Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269289
ทั้งหมด:13580576
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2007 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่อง : สะพานจุลจอมเกล้า
เรียบเรียงโดย
นายทศพล งานไพโรจน์
รองนายกเทศมนตรีเมืองท่าข้าม
อ้างอิง: http://www.takhamcity.go.th/modules/travel/index.php?mode=detail&id=2

Click on the image for full sizeClick on the image for full size

การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ในพ.ศ.๒๔๔๙ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้ส่งมิสเตอร์กิตตินส์ วิศวกรชาวอังกฤษเลขานุการกรมรถไฟหลวง กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และพระยาวจีสัตยารักษ์ เจ้าเมืองไชยา ออกสำรวจเส้นทางรถไฟสายใต้ ซึ่งต้องกู้เงินจากรัฐบาลสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษ โดยมีมิสเตอร์กิตตินส์ เป็นผู้อำนวยการสร้างทางรถไฟสายใต้

ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๕๓ ช่วงการก่อสร้างจากชุมพรไปยังนครศรีธรรมราชต้องผ่านลำน้ำสายใหญ่ที่ตำบลท่าข้าม เมืองไชยา คือแม่น้ำหลวง การก่อสร้างสะพานเหล็กรูปทรงโค้ง แบ่งเป็นสามช่วง ใช้สำหรับให้รถไฟแล่นผ่านอย่างเดียว ต้องใช้งบประมาณ ๑๔๙,๓๖๔ บาท แต่ถ้าจะทำทางคนเดินต้องเพิ่มงบประมาณอีก ๑๓,๐๐๐ บาท และถ้าจะให้สมบูรณ์มีทางเกวียนข้ามได้ด้วย ต้องเพิ่มงบประมาณอีก ๑๔๘,๖๑๐ ซึ่งราคาสูงเกือบเท่าตัวสะพาน ในขณะนั้นที่ตำบลท่าข้าม เมืองไชยา ยังไม่ค่อยมีเกวียนใช้มาก ผู้คนก็ไม่มาก จึงขอพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๕ ให้งดการสร้างทางเกวียน ดังนั้นสะพานข้ามแม่น้ำหลวงจึงมีแต่ทางรถไฟกับคนเดินเท่านั้น

พ.ศ. ๒๔๘๔ ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สุราษฎร์ธานี เชิงสะพานข้ามแม่น้ำตาปี เป็นจุดตั้งฐานทัพทหารญี่ปุ่น และเป็นจุดยุทธศาสตร์ลำเลียงพลไปสู่มลายู เพื่อเดินทางไปพม่า และสิงคโปร์ พ.ศ. ๒๔๘๖ ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ใช้เครื่องบิน บี ๒๔ บรรทุกระเบิดมาทำลายสะพานแห่งนี้ถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกไม่สามารถทำลายลงได้ ครั้งที่สอง จึงใช้โซ่ผูกร้อยระเบิดเป็นพวงทิ้งทำลายจนสะพานหักลงกลางลำน้ำตาปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ นอกจากนี้ ได้ระเบิดทำลายบ้านเรือนในตลาดท่าข้ามอีกด้วย

หลังสงครามสงบ รัฐบาลได้ว่าจ้างบริษัท CORMANLONG CO.LTDประเทศอังกฤษมาทำการซ่อมแซม เปลี่ยนรูปทรงจากทรงเหล็กโค้ง เป็นแท่งเหลี่ยม ลักษณะรูปทรงเดียวกับสะพานพระรามที่ ๖ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง มีทางรถไฟ ทางคนเดิน และช่องกลางเว้นไว้สำหรับผิวการจราจร ใช้เวลาซ่อมสร้างประมาณ ๖ ปี จึงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระราชทานนามให้เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๙๔ ว่า “สะพานจุลจอมเกล้า”และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖


Last edited by Wisarut on 30/10/2008 3:26 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2008 10:47 am    Post subject: Reply with quote

ตอนญี่ปุ่นบุกประเทศไทย 8 ธันวาคม 2484 พอ กองทัพญี่ปุ่นยึดสงขลาได้ กองทัพอังกฤษก็ ข้ามเขตแดนมา ระเบิดสะพาน ที่ คลองแงะ ทิ้ง ตามเรื่องราวต่อไปนี้

GWR wrote:
Khlong Ngae Bridge & a whole lot more!

--------------------------------------------------------------------------------

Sometimes the answers come looking for you.

Today I met an ex-railwayman by the name of Raleuk Dunn (perhaps Dun) who was present in Hat-Yai during the WW2 era. (He must have been very young.) I asked him about the demolition of the bridge at Khlong Ngae and his comment was that the damage was so limited that trains were still able to pass over it.

Raleuk had some other rather interesting things to tell me. His Scottish grandfather, W.N. Dunn (No one seems to know what the initials stood for), was the first British Consul in Songkhla. (I'm doubtful about him being the first.) He married locally, and his son - Somboon Dunn - became a railway engineer at Kaeng Koi and some other places in the North-East before returning to work at Hat-Yai Junction. I was shown two pictures of Somboon: One as a boy in the compound of the British Consulate in Songkhla (He went to high school in Penang) and a later one in a Thai Railway uniform.

W. N. Dunn and other locally-based expats were interred during WW2. He was separated from his family and probably taken to either one of the military camps near Kanchanaburi or the civilian camps near Bangkok. Before they left Hat-Yai, the internees were put to work digging air-raid shelters. Somboon was treated with suspicion by the Japanese, but his Thai railway uniform and engineer status was enough to protect him for the duration of the war.

Now, I didn't really have enough time to get the full story, but it appears that W.N. Dunn was eventually knighted by Queen Elizabeth 2 for his assistance to POWs and expat internees. The family were able to send food parcels to the camp.

I promised the family I would try and find some photos and extra information on W.N. Dunn. So far I have found some internet evidence that a W.N. Dunn was at the Consulate in this approximate era, but no real detail. I am a bit hampered by the lack of a first and middle name. And because there were a lot of other subjects also to be talked about, I didn't get to ask that many questions.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2008 12:49 am    Post subject: สะพานราชบุรี กับสงครามมหาเอเซียบูรพา Reply with quote

กองทัพญี่ปุ่นได้ยกกำลังเข้าสู่ประเทศไทยโดยใช้การยกพลขึ้นบกทางตอนใต้ของประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการประจวบคีรีขันธ์ , ชุมพร ,สุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช , สงขลา และ ปัตตานี ตั้งแต่คืนวันที่ ๗-๘ แล กองพลที่ ๑๕ ของกองกองทัพญี่ปุ่น ก็เข้าควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย และ หาโอกาสบุกเข้าไปในเมืองมะละแหม่งของพม่า และมีแผนการยึดพม่าทางตอนใต้

กำลังของประเทศไทย ได้ทำการต่อต้านแต่ไม่สามารถต้านทานได้ รัฐบาลไทยได้ทำสัญญาหยุดรบกับประเทศญี่ปุ่นและญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย ขอสร้างทางรถไฟผ่านไปประเทศพม่า เพื่อเป็นเส้นทางรุกต่อเข้าไปยังประเทศอินเดียซึ่งในขณะนั้นประเทศอินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ

รัฐบาลไทยยอมรับข้อเสนอเพื่อรักษาประเทศชาติไว้ให้ปลอดภัยที่สุด ฝ่ายญี่ปุ่นวางแผนเชื่อมต่อทางรถไฟสายใต้ของประเทศไทย กับทางรถไฟในมลายู และสิงคโปร์ เชื่อมต่อเข้าสู่ประเทศพม่าทางตอนใต้ ซึ่งพลตรี เซจิ โมริยา ผู้แทนกองทัพบกญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยได้เข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทย ในคืนวันที่ ๑๖ กันยายนี่ ๒๔๘๕ เพื่อลงนามในข้อตกลงไทย-ญี่ปุ่น เกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด คือจาก บ้านโป่ง-กาญจนบุรี-ด่านพระเจดีย์สามองค์-ธันบีอูซายัต

ทางรถไฟสายนี้เริ่มจุดแรกจะแยกจากทางรถไฟสายใต้ของไทย ที่บ้านหนองปลา ดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กิโลเมตรที่ ๖๔ + ๑๙๖ สถานีรถไฟหนองปลาดุกตั้งอยู่ที่ หมู่ ๗ ตำบล หนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นจุดแรกของการเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า

กองทหารญี่ปุ่นได้สร้างค่ายที่พักและได้นำเชลยศึกมาจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศไทยไปยัง จว.กาญจนบุรี เพื่อเป็นกำลังในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ และญี่ปุ่นได้เริ่มวางรางรถไฟที่หนองปลาดุกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๕ โดยสร้างเป็นทางรถไฟสายเดี่ยว ความกว้างของราง ๑ เมตร เลียบตามแม่น้ำแม่กลอง ตรงไปยัง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วตัดขึ้นเหนือข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่บ้านท่ามะขามแล้วเลียบตามลำน้ำแควน้อย ผ่านภูเขา และป่ารก ไปสุดเขตแดนของไทยที่ด่านเจดีย์สามองค์จนถึงสถานีธันบี - อูซายัต ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองมะละแหม่ง กับเมืองตองยีในประเทศพม่า รวมระยะทาง ๔๑๕ กิโลเมตร อยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ ๓๐๔ กิโลเมตร อยู่ในเขตประเทศพม่าประมาณ ๑๐๑ กิโลเมตร ตามแผนงานประมาณการว่าการว่าแล้วเสร็จ ภายใน ๑๔ เดือน (เริ่มสร้าง ๒๓ ตุลาคม ๒๔๘๕)

เนื่องจากเส้นทางสายนี้ เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพญี่ปุ่นจะให้เป็นเส้นหลักส่งกำลังจากสิงคโปร์ , มลายูและทางตอนใต้ของไทยผ่านประเทศพม่า มู่งสู่ประเทศอินเดีย ดังนั้นการก่อสร้างจึงถูกต่อต้านจากกำลังกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร อันประกอบด้วยประเทศอังกฤษ , ฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา อย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทางอากาศซึ่งกำลังทางอากาศของสหรัฐอเมริกาได้มาตั้งฐานใหม่อยู่ที่เมืองจูงกิง ประเทศจีน มีเครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งแบบบี ๒๔ และบี ๒๙ และเริ่มเปิดฉากโจมตีขัดขวางการก่อสร้างรถไฟสายไทย – พม่า (ซึ่งขณะนั้นยังสร้างไม่แล้วเสร็จ) ตั้งแต่วันที่ ๓ มกราคม ๒๔๘๗ และโจมตีเป็นระยะๆ ตลอดเวลา ซึ่งทางรถไฟสายนี้ถูกโจมตีรวมทั้งสิ้น ๑๖ ครั้ง โดยมีรายละเอียดของวันเวลาและสถานที่ ( เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับราชบุรี ) ดังนี้

- วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๘๗ เวลา ๐๙.๒๐ เครื่องบิน ๒ ลำ โจมตีสถานีรถไฟหนองปลาดุก อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

- วันที่ ๗ กันยายน ๒๔๘๗ เวลา ๐๐.๒๐ เครื่องบิน ๑๒ ลำ ทิ้งระเบิดสถานีหนองปลาดุกและทางรถไฟ ทำให้ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตหลายร้อยคน

- วันที่ ๑๕ ตุลาตม ๒๔๘๗ เวลา ๐๐.๒๐ น. เครื่องบิน ๑๒ ลำ โจมตีสถานีหนองปลาดุก

- วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๔๘๗ เครื่องบินมาทิ้งระเบิดสถานีหนองปลาดุก

จะเห็นได้ว่าในจำนวน ๑๖ ครั้ง ที่ทางรถไฟสายไทย - พม่าซึ่งสร้างผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกโจมตีนั้น มีถึง ๕ ครั้ง ที่เป็นการโจมตีสถานีหนองปลาดุก ซึ่งเป็นจุดที่เรียกว่า ชุมทางของเส้นทางเดินรถไฟสายใต้ เพราะถ้าหากโจมตีชุมทางหนองปลาดุกได้สำเร็จสามารถตัดเส้นหลักส่งกำลังของญี่ปุ่นได้โดยเด็ดขาดจะส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของสงครามครั้งนี้ได้ทันที

ความพยายามในการโจมตีทางรถไฟสายนี้ ไม่เพียงแต่เจาะจงเฉพาะสถานีชุมทางหนองปลาดุกเท่านั้น หากแต่สะพานจุฬาลงกรณ์ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดราชบุรีเองก็ตกเป็นเป้าโจมตีเช่นกัน เนื่องจากรถไฟที่มาจากทางใต้ของประเทศไทยทุกสายจะต้องผ่านสะพานนี้ก่อนจะถึงชุมทางหนองปลาดุก และสะพานนี้ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอันเป็นเป้าหมาย ของการโจมตีจากฝ่ายพันธมิตรตลอดเวลา ซึ่งเรือโทอากาศ มานะเลิศ ได้นำบันทึก ของ นาย อ่อน มานะเลิศ บิดาของท่านซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์สงคราม และได้ลงในหนังสือพิมพ์ก้าวหน้า ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของราชบุรี ในขณะนั้น มีรายละเอียดเขียนไว้ว่า

วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๘ เครื่องบิน บี ๒๔ ของฝ่ายสัมพันธมิตรได้มาทิ้งลูกระเบิดเวลาในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี โดยลูกแรกระเบิดในเวลา ๐๐.๐๐ หลวงนิคมคณารักษ์ข้าหลวงประจำจังหวัดราชบุรี ซึ่งขณะนั้นออกมาตรวจราชการเพื่อดูความเสียหาย บริเวณสะพานดำ ได้ถูกระเบิดเสียชีวิตในทันที ต่อจากนั้นลูกระเบิดเวลาที่เครื่องบินมาทิ้งไว้ ก็ทยอยระเบิดอยู่ประมาณครึ่งวันในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๘๘

จากนั้นเครื่องบินได้มาทิ้งระเบิดที่เขตเทศบาลเมืองราชบุรีอีกหลายครั้ง สรุปดังนี้.-

- ครั้งที่ ๑ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๘ เวลา ๐๐.๐๐ น.
- ครั้งที่ ๒ ๒๑ มกราคม ๒๔๘๘ เวลา ๒๓.๐๐ น.
- ครั้งที่ ๓ ๓๐ มกราคม ๒๔๘๘ เวลา ๒๓.๐๐ น.
- ครั้งที่ ๔ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ เวลา ๒๓.๐๐ น.
- ครั้งที่ ๕ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๘ เวลา ๑๗.๐๐ น.
- ครั้งที่ ๖ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๘ เวลา ๑๕.๐๐ น.
- ครั้งที่ ๗ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๘ เวลา ๑๔.๓๐ น.

ในการทิ้งครั้งสุดท้ายนี้ ทางสัมพันธมิตรได้ใช้โซ่ผูกลูกระเบิดเป็นพวง แล้วทิ้งลงมาคล้องสะพานรถไฟ โดยตั้งเวลาให้ระเบิดพร้อม ๆ กัน ในเวลา ๑๔.๓๐ สะพานจุฬาลงกรณ์จึงขาดใช้การไม่ได้ ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นต้องทำการซ่อมแซมสะพานให้ใช้การได้ โดยทำเป็นสะพานไม้ (ชั่วคราว) ซึ่งแรงงานเชลยศึกฝรั่งเป็นผู้สร้าง ต้นเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ การซ่อมแซมสะพานด้วยไม้แล้วเสร็จ ญี่ปุ่นได้นำหัวรถจักรไอน้ำมาทดลองวิ่งข้ามสะพาน จากฝั่งตลาดไปยังฝั่งทหาร วิ่งไปได้ค่อนสะพานเท่านั้น สะพานก็หักหัวรถจักรจึงตกลงไปในแม่น้ำแม่กลอง และจมอยู่ใต้น้ำตราบจนทุกวันนี้

กรมการทหารช่างได้จัดชุดสำรวจใต้น้ำเพื่อพิสูจน์หลักฐานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ประกอบด้วย หัวรถจักรไอน้ำของกองทัพญี่ปุ่น และซากสิ่งอุปกรณ์ที่จมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลอง

http://www.tahanchang.com/tahanchangling/army_lotjuk01.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2008 3:58 pm    Post subject: Reply with quote

ถล่มอุตรดิตถ์

สงครามโลกครั้งที่ ๒

สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ เยอรมันยกพลบุกประเทศโปแลนด์ เมื่อเยอรมันบุกโปแลนด์ จึงทำให้ประเทศอื่นๆ ในยุโรปกระทบกระเทือนไหวตัวไปตามกัน ประเทศใกล้เคียงกับเยอรมันก็ถูกเยอรมันบุก เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ ฯลฯ

ญี่ปุ่นยกพลบุกประเทศไทย

เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังกล่าวนี้ ไฟสงครามได้ลุกลามติดตามเข้ามาในภาคเอเชียตะวันออก โดยญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔

เหตุที่ญี่ปุ่นต้องประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกานั้น มีความจำเป็นและความสำคัญของญี่ปุ่น ๕ ประการ คือ

.....๑.ญี่ปุ่นถือว่าภาคเอเชีย เป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติผิวเหลือง ส่วนอังกฤษและอเมริกาเป็นพวกผิวขาว ไม่ควรยอมให้มาเป็นใหญ่ในภาคพื้นเอเชียนี้
.....๒.ญี่ปุ่นถือว่าอังกฤษและอเมริกาเป็นตัวสำคัญทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่สามารถขยายตัวได้ ถูกประเทศทั้งสองนั้นสกัดกั้นเสียหมด ตลอดจนการทหารด้วย
.....๓.อังกฤษและอเมริกา เข้าแทรกแซงในปัญหาความยุ่งยากในอินโดจีน อันเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นไม่พอใจ
.....๔.ญี่ปุ่นโกรธทั้งอังกฤษ - อเมริกา ในเรื่องการช่วยเหลือจีนนานกิงทั้งทางตรงและทางอ้อม
.....๕.ญี่ปุ่นถือว่า อังกฤษและอเมริกา พยายามล้อมญี่ปุ่นทุกด้านทุกทาง เพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นมีโอกาสขยายตัวให้กว้างขวางออกไปได้

ด้วยเหตุผลทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นเหตุทำให้ญี่ปุ่นต้องประกาศสงครามกับอังกฤษ – อเมริกา ก่อสงครามทางภาคเอเชียตะวันออก

เมื่อญี่ปุ่นประกาศสงครามแล้ว ก็ยกพลเข้าโจมตีหมู่เกาะฮาวายของอเมริกาและยกพลขึ้นประเทศไทย เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ในเวลาใกล้รุ่ง โดยญี่ปุ่นยกพลมาทางเรือ มาขึ้นที่หัวเมืองชายทะเล เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอีกหลายแห่ง ฝ่ายไทยได้มีการต่อสู้ต้านทานอย่างเต็มกำลัง แต่ไม่อาจหยุดยั้งการบุกของญี่ปุ่นได้ ในที่สุด จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในครั้งนั้นต้องฝืนใจจำยอม เข้าร่วมกับญี่ปุ่นในการสงครามเอเชีย ซึ่งเรียกกันว่า สงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือสงครามเอเชียตะวันออก

( ผมว่า น่าจะเป็นชื่อ “ มหาสงครามเอเชียบูรพา “ นะครับ )

ประเทศไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และ อเมริกา

ด้วยความจำใจและจำเป็นของไทย จึงจำต้องประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕

ประเทศไทย เป็นประเทศที่รักความสงบ ไม่ต้องการรุกรานที่จะรุกรานใครให้ได้รับความเดือดร้อน และเมื่อวันที่ญี่ปุ่นยกพลบุกประเทศไทย ไทยก็ได้พยายามต่อต้านขัดขวางอย่างเต็มความสามารถ แต่ก็ไม่อาจหยุดการบุกของญี่ปุ่นได้ เพราะญี่ปุ่นมีอาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่าไทยมาก จึงต้องจำใจจำเป็นร่วมกับญี่ปุ่นด้วยความฝืนใจ และต้องประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา ญี่ปุ่นได้เดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อไปเข้ายึดพม่าโดยทางแม่สอด เครื่องบินของญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาประจำอยู่ในประเทศไทย ได้บินไปทำการรบร่วมกับกองทัพบกญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้อาศัยทางรถไฟของไทยลำเลียงพลขึ้นไปทางเชียงใหม่และออกไปทางพม่าด้านแม่ฮ่องสอน การประกาศสงครามของไทยนั้น ในที่สุด เมื่อสงครามสงบก็เป็นโมฆะไป

ทหารญี่ปุ่นพักที่อุตตรดิตถ์

สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ เป็นสถานีที่ทำการสับเปลี่ยนรถไฟที่จะเดินทางขึ้นไปทางเหนือ ทางรถไฟสายนี้จะต้องวิ่งขึ้นเนินสูงและภูเขา ทั้งทางก็คดโค้ง ต้องหลบหลีกวิ่งไปตามด้านข้างของภูเขาบ้าง วิ่งเลียบลำห้วยบ้าง ขณะที่รถไฟวิ่งขึ้นมาจากกรุงเทพฯ พอมาถึงอุตตรดิตถ์ จะตัดออกเป็นสองขบวนหรือสามขบวน เพื่อให้วิ่งขึ้นเขาได้ หากให้วิ่งขึ้นไปทั้งขบวนเท่าจำนวนที่ลากจูงมาจากกรุงเทพฯ หัวรถจักรจะลากขึ้นไปไม่ไหว จึงจำเป็นต้องตัดแบ่งออกเป็นขบวนเล็กๆ ดังกล่าว
สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ เป็นสถานีต้นทางที่จะไปทางเหนือ และต้องวิ่งขึ้นเขาบางตอน รถไฟจึงต้องจอดเติมน้ำและเติมฟืนนานกว่าสถานีแห่งอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ทหารญี่ปุ่นจึงต้องจัดตั้งหน่วยเสบียงหุงข้าวและจัดทำอาหารเตรียมไว้เพื่อทหารญี่ปุ่นที่จะขึ้นไปทางเหนือได้แวะรับเอาอาหาร นอกจากหน่วยเสบียงที่ทหารญี่ปุ่นได้จัดตั้งขึ้นนั้นแล้ว ญี่ปุ่นยังได้จัดตั้งหน่วยสื่อสารเพื่อติดต่อกับพวกของตนอีกด้วย หน่วยเสบียงของญี่ปุ่นดังกล่าวนั้น ได้ตั้งอยู่ที่หลังสถานีรถไฟเก่า ตรงร้านงุ่ยไคจั๊วเดี๋ยวนี้

ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นเหนือโดยขบวนรถไฟเสมอ และที่อุตตรดิตถ์ก็มีทหารญี่ปุ่นประจำอยู่จำนวนหนึ่ง มีทั้งหน่วยรบหน่วยสื่อสาร หน่วยเสบียงอาหารและหน่วยซ่อมเครื่องจักรกล ตลาดบางโพเวลานั้นจะมีทหารญี่ปุ่นเดินกันขวักไขว่ไปทั่วคล้ายกับเป็นเจ้าของบ้าน ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ นั้นเอง ที่ชาวอุตตรดิตถ์ได้รู้จักและได้เห็นพวกญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด

( ร้านงุ่ยไคจั๊ว เป็นร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ตั้งอยู่ริมรั้วด้านเหนือของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ หัวมุมติดกับสี่แยกหอนาฬิกาหน้าสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ เดิม ตอนนี้ร้านย้ายไปอยู่ที่อื่น ตัวห้องแถวไม้ กลายเป็นตึกแถว คสล. ของกรมธนารักษ์หมดแล้วครับ )

Click on the image for full size

อุตตรดิตถ์ถูกโจมตีทางเครื่องบิน

นับตั้งแต่วันที่ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ- อเมริกา และยกพลบุกขึ้นประเทศไทยดังกล่าวแล้ว ไทยก็จำใจต้องทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น โดยไทยต้องจำยอมประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา ในระหว่าง ๕ เดือนแรกที่ญี่ปุ่นประกาศสงคราม ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายรุกอย่างเก่งกล้า ได้ยกทหารขึ้นที่จังหวัดสงขลา เข้ารบมลายูและยึดสิงคโปร์ได้ เปลี่ยนชื่อสิงคโปร์เป็นโชนันทันที จากนั้นก็เข้ายึดฟิลิปปินส์ ยึดเกาะฮ่องกง ยึดบอร์เนียว ชวา สุมาตรา และเดินทัพผ่านประเทศไทยไปเข้ายึดพม่าทางแม่สอด และเดินทัพผ่านไทยไปยึดพม่าทางด้านแม่ฮ่องสอนอีกทางหนึ่ง ญี่ปุ่นเข้ายึดพม่าได้เมืองร่างกุ้งและมัณฑะเล และมีท่าทีที่จะไปตีอินเดียอีกต่อไป แต่ก็หมดกำลังเสียก่อน

ส่วนการรบทางด้านยุโรปนั้น อังกฤษ-อเมริกา กับ เยอรมันครั้งแรกก็เป็นฝ่ายรุกเช่นเดียวกัน ครั้นมาตอนปลายปี พ.ศ.๒๔๘๖ เยอรมันก็อ่อนกำลังลง เมื่อเยอรมันอ่อนกำลังลงเช่นนั้น ซึ่งเป็นการแพ้แก่อังกฤษและอเมริกาโดยปริยาย อังกฤษและอเมริกาจึงจัดกำลังทัพมาเพิ่มทางเอเซียมากยิ่งขึ้นเพื่อจะปราบญี่ปุ่น

ส่วนทางด้านประเทศไทย อังกฤษและอเมริกา พอจะทราบความฝืนใจของไทยในการยอมร่วมรบกับญี่ปุ่น จึงไม่ทำการรุนแรงอะไรกับไทยมากนัก คงมุ่งจะปราบฝ่ายญี่ปุ่นฝ่ายเดียว

ระหว่างสงครามดังกล่าวนั้น ทางราชการจังหวัดอุตตรดิตถ์ได้ประกาศให้ราษฎรทำหลุมหลบภัย กับทั้งให้อพยพย้านออกไปอยู่ในที่ห่างไกลชุมชนเพื่อป้องกันอันตรายจากการโจมตีทางอากาศของเครื่องบิน สถานที่ราชการก็อพยพย้ายออกไปอยู่ในที่ห่างไกลชุมชนเช่นเดียวกัน คือ ห่างจากทางรถไฟ ห่างจากสถานี ห่างสะพานข้ามแม่น้ำ เพราะอังกฤษ - อเมริกาประสงค์ที่จะทำลายตัดเส้นทางคมนาคมเพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นได้อาศัยใช้ลำเลียงทหารและขนส่งสัมภาระได้สะดวก

ข่าวภัยทางอากาศในประเทศไทยมีมากขึ้น รู้ไปถึงทางกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำปาง ทางราชการจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้จัดหน่วยป้องกันภัยทางอากาศ และหน่วยบอกสัญญาณระวังภัยโดยมีเจ้าหน้าที่ประจำทั้งกลางวันและกลางคืน สถานที่ต่างๆ รวมทั้งอาคารบ้านเรือนราษฎรและร้านค้ามีการพรางไฟทั่วไป

( หน่วยป้องกันภัยทางอากาศที่จัดตั้ง ในปัจจุบันได้แก่ ค่ายศรีพนมมาศ หรือ ป.พัน ๒๐ ตั้งอยู่ริมเส้นทางหลวงจังหวัดสายพระแท่นศิลาอาสน์ – อ.ลับแล ซึ่งทางการเห็นว่าเป็นช่องทางที่เครื่องบินเลือกบินผ่านเข้าตัวเมืองอุตรดิตถ์ จึงได้เลือกพื้นที่ตั้งหน่วยป้องกันภัยทางอากาศตรงบริเวณนั้น )

อุตตรดิตถ์ถูกบอมบ์ครั้งแรก

วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ มีเครื่องบิน บินมาจากทางทิศใต้ ๒ เครื่อง มาทิ้งบอมบ์สะพานข้ามแม่น้ำน่านที่บ้านดารา ( สะพานปรมินทร์ ) เสียงระเบิดดังไปถึงในตัวจังหวัด เครื่องบินได้ทิ้งระเบิดลงสะพาน ๑ ลูก แล้วบินมาที่หมู่บ้านวังกะพี้ ยิงปืนกลกราดบ้านวังกะพี้ บ้านท่าทอง และโรงงานน้ำตาลไทยวังกะพี้ ตลอดมาถึงบ้านป่าเซ่า ที่วังกะพี้ ปรากฎว่าลูกกระสุนปืนกลจากเครื่องบินถูกขาครูประชาบาล ชื่อนายมาด กลิ่นเชตุ และยิงกราดสถานีรถไฟวังกะพี้ กระสุนทะลุฝาเข้าไปถูกเด็กอ่อนที่กำลังนอนอยู่ในเปลตายคาที่ ชาวตลาดวังกะพี้พากันหนีหลบภัยเข้าไปอยู่ใต้ถุนตลาด กระสุนถูกชาวจีนคนหนึ่งที่ข้อมือ

ชาวจีนและนายมาด ผู้เคราะห์ร้าย ทนพิษของกระสุนปืนกลไม่ไหวได้ถึงแก่กรรมไปตามกัน ชาวบ้านและชาวตลาดวังกะพี้พากันอกสั่นขวัญหายไปตามกัน บางคนก็ไปอาศัยอยู่โคนต้นไม้เพื่อหลบภัย บ้างก็หมอบแอบอยู่ข้างขอนไม้ ที่มีหลุมหลบภัยก็หนีลงไปอยู่ในหลุม เสียงสวดมนต์ภาวนากันพึมพำ บ้างก็เสียงร้องคุณพระช่วยตามแต่ใครจะนึกได้อย่างไรก็ว่ากันไป ผิดบ้างถูกบ้างเพราะความตกใจกลัว บ้างก็ยกมือไหว้คุณปู่คุณเจ้า เมื่อเครื่องบินผ่านไปแล้ว คนที่ยังไม่ได้ทำหลุมหลบภัยต่างก็รีบทำทั้งกลางวันและกลางคืน

ในตอนบ่ายของวันที่เครื่องบินมาทิ้งระเบิดสะพานบ้านดารานั้น คนแถวบ้านท่าอิฐ บางโฑ และท่าเสา ได้ยินเสียงครืนๆ ก็สำคัญว่าฟ้าร้อง แต่ชั่วเวลาไม่นานก็ได้ยินเสียง ครืน ! ครืน ! ครืน ! และได้เห็นเครื่องบินโฉบไปๆ มาๆ อยู่ทางใต้

“ ไม่ใช่เสียงฟ้า เสียงเรือบินโจมตีโรงงานน้ำตาลโว้ย พวกเรารีบหนีลงหลุมหลบภัยเร็ว ” ไม่ว่าคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งหญิงและชาย เด็ก ผู้ใหญ่ต่างก็วิ่งหาหลุมหลบภัยกันให้วุ่นวายโกลาหล เสียงเครื่องบินดังกระหึ่มไปทางทิศเหนือ ไปทิ้งบอมบ์ที่สะพานแม่ต้า ลำน้ำยม อีกต่อไป

เมื่อเครื่องบินหายลับไปแล้ว คณะกรรมการอำเภอเมือง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ทางจังหวัด พากันรีบไปที่วังกะพี้ทันที ได้เห็นเหตุการณ์ที่เครื่องบินกราดปืนกล สถานที่บางแห่งก็พรุนไปด้วยรอยกระสุนปืนกล ชาวบ้านพากันเก็บกระสุนปืนได้เป็นอันมาก

พนักงานรถไฟซึ่งประจำอยู่ที่สถานีบ้านดารา เมื่อเครื่องบินกลับไปแล้ว ก็ได้โทรเลขแจ้งมายังกองบำรุงทางที่อุตตรดิตถ์ ทางเจ้าหน้าที่กองบำรุงทางรถไฟจึงไปยังที่เกิดเหตุในตอนเย็นวันเดียวกันนั้น ได้เห็นอำนาจร้ายแรงของลูกระเบิดและปืนกลเช่นนั้น จึงแนะนำให้ชาวบ้านรีบทำหลุมหลบภัย กับทั้งทางสถานีก็รีบช่วยกันขุดหลุมหลบภัยไว้ที่ห่างจากสถานีอย่างรีบเร่งเช่นกัน

วันรุ่งขึ้นที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ พวกชาวบางโพ และชาวท่าเสา พร้อมกับข้าราชการบางคน ต่างก็อยากจะเห็นสะพานบ้านดาราถูกโจมตี จึงพากันไปดูมากมาย

วันเดียวกัน ๒๖ เมษายน เวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. มีเครื่องบินมาจากทางทิศเหนืออีก ๖ เครื่อง บินตรงมาทิ้งระเบิดที่สะพานบ้านดาราซ้ำอีกเป็นรอบที่ ๒ พอบินมาเข้าเขตสะพานบ้านดารา และบินแยกขบวนเป็นวงกลมกราดกระสุนปืนกล เสียงรัวเป็นประทัดแตก บ้านที่อยู่ในรัศมีของกระสุนปืน มีบ้านเต่าไห บ้านไร่อ้อย บ้านพิชัย และอีกหลายหมู่บ้าน เครื่องบินกราดกระสุนปืนกลเสียงดังไม่ขาดระยะ และระดมการทิ้งบอมบ์ขนาดใหญ่ ลูกบอมบ์บางลูกพลาดเป้าหมาย ตกลงไปในน้ำ และบนหาดทราย บางลูกตกลงระหว่างช่องสะพาน บางลูกก็ถูกหัวสะพาน พวกที่พากันไปดู ต่างก็พากันวิ่งหนีเอาตัวรอดกันจ้าละหวั่น บางคนเคราะห์ร้ายถูกสะเก็ดระเบิด และถูกกระสุนปืนกลถึงแก่ล้มตายไปหลายคน เพราะหนีไม่ทัน

ขณะที่เครื่องบินกำลังบินโจมตีสะพานบ้านดาราอยู่นั้น เผอิญเป็นเวลาเดียวกับที่ขบวนรถไฟจากพิษณุโลกมาทำการขนถ่ายสัมภาระอยู่พอดี ขบวนที่มาจากพิษณุโลกมาจอดอยู่ฝั่งด้านใต้ของสะพาน ขบวนที่มาจากอุตตรดิตถ์จอดขนถ่ายอยู่ทางฟากด้านเหนือของสะพาน ผู้โดยสารกำลังเดินข้ามสะพานเพื่อสับเปลี่ยนรถพอดีกับที่เครื่องบินทั้ง ๖ เครื่องดังกล่าวนี้บินมาถึง จึงเป็นเวลาเคราะห์ร้ายรวมกันขนาดใหญ่ หัวรถจักรและรถตู้ก็ถูกกระสุนปืนกลเสียหายไม่น้อย

ภัยทางอากาศโดยเครื่องบินโจมตีสะพานบ้านดาราครั้งนี้ นับเป็นการถูกโจมตีทางเครื่องบินครั้งที่ ๒ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ คราวนี้ สถานที่ทำการของทางราชการบางแห่งที่ยังไม่ย้ายหนีภัย จึงทำการย้ายด่วนทันที ศาลากลางจังหวัดย้ายไปอยู่ที่อำเภอลับแล และหน่วยงานอื่นอีกหลายแห่งพากันขนย้ายกันอย่างรีบเร่งที่สุด

เครื่องบินกราดปืนกลที่บางโพและท่าเสา

นับตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ เป็นต้นมา เครื่องบินได้มาทิ้งระเบิดและยิงปืนกลกราดที่สะพานบ้านดารา จากนั้นก็มีเว้นเพียงระยะ ๓ – ๔ วัน จะมีเครื่องบินมาโจมตีอีกเป็นระลอกๆ เช่นนี้อยู่เสมอ จากโจมตีสะพานบ้านดาราแล้ว เครื่องก็จะบินเข้าไปในเขตตัวจังหวัดอุตตรดิตถ์ กราดปืนกลยิง ก่อนที่เครื่องบินจะเข้าไปในเขตตัวจังหวัดก็จะมีเสียงกระหึ่มมาแต่ไกล เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันภัยของจังหวัดได้ยินเสียงก็จะรีบเปิดไซเรน หวอ ! หวอ ! บอกสัญญาณภัย เวลาเครื่องบินกลับไปแล้ว ก็จะเปิด หวอ ! หวอ ! หวอ ! อีก เป็นการบอกสัญญาณหมดภัย

เรื่องการอพยพหนีภัยของสถานที่ราชการอีกครั้ง เช่น โรงเรียนประจำจังหวัดชาย อพยพไปทำการสอนอยู่ที่ศาลาวัดบรมธาตุทุ่งยั้ง โรงเรียนสตรีจังหวัด อพยพไปสอนอยู่ที่ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม หาดท่าอิฐ และเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๘๗ โรงเรียนประชาบาลตำบลท่าเสา ๙ วัดไผ่ล้อม ได้ย้ายไปเรียนอยู่บนกุฏิพระวัดไผ่ล้อม หาดท่าอิฐนั่นเอง

วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๗ เวลาบ่าย มีเครื่องบินชนิด ๒ ลำคู่แฝดติดกัน ๒ เครื่อง บินมาจากทิศใต้ มาถึงก็บินโฉบลงระยะต่ำ ยิงกราดถังน้ำซึ่งเป็นหอสูงของรถไฟ และยิงกราดหัวรถจักรซึ่งจอดอยู่ในโรงพักรถที่สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ ปืนกลภาคพื้นดินของญี่ปุ่นได้ยิงขับไล่เครื่องบินแฝดทั้ง ๒ ลำนั้น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว เครื่องบินแฝดทั้งคู่นั้นได้บินเลยไปที่ตลาดท่าเสา ยิงกราดรถจักรและตู้รถไฟ แล้วบินวกกลับมายิงกราดที่สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ซ้ำอีกเป็นรอบสอง แล้วกลับไปยิงที่ท่าเสาอีก โดยการบินกลับไปกลับมายิงถล่มเป็นว่าเล่น ทางภาคพื้นดินก็ยิงขับไล่ไม่ขาดเสียง แต่ไม่อาจทำให้เครื่องบินของข้าศึกเสียหายอะไรได้

นับเป็นครั้งแรกที่ชาวตลาดบางโพ และชาวตลาดท่าเสา ได้เห็นเครื่องบินเข้ามายิงกราดในตัวจังหวัดและได้เห็นเครื่องบินอย่างใกล้ชิด ทั้งกลัว และทั้งอยากดูอยากเห็น เสียงปืนกลดัง ครืน ! ครืน ! ทั้งที่ยิงกราดลงมาจากเครื่องบิน และทั้งที่ยิงขับไล่จากภาคพื้นดิน ดังประสานเสียงสนั่นหวั่นไหว คนเฒ่าคนแก่บางคนได้ยินเสียงถึงกับเป็นลมช็อคไปเลยก็มี บางคนไม่เคยได้พบได้เห็นเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ก็ตกประหม่าขวัญหนี วิ่งหาที่หลบซ่อนกันชุลมุนวุ่นวาย บ้างก็วิ่งเข้าซุกในกระทอใส่ถ่านด้วยความตกตลึงกลัว บางคนคว้าได้ผ้าขี้ริ้ววิ่งลงหลุมหลบภัย ห่อเงินห่อทองของมีค่าอย่างอื่นไม่เอาไป เพราะความตกใจกลัวจนหยิบฉวยอะไรไม่ถูก ผู้ชายบางคนก็ห้อยพระเครื่องเต็มคอ บางคนก็มีตะกรุด ผ้าประเจียด เครื่องบินที่มาโจมตีนี้ มุ่งทำลายแต่สะพานและรถไฟเพื่อตัดทางคมนาคม ไม่ให้ฝ่ายญี่ปุ่นลำเลียงสัมภาระและทหารได้สะดวก ส่วนอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในรัศมีของระเบิดและกระสุนปืนนั้น ถือเสียว่าเป็นคราวเคราะห์หามยามซวยไป

จากการโจมตีทางเครื่องบินครั้งนี้ ทำให้ชาวจังหวัดอุตตรดิตถ์เกิดความรู้ถึงภัยทางอากาศขึ้นมาก อย่างเช่น ลูกระเบิดครั้งแรกก็เข้าใจว่าคงจะเป็นลูกกลมๆ คล้ายลูกมะพร้าวหรือลูกฟุตบอล แต่เมื่อได้เห็นลูกระเบิดที่ไม่ระเบิดนอนกลิ้งอยู่ข้างสะพานบ้านดาราในลักษณะนอนตะแคงข้าง มีสีดำทำด้วยเหล็กหล่อรูปกลมๆ และยาวคล้ายหัวปลีกล้วย ขนาดใหญ่เท่าไหซองใหญ่ๆ ยาวประมาณ ๓ ศอก ตอนท้ายมีหางยาวออกมา ตอนหัวมีเหล็กขนาดใหญ่เกือบเท่าแขนเมื่อพวกทหารช่างได้มาถอดออกได้เห็นข้างใน ลูกระเบิดที่ตกลงมานอนตะแคงอยู่นั้น ทหารช่างบอกว่าเป็นระเบิดที่ทิ้งระยะต่ำ ไม่ทันตั้งตัวตรงจึงไม่ระเบิด หนักขนาดหามสี่คนยังไม่ไหว

สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ถูกบอมบ์อีก

วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เวลาย่ำรุ่งยังไม่ทันสว่างดี เครื่องบิน บี – ๒๔ ของอเมริกาชนิด ๔ เครื่องยนต์ จำนวน ๒ เครื่อง ได้มาบินร่อนอยู่เหนือตลาดท่าเสา และตลาดบางโพ ได้ยิงปืนกลกราดมายังบริเวณสถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ เป็นประกายแดงพราวเสียงดัง ครืน ! ครืน ! ลูกระเบิดขนาดเล็กตกลงยังที่หุงข้าวของทหารญี่ปุ่นและที่พักของทหารญี่ปุ่นพัง อีกลูกหนึ่งตกลงในท้องร่องมุมตลาด ร้านค้าพังไปบ้างบางแห่ง อีกเครื่องหนึ่งบินไปทางสะพานบ้านดาราเพื่อจะยิงกราดและทิ้งระเบิดสะพานซ้ำอีก ระเบิดบางลูกที่ทิ้งสถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ บ้างก็ตกลงเหนือสถานีบ้าง ใต้สถานีบ้าง เครื่องบินลำที่บินไปจะระเบิดซ้ำสะพานบ้านดารานั้น เคราะห์ร้ายไปถูกปืนทหารญี่ปุ่นซึ่งเฝ้ารักษาสะพานอยู่นั้น กระสุนโดนเข้าที่หางเสือทำให้เสียการทรงตัว บินพุ่งไปตกลงที่หมู่บ้านหม้อ อำเภอพิชัย ตกในป่าอ้อยเกิดไฟลุกไหม้ นักบินเสียชีวิตไป ๔ คน อีก ๔ คนรอดตาย แต่ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจับได้ ปรากฏว่าเป็นชาติอังกฤษ อเมริกา และเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่นจะเข้าแย่งตัวเชลยเหล่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้พาไปหลบซ่อนหนีญี่ปุ่นเสียก่อน เกรงว่าถ้าญี่ปุ่นแย่งเอาไปได้ คงจะต้องทำทารุณแก่พวกเซลยเหล่านั้นอย่างสาหัส หรือบางทีอาจแกล้งทรมานให้ตายก็เป็นได้ นับว่าเป็นโชคดีของพวกเชลยที่ได้มาตกมาอยู๋ในมือของฝ่ายไทย จึงได้รับความสุขความสบายในการกินการนอน งานการก็ไม่ให้ทำอะไร ถึงเวลาก็จัดอาหารมาให้กินเป็นพิเศษ

ส่วนเครื่องที่เหลืองวดนั้น ไม่เป็นอันตรายอย่างไรเลย คงบินกลับไปฐานทัพของเขา ในวันนี้ ขณะที่เครื่องบิน บี - ๒๔ ของฝ่ายอังกฤษ อเมริกา กำลังบินโจมตีสถานีรถไฟอุตตรดิตถ์อยู่นั้น เป็นเวลาที่พวกแม่ค้ากำลังนำของขายเข้าสู่ตลาดกันชุลมุนวุ่นวายอยู่นั้น และได้ประสบกับเหตุการณ์อันน่าตกใจกลัวเช่นนั้น ต่างก็ขวัญหนีดีฝ่อไปตามๆ กัน บางคนกำลังเดินหาบของจะเข้าไปขายในตลาด ได้เห็นเครื่องบินกำลังแผลงฤทธิ์ก็ตกใจกลัวมาก ถึงกับพูดกับพวกเดียวกันว่า “ ฉันไม่ไปขายของแล้ว เห็นไหมเครื่องบินมันร่อนต่ำลงมา เห็นที่ปีกมีไฟแดงๆ ด้วย ” บางคนเมื่อได้ยินเสียงดัง ครืน ! ครืน ! ก็ทิ้งหาบวิ่งเข้ามุดใต้ถุนร้านขายของ บ้างก็วิ่งไปหมอบในท่อระบายน้ำข้างถนน บ่นภาวนาตัวสั่นเหมือนลูกนก เครื่องบินโจมตีจนหนำใจแล้วก็บินกลับ และไปตกที่พิชัยหนึ่งเครื่องดังกล่าว เช้าวันนั้น เป็นอันว่าตลาดว่างเปล่าไม่มีทั้งคนขายและคนซื้อ เพราะต่างก็พากันหลบหนีเครื่องบินกันไปหมด ไปกันคนละทิศละทาง

เมื่อเครื่องบินกลับไปแล้ว ต่างก็มาจับกลุ่มสนทนากันถึงเรื่องการวิ่งหลบหนีเครื่องบิน บางคนก็บอกว่าน่ากลัวมันจะมาโจมตีซ้ำอีก พวกเราต้องระวังกันไว้ดีกว่า

วันเดียวกันนี้ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.เศษ เครื่องบิน บี – ๒๔ ได้บินเข้าถึงตัวจังหวัดอุตตรดิตถ์ จำนวน ๘ เครื่อง เสียงไซเรนสัญญาณบอกภัยทางอากาศดังกังวานขึ้น พอเสียงหวอสงบลงก็ปรากฏว่าเครื่องบิน ๘ เครื่องมาบินโฉบอยู่เหนือสถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ แล้วเครื่องบินบินไปทางใต้ แล้ววนกลับมาทางเหนือพร้อมกับเสียงดังรัวจากปืนกลที่พ่นกระสุนลงมาจากเครื่องบิน ระคนกับเสียงระเบิดดัง ครืน ! ครืน ! เปรี้ยง ๆ ถล่มลงสถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ซ้ำจากถูกถล่มเมื่อตอนเช้า ที่ตั้งกองเสบียงของญี่ปุ่นพังพินาศ ระเบิดตกถูกห้องแถวถนนราษฎร์สนาน หลังสถานีรถไฟพังไป ๒ ห้อง เครื่องบินทั้ง ๘ เครื่อง ได้ระดมยิงกราดและทิ้งระเบิดอย่างถี่ยิบ แล้วบินร่อนเป็นวงกลมไปๆ มาๆ

ปืนต่อสู้อากาศยาน ปตอ. ที่ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ก็ยิงโต้ตอบอย่างไม่ยอมหยุดเช่นเดียวกัน กระสุนปืน ปตอ. ไปโดนเครื่องบินเข้าลำหนึ่ง ไฟลุกแดง เสียงประชาชนที่อยู่หมู่บ้านป่าเซ่าทางฝั่งด้านตะวันออกของลำน้ำน่าน ร้องตะโกนกันว่า “ เครื่องบินไฟไหม้แล้วโว้ย โดนปืนเข้าบ้างแล้ว ” เครื่องบินหนึ่งในแปดเครื่องนั้น ไฟไหม้ใต้ท้องเห็นแสงไฟแดงโชติช่วง ได้บินออกจากหมู่บ้าน หัวปักต่ำลงและไปตกที่ป่าไม้ในหมู่บ้านม่อนดินแดง เสียงดังเหมือนฟ้าร้อง ไฟไหม้ลุกท่วมลำตัว ขณะที่เครื่องบินกำลังตกลงมาก่อนจะถึงแผ่นดิน นักบินได้โดดร่มชูชีพลงมา ๓ คน แต่ร่มกางลงมาได้เพียง ๒ คน อีก ๑ คน ร่มไม่กาง เลยตกลงกระแทกกับตอไม้ตายทันที เมื่อเครื่องบินตก มีประชาชนและพวกทหารม้าที่ตั้งอยู่บ้านท่าเสา พากันวิ่งไปดู เห็นเครื่องบินชนต้นไม้หักราบเป็นแนว เครื่องบินหกคะเมนเครื่องพังกระจัดกระจายกระเด็นไปคนละทิศละทาง รอยเครื่องบินเป็นทางยาวประมาณ ๒๐ วา กว้าง ๑๐ วา เครื่องบินที่ตกนี้ เป็นเครื่องบิน บี – ๒๔ สี่เครื่องยนต์ มีนักบินประจำมาด้วย ๑๒ คน ตายคาซากเครื่องบินดำเป็นตอตะโก ๙ คน

นักบินที่โดดร่มชูชีพรอดตายมาได้ ๒ คนนั้น ได้พากันดั้นด้นไปตามป่าเพื่อหวังว่าจะได้พบหมู่บ้าน คนหนึ่งเดินไปถึงบ้านน้ำริด เป็นชาวอังกฤษรุ่นหนุ่ม ได้ความว่าเป็นช่างถ่ายรูปประจำเครื่องบิน ชาวบ้านได้นำตัวไปมอบให้ตำรวจกองเมืองอุตตรดิตถ์ ส่วนนักบินอีกคนหนึ่งนั้นเดินเดาสุ่มไปจนเวลาพลบค่ำจึงไปเห็นโรงนาของชาวบ้าน จึงแวะเข้าไปขอข้าวกิน โรงนาแห่งนี้เป็นของชาวลับแล ถามกันพอฟังได้แต่คำว่า “ อินเดีย – อินเดีย - กัลกัตตา ” คนนี้เป็นชาวอังกฤษเหมือนกัน เป็นคนยิงปืนประจำเครื่องบิน ชาวลับแลเจ้าของโรงนาผู้นั้นเห็นเป็นฝรั่งและพูดกันไม่รู้เรื่อง ก็จัดหาอาหารให้กิน แล้วพาไปมอบให้ตำรวจลับแล

นักบินที่โดดร่มรอดตายมาได้ทั้ง ๒ คนนี้ เมื่อได้ถามดูก็พอจับความได้ว่า มีความสมัครใจเป็นเชลยของไทย ไม่ยอมเป็นเชลยของญี่ปุ่น เมื่อเชลยได้อยู่ในความดูแลของตำรวจเช่นนั้น มีประชาชนไปดูกันมาก ตำรวจก็จัดอาหารให้กินอย่างดี

เครื่องบินทั้ง ๘ เครื่อง ได้ถูกกระสุนปืน ปตอ. ที่ยิงต่อสู้ที่สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์จนไฟลุกไหม้ไปตกที่หมู่บ้าน ม่อนดินแดง ห่างจากบ้านท่าเสาค่อนไปทางเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษๆ ต่อมาได้ทราบว่า มีเครื่องบินในจำนวน ๘ เครื่องดังกล่าวนั้น ได้ถูกกระสุนปืน ปตอ. ที่สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ ไฟลุกไหม้ที่ปีก แต่นักบินได้พยายามพาบินข้ามเขาไปทางทิศตะวันตก และทราบว่าไปตกในป่า กิ่งอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง นักบินตายหมดทั้งลำ

เครื่องบินที่เหลืออีก ๖ เครื่อง เมื่อเห็นพวกเดียวกันถูกยิงไฟไหม้ตกไป ๒ เครื่อง ต่างก็ระดมยิงปืนกลและทิ้งระเบิดลงมายังกับห่าฝน จนถึงเวลาพลบค่ำ จึงพากันบินกลับไปฐานทัพที่กัลกัตตา

( เครื่องบินตกที่บ้านหม้อ อ.พิชัย น่าจะมีพลประจำเครื่องตายมากกว่านี้ แต่ปรากฎตามที่บันทึกไว้แค่ ๔ คน ต้องเว้นเครื่องหมาย ? เอาไว้ก่อนครับ )

สถานีรถไฟและโรงฟ้าอุตตรดิตถ์ ถูกระเบิดพังราบไม่เหลือ

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ เป็นวันมหาวิปโยคสำคัญยิ่งของจังหวัดอุตตรดิตถ์ นับเป็นวันที่สูญเสียสถานที่สำคัญและชีวิตประชาชนไม่น้อยในวันนี้

วันรุ่งขึ้นแต่เช้าตรู่ บรรดาพวกพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายต่างรีบจัดสินค้าใส่หาบนำไปขายที่ตลาด ซึ่งทางเทศบาลจัดเป็นตลาดชั่วคราวเพื่อหลบภัยทางอากาศ ที่สี่แยกวัดธรรมาธิปไตย ที่ตลาดบางโพนั้น เวลานั้นเป็นห้องว่างเปล่าใส่กุญแจทิ้งไว้ เจ้าของร้านบางรายได้อพยพไปอยู่ในที่ห่างไกลที่คาดว่าพ้นรัศมีการโจมตีของข้าศึก ส่วนด้านการรถไฟได้จัดตั้งโรงงานซ่อมเครื่องจักรกลขึ้นไว้ใกล้ถังน้ำที่เป็นหอสูง ในบริเวณที่ตั้งโรงงานของรถไฟในเวลานี้

เมื่อเครื่องบินไปทิ้งระเบิดเพื่อทำลายสะพานบ้านดารา คือ สะพานปรมินทร์ ข้ามแม่น้ำน่านหลายครั้งหลายหน หัวรถจักรถูกระเบิด บ้างก็ถูกกระสุนจากเครื่องบิน บ้างเสียหายจนไม่อาจจะซ่อมได้ จึงสร้างโรงเก็บรถจักรเพื่อเก็บซ่อนให้พ้นสายตาของเครื่องบินข้าศึก ถ้าเขาได้เห็นรถจักรเป็นต้องระดมยิง และทิ้งระเบิดลงใส่ทันที เมื่อรถไฟข้ามไปมาไม่ได้ เพราะสะพานชำรุดเนื่องจากถูกโจมตีหลายครั้งหลายคราวดังกล่าว การลำเลียงพลและการลำเลียงสัมภาระของญี่ปุ่น ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันก็เป็นไปโดยยากลำบาก ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงระดมกำลังกันสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่านคู่ขนานไปกับสะพานปรมินทร์ เรียกว่า สะพานเบี่ยง เพื่อรถไฟวิ่งข้ามไปมาได้อย่างสะดวก ส่วนที่อาคารสถานีนั้น ได้ขนย้ายบัญชีและพัสดุสิ่งของต่างๆ ออกไปตั้งที่ทำการชั่วคราวอยู่ที่อื่น เพราะเกรงจะถูกทำลาย

นับจากวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เป็นต้นมา หลังจากที่สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์ได้ถูกโจมตีทั้งเช้าและเย็น และเครื่องบินถูกยิงไปตกที่พิชัย เครื่องหนึ่ง ไปตกที่ลำปางอีกเครื่องหนึ่งในวันเดียวกันนับตั้งแต่วันที่ ๕ ตุลาคมดังกล่าวนั้นเป็นต้นมา ไม่มีเครื่องบินมาโจมตีที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์และบางโพอีกเลย ทำให้คิดว่า คงไม่มีเครื่องบินมาก่อกวนอีกแล้ว เพราะเป็นเวลาห่างมาตั้งเดือนกว่า ทำให้ชาวบางโพเกิดชล่าใจ

แต่แล้ว เมื่อมาถึงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ นั้น เวลาเช้า อากาศกำลังร่มเย็นสบาย บริเวณหลังสถานีอุตตรดิตถ์ มีประชาชนเดินดูรอยกระสุนและหลุมระเบิด ประกอบทั้งเวลานั้น เป็นเทศกาลงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ มีประชาชนจากหลายจังหวัดมางานนั้นด้วย พากันเดินอยู่ที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์กันเป็นหมู่ๆ ทั้งเวลาเช้าและบ่าย บางพวกก็ไปรับประทานอาหารและดื่มสุรากันในร้านขายอาหาร พวกโรงงานของโรงซ่อมเครื่องจักรกล โรงกลึงของรถไฟบางพวกก็นั่งจับกลุ่มคุยกันโดยไม่มีใครนึกถึงเลยว่า พระยามัจจุราชอันเหี้ยมโหดจะมาถึง

วันนั้นเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. เครื่องบิน บี - ๒๔ ชนิด ๔ เครื่องยนต์ จำนวน ๖ เครื่อง บินพวดพราดครางกระหึ่มเข้ามาถึงตัวจังหวัดอุตรดิตถ์โดยไม่มีใครรู้ แม้สัญญาณบอกภัยทางอากาศซึ่งเคยเปิดหวอให้ร็แทบทุกครั้ง แต่น่าประหลาดใจที่ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยป้องกันภัยก็ไม่รู้ ไม่ทันจะเปิดหวอ เจ้ามัจจุราชทั้ง ๖ เครื่องก็เข้าถึงตัวเสียแล้ว เมื่อเข้ามาถึง เจ้าเครื่องบินทั้ง ๖ ก็จิกหัวลงต่ำ ระดมยิงด้วยปืนกลประจำเครื่องบิน พร้อมปล่อยระเบิดลงอย่างไม่นับ เสียงดัง เปรี้ยงๆๆ ครืนๆ สนั่นก้องไปทั่ว เมื่อได้กระหน่ำยิงแล้ว มันก็พากันไปเล่นงานโรงไฟฟ้า โรงซ่อมเครื่องจักรกล โรงกลึงของรถไฟ แล้วมาแสดงอิททธิฤทธิ์เล่นงานสถานีรถไฟ วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำอีกจนนับครั้งไม่ถ้วน ระเบิดที่โยนใส่ลงมาคราวนี้เป็นระเบิดขนาดใหญ่มาก จากนั้นมันบินไปท่าเสา และยิงกราดทางรถไฟไปทางทิศเหนือ มันกระหน่ำเสียจนพอใจแล้วก็บินผ่านกลับไปเลย ไม่กลับมาซ้ำอีกเหมือนครั้งแรก ขณะที่เจ้าพระยามัจจุราชทั้ง ๖ กำลังยิงกราดและทิ้งบอมบ์นั้น ประชาชนต่างพากันตกใจเพราะไม่ทันรู้ตัว จะวิ่งไปลงหลุมหลบภัยก็ไม่ทัน บางคนหมอบอยู่ในห้อง บางคนกำลังวิ่งจะไปลงหลุมหลบภัย ก็เลยสังเวยชีวิตจากกระสุนปืนกลจากเครื่องบินไปตามๆ กันหลายชีวิต หลังจากโจมตีที่อุตตรดิตถ์แล้ว เครื่องบินเลยไปยิงกราดที่หมู่บ้านทุ่งยั้งและไผ่ล้อม ขณะที่กำลังเดินต้อนวัวควายกลับเข้าบ้าน พวกสัตว์เหล่านั้นก็เลยตกเป็นเป้ากระสุนปืนของเครื่องบินตายไปหลายตัว

เครื่องบินทั้ง ๖ ได้ทำลายสถานีรถไฟอุตตรดิตถ์พังพินาศเป็นเศษอิฐเศษปูนไป โรงฟ้าของเทศบาลก็พังราบ โรงซ่อม โรงกลึงของรถไฟก็ไม่มีเหลือ รถจักรซึ่งจอดอยู่บนรางก็ล้มนอนกลิ้งตะแคง ลูกบอมบ์แต่ละลูกโตขนาดใหญ่มาก หลุมระเบิดแต่ละหลุมกว้างใหญ่และลึก ระหว่างที่ลูกบอมบ์ตกลงมาระเบิดนั้น เสียงดังสะเทือนไปไกลกว่า ๒ กิโลเมตร รถจักร รถตู้หลายคันลงไปนอนกลิ้งอยู่นอกราง รางเหล็กรถไฟที่โดนระเบิด ขาดกระเด็นปลิวข้ามแม่น้ำไปตกที่บ้านหมอนไม้ ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ผู้ที่อยู่ในโรงกลึง โรงซ่อมของรถไฟตกเป็นเหยื่อกระสุนและระเบิดตายหลายสิบชีวิต

เมื่อเครื่องบินทั้ง ๖ ผ่านพ้นไปแล้ว เห็นว่าปลอดภัย เจ้าหน้าที่จึงออกมารีบจัดการนำคนเจ็บที่ถูกสะเก็ดระเบิดและถูกกระสุนปืนจากเครื่องบินนำไปส่งที่สุขศาลาซึ่งไปตั้งทำงานอยู่ที่วัดธรรมาธิปไตย บางคนไปตายที่สุขศาลานี้ก็มี เพราะบาดแผลขนาดหนักมาก ทนพิษไม่ไหว ประชาชนที่กำลังวิ้งหนีก็ตายเพราะลูกบอมบ์และกระสุนปืนจากเครื่องบินมีไม่น้อย เป็นที่น่าเอน็ดอนาถใจอย่างที่สุด

เหตุการณ์ของวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ ในวันนั้น นับเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดยิ่งกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา มากมายหลายเท่า

สะพานปรมินทร์ บ้านดาราพังยุบ
( ต้นฉบับ ผู้เรียบเรียงเขียนเป็นสะพานปรเมนทร์ )

สะพานปรมินทร์ เป็นสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำน่านที่บ้านดารา สำหรับรถไฟที่วิ่งผ่านข้ามไปมาของทางรถไฟ ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมกันระหว่างฝั่งด้านใต้และด้านเหนือ รถไฟวิ่งผ่านข้ามไปมาได้ตลอดสายตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปถึงเชียงใหม่ โดยช่างชาวเยอรมันเป็นผู้ทำการก่อสร้าง เป็นสะพานเหล็กแข็งแรง เริ่มสร้างเมื่อรถไฟได้ทำทางไปถึงอุตตรดิตถ์ ซึ่งเรียกกันว่า สะพานบ้านดารา

สงครามโลกครั้งที่ ๒ อังกฤษ – อเมริกา ใช้ลูกระเบิดขนาดใหญ่พิเศษเพื่อต้องการทำลาย เป็นการตัดการลำเลียงพล และสัมภาระเครื่องยุทโธปกรณ์ต่างๆ ของญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ สะพานปรมินทร์ หรือที่เรียกกันว่า สะพานบ้านดารา ถูกโจมตีทิ้งระเบิดครั้งแรกเมื่อตอนบ่ายวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ เป็นเหตุให้หัวสะพานชำรุด รถไฟข้ามไปมาไม่ได้ ช่างของกองบำรุงทางรถไฟได้รีบซ่อมเป็นการด่วน แต่พอวันรุ่งขึ้นเดือนเดียวกัน เครื่องบินของอังกฤษ – อเมริกา ก็มาทิ้งระเบิดซ้ำอีกหลายเครื่อง แต่ลูกระเบิดคราวนี้ที่นำมาใช้ เป็นระเบิดขนาดใหญ่ ทั้งยิงกราดด้วยปืนกล และทิ้งระเบิดซ้ำอีกเป็นเวลานาน เครื่องบินที่ทำการโจมตีครั้งนี้มาด้วยกัน ๖ เครื่อง เป็นเครื่องบินขนาดใญ่ทุกเครื่อง พยายามโจมตีวันเว้นวันทั้งเพิ่มขนาดร้ายแรงขึ้นทุกเที่ยวที่มา การมาถล่มเฉพาะสะพานบ้านดาราแห่งเดียว รวมได้ประมาณถึง ๒๙ ครั้ง คะเนว่าใช้ลูกบอมบ์ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ – ๖๐๐ ลูก

เฉพาะการมาทิ้งระเบิดและกราดด้วยปืนกล ที่สะพานบ้านดาราแห่งนี้ ในวันที่ ๒๕ ธํนวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ คราวนี้มาทิ้งบอมบ์ในเวลาเย็น โดยลูกบอมบ์ขนาดใหญ่ร้อยโซ่เป็นพวงเหวี่ยงลงกลางสะพาน หวังทำลายเป็นครั้งสุดอย่างสุดฤทธิ์ และก็ได้ผลไม่ผิดหวัง ลูกบอมบ์ขนาดใหญ่ที่ร้อยโซ่เป็นพวงหย่อนลงมานั้น ลงมาโดนเสาสะพานเต็มแรง สะพานเหล็กได้ยุบฮวบลงทันที สะพานพังลงไปในแม่น้ำเป็นบางส่วน ใช้ข้ามไปมาไม่ได้เลย

การแผลงฤทธิ์โจมตีของฝ่ายอังกฤษ – อเมริกาครั้งนั้น ทำให้อุตตรดิตถ์ต้องสูญเสียสิ่งก่อสร้างสำคัญๆ ไปหลายอย่างดังกล่าวมาแล้ว เป็นการตัดกำลังของญี่ปุ่น แต่ไทยเราก็พลอยได้รับผลเสียหายไปด้วย ทั้งสิ่งก่อสร้างและชีวิตของประชาชนไม่น้อย

การทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟวันสุดท้าย ที่สถานีอุตตรดิตถ์พังพินาศนั้น วันรุ่งขึ้นเช้า มีประชาชนพากันมาดูซากปรักหักพังของสถานี ทุกคนต่างตกใจ เพราะได้เห็นระเบิดลูกหนึ่งซึ่งไม่ระเบิด นอนกลิ้งสงบอยู่หลังสถานีตรงกับบริเวณที่ตั้งหอนาฬิกาปัจจุบันนี้ ระเบิดลูกนี้ใหญ่มาก ขนาดเท่าโอ่งมังกรขนาดใหญ่ ชนิดคนเดียวถ้าจะใช้มือโฮบคงไม่รอบ แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้ คงได้แต่พากันยืนมองอยู่ห่างๆ เกรงว่ามันอาจจะระเบิดขึ้นเมื่อไรก็ได้

สงครามสงบ

วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ชาวเมืองอุตตรดิตถ์ที่ไม่เคยเห็นเครื่องบินของข้าศึก ไม่เคยเห็นเครื่องบินยิงกราดด้วยปืนกล ไม่เคยเห็นลูกบอมบ์หรือลูกระเบิด สงครามคราวนี้ทำให้รู้ฤทธิ์เดชและพิษสงของอำนาจแห่งสงคราม ไม่เคยเห็นมีคนตายนอนเกลี่อนกลาดเลือดแดงไปทั่ว ก็ได้เห็น เป็นที่น่าสยดสยองหวาดเสียว ไม่เคยเห็นคนญี่ปุ่นก็ได้เห็นกันคราวนี้

นับตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ เป็นต้นมา ระหว่างที่หน่วยราชการและประชาชนต่างอพยพหลบภัยไปอยู่ที่อื่นกันวุ่นวายอยู่นั้น ก็เกิดมีมิจฉาชีพพวกหนึ่งออกทำการปล้นสะดม ลักทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ ทั้งของราชการและของชาวบ้าน รวมทั้งของวัดวาอาราม พวกสันดานชั่วเหล่านี้ก็ไม่ละเว้น สร้างความเดือดร้อนซ้ำเติมอยู่เสมอ

วันสิ้นสุดของสงคราม เนื่องมาจากกองทัพเรือ ทัพอากาศ และทัพบกของอังกฤษ - อเมริกาได้โจมตีเกาะญี่ปุ่นหลายแห่ง ครั้งหลังสุดได้ทิ้งระเบิดปรมาณูบนเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ เพราะได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงขอสงบสงคราม

เมื่อสงครามสงบ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ชาวจังหวัดอุตตรดิตถ์ต่างพากันดีอกดีใจ ต่อมาในเดือนกันยายนปีเดียวกัน สถานที่ราชการ และประชาชนที่พากันอพยพไปอยู่ในที่ต่างๆ ก็พากันกลับมาอยู่ในที่เดิมเป็นปกติ

วันสันติภาพ

ญี่ปุ่น ได้ถูกการปิดล้อมของอังกฤษ – อเมริกา ประชาชนและทหารญี่ปุ่นต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก ญี่ปุ่นตกอยู่ในความยากลำบากทุกวิถีทาง จึงจำต้องขอยอมสงบศึก อังกฤษ – อเมริกาก็ไม่ขัดข้อง ยอมตามคำขอสงบศึกของญี่ปุ่นโดยดี แต่ข้างฝ่ายอังกฤษ – อเมริกาต้องให้ทหารญี่ปุ่นที่อยู่ทั้งในประเทศและนอกประเทศทุกแห่งวางอาวุธให้หมด เรียกว่าเป็นการปลดอาวุธกันทีเดียว ทางญี่ปุ่นก็จำยอมปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไขต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น ทหารญี่ปุ่นที่มาอยู่ในอุตรดิตถ์หลายหมู่หลายพวกก็จำเป็นต้องถูกปลดอาวุธทั้งหมดเช่นเดียวกัน การถูกปลดอาวุธครั้งนี้ ทหารญี่ปุ่นเสียใจมาก บางคนถึงกับร้องไห้โฮไปเลยก็มี สิ่งของต่างๆ ของทหารญี่ปุ่น เช่น ปืนเล็กสั้น กระสุนปืน และสิ่งของต่างๆ บ้างก็เอาไปโยนทิ้งลงแม่น้ำ บางคนก็เอาเผาไฟ ทุกคนรู้ตัวดีว่าจะต้องกลับไปมือเปล่า

พวกเชลยฝรั่งชาติต่างๆ ที่ญี่ปุ่นจับมาควบคุมไว้ และใช้ให้ทำงานอย่างทารุณ ก็ต้องปล่อยตัวทุกคนและส่งกลับกรุงเทพฯ อย่างปลอดภัย

ทหารญี่ปุ่นจะถืออาวุธปืนอย่างแต่ก่อนไม่ได้อย่างเด็ดขาด เวลาอยู่เวรยามจะถือได้แต่ไม้ตะพดเท่านั้น

เมื่อญี่ปุ่นยอมสงบศึกแล้ว ก็มีทหารอังกฤษ – อเมริกา และทหารอินเดีย ได้เข้ามาในจังหวัดอุตตรดิตถ์ไม่น้อย และทหารญี่ปุ่นที่อุตตรดิตถ์ถูกส่งตัวไปรวมกันที่กรุงเทพฯ

เมื่อสงครามสงบแล้ว ทางรัฐบาลได้จัดงานฉลองสันติภาพขึ้นที่กรุงเทพฯ ๓ วัน ๓ คืน มีการประดับธงชาติของชาติต่างๆ มีมวย และมหรสพในวันที่ ๑๘ – ๑๙ – ๒๐ มกราคม


http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=111
Back to top
View user's profile Send private message
Rakpong
President
President


Joined: 29/03/2006
Posts: 1716
Location: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

PostPosted: 30/10/2008 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ เป็นวันมหาวิปโยคสำคัญยิ่งของจังหวัดอุตตรดิตถ์ นับเป็นวันที่สูญเสียสถานที่สำคัญและชีวิตประชาชนไม่น้อยในวันนี้


ช่วงที่เราจะไปเยี่ยมโรงรถจักรอุตรดิตถ์ ก็ใกล้วันครบรอบ 64 ปี เหตุการณ์ครั้งนั้นเลยนะครับ ผู้เฒ่าผู้แก่ ที่อยู่ทัน คงเหลือไม่มากนัก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 30/10/2008 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

แถมด้วยการเปิดเดินรถถึงสถานีบ้านดาราครบ 100 ปี ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ปีนี้ด้วยครับ ซึ่งก็ต้องรวมสะพานปรมินทร์ไปด้วย

ส่วนอุตรดิตถ์นี่ครบ 99 ปี ไปเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา ตรงนี้ก็ต้องรวมสวรรคโลกด้วยเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2008 6:28 pm    Post subject: Bombing of Thailand by US Army Bombers Year 1941 Reply with quote

Bombing of Thailand by US Army Bombers

Year AD1941/BE2484
22 December 1941 British Bombers bombing Songkla, Chumporn, Nakhon Srithammaraj and Surat Thani at 2155 all have been occupied by IJA

23 December 1941 British Bombers bombing Chumporn at 2000

24 December 1941 British Bombers from Mautama assaulting Mix 61 (Pheetburi - Chumporn) while carring IJA form Bangsue Prachuab Khirikhan
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2008 6:29 pm    Post subject: Bombing of Thailand by US Army Bombers Year 1942 Reply with quote

Year AD1942/BE2485
8 January 1942:
Bombing Bangkok fir the first time - hitting Yaowaraj (the 7-floor building at Chaloem Buri intersection), Ministry of Interior and the sawmills along with Charoensawat Bridge in front of bangkok railway station at 0200.
3 bomb hitting - 1 is a dude bomb

24 January 1942: Bombing of BKK and Thonburi at Night - the bomb has damaged Anantasamakhom Throne hall

28 January 1942: SHotting down Havilon plane by the Navy at Thonburi

10 February 1942: Bombing Chiangrai municiple - 14 Thailanders Killed

6 March 1942: Bombing Chiang Mai for the first time

28 November 2485 Bombing BKK

26 December 1942: B24 from the 10th Fleet bombing Bangkok station, Klong Toei Port (arealy have rail links), Bangsue Ordinance, Samsen Power Plant, and Wat Liab Power Plant
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2008 6:30 pm    Post subject: Bombing of Thailand by US Army Bombers Year 1943 Reply with quote

Year AD1943/BE2486

19 January 1943: B24 photographing Thai-Burma Railway in Kanchanaburi

4 April 1943: 24 B24 bombers bombing IJA camps at Nakhon Sawan at night.

21 April 1943 (Some said 14 April): 16 B24 bombers from the 10th Fleet bombing Bangsue Ordinance - ONLY 4 did bombed Bangsue - the rest bombing Bangkok-Thonburi area

19 December 1943: 20 B24 bombers from the 10th fleet bombing Klong Toei Port at night.

21 December 1943: 29 B24 Bombers from the 14th fleet bombing Chiang Mai station at 1500 - nearly whipe out Chaing Mai station Yard. Chaign Mai station building and cargo depots demaaged beyond repair - 300 people died.
This has copelled TSR to terminate the Northern Trains to Pa Sao station until it was moved further to Pa Yang Loeng (now Saraphi station).

23 December 1943: 19 B24 Bombers from the 492nd Squardron, the 10th fleet bombing Hua Lamphong and Klong Toei Port at night by using the 5000-Candelar flares to lighting up before the Fire bombs ... but most of the bombs hit Silom, Surawongse, Sathon, and Surasak areas (4 Sor area).

31 December 1943: B24 Bombers from the 308 Squardon of Chongqing
bombing Lampang Station - damaging the yeard but the main station building of Lampang was still intact. The 16 Squardron of RTAF (Lampang) righting aginast B24 but B24 refused to engage
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2008 6:34 pm    Post subject: Bombing of Thailand by US Army Bombers Year 1944 Reply with quote

Year AD1944/BE2487

9-10 January 1944: 7 B24 bombers from the 10th fleet carpetting the marine mines at Pak Nam - Mot until 15 Jan 1944 did Thai Navy could clear all the marine mines out. At the same day, B24 bombers bombing Bangsue Railway Yard and Donmuang AFB at day.

10 January 1944: Thai govement start movign Cadets to be at the new Army Academy at Phetchabun - taking special train form Samsen to Taphan Hin and then take a truck to Phetchabun

11-12 January 1944: B24 bombers from the 14th fleet Bombing both Bangsue Yard and Bangkok Railway Station. Rajadhani Hotel damaged. Bangkok Stationmaster killed in action.

19 January 1944: 16 B24 bombers from the 10th fleet Bombing Bangsue Railway Yard and Donmaung station - damaging Chulalongkorn Hospital, Grand palace, and Samsen Power station.


5 - 6 February 1944 (Some said 25 Feb 1944): 8 B24 bombers from the 10th fleet bombing Bangkok at Night.

10 February 1944: 9 B24 bombers from the 10th fleet bombing Ban Ma Ordinance and Donmaung Airport - Hitting Ki-21 (Hayabusha).

22 February 1944: Phisanuloke - loampang Mixed train and Bandara - Sawankhaloke NOI runnign due to hte bombing of Ban Dara Bridge by B24 bombers from the 492nd squardron.

5 March 1944: 8 B25 bombers bombing Ching Mai Airport - damaging 9 fighter plane - while bombing Chiagn Mai station and Pa Yang Loeng station. The bombing also damaged Fort Kawila area

6 March 1944: Bombing Bangkok at night

15 March 1944: 8 B24 bombers from the 10th fleet bombing existing Army and Navy bases in Bangkok area

23 March 1944: B24 bombers from the 10th fleet bombing Thai- Burma railway the bridge damaged 2 area and knocked 2 IJA trains

23 April 1944: 2 P38 strapling Army trucks and Fort Kawila area.

24 April 1944: The 492nd Squrdron Bombing Paramin Bridge (AKA Ban Dara Bridge) across Nan river - cutting down the bridge

Even worse at that day, the bombers were strapling Wang Kaphi station - and bombing Wang Kraphi sugar mill. The .50 calibere bullets cuttign the legs of a teacher, killing a baby in hammock, and a chineseman.

25 April 1944: 6 B24 bombers making Second Bombing that cut down Paramin Bridge (AKA Ban Dara Bridge) across Nan river - killing construction workers who come to repair the bridge ... Furthermore, Huay mae Tar Brige near Kaeng Luang - Ban pin was bombed away ..

Even worse, the bystanders who are watching the repairing of Ban Dara Bridge alogn with those who live in Ban Tao hai, Rai Oy, and Phichai were strapling ... The Mixed train from Phisanuloke to Uttaradit was also bombed away and strapled.

This has forced Thai govemrnet to move Uttaradit Provincial Hall to Lablae district and move the priviuncail schools for boys and giles to othere schools.

3 May 1944: 20 B24 Bombing of IJA camps at Ban Pong and Nong Pladuk Railway station at 0920-0930

7 May 1944: B24 Bombers from the 10th fleet Bombing Sattahip Naval station - after bombing IJA camps and Paknam railway at Phra Khanong at 1000

5 June 1944: 77 B29 bombers (out of 98 B29 Bombers) from the 58th Squardron of 20th fleet (now the 444th Bomb Group) bombing Makkasan Maintainance center, Bangsue Yard, Memorial bridge, but it is also hitting Japanese Hospital/IJA Kempaitai station at Ban Moh area of BKK - cutting the power lines of Bangkok trams - bombing from 1058 - 1232.

These B29 bombvers equipped with guiding radars for bombing the targets. However accidents has damaged 5 B29 bombers beyond repair 15 pilots KIA or MIA.

3 hayabusha fighter tring to fight against B29 but B29 bombers are bombigb from much higher levels ...

Quote:
June 5, 1944 – Bangkok, Siam

2261 miles, 9 aircraft hit primary target. Daylight mission at 23,000 feet. 430, 500 lb. GP’s on target Results poor. First B-29 mission of the war.



This has forced Thai goverment to run the evacuation trains alogn with shutting down the schools and universities - after 140 Killed 842 Injurred .

8 June 1944: B24 bombers from the 10th fleet carpetting the marine mines around Samut Prakarn and Mergui port.

6 -7 September 1944:12 B24 Bombers Bombing Thai-Burma railways but the bombs hit POW camps from 0020 - 0400 of 7 September 1944.
90 KIA, 300 WIA (However the real count found that there are 300 POWs 200 IJA and 200local Thai people killed in action) since IJA had set up POW camps near railway tracks and askign POWs to put Blue cross on the roofs.

28 September 1944: P38 fighters strapling Uttaradit railway yard and Talad bang Pho and Talad Tha Sao near Downtown Uttaradit.

5 October 1944: 2 B24 bombers bombing Uttaradit station at 6 AM One B24 has been hit by the machine gun bullet of IJA stationed at Ban Dara Bridge .. The B24 Bomber hit the groudn at Ban Moh in Phichai - 4 bomber pilots KIA (should be 8) and ther other 4 pilots have been sent to Thai Police since it will be safer to be in the hand of Thai police instead of IJA.

The other 8 B24 Bombers bombing Uttaradit station at 1600 - Anti Aircraft gun bullets hitting 1 B24 bombers - and make them hittign the ground at Mon Dondaeng - 9 Pilots burnt to dead - the otehr 3 jumped - 1 KIA since the parachute was malfunction - hittign the stump while the otehr 2 were survived - One was British pilot (photographers) who was arrested at Nam Rid. The otehr was arrested Lap Lae. Both of them were under the custody of Thai Police.

The other B24 bomber wer also hit by the Anti Aircraft bullets - and hit the kround at Sopprab Subdistrict of Lampang - all 12 pilots were burnt to dead.

6 October 1944 Lopburi station and Chakkri Bridge bombed away.

28 October 1944 (Some said 15 october): B24 bombers from The 95th Squardron bombing Nong Pladuk Yard at 0020

2 November 1944:
55 B29 bombers bombing Bangsue - 7 hayabusha from the 6 squadron and 14 KI43 (Ota) fighter from IJA fighting - Lt. Toedsak shot 1 B29 doen - but lost his Hayabusha - and got burnt -> he has been award the second medal - afte the frist one at Indochina war.

At the same day, 18 B24 bombers from The 95th Squrdron bombing Makkasan at night. 6 Anti Aircraft crew injurred.

11 November 1944: 9 P51 from 25th Squardron and 8 P38 recon in the North and straping Lampang AFB and Lampang - Chiang Mai railway line and Ban Dara Bridge - 1 RTAF plane and 1 SLM loco damaged

5 KI-43 (Ota) fighters of RTAF engage fighting against 9 P51 fighters and 8 P38 Fighters - ONLY shot down 1 P38 but all 5 KI-43 (Ota) fighters shot down - Killing Sgt. Master. Nat Sunthorn - the rest including Lt. Chaloemkiat Watthanakul just wounded.

This has become the famous 5 to 21 Dog Fight on the Sky of Lampang
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aquarious&month=03-2008&date=28&group=12&gblog=3

13 November 1944: At least 60 P38, P40 and P51 from China surveying China, Burma, Thailand to bomb the Military bases and railway lines in Thailand and Burma

16 November 1944: B24 bombers from the 95th Squardron bombing Bombing Pak Nam Pho Railway station yard.
At the same day, 6 B 24 bombers bimbning away Uttaradit station - the main building blown away alogn with Uttaradit workshop at 1700. Nearly 100 Thailanders killed by the bomb of that day.


18 Novembere 1944: 10 B24 bombers Bombing Donmuang

27 November 1944:
55 B29 Bombers from the 20th fleet (now the 444th Bomb Group) bombing Bangsue yard and Makkasan Railway yard from 1000-1050 - Siam Cement factory Bombed away

Quote:
November 27, 1944 Bangkok, Siam

2261 miles… 14 aircraft hit primary target. Daylight mission at 22,500 feet… 444, 500 lb. GPs on target… results were excellent.


the other 3 B29 bombers bombing the areas nearby including Mergui.

The result: 114 KILLED 150 Injurred 149 Building damaged 15 Loco + 120 Carriages damaged One Hayabusha shot down at Phetburi

At the same day, 56 P38, P40 and P51 from the 14th fleet bombing and stapling Lampang and railway track nearby

2-3 December 1944 (Saturday - Sunday): Bombing of Bangkok from Saturday Night to Sunday Morning - along with Nong pladuk station

12 December 1944: P38 fighters and recon fleet straplign and bombing railway lines and roads in Burma and Chiang Mai

13 December 1944: P38 fighters and P51 fighter straping bridges aroudn Chaing Mai

14 December 1944 (Thursday):
48 B29 Bombers from the 58 Bomber Squardron of the 20th fleet (Calcatta) bombing Rama 6 Bridge for the first time -at 0935 - killing 71 Bangkians and injurred 75 Bangkokians. Furthermore, Memorial Bridge is another casualty of the bombing at that day.

33 B29 Bombers bombing the target, 14 B29 Bombing the areas nearby - shooting 1 IJA fighter plane but 4 B29 had been damaged but bombing accident that damage one B29 beyodn repair.

At the same time, 33 B29 Bombers from the 58 Bomber Squardron of the 20th fleet (Calcatta) bombing Memorail Bridge at 0950

Quote:
(HQ AAF (Twentieth Air Force): Mission 20: 48 B-29s, flying out of the Calcutta, India area, are sent to bomb a railroad bridge at Bangkok; 33 hit the primary and 14 others hit targets of opportunity and alternate targets; they claim 0-1-0 enemy aircraft; 4 B-29s are lost.)


Quote:
December 14, 1944 Bangkok, Siam
2261 miles… 11 aircraft hit primary target. Daylight mission at 20,000 feet… 126 1,000 Ib. GPs on target… results were excellent.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 11, 12, 13  Next
Page 6 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©