RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270760
ทั้งหมด:13582049
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2021 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

"โจมตีสะพานรถไฟในภาคเหนือของไทย ตำนาน "เมื่อแพร่แห่ระเบิด" "
๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-25 สังกัดกองทัพอากาศที่ ๑๔ และเครื่องบินขับไล่ของ FLYING TIGER โจมตีทิ้งระเบิดบริเวณสะพานห้วยแม่ต้า และพื้นที่บริเวณแก่งหลวง จังหวัดแพร่ การโจมตีสะพานแห่งนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง และระเบิดบางส่วนที่ไม่ระเบิด ถูกชาวบ้านนำไปทำ "ระฆัง" และแห่ไปถวายวัด ในงานบุญ เป็นที่มา ของเรื่องเล่า "เมื่อแพร่แห่ระเบิด"
(ระฆังที่ทำจากระเบิด สามารถหาชมได้ในวันตามต่างจังหวัดในอีสานเหนือ ซึ่งทำมาจากระเบิดที่สหรัฐฯ ทิ้งในลาวช่วงสงครามเวียดนาม ลาว)
สะพานห้วยแม่ต้า เป็นสะพานรถไฟข้ามแก่งหลวง เส้นทางช่วง อุตรดิตถ์ – เด่นชัย ตั้งอยู่ช่วงบริเวณเสาโทรเลขที่ ๕๕๑/๙ – ๕๕๑/๑๓ ในพื้นที่บ้านแก่งหลวง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ แต่จริงๆ แล้วข้ามแม่น้ำยม (ตรงปากห้วยแม่ต้า) ซึ่งไหลผ่านบริเวณแก่งหลวงที่เริ่มต้นจากสถานีปากปาน โดยสะพานนี้ จะอยู่ด้านเหนือของสถานีแก่งหลวง (ช่วงแก่งหลวง - บ้านปิน ) ระยะห่างจากตัวสถานีไกลร่วม ๒ กิโลเมตร ปัจจุบันมีการสร้างขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีตอหม้อของเก่าเหลือเป็นร่องรอยให้เห็น ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพาสะพานแห่งนี้เป็นเป้าหมายทางอากาศที่สำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อตัดขาดกำลังทางบกของญี่ปุ่น ที่จะขึ้นเหนือ
เล่าเรื่องโดย.... พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ 17 มีนาคม 2564
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=297868111765849&id=100046279876123

"สนามบินลำปางถูกทิ้งระเบิด"
๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จากกองบินทิ้งระเบิดที่ ๗ ทิ้งระเบิดสนามบินลำปาง จะเห็นว่า ในสนามบิน มีเนินดินรูปตัว U มากมาย ตามคำบอกเล่าในบันทึกต่างๆ ของกองทัพอากาศ และทหารอากาศเก่าๆ ที่กล่าวไว้ โดยเนินดินเหล่านี้ กระจัดกระจาย เป็นที่จอดเครื่องบินขับไล่ เพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศ ที่สนามบินลำปาง นอกจากเป็นที่ตั้งของฝูงบิน ขับไล่ Ki-27 ของกองทัพอากาศ ยังมีเครื่องบินญี่ปุ่นประจำการอยู่ส่วนหนึ่ง ก่อนจะย้ายไปซ่อนตัวในสนามบินลำ ในเขตอำเภอห้างฉัตร ใกล้สถานีรถไฟห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
เล่าเรื่องโดย.... พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ 17 มีนาคม 2564
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=297862218433105&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2021 7:20 pm    Post subject: Reply with quote

การบอมบ์เมืองไทย ช่วง 3-6 ตุลาคม 2487 เช้าวันที่ 6 มีการโจมตีปากน้ำโพ ลพบุรี และ อยุธยา ด้วยเครื่องบินสี่เครื่องยนต์ สี่เครื่อง ยิงปืนกลหนัก จากอุตรดิตถ์ ไปปากน้ำโพ ช่องแค บ้านภาชี ทิ้งระเบิดที่อยุธยา ยิงปืนกลและทิ้งระเบิด ที่คลองพุทรา ตอนเย็นวันที่ 6 ก็ทิ้งระเบิด ปากน้ำโพ ช่องแค ตะพานหินจนนายสถานีและ ราษฎร 100 คน คาสถานีตะพานหิน

พรร. รถ 22 (พิษณุโลก - กรุงเทพ) โดนยิงตายที่บ้านใหม่
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/6184680374879309
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 10:27 am    Post subject: Reply with quote

"หัวลำโพง" ถูกทิ้งระเบิด จริงๆ
ในภาพคือ อาคารสถานีหัวลำโพง ที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามสถานีกรุงเทพ ถูกระเบิดไฟไหม้เสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
อาคาร "สถานีหัวลำโพง" ตั้งอยู่ริมคลองหัวลำโพง ปัจจุบันคือบริเวณถนนพระราม 4 ตรงข้ามกับสถานีรถไฟกรุงเทพในปัจจุบัน สถานีปลายทางคือ สถานีปากน้ำ ปัจจุบันเป็นถนนหน้าทางเข้าท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์ ระหว่าง พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2459 มีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี และเพิ่มเป็น 12 สถานีจนสิ้นสุดการเดินรถ เป็นทางรถไฟสายปากน้ำ ต่อมาเรียก รถไฟสายกรุงเทพฯ–สมุทรปราการ เป็นทางรถไฟเอกชนที่เดินรถระหว่างสถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21.3 กิโลเมตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2503 เป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นก่อนการเดินรถของรถไฟหลวงสายกรุงเทพ-อยุธยาถึงสามปี
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=361420712077255&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2021 11:11 am    Post subject: Reply with quote

21 ธันวาคม 2486: ย่านสถานีเชียงใหม่โดนทิ้งระเบิด คนตาย 300 คน ทำให้ต้องปิดสถานีเชียงใหม่ นอกเหนือจากการเติมน้ำและฟืน และ ขนทหารญี่ปุ่น ตอนสิ้นสงครามจึงเริ่มสร้างใหม่ในปี 2488 แต่ก็ทำอาคารสถานีชั่วคราว พอรองรับผู้โดยสาร รถรวม ลำปาง - เชียงใหม่ และ รถด่วนสายเหนือ ที่ขึ้นมาถึงเชียงใหม่ เมื่อสิงหาคม 2489 กว่าจะเปิดอาคารใหม่ได้ก็ปี 2491 https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=410264470526212&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2022 12:12 am    Post subject: Reply with quote

การโจมตีทางอากาศ บริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมา (สถานีหัวรถไฟ) จากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24 หน่วยบินที่ 231 ของสัมพันธมิตร ในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่สอง) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2488

(ดูภาพถ่ายทางอากาศบริเวณเดียวกัน ถัดไปอีก 1 ปี และภาพปัจจุบัน ในช่องความเห็น)

ความเป็นมา
รัฐบาลญี่ปุ่นประจักษ์ชัดแล้วว่า สงครามโลกครั้งที่ 2 จะไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ปลายปีพุทธศักราช 2484 สงครามโลกได้แผ่ขยายกว้างออกไป ลุกลามจากซีกโลกทวีปยุโรปแผ่มายังอีกซีกโลกหนึ่ง คือ “ภาคตะวันออกไกล” โดยมีญี่ปุ่นเหิมเกริมด้วยแสนยานุภาพทางทหารอันเกรียงไกร ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ได้เปิดฉากจุดชนวนสงครามทางด้านตะวันออกไกลขึ้น เรียกว่าสงครามมหาเอเชียบูรพา โฆษณาว่าจะปลดแอกชาวเอเชียให้พ้นจากชนชาติผิวขาว

เป็นเวลาภายหลังที่ได้ทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรฝ่ายอักษะกับประเทศเยอรมนี และอิตาลี ในสมัยนายพลเอกฮิเดกิ โตโจ เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น และเป็นโอกาสให้ญี่ปุ่นเข้ายึดดินแดนอาณานิคมของชนชาติผิวขาวในเอเชีย โดยกำหนดแผนบุกทลายอาณานิคมกลุ่มอิทธิพลของชนชาติผิวขาวในเอเชีย

วันที่ 8 ธันวาคม 2484 เวลาประมาณ 2.00 น.กองทัพญี่ปุ่นเริ่มต้นบุกประเทศไทยพร้อม ๆ กับ มาเลเซีย ฮ่องกง และฟิลิปปินส์ ช่วงเวลาเดียวกับที่คนกรุงเทพกำลังร่วมงานฉลองรัฐธรรมนูญกันอย่างสนุกสนาน ท่ามกลางอากาศหนาวกำลังพอเหมาะและงานฉลองก็มีถึงรุ่งเช้า

กองเรือขนาดใหญ่ญี่ปุ่นซึ่งเตรียมพร้อมอยู่กลางอ่าวไทย ได้ทำการแยกกองเดินทางไปยังเป้าหมายจำนวน 7 เส้นทาง ประกอบไปด้วย ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และบางปู (สมุทรปราการ) ญี่ปุ่นยังได้เคลื่อนกำลังพลทางบกจากพระตะบอง เข้าสู่ชายแดนไทยด้านอรัญประเทศ ปฐมบทสงครามโลกครั้งที่สองในเมืองไทยเริ่มขึ้นแล้ว

หลังจากที่ไทยไม่สามารถต้านทานกองทัพญี่ปุ่นได้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2484 รัฐบาลไทยได้ทำพิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว โดยทางญี่ปุ่นได้แจ้งความประสงค์เอาไว้ว่า ไม่ต้องการยึดครองประเทศไทยแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการใช้เป็นทางผ่านไปยังพม่าและแหลมมลายู และต้องการขอใช้พื้นที่ในประเทศไทยส่วนหนึ่ง สำหรับจัดตั้งที่พักให้กับทหารจำนวนมาก รวมทั้งสถานที่รักษาพยาบาลหรือคุมตัวนักโทษสงคราม

ส่งผลให้ประเทศไทยหลังวันญี่ปุ่นขึ้นบก โดนผลักให้อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุด การโจมตีจากอีกฝ่ายจึงตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เส้นทางการคมนาคม โดยเฉพาะที่เส้นทางรถไฟซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เปรียบเสมือนหัวใจหลักในการทำสงคราม เนื่องจากมีความสะดวกสบายที่สุด ขนส่งสินค้าและกำลังพลได้ในปริมาณมาก รวมทั้งประเทศไทยมีรางรถไฟตั้งแต่เหนือจรดใต้ ญี่ปุ่นวางแผนเชื่อมต่อทางรถไฟสายใต้ เข้ากับทางรถไฟในมลายูและสิงคโปร์ ไม้หมอนอีกฝั่งมุ่งตรงไปยังตอนใต้ของพม่า โดยมีเป้าหมายท้ายสุดที่ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่นยังได้มีการก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติม นับเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว

ญี่ปุ่นต้องการใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังแหลมมลายูกับพม่า และใช้เป็นแนวหลังสำหรับการหมุนเวียนกำลังพล เป็นจุดรับส่งอาวุธและยุทธปัจจัยที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล รวมทั้งใช้เป็นสถานที่รักษาพยาบาลหรือคุมตัวนักโทษสงคราม มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงภาคเหนือจรดภาคใต้ มีกองกำลังทหารคอยดูแลสถานที่สำคัญ รวมทั้งประกบกำลังฝ่ายไทยด้วยความไม่ประมาท

ทหารญี่ปุ่นในไทยมีอยู่ประมาณ 50,000 นาย จึงมีการตั้งค่ายทหารกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ นับเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับรองลงมา เป้าหมายที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ อันประกอบไปด้วย โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม สถานีรถไฟและโรงรถจักร สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำ ทางหลวงสายหลัก คลังน้ำมัน คลังสรรพวุธ รวมทั้งสถานที่ราชการบางส่วน

ในระยะแรกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ ต่อเป้าหมายในเขตกรุงเทพรวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง เพราะมีระยะทางค่อนข้างไกลพอสมควร อเมริกาและอังกฤษต้องใช้กองบินที่ 10 ในอินเดีย และกองบินที่ 14 ในจีน ซึ่งอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมากกว่า 1,000 ไมล์ ต้องเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่สถานเดียว ซึ่งในเวลานั้นยังมีจำนวนเครื่องไม่มาก รวมทั้งญี่ปุ่นบุกประชิดพรมแดนอินเดียแล้ว ในจีนและพม่าก็รบกันติดพันนัวเนีย ส่วนเป้าหมายรอบชายแดนและต่างจังหวัด สามารถใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดไม่ใหญ่ได้
.

การทิ้งระเบิดในไทย
การที่ไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งเครื่องบิน บี 24, บี 29 และ บริสตอล เบลนไฮม์ (Mk.1 L6739) ทิ้งระเบิด ทำลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่ปุ่น พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิดระหว่างปี พ.ศ. 2485 ถึง 2488 รวม 34 ครั้ง สถานที่ที่ถูกโจมตีได้แก่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่น ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น ที่ตั้งปืนต่อสู้อากาศยานบริเวณถนน กาติ๊บ สนามเป้า กองสัญญาณทหารเรือข้างสวนลุมพินี ประตูทดน้ำบางซื่อ โรงเก็บสินค้าและโรงงาน

การทิ้งระเบิดในระยะแรก ระหว่างปี 2486 ถึงกลางปี 2487 เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2487 จึงได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางวัน การทิ้งระเบิดมีการทิ้งผิดเป้าหมายที่ต้องการเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น วัดราชบุรณราชวรวิหาร ทำให้ภาพวาดของขรัวอินโข่งถูกทำลาย เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้มีแบบบี-24 ซึ่งส่วนใหญ่จะมาทิ้งระเบิดเวลากลางคืน ปืนต่อสู้อากาศยานได้ยิงต่อสู้โดยใช้ไฟฉายส่อง ค้นหาเป้าหมายแบบประสานกันจากจุดต่าง ๆ บนพื้นดิน เมื่อจับเป้าคือเครื่องบินได้แล้ว ก็เกาะเป้าไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปืนต่อสู้อากาศยาน ยิงทางเครื่องบินทิ้งระเบิด จะต่อสู้โดยยิงปืนกลอากาศสวนมาตามลำแสงของไฟฉาย ซึ่งจะเห็นได้จากกระสุนส่องวิถีจากปืนกลอากาศ ที่ยิงมาเป็นชุดยาว

ทางกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นต่อสู้สกัดกั้น แต่ไม่ได้ผลเพราะเครื่องบินที่มีสมรรถนะต่ำกว่า และต่อมาในระยะหลังที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี -29 ซึ่งจะบินมาเป็นหมู่ในระยะสูง ปืนต่อสู้อากาศยานยิงไม่ถึง จึงได้มีการมาทิ้งระเบิดเวลากลางวันอย่างเสรี อีกทั้งรัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการทิ้งระเบิด เมื่อมาถึงทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอเสียงดังเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น หลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด ตลอดจนลงไปอยู่ในหลุมที่ทางการจัดสร้างไว้ เป็นต้น ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือนขบวนคาราวาน โดยชานเมืองที่ผู้คนนิยมไปกันเป็นจำนวนมากคือ บริเวณถนนสุขุมวิท ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า บางกะปิ

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2487 ถึงเดือนมกราคม 2488 ประเทศไทยถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตร ประมาณ 250 ครั้ง มีเครื่องบินเข้าปฏิบัติการประมาณ 2,490 เที่ยวบิน ทิ้งลูกระเบิดทำลายประมาณ 18,600 ลูก ระเบิดเพลิงประมาณ 6,100 ลูก ทุ่นระเบิดประมาณ 250 ลูก พลุส่องแสงประมาณ 150 ลูก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,900 คน บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน อาคารถูกทำลายประมาณ 9,600 หลัง เสียหายประมาณ 1,200 หลัง รถจักรเสียหาย 73 คัน รถพ่วงเสียหาย 617 คัน เรือจักรกลเสียหาย 14 ลำ เรืออื่น ๆ ประมาณ 100 ลำทรัพย์สินเสียหายประมาณ 79 ล้านบาท

ในเวลาต่อมา สงครามได้ยุติหลังจากที่สัมพันธมิตรทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2488
https://www.facebook.com/korat.in.the.past/photos/a.968772323191533/1440191179382976/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2022 12:31 am    Post subject: Re: สืบเนื่องมาแต่การทิ้งระเบิดสะพานห้วยแม่ต้า Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
คนแป้แห่ระเบิด...เกิดเป็นระฆัง

โดย ปิ่น บุตรี
ASTV รายวัน 14 กรกฎาคม 2553 18:09 น.


นี่แหล่ะแพร่แห่ระเบิด..คนบ้านปิน ขุดประวัติศาสตร์สงครามโลก เปิดจินตนาการเยาวชน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 26 พฤศจิกายน 2560 11:23:00


เมืองแป้แห่ระเบิดที่บ่านปิน
Theerapat Charoensuk wrote:
เมืองแป้แห่ระเบิดมาจากไหน?
คำเยาะเย้ยนัยว่า คนเมืองแพร่ซื่อบื้อ ขุดเจอระเบิดสมัยสงครามโลกตกค้าง จนเอาระเบิดมาแห่ หรือนัยยะว่าคนแพร่อู้กำเมืองเสียงดังโหวกเหวกเหมือนแห่ระเบิด เป็นสำนวนติดค้างมายาวนานในสังคมภาคเหนือ ลามมาถึงสำนวนไทยร่วมสมัย แต่ความจริงแล้วมาจากไหน?
คุณเชษฐา สุวรรณสา นักเขียนและจิตรกรชาวอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ได้ยินสำนวนนี้ในสมัยเรียนช่างศิลป์ ถูกเพื่อนล้อเลียนเยาะเย้ย จึงเก็บความสงสัยไว้ และเมื่อกลับมาบ้านเกิด ก็ได้ติดตามถามหาความจริงอย่างเข้มข้นจนพบข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงว่า
มีการแห่ระเบิดขึ้นจริงในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2516 แต่การแห่ระเบิดนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ หรือซื่อ เข้าใจผิด หากแต่เป็นความจงใจของชาวบ้านในตัวอำเภอลอง ผู้พบลูกระเบิดเหล่านี้ ที่จะนำไปถวายวัดเพื่อทำเป็นระฆังวัด เนื่องจากรูปทรงและโลหะของลูกระเบิด เมื่อเคาะตีแล้วมีเสียงดังก้องกังวานกว่าระฆังหล่อขายทั่วไป
ลูกระเบิดดังกล่าวถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งลงเพื่อทำลายสะพานรถไฟในพื้นที่ใกล้เคียง ตัดทางลำเลียงของทหารญี่ปุ่น โดยได้การชี้เป้าจากเสรีไทยสายแพร่ผู้กล้าหาญเสี่ยงภัยในพื้นที่ เมื่อทางการรถไฟได้ซ่อมแซมรางและสะพานในภายหลัง ชาวบ้านในอำเภอลองผู้ร่วมมือกับเสรีไทย ก็อยากจะนำระเบิดที่หมดพิษภัยนี้มาไว้เป็นอนุสรณ์ของความกล้าหาญเพื่อชาติในอดีต จึงจัดเป็นขบวนแห่รำฟ้อนมีเครื่องดนตรีนำไปถวายวัด
แต่เรื่องการแห่ระเบิด เมื่อพูดปากต่อปากกันแพร่หลาย ก็กลายเป็นเรื่องตลกล้อเลียนคนแพร่ไปเสียอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงเปิดเผย ตำนานการแห่ระเบิด ที่เคยเป็นคำล้อเลียนเหยียดหยัน ก็กลายมาเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองลอง และพร้อมนำมาทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ระลึกถึงความกล้าหาญของคนรุ่นก่อน
คุณเชษฐา ยังได้เปิดร้านอาหาร ข้าวซอย และร้านกาแฟ ชื่อ “กาแฟแห่ระเบิด” ที่ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง ใกล้กับสถานีรถไฟบ้านปินที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาวาเรียนเฟรมเฮาส์แห่งเดียวในไทยด้วย รสชาติเครื่องดื่มดีใช้ได้ จัดสวนและแลนด์สเคปสวยน่าชม
ชมระฆังจากระเบิด และตำนานเมืองแป้แห่ระเบิด ได้ที่วัดศรีดอนคำ และพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลอง จ.แพร่
ชิมกาแฟแห่ระเบิด กาแฟน้ำอ้อย น้ำมะหนูด (มะนาว+มะกรูด) ขนมเส้นน้ำย้อย ที่ร้านกาแฟแห่ระเบิดของคุณเชษฐา สุวรรณสา ที่ตำบลบ้านปิน ห่างจากอำเภอลองมาประมาณ 10 กม. และไปชมสถานีรถไฟบ้านปินอีก 1.2 กม.

https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/posts/1438112639941617/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2022 12:35 am    Post subject: Reply with quote

7 กุมภาพันธ์ 2488 : ทิ้งระเบิดสะพานพระรามหก สะพานขาด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4930986390293183&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2022 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 ส้งกัดฝูงบินที่ ๔๙๒ กองบินที่ ๗ จำนวน ๖ เครื่อง เข้าโจมตีทิ้งระเบิดบริเวณย่านสถานีรถไฟแม่เมาะ จังหวัดลำปาง แม่จาง และสะพานรถไฟ “ห้วยแม่ต้า” จังหวัดแพร่ ขณะโจมตีทิ้งระเบิดสะพานแม่ต้า พลปืนต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.) ที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณสะพานแม่ต้า ใช้ปืนต่อสู้อากาศยานประจำรถถัง แต่ถอดมาตั้งไม่ห่างจากสะพานนัก สามารถยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 หมายเลข ๔๔-๔๐๘๑๑ ตกลงบริเวณแก่งหลวง ลูกเรือทั้ง ๑๑ คน เสียชีวิตทั้งหมด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=518574959695162&id=100046279876123


⭐️๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จำนวน ๑๐ เครื่อง ทำการโจมตีทางอากาศต่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ๒ แห่ง พร้อมกัน ประกอบด้วย
สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทำให้ตอม่อของสะพานร้าว และเครื่องยกชำรุด เปิด – ปิด ไม่ได้
สะพานพระราม ๖ ถูกระเบิดเสียหายเล็กน้อย และระเบิดยังพลาดไปตกในวัดสร้อยทอง ไฟไหม้วัดเสียหาย
⭐️๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 จำนวน ๔๘ เครื่อง จากกองบิน ๒๐ ในฐานทัพอากาศ ในกัลกัตตา เช้ามาถล่มทิ้งระเบิด สะพานพระราม ๖ ลูกระเบิด ตกลงโดนสะพาน ๓๓ ลูก และอีก ๑๔ ลูกตกลงบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง มีเครื่องบินขับไล่ขึ้นสกัดกั้น พลปืนของเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ยิงเครื่องบินขับไล่แบบ Ki-43 ของญี่ปุ่น ตก ๑ เครื่อง แต่การปฏิบัติงานภารกิจนั้ ต้องสูญเสีย เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ไปถึง ๔ เครื่อง เนื่องจาก ๑ ใน ๔ นั้น ระเบิดเกิดระเบิดขึ้นเองในตัวเครื่อง ทำให้เครื่องบินในหมู่บินต้องได้รับความเสียหายไปด้วย
⭐️๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๘ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 สังกัดกองบินทิ้งระเบิดที่ ๒๐ จำนวน ๔๙ เครื่อง ทิ้งระเบิดซ้ำที่สะพานพระราม ๖ อีกครั้ง ลูกระเบิดตกลงที่สะพาน ๔๔ ลูก และอีก ๒ ลูก ตกลงบริเวณชุมชนใกล้เคียง พลปืนของ B-29 สามารถยิงเครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่น ที่ขึ้นสกัดกั้นได้ ๑ เครื่อง และเสียหาย ๑ เครื่อง
⭐️๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ เวลา ๐๘๐๐ – ๑๐๐๐ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ จากกองบินที่ ๒๐ จำนวน ๖๔ เครื่อง ทิ้งระเบิดถล่มสะพานพระราม ๖ อีกครั้ง ระเบิดโดนเป้าหมาย ๕๘ ลูก ทำให้สะพานขาดเสียหายทางด้านฝั่งตะวันออก
จากนั้นเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 อีก ๓ เครื่อง แยกไปทำการทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟมะตะบัน ในประเทศพม่า
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=518570293028962&id=100046279876123

๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เวลา ๑๓๐๐ – ๑๕๐๐ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 Liberator B Mark VI จากฝูงบินที่ ๓๕๕ ของกองทัพอากาศอังกฤษ จากฐานทัพอากาศในเกาะ Cocos Islands ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย จำนวน ๒๐ เครื่อง ทำการบินทิ้งระเบิดตลอดเส้นทางรถไฟ และทิ้งระเบิดบริเวณสถานีชุมพร ประมาณ ๒๐๐ ลูก ทำให้สถานีรถไฟเสียหายอย่างมาก สะพานท่าข้าม ที่สุราษฎร์ธานี ถูกถล่มขาด ๒ ท่อน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=518568083029183&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2022 6:03 am    Post subject: Reply with quote

ประวัติการทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ อันเนื่องมาจากข่าวเจอระเบิดใกล้สะพานซังฮี้

ตามรายงานเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 กองทัพพันธมิตรทิ้งระเบิดจำนวน 18,583 ลูกในประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 8,711 ราย และทำลายอาคาร 9,616 แห่ง รถบรรทุก 617 คัน หัวรถจักร 73 หัว และยานพาหนะอื่น ๆ อีก 173 คัน อาคาร 1,194 แห่งได้รับความเสียหาย เป้าหมายหลักของการทิ้งระเบิดคือ กรุงเทพฯ (พระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทย พื้นที่ชนบทเกือบทั้งหมดได้รับผลกระทบไม่มากนัก คงเฉพาะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และเส้นทางคมนาคม (ทางรถไฟเป็นส่วนใหญ่)



เครื่องบิน B-24 ทิ้งระเบิดสะพานพระราม 6 กรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1944 หรือปี พ.ศ.2487
https://www.youtube.com/watch?v=P7tXavfrArs

ลูกระเบิดขนาด 500 ปอนด์ 2 ลูก ขณะกำลังจะตกกระทบเป้าหมาย สะพานชั่วคราวหนึ่งในเส้นทางรถไฟสายมรณะระหว่างไทย-พม่า ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2487

B-24 โจมตีทิ้งระเบิดสะพานแก่งหลวง จังหวัดแพร่ วันที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2487

สถานีรถไฟบางซื่อโดนทิ้งระเบิด วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 จากเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 (เห็นสะพานพระราม 6 ด้วย)

สถานีรถไฟบางซื่อโดนระเบิดทิ้งลงไป วันที่ 6 มกราคม 1945
โจมตีสะพานข้ามแม่น้ำแควในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1945 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

สะพานพระราม 6 โดนทิ้งระเบิด วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 จากเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29

สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ใต้ภาพระบุว่าถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จากฝูงบินทิ้งระเบิดที่ 7 จากอินเดีย ทิ้งระเบิดจนขาดลงในวันที่ 2 มีนาคม 1945

วันที่ 14 กรกฎาคม 2488 ยังมีการทิ้งระเบิดสถานีรถไฟพระนครอีก

วันที่ 29 กรกฏาคม 2488 ทอ.อังกฤษได้ทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย และระเบิดลูกหนึ่งทิ้งพลาดไปตกยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นที่คุมขังของชาวต่างชาติ (ฝ่ายสัมพัธมิตร)

การทิ้งระเบิดทำลายสถานีรถไฟบางกอกน้อยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2488 พลเรือนเสียชีวิตจำนวน 78 ราย และสร้างความเสียหายแก่บ้านของนักการเมืองไทย นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นพันธมิตรที่สำคัญของอเมริกา และต่อมาในวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมาขบวนรถไปบรรทุกทหารไทยถูกโจมตีนอกเมืองปากน้ำโพ (จังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน) แม้ว่ากลุ่มพันธมิตรเสรีไทยได้ร้องขอไม่ให้ทิ้งระเบิดทางรถไฟ เนื่องจากกองกำลังที่กำลังเคลื่อนย้ายนั้น อาจเป็นประโยชน์ในกรณีที่เกิดการปะทะระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายญี่ปุ่นในภาคเหนือ วันที่ 2 เมษายนการโจมตีเส้นทางรถไฟสังหารพลเรือนไทยไป 400 รายและทหารไทยอีก 50 นาย

พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิดระหว่างปี พ.ศ. 2485 ถึง 2488 รวม 34 ครั้ง สถานที่ที่ถูกโจมตีได้แก่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่น ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น ที่ตั้งปืนต่อสู้อากาศยานบริเวณถนน กาติ๊บ สนามเป้า กองสัญญาณทหารเรือข้างสวนลุมพินี ประตูทดน้ำบางซื่อ โรงเก็บสินค้า
http://oknation.nationtv.tv/blog/nfedlion/2018/03/19/entry-2
https://pantip.com/topic/31885621
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/04/2022 9:55 pm    Post subject: Reply with quote

ตะลึง พบซาก "เครื่องบินทิ้งระเบิด" สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังตามนานกว่า 80 ปี
คมชัดลึก 06 เม.ย. 2565 13:26 น.

Click on the image for full size

พบซาก "เครื่องบินทิ้งระเบิด" สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คาดว่าจะเป็นของสัมพันธมิตรตก ขณะปฏิบัติภารกิจทิ้งระเบิด สะพานรถไฟ ห้วยแม่ต้า อ.ลอง หลังสงครามสงบ มีฝรั่งต่างชาติพร้อมล่าม ตามหาจุดพิกัดเครื่องบินตก หลายจังหวัดแต่ไม่พบจนปัจจุบัน

วานนี้ (5 เม.ย.2565) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายเจริญ ปุกแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน แก่งหลวง ม.5 ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่ ว่า มีชาวบ้านพบซากเครื่องบินสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเครื่องบินของสัมพันธมิตร ที่ตกขณะปฏิบัติภารกิจทิ้งระเบิดบอมบ์สะพานรถไฟห้วยแม่ต้า อ.ลอง จ.แพร่ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ ศาลากลางป่าชุมชน บริเวณหลุมระเบิด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของบ้านแก่งหลวง ต.แม่ปาน อ.ลอง ห่างจากหมู่บ้านไปในป่าประมาณ 4 ก.ม. ขอให้ผู้สื่อข่าวมาร่วมพิสูจน์ด้วย

จากนั้นจึงได้นำผู้สื่อข่าวไปดูจุดเครื่องบินตกโดยชาวบ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน พบเศษเหล็ก หลายขนาดซึ่งตรวจสอบแล้วไม่ใช่เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวบ้านที่เคยใช้ และพบปลอกกระสุนปืนขนาดใหญ่ หัวกระสุนปืน และเศษอุปกรณ์เครื่องยนต์ ตัวถังเครื่องกระจายอยู่ตามเนินเขาและลำห้วย นอกจากนั้นมีการพบเศษกระจกซึ่งเป็นชนิดอย่างหนา ซึ่งไม่น่าจะใช่กระจกแบบสมัยใหม่ทั่วไปใช้ ทำให้เชื่อว่าเป็นซากเครื่องบินรบสัมพันธมิตร ถูกยิงตกจริง กระจายเกลื่อนทั่วป่า ห่างจากหลุมระเบิดไปไม่ไกล

นายเจริญ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านั้นวันที่ 28 มี.ค.65 ตนเองและชาวบ้านแก่งหลวง ม.5 ต.แม่ปาน อ.ลอง ได้มาสร้างศาลากลางป่าชุมชน บริเวณหลุมระเบิด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างทำงาน ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเครื่องบินสัมพันธมิตร ที่บินมาทิ้งระเบิดสะพานน้ำยมข้ามทางรถไฟบ้านแม่ต้า เพื่อตัดการส่งเสบียงของทหารญี่ปุ่น และถูกยิงตก แต่ไม่เคยทราบพิกัด ว่าตกจุดไหน ประกอบกับในพื้นที่มีหลุมระเบิด จึงคิดว่า หากเครื่องบินตกจะต้องทิ้งระเบิดก่อน

จากนั้น ได้ชวนผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , กรรมการป่าชุมชน และชาวบ้าน ร่วม 10 คน ค้นหาพิกัดที่ เครื่องบินตก โดยปูพรมเดินหน้ากระดาน ไปทางตะวันตกของศาลาป่าชุมชน ตามเรื่องเล่าแต่ไม่รู้จริง ของคนยุคสงครามที่เล่ามากว่า 80 ปี จนเจอเศษเหล็ก หลายขนาดดังกล่าว ประกอบกับ จากกคำบอกกเล่าว่า หลังสงครามโลกสงบ มีฝรั่งต่างชาติพร้อมล่าม มาตามหาจุดพิกัดเครื่องบินตก หลายจังหวัด แต่ไม่เจอ จึงประกาศให้รางวัลจำนวนมากแก่คนบอกพิกัด แต่ก็ไม่มีใครทราบจุดตก จึงเชื่อว่าจุดนี้น่าจะเป็นเครื่องบินของสัมพันธมิตร ที่เคยมีคนตามหาอยู่

ซึ่งการเก็บชิ้นส่วนซากเครื่องบิน ส่วนมากจะเป็นเศษเหล็ก ชิ้นส่วนต่างๆ แต่ยังไม่พบชิ้นส่วนมนุษย์ หรือนักบิน ที่ขับเครื่องแต่อย่างใด โดยได้บันทึกพิกัด ถ่ายรูปจุดที่พบไว้อย่างชัดเจน เพื่อจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ตรวจพิสูจน์ต่อไป จากนั้นได้ ได้แจ้งให้ นายมนัส นิสี กำนันตำบลแม่ปาน รายงาน นายชุติพงษ์ เปล่งวิทยา นายอำเภอลอง และฝ่ายปกครองอำเภอลองรับทราบเป็นลำดับต่อไป เพื่อจะได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า จะเป็นชิ้นส่วนของพาหนะอะไร แต่ชาวบ้านเชื่อว่า 99% เป็นเครื่องบินรบโบราณแน่นอน หากมีการตรวจสอบแล้วจะได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป

สำหรับการพบเจอชิ้นส่วนเครื่องบินสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในบริเวณนี้ ก็มีเรื่องเล่าเชื่อมโยงการทิ้งระเบิดสะพานข้ามน้ำยมห้วย ที่ บ.ห้วยแม่ต้า อ.ลอง ที่อยู่ไม่ห่างกัน จนกระทั่งมีชาวบ้านแห่ลูกระเบิดไปทำระฆัง ถึง 3 วัดในอำเภอลอง จนเป็นกระแส ที่คนทั่วประเทศเรียก จ.แพร่ ว่า “เมืองแพร่แห่ระเบิด” ดังกล่าว

นายธวัชชัย ถนอม ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดแพร่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 11, 12, 13  Next
Page 12 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©