Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271395
ทั้งหมด:13582684
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2022 6:56 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อแก่งคอยไม่ใช่เป็นเพียงทางผ่าน
นั่งรถไฟไปแก่งคอย เรียนรู้และดื่มด่ำเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
11 เม.ย. 2565 กฤตนัน ดิษฐบรรจง JOURNAL, NEWS 0
หลายท่านอาจจะเข้าใจว่าแก่งคอยนั้นเป็นเพียงแค่ทางผ่านสำหรับถนนมิตรภาพไปสู่จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญๆ ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และคงคิดว่าจังหวัดสระบุรีนั้นไม่มีแหล่งท่องเที่ยวให้แวะข้างทางได้ ดีมากที่สุดก็คงแวะไปเข้าห้องน้ำหรือซื้อของฝาก ไม่ก็แวะกินข้าวเติมพลังก่อนเดินทางต่อ ผมก็เคยเป็นหนึ่งคนที่คิดแบบนั้นครับ สมัยเด็กๆ เราก็แวะไปท่องเที่ยวที่ลพบุรี เราก็มักจะแวะสระบุรีเพื่อฉิ่งฉ่อง (เข้าห้องน้ำนั่นแหละ) แล้วก็ผ่านไป บ้างก็กรนหลับเลยจังหวัดนี้

แต่จู่ ๆ วันหนึ่งพี่ตัวดีของผม ก็ส่งข้อความมาทักทาย พร้อมกับถามคำถามว่า “มีทริปไปแก่งคอย ไปไหม?” เราก็เลยถามกลับไปว่า “มันมีอะไรน่าเที่ยวขนาดนั้นเลยเหรอ?” แล้วแกก็หายไปสักพัก กลับมาพร้อมกับคำว่า “มาเถอะ ไปบ่ายเย็นกลับ จองแล้ว เจอกันนะ” การตัดประโยคครั้งนั้นนำมาสู่การที่เราต้องไปแบบงงๆ โดยที่ไม่รู้อะไรเลยว่าเราไปทำไม

บทความนี้จะพาคุณไปสู่คำตอบนี้ด้วยกันครับ
https://www.modernist.life/kaengkhoitrainstation
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2022 10:46 am    Post subject: Reply with quote

โรงรถจักรดีเซล พ.ศ. ๒๔๗๔ ที่ ย่านสถานีกรุงเทพถ่ายเมื่อปี 2489 เป็นเหยื่อลูกระเบิด เมื่อปี 2487 - 88
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=586769692875688&id=100046279876123

อาคารสถานีกรุงเทพปี 2489 เป็นเหยื่อลูกระเบิด เมื่อปี 2487 - 88
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=586769879542336&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2022 11:04 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
21 ธันวาคม 2486: ย่านสถานีเชียงใหม่โดนทิ้งระเบิด คนตาย 300 คน ทำให้ต้องปิดสถานีเชียงใหม่ นอกเหนือจากการเติมน้ำและฟืน และ ขนทหารญี่ปุ่น ตอนสิ้นสงครามจึงเริ่มสร้างใหม่ในปี 2488 แต่ก็ทำอาคารสถานีชั่วคราว พอรองรับผู้โดยสาร รถรวม ลำปาง - เชียงใหม่ และ รถด่วนสายเหนือ ที่ขึ้นมาถึงเชียงใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2489 กว่าจะเปิดอาคารใหม่ได้ก็ปี 2491 https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=410264470526212&id=100046279876123


"สถานีรถไฟเชียงใหม่ ถูกโจมตีทิ้งระเบิด"
เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเส้นทางผ่านของกองทัพญี่ปุ่น ในการเดินทัพไปยังพม่า โดยส่วนใหญ่ใช้การขนส่งทางรถไฟ เนื่องจากทางรถยนต์สมัยก่อน ต้องอ้อมไปทางอำเภอจอมทอง เชียงใหม่ มีทั้งสนามบิน ทางรถไฟ จึงเป็นเป้าหมายหนึ่งในการโจมตีทางอากาศ โดยมีฝูงบินดังๆ มั่นหมุนเวียนมาเยี่ยมเยียนเป็นประจำ โดยเฉพาะ "เสือบิน" ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังนี้ ถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดพังพินาศไปพร้อมกับชีวิตคนนับร้อย รวมทั้งอาคารบ้านเรือน โกดังเก็บสินค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงราบเรียบไปหมดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2486 หลังจากสถานีเชียงใหม่ถูกระเบิด ทางราชการต้องประกาศงดใช้สถานีรถไฟแห่งนี้ไปหลายปี ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟต้องไปขึ้นลงที่สถานีป่าเส้า จังหวัดลำพูนแทน ต่อมาเมื่อสงครามสงบแล้วจึงได้สร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่ในที่เดิมในปี พ.ศ. 2488 และเปิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
สถานีรถไฟเชียงใหม่ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464 โดยเส้นทางช่วงปางยาง - อุโมงค์ขุนตาน - เชียงใหม ซึ่งมีระยะทาง 72 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
หลังจากที่ทางรถไฟสายเหนือสร้างมาถึงเชียงใหม่ ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพขึ้นมาเชียงใหม่ใช้เวลาไม่นานเหมือนแต่ก่อน ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้บริการของรถไฟจึงทำให้แต่ละขบวนแออัดไปด้วยผู้โดยสาร จนบางครั้งต้องออกแรงปีนขึ้นไปนั่งบนหลังคาก็มี หลังจากนั้นทางมณฑลพายัพจึงได้สร้างสถานีรถไฟประจำเชียงใหม่ขึ้น ชาวบ้านเรียกสถานีนี้ว่า “สถานีป๋ายราง” หมายถึงที่สิ้นสุดของรางรถไฟ หลังการก่อสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่เสร็จก็ได้มีพิธีเปิดทำการเดินรถไฟสายเหนือขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464
อาคารสถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรก สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ถือได้ว่าเป็นอาคารที่สวยงามมาก เพราะเป็นประตูผ่านเข้าออกระหว่างเชียงใหม่กับต่างจังหวัดที่มีคนใช้กันมากที่สุด สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรกนี้เคยถูกใช้เป็นที่รับเสด็จ ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=586769139542410&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2022 10:46 am    Post subject: Reply with quote

ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
4 พฤศจิกายน 2560
·
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อำเภอท่าเรือ ก็เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญอย่างมากที่ทหารญี่ปุ่นคำนำถึงและต้องควบคุมไว้ให้ได้ เพราะเป็นที่ตั้งของเขื่อนพระรามหกที่กั้นแม่น้ำป่าสักมีทางรถไฟสายเหนือวิ่งผ่านอำเภอท่าเรือมีสะพานจักรีเป็นสะพานรถไฟ ข้ามแม่น้ำป่าสัก และเป็นที่ตั้งของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด
ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาควบคุมจุดยุทธศาสตร์เหล่านี้โดยตั้งค่ายอยู่ที่ โค้งแม่น้ำป่าสักตรงข้ามกับท่าเกย(วัดไม้รวก) อำเภอท่าเรือ ตรงบริเวณสวนยายแปลก(ปัจจุบันเป็นสวนของคุณสำรวย กองวารี) และส่งกำลังไปควบคุมสถานีรถไฟ สะพานรถไฟ เขื่อนพระรามหก และโรงงานปูนซิเมนต์ท่าหลวง โดยทางฝ่ายญี่ปุ่นยินยอมให้กองกำลังทหารไทยอยู่ร่วมด้วยแถวๆ วัดไม้รวก วัดสฎางค์ วัดนางคุ่ม วัดแค ฯลฯ ถึงปี พ.ศ. 2487 ทหารของฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มนำเครื่องบินทิ้งระเบิดมาถล่ม ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบ 4 เครื่องยนต์ มาครั้งละประมาณ 5 – 6 ลำ เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของทหารญี่ปุ่นโดยในช่วงแรกจะมาเพียงลำเดียวก่อน แถมยังกราดปืนกลลงมายังพื้นดินอีกด้วย คล้ายกับว่าจะให้ชาวบ้านหลบลงหลุมหลบภัยก่อนที่จะทำการทิ้งระเบิด
เครื่องบินที่ทำการทิ้งระเบิดก็จะตามมาระเบิดกันอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านร้านตลาดต่างตกใจขวัญหนีดีฝ่อไปตามๆ กัน ต่างหาที่หลบภัยกันอย่างโกลาหล เครื่องบินจะบินวนเวียนทิ้งระเบิดหลายรอบ เป้าหมายคือสะพานจักรี ตลาดก็มืดมิดผู้คนตกใจและหวาดกลัวกันมาก
เดิมร่องรอยของการทิ้งระเบิดใส่สะพานจักรี มีให้เห็นตลอดสองข้างทางรถไฟเป็นแนวยาว และที่ตรงบริเวณแถวหน้าวัดหนองแห้ว
ส่วนริมทางรถไฟฝั่งตรงกันข้าม (ปัจจุบันเป็นถนนข้างโรงงานอาหารสัตว์แหลมทอง) เป็นแอ่งบริเวณกว้างชาวบ้านเรียกว่า “บ่อญี่ปุ่น” ภายหลังบ่อดังกล่าวได้ถูกถมเพื่อทำถนนเลียบทางรถไฟทั้งสองฝั่ง และเมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้มีการพบลูกระเบิดขนาดใหญ่ยังไม่ระเบิดใต้แม่น้ำป่าสักใกล้สะพานจักรี โดยชาวบ้านไปทอดแหหาปลาและได้ติดเอาระเบิดดังกล่าวเข้าทางการทหารจึงได้กู้ ระเบิดขึ้นมาผลการตรวจปรากฏว่าระเบิดดังกล่าวยังมีอานุภาพทำลายได้ จึงได้นำไปเก็บไว้ที่คลังแสง
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1911643218850540/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2022 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

โรงงานมักกะสัน ถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 5 ครั้ง
ดังนี้.-
✈💣ครั้งที่ 1 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2487 เวลา 23.00 น.
เครื่องบินจากสนามบินแคนดี้ ซีลอน จำนวนหลายเครื่อง ทิ้งลูกระเบิดโรงงานมักกะสันได้รับความเสียหายมาก สัญญาณปลอดภัยดังเวลา 02.00 น.เศษ
✈💣ครั้งที่ 2 วันที่ 5 มิถุนายน 2487 เวลา 11.00 -13.00 น.
เครื่องบินประมาณ 50 เครื่อง ทะยอยเข้าโจมตีพระนครอย่างหนัก โรงงานมักกะสันถูกทิ้งระเบิดในครั้งนี้ด้วย ได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น
✈💣ครั้งที่ 3 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2487 เวลา 21.00 น.เศษ
เครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ จำนวนหลายเครื่อง ทิ้งลูกระเบิดทำลายโรงงานมักกะสันพังยับเยิน สัญญาณปลอดภัยดัง เวลา 01.00 น. เป็นการถูกต้องที่กรมรถไฟได้สั่งย้ายวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ออกไปจากโรงงานก่อนแล้ว
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2487 เวลา 02.30 น.
เครื่องบิน 4 เครื่องยนต์อีก 1 ชุด มาถ่ายภาพโรงงานมักกะสันขณะถูกไฟไหม้
✈💣ครั้งที่ 4 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2487 เวลา 10.00 น.
เครื่องบินประมาณ 50 เครื่อง ทะยอยเข้าโจมตีพระนคร และทิ้งระเบิดโรงงานมักกะสันซ้ำเติม
✈💣ครั้งที่ 5 วันที่ 2-3 มีนาคม 2488 เวลา 00.25 - 02.25 น.
เครื่องบิน B24 จำนวนมากทิ้งระเบิดโรงงานมักกะสัน เกิดไฟไหม้อาคารที่เหลืออยู่
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/8201948203152506
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2022 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพมุมกว้างของสะพานข้ามแม่น้ำแควในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1943
สะพานท่ามะขามหรือสะพานข้ามแม่น้ำแคว ชื่อรหัสที่นักบินสหรัฐและอังกฤษต่างเรียกสะพานนี้ว่า สะพานหมายเลข 277
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=546677906930944&id=110480247217381
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2022 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

การทิ้งระเบิดเส้นทางรถไฟไปยังจังหวัดระนอง ณ บ้านนาเนียน จังหวัดชุมพร ทางรถไฟที่คนปัจจุบันอาจจะไม่รู้จัก เป็นเส้นทางรถไฟที่แยกออกจากชุมพร ไปยังระนอง ตามเส้นทางคลองคอคอดกะ เพื่อขนส่งทหารและยุทโธปกรณ์ทางทหารจากฝั่งอ่าวไทย ไปยังฝั่งอันดามัน ซึ่งต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงคราม ทางสายนี้ถูกรื้ออกทั้งหมด และขายให้การรถไฟ ในการใช้ไปก่อสร้างทางรถไฟสายอื่นๆ และอังกฤษมีข้อแม้กับไทยว่า ต้องห้ามสร้างทางรถไฟสายนี้ ซึ่งเป็๋นที่ทราบดีว่า หากยังมีทางรถไฟสายนี้ จนถึงปัจจุบันที่ผ่านมากว่า 70 ปีนี้ จะมีผลกระทบกับการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ของอังกฤษ เป็นอย่างมาก เป้าหมายการทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศอังกฤษ สำหรับในภาพชุดนี้ คือ สถานีรถไฟชุมพร สะพานทางรถไฟ และเส้นทางจากชุมพร - ระนอง โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟในสายดังกล่าว เป็นเป้าหมายสำคัญในการทิ้งระเบิด ทั้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มาจากเกาะในมหาสมุทรอินเดีย จากในอินเดีย พม่า แและเครื่องบินขับไล่ของอังกฤษ จากเรือบรรทุกเครื่องบินที่ลอยลำอยู่ในอ่าวเบงกอน
ภาพและข้อมูลจาก The Australian War Memorial

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=594997555386235&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2022 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

10 กรกฎาคม พ.ศ.2488
.
สัมพันธมิตรโจมตีสถานีรถไฟกรุงเทพด้วยระเบิดจากเครื่องบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่2
.
.
แต่ระเบิดพลาดไปลงที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์เต็มๆ อาคารเรียน ตึกแม้นนฤมิตร และตึกโชฏึกเลาหะเศรษฐี(หลังเก่า) พังพินาศ
.
ถวิลหาวันวาน Past memories
https://www.facebook.com/groups/132481274010271/posts/1085190365406019/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13
Page 13 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©