Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261309
ทั้งหมด:13572589
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2007 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

8 มิถุนายน 2486 กรมรถไฟแจ้งว่ารถตกค้างมลายู 65 หลัง ชำรุด 24 หลัง เหลือเดิน 41 หลัง เมื่อเทียบกับ ปลายธันวาคม 2485 ตกค้าง 80 หลัง และ
11 เมษายน 2486 ตกค้าง 64 หลัง ใกล้เคียงความจริง
จอมพล ป. ถามว่า
Quote:
ทวงเอามาไม่ได้หรือ

2 กรกฎาคม 2486 ทหารญี่ปุ่นดึงสายสัญญาณให้หยุดรถฉุกเฉิน ขณะโดยสารขบวนรถพิเศษทหาร บางกอกน้อย - ปาดังเบซาร์ จึงปรับ 50 บาท
31 มีนาคม 2486 ญี่ปุ่นให้กรมรถไฟเดินขบวน 2030 แต่จัดให้ไม่ได้ นอกงจากนี้ให้เดินขบวนรถพิเศษ ธนบุรี - ปาดังเบซาร์ โดยพ่วงรถดังนี้

1 บตญ. มลายู + 15 ตญ. มลายู + 1 รถ พห. มลายู จากเดิม 1 บตญ. มลายู + 7 ตญ. มลายู + 1 รถ พห. มลายู

1 เมษายน 2486 ญี่ปุ่นขอให้เดินรถขนข้าวจากเชียงใหม่มากรุงเทพ โดยใช้รถ ตญ. ไทย 5 หลัง แต่กรมรถไฟไม่อนุมัติ

9 เมษายน 2486 นาย ยียีมมา เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นประจำสถานีกรุงเพ ได้ดึงสายสัญญาณ ขณะโดยสารขบวนรถ 72 ที่ กม. 908/14 ระหว่างสถานีบางกล่ำ และ สถานี ควนเนียง เสียเวลา 2 นาที เสียค่าปรับ 50 บาท
4 มิถุนายน 2486 กรมประสานงานพันธมิตครขอให้งดเอาเบี้ยปรับกับกรณีนายยียีมา

10 เมษายน 2486 รถตกค้างมลายู 41 หลัง ชำรุด 14 เหลือเดิน 27 รวมกับรถที่ปาดังเบซาร์อีก 9 หลัง รวมเป็น 50 หลัง

3 กันยายน 2486 รถที่ตกค้างมลายูหาย 20 หลัง คิดค่าเสียหายหลัง ละ 2000 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2007 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

16 สิงหาคม 2486 ญี่ปุ่นขอตัดรถมลายู 431-439 ไปขนข้าวส่งโชนัน
7 กันยายน 2486 ญี่ปุ่นให้ยืมรถตญ. มลายู 272 หลัง
20 ตุลาคม 2486 ส่งรถจักรอินโดจีน 2 หลัง และรถพ่วงอินโดจีนจากพนมเปญ
21 ตุลาคม 2486 รถถึงไสวดอนแก้ว
22 ตุลาคม 2486 รถมาถึงกรุงเทพ

3 พฤศจิกายน 2486 ทำขบวนรถทหารไปเชียงใหม่ โดยใช้ ตญ. 13 หลัง ขต. 15 หลัง
6 พฤศจิกายน 2486 ถึงเชียงใหม่ ส่งรายงานเมื่อ10 พฤศจิกายน 2486
26 พฤศจิกายน 2486กองทัพญี่ปุ่นรายงานว่า กองทัพญี่ปุ่นให้กรมรถไฟเช่ารถจักรซี 56 เบอร์ 5616 และ 5617 ทำขบวนเพื่อทำขบวนรถขนทหารและข้าวไปมลายู โดยเก็บรถจักรไว้ที่บางซื่อ ตั้งแต่การตรวจรับเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2486
2 มกราคม 2487 กรมรถไฟแจ้งกรมประสานงานพันธมิตรว่า น้ำมันดีเซลและน้ำมันหล่อลื่น DTE Ex heavy สำหรับหล่อลื่นรถจักรดีเซลใกล้หมดแล้ว ขอให้กองทัพญี่ปุ่นจัดหาดดยด่วนที่สุดมิฉะนั้นจะไม่มีรถดีเซลทำขบวนรถด่วนสายเหนือ - สายใต้ตามที่ญี่ปุ่นต้องการ
10 มกราคม 2487 กรมรถไฟนำรถจักรซี 56 เบอร์ 5616 และ 5617 ดุนหลังรถสินค้า แก่งคอย - ปากช่องเพราะ รถจักรกาแร็ตต์ทำงานหนัก จนต้องใช้รถจักรกำลังต่ำมาช่วยงานขนสินค้าไม่งั้นพังแน่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2007 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

5 กุมภาพันธ์ 2487 กรมรถไฟแจ้งให้กองทัพญี่ปุ่นนำรถไฟออกจากย่านสถานีแม่น้ำและท่าเรือใหม่ ก่อนจะถูกสัมพันธมิตรถล่มเอา
14 กุมภาพันธ์ 2487 กรมรถไฟทวงค่าซ่อมรถพ่วงจากญี่ปุ่นตามรายการต่อไปนี้

27 กรกฎาคม 2486 80 บาท

14 พฤศจิกายน 2486 48 บาท

18 พฤศจิกายน 2486 272 บาท

23 มีนาคม 2487 ขอรถพิเศษสำหรับคณะอินเดียอิสสระ จากหาดใหญ่ ไปชุมพร โดยพ่วงรถ ตญ. 1 หลังไปกับขบวนรถพิอเศษทหารญี่ปุ่น เพื่อขนน้ำมันถั่ว 200 ปีบ ถั่ว 30 กระสอบ น้ำตาลทรายแดง 60 กระสอบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2007 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

3 กรกฎาคม 2487 ให้ไปรับรถ ตญ. ที่ชำรุดที่สถานีปาเลกนัง ซึ่งตกค้าเมื่อง ตุลาคม 2486 โดยให้ปรับเอากับนิปปอน ยัสโตไกชา

ในวันนั้นกองทัพญี่ปุ่นสั่งให้กรมรถไฟทำขบวนพิเศษ ตุมปัต - หาดใหญ่ โดยใช้ ตญ. 20 หลัง เพื่อขนวัวและเครื่องเหล็กจาก 4 รัฐมาลัย (ก็ 4 รัฐมลายู ตามบันทึกในยุคน้น) และให้ ช่วนหาน้ำมันมาให้กรมรถไฟด้วย

กองทัพญี่ปุ่นขอให้ กรมรถไฟ ลดมาตรฐานรถ พห. มีเครื่องห้ามล้อ จาก จาก 2 ใน 5 เป็น 1 ใน 5 โดยการถอดเอาห้ามล้อออก แต่กรมทรถไฟไม่อนุมัติเพราะทางช่วงช่องเขา - เขาชุมทองนั้นชัน ถอดเครื่องห้ามล้อออกจะเกิดอันตราย

2 เมษายน 2488 กองทัพญี่ปุ่นขอให้กรมรถไฟสร้างทางรถไฟสาย อุดร - หนองคายเป็นรถไฟทหารโดยด่วนที่สุด

4 เมษายน 2488 กรมรถไฟเห็นด้วยในหลักการ

13 มิถุนายน 2488 ครม. อนุมัติให้สร้างเส้นทางช่วง อุดร - หนองคาย เปนรถไฟทหาร

13 เมษายน 2488 พลโทอิชิดะ แจ้งว่าได้จัดกองทหารช่างญี่ปุ่นเพื่อซ่อมทางรถไฟที่โดนระเบิดดังนี้

เขต 1 กรุงเทพ - ราชบุรี - บ้านภาชี - พระตะบอง
เขต 2 บ้านภาชี และสายเหนือ
เขต 3 บ้านภาชี และสายตะวันออกเฉียงเหนือ
เขต 4 ราชบุรี และ สายใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2007 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2489 พันตรีแสง จุลจาริตต์ ได้เดินทางไปกับขบวนรถพิเศษ ที่พ่วงไปกับขบวน 52 เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งมอบดินแดน

ออกจากพระตะบอง (ตบ.) 1000
ถึงมงคลบุรี (งค.) 1152 ออกจากมงคลบุรี (งค.) 1200
ถึงศรีโสภณ (รณ.) 1225 ออกจากศรีโสภณ (รณ.) 1235 => รับ บชส. 1 หลัง และ บสส. 1 หลังที่ศรีโสภณ
ถึงอรัญญะประเทศ (อร.) 1421 ออกจากอรัญญะประเทศ 1451 => รับน้ำและฟืนที่ อรัญญะประเทศ
ถึงวัฒนานคร (วค.) 1536 ออกจากวัฒนานคร 1438 => หลีกขบวน 51
ถึงสระแก้ว (ะก.) 1617 ออกจากสระแก้ว 1619
ถึงบ้านแก้ง (นแ.) 1640 ออกจากบ้านแก้ง 1650
ถึงกระบินทร์บุรี (กบ.) 1733 ออกจากกระบินทร์บุรี 1803 => เติมน้ำและฟืนที่กระบินทร์บุรี
ถึงประจันตคาม (จค.) 1830 ออกจาก ประจันตคาม 1832
ถึงปราจีนบุรี (ปจ.) 1854 ออกจากปราจีนบุรี 1856
ถึงโยธะกา (ยก.) 1940 ออกจากโยธะกา 1950 => เติมน้ำและฟืนที่โยธะกา
ถึงฉะเชิงเทรา (ฉท.) 2042 ออกจาก ฉะเชิงเทรา 2044
ถึงหัวตะเข้ (หข.) 2132 ออกจากหัวตะเข้ 2142 => รับน้ำที่หัวตะเข้
ผ่านมักกะสัน (มส.) 2222
ถึงสถานีกรุงเทพ (กท.) 2250
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2007 9:44 am    Post subject: Reply with quote

ปี 2482 ผู้ว่าแสง เล่าว่า กรมรถไฟได้จัดกระบวนรถเชิงพาณิชย์ไว้ดังนี้

รถด่วนสายเหนือ กรุงเทพ - เชียงใหม่ (ขบวน 7/8) ใช้รถจักรดีเซลเดินสัปดาห์ละ 2 วัน
รถด่วนสายใต้ กรุงเทพ - ปาดังเบซาร์ - ไปร (ขบวน 11/12) ใช้รถจักรดีเซลเดินสัปดาห์ละ 2 วัน
[จริงๆ มี รถด่วน สายอีสาน - กรุงเทพ - นครราชสีมา - วารินทร์ ด้วย แต่ผู้ว่าแสงไม่พูดถึง เพราะ ใช้รถจักรดีเซล แค่ที่โคราช จากนั้นฮาโนแมก รับหน้าที่ต่อไปถึง วารินทร์]

รถโดยสารขบวน กรุงเทพ - พิษณุโลก (ขบวน 21/22) มีเดินทุกวัน
รถโดยสารขบวน กรุงเทพ - ปากน้ำโพ (ขบวน 23/24) มีเดินทุกวัน
รถโดยสารขบวน กรุงเทพ - นครราชสีมา (ขบวน 43/44) มีเดินทุกวัน

รถรวมปากน้ำโพ - เด่นชัย (ขบวน 31/32) มีเดินทุกวัน
รถรวมพิษณุโลก - นครลำปาง (ขบวน 33/34) มีเดินทุกวัน
รถรวมเชียงใหม่ - นครลำปาง (ขบวน 35/36) มีเดินทุกวัน
รถรวม นครราชสีมา - วารินทร์ (ขบวน 45/46) มีเดินทุกวัน
รถรวม แก่งคอย - สุรินทร์ (ขบวน 47/48) มีเดินทุกวัน
รถรวม นครราชสีมา - ขอนแก่น (ขบวน 49/50) มีเดินทุกวัน
รถรวม กรุงเทพ - อรัญญะประเทศ (ขบวน 51/52) มีเดินทุกวัน
รถรวม กรุงเทพ - กระบินทร์บุรี (ขบวน 51/52) มีเดินทุกวัน
รถรวมขบวน ธนบุรี - ปรานบุรี [เก็บรถที่วังก์พง] (ขบวน 55/56) มีเดินทุกวัน
รถรวม กรุงเทพ - เพชรบุรี (ขบวน 57/58) มีเดินทุกวัน
รถรวม เพชรบุรี - ชุมพร (ขบวน 61/62) มีเดินทุกวัน
รถรวม ชุมพร - นครศรีธรรมราช (ขบวน 63/64) มีเดินทุกวัน
รถรวม ทุ่งสง - กันตัง (ขบวน 67/68) มีเดินทุกวัน
รถรวม ทุ่งสง - สงขลา (ขบวน 69/70) มีเดินทุกวัน
มีรถรวมเขาชุมทอง - นครศรีธรรมราช รับคน จากรถด่วน 11/12 และ รวม 69/70 มีเดินทุกวัน
รถรวม หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ - สุไหงโกลก (ขบวน 71/72/73) และ ขบวน รถรวม สุไหงโกลก -ปาดังเบซาร์ - หาดใหญ่ (ขบวน 74/75/76) มีเดินทุกวัน
รถรวม ยะลา - สงขลา (ขบวน 77/78) มีเดินทุกวัน
รถรวม ยะลา - สุไหงโกลก (ขบวน 79/80) มีเดินทุกวัน

รถสินค้าบางซื่อ - เชียงใหม่ (ขบวน 201/202) มีเดินทุกวัน
รถสินค้าบางซื่อ - วารินทร์ (ขบวน 221/222) มีเดินทุกวัน
รถสินค้าบางซื่อ - ขอนแก่น (ขบวน 223/224) มีเดินทุกวัน
รถสินค้าบางซื่อ - ชุมพร (ขบวน 701/702) มีเดิน สัปดาห์ละ 3 วัน
รถสินค้าชุมพร - หาดใหญ่ (ขบวน 703/704) มีเดิน สัปดาห์ละ 3 วัน
รถสินค้า แม่น้ำ - ทรส. กท. - บางซื่อ - บางซ่อน มีเดินทุกวันวันละ 4 เที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2007 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

19 พฤษภาคม 2485 มีเรื่องบ่นว่า กรมรถไฟ จัดอาหาร และ ที่พักได้เลว แถม คนครัวรถเสียงมีเรื่องชกต่อยกับผู้โดยสารอีกต่างหาก

กรมรถไฟชี้แจงว่าได้ ให้เอกชนเช้าเหมารถเสบียง และ โรงแรม ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2485 ตามรายการต่อไปนี้

โรงแรม ร้านค้าที่ ประมูลให้สัมปทานเอกชนไปทำประโยชน์
1) ร้านค้าย่านสถานีกรุงเทพ
2) โรงแรมอรัญญะประเทศ
3) โรงแรมนครราชสีมา
4) โรงแรมสงขลา
5) โรงแรมเชียงใหม่
6) โรงแรมเพชรบุรี
7) โรงแรมลำปาง
8 ) โรงแรมชุมพร

ขบวนรถที่ได้ให้สัมปทานรถเสบียง
รถโดยสารขบวน กรุงเทพ - พิษณุโลก (ขบวน 21/22)
รถโดยสารขบวน กรุงเทพ - ปากน้ำโพ (ขบวน 23/24)
รถรวมขบวน กรุงเทพ - ลพบุรี - บ้านหมี่ (ขบวน 25/26 - 27/28)
รถรวมขบวน ลพบุรี - ชุมแสง (ขบวน 29/30)
รถรวมขบวน นครลำปาง - เชียงใหม่ (ขบวน 39/40)
รถรวมขบวน บ้านภาชี - แก่งคอย (ขบวน 41/42)
รถโดยสารขบวน กรุงเทพ - นครราชสีมา (ขบวน 43/44)
รถรวมขบวน เพชรบุรี - ราชบุรี (ขบวน 59/60)
รถรวมขบวน สุไหงโกลก - ปาดังเบซาร์ (ขบวน 77/78, 79/82)
รถรวมขบวน ยะลา - สงขลา (ขบวน 95/96)
รถรวมขบวน สุราษฎร์ธานี - ชุมพร (ขบวน 123/124)
รถรวมขบวน ลำชี - อุบลราชธานี (ขบวน 129/130)
รถรวมขบวน ยะลา - สุไหงโกลก (ขบวน 131/132)
รถรวมขบวน สุราษฎร์ธานี - ทุ่งสง (ขบวน 133/134)
รถรวมขบวน นครราชสีมา - อุบลราชธานี (ขบวน 151/152)
รถรวมขบวน ขอนแก่น - อุดรธานี (ขบวน 153/154)
รถรวมขบวน บางกอกน้อย - นครปฐม (ขบวน 109/110 - 111/112)

กรมรถไฟได้กำชับให้เอกชนที่ประมูลจัดการเรื่องอาหารในรถเสบียงและที่พัก ให้ดี มิฉะนั้นจะเรียกสัมปทานคืน


Last edited by Wisarut on 20/02/2007 7:47 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2007 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

1 กรกฎาคม 2487 กรมรถไฟทหาร ให้เลิก ชั้น 1-2-3 แล้วเปลี่ยนเป็น ชั้น สามัญ - ชั้นพิเศษ ตามแบบญี่ปุ่น แต่ชั้นธรรมดาต้องนั่งรถ ตญ. หรือ ขต. (บตญ. หรือ บขต. แล้วแต่กรณี) โดยรถ บชส. บชท. และ บชอ. เป็นชั้นพิเศษ ... ให้ทหารญี่ปุ่นและกองทัพพายัพใช้ก่อน แล้วค่อยเหลือมาเผื่อชาวบ้าน แม้แต่เสมียน และ ข้าราชการชั้นโทต้องขึ้นรถ บตญ. กะ บขต. เพราะ รถชั้นพิเศษสงวนไว้ให้ ข้าราชการชั้นเอก

ข้าราชการชั้นโท เงินเดือน 300 บาทขึ้นไปได้ให้มีผู้ติดตามขึ้นฟรี ได้ 2 คนSad
ข้าราชการชั้นโท เงินเดือน 140 - 300 บาทได้ให้มีผู้ติดตามขึ้นฟรี ได้ 1 คนSad
ข้าราชการชั้นตรี งดให้ผู้ติดตามขึ้นฟรี Sad

ระเบียบของกรมรถไฟทหารนี้ทำให้ชาวบ้าน และ ข้าราชการทหารตำรวจ ด่าพลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร พรหมโยธี) เสียยับเยินเทียวครับ

1 เมษายน 2489 เลิกระบบ ชั้น สามัญ - ชั้นพิเศษ และ ต่อมาได้มีการเลื่อนชั้นให้เสมียน ขึ้นรถชั้น 2 ได้เป็นการชั่วคราว เพราะรถชั้น 3 มันก็ บตญ. และ บขต. ซึ่งแสนจะลำบาก ไม่มีห้องน้ำ ร้อนอบอ้าว แอละเสี่ยงต่อโจรผู้ร้าย

พอได้เลื่อนก็เกิดการทะเลาะกะพนักงานรถไฟที่ไล่ให้นั่ง บตญ. หรือ บขต. เพราะ ข่าวยังมาไม่ถึง ... เป็นเรื่องเป็นราวกันพอดู จน กรมรถไฟต้องส่งหนังสือเวียนให้พนักงานรถไฟรับทราบโดยทั่วกัน

ปี 2491 ได้พ่วงรถ บตส. ที่แก้จากรถ บตญ. ตู้ไม้อัดจากอินเดีย แก่รถทุกคันยกเว้นด่วนสายเหนือ (กรุงเทพ - เชียงใหม่) และ ด่วนสายใต้ (ธนบุรี - หาดใหญ่) ... จึงเลิกการให้เสมียนขึ้นชั้น 2 ให้กลับมานั่งชั้น 3 ตามเดิม


Last edited by Wisarut on 16/03/2007 3:03 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2007 9:55 am    Post subject: Reply with quote

" เสรีไทย" บุกแพร่ - พบต้นตอรถไฟตกราง
มติชน 16 มีนาคม 2550

จากกรณีคณะทำงานเสรีไทย จ.แพร่ เดินทางสำรวจข้อมูลและพื้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของ " ขบวนการเสรีไทย " สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ บ้านแก่งหลวง ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งคณะทำงานคาดว่า จะเป็นจุดที่เครื่องบินตก โดยชาวบ้านเรียกบริเวณนั้นว่า " ม่อนเครื่องบินตก " และยังตามรอยเส้นทางของทางรถไฟสายเดิมที่ถูกระเบิดเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้พบเส้นทางรถไฟสายมรณะอย่างแท้จริง และอาจเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุของรถไฟที่ตกรางใน จ.แพร่ บ่อยครั้ง

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ผู้สื่อข่าว จ.แพร่ รายงานว่า คณะทำงานร่วม 10 คน ใช้วิธีเดินเท้าไปตามทางรถไฟ จากสถานีรถไฟบ้านแก่งหลวง - สถานีรถไฟบ้านปิน ปรากฏว่าเป็นที่น่าตกใจมาก เมื่อพบไม้หมอนรถไฟที่เป็นท่อนคอนกรีตแตกหักครึ่ง ตลอดระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณบ้านแม่ลู่ ต.แม่ปาน ซึ่งเป็นจุดอันตราย และเสี่ยงต่อการเดินรถไฟสายเหนือ เนื่องจากแท่งคอนกรีตที่หักครึ่งบางแห่ง โผล่ในลักษณะตั้งขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดเหตุรถไฟตกรางบ่อยครั้งใน จ.แพร่ และก่อนหน้านั้น เกิดเหตุหัวรถจักรพุ่งดิ่งลงแม่น้ำยม ทำให้มีผู้เสียชีวิตมาแล้ว ถ้าหากยังไม่มีการแก้ไข เหตุรถไฟตกรางระหว่างเส้นทางดังกล่าวอาจเกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2007 3:02 pm    Post subject: Reply with quote

2 มกราคม 2489 คนรถไฟที่คุมการเดินรถไฟที่รัฐกลันตันแจ้งว่าแม้จะมีการส่งมอบดินแดน 4 รัฐมลายู คืนให้อังกฤษแล้ว แต่ตอนนี้ยังมอบทางรถไฟคืนรัฐบาลสหพันธรัฐมลายูไม่ได้ เพราะ ทาง FMSR ยังไม่พร้อม เลยให้ คนรถไฟไทยเดินรถไปพลางก่อน

อย่างไรก็ตามคนรถไฟแจ้งว่า ตอนนี้จะอดตายแล้วเพราะ ไม่ได้รับเงินเดือนมา 3 เดือน และ มีแต่เงินมลายูที่ญี่ปุ่นพิมพ์ ซึ่งกลายเป็นเศษกระดาษ จะเอามาแลกเงินไทย หรือ เงินมลายูไม่ได้เพราะคลังสนามปิดกลับหาดใหญ่ แล้ว

ทางรัฐบาลไทยและอังกฤษเลยแนะว่า ให้รับเฉพาะเงินมลายูของอังกฤษ เท่านั้น ไปก่อน และ ให้กระทรวงการคลังเบิกเงินมลายูให้คนงานไทยเพื่อตกเบิกด้วย มาเลิกเอา ก็ 12 มีนาคม 2489 เรพาะ มีการตัดระยะเหลือเพียงสุไหงโกลก


Last edited by Wisarut on 25/02/2010 1:15 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 11, 12, 13  Next
Page 4 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©