Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181546
ทั้งหมด:13492784
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2020 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ที่มาภาพ: https://www.awm.gov.au/collection/P02491.346

Click on the image for full size

https://www.awm.gov.au/collection/P02491.304

Click on the image for full size

https://www.awm.gov.au/collection/C345030

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2020 11:12 am    Post subject: Reply with quote

ทิ้งระเบิดถล่มทางรถไฟสายมรณะตรงห้วยซองกาเลีย แถวสังขละบุรี
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=173827044216034&id=110480247217381

เพราะสะพานแควใหญ่ โดนทิ้งระเบิดเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 1945 จนสะพานขาด ตอม่อพัง ทำให้ เมื่อสั่งซื้อสะพาน 15 ตันจากญี่ปุ่นมาเปลี่ยนเมื่อปี 1948 จึงต้องเป็นสะพานเหลี่ยมสองช่วงแทนสะพานเหล็กโค้ง สามช่วง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=172680177664054&id=110480247217381
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2020 12:06 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ไปพิสูจน์มา. ต้นกำเนิดคำว่า. #คนแพร่แห่ระเบิดเหตุเกิดที่เมืองลอง. ด้วยความอยากรู้ดูจากภาพเก่าเลยไปดูมา. มันคือการการทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่สองทำลายสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำยมที่อำเภอลองจังหวัดแพร่ลูกระเบิดที่ด้านไม่ระเบิดก็เอามาแห่กันแต่ระเบิดลูกนั้นไม่ด้านเลยมีการระเบิด(ฟังเขาเล่า) ทางฝ่ายญี่ปุ่นที่แพ้สงครามโลกครั้งที่สองได้มาทำสะพานให้ใหม่ด้วย. มีตอหม้อสะพานเก่าให้ดูด้วย มีรอยสะเก็ดระเบิดและกลุ่มที่โดนระเบิดลงมา
https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/permalink/2694635577532611


ปลดชนวนวาทกรรมตำใจ "แพร่แห่ระเบิด"
หน้าแรก / ไลฟ์สไตล์จันทร์
1 กุมภาพันธ์ 2557 | โดย เรื่องและภาพ: ธีรภาพ โลหิตกุล 13,136
สามล้อ...เลี้ยว...โค้ง ประโยคแซวคนเชียงใหม่ว่าพูดช้าและเนิบ กว่าจะพูดคำสั้นๆ จบ สามล้อก็เลยโค้งไปแล้ว
ส่วน “ห้องแถวไหล” แซวคนเชียงรายว่าไม่เคยเห็นรถไฟ (เพราะเป็นจังหวัดที่รถไฟไปไม่ถึง) วันหนึ่งมาเห็นรถไฟ เลยเรียก “ห้องแถวไหล” เพราะแบ่งเป็นห้องๆ (โบกี้) แล้วมันไหลไปได้

แต่ถ้า “ข้าวหลามแจ้ง” แซวคนเมืองน่าน ที่ไกลจนความเจริญไปไม่ถึง พอเห็นหลอดไฟฟูออเรสเซนท์ครั้งแรก คนน่านบอก “ข้าวหลามแจ้ง”

ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาที่แต่ละถิ่นที่ จะมีประโยคหรือวลีเชิงสัญลักษณ์แสดงปมเด่น-ปมด้อยเอาไว้แซวกันพอหอมปากหอมคอ แต่เฉพาะจังหวัดแพร่ หรือเมืองแป้ วลีเชิงสัญลักษณ์หนักหนาสาหัสกว่าเพื่อน คือ “แพร่แห่ระเบิด” ประมาณว่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีคนแพร่ไปเจอวัตถุสงคราม โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือลูกระเบิด จึงพากันนำขึ้นเกวียนแล้วแห่แหนจนเกิดระเบิด มีคนบาดเจ็บล้มตาย เลยเถิดไปถึงขั้นว่าเป็นสาเหตุให้ไม่มีราชสกุล “ณ แพร่” มาตราบจนวันนี้ ทั้งๆ ที่เป็นคนละเรื่อง แต่มั่วนิ่มให้เป็นเรื่องเดียวกันจนได้


“แพร่แห่ระเบิด” จึงเลยขีดขั้นการแซวไปถึงระดับล้อเลียนและดูถูกกันว่าง่าว (ฉลาดน้อย) สมัยหนึ่ง เป็นวลีอ่อนไหวชวนให้ทะเลาะวิวาท แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ใครไปเยือนแพร่วันนี้ วลี “แพร่แห่ระเบิด” มีคำอธิบายใหม่ในเชิงบวก ถึงขนาดมีคนนำไปตั้งเป็นชื่อร้าน “กาแฟแห่ระเบิด” แล้ว

คำอธิบายที่ว่านั้นแสดงหลักฐานขนาดระบุชื่อบุคคลที่มีตัวตนจริง คือนายหลง มะโนมูล คนงานรถไฟ ได้พบซากลูกระเบิด 3 ลูก ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งลงมาเพื่อหวังทำลายเส้นทางลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพญี่ปุ่นที่มุ่งสู่เชียงใหม่ ก่อนข้ามแดนไปถึงพม่า จุดที่พบคือตรงสะพานรถไฟข้ามลำน้ำยม บริเวณปากลำห้วยแม่ต้า เขตตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่

แต่ระเบิดที่พบเป็นระเบิดที่ยังไม่ทำงาน จึงใช้ช้างของนายมา สุภาแก้ว และนายบุญมา อินปันตี ชักลากขึ้นมาจากลำน้ำยม แล้วสามารถตัดส่วนหางของระเบิด ปลดชนวนและเอาดินปืนออกมาได้ (มีชาวบ้านขอดินปืนไปทำอุปกรณ์ระเบิดปลา) ส่วนซากหรือเปลือกลูกระเบิด ทั้งนายหลง นายมา และนายบุญมา แบ่งกันนำใส่เกวียนให้ช้างลากไปเก็บที่บ้าน โดยนายมานำไปตั้งตรงหัวบันไดบ้านเพื่อใส่น้ำไว้ล้างเท้า ต่อมา ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีดอนคำ อำเภอลอง มาเห็นแล้วลองเคาะเกิดเสียงดังกังวาน จึงได้ขอไปทำเป็นระฆังที่วัด เมื่อถึงงานประเพณีนมัสการพระธาตุ นายมาและครอบครัวจึงนำซากระเบิดขึ้นเกวียน จัดขบวนฆ้องกลองแห่แหนไปถวายวัดอย่างเอิกเกริก จนเป็นที่มาของวลี “แพร่แห่ระเบิด”

ซึ่งหลังจากนั้น นายหลงผู้พบระเบิดคนแรก ก็นำซากระเบิดไปถวายเป็นระฆังให้วัดแม่ลานเหนือ ส่วนนายบุญมานำไปถวายวัดนาตุ้ม เขตอำเภอลอง เช่นกัน อันเป็นที่มาของคำขยายในวันนี้ว่า “แพร่แห่ระเบิด เหตุเกิดที่เมืองลอง” คือนอกจากจะพลิกประเด็นมาเป็นความชาญฉลาดของชาวแพร่ในการถอดชนวนระเบิดแล้ว ยังอ้างอิงแบบเจาะจงลงไปให้ชัดว่าเป็นวีรกรรมของชาวอำเภอลอง สอดคล้องกับวีรกรรมหาญกล้าของ “คณะเสรีไทยหน่วยแพร่” ที่นำโดยสามพี่น้อง คือนายทอง นายสม และนายอุทัย กันทาธรรม ผู้ปฏิบัติงานลับด้านการข่าวเพื่อสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร ในการสกัดกั้นการเคลื่อนทัพสู่ภาคเหนือกองทัพญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทย ที่สร้างคุณูปการให้สหรัฐอเมริการับรองไทยไม่ให้ตกเป็นประเทศผู้แพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม ภูเดช แสนสา อาจารย์พิเศษหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชาวอำเภอลอง ตั้งข้อสังเกตไว้ในบทความ “เมืองแพร่แห่ระเบิด เหตุเกิดขึ้นจริงหรืออิงตลก” ว่า กรณีถวายซากระเบิดให้วัดทำระฆังนั้น มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ.2516 แต่เป็นการนำไปถวายอย่างปกติ มิได้จัดขบวนแห่แหนเอิกเกริก และที่สำคัญคือวาทกรรม “แพร่แห่ระเบิด” มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว อย่างช้าที่สุดในราวปี 2500 ซึ่งเวลานั้น เมืองลองเพิ่งถูกราชการย้ายสังกัดจากลำปางมาเป็นอำเภอหนึ่งของแพร่ สำนึกของผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เป็น “แพร่” จึงไม่น่าจะเกิดวลี “แพร่แห่ระเบิด” ถ้าเหตุเกิดที่เมืองลองจริง น่าจะต้องเจาะจงว่า “เมืองลองแห่ระเบิด” มากกว่า

นอกจากนั้น ภูเดชยังระบุว่า การถวายซากระเบิดให้วัดทำระฆัง มิได้มีแต่ที่อำเภอลอง ยังมีในอำเภออื่นของแพร่ และในหลายจังหวัดภาคเหนือ อาทิ ลำปาง ลำพูน ฯลฯ ทว่า เหตุใดจึงมีแต่ “แพร่ (เท่านั้น) ที่แห่ระเบิด เขาจึงไม่ยอมรับการเจาะจงว่า “แพร่แห่ระเบิด เหตุเกิดที่เมืองลอง” ที่ดูเหมือนจะกลายเป็นคำขวัญโดดเด่น ปรากฏให้เห็นที่ร้าน “กาแฟแห่ระเบิด” ของเชษฐา สุวรรณสา นักเขียนหนุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ แนวฮาร์ด ไซ-ไฟ ชุด “ดอยไฟที่บ้านปิน” ซึ่งนนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับหนังชื่อดัง ออกปากว่าอยากทำเรื่องนี้เป็นหนังไซ-ไฟของเมืองไทย

ถึงบรรทัดนี้ ดูเหมือนในความกระจ่างชัด ยังมีความยอกย้อนซ่อนอยู่ในวลี “แพร่แห่ระเบิด” แม้ว่าแนวโน้มในปัจจุบันจะเป็นไปในทิศทางบวก แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ยังมีชาวแพร่ โดยเฉพาะผู้อาวุโสอีกจำนวนไม่น้อย ที่อาจยังยึดติดว่า “แพร่แห่ระเบิด” เป็นวาทกรรมในเชิงดูหมิ่นดูแคลนกัน ผู้ไปเยือนจึงต้องระมัดระวังการนำวลีนี้มาพูด โดยขาดสำนึกของ “กาลเทศะ” และการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 7:43 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพถ่ายทางอากาศ การทิ้งระเบิดสถานีชุมทางหนองปลาดุก สถานีต้นทางของทางรถไฟไทยพม่าที่สำคัญในการลำเลียงตู้ขนอาวุธไปพม่า
https://www.facebook.com/groups/720177374708523/permalink/3571638402895725/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2020 7:13 pm    Post subject: Reply with quote

14 เมษายน 1945 เครื่องบินสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดหนัก 1,000 ปอนด์ จำนวน 8 ลูกถล่มโรงไฟฟ้าวัดเลียบในกรุงเทพมหานคร (วัดราชบูรณราชวรวิหาร หรือวัดเลียบ)
ส่งผลให้อาคารโรงไฟฟ้าและอาคารโกดังในพื้นที่ข้างเคียงถูกทำลาย
เริ่มอยากขยายเนื้อหาจากเพียงแค่เรื่องทางรถไฟสายมรณะ เพิ่มเติมไปจนถึงเรื่องสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ในประเทศไทยแล้วซิ 555
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=188712822727456&id=110480247217381
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2020 6:39 pm    Post subject: Reply with quote

"โกบุ่น"นายกเล็กเทศบาลเมืองลำพูน นำทีมดูหัวจักรพร้อมตู้โบกี้รถไฟ ที่ได้รับจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
ลำพูนนิวส์
วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เวลา 13:01 น.

#โดยก่อนหน้านี้สพานดำ จะถูกรื้อทางการรถไฟจึงได้มอบให้กับทางจังหวัดลำพูน โดยเทศบาลเมืองลำพูนดูแล เพื่อเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์
#ส่วนหัวจักรและตู้โบกี้รถไฟ จะนำไปไว้บนรางรถไฟสพานดำ จากนั้นจะนำไปติดตั้งในสวนสาธารณะม่วนใจ ติดกับกู่ช้างต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2021 11:31 am    Post subject: Reply with quote

ภาพประวัติศาสตร์
บางกอกวันวาน
7 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:02 น.

สถานีรถไฟกรุงเทพหัวลำโพง วงเวียน22กรกฎาคม
และระเบิดลงโรงเรียนเทพศิรินทร์
10 กรกฎาคม พ.ศ.2488
สัมพันธมิตรโจมตีสถานีรถไฟกรุงเทพด้วยระเบิดจากเครื่องบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่2
แต่ระเบิดพลาดไปลงที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์เต็มๆ
อาคารเรียน ตึกแม้นนฤมิตร และตึกโชฏึกเลาหะเศรษฐี(หลังเก่า) พังพินาศ
ภาพจดหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่8 ทรงเขียนจม.ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2489
ถึงนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี
พระราชทานเงินจากบัญชีเงินการพระราชกุศลประเภทพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย เป็นจำนวนเงิน10,000บาทถวายแก่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ บูรณะปฏิสังขรณ์ก่อสร้างอาคารเรียน
เพื่ออนุชนรุ่งหลังจะได้ใช้เป็นสถานศึกษาเล่าเรียนต่อไป
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่8
ปล. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เลขประจำพระองค์ 2329
https://www.facebook.com/Bangkokwanwann/posts/176140200938346
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2021 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

สะพานปรมินทร์ ถ่ายจากเครื่องบินทิ้งระเบิด ขณะถูกโจมตีทิ้งระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24 ด้วยระเบิดขนาด 1000 ปอนด์ ความสูง 300 ฟุต ระหว่างปี พ.ศ. 2485–88 ประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิด หลังจากสงครามสิ้นสุดลงการบูรณะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2496
ธรรมวัฒน์ รัชต์ รัตนวิจารณ์
พุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 12.00 น.

"สะพานปรมินทร์" หรือที่รู้จักกันในชื่อสะพานบ้านดาราเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำน่านในตำบลบ้านดาราอำเภอพิชัยจังหวัดอุตรดิตถ์ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟชุมทางบ้านดาราและอยู่ระหว่างสถานีรถไฟไร่อ้อยและบ้านดารา สะพานปรมินสร้างโดยวิศวกรชาวเยอรมันและถือเป็นสะพานรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 ความยาวรวม: 262 ม. ชื่อของสะพานปรมินทร์ ( Poramin ) มีเอกสารบางเอกสาร และฝรั่งแปลว่า "The Great One Bridge"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระราชพิธีเปิดใช้ในเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2452 บริเวณนี้เดิมที พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรอรถไฟรถจักรไอน้ำ ได้จอดพักเพื่อเติมน้ำเติมฟืนอยู่เป็นเวลานาน พระองค์ได้ทรงตรัสถามพนักงานรถไฟ ว่าที่นี่ที่ไหน ทำไมรถจึงจอดนาน พนักงานรถไฟได้กราบทูลว่าเป็นสถานีเติมน้ำเติมฟืนรถไฟ ยังไม่มีชื่อ เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบ จึงได้พระราชทานนามให้ที่แห่งนี้ว่า "บ้านดารา" ตามพระนามของพระชายาของพระองค์ คือ พระนางดารารัศมี (ปัจจุบันคือ ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์)
สะพานบ้านดารา ถูกโจมตีทิ้งระเบิดครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2487 เป็นเหตุให้หัวสะพานชำรุด รถไฟข้ามไปมาไม่ได้ ช่างของกองบำรุงทางรถไฟได้รีบซ่อมเป็นการด่วน แต่พอวันรุ่งขึ้นเดือนเดียวกัน เครื่องบินของอังกฤษ – อเมริกา ก็มาทิ้งระเบิดซ้ำอีกหลายเครื่อง แต่ลูกระเบิดคราวนี้ที่นำมาใช้ เป็นระเบิดขนาดใหญ่ ทั้งยิงกราดด้วยปืนกล และทิ้งระเบิดซ้ำอีกเป็นเวลานาน เครื่องบินที่ทำการโจมตีครั้งนี้มาด้วยกัน 6 เครื่อง เป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ทุกเครื่อง พยายามโจมตีวันเว้นวันทั้งเพิ่มขนาดร้ายแรงขึ้นทุกเที่ยวที่มา การมาถล่มเฉพาะสะพานปรมินทร์แห่งเดียวรวมได้ประมาณถึง 29 ครั้ง คะเนว่าใช้ลูกบอมบ์ไม่น้อยกว่า 500 – 600 ลูก อย่างไรก็ตามความพยายามในการป้องกันสะพาน ของกองทัพบก ก็ได้ผล มีเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24 ถูกยิงและตกขณะทิ้งระเบิดสะพานแห่งนี้
ในวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2488 คราวนี้มาทิ้งบอมบ์ในเวลาเย็น โดยลูกบอมบ์ขนาดใหญ่ร้อยโซ่เป็นพวงเหวี่ยงลงกลางสะพาน หวังทำลายเป็นครั้งสุดท้ายอย่างสุดฤทธิ์ และก็ได้ผลไม่ผิดหวัง ลูกบอมบ์ขนาดใหญ่ที่ร้อยโซ่เป็นพวงหย่อนลงมานั้น ลงมาโดนเสาสะพานเต็มแรง สะพานเหล็กได้ยุบฮวบลงทันที สะพานพังลงไปในแม่น้ำเป็นบางส่วน ใช้ข้ามไปมาไม่ได้เลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2021 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

ครื่องบินทิ้งระเบิด B-24 ถูกยิงตกหลังทิ้งระเบิดในจังหวัดแพร่"
๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-25 เข้าโจมตีทิ้งระเบิดบริเวณสะพานรถไฟห้วยแม่ต้า จังหวัดแพร่ อีกครั้ง เพื่อตัดเส้นทางขนส่งทางรถไฟของญี่ปุ่น
๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 ส้งกัดฝูงบินที่ ๔๙๒ กองบินที่ ๗ จำนวน ๖ เครื่อง เข้าโจมตีทิ้งระเบิดบริเวณย่านสถานีรถไฟแม่เมาะ จังหวัดลำปาง แม่จาง และสะพานรถไฟ “ห้วยแม่ต้า” จังหวัดแพร่ ขณะโจมตีทิ้งระเบิดสะพานแม่ต้า พลปืนต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.) ที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณสะพานแม่ต้า ใช้ปืนต่อสู้อากาศยานประจำรถถัง แต่ถอดมาตั้งไม่ห่างจากสะพานนัก สามารถยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 หมายเลข ๔๔-๔๐๘๑๑ ตกลงบริเวณแก่งหลวง ลูกเรือทั้ง ๑๑ คน เสียชีวิตทั้งหมด
เล่าเรื่องโดย.... พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ 17 มีนาคม 2564
https://www.facebook.com/photo?fbid=297870725098921&set=a.110309507188378
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2021 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

" FLYING TIGER ถ่ายภาพสนามบินเชียงใหม่ หลังญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทยได้ ๒ วัน"
๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เวลา ๐๓๐๐ เครื่องบินขับไล่ P-40 ๔ เครื่องจากฝูงบินที่ ๒ AVG ขึ้นสกัดกั้นเครื่องบินสองเครื่องยนต์ของญี่ปุ่นแบบ Mitsubishi Ki-46 ที่บินเข้ามาลาดตระเวนเหนือร่างกุ้ง ประทศพม่า แต่เครื่องบินสกัดกั้นไม่สามารถขึ้นสกัดกั้นเครื่องบินที่บินอยู่สูงกว่าได้ จึงกลับมาลงสนามบิน โดยที่ ๑ ใน ๔ ของโทมาฮอว์ค เครื่องได้รับความเสียหายขณะลงสนาม นักบิน Tex Hill ได้รับบาดเจ็บ
ส่วนเครื่องบินลาดตระเวนของญี่ปุ่น (ไม่ปรากฏว่า เป็นของกองทัพบก หรือกองทัพเรือจักรพรรดิ) กลับไปลงสนามบินในประเทศไทย และรายงานการถูกเครื่องบิน ๔ เครื่องขึ้นสกัดกั้น รอบเมืองร่างกุ้ง ทำให้ต้องละภารกิจ
ในขณะเดียวกัน เครื่องบินขับไล่แบบ P-40 (P-8153) ฝูงบิน ๓ AGV (อาสาสมัครอเมริกัน) ในฝูงบิน FLYING TIGER ที่ดัดแปลงเป็นเครื่องบินลาดตระเวนติดกล้องถ่ายภาพ Fairchild ๒๐ นิ้ว (ที่ยืมมาจากกองทัพอากาศอังกฤษ) โดยมี Lacy Mangleburg เป็นนักบิน วิ่งขึ้นจากสนามบินเคดอร์ เมืองตองอู ทำการบินลาดตระเวนถ่ายภาพสนามบินเชียงใหม่ โดยมีเครื่องบินขับไล่จากฝูงบินเดียวกัน ๖ เครื่อง ทำหน้าที่คุ้มกัน ตรวจไม่พบเครื่องบินญี่ปุ่นที่สนามบินเชียงใหม่
เล่าเรื่องโดย.... พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ 17 มีนาคม 2564
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=297842605101733&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13  Next
Page 11 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©