RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180567
ทั้งหมด:13491801
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 30, 31, 32 ... 43, 44, 45  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2021 10:17 am    Post subject: Reply with quote

เวนคืนทางคู่ 'บ้านไผ่-นครพนม' รถไฟ 6.6 หมื่นล้าน เปิดประเทศเชื่อม AEC
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

15 กันยายน 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ เวนคืนสร้างรถไฟทางคู่สาย "บ้านไผ่-นครพนม"เป็นรถไฟทางคู่สายที่รอคอยมานานอีกเส้นหนึ่ง แนวเส้นทางพาดผ่าน 6 จังหวัด ประกอบด้วย "ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม" ระยะทาง 355 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6.6 หมื่นล้านบาท ค่าเวนคืน 1 หมื่นล้านบาทบวกลบ

แนวเส้นทางทางคู่ "บ้านไผ่-นครพนม"

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น, อ.กุดรัง อ.บรบือ อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
อ.ศรีสมเด็จ อ.เมืองร้อยเอ็ด อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทอง อ.เมยวดี อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด, อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร, อ.นิคมคำสร้อย อ.เมืองมุกดาหาร อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และ อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม

วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 66,848.33 ล้านบาท โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

โดยใน พ.ร.ฎ.เวนคืนระบุเหตุผลมีความจำเป็นต้องสร้างทางรถไฟสายนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค จึงกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด

และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มีระยะเวลาบังคับตามกฎหมาย 4 ปี ให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.นี้ใช้บังคับ กำหนดให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตาม พ.ร.ฎ.นี้

รถไฟลงพื้นที่เคลียร์เส้นทาง 6 จังหวัด

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่มีอยู่ 2 เส้นทางที่ต้องเวนคืนใหม่ทั้งเส้น เพราะไม่ได้สร้างประชิดกับรางรถไฟเดิมที่มีอยู่ นอกจากสายบ้านไผ่-นครพนมแล้ว อีกเส้นทางคือ รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

สำหรับขั้นตอนปฏิบัติหลังมี พ.ร.ฎ.เวนคืนลงประกาศในราชกิจจาฯ ทาง ร.ฟ.ท.จะจัดทีมงานลงพื้นที่ และหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด ที่แนวเวนคืนพาดผ่าน ประกอบด้วย "ขอนแก่น-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธรมุกดาหาร-นครพนม"

ภายใต้สถานการณ์โควิดจำเป็นต้องทำงานและประสานงานอย่างรอบคอบระมัดระวัง ที่สำคัญ ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโควิดภายใต้คำสั่งของ ศบค.จังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยการประสานงานกำลังพิจารณาใช้ช่องทางสื่อสารทางไกลเป็นหลัก

จากนั้นจะเป็นการลงพื้นที่สำรวจในรายละเอียดแนวเวนคืนตลอดเส้นทางว่า มีสิ่งปลูกสร้าง อาคาร ป่าไม้ จำนวนเท่าไหร่ อยู่จุดใดบ้าง แล้วจึงทำรังวัด จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นรายจังหวัด เพื่อดำเนินการสืบหาเจ้าของโฉนดที่ดิน คาดว่าจะเริ่มต้นเบิกจ่ายค่าเวนคืนได้ภายใน 1 ปี นับจากวันประกาศ พ.ร.ฎ.เวนคืน อย่างเป็นทางการ

เวนคืน 1.7 หมื่นไร่ 10,080 ล้านบาท

สำหรับพื้นที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ เบื้องต้นเวนคืนที่สาธารณะ รวมถึงที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัยของประชาชนและเอกชนเป็นหลัก ยังไม่ได้รวมถึงการขอใช้พื้นที่ของส่วนราชการ ซึ่งประเมินตอนนี้มี 5 หน่วยงาน ที่ต้องเข้าขอใช้พื้นที่ ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กรมชลประทาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และกรมธนารักษ์ โดยจะต้องมีการคำนวณค่ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและหารือถึงแผนงานต่อไป

สภาพการใช้ประโยชน์แนวเวนคืน ส่วนมากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม รวมพื้นที่เวนคืนทั้งหมด 17,499 ไร่ จำนวนที่ดิน 6,762 แปลง วงเงินเวนคืน 10,080.33 ล้านบาท มีระยะเวลา เบิกจ่ายและดำเนินการ 2 ปี (2565-2566) ล่าสุด สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2565 ให้แล้ว 1,020 ล้านบาท เพื่อใช้ในการปักหลักแนวเขตทาง รังวัด กำหนดราคาทดแทน ประกาศค่าทดแทน

30 สถานี 19 อำเภอ 70 ตำบล

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สาย "บ้านไผ่มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม" มีระยะทางรวม 355 กิโลเมตร ออกแบบก่อสร้างเป็นคันทางระดับดินสูงเฉลี่ย 4 เมตร ระยะทาง 346 กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟยกระดับ 9 กิโลเมตร เขตทางกว้าง 80 เมตร

ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 6 จังหวัด 19 อำเภอ 70 ตำบล มีสถานีรถไฟจำนวน 30 สถานี แบ่งเป็น 18 สถานีกับ 12 ที่หยุดรถ และ 1 ชุมทางรถไฟ หรือจุดเริ่มต้นโครงการ มีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.สถานีร้อยเอ็ด 2.สถานีสะพานมิตรภาพ 2 จ.มุกดาหาร และ 3.สถานีสะพานมิตรภาพ 3 จ.นครพนม

มีลานบรรทุกตู้สินค้าจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.สถานีภูเหล็ก 2.สถานีมหาสารคาม 3.สถานีโพนทอง มีที่หยุดรถไฟ 12 แห่ง สถานีขนาดเล็ก 9 แห่ง สถานีขนาดกลาง 5 แห่ง สถานีขนาดใหญ่ 4 แห่ง ย่านกองเก็บตู้สินค้า 3 แห่ง ลานบรรทุกตู้สินค้า 3 แห่ง สะพานรถไฟข้ามถนน/คลอง/แม่น้ำ 158 แห่ง

เชื่อมแขวงสะหวันนะเขต-คำม่วน สปป.ลาว

จุดตัดทางรถไฟกับถนนตามแนวเส้นทางโครงการ แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ สะพานรถไฟข้ามถนน 158 แห่ง, สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 81 แห่ง, ทางลอดทางรถไฟ 245 แห่ง และทางบริการขนานทางรถไฟ 165 แห่ง

แนวเส้นทางเริ่มต้นที่ชุมทางบ้านหนองแวงไร่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น พาดผ่าน จ.ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร ไปสิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จ.นครพนม เชื่อมกับ สปป.ลาว ที่แขวงสะหวันนะเขต และแขวงคำม่วน

2565 เวนคืน-2566 เริ่มก่อสร้าง

อัพเดตความคืบหน้ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้น แบ่งเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กิโลเมตร ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท มีบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด จอยต์เวนเจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 27,100 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 23 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กิโลเมตร ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท มีบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จอยต์เวนเจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 28,310 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 23 ล้านบาทเช่นกัน

ในด้านการก่อสร้างตามแผนที่วางไว้ คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 2566 ใช้เวลาก่อสร้าง 48 เดือน หรือ 4 ปี มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2021 2:43 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เวนคืนทางคู่ 'บ้านไผ่-นครพนม' รถไฟ 6.6 หมื่นล้าน เปิดประเทศเชื่อม AEC
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ เวนคืนทางคู่ “บ้านไผ่-นครพนม” รถไฟ 6.6 หมื่นล้าน เปิดประเทศเชื่อม AEC
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 07:34 น.

https://www.prachachat.net/property/news-765887


ดูนี่ก็ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=NyJdDb1EKBA
https://www.youtube.com/watch?v=7bUmA-zS1AI

รฟท. จ่ายหมื่นล้านไล่เวนคืนที่ดิน 17,500ไร่ ลุย รถไฟทางคู่อีสาน
หน้าแอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:38 น.

รฟท.ลงพื้นที่ เวนคืน ที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง เส้นทางรถไฟทางคู่ ใหม่สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม 355 กิโลเมตร ตั้งงบชดเชย 10,255ล้าน คลุม 17,500ไร่ สร้าง 7,100 ล้านบาท 930หลังคาเรือน หลังพ.ร.ฎ.เวนคืนประกาศใช้ กระทรวงคมนาคมมั่นใจ คนเชียร์มีมากกว่า



การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เข้าพื้นที่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ใหม่สายอีสานช่วง บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม หลัง เมื่อวันที่15กันยายน 2564 ราชกิจจานุเบกษาประกาศ พระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) เวนคืน ก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร ในเขตท้องที่ 19 อำเภอ 6 จังหวัด รวมที่ดิน 7,100 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 930หลังคาเรือน หรือ 17,500 ไร่ งบชดเชยกรรมสิทธิ์ที่ดิน วงเงิน 10,255ล้านบาท

ครอบคลุมท้องที่บางบริเวณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม




แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีทั้ง เห็นด้วยและต่อต้านแต่ ส่วนใหญ่คนในพื้นที่ต้องการให้เร่งก่อสร้าง เพราะภาคเอกชน ต่าง จับจองพื้นที่รอพัฒนาเมืองรอบสถานี กันหมดแล้ว เนื่องจากมองเห็นประโยชน์การเชื่อมต่อ ระบบรางการเดินทาง การขนส่งสินค้า ส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ในจำนวนมากและประหยัดต้นทุน

สำหรับรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เป็นทางคู่สายใหม่ มูลค่าโครงการ 66,848.33 ล้านบาท มีวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณ 55,462 ล้านบาท มีค่าเวนคืน 10,255.33 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 1,131 ล้านบาท ตามแผนกำหนดเปิดเดินรถในปี 2571

ปัจจุบัน รฟท.ได้ประมูล e-bidding งานโยธา จำนวน 2 สัญญา วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท โดยสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท มีผู้ซื้อซองจำนวน 16 ราย มีผู้ยื่นเสนอราคาจำนวน 4 ราย โดยกลุ่มที่มี บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด ผนึกผู้รับเหมาท้องถิ่น เสนอราคาต่ำสุด 27,100 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง23 ล้านบาท


สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท มีผู้ซื้อซองจำนวน 16 ราย มีผู้ยื่นเสนอราคา 4 ราย โดยกลุ่มมี บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เสนอ ราคาที่เสนอต่ำสุด 28,310 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 23 ล้านบาท

ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาผลประมูล และมีการตรวจสอบการประกวดราคาจากคณะกรรมการตรวจสอบฯ ที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้นด้วย เนื่องจากมีการร้องเรียนในประเด็นการกำหนดเกณฑ์การประมูล ที่มีข้อครหาถึงความไม่ชอบมาพากล เพราะทั้ง2สัญญาเสนอราคาห่างจากราคากลางเฉลี่ย0.08% เช่นเดียวกับ3สัญญาสายเหนือ แต่ทั้งนี้ก่อนประกาศผู้ชนะประมูลลงนามในสัญญาจะต้องรอคณะกรรมการชุดดังกล่าวที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้นสรุปข้อเท็จจริงออกมาก่อน


Last edited by Wisarut on 27/09/2021 12:24 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2021 12:10 am    Post subject: Reply with quote

ปมพิรุธ 2รถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน ส่อฮั้วประมูล มีแววได้ไปต่อ
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
26 กันยายน 2564 เวลา 19:55 น.

ปมพิรุธ 2โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสานส่อฮั้วประมูล มีแววได้ไปต่อหลังรฟท.แย้มผลตรวจสอบคณะกรรมการฯชุดนายกรัฐมนตรี สรุปผลพิจารณาเรียบร้อยแล้วเตรียมชงบอร์ดรฟท.อนุมัติ จ้าง5สัญญาเร่งก่อนสร้างเปิดใช้เส้นทาง



ปมพิรุธส่อฮั้วประมูล 2โครงการรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือ –อีสาน มูลค่า1.28แสนล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 5สัญญา 5รับเหมาที่มีผลงานผ่านเกณฑ์ ทีโออาร์ แถมเสนอราคาห่างจากราคากลาง เพียง0.08% หรือประมาณหลักสิบล้านบาท เมื่อราว4เดือนก่อน ชนวนทำให้หลายฝ่ายร้องเรียนไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และในครั้งนั้นนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง7ราย ในที่สุดผลการพิจารณาออกมาส่อแววให้2โครงการได้ไปต่อ


ทั้งนี้แหล่งข่าวจากรฟท.ได้ออกมายืนยันว่า วันที่ 29 กันยายนนี้รฟท. จะนำ2โครงการทางคู่เสนอคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟท.) พิจารณาอนุมัติ การสั่งจ้างผู้ชนะประมูลทั้ง5สัญญา เพื่อก่อสร้างตามแผน ขณะเดียวกันได้ เดินหน้าลงพื้นที่หลังจากพระราชกฤษฎีกาเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ประกาศใช้ ครบทั้ง2เส้นทาง

สำหรับทางคู่ สายเหนือ ช่วง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท จำนวน 3 สัญญา และทางคู่ สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร วงเงิน 5.54 หมื่นล้านบาท จำนวน 2 สัญญา คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างและเปิดเส้นทางได้พร้อมกันในปี 2571

ชำแหละเบื้องลึก! เหตุตั้งคณะกรรมการสอบ ปมส่อฮั้วประมูลทางคู่เหนือ-อีสาน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
26 กันยายน 2564 เวลา 16:51 น.

เปิดสาเหตุตั้งคณะกรรมการสอบ ประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน 1.28 แสนล้านบาท วงในเผย 5 บริษัทรับเหมายักษ์ใหญ่ ถูกเรียกพบ รับผลประโยชน์ 7%

กลายเป็นกระแสดราม่าในช่วงที่ผ่านมาถึงการประมูลโครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน มูลค่า 1.28 แสนล้านบาท ที่ส่อแววฮั้วประมูล ตั้งแต่เริ่มกระบวนการประกวดราคาเสียแล้ว ระหว่างที่รฟท.เปิดประมูล พบว่าเอกชนที่ผ่านเกณฑ์เข้าประมูลเสนอราคาห่างจากราคากลางไม่มาก อีกทั้งยังพบว่าการประมูลแบ่งเป็น 5 สัญญาและมีผู้รับเหมารายใหญ่เข้าร่วมประมูลทั้ง 5 รายและชนะการประมูลทุกราย จึงเป็นข้อพิรุธ ที่อาจสมรู้ร่วมคิด ล็อกสเปคในการฮั้วประมูลที่เข้าข่ายฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา


แหล่งข่าววงการรับเหมา กล่าวว่า การประมูลในครั้งนี้พบว่ามีบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายหนึ่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ ได้รับคำเชิญจากนักการเมืองชื่อดัง จากจังหวัดบุรีรัมย์ เรียกทั้ง 5 บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ เข้าพบ โดยอ้างว่าสามารถแบ่งงานกันได้โดยไม่ต้องแข่งขันด้านราคาและมีการอ้างในการเรียกรับผลประโยชน์ 7%


หากดูผลงานทีโออาร์ของโครงการฯก่อสร้างรถไฟทางคู่นั้น พบว่ามีเพียง 5 บริษัทที่สามารถนำผลงานเข้ายื่นข้อเสนอโครงการได้ ประกอบด้วย
1.บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
3.บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
4.บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ
5.บริษัทเอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

สำหรับผลการประกวดราคาโครงการทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม.วงเงิน 66,848 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ทั้งหมด 2 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 177.50 กม. วงเงิน 27,127 ล้านบาท ราคากลาง 27,123 ล้านบาท มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย จากผู้ซื้อซอง16 ราย โดยเสนอราคาตํ่าสุด27,100 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 177.2 กม. วงเงิน 28,335 ล้านบาท ราคากลาง 28,333 ล้านบาท มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย จากผู้ซื้อซอง16 ราย ราคาตํ่าสุดอยู่ที่ 28,310 ล้านบาท

หลังจากนี้จะเปิดให้เอกชนยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคภายในวันที่ 27 พ.ค.นี้ ประกาศผลผู้ชนะการประมูลโครงการภายในวันที่ 15 ก.ค.2564 และลงนามสัญญาภายในวันที่ 6 ส.ค.2564 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี เปิดให้บริการในปี 2569 ทั้งนี้ใน 3 สัญญา พบว่ามีข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสและน่าสังเกตมากว่าแต่ละสัญญามีผู้ซื้อซองจำนวนมาก


ขณะที่ผลการประกวดราคาโครงการทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 323 กม.
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล จำนวน 17 ราย โดยผลเสนอราคาตํ่าสุด 26,568 ล้านบาท ตํ่ากว่าราคากลาง 31 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913 ล้าน ตํ่ากว่าราคากลางบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 18 รายแต่มีผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละสัญญาเพียง 2 รายเท่านั้น โดยเสนอราคาตํ่าสุด 26,900 ล้านบาท ตํ่ากว่าราคากลาง 13 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406 ล้านบาท มีผู้สนใจซื้อซองประมูล 16 ราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละสัญญาเพียง 2 รายเท่านั้น โดยเสนอราคาตํ่าสุด 19,390 ล้านบาท ตํ่ากว่าราคากลาง 16 ล้านบาท


หลังจากการประกวดราคาทั้ง 2 โครงการ ทำให้สังคมแห่ตั้งคำถามถึงการประมูลโครงการฯที่ไม่โปร่งใสและเข้าข่ายในการฮั้วประมูลโครงการหรือไม่ แต่ก็ไม่เป็นผล รฟท.ยังคงเดินหน้าที่จะประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาทางคู่สายเหนือในวันที่ 9 ก.ค.64 และลงนามสัญญาในวันที่ 2 ส.ค.64 ขณะที่ทางคู่สายอีสานจะประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาในวันที่ 15 ก.ค.64 และลงนามสัญญา 6 ส.ค.64 จากการกระทำของรฟท.ทำให้หลายหน่วยงานและองค์กรต่างๆมีการร้องเรียนไปถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวที่เกิดขึ้นว่ามีการฮั้วประมูลจริงหรือไม่ หลังจากนั้นมีหนังสือลับจากนายกรัฐมนตรี สั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้ง 2 โครงการที่เกิดขึ้นเพื่อหาข้อสรุปและเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปคุยรายละเอียดเพิ่มเติมด้วย

ล่าสุดแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่อง การประมูลรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของและทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม รวมวงเงิน 1.28 แสนล้านบาท นั้น ปัจจุบันคณะกรรมการฯอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการประมูลโครงการฯดังกล่าว ซึ่งใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว เบื้องต้นจะมีการประชุมคณะกรรมการฯร่วมกันเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนกันยายนนี้ หลังจากนั้นจะเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบของคณะกรรมการต่อไป

“กรณีที่มีกระแสข่าวออกมาว่าผลการสอบสวนของโครงการดังกล่าวอาจพ้นข้อครหาในการฮั้วประมูลหรือไม่นั้น ยังตอบไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดของคณะกรรมการฯ ซึ่งคณะกรรมการฯพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริงในทุกๆส่วนเพื่อให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนว่าเป็นอย่างไร”

สำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการฯ ในการประมูลโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของและโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม มีหลายส่วนที่ต้องพิจารณา เช่น การปรับลดจำนวนการแบ่งสัญญาเหลือเพียง 3 สัญญา โดยเป็นการเปลี่ยนทีโออาร์ตามหนังสือของกระทรวงคมนาคม ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 จากเดิมที่เคยแบ่งการประมูลสายเหนือออกเป็นสัญญา 7 สัญญา ประกอบด้วยงานโยธาและระบบราง 6 สัญญา และงานระบบอาณัติสัญญาณ 1 สัญญา เหลือเพียง 3 สัญญา โดยรวมประมูลงานระบบอาณัติสัญญาณเข้ากับงานโยธา รวมทั้งสาเหตุที่ทำให้การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานมีราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากันคือแค่ 0.08% เท่านั้น ฯลฯ


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า หลังจากมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสานนั้น ที่ผ่านมารฟท.ได้เข้าไปดำเนินการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการประมูลทั้ง 2 โครงการต่อคณะกรรมการฯ แล้ว

อย่างไรก็ตามสังคมยังคงรอคำตอบหากท้ายที่สุดแล้วผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบข้อพิรุธจริงอย่างที่กล่าวอ้างนั้น ภาครัฐจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยทั้ง 2 โครงการที่อยู่ระหว่างประมูลนั้นจะต้องชะลอหรือล้มประมูลและเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้งหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2021 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม
ปักป้ายประกาศเวนคืนแล้ว!!! พร้อมวางเขตแนวเตรียมเวนคืน ในเขตพื้นที่บ้านไผ่
วันนี้เอาความคืบหน้าของโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม มาฝากเพื่อนๆกันหน่อย
หลังจากที่ประกาศ พรฏ เวนคืน ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 กันยายน 64
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/060/T_0001.PDF

ลิ้งค์รายละเอียดเวนคืน
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1272727716499038/?d=n
—————————-
ซึ่งวันนี้ผมไปธุระที่สกลนคร เลยแวะดูความคืบหน้าของโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่มาให้เพื่อนๆ ชมกันหน่อย
ผมแวะมาดูที่จุดตัดกับถนนสาย 2228 ซึ่งเป็นจุดตัดแรก หลังออกจาก สถานีบ้านไผ่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ และผ่านชุมทางบ้านหนองแวงไร่
ตอนนี้มีการปักป้ายประกาศเวนคืนในพื้นที่ก่อสร้างแล้ว พร้อมกับทำสัญลักษณ์ขอบเขตการเวนคืนไว้บนถนน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ชนกัน
ต่อไปก็จะทำการเจรจาเวนคืนกับประชาชนในพื้นที่ ตาม พรฏ เวนคืน
—————————
รายละเอียดโครงการ (ซ้ำอีกรอบ)
ก่อนหน้านี้การรถไฟได้เปิดประมูลรถไฟทางคู่สาย บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ไปเมื่อ 2 อาทิตย์ที่แล้วก่อนข้ามปีใหม่มา
รายละเอียดสัญญาตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1101320043639807/?d=n
ถ้าใครสนใจอยากทราบตำแหน่งการเวนคืนเพื่อก่อสร้างดูภาพจากในลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/672856696486146/?d=n
Alignment โครงการ
https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=14SS3eSyUkg2Aq52-UQCpX87cMp3IxH5m&shorturl=1&ll=16.22620682825437%2C103.47097795149949&z=11
ในโครงการแบ่งการประมูลเป็น 2 สัญญาคือ
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก มูลค่า 27,123 ล้านบาท
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
https://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=634465987
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 มูลค่า 28,333 ล้านบาท
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
https://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=634626597
มูลค่าโครงการรวม 55,453 ล้านบาท
—————————
รายละเอียดของโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/915612495543897

คนมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม สบายใจได้แล้วนะครับ ของจริงมาแล้วๆ

เอาล่ะมาเริ่มกันที่รายละเอียด โครงการ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม กันครับ
{เรื่องนี้ยาว ให้มือถืออ่านให้ฟังนะครับ}
ก่อนอื่นต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า เส้นทางนี้อยู่ในแผน E-W Economic Corridor เชื่อม ตะวันออก-ตะวันตก ของประเทศ และเชี่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย
ซึ่งเค้ามีทางเลือกหลายเส้นทางตามรูป แต่ทางที่เลือกในโครงการล่าสุดคือ
แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์-ชัยภูมิ-บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม
ซึ่งสายที่ศึกษาและพร้อมทำก่อนคือ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม นี่เราพูดถึงกันอยู่นี่
————————
โครงการ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ครม. อนุมัติ มาตั้งแต่ ช่วงพฤษภาคม 62
ซึ่งตอนนี้ รฟท ก็เดินหน้าประเมินราคาที่ดินเพื่อเตรียมเวนคืน ซึ่งคาดว่าจะออกประมูลได้ในปีหน้า ตามสายเชียงราย ที่ตอนนี้เตรียมประมูลแล้ว
ใครยังไม่ได้ดูคลิปเส้นทางโครงการดูได้จากโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/671824959922653/
ภาพรวมรายละเอียดโครงการ
- ระยะทางโครงการทั้งหมด 354 กิโลเมตร
- มีสถานีรถไฟและป้ายหยุดรถไฟทั้งหมด 31 สถานี
- ความเร็วรถไฟสูงสุดในการออกแบบในทางประธาน 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร เท่ากับรถไฟทางคู่ของการรถไฟ
- ความสูงชานชลา เป็นชานชลาสูง (เหมือนทางคู่ ขอนแก่น) สูง 1.1 เมตร
- มาตรฐาน โครงสร้างทางรถไฟ
รางรถไฟเป็นมาตรฐาน UIC 54
เป็นแบบหินโรยทาง บนทางระดับดิน
เป็นแบบไม่ใช้หินโรยทาง เป็นหมอนเหล็ก บนทางยกระดับหรือสะพาน
- ออกแบบรองรับรถไฟน้ำหนักสูงสุด 20 ตัน/เพลา (รับรถจักร CSR ซึ่งใหญ่สุดของการรถไฟได้)
- ใช้อาณัติสัญญาณ แบบ ETCS Level 1 ซึ่งเป็นระบบเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีแดง. และรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้งหมดทุกสายทาง
{ใครอยากอ่านเส้นทางและตำแหน่งสถานี อยู่ล่างสุดเลยครับ}
——————————
*แนวคิดในการออกแบบ และสิ่งอำนวยความสะดวกภายสถานี*
1. พื้นที่เพื่อระบบการเดินรถ
2. พื้นที่อาคารสถานีและอาคารประกอบ
3. พื้นที่ลานสถานีและท่ีจอดรถ
4. พื้นที่เพื่อการขยายตัวในอนาคตสําหรับเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ (ITF-Inter modalTransfer Facilities)
5. พื้นที่เพื่อการพักอาศัยสําหรับการสร้างที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่และคนงาน
6. พื้นท่ีเพื่อการขยายตัวในอนาคต เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในย่าน
7. พื้นท่ีโล่งเพื่อสันทนาการและชุมชน
8. เป็นพื้นท่ีว่างเอนกประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของย่านสถานี
*รูปแบบสถานี แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ*
- สถานีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นสถานีระดับจังหวัด มีทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ สถานีมหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, มุกดาหาร และนครพนม
การออกแบบจะให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ในท้องถิ่น เช่น เช่นการตกแต่งเอาศิลปะในพื้นที่มาใส่ (แต่จริงๆผมว่าทำได้ดีกว่านี้ครับ แบบสายระยอง-ตราด)
ขนาดย่านสถานีขนาดใหญ่ ในการเวนคืน ขนาด 180X1000 เมตร ซึ่งยังไม่รวมลานเก็บคอนเทนเนอร์ที่บางสถานีมีด้วย
- สถานีขนาดกลาง มีทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีบรบือ, โพนทอง, เลิงนกทา, ธาตุพนม และสะพานมิตรภาพ 3
เป็นสถานีสำหรับอำเภอขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารมาก
ขนาดย่านสถานีขนาดกลาง ในการเวนคืน ขนาด 150X700 เมตร
- สถานีขนาดเล็ก มีทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่สถานีภูเหล็ก, กุดรัง, เชียงขวัญ, โพธิ์ชัย, หนองพอก, นิคมคำสร้อย, สะพานมิตรภาพ 2, หว้านใหญ่, เรณูนคร
เป็นสถานีที่มีปริมาณผู้โดยสารน้อย และเป็นอำเภอหรือเมืองขนาดเล็ก
ขนาดย่านสถานีขนาดเล็ก ในการเวนคืน ขนาด 130X500 เมตร
- ป้ายหยุดรถไฟ มีทั้งหมด 12 ป้าย ได้แก่ นาโพธิ์, หนองโน, เขวา, ศรีสมเด็จ, สีแก้ว, เมยวดี, โคกสว่าง, ห้องแซง, บ้านป่งแดง, บ้านดานคำ, นาถ่อน และบ้านกลาง
เป็นแค่ชานชลา ไม่มีตัวอาคารสถานีขายตั๋ว มีผู้โดยสารน้อย รองรับแค่รถไฟท้องถิ่น
ขนาดพื้นที่ป้ายหยุดรถไฟ ในการเวนคืน ขนาด 100X300 เมตร
————————
*ลานกองเก็บตู้สินค้า / Container Yard (CY)*
นอกจากรถไฟสายนี้จะใช้ขนส่งคนแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของเส้นทางสายนี้คือการขนส่งสินค้า เพื่อที่จะส่งจากแหล่งผลิตไปโรงงานอุตสาหกรรม หรือท่าเรือ และส่งสินค้าขายประเทศเพื่อนบ้าน
ดังนั้นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างระบบถนนและระบบรางในเส้นทางก็เป็นส่วนที่สำคัญมาก
จึงมีการก่อสร้างลานกองเก็บตู้สินค้า (CY) ในเส้นทางไว้ถึง 6 จุด แบ่งเป็น 2 ระดับ ขึ้นกับความต้องการของผู้ประกอบการคือ
- ย่านกองเก็บตู้สินค้า / Container Yard ซึ่งมีขนาดใหญ่ 15,000-25,000 ตารางเมตร เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายขนาดใหญ่ ได้แก่ สถานีร้อยเอ็ด, สะพานมิตรภาพ 2 และสะพานมิตรภาพ 3
- ลานกองเก็บตู้สินค้า จะมีขนาดย่อมลงมา ประมาณ 6,000 ตารางเมตร ได้แก่ สถานี ภูเหล็ก, มหาสารคาม และโพนทอง
—————————
ขบวนรถไฟที่ให้บริการในเส้นทาง
ในโครงการ จะมีรถไฟโดยสารให้บริการจากการศึกษา 4 รูปแบบ คือ
1. รถด่วน กรุงเทพ-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) จอดในพื้นที่โครงการ 8 สถานี ได้แก่ บ้านไผ่, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, เลิงนกทา, มุกดาหาร, ธาตุพนม, นครพนม และ สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม)
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 3:30 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
2. รถเร็ว กรุงเทพ-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) จอดในพื้นที่โครงการ 16 สถานี ซึ่งสถานีที่จอดมากกว่ารถด่วน ได้แก่ กุดรัง, บรบือ, เชียงขวัญ, โพนทอง, สถานี นิคมคําสร้อย, สถานีสะพานมิตรภาพ 2, สถานีหว้านใหญ่ และสถานีเรณูนคร
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 4:30 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
3. รถเร็ว กรุงเทพ-ร้อยเอ็ด จอดในพื้นที่โครงการ 5 สถานี ซึ่งสถานีที่จอดมากกว่ารถด่วน ได้แก่ กุดรัง, บรบือ
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง ร้อยเอ็ด ประมาณ 1:20 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
4. รถท้องถิ่น บ้านไผ่-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) เป็นรถจอดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ
ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 5:10 ชั่วโมง
ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)
รูปแบบขบวนรถไฟสินค้า
แบ่งรูปแบบการเดินรถไฟเป็น 4 แบบคือ
- รถสินค้าด่วนเข้า-ออก CY ร้อยเอ็ด
- รถสินค้าด่วนสะพานมิตรภาพ 3
- รถสินค้าสะพานมิตรภาพ 2 และ 3
- รถสินค้า จอดระหว่างทาง โพนทอง-ร้อยเอ็ด-มหาสารคาม-ภูเหล็ก
ซึ่งการจัดขบวนรถไฟขึ้นกับความต้องการของภาคขนส่งเอกชนอีกทีครับ
โครงการต้องใช้รถไฟทั้งหมด 18 ขบวน คือ
ขบวนรถด่วน 4 ขบวน
ขบวนรถเร็ว 4 ขบวน
ขบวนรถเร็ว (ร้อยเอ็ด) 2 ขบวน
ขบวนรถท้องถิ่น 2 ขบวน
ขบวนรถสินค้าทั่วไป 4 ขบวน
ขบวนรถซิเมนต์ 2 ขบวน
————————
พูดมาซะยาวเรามาดูเรื่องการเงินของโครงการบ้างครับ
โครงการมีการลงทุน ทั้งหมดไม่รวมค่าขบวนรถไฟ 61,682 ล้านบาท
มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) ในระยะ 30 ปีที่ให้บริการ 13.60%
มีผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) ในระยะ 30 ปีที่ให้บริการ -4.77%
ซึ่งรูปแบบการลงทุนในการศึกษา ให้รัฐบาลลงทุนทางรถไฟพร้อมงานระบบทั้งหมด (เหมือนทางคู่ขอนแก่น) และให้การรถไฟเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุงเส้นทาง
ซึ่งรูปแบบนี้มีผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) สูงถึง 8.86% ซึ่งทำให้โครงการมีกำไรได้
————————
จากที่เราดูรายละเอียดของโครงการ EIRR และ FIRR แค่ส่วนเดินรถและบำรุงรักษา สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ดังนั้น ผมว่าก็ควรเร่งทำให้เร็วที่สุดครับ
————————
แนวเส้นทางโครงการ และตำแหน่งสถานี
1. ชุมทางบ้านหนองแวงไร่ - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น- ที่ กม. 0 + 300 โดยที่ บ้านหนองแวงไร่ ห่างจากสถานีบ้านไผ่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่ 3 กิโลเมตร
2. สถานีภูเหล็ก - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลภูเหล็ก อำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น - ที่ กม. 10 สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตร ที่นี่
3. ป้ายหยุดรถไฟนาโพธิ์ ที่ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัด มหาสารคาม - ที่ กม. 21
4. สถานีกุดรัง - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัด มหาสารคาม ที่ กม. 30
5. สถานีบรบือ - สถานีขนาดกลาง ที่ ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัด มหาสารคาม ที่ กม. 45
6. ป้ายหยุดรถไฟ หนองโน - ที่ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่ กม. 59
7. สถานี มหาสารคาม - สถานีขนาดใหญ่ - ที่ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บริเวณชานเมืองติดทางหลวงท้องถิ่น 2040 ที่ กม. 69
พร้อมสร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตรที่นี่
8. ป้ายหยุดรถไฟ เขวา - ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามที่ กม. 78
9. ป้ายหยุดรถไฟศรีสมเด็จ - ที่ ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัด ร้อยเอ็ด - กม. 85 ลดชั้นจากสถานี ศรีสมเด็จ
10. ป้ายหยุดรถไฟสีแก้ว - ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัด ร้อยเอ็ด ที่ กม. 93
11. สถานีร้อยเอ็ด - สถานีขนาดใหญ่ ที่ตำบลยางใหญ่ อำเภอจังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด อยู่ตรงแถวถนนวงแหวน ตัดกะถนน ไปจังหาร ที่ กม. 104
สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 25000 ตารางเมตร ที่นี่ เพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง น้ำตาลที่นี่
12. สถานีเชียงขวัญ - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด กม. 117
13. สถานีโพธิ์ชัย - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัด ร้อยเอ็ด กม. 128
14. สถานีโพนทอง - สถานีขนาดกลาง ที่ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 150
- สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตร ที่นี่
15. ป้ายหยุดรถไฟเมยวดี - ที่ตำบลกกโพธิ์ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 159
16. สถานีหนองพอก - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 175
17. ป้ายหยุดรถไฟโคกสว่าง - ที่ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 183
18. สถานีรถไฟห้องแซง - สถานีขนาดเล็ก ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กม. 197
19. สถานีเลิงนกทา - สถานีขนาดกลาง ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ห่างจากศาลาว่าการอำเภอเลิงนกทา 6 กิโลเมตร ใกล้ทางหลวง 212 (ถนนชยางกูร) - ไปอำนาจเจริญได้ที่นี่ กม. 209
20. สถานีนิคมคำสร้อย- สถานีขนาดเล็ก ที่ ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 223
21. ป้ายหยุดไฟบ้านป่งแดง ที่ ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 228
22. สถานีมุกดาหาร - สถานีขนาดใหญ่ ที่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร กม. 247
23. ป้ายหยุดรถไฟบ้านดานคำ ที่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 250
24. สถานีสะพานมิตรภาพ 2 - สถานีขนาดเล็ก ที่ ตำบลบางไทรใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 255
- สร้างลานคอนเทนเนอร์(CY) พื้นที่ 15000 ตารางเมตร ที่นี่
25. สถานีหว้านใหญ่ - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร กม. 267
26. สถานีธาตุพนม - สถานีขนาดกลาง ที่ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 291
27. สถานีเรณูนคร - สถานีขนาดเล็ก ที่ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม กม. 304
28. ป้ายหยุดไฟรถนาถ่อน - ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 315
29. ป้ายหยุดรถไฟบ้านกลาง - ตำบลบ้านกลาง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 320
30. สถานีนครพนม - สถานีขนาดใหญ่ ตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครพนมไป 4 กิโลเมตร กม. 343
31. สถานีสะพานมิตรภาพ 3 สถานีขนาดเล็ก เป็น ที่ทำการรับส่งสินค้าเชิงสะพานมิตรภาพ ณ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ใกล้ตีนสะพานมิตรภาพ กม. 354
- สร้างลานคอนเทนเนอร์ พื้นที่ 15000 ตารางเมตร
—————————
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1316334818804994
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/12/2021 7:21 pm    Post subject: Reply with quote

รองผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด ประชุมแจงงานสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร – นครพนม
สยามรัฐออนไลน์ 9 ธันวาคม 2564 18:39 น. ข่าวทั่วไทย

Click on the image for full size

9 ธ.ค.64 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด นายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธาน การประชุมประชาสัมพันธ์ชี้แจงรายละเอียดโครงการงานสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร – นครพนม โดย นายราเชนทร์ ศรีพา ผู้แทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และคณะ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคประชาชน และผู้มีเกียรติที่เข้าร่วม พร้อมถ่ายทอดสดวีรูมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายราเชนทร์ ศรีพา ผู้แทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานว่า.- เพื่อให้โครงการเป็นไปตามแผนงาน การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้ ดำเนินโครงการ งานสำรวจรายละเอียดอสังหาริมรัพย์เพื่อเวนคืน โครงการก่สร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร – นครพนม การประชุมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ประชาชน และหน่วยงาน หรือกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูล ความเป็นมาของโครงการ ขอบเขต และแนวทางการดำเนินงาน ในกรสำรวจ และจัดทำแผนที่แสดงรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่ ที่มีต่อโครงการฯ และขอความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กร และชุมชนต่างๆ ในการสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ของโครงการฯ ต่อไป

กิจกรรมประกอบด้วย การนำเสนอข้อมูลและรายละเอียดของโครงการ,ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น และตอบข้อซักถาม,สรุปโดยผู้แทนบริษัทที่ปรึกษาฯ

นายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า.-การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีระยะทางทั้งสายรวม 355 กิโลเมตรโดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีชุมทางบ้านหนองแวงไร่ ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยมีแนวเส้นทางผ่านจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม ไปสิ้นสุดโครงการที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการดำเนินงานสำรวจจัดเตรียมพื้นที่เพื่อการก่อสร้างทางรถไฟ โดยจะทำการสำรวจรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ และประมาณราคา ,เพื่อกำหนดเป็นค่าทดแทนในการเวนคืนทรัพย์สินที่อยู่ในเขตทางรถไฟ ให้ผู้ที่มีทรัพย์สินอยู่ในเขตทาง ได้รับค่าทดแทนอย่างครบถ้วนและเป็นธรรม

จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ร่วมรับทราบข้อมูลโครงการ แนวทาง และขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ในการสำรวจรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/12/2021 4:22 pm    Post subject: Reply with quote


เริ่มปักเสาแนวเขตเวนคืน รถไฟทางคู่ บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธร-มุกดาหาร-นครพนม แล้ว
เครดิต Jesadaporn Chimlee
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=131447292625565&id=102531745517120
https://www.youtube.com/watch?v=qR3jeKTfP-0
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/12/2021 7:09 am    Post subject: Reply with quote

ทางคู่ 2 สายโปร่งใสนายกฯให้ไปต่อ
Source - เดลินิวส์
Friday, December 17, 2021 04:58

รายงานข่าวแจ้งว่าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา อนุมัติสั่งจ้างผู้ชนะการประกวดราคา (ประมูล) โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท 3 สัญญา และโครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ดมุกดาหาร-นครพนม 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.54 หมื่นล้านบาท 2 สัญญา คาดว่าจะลงนามเอกชนทั้ง 2 โครงการได้ในเดือน ม.ค. 65 เป็นของขวัญปีใหม่ประชาชน หลังจากรอคอยโครงการมานาน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ทั้ง 2 โครงการประมูลแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมา แต่ รฟท. ไม่สามารถประกาศผลผู้ชนะประมูลได้ เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนว่าการประมูลทั้ง 2 โครงการไม่โปร่งใสล็อกสเปกและฮั้วประมูล โดยเฉพาะกรณีผู้ยื่นข้อเสนอราคาต่ำสุดห่างจากราคากลางไม่มาก รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขรายละเอียดการประมูลที่เอื้อกับผู้รับเหมาบางกลุ่ม ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการ 7 คน ตรวจสอบจนได้ข้อสรุปว่ากระบวนการกำหนดราคากลาง และการเปิดเผยราคากลาง ทั้ง 2 โครงการ เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่ากีดกันการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้หากต้องประมูลใหม่ตามที่ผู้ร้องเรียนได้เสนอ รฟท.ต้องปรับราคากลางสูงขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างอาจทำให้ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้นสำหรับทางรถไฟสายเหนือประมาณ 4,200 ล้านบาท และสายอีสานประมาณ 2,900 ล้านบาท

ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้นำรายงานผลการตรวจสอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณาเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 64 และได้ลงนามสั่งการกระทรวงคมนาคมไปดำเนินการ พร้อมนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาด้วย ควรแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวกับการเสนอราคาในรูปแบบของกิจการร่วมค้าให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการสมยอมกันในการเสนอราคา สำหรับสายเด่นชัย-เชียงของใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี เปิดบริการปี 71 ส่วนสายบ้านไผ่-นครพนม ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปีและเปิดบริการปี 69.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2021 11:36 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ทางคู่ 2 สายโปร่งใสนายกฯให้ไปต่อ
Source - เดลินิวส์
Friday, December 17, 2021 04:58


ลิงก์มาแล้วครับ


ได้ไปต่อ! ทางคู่2สายใหม่เตรียมเซ็น5สัญญา1.2แสนล้าน
*เส้น ”เด่นชัย-เชียงของ”กับ”บ้านไผ่-นครพนม”
*ผลสอบร้องประมูลโปร่งใสนายกฯให้ไฟเขียว
*มอบของขวัญปีใหม่ประชาชนได้ใช้ปี69/ปี71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069958893225608


บอร์ดรฟท.เคาะเซ็นสัญญารถไฟทางคู่สายเหนือ/สายอีสานม.ค.65 หลังผลสอบไร้ฮั้ว

ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:24 น.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตรเป็นประธาน วันที่ 16 ธ.ค.64 มีมติอนุมัติสั่งจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา ประกอบด้วย



สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท กลุ่มบมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ร่วมกับกับบมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,568 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท ผลเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,900 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาทมี เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 19,390 ล้านบาท ซึ่งสัญญา 2 และ 3 มีกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ประกอบด้วย บมจ. ช.การช่าง (CK) ร่วมกับบมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) เสนอราคาต่ำสุด โดยแผนก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2570


และโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท โดยบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด จอยต์เวนเจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 27,100 ล้านบาท

และ สัญญา 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) จอยเวนต์เจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ที่ 28,310 ล้านบาท โดยแผน ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2568

หลังจากนี้เป็นขั้นตอนการประกาศผลผู้ชนะ ตามขั้นตอนการประกวดราคาด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ซึ่งหากไม่มีการอุทรธณ์ภายใน 7 วันทำการ จะดำเนินการลงนามในสัญญา คาดว่าจะภายในเดือนม.ค. 2565 โดยในส่วนของร่างสัญญานั้น ขณะนี้อัยการสูงสุดได้ตรวจเรียบร้อยแล้ว

นายนิรุฒกล่าวว่า จากที่ มีการร้องเรียนให้มีการตรวจสอบผลการประมูลและพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ (สายเหนือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยมีนายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้สรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงระบุว่า การดำเนินการประมูลเป็นไปตามระเบียบถูกต้องตามกฎหมายครบถ้วน ไม่ปรากฏพฤติกรรมว่ามีการสมยอมราคา ซึ่งนายกฯ ได้ลงนามรับทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 64 และส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคม เพื่อดำเนินการต่อ

ขณะที่กรณีที่จะให้เปิดประมูลใหม่นั้น พบว่า จะต้องมีการปรับราคากลางเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งพบว่า เส้นทางสายเหนือ (สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) ราคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 4,600 ล้านบาทสายอีสาน (สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ราคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 2,900 ล้านบาท ซึ่งบอร์ดรฟท.พิจารณาทั้งผลการประมูลและกรณีราคากลางดังกล่าว จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่ต้องประมูลใหม่ ขณะที่ผู้รับหมาที่เสนอราคาต่ำสุดทั้ง 5 สัญญา ได้แจ้งยืนยันราคาไว้ จึงไม่กระทบต่อการดำเนินโครงการต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2021 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะ เซ็น 5สัญญา 2รถไฟ ทางคู่ฉาว"เหนือ-อีสาน"1.28แสนล้าน ม.ค.ปี65
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 18 ธ.ค. 2564 เวลา 15:54 น.

บอร์ดรฟท. เคาะเซ็น5สัญญา5ยักษ์รับเหมา 2รถไฟทางคู่ฉาว สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ -สายอีสาน บ้านไผ่-นครพนม 1.28แสนล้าน ได้ไปต่อ หลัง นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ ปล่อยผ่าน ไม่เข้าข่ายฮั้วประมูลล็อกสเปก สร้างความกังขาทั่วบ้านทั่วเมือง

การประมูล 2โครงการรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือ –อีสาน มูลค่า1.28แสนล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เมื่อช่วงกลางปี2564ที่ผ่านมา หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตน่าจะส่อไปในทางล็อกสเปก ฮั้วประมูลเนื่องจาก มีเพียงผู้รับเหมารายใหญ่ เพียง5รายผ่าน เกณฑ์ทีโออาร์และในจำนวนนี้แบ่งงานครบทุกรายใน5สัญญา

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยังเสนอราคาห่างจากราคากลาง เพียง0.08% หรือประมาณหลักสิบล้านบาท นอกจากไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันกีดกันผู้รับเหมารายกลางแล้วยังทำให้รัฐเสียงบประมาณค่อนข้างสูง ชนวนดังกล่าว ทำให้ มีการร้องเรียนไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ในครั้งนั้นนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง7ราย แต่ในที่สุดแล้ว แหล่งข่าวในนำเนียบรัฐบาล ได้ออกมาระบุว่า ผลการพิจารณาส่อ แววได้ไปต่อ เพราะคณะกรรมการอ้างว่ายังไม่พบปมพิรุธใดๆ

สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากวงการรับเหมาระบุว่า ไม่เกิดการคาดเดาที่ว่าทั้ง2โครงการต้องผ่านเนื่องจากจะล้มโครงการคงทำให้ล่าช้า นั่นหมายถึงการหลับหูหลับตาให้ปล่อยผ่านทั้งที่มีผู้คัดค้านทั่วบ้านทั่วเมือง

สะท้อนจาก ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ในฐานะประธานบอร์ด รฟท. เป็นประธานเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติสั่งจ้างผู้ชนะการประกวดราคา(ประมูล)

โครงการรถไฟทางคู่ สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท 3 สัญญาและโครงการรถไฟทางคู่สาย อีสาน บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.54 หมื่นล้านบาท 2 สัญญาทั้งนี้คาดว่าจะลงนามกับเอกชนทั้ง 2 โครงการได้ในเดือน ม.ค.65 เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน หลังจากรอคอยโครงการนี้มานาน

รายงานข่าวจากรฟท.ระบุว่า ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบฯ ประชุมทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยเชิญผู้ร้องเรียน และผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง จนได้ข้อสรุปว่า กระบวนการกำหนดราคากลาง และการเปิดเผยราคากลาง ทั้ง 2 โครงการ เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าดำเนินการใดๆ ที่กีดกันไม่ให้ผู้เสนอราคารายใดมีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างไม่เป็นธรรม

หากต้องประมูลใหม่ตามที่ผู้ร้องเรียนได้เสนอ รฟท. ต้องปรับราคากลางสูงขึ้นตามราคาวัสดุเหล็กก่อสร้าง ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆซึ่งอาจทำให้ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้นสำหรับทางรถไฟสายเหนือประมาณ 4,200 ล้านบาท และสายอีสานประมาณ 2,900 ล้านบาท รวม 7,100ล้านบาท

ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้นำเสนอรายงานผลการตรวจสอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณาแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 พ.ย.64 และล่าสุดได้ลงนามสั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการ

พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะต่างๆ ของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย อาทิ การทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ทันทีหากเกิดความเข้าใจผิดและควรกำหนด พร้อมเปิดเผยมาตรการ และวิธีการป้องกันการสมยอมในการเสนอราคาต่อสาธารณะ และควรแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวกับการเสนอราคาในรูปแบบของกิจการร่วมค้าให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการสมยอมกันในการเสนอราคา

สำหรับผลการประมูล สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. กลุ่มกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ เสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 เสนอราคาต่ำสุด 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง84 กม. กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 3 เสนอราคาต่ำสุด 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง 19,406 ล้านบาท


ทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. กิจการร่วมค้า เอเอส-ช.ทวี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เสนอราคาต่ำสุด 27,100 ล้านบาท จากราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท

และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. กิจการร่วมค้า ยูนิค เสนอราคาต่ำสุดที่28,310 ล้านบาท จากราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท ทั้งนี้ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปีและเปิดให้บริการปี 71 ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และเปิดให้บริการปี 69
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2021 8:01 pm    Post subject: Reply with quote

[เริ่มแล้ว] ปักหมุดหลักเขตแนวเวนคืนที่ดิน รถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม | ก้าวหน้าไปอีกขั้น..
Dec 20, 2021
nanny official


https://www.youtube.com/watch?v=Ki9xjoBz1vs

*ทางรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม เป็นโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะแยกจากช่วงชุมทางถนนจิระ–หนองคาย ที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านหนองแวงไร่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสะพานมิตรภาพ 3 จังหวัดนครพนม
**งานเวนคืนพื้นที่สำหรับรองรับการก่อสร้าง พื้นที่เวนคืนประมาณ 17,499 ไร่ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 6 จังหวัด 19 อำเภอ 70 ตำบล
มูลค่าการเวนคืน 10,080.33 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 30, 31, 32 ... 43, 44, 45  Next
Page 31 of 45

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©