตท.”แจมทุ่งสองห้อง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 เมษายน 2561 - 23:11 น.

รถไฟฟ้าสายสีแดง
บางซื่อ-รังสิต - รถไฟชานเมืองสายสีแดงแม้กำหนดเปิดบริการต้องเลื่อนออกไป แต่ความคืบหน้าการก่อสร้างในปัจจุบันปลุกกระแสลงทุนอสังหาฯ คึกคักตลอดเส้นทาง

ร.ฟ.ท.มึนญี่ปุ่นยังไม่เปิดไลน์ผลิตรถไฟฟ้า ส่งมอบไม่ทันปี”63 กระทบชิ่งไทม์ไลน์เปิดหวูด รถไฟฟ้าสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” เลื่อนออกไปอีก 6-12 เดือน เป็นปี”64 หลังสร้างมาราธอนกว่า 5 ปี มีผลงานคืบหน้า 60% แลนด์ลอร์ดแห่ประกาศขายที่ ปล่อยเช่ายาว ตั้งราคาวาละ 2.5-4 แสนบาท “ปตท.” ลุยอสังหาฯ ซุ่มตุนที่ติดสถานีทุ่งสองห้อง ทุ่มสร้างสกายวอล์ก-ทางลอดเชื่อมโครงการ “เจริญ-ซี.พี.”ยึดนอร์ธปาร์ค “จีแลนด์” ปักหมุดดอนเมืองเปิดขายโซนใหม่ “แกรนด์ คาแนล” ส่วนแลนด์แบงก์ 36 ไร่แยกหลักสี่รอจังหวะลงทุน

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีแนวโน้มที่โครงการของรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. จะสร้างเสร็จและเปิดให้บริการไม่ทันตามกำหนดในเดือน มิ.ย. 2563 คาดว่าจะล่าช้าออกไปอย่างน้อย 6-12 เดือน หรือเปิดบริการภายในปี 2564

ซัพพลายเออร์ผลิตรถให้ไม่ทันเนื่องจากงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและจัดหาขบวนรถไฟฟ้ายังล่าช้าจากแผนอยู่มาก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากที่มีการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ จากเดิมระบบ ATO จะรองรับเฉพาะรถไฟฟ้าของญี่ปุ่น เป็นระบบ ETCS จะเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้บริษัทซัพพลายเออร์จะต้องออกแบบรถใหม่ กระทบต่อการเปิดไลน์ผลิต

อีกทั้งยังมีเรื่องการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่เพิ่งจะเริ่มสร้างสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้า จะใช้เวลาก่อสร้างกว่า 2 ปี จึงจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโครงการได้ ทำให้การทดสอบระบบรถไฟฟ้าล่าช้าตามไปด้วย

“จากกความล่าช้าของโครงการ เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางองค์การเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือไจก้า ได้ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ไพรินทร์ ชูโชติถาวร) ซึ่งทางไจก้ามองว่าสาเหตุที่ทำให้โครงการล่าช้ามี 3 ประเด็น คือ การส่งมอบพื้นที่ งานโยธา และสถานีจ่ายไฟฟ้าที่ไม่ใช่เฉพาะงานระบบอย่างเดียว”

ผลงาน 5 ปีคืบหน้า 60%



แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจุบันงานก่อสร้างในภาพรวมมีความคืบหน้าประมาณ 60% นับจากเริ่มงานก่อสร้างเมื่อเดือน ก.พ. 2556 ที่ผ่านมา โดยงานสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง เริ่มงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2556 มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) เป็นผู้ก่อสร้าง มีผลงานกว่า 65% ล่าช้าจากแผนงานอยู่ประมาณ 1% ตามสัญญาจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2562

สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้น งานสถานี 8 แห่ง และถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้ามไซต์ก่อสร้างของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หลังเริ่มงานตอกเข็มเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2556 ปัจจุบันคืบหน้ากว่า 98% ยังล่าช้าจากแผนเล็กน้อย ตามสัญญาที่ขอขยายใหม่จะแล้วเสร็จในเดือน พ.ค. 2561

และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกลและจัดหาตู้รถไฟฟ้าซึ่งมีกลุ่มมิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโม จากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้เริ่มงานเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 ล่าสุดมีความคืบหน้า 25% ยังล่าช้าจากแผน 20% ตามสัญญาจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 2563

บริษัทลูกรถไฟเดินรถเอง

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน กล่าวว่า ด้านการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้งช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และช่วงบางซื่อ-รังสิต ทางคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซุปเปอร์บอร์ดรับหลักการที่ ร.ฟ.ท.เสนอจะตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารโครงการเหมือนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ทำหน้าที่ทั้งเดินรถและบริหารพื้นที่ภายในสถานีรูปแบบเชิงพาณิชย์

ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดรูปแบบบริษัทที่จัดตั้งเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯพิจารณาเพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะจัดตั้งบริษัทได้ และปีหน้าเปิดเทรนนิ่งคน

ที่ดินรอพัฒนาติดโลคอลโรดเพียบ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ได้ลงพื้นที่สำรวจแนวรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงสถานีวัดเสมียนนารี-ดอนเมือง พบว่ายังมีที่ดินว่างเปล่าติดแนวโครงการรถไฟฟ้าอยู่หลายแปลง เช่น ช่วงระหว่างสถานีวัดเสมียนนารีกับสถานีบางเขน จะมีที่ดินเปล่า มีบางแปลงทำเป็นที่จอดรถทัวร์ และติดประกาศขายช่วงสะพานข้ามทางแยกเกษตรศาสตร์

ถัดจากนั้นก่อนถึงสถานีทุ่งสองห้อง จะมีที่ดินเปล่าขนาด 4 ไร่ ติดประกาศให้เช่า ซึ่งจากการสอบถามไปยังโบรกเกอร์ที่เป็นผู้ดำเนินการให้ ทางเจ้าของที่ดินปล่อยเช่า 30 ปี คิดค่าเปิดหน้าดิน 60 ล้านบาท คิดค่าเช่าปีละ 4.5 ล้านบาท แต่หากต้องการซื้อขายตารางวาละ 4 แสนบาท

ปตท.ปักหมุดติดสถานีทุ่งสองห้อง

เมื่อข้ามคลองบางเขนไปจะเป็นที่ดินของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อยู่ติดกับสถานีทุ่งสองห้องพอดี โดยมีแผนจะพัฒนาโครงการรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ปั๊มน้ำมัน ล่าสุดได้ขอสร้างทางเดินหรือสกายวอล์กเชื่อมกับสถานี และจะเจาะอุโมงค์ทางลอดจากโครงการลอดใต้ถนนโลคอลโรดไปเชื่อมถนนวิภาวดีรังสิต เหมือนกับทางเข้าสนามกอล์ฟนอร์ธปาร์ค

ขณะที่ภายในโครงการนอร์ธปาร์ค ทางบริษัททีซีซีแลนด์ ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาฯของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เตรียมนำที่ดินที่ยังเหลือประมาณ 200-300 ไร่ พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูสมีทั้งสำนักงานให้เช่าและคอมมิวนิตี้มอลล์ เพื่อรองรับรถไฟฟ้าสายสีแดง

นอกจากนี้ บมจ.ซี.พี.แลนด์ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท พัฒนาที่ดิน 4 ไร่เศษ เป็นโครงการ “ซี.พี.ทาวเวอร์ 4 นอร์ธปาร์ค” สูง 18 ชั้น และชั้นใต้ดิน มีพื้นที่ก่อสร้าง 46,638 ตร.ม. แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อเช่า 27,000 ตร.ม. ราคาค่าเช่าเฉลี่ย 600 บาท/ตร.ม. จะแล้วเสร็จเดือน ต.ค. 2562

จีแลนด์รอปัดฝุ่นขึ้นคอนโดหลักสี่

ด้าน “สถานีหลักสี่” ช่วงบริเวณสะพานข้ามแยกจะมีที่ดินเปล่าอยู่ 1 แปลง คาดว่าจะเป็นของกลุ่มจีแลนด์ ก่อนหน้านี้ นายโยธิน บุญดีเจริญ ประธานกรรมการ บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (จีแลนด์) เคยระบุว่า จะนำที่ดินแนวสายสีแดงมาพัฒนา 3 โครงการ มูลค่ารวม 1.8 หมื่นล้านบาท ได้แก่ คอนโดฯ “เบ็ลสกาย” ย่านหลักสี่ ใกล้โรงแรมมิราเคิล พื้นที่ 36 ไร่

สูง 16 ชั้น 17 อาคาร มูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท, แกรนด์ คาแนล ดอนเมือง เฟส 2 พื้นที่กว่า 100 ไร่ พัฒนาบ้านเดี่ยวราคา 7-8 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท และคอนโดฯพื้นที่ 30 ไร่ เป็นอาคารสูง 16 ชั้น 6-7 อาคาร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

ถัดมา “สถานีการเคหะ” จะมีที่ดินว่างเปล่าติดกับสถานีไปตลอดแนวจนถึงแฟลตการเคหะ ส่วน “สถานีดอนเมือง” ทางตลาดใหม่ดอนเมือง (เจ้เล้ง) กำลังมีการปรับปรุงตลาดใหม่ เมื่อเลยสถานีดอนเมืองไปจะมีโครงการ “แกรนด์ คาแนล” ของกลุ่มจีแลนด์ที่กำลังเปิดขายเฟสใหม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/04/2018 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟแจงสถานีบางซ่อนสายสีแดง”บางซื่อ-ตลิ่งชัน”ทรุดตัวบริเวณชานชาลาไม่เกี่ยวโครงสร้างหลัก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 17 April 2018 - 15:32 น.

Click on the image for full size
ภาพจากเฟซบุีก piyawat Trithavin

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 เม.ย.2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีมีภาพพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟบางซ่อนทรุดตัวว่า โดยการรถไฟฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน หรือรถไฟชานเมืองสายตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเป็นโครงการรถไฟชานเมืองในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง

สำหรับโครงสร้างทางวิ่งช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ระยะทาง 15 กิโลเมตร ปัจจุบันงานก่อสร้างได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่ปี 2555 แต่เนื่องจากการเดินขบวนรถไฟฟ้าชานเมืองจะเชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกันกับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ–รังสิต ที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2563

จากการตรวจสอบเบื้องต้นทราบว่า สาเหตุเกิดจากการทรุดตัวของดินบริเวณชานชาลาด้านล่าง ส่งผลให้กำแพงบริเวณทางลาดที่ใช้สำหรับรถเข็นคนพิการทรุดตัวลง ทั้งนี้มิได้กระทบกับโครงสร้างหลักของตัวอาคารอย่างใด อย่างไรก็ตามการรถไฟฯ ได้มอบหมายให้วิศวกรที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งรัดดำเนินการแก้ไข เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ก่อนเปิดการเดินรถต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2018 11:48 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ยันซื้อรถสายสีแดงอ่อน “ตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา” แจงจำเป็นลงทุนเพื่อรองรับอนาคต
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 08:16:
ปรับปรุง: วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 10:09:

คมนาคมเตรียมประชุมร่วม สศช. เร่งสรุปรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงินกว่า 1.9 หมื่นล้าน ชงบอร์ด สศช. ด้าน ร.ฟ.ท.ยันแผนซื้อรถเพิ่มให้บริการเป็นฟีดเดอร์ แต่ต้องมีความถี่เพื่อส่งต่อผู้โดยสารเข้าสายสีแดงเข้ม

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดงส่วนต่อขยาย) สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ระยะทาง 8.9 กม. วงเงิน 7,596.94 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 6 กม. ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 19.7 กม. วงเงิน 19,042.13 ล้านบาท ว่า อยู่ระหว่างให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทบทวนรายละเอียดในการลงทุนในส่วนของการซื้อรถวงเงินหลายพันล้านบาทเพื่อใช้ในสายสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ โดยให้พิจารณาจำนวนรถในสัญญา 3 ของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่มีก่อน และความสามารถบริหารจัดการเดินรถที่มีประสิทธิภาพ อาจไม่จำเป็นต้องซื้อรถเพิ่มในส่วนของสีแดงอ่อนเพื่อประหยัดค่าลงทุน แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับการจัดตารางเดินรถความถี่ในการให้บริการด้วย

แหล่งข่าวระบุว่า จากการศึกษาทบทวน ร.ฟ.ท.ยังคงยืนยันความจำเป็นในการจัดหารถเพิ่มสำหรับบริการในส่วนของสายสีแดงอ่อนช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา เนื่องจากประเมินว่าปริมาณรถในสัญญา 3 รองรับกับความถี่ของการเดินรถช่วงบางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน หากใช้ในช่วงสีแดงอ่อนอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ ยังเป็นการรองรับแผนการดำเนินงานในอนาคตของรถไฟที่จะเปลี่ยนเป็นระบบรถไฟฟ้า

วันที่ 10 พ.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมได้นัดประชุมพิจารณาในรายละเอียดของโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางดังกล่าว โดยเชิญสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมรับฟังข้อชี้แจงในประเด็นต่างๆ ที่ สศช.ได้สอบถามไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด เหตุผล ความจำเป็นของโครงการ คาดว่าจะสามารถสรุปและเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) สศช.พิจารณาและเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขออนุมัติต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต และสายสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา อยู่ในแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 ซึ่งรูปแบบการเดินรถ ลักษณะเป็นฟีดเดอร์ มีความถี่การเดินรถ 6-9 นาที/ขบวน อีกทั้งเป็นช่วงที่อยู่ในเขตเมือง ส่วนสายสีแดงหลัก ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต และรังสิต-มธ.รังสิต จะมีความถี่ในการเดินรถ 4 ขบวน/ชม.

ส่วนสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) นั้นมีวงเงิน 32,399.99 ล้านบาท เบื้องต้นจัดหารถจำนวน 130 ตู้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2018 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เลื่อนเปิดสายสีแดงเป็น ม.ค.64 งานระบบช้า ชง สคร.เร่งตั้ง บ.ลูกเดินรถ
เผยแพร่: 24 ก.ย. 2561 18:07 ปรับปรุง: 24 ก.ย. 2561 18:10 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ร.ฟ.ท.ขยับเปิดเดินรถสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต,บางซื่อ-ตลิ่งชัน" เป็น ม.ค. 64 เหตุต้องปรับงานระบบ สัญญา 3 บางเรื่อง และให้เวลาทดสอบระบบจนมั่นใจสูงสุด ยันเร่งตั้ง บ.ลูกเดินรถ ถ่ายโอนคนจากแอร์พอร์ตลิงก์ และวางแผนการตลาดจูงใจกระตุ้น หวังปีแรกผู้โดยสารแตะ 8 หมื่นคน/วัน

นายวรวุฒิ มาลา รองรองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม.ว่า หลังจากฝ่ายก่อสร้างได้หารือกับผู้รับเหมา ล่าสุด พบว่าจะสามารถเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนม.ค. 2564 ซึ่งเป็นการขยับจากไทม์ไลน์เดิมที่จะเปิดเดินรถในเดือนต.ค. 2563 เนื่องจากการเข้าพื้นที่ของสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟ) ช้าทำให้การออกแบบที่ทำไว้นานต้องปรับบางเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับปัจจุบัน. รวมถึง การเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ จาก ATO เป็ ETCS เพื่อให้เปิดกว้างมากขึ้น และเพื่อให้การทดสอบระบบมีความมั่นใจมากที่สุดก่อนเปิดให้บริการ

ทั้งนี้ ได้รายงานคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.รับทราบรวมถึงได้รายงานต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบการปรับแผนดังกล่าวแล้ว

ส่วนการจัดตั้งบริษัทลูกเดินรถ สายสีแดง. ซึ่งบอร์ด รฟท.ได้เห็นชอบในการอัพเกรด บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ขึ้นมาโดยเพิ่มขอบเขตงานและทุนจดทะเบียน เป็น 3,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระหว่างทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ชี้แจงสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (สคร.) เกี่ยวกับขั้นตอนการอัพเกรด และการถ่ายโอนช่วง 2 ปี ให้กับผู้บริหารรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ปัจจุบัน แอร์พอร์ตลิงก์มีพนักงาน 400 คน ส่วนสายสีแดง ต้องการพนักงานประมาณ 900 คน ต้องทำรายละเอียดว่าจะโอนไปเท่าไร จะรับเพิ่มเท่าไร บริษัทลูกต้องตั้งให้เสร็จในปี 62 เพื่อเข้าสู่การฝึกอบรม และปี 63 จะเป็นการทดสอบระบบ

อย่างไรก็ตาม เปิดให้บริการปีแรก คงค้องขาดทุนก่อน แต่คาดหวังว่าจะมีผู้โดยสารมากพอที่จะถึงจุดคุ้มทุน. ได้ ใน3-5 ปี ซึ่งประเมินว่า จุดคุ้มทุนต้องมีผู้โดยสารประมาณ 8 หมื่นคน/วัน โดยรฟท.และบริษัทลูก จะต้องวางแผนในการเชื่อมต่อการเดินทางเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก โดยเฉพาะที่สถานีรังสิตและตลิ่งชันที่เป็นต้นทาง ปลายทาง ส่วนสถานีรายทางเช่น สถานีหลักหก การเคหะ ทุ่งสองห้อง ฯลฯ จะต้องมีแผนในการจูงใจให้ประชาชน เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์มาใช้รถไฟสีแดงแทน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2019 10:27 am    Post subject: Reply with quote

26ก.พ.62 สรุปข้อมูลโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม6, สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และหรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้ตามความเหมาะสม)

...เป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันออกไปจนถึงศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร โดยเป็นโครงสร้างทางวิ่งระดับดิน (At Grade) ระยะทาง 8.5 กิโลเมตร และโครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ่าที่จ่ายแบบเหนือหัว (OCS) โดยใช้กำลังไฟฟ้าที่แรงดันไฟฟ้า AC 25 KV รองรับรถไฟขนาดทางกว้าง 1.000 เมตร (meter Gauge) ใช้รางชนิด UIC 60 จำนวน 2 ทางวิ่ง มีสถานีประกอบด้วย 6 สถานี ได้แก่ สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา (โดยสถานีสะพานพระราม 6 และสถานีบางกรวย-กฟผ. มีโถงผู้โดยสารอยู่ที่ชั้น 2 และชานชาลาอยู่ที่ชั้น3, สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก และสถานีศาลาธรรมสพน์ มีโถงผู้โดยสารอยู่ที่ชั้น 2 และชานชาลาอยู่ที่ระดับดิน ส่วนสถานีศาลายา มีโถงโดยสารระดับดิน และชานชานลาอยู่ที่ชั้น 2) คาดการณ์ว่าปีเปิดใช้บริการมีผู้โดยสาร 47,570 คน-เที่ยวการเดินทางต่อวัน
....ทั้งนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ฉบับหลักได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2557 และ กก.วล. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 เห็นชอบตามความเห็นคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ซึ่งให้ความเห็นชอบต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ส่วนต่อขยาย ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน และบ้านฉิมพลี-ศาลายาของ รฟท. แล้ว (มีความพร้อมที่จะลงนามในสัญญา)

Cr: โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม6, สถานีบางกรวย-กฟผ., และสถานีบ้านฉิมพลี) การรถไฟแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2178685562178377
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2019 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
26ก.พ.62 สรุปข้อมูลโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กิโลเมตร
...เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ต่อขยายจากช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ จำนวน 2 ทาง ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ่าที่จ่ายแบบเหนือหัว (OCS) โดยใช้กำลังไฟฟ้าที่แรงดันไฟฟ้า AC 25 KV โครงสร้างทางวิ่งเป็นระดับดินตลอดเส้นทาง ระบบขนาดความกว้าง 1.000 เมตร (Meter Gauge) ใช้รางชนิด UIC 60 เชื่อมต่อเป็นรางเชื่อมยาว ซึ่งทางรถไฟเป็นแบบหินโรยทาง (Ballast Track) หมอนคอนกรีตอัดแรงท่อนเดียว โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มจ้นจาก กม. 32+350 (จุดสิ้นสุดของช่วงบางซื่อ-รังสิต) ตามแนวเขตทางรถไฟปัจจุบันและมีจุดสิ้นสุดที่ กม. 41+187 รวมระยะทางประมาณ 8.84 กิโลเมตร ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีก่อสร้างสะพานลอยจำนวน 3 แห่ง (กม. 33+780 กม.38+000 และบริเวณ กม.39+520) เพื่อแก้ไขปัญหาจุดตัดทางลักผ่าน พร้อมก่อสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทาง ทั้งนี้ โครงการฯ มีความจำเป็นต้องเวนคืนเพิ่มเติมเพื่อก่อสร้างสถานีและถนนทางเข้าสถานี โดยมีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ (รวม 14 ไร่ 3 งาน 235.89 ตารางวา) ประกอบด้วย
1.บริเวณสถานีคลองหนึ่ง จำนวน 2 ไร่ 1 งาน 33.51 ตารางวา
2.บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 5 ไร่ 3 งาน 63.11 ตารางวา
3. บริเวณสถานีเชียงราก จำนวน 1 งาน 79.25 ตารางวา
4. บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 5 ไร่ 2 งาน 60.02 ตารางวา
... กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) โดย รฟท. คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างประมาณสิงหาคม 2562 แล้วเสร็จกันยายน 2565 (ระยะเวลา 36 เดือน) และเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2565
....ทั้งนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ฉบับหลักได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 และ กก.วล. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 รับทราบมติของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ที่ให้ความเห็นชอบในรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงาน EIA ไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่เนื่องจากต่อมามีการปรับแก้แบบรายละเอียดเพื่อเชื่อมต่อกับช่วงบางซื่อ-รังสิต รฟท. ได้จัดทำรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงาน EIA ให้สอดคล้องกับช่วงบางซื่อ-รังสิต
....โดยปัจจุบัน รฟท. อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายงาน EIA ตามความเห็นคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560

Cr: ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2178790658834534


//---------------------------------

ครม.คลอด รถไฟสีแดงต่อขยาย 2 สาย เร่งประมูล 1.67 หมื่นล. ระดมตอกเข็มปีนี้ เปิดเดินรถปี65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16:49

ครม.อนุมัติ รถไฟสีแดงต่อขยาย 2 สาย เชื่อมตลิ่งชัน-ศาลายา และรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ “อาคม”สั่งเร่งประมูลใน 2 เดือน พร้อมสีแดง Missing Link ระดมตอกเข็มปี 62 เปิดเดินรถปี 65 เล็งชงครม.ในมี.ค. เคาะ PPP ร่วมทุนก่อสร้างและเดินรถสายสีส้ม กว่าแสนล.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 26 ก.พ. มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่วนต่อขยาย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. กรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท โดยรฟท.จะเร่งจัดทำTOR ภายใน 1-2 เดือน คาดว่าจะเปิดประมูล e-bidding หาผู้รับจ้างและเริ่มก่อสร้างในปี 2562 แล้วเสร็จในปี 2565

โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบรายปีหรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ให้ตามความเหมาะสม ซึ่งสายสีแดงช่วง รังสิต-มธ.รังสิต มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง, สถานีเชียงราก สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 28,150 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มเป็น 64,080 คน/วัน ภายใน 20 ปี

สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีศาลายา, สถานีศาลาธรรมสพน์, สถานีกาญจนาภิเษก, สถานีบ้านฉิมพลี, และสถานีเพิ่มเติม ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน คือ สถานีพระราม6 สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 47,570 คน-เที่ยว/วัน

ส่วน สายสีแดงอ่อน ช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 7,469.43 ล้านบาท จะเสนอครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า เนื่องจากต้องมีการปรับลดกรอบวงเงินตามความเห็นของ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) ในส่วนของการปรับปรุงโรงซ่อมรถจักรสถานีธนบุรี วงเงิน 824.4 ล้านบาท โดยเหลือกรอบวงเงินที่ 6,645.03 ล้านบาท ตั้งเป้าเปิดประมูลและก่อสร้างในปี 2562 เปิดเดินรถในปี 2565 คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 55,200 คน-เที่ยว/วัน

สำหรับสายสีแดง (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. ซึ่งครม.อนุมัติตั้งแต่ปี 2559 แต่เนื่องจากมีการปรับรูปแบบและรถความชัดเจนของการก่อสร้างช่วงสถานีจิตรลดา-พญาไทที่จะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างร่วมกับ โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งปัจจุบันรวมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในรูปแบบของคลองแห้ง (Open Cut) ซึ่งรฟท.จะรายงานครม.ในการปรับกรอบเวลาในการก่อสร้างใหม่ โดยยังคงใช้กรอบวงเงินเดิม ที่ประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งตั้งเป้าให้เปิดประมูลและก่อสร้างในปี 2562 แล้วเสร็จในปี 2565

ทั้งนี้จะทำให้โครงการรถไฟสายสีแดง แนวเหนือ-ใต้ ออก-ตก ครบ ยกเว้นส่วนใต้ที่ต่อจากหัวลำโพง-มหาชัยที่อยู่ระหว่างปรับแบบและสำรวจเส้นทางใหม่ในช่วงที่ประชาชนต่อต้าน

ส่วนการเปิดเดินรถสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน นั้น ขณะนี้ สัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาตู้รถไฟฟ้านั้น กิจการร่วมค้า MHSC อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และผลิตรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้เริ่มประกอบตัวรถแล้ว คาดว่ารถจะทยอยเข้ามาในเดือนพ.ค.-มิ.ย. 2563 เพื่อทำการทดสอบระบบ หรือ System Test ตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 และทำการทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) เพื่อความพร้อมเปิดเดินรถในเดือนม.ค. 2564 พร้อมกันนี้ได้เร่งให้รฟท.ปรับแผนการจัดส่งบุคลากรไปอบรมด้านการขับรถไฟฟ้าให้เร็วขึ้นจากแผน ในเดือนพ.ย. 2562

*** ชงPPP สายสีส้ม ตะวันตกและเดินรถ ตลอดสายเข้าครม. มี.ค.

ส่วน ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 16.4 กม. ซึ่ง ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ที่ เห็นชอบแล้ว คาดว่าจะเสนอครม.ได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ มีวงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท โดยมีค่างานโยธา ด้านตะวันตก 85,288.54 ล้านบาท ขณะที่รวมการเดินรถจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ รวม 34.6 กม. มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการในส่วนตะวันออกได้ในปี 2566 และทั้งเส้นภายในปี 2568


//-------------------------------------------

ครม.อนุมัติโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง-สีแดงเข้ม
คมชัดลึก
อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

ครม.อนุมัติ โครงการ รถไฟชานเมืองสายสีแดง - สีแดงเข้ม ช่วงต่อขยาย วงเงินเกือบ 1.8 หมื่นล้าน เสร็จภายใน 5 ปี

วันที่ 26 ก.พ.2562 ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยานุวัติ ผู้ช่วยโฆษกสํานักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติดำเนินการโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชันศาลายาและสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. และ สถานีบ้านฉิมพลี) และช่วงรังสิต- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต) ในกรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี และ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ในกรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี

โดยทั้ง 2 โครงการจะดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding) รวมทั้งให้รัฐบาลดับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้นโดยให้ สำนักงานงบประมาณ จัดสรรงบประมาณรายปีหรือ กระทรวงการคลัง จัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งนี้ให้ รฟท.กู้เงินได้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ. ศ. 2494 มาตรา 39 (4)

พ.อ.อธิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุม ครม. ยังอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตจำนวน 14 ไร่ตามที่ กระทรวงคมนาคม เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและดำเนินการต่อไปได้.

//------------------------

26ก.พ.62 ไฟเขียว!! ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และตลิ่งชัน-ศาลายา เริ่มสร้างเร็วสุด ต.ค.นี้ คาดได้ใช้ปี 65
รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่า วันนี้ (26 ก.พ.) ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง 2 โครงการ ระยะทางรวมประมาณ 23.64 กิโลเมตร วงเงินรวมประมาณ 16,772.58 ล้านบาท ได้แก่

ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 6,570.40 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 28,150 คน-เที่ยว/วัน และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 24.61%

ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 47,570 คน-เที่ยว/วัน และ EIRR ในสัดส่วน 34.75%

“การรถไฟฯ คาดว่าจะร่างทีโออาร์และกำหนดราคากลางเสร็จประมาณปลายเดือนพฤษภาคม จากนั้นน่าจะประกาศร่างทีโออาร์ได้ในเดือนมิถุนายนและรู้ผลผู้รับจ้างในเดือนกันยายน เริ่มก่อสร้างได้เร็วสุดในเดือนตุลาคมปีนี้และเปิดให้บริการภายในปี 2565” แหล่งข่าวกล่าว

โครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้าสายสีแดง
อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ยังเหลือโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6,645.03 ล้านบาท ที่ต้องเสนอให้ ครม. อนุมัติอีก 1 โครงการ โดยสาเหตุที่ยังไม่ได้เสนอเข้า ครม. ในวันนี้ เนื่องจากมีการตัดงานปรับปรุงโรงซ่อมรถจักรสถานีธนบุรี วงเงินประมาณ 800 ล้านบาทออกไป ส่งผลให้ต้องจัดทำเอกสารเพิ่มเติม

แต่ล่าสุดการรถไฟฯ ได้จัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ให้ ครม. พิจารณาอนุมัติได้เร็วสุดในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งเบื้องต้นคาดว่า รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงนี้จะมีปริมาณผู้โดยสารสูงสุดถึง 55,200 คน-เที่ยวต่อวันและ EIRR ในสัดส่วน 17.85%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเสนอโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6,645.03 ล้านบาท ให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้า

หลังจากนั้น การรถไฟฯ จะจัดเตรียมร่างเงื่อนไขการประมูล (TOR) โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์, ตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช ภายในมีนาคม-เมษายน ก่อนจะเปิดประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) หรือการจัดซื้อจัดจ้างผ่านออนไลน์ (e-Auction) ซึ่งก็คาดว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 3 ช่วงจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2562 และเปิดให้บริการได้ทั้งหมดในปี 2565

“ที่โรงพยาบาลศิริราช รถไฟฟ้าสายสีแดงจะอยู่ใต้ดิน ข้างบนเป็นตัวอาคารโรงพยาบาลและสามารถขึ้นบันไดเลื่อนไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรีได้เลย นอกจากนี้สั่งให้พิจารณาก่อสร้างท่าเรือศิริราช ฝั่งริมคลองบางกอกน้อย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางด้วยเรือมาขึ้นรถไฟฟ้า” นายอาคมกล่าว

จี้เปิดรถ ‘บางซื่อ-รังสิต’ เร็วกว่าแผน

นายอาคม กล่าวถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงอื่นๆ ว่า สำหรับโครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ คาดว่ารถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะรับมอบขบวนรถได้ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2563 จากนั้นจะทดลองการเดินรถเสมือนจริงประมาณเดือนสิงหาคม 2563 และจะเปิดให้บริการได้ในเดือนมกราคม 2564

โดยกระทรวงคมนาคมจะพยายามเร่งรัดการเปิดบริการให้เร็วกว่ากำหนด เหมือนกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ซึ่งเปิดให้บริการได้เร็วกว่าแผน 5 เดือน พร้อมขอให้การรถไฟฯ เร่งพาบุคคลากรไปอบรมการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เร็วขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากเห็นว่าแผนเดิมล่าช้าเกินไป

รถไฟฟ้าสายสีแดง Missing Link ก่อสร้างปีนี้

นายอาคม กล่าวต่อว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ จะทบทวนระยะเวลาการเริ่มต้นโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (Missing Link) สีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 4.4 หมื่นล้าน เป็นปี 2562 จากนั้นจะรายงานให้ที่ประชุม ครม. รับทราบ โดยกระทรวงคมนาคมยังตั้งเป้าหมายจะก่อสร้างช่วง Missing Link ในปี 2562 และเปิดให้บริการในปี 2565
https://www.thebangkokinsight.com/109583/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2019 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


ครม.คลอด รถไฟสีแดงต่อขยาย 2 สาย เร่งประมูล 1.67 หมื่นล. ระดมตอกเข็มปีนี้ เปิดเดินรถปี65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16:49

//-------------------------------------------

ครม.อนุมัติโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง-สีแดงเข้ม
คมชัดลึก
อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562


ออก Boogaboo TV ด้วย
https://www.bugaboo.tv/watch/428791/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2_26_%E0%B8%81.%E0%B8%9E.62.html


คนนครปฐม-ปทุมเฮ! ครม.เคาะ1.6หมื่นล้าน ขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงเชื่อม”ศาลายา-ม.ธรรมศาสตร์”เสร็จปี’65
พร็อพเพอร์ตี้
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 17:32 น.


ครม.เคาะสร้างต่อขยายสายสีแดง 2 เส้นทาง วงเงิน 16,772 ล้านบาทเชื่อม “ศาลายา-ม.ธรรมศาสตร์” คิวต่อ “ตลิ่งชัน-ศิริราช” ต่อด้วยสีส้มตะวันตก “ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟชานเมือง 2 โครงการ ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. เงินลงทุน 6,570.40 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. เงินลงทุน 10,20218 ล้านบาท ซึ่งรวมงานก่อสร้างสถานีอีก 2 สถานีในช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน คือ สถานีพระราม 6 และสถานีบางกรวย-กฟผ.

สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ คาดว่าจะสามารถออกประกาศทีโออาร์ได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ ใช้รูปแบบการประกวดราคาแบบ E-Bidding และจะได้ตัวเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกและเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ส.คปีนี้ทั้งสองเส้นทาง ใช้เวลาสร้างประมาณ 3 ปี และจะเปิดให้บริการได้ในเดือน ก.ย.2565 คาดจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการในปีแรกทั้งสองเส้นทางรวม 75,720 เที่ยวคน/วัน คือ รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 28,150 เที่ยวคน/วัน และตลิ่งชัน – ศาลายา 47,570 เที่ยวคน/วัน

ส่วนสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริรราช ระยะทาง 5.7 กม. เงินลงทุน 6,645.03 ล้านบาท เสนอ ครม.ไม่ทันในสัปดาห์นี้ เนื่องจากเพิ่งปรับวงเงินลงทุนใหม่โดยตัดการก่อสร้างโรงซ่อมหัวรถจักร ทดแทนโรงรถจักรธนบุรีเดิม มูลค่าลงทุน 824.4 ล้านบาทออกจากโครงการ แต่คาดว่าสัปดาห์จะเสนอ ครม.พิจารณาได้แน่นอน

@เปิดบางซื่อ-รังสิต-ตลิ่งชันปี 64

ขณะที่โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ – ตลิ่งชัน อยู่ระหว่างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมให้บริการตามกำหนดเดิมในเดือน ม.ค. 2564 โดยก่อนหน้านั้น จะทดสอบระบบ (System Test) และการเดินรถเสมือนจริง ในช่วงเดือน ส.ค. – พ.ย. 2563

ส่วนขบวนรถไฟฟ้าที่มีกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC (มิตชูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) เป็นผู้ชนะประมูลด้วยวงเงิน 32,399 ล้านบาทนั้น ภายใน 2 เดือนนี้จะไปเยี่ยมชมการประกอบขบวนรถ ขณะที่สถานีกลางบางซื่อ อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบภายใน คาดว่าจะสร้างเสร็จภายในเดือน พ.ย.ปีนี้

@ได้ฤกษ์สร้าง Missing Link

ส่วนสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก (Missing Link) และสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. ครม.อนุมัติไปตั้งแต่ปี 2559 ที่ล่าช้าเพราะอยู่ระหว่างปรับรูปแบบกับระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์

โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่สถานีจิตรลดาไปถึงสถานีพญาไท ซึ่งของสายสีแดงจะเป็นทางวิ่งแบบคลองแห้ง (Open Trench and Cut & Cover Tunnel) ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์นั้นโครงสร้างจะเป็นอุโมงค์

คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2562 นี้ และแล้วเสร็จพร้อมให้บริการปี 2565 โดยจะต้องมีการเสนอให้ ครม.รับทราบเพิ่มเติมถึงประเด็นดังกล่าวด้วย แต่จะเสนอได้เมื่อไหร่นั้นต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ดการรถ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/03/2019 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดใช้ก่อนสงกรานต์ “สะพานกลับรถสถานีรถไฟบางบำหรุ”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 March 2019 - 17:30 น.

Click on the image for full size

วันที่ 22 มีนาคม 2562 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ติดตามเร่งรัดการเปิดใช้งานสะพานกลับรถสถานีรถไฟบางบำหรุ ฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก ซึ่งสะพานกลับรถทั้ง 2 แห่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา และได้ดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างบนสะพานเรียบร้อยแล้ว

ภายหลังจากการลงพื้นที่ตรวจติดตามงานฯ ได้สั่งการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ส่งแบบการก่อสร้างและงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อส่งให้เทศบาลเมืองบางกรวย ประสานการไฟฟ้านครหลวงเขตบางใหญ่ดำเนินการจ่ายกระแสไฟ และให้เร่งดำเนินการส่งมอบพื้นที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์และการดูแลรักษา

โดยกำชับให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ และเปิดใช้อย่างเป็นทางการโดยเร็วที่สุด หรือต้องเปิดใช้ให้ทันก่อนสงกรานต์ 2562 ที่จะถึงนี้

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2019 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

1ก.ค.ปิดจุดกลับรถบริเวณสถานีรถไฟบางบำหรุ
เสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2562

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะดำเนินการปิดจุดทางข้ามรถไฟเสมอระดับ บริเวณสถานีรถไฟบางบำหรุ (กม. 17+250 ถึง กม. 18+651) เนื่องจากโครงการฯ จะดำเนินการติดตั้งสายส่งกำลังไฟฟ้าให้กับขบวนรถไฟฟ้าเส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน ในบริเวณดังกล่าว
Ads by AdAsia

ทั้งนี้ โครงการฯ ได้มีการก่อสร้างสะพานกลับรถทดแทน ซึ่งปัจจุบันแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยและสามารถเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว จึงขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนบริเวณดังกล่าวเปลี่ยนมาใช้สะพานกลับรถ แทนจุดกลับรถเดิมได้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ตั้งแต่เวลา 24.00 เป็นต้นไป และขอความร่วมมือจากผู้ใช้ทางโปรดระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2019 9:51 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯขอ 3 พันล้าน พิสูจน์ฝีมือบริหาร “สายสีแดง” ดัน “บริษัทลูก” เดินรถ ม.ค. 64
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 8 November 2019 - 08:55 น.

Click on the image for full size

จากรถไฟฟ้าสายแรก “แอร์พอร์ตเรลลิงก์” วิ่งจากพญาไท-สุวรรณภูมิ ที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลให้บริหารโครงการผ่าน “บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายนี้จะถูกโอนสิทธิ์เดินรถไปอยู่อ้อมอก “บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด” หรือกลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร ผู้รับสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-พญาไท-สุวรรณภูมิ)

ล่าสุด “ร.ฟ.ท.” กำลังมีภารกิจใหม่สุดท้าทายในการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระยะทางรวมกว่า 41 กม. ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15.26 กม. และช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม. นับเป็นสายที่ 2 ของ ร.ฟ.ท.หลังทุ่มเม็ดเงินก่อสร้างไปทะลุแสนล้านบาท

ขณะนี้กำลังรอการอนุมัติจาก “ครม.-คณะรัฐมนตรี” ให้บริษัทลูกเป็นผู้เดินรถพร้อมกับเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 3,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนตั้งต้นบริหารรถไฟฟ้าสายนี้ ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่อนุมัติไว้เมื่อรัฐบาลชุดที่แล้ว ภายใต้เงื่อนไข ร.ฟ.ท.ต้องพิสูจน์ฝีมือว่าจะบริหารโครงการได้ตลอดรอดฝั่ง ไม่ซ้ำรอยแอร์พอร์ตเรลลิงก์

ในแผนบริษัทลูก ร.ฟ.ท.นอกจากเดินรถแล้ว จะต้องดำเนินกิจการทางพาณิชย์เพื่อชดเชยรายได้จากค่าโดยสารที่ใน 5 ปีแรกจะขาดสภาพคล่อง เนื่องจากเงินทุนตั้งต้นส่วนหนึ่งเพื่อนำมาเป็นเงินลงทุนจัดซื้ออะไหล่เริ่มต้น จำนวน 2,164 ล้านบาท และส่วนอื่นเป็นกระแสเงินสดสำหรับใช้ในการดำเนินงานทั้งก่อนและหลังเปิดดำเนินการ เช่น งบประมาณการตลาด ประชาสัมพันธ์ จ้างพนักงานชั่วคราวในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านเร่งด่วน

ด้วยการจัดเก็บรายได้จากพื้นที่บริเวณใต้สถานี กิจกรรมด้านการเก็บค่าโฆษณา การให้เช่าพื้นที่ การบริการที่จอดรถ และการให้เช่าพื้นที่สำหรับตู้ ATM และเพิ่มรายได้จากการคิดอัตราค่าใช้พื้นที่จากบริเวณจุดตัดและทางเชื่อมเข้าอาคาร การให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อดำเนินการจัดหารายได้เชิงพาณิชย์ในรูปแบบการให้สัมปทาน

หากเดินตามแนวทางนี้จะทำให้รายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ในช่วง 5 ปีแรก เพิ่มขึ้นประมาณ 152 ล้านบาท หรือหากคิดเป็นตลอดอายุโครงการ 30 ปี จะเพิ่มรายได้เฉลี่ยปีละประมาณ 18 ล้านบาท ทำให้ผลประกอบการในช่วง 5 ปีแรกมีการขาดทุนน้อยลง และผลตอบแทนโครงการในภาพรวมดีขึ้น มีผลประกอบการเป็นบวกในปีที่ 9

ซึ่งบริษัทลูกจะได้สิทธิบริหารพื้นที่ภายในขบวนรถไฟ พื้นที่ตามแนวเขตทาง บริเวณสถานีรถไฟและศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการ มีสถานีรังสิต หลักหก การเคหะ หลักสี่ ทุ่งสองห้อง บางเขน วัดเสมียนนารี จตุจักร บางซ่อน บางบำหรุ และตลิ่งชัน โดยได้สิทธิบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในบริเวณสถานี ทั้งบริเวณชานชาลา ชั้นขายตั๋วโดยสารและที่จอดรถ ยกเว้นสถานีกลางบางซื่อและดอนเมือง

แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ “กระทรวงคมนาคม” อยู่ใต้อาณัติของพรรคภูมิใจไทย ทำให้แผนสะดุดหยุดอยู่ที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคนใหม่ ที่เกิดไอเดียจะเปิดให้เอกชนมาเดินรถแทนบริษัทลูก อยู่ระหว่างวิเคราะห์ข้อมูล จะสรุปแนวทางชัดเจนปลายปีนี้

ท้ายที่สุดไม่ว่าจะเลือกแนวทางไหน ระหว่างตั้ง “บริษัทลูก ร.ฟ.ท.” และ “เปิดสัมปทานเอกชน” ที่ในประเทศไทยมี 2 ราย คือ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) จะต้องเร่งดำเนินการให้ทันกับการเปิดใช้บริการในเดือน ม.ค. 2564

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ยังยืนยันภายในเดือน ม.ค. 2564 จะเปิดบริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอย่างแน่นอน จะเก็บค่าโดยสาร15-45 บาท ลดลงจากราคาที่กำหนดไว้เดิม 15-50 บาท

“การเดินรถ รอผลสรุปที่มอบนโยบายให้คมนาคมไปดูโมเดลเปิดให้เอกชนร่วม PPP กับให้บริษัทลูก ร.ฟ.ท.ตามแบบเดิม แบบใดเหมาะสมและประชาชนได้ประโยชน์มากกว่ากัน น่าจะสรุปและเสนอ ครม.ได้ปลายปีนี้ ส่วนพนักงานและบุคลากรอยู่ระหว่างฝึกอบรม เบื้องต้นจะเป็นการโอนรับพนักงานจากแอร์พอร์ตลิงก์มาก่อน” นายศักดิ์สยามกล่าว

ด้านการเตรียมความพร้อมการเปิดบริการ “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขบวนรถที่รับมอบมาชุดแรก 2 ขบวน จำนวน 10 ตู้ ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้สัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้า เครื่องกล และการจัดหาตู้รถไฟฟ้า) มูลค่างาน 32,399.99 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) จากประเทศญี่ปุ่น เป็นคู่สัญญา

ขบวนรถไฟจะมี 2 แบบ คือ แบบ 6 ตู้/ขบวน มีความกว้าง 2.86 ม. ยาว 121.2 ม. จุผู้โดยสารได้ 1,710 คน/เที่ยว จะนำมาวิ่งช่วงบางซื่อ-รังสิตเป็นหลัก กับแบบ 4 ตู้/ขบวน มีความกว้าง 2.86 ม. ยาว 81.2 จุผู้โดยสารได้ 1,120 คน/เที่ยว จะนำมาวิ่งช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยรถทั้ง 25 ขบวน จำนวน 130 คัน จะทยอยมาครบกลางปี 2563

“รถขบวนใหม่ที่มาถึงแล้วจะทดสอบการบังคับเดินหน้าถอยหลังในศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการ เมื่อรถมาครบแล้วถึงจะเริ่มทดสอบแบบ dynamic test โดยระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณจะติดตั้งแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณกลางปี 2563 จึงนำขบวนรถว่างทดสอบระบบบนโครงสร้างของโครงการ ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จะเปิดให้บริการ ม.ค. 2564 คาดมีผู้โดยสารทั้ง 2 ช่วงรวมกันอยู่ที่ 200,000 เที่ยวคน/วัน”

สำหรับความคืบหน้าของโครงการ สัญญาที่ 1 งานโยธาสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงคืบหน้า 91.11% สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต แล้วเสร็จ 100% และสัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้าคืบหน้า 62.40%

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.เรื่องการขยายเวลาก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อออกไปถึงต้นปีหน้า และขออนุมัติขยายกรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้นกว่า 9,000 ล้านบาท จากการปรับแบบและงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการที่ผู้รับเหมาขอค่าชดเชยจากการขยายเวลาก่อสร้าง ปัจจุบันนำเงินส่วนที่ยังเหลืออยู่มาดำเนินการไปก่อนเพื่อไม่ให้งานก่อสร้างล่าช้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 77, 78, 79  Next
Page 65 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©