Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263993
ทั้งหมด:13575276
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2006 12:03 am    Post subject: Reply with quote

พฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2487 เวลา 0935 เครื่องบินข้าศึกถล่มกรุงเทพ เปิดหวอไม่ทันเครื่องบิน ทำให้มีคนตาย 71 คน บาดเจ็บ 75 คน ส่วนการอพยพชาวบ้านนั้น เน้นความสมัครใจไปอยู่บ้านญาติในชนบทเป็นหลัก แต่ถ้าเหตุการณ์คับขัน ก็ต้องบังคับอพยพ

เสาร์ที่ 2 - อาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2487 เครื่องบินทึ้งระเปิดถล่มพระนคร ตั้งแต่ดึกๆ จนรุ่งเช้า ก็ยังมีเสียงระเบิด ทำให้ชาวบ้านที่มุงดูบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก

พฤหัสบดีที่ 2 มกราคม2488 เวลา 1000 เครื่องบินข้าศึกหลายสิบลำถล่มพระนคร และสะพานพระราม 6 แต่ชาวบ้านยังมุงดูเครื่องบินอย่างไม่กลัวตาย ....
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2006 12:02 pm    Post subject: Reply with quote

22 ธันวาคม 2484 เวลา 2155 เครื่องบินอังกฤษ ทิ้งระเบิด สงขลา ชุมพร นครศรีธรรมราช และ สุราษฎร์ธานี

23 ธันวาคม 2484 เวลา 2000 เครื่องบินข้าศึกโจมตีชุมพร

24 ธันวาคม 2484 เวลา 1700 เครื่องบินข้าศึกบินจากเมาะตะมะ ( เมาะลำเลิง ) ข้ามเขาตะนาวศรี โจมตีขบวนรถรวม 61/62 ( เพชรบุรี - ชุมพร ) เพราะขณะนั้น มีการขนทหารญี่ปุ่นจากบางซื่อ ไปประจวบคีรีขันธ์ เพื่อโจมตีพม่า ผ่านทางด่านสิงขร ซึ่งการโจมตีเช่นนี้มีทุกวัน พอญี่ปุ่นรุกเข้าพม่าได้ ก็หยุดโจมตี

8 มกราคม 2485 เวลา 0200 เครื่องบินข้าศึกทิ้งระเบิด ทำให้เกิดไฟไหม้ 2 แห่ง ที่เยาวราช และโรงไม้กระดาน เสียหาย 5 - 6 แห่ง เช่นที่ สะพานเจริญสวัสดิ์ โดน 3 ลูก ด้าน 1 ลูก , กระทรวงมหาดไทย, ตึก 7 ชั้นเยาวราช
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2006 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

24 เมษายน 2487 สะพานบ้านดาราโดนทิ้งระเบิดเสียหาย ต้องถ่ายคนลง

25 เมษายน 2487 เครื่องบินมาโจมตีสะพานบ้านดาราซ้ำ ทำให้ช่างที่ซ่อมสะพานบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก

3 พฤษภาคม 2487 เวลา 0920 เครื่องบินข้าศึก 20 ลำ ทิ้งระเบิดค่ายทหารญี่ปุ่นที่บ้านโป่ง
เวลา 0930 เครื่องบินข้าศึกบินไปถล่มค่ายทหารญี่ปุ่นที่หนองปลาดุก

7 พฤษภาคม 2487 เวลา 1000 เครื่องบินข้าศึกถล่มค่ายทหารญี่ปุ่นที่พระโขนง

7 กันยายน 2487 เวลา 0200 เศษ - 0400 ถล่มค่ายทหารญี่ปุ่นเป็นคำรบ 2 เกิดไฟไหม้ทั้งค่าย เชลยตาย 300 ทหารญี่ปุ่นตาย 200 คนไทยตาย 200 ไฟไหม้เป้นบริเวณกว้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2007 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

8 ธันวาคม 2486 แปรสภาพกรมรถไฟ เป็น กรมรถไฟทหาร ขึ้นกับกองบัญชาการทหารสูงสุด มีพลโท มังกร พรหมโยธีเป็นเจ้ากรมรถไฟทหาร

30 ตุลาคม 2488 กองบัญชาการสันติ้ภาพ ให้เลิกคำสั่งตั้งกรมรถไฟทหาร โดยให้กลับมาเป็นกรมรถไฟตามเดิม

1 พฤษภาคม 2491 กฤษฎีกาสร้างทางรถไฟ หนองเต่า - เขาทับควายเพื่อขนแร่เหล็กให้บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2007 7:27 pm    Post subject: รายงานสงครามมหาเอเซียบูรพา Reply with quote

25 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่น ยึดบ้านพักสารวัตรบำรุงทางชุมพร พนักงานแผนที่ และบ้านพักนักเรียนฝึกหัดช่างไว้ ตอนนี้เหตุการณ์คลี่คลายไปมากแล้ว ให้มานอนพักที่โรงแรมรถไฟชุมพรได้ เพราะมีห้องว่างให้พักอยู่

17 มีนาคม 2485 กองทัพญี่ปุ่น ได้กักรถบรรทุกของ กรมรถไฟ ถึง 1,358 คัน โดยเอาไปทิ้งที่แคว้นยะโฮร์ ขณะนี้มีรถพ่วงที่ใช้งานได้เพียง3,000 กว่าคัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเสียหายมาก เพราะ รถหายไปถึง 1 ใน 3 ซึ่งรายละเอียดการหายมีดังนี้

ออกไปทางสุไหงโกลค - รถ ตญ. 50 หลัง รถ ขต. 20 หลัง รวม 70 หลัง
ออกไปทางปาดังเบซาร์ - รถ ตญ. 654 หลัง รถ ขต. 358 หลัง รถ ถค. 115 หลัง รถ ขส. 39 หลัง รถ พห. 38 หลัง รถ รส. 32 หลัง รถ รก. 21 หลัง รฟ. 3 หลัง รล. 1 หลัง บขถ. 12 หลัง บขส. 5 หลัง บตญ. 1 หลัง บชส. 9 หลัง รวม 1,288 หลัง

6 - 16 กุมภาพันธ์ 2485 เจ้าหน้าที่กรมรถไฟ ที่ลงไปกับรถด่วนสายใต้รายงานมาว่า ที่ปาดังเบซาร์ ทหารญี่ปุ่นเดินรถเปล่าระหว่าง สถานีสงขลา - หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ โดยไม่ออกตั๋วคูปองให้ถูกต้อง ถามเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้ความ

ระหว่างทางไปเมืองไปร ได้หลีกกับขบวนรถสินค้าขึ้นเหนือ ที่สถานีปาดังเบซาร์ บูกิต เกรตรี อาเราะ เกเดียว คุรบัง กูรุน บูกิตเมตายัม

ที่อาลอสตาร์ได้พบรถไม้คู่ และรถโบกี้ข้างโถงของ รฟท. จอดที่ย่าน 30 หลังแลบะรถอื่นๆ อีก 200 กว่าหลัง อยากให้ญี่ปุ่นส่งรถคืนมากรุงเทพฯ โดยด่วน

11 เมษายน 2485 กรมรถไฟแจ้งว่า ให้ญี่ปุ่นยืมแท่นเลื่อน (Traverser) ปั้นจั่น และ กรรมกร ของกองพัสดุสถานีแม่น้ำ (Railway Wharf) ยังไม่ได้รับคืนมาเลย ให้กรมกระสานงานพันธมิตรแจ้งให้ญี่ปุ่นทราบด้วย

23 พฤษภาคม 2485 นายสถานีจันทึก พบวัตถุระเบิด 100 หีบของกองทัพญี่ปุ่น ซุกมากับรถ ตญ. 358 ที่มากับกระบวนรถสินค้า 221 ( แก่งคอย - นครราชสีมา ) ที่มาขนหญ้าสำหรับเลี้ยงม้า ตรวจสอบพบว่าเป็นรถ ตญ. ที่มาจากทางสายใต้ สันนิษฐานว่า ทหารญี่ปุ่นลืมระเบิดไว้ จึงแจ้งให้กรมประสานงานสัมพันธมิตรรับทราบ เพื่อ ให้หน่วยทหารญี่ปุ่นนำระเบิดกลับไป

26 พฤษภาคม 2485 เวลา 1700 ทหารญี่ปุ่นรุมทุบตี นายฉัตร์ พนักงานขับรถจักร และ นายพุฒ คนการโรงรถจักรหาดใหญ่ ขณะทำขบวน จากสุไหงโกลก ไปหาดใหญ่ เมื่อรถจอดที่หาดใหญ่ ก็รุมทุบตีซ้ำอีก จน 1730 ก็ยังไม่ยอมหยุดทุบตี

28 พฤษภาคม 2485 แม้กรมรถไฟสร้างหลีกรางตันใหม่ ( รางที่ 6 ) ให้ทหารญี่ปุ่น แต่ทหารญี่ปุ่นไม่ต้องการใช้ในขณะนี้

31 พฤษภาคม 2485 รถบรรทุก รฟท. ( RSR ) ตกค้างในเขต รฟสม. ( FMSR ) จำนวน 495 หลัง จากด้านปาดังเบซาร์ 492 หลัง ด้านสุไหงโกลค 3 หลัง เป็น ตญ. 257 หลัง ขต. 144 หลัง รส. 27 หลัง นอกนั้น รถอื่นๆ นับว่าลดไปได้จากเดิมอีก 72 หลัง

พฤษภาคม 2485 ห่อบรรจุย่ามทหารญี่ปุ่น 2 ห่อ มีย่ามห่อละ 100 ใบที่ขนจากเรือลำเลียงขึ้นรถบรรทุกที่ สถานีท่าเรือ โดนกรีด และเจาะรูรถบรรทุก ทำให้ตกเรี่ยราดตามทาง จนต้องตามเก็บรายทางส่งหน่วยคุรุภัณฑ์ และแจ้งให้ทางญี่ปุ่นไปรับคืน ( แจ้งเพื่อทราบเมื่อ 5 มิถุนายน 2485 )

21 มิถุนายน 2485 ร้อยโทนิชิดา ขอยืมรถพ่วงบรรทุก 175 หลังขนสัมภาระ จากกรุงเทพ พิษณุโลก และ สวรรคโลก ไปมลายู

ตอนนี้ รถพ่วงไทยตกค้างในแดนมลายู 190 หลัง ( นับจากวันที่ 17 มิถุนายน 2485 ) ขณะที่กองเดินรถได้รายงานขึ้นมาเมื้อวันที่ 7 มิถุนายน 2485 ว่า รถพ่วงไทยตกค้างแดนมลายูถึง 800 กว่าหลัง ... น่าสงสัยมากที่ตัวเลขผิดกันไกล

22 มิถุนายน 2485 ให้ออกคูปอง และบัตรกระบวนรถโดยสาร และ รถสินค้า โดยพิมพ์เป็นภาษาไทย และภาษาญี่ปุ่น โดยอ้างอิงหลักฐานกรมรถไฟเป็นหลัก

8 กรกฎาคม 2485 ญี่ปุ่นขอรถ 49 หลัง กรมรถไฟจัดให้ได้เพียง 28หลัง

11 กรกฎาคม 2485 ญี่ปุ่นเห็นใจว่ากรมรถไฟมีรถไม่พอใช้

( โปรดติดตามตอนต่อไป )


Last edited by Wisarut on 05/02/2007 9:19 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2007 9:10 am    Post subject: Reply with quote

8 กรกฎาคม 2485 เริ่มจัดกระบวนรถพิเศษให้ทหารญี่ปุ่น ที่เดินทุกวันดังนี้
1) รถขบวน 2034 ไสวดอนแก้ว - กรุงเทพ (ไ.ก. - ก.ท.) ใช้รถพ่วงอินโดจีน ประกอบด้วย 11 MM. + 1 G. (11 บขต. + 1 ตญ.)
2) รถขบวน 2033 บางซื่อ - ไสวดอนแก้ว (บ.ซ. - ไ.ก.) [ต้นฉบับว่า [บ.ซง] ใช้รถพ่วงอินโดจีน ประกอบด้วย
2 GG + 2G+1HH + 6 M + K + 1ABC (2 บตญ. + 2 ตญ. + 1 บขส. + 6 ขต. + พห. + บทช.)
3) รถขบวน 2037(1) บางกอกน้อย - หาดใหญ่ (ก.น. - ห.ไ. -> ยุคอักขระวิบัติ) ใช้รถพ่วงมลายู 1MBCG + 20 MCG + 1 พห. ไทย
ซึ่งขบวนนี้ต้องก่ารรถเปล่า เวลา 1400 ของ วันที่ 8 กรกฎาคม 2485
รถขบวน 2037(2) บางกอกน้อย- หาดใหญ่ (ก.น. - ห.ไ. -> ยุคอักขระวิบัติ -> ต้นฉบับใช้ บ.ก. ซึ่งเป็นตัวย่อของสถานีบ้านกลับซึ่งไม่น่า
จะสำคัญ) ใช้รถพ่วงมลายู 2MCG ขนข้าวสารไปมลายูและภาคใต้ด้วย
รถขบวน 2037(3) ราชบุรี - หาดใหญ่ (ร.ร. - ห.ไ. -> ยุคอักขระวิบัติ) ใช้รถพ่วงมลายู 1MCG ขนข้าวสารไปมลายูและภาคใต้ด้วย
รถขบวน 2037(4) ท่าเรือ - หาดใหญ่ (ท่าเรือ - ห.ไ.-> ยุคอักขระวิบัติ ) ใช้รถพ่วงไทย 5 ตญ. + 3 ช.ส. พ่วงไปกระกระบวนรถ 255
เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2485
รถขบวน 2037(5) กรุงเทพ - บ้านโป่ง (กท. - โ.ป.) รถพ่วงไทย 3 ขต. พ่วงไปกับกระบวนรถ 255 เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2485
4) รถขบวน 2039(1) ท่าเรือ - หาดใหญ่ (ท่าเรือ - ห.ไ.-> ยุคอักขระวิบัติ ) ใช้รถพ่วงมลายู 4 MLS + 1 MBFW พ่วงไปกับกระบวนรถ 255
เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2485
รถขบวน 2039(2) บางซื่อ - หาดใหญ่ (บ.ซ. - ห.ไ. -> ยุคอักขระวิบัติ) ใช้รถพ่วงไทย 4 ต.ญ. บรรทุกข้าว
รถขบวน 2039(3) บางกอกน้อย- หาดใหญ่ (ก.น. - ห.ไ. -> ยุคอักขระวิบัติ) ใช้รถพ่วงมลายู 15 MCG + 1 พ.ห. ไทย ต้องการรถเปล่า
เวลา 0600 วันที่ 9 กรกฎาคม 2485
รถขบวน 2039(4) มักกะสัน - หนองปลาดุก (ม.ส. - ป.ด.) ใช้รถพ่วงมลายู 5 MBHS พ่วงไปกับกระบวนรถ 255 เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2485
5) รถขบวน 241 กรุงเทพ - หาดใหญ่ (ก.ท. - ห.ไ.) ใช้รถ มลายู 9 MCW + 1 MBCG + 1 บชส. ไทย + 7 ต.ญ. ไทย + 1 พ.ห. ไทย
ต้องการรถเปล่า เวลา0800 วันที่ 9 กรกฎาคม 2485
6) บางซื่อ - ปากน้ำโพ (บ.ซ. - ป.พ.) ใช้รถพ่วงไทย 8 ตญ. ต้องการรถเปล่าเวลา 1400 วันที่ 8 กรกฎาคม 2485 โดยส่งไปกะรถ 201
7) พิษณุโลก - บางซื่อ (พ.ล. - บ.ซ.) ใช้รถพ่วงไทย 13 ตญ. ต้องการรถเปล่าวันที่ 10 กรกฎาคม 2485 โดยส่งไปกะรถ 1042

10 กรกฎาคม 2485 ได้มีการจัดกระบวนรถดังนี้
1) รถขบวน 2034 ไสวดอนแก้ว - กรุงเทพ (ไ.ก. - ก.ท.) ใช้รถพ่วงอินโดจีน ประกอบด้วย 1D + 6GG + 1 G + 4 ตญ. ไทย
2) รถขบวน 2037 บางกอกน้อย - หาดใหญ่ (ก.น. - ห.ไ. -> ยุคอักขระวิบัติ)ใช้รถพ่วงมลายู 18 MCG + 5 MCW + 1 MBCN + 1 พ.ห. ไทย
ต้องการรถเปล่าเวลา 1600 วันที่ 9 กรกฎาคม 2485
3) รถขบวน 2039(1) บางกอกน้อย - หาดใหญ่ (ก.น. - ห.ไ. -> ยุคอักขระวิบัติ)ใช้รถพ่วงมลายู 1MBMT + 2 MCW + 5 MCG + 1 พ.ห.ไทย
รถขบวน 2039(2) ทางแยก ABC - หาดใหญ่ (ทางแยก ไปสงขลา - สุไหงโกลค - ปาดังเบซาร์) มี 5 MBHS ให้เตรียมรถเปล่า เวลา 1500
วันที่ 9 กรกฏาคม 2485 และให้ส่งกลับ 10 ก.ค. 2485 ด้วยรถ 251
4) รถขบวน 241 (1) บางซื่อ - หาดใหญ่ ใช้รถพ่วงญี่ปุ่น มี 2NH + 7 NF + 6NL + 4 NK ต้กงการรถเปล่าเวลฃา 1000 จของ 10 กรกฎาคม 2485
รถขบวน 241 (2) บางซื่อ - หาดใหญ่ รถไทย - 1 บสบ. + 1 บพห.

ปลีกย่อย บางซื่อ - เชียงใหม่ (บ.ซ. - ช.ม.) รถพ่วงไทย 1 ตญ. ต้องการรถเปล่าเวลา 1000 วันที่ 10 กรกฎาคม 2485 ส่งไปกับรถ 201
ปลีกยอ่ย พิษณุโลก - ปากน้ำโพ (พ.ล. - ป.พ.) รถพ่วงไทย 25 ต.ญ. รถเปล่าส่งมากับขบวน 1041 วันที่ 10 กรกฎษคม 2485 และส่งกลับโดย
รถขบวน 1038 วันที่ 11 กรกฎาคม 2485
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2007 9:16 am    Post subject: Reply with quote

4 กรกฎาคม 2485 นายทวี บุญเกตุ เลขาธิการรัฐมนตรี ได้แจ้งว่า กรมรถไฟสามารถจัดเดินกระบวนรถพิเศษผ่านแดนมลายูให้กองทัพญี่ปุ่น วันละ 3 เที่ยว ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ได้เพียงสิ้นเดือนสิงหาคม 2485 หลังจากนั้น ต้องลดเที่ยววิ่งลงเหลือวันละ 2 เที่ยวเพราะจะไม่มีรถขนข้าว และผู้โดยสาร

14 สิงหาคม 2485 ร้อยโทยามากี ได้แจ้งให้ทางกรมประสานงานพันธมิตรได้ทราบว่า สามารถแจ้งจำนวนตามชนิดของรถพ่วงไทย ที่ตกค้างในเขตต์มลายู แต่ถ้าจะให้แจงละเอียดถึงเลขประจำรถ ต้องรอวันที่ 15 สิงหาคม 2485 หรือไม่ก็วันจันทร์
เท่าที่สำรวจได้ความว่า รถบรรทุกไทยที่ตกค้างในแดนมลายูเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2485 มีดังนี้

ข.ต. 24 หลัง มี 9 หลังชำรุดเล็กน้อย พอซ่อมได้
บ.ข.ก. 2 หลัง มี 1 หลังชำรุดเล็กน้อย พอซ่อมได้
ร.ก. 2 หลังชำรุดมาก ซ่อมไม่ได้ทั้ง 2 หลัง
ร.ส. 2 หลังมี 1 หลังชำรุดเล็กน้อย พอซ่อมได้
พ.ห. 2 หลัง
ต.ญ. 49 หลัง มี 2 หลังชำรุดเล็กน้อย พอซ่อมได้ และมี 3 หลังชำรุดมาก ซ่อมไม่ได้

22 สิงหาคม 2485 กรมรถไฟ ได้พ่วงรถโบกี้โดยสารสำหรับนายทหารญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ให้แก่รถด่วนสายใต้ เพื่อไม่ให้นายทหารญี่ปุ่นออกไปเมา และเกเรเกะกะระรานผู้โดยสารท่านอื่น นอกเหนือจากการรับประทานอาหารตู้เสบียง

22 กันยายน 2485 กรมรถไฟแจ้งว่า รถบรรทุกไทยที่ตกค้างในแดนมลายู มีถึง 730 คัน แต่ญี่ปุ่นแจ้งว่า ตกค้างเพียง 81 คัน ตัวเลขผิดกัน 649 คัน โดยที่ทางสารวัตรเดินรถหาดใหญ่ ได้รายงานกรมรถไฟว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2485 มีรถบรรทุกตกค้างถึง 496 คัน ต้องส่งเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ ไปไต่สวนว่า รถตกค้างจริงเท่าไหร่แน่

งานนี้จอมพลป. บ่นมาว่า

Quote:
"ฉันไม่เข้าใจว่า กรมรถไฟไม่ทราบว่ารถไฟอยู่ที่ไหน ขอให้วางระเบียบโดยรัฐมนตรีคมนาคม - ต้องให้ทราบโดยทั่วกัน"



28 กันยายน 2485 อนุกรรมการรถไฟได้แจ้งให้ ทางญ่ปุ่นทราบว่าญี่ปุ่นได้ยืมโรงซ่อมรถโดยสารโรงงานมักกะสันไปใช้งาน เมื่อใช้เสร็งแล้วไม่ทำการคืนให้เรียบร้อยทำให้เจ้าหน้าที่โรงงานมักกะสันไม่สามารถเข้าทำงานได้เพราะมีรถจักรขวางลำ ตั้ง 4 หัว ขอให้ญี่ปุ่นไปจัดการมอบพื้นที่ให้เรียบร้อย
นายโอโตว่า ได้ชี้แจงว่า จะจัดการส่งมอบให้เรียบร้อยในอีก 2-3 วัน ซึ่งเรื่องนี้ จอมพล ป. ได้กล่าวชมว่าจัดการเรื่องได้เรียบร้อยดี

17 ตุลาคม 2485 กรมรถไฟได้แจ้งว่าทหารญี่ปุ่นกินเหล่าเมามาย และทำหยาบคายต่อผู้โดยสาร รถไฟด่วนสายใต้ ให้ตักเตือนด้วย
นอกจากนี้เมื่อรถด่วนสายใต้มาถึงปลายทาง พวกเครื่องทองเปลืองที่เป้นราวแขวนเสื้อแขวนหมวกมักโดนงัดแงะหายเป็นประจำ ให้ คนรถไฟจัดการ ปิดประตูหน้าต่างทุกบานอย่างแน่นหนา ก่อนทำขบวนกลับกรุงเทพ

19 พฤศจิกายน 2485 สารวัตรเดินรถแจ้งว่า รถตกค้างที่ปาดังเบซาร์ 375 คันตามรายการต่อไปนี้
ตญ. 214 หลัง
ขต. 120 หลัง
ถค. 17 หลัง
รส. 12 หลัง
รก. 4 หลัง
ขส. 3 หลัง
บห. 4 หลัง
บขก. 1 หลัง

23 พฤศจิกายน 2485 ได้ให้เลิกเดินรถพิเศษ 2039 (หนองปลาดุก - ปราน) ทำให้กรมรถไฟไม่พอใจเพราะเดี๋ยวเดินเดี๋ยวหยุดโดยไม่ขอความเห็นชอบจากกรมรถไฟถือว่าเสียหายมาก จต่อไปให้พิจารณาให้รอบคอบกว่านี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2007 9:20 am    Post subject: Reply with quote

3กุมภาพันธ์ 2486 ร้อยตรี โยชิมา ขอให้กรมรถไฟจัดกระบวนรถขนวัตถุระเบิด 70 หลัง จากกรุงเทพ ไปมลายู โดยไว้ระเบิด 20หลัง หลังละ 5 ลูก ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2486

กรมรถไฟแจ้งว่าต้องใช้รถ ตญ.บรรทุกระเบิด และพ่วงได้ไม่เกิน 5 ตู้ และ ต้องหารถ ขต. มากั้นระหว่างตู้ระเบิด 3 หลัง

ญี่ปุ่นยินยันว่าจะขนย้ายตามแบบที่ญี่ปุ่นต้องการพร้อมยินดีชดใช้ค่าเสียหายที่จะเกิดจากการขนระเบิดแบบนั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2007 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

2 มีนาคม 2486 ระหว่างประชุมกรมประสานงานพันธมิตร มีรายงานจากกรมรถไฟลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2486 ความว่า

Quote:
29 มกราคม 2485 กรมรถไฟได้แจ้งให้เศรษฐการทราบว่าต้องการสั่งซื้อปลอกล้อ 250 ปลอก จากญี่ปุ่นผ่านทางบริษัทมิตซุยบุซซันไกชา และ ให้นายวนิช ปานะนนท์ (ข้าราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐการ) เป็นผู้ประสานงาน - เพราะปลอกล้อใกล้ขาดมือแล้ว

4 กุมภาพันธ์ 2485 ได้อนุมัติให้บริษัทมิตซุยบุซซันไกชาจัดหาปลอกล้อให้กรมรถไฟ โดยทางญี่ปุ่นแจ้งให้กระทรวงเศรษฐการทราบว่า อนุมัตได้ผลิตได้เพียง 210 ปลอก ตามรายการต่อไปนี้

ปลอกล้อรถจักร 209 (ฮาโนแมกล้อโมกุล) ขนาด S/M 999 - 1 สั่ง 50 ปลอก อนุมัติ 24 ปลอก
ปลอกล้อรถจักรแปซิฟิก (บอลด์วินแปซิฟิก) ขนาด S/M 2116 - 2 สั่ง 50 ปลอก อนุมัติ 50 ปลอก
ปลอกล้อรถจักรแปซิฟิก (ฮาโนแมกแปซิฟิก) ขนาด S/M 2157 - 2 สั่ง 100 ปลอก อนุมัติ 100 ปลอก
ปลอกล้อรถจักรสวิส (สวิสคอนโซลิเดต) ขนาด S/M 2116 - 1 สั่ง 50 ปลอก อนุมัติ 26 ปลอก

4 เมษายน 2485 ได้รับปลอกล้อรถจักรแปซิฟิก (บอลด์วินแปซิฟิก) ขนาด S/M 2116 - 2 มา 50 ปลอก แต่ผิดขนาดไป 3 มิลลิเมตรเลยส่งคืน

ส่วนปลอกล้อที่เหลือจนป่านนี้ยังไมมีการส่งมาให้กรมรถไฟเลย
เรื่องนี้เสียหายมากทีเดียว เพราะจะทำให้กรมรถไฟจัดเดินรถทหารให้กองทัพญี่ปุ่นไม่ได้ตามต้องการ


18 มีนาคม 2486 รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติให้ส่งรถจักรแปซิฟิก 5 คัน รถตญ. 500 คัน มาช่วยกรมรถไฟ

13 กุมภาพันธ์ 2486 ญี่ปุ่นแจ้งว่าได้ส่งรถ ตญ. มาให้กรมรถไฟแล้ว
9 เมษายน 2486 รถตญ. ที่กรมรถไฟสั่งซื้อจากญี่ปุ่นมาถึงแล้ว
16 เมษายน 2486 เมื่อกรมรถไฟตรวจรับจริงปรากฎว่า ส่ง ตญ. มาให้เพียง 50 คัน โดยเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นอ้างว่าอ่านข้อมูลผิด Rolling Eyes Shocked

นอกจากนี้กรมรถไฟได้รายงานเพิ่มเติมว่า กรมรถไฟได้สั่งรถจักรรถพ่วงจากญี่ปุ่นตามรายการต่อไปนี้

19 เมษายน 2483 กรมรถไฟ (TSR) ได้สั่งซื้อรถจักรแปซิฟิก 5 หลัง จนป่านนี้ยังไม่ส่งมอบแม้จะได้รับแจ้งจาก นาย นิห์โร (Nihro) ตัวแทน บริษัทมิตซุยบุซซันไกชา ว่าได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลญี่ปุ่นแล้วก็ตาม

23 มกราคม 2486 รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติให้สร้างปลอกล้อให้กรมรถไฟตามรายการต่อไปนี้
19 พฤษภาคม 2484 กรมรถไฟ (TSR) ได้รับทราบว่า ญี่ปุ่นได้ส่งรถจักรมิกาโด 12 หลัง
9 เมษายน 2484 กรมรถไฟ (TSR) ได้รับทราบว่า ญี่ปุ่นได้ส่งรถ บตญ. 50 หลัง
20 ธันวาคม 2483 กรมรถไฟ (TSR) ได้รับทราบว่า ญี่ปุ่นได้ส่งรถ ขต. 100 หลัง

2 เมษายน 2486 กรมการค้าต่างประเทศ แจ้งว่านอกจากนี้กรมรถไฟได้สั่งซื้อ รถจักรรถพ่วงจากญี่ปุ่น เพิ่มเติม ผ่าน บริษัทมิตซุยบุซซันไกชาตามรายการต่อไปนี้
1) รถจักรมิกาโด 15 หลัง
2) รถ ตญ. 12.5 ตัน 400 หลัง
3) รถ ขส. 12.5 ตัน 200 หลัง
4) รถ ขต. 12.5 ตัน 200 หลัง
5) รถปั้นจั่นไอน้ำ 25 ตัน 2 หลัง

20 เมษายน 2485 กรมรถไฟแจ้งว่า ยังไม่ได้รับมอบ รถจักรแปซิฟิก 5 หลัง, รถ ขต. 100 หลัง + รถ บตญ. 50 หลัง และได้ข่าวว่า ทางญี่ปุ่นเอารถจักร 5 หลัง และ รถ ตญ. 500 หลัง ส่งออกมาไม่ได้ เพราะไม่มีเรือ

29 เมษายน 2486 นาย นิห์โร (Nihro) ตัวแทน บริษัทมิตซุยบุซซันไกชา แจ้งว่ากำลังสร้างปลอกล้อให้อยู่ กะว่าจะเสร็จเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2486
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2007 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

1 พฤษภาคม 2486 ญี่ปุ่นขอให้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ไปคุมโรงงานมักกะสัน เพราะเห็นว่าคนงานโรงงานมักกะสัน มีสมรรถนะในการทำงานไม่ดีพอ ทำให้ซ่อมรถจักรรถพ่วงได้ช้า แต่ทางรัฐบาลไทยตอบปฏิเสธ

ปี 2485 นาภาคกลางล่มเพราะน้ำท่วมใหญ่ แต่ข้าวภาพอีสานและภาคพระตะบองออกรวงดี ต้องการขนข้าว 8แสนตัน ให้กองทัพญี่ปุ่นในปี 2486

ปี 2485 กรมรถไฟจัดขบวนรถพิเศษทหารให้ญี่ปุ่น วันละ 10 เที่ยวแต่ก็ไม่พอต่อความต้องการ ต้องกันรถพ่วงไว้อีก 390 หลังไปขนข้าวภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคตะวันออก (รวมพระตะบอง) แทนข้าวภาคกลางที่ขาดแคลนเพราะนาล่ม

11 กุมภาพันธ์ 2486 นอกจากนี้ ญี่ปุ่นต้องการให้ไทยขนข้าวไปมลายูและโชนัน เดือนละ 4000 ตัน ทางรถไฟ ทำให้ต้องเพิ่มรถพิเศษทหารเป็น 20 ขบวนต่อวันซึ่งต้องใช้รถพ่วง 525 หลัง ต่อวัน และ ยังต้องกันรถอีก 390 หลัง

ทางไทยชี้แจงว่าได้ต่อเรือขนข้าวไปโชนัน อยู่แล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้รถพ่วงอีกเพราะรถพ่วงมีไม่พอใช้


17 มกราคม 2486 มีรายงานว่ารถตกค้างที่มลายู มี 400 หลัง กองทัพไทยต้องใช้ 250 หลัง ชำรุดรอซ่อม 500 หลัง บรรทุกฟืนในกรมรถไฟ 400 หลัง ถ้า จะให้เพิ่มรถพิเศษตามที่ขอมีหวังไม่พอใช้แน่ๆ ตอนนี้ก็ได้แต่ลดเที่ยววิ่งรถฟืน ต้องปรับ ปดร. กันใหม่เพราะต้องงดเดิร ไป 60 ขบวน

19 เมษายน 2486 ได้ ต่อเรือ 4 ลำขนข้าวไปโชนัน ก็จะปลดปล่อยรถ ตญ. ไป 50หลัง

ตอนนี้คต้องลดเที่ยววิ่งรถสายใต้ไปมลายูจากวีนละ 3 เที่ยวเป็นวันละ 2 เที่ยงเพราะต้องซ่อมรถจักร 18 หลัง

ขณะนี้กรมรถไฟเดินรถให้พลเรือนได้ดังนี้
1) รวม 51/52 กรุงเทพ - พระตะบอง (เดินทุกวัน)
2) รวม 53/54 กรุงเทพ - กระบินทร์บุรี (เดินทุกวัน)
3) รถรวม โคราช - อุดร (เดินทุกวัน)
4) รถรวมโคราช - อุบล (เดินทุกวัน)
5) กรุงเทพ - โคราช (โดยสาร 1 ขบวน, สินค้า 1 ขบวน) (เดินทุกวัน)
6) รถ 249/250 รถกรุงเพ - พระตะบอง เดินอาทิตย์ละ 3 วัน
7) รวม 201/202 กรุงเทพ - ปากน้ำโพ (เดินทุกวัน)
8) กรุงเทพ - พิษณุโลก (เดินทุกวัน)
9) ด่วนสายเหนือ กรุงเทพ - เชียงใหม่ อาทิตย์ละ 4 วัน จันทร์ พุธ พฤหัสบดี อาทิตย์
ตอนนี้งดเดินขบวน 303/304 และ 95/96 เพื่อให้มีรถพอใช้
การหาฟืนก็ลำบาก วิ่ง ทุกๆ 3-4 วัน เพราะต้องตัดป่าฤดูฝน จนกรมป่าไม้บ่นว่าไม้เหี้ยนเตียนหมด
ฟืนหนะมีสำรอง 4 เดือน สถานีใหญ่ 6-8 เดือน แต่ตอนนี้ฟืนแทบไม่พอใช้

ตอนนี้รับรถตกค้างจากปาดังเบซาร์และสุไหงโกลก ได้ 39 หลัง

1 เมษายน 2486 ต้องการฟืนใส่รถขบวนไปมลายู 2000 เมตรลูกบาศก์ คิดเมตรลูกบาศก์ ละ 3 บาท

22 มีนาคม 2486 เอารถ บสพ. มลายูไปใช้ กับขบวน 2031 - 2034

25 มกราคม 2486 กรมรถไฟแจ้งว่ากองทัพญี่ปุ่นค้างค่าโดยสารงวด 1-15 มกราคม 2486เป็นเงิน 1090510.50 บาท
ค้างชำระ 4 งวดแรก เป็นเงิน2938031.25 บาท
ค้างชำระ งวด 5 เป็นเงิน 316390.20
ค้างชำระ งวด 6 เป็นเงิน 1518922.09
รวม 6งวด 4773343.54 บาท
23 มีนาคม 2486 กรมรถไฟได้รับเช็คจากกองทัพญี่ปุ่น 1 ล้านบาท คงค้าง 3773343.54 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 11, 12, 13  Next
Page 3 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©