RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262762
ทั้งหมด:13574042
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟมาเลเซีย (KTMB)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟมาเลเซีย (KTMB)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49 ... 98, 99, 100  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2012 11:42 am    Post subject: Reply with quote

บุกถิ่นเสือเหลือง ชำเลือง "รถไฟทางคู่" ย้อนดู "รถไฟไทย" ตามหลังลิบลับ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์:
9 กรกฎาคม 2555 เวลา 10:30:26 น.


นับเป็นภารกิจส่งท้าย "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับการบินลัดฟ้าไปศึกษาดูงานโครงการรถไฟทางคู่ที่ประเทศมาเลเซีย ก่อนมีบิ๊กเซอร์ไพรส์ถูกโยกไปนั่งเก้าอี้รองปลัดกระทรวงคมนาคม เมื่อ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

โปรแกรมทริปนี้ถูกเซตขึ้น หลังกระทรวงคมนาคมเตรียมแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยรับมือการเปิด ประตูการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมาถึงในปี 2558 เพื่อสำรวจโครงข่ายการคมนาคมที่จะมาเสริมทัพ และรองรับประตูการค้าที่กำลังจะเปิดในอนาคตอันใกล้นี้

"โครงการรถไฟ ทางคู่" เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ที่คมนาคมมีแผนจะลงทุนในระยะเร่งด่วน วางแผนมี 6 เส้นทาง (2553-2558) รวมระยะทาง 873 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 77,458 ล้านบาท หวังบูมประตูการค้าชายแดนไทยให้ราบรื่น

โดยรถไฟทาง คู่ทั้ง 6 เส้นทางถูกบรรจุอยู่ในบัญชีแผนการลงทุน เม็ดเงินก้อนใหญ่ 1.76 แสนล้านบาทที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติให้ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ไปแล้วเมื่อ 27 เมษายน 2553

แต่จาก วันนั้นจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ทุกอย่างยังเป็นเพียงโครงการกระดาษ ส่วนจะเริ่มรันได้ตามแผนที่วาดไว้หรือไม่ ยังต้องรอดูและลุ้นกันต่อ



ทริ ปครั้งนี้ "ผอ.สร้อยทิพย์" พาลัดเลาะไปตามเส้นทางชายแดนภาคใต้ เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่มาสู่ภาคใต้จาก "หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์" เชื่อมกับประเทศมาเลเซีย

เริ่มจากเส้นทางนำร่องช่วง "ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร" ก่อน ระยะทาง 167 กิโลเมตร เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ล่าสุดผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการเสร็จแล้ว รอเพียงเม็ดเงินที่จะนำมาก่อสร้างและรัฐบาลยิ่งลักษณ์กดปุ่มไฟเขียว ส่วนที่เหลือจะทยอยให้แล้วเสร็จใน 10 ปี

หลังจากเครื่องบินแลนดิ้ง "สนามบินหาดใหญ่" จ.สงขลาแล้ว ชาวคณะได้นั่งรถบัสต่อเพื่อข้ามฝั่งชายแดนไทยไป "สถานีปาดังเบซาร์" รัฐเปอร์ลิส อยู่ห่างจากเขตแดนไทย 500 เมตร เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย ประตูการขนส่งทางรางระหว่าง 2 ประเทศ

จากนั้นมุ่งหน้าไปต่อที่ "รัฐปีนัง" ดูรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้างของรัฐบาลมาเลเซีย จาก "อีโปห์-ปาดังเบซาร์" ระยะทาง 329 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดบริการในเดือนพฤศจิกายน 2557 นี้ ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้าแล้วประมาณ 80%

"มาเลเซียดูเหมือนเงียบ แต่เขาลงทุนเยอะเพื่อเตรียมรับมือเออีซี ปัจจุบันทุ่มเม็ดเงินเป็นแสนล้านบาท สร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศให้เสร็จใน 6 ปี ออกแบบเป็นรางขนาด 1 เมตร ระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร ตอนนี้เหลือช่วงที่ไปปาดังเบซาร์ที่จะเชื่อมกับชายแดนเราเท่านั้นที่เขา ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีปัญหาเรื่องเงินที่จะมาสร้าง" ผอ.สนข.ให้ข้อมูล

รูป แบบการพัฒนาของมาเลเซียก็เหมือนกับประเทศไทย คือสร้างทางคู่ขนาด 1 เมตร ขนได้ทั้งคนและสินค้าเพื่อลดต้นทุน ดังนั้นการต่อเชื่อมกันจึงมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่นอน นอกจากนี้รถไฟทางคู่ยังออกแบบเพื่อแก้จุดตัดได้ด้วยการสร้างอุโมงค์หรือ สะพานข้าม ซึ่งจะทำให้การเดินทางรวดเร็วขึ้นอีกทั้งช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางระหว่าง เมืองได้เป็นชั่วโมง เนื่องจากรถไฟที่จะนำมาวิ่งเป็นรถไฟฟ้าความเร็วไม่เกิน 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะมีสายส่งไฟฟ้าอยู่ข้างบนเพราะเป็นการวิ่งออกชานเมืองเหมือนกับรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงก์ของบ้านเรา ส่วนสองข้างทางจะมีการพัฒนาใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น บ้านจัดสรร ชุมชน เป็นต้น และบางสถานีจะมีการออกแบบสถาปัตยกรรมให้เป็นสถานีท่องเที่ยวของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้อีกด้วย

"ทางคู่ของมาเลเซียเขาใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศทำให้ ประหยัดพลังงานได้ เรากำลังคิดจะนำระบบแบบนี้มาใช้เหมือนกัน โดยหารือร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ" ผอ.สนข.กล่าวย้ำ

หลังเสร็จภารกิจ วันแรก รุ่งขึ้นคณะเดินทางไปที่ "สถานีอีโปห์" ต้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่วิ่งบริการระหว่างเมืองที่เพิ่งเปิดบริการไปเมื่อ 12 สิงหาคม 2553 ไปยังสถานีปลายทาง "สถานีกัวลาลัมเปอร์" จุดศูนย์กลางระบบขนส่งทางรางของมาเลเซีย รวมระยะทาง 280 กิโลเมตร มี 19 สถานี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 15 นาที

รถไฟสายนี้ทางรัฐบาล มาเลเซียให้สัมปทานเอกชนมาบริหาร โดยนำระบบรถไฟฟ้า ETS (Electric Train Services) ขนาด 6 ตู้ มีความจุผู้โดยสารอยู่ที่ 350 คน/เที่ยว ที่ผลิตจากประเทศจีนและเกาหลีมาวิ่งบนรางขนาด 1 เมตรได้สบาย ๆ ด้วยความเร็วสูงสุด 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปัจจุบันมีผู้โดยสารมาใช้บริการ 8 แสนคน/ปี คิดอัตราค่าโดยสาร 350 บาท

จากต้นทางถึงปลายทางตลอดสอง ข้างทาง นอกจากแนวเส้นทางจะตัดผ่านที่นาไร่สวนแล้ว ยังมีการพัฒนาใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามรายทาง ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรรเกิดใหม่อยู่รอบ ๆ สถานีใหญ่

เห็นตัวอย่างจากเพื่อนบ้านแล้วย้อนมาดูเมืองไทย แผนพัฒนาคงจะไม่ทิ้งระยะห่างกันมากนักหากรัฐบาลเริ่มนับหนึ่งสักที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2012 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลท้องถิ่นรัฐเนกรีเซมบีลัน ต้องการฟื้นฟูทางรถไฟสายสเรมบัน-พอร์ตดิกสัน ระยะทาง 39 กม. ที่เลิกใช้งานไปกว่า 4 ปีแล้ว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่ปอร์ตดิกสัน

Revive Seremban-Port Dickson railway line
The Star Online Friday July 6, 2012

Click on the image for full size
A segment of the unused Seremban-Port Dickson railway line. Image courtesy of The Star.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2012 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

ยลสถาปัตยฯ "สถานีอิโปห์" ต้นแบบรถไฟทางคู่ "ประจวบฯ-ชุมพร"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์: 13 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:50:37 น.


ทริปบินลัดฟ้าเยี่ยมเยือนประเทศมาเลเซีย ดูโครงการรถไฟทางคู่ของ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ไม่ใช่แค่ทัศนศึกษางานด้านก่อสร้างโยธาอย่างเดียว ยังถือโอกาสเก็บเกี่ยวสถาปัตยกรรมที่นำกลับมาออกแบบสถานีรถไฟทางคู่สู่สาย ใต้ ช่วง "ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร" ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ของประเทศไทย ให้งดงามไม่แพ้ประเทศเพื่อนบ้าน

จาก ทั้งหมด 21 สถานี "สนข." คัดมาเฉพาะ 2 สถานี "ประจวบฯ-ชุมพร" ที่ต้องการให้รักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ เพราะในอนาคต นอกจากรถไฟสายนี้จะให้บริการขนผู้โดยสารทั่วไปแล้ว ยังมีบทบาทเพิ่มให้เป็นสถานีท่องเที่ยวพ่วงไปด้วย

ทาง "สนข." มีแนวคิดเลือก "สถานีรถไฟอิโปห์-Ipoh" เป็นสถานีต้นแบบ เพราะโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ เรียกว่ายังงดงามสะดุดตา แม้วันเวลาจะผ่านมาหลายสิบปี

ในอดีต "สถานีรถไฟอิโปห์" สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาล แต่หลังจากใช้งานมาได้สักระยะหนึ่ง ถูกปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นสถานีรถไฟ ตัวอาคารออกแบบและก่อสร้างในปี 2460 หรือเมื่อ 95 ปีที่แล้ว

โดยมี "อาเธอร์ เบนิสัน ฮับแบค" สถาปนิกชาวอังกฤษ เป็นผู้ออกแบบให้ อาศัยประสบการณ์จากที่เคยคลุกคลีด้านออกแบบในประเทศอินเดียมาใช้กับการดี ไซน์ สไตล์ที่ออกมาจึงผสมผสานสถาปัตยกรรมระหว่าง "อังโกล+เอเชี่ยน" และปรับให้เข้ากับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น จนออกมาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร สวยถึงขนาดได้รับสมญาว่า "ทัชมาฮาลแห่งอิโปห์" ก็แล้วกัน

ต่อมาในปี 2550 "สถานีอิโปห์" ได้รับการบูรณะปรับปรุงใหม่ให้ร่วมสมัยขึ้น แต่ยังคงรูปแบบอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ โดยปรับพื้นที่ของสถานีให้ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดรับกับระบบรถไฟทางคู่ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่

ปัจจุบันตัวสถานี อิโปห์ ภายนอกทาด้วยสีขาว ภายในสถานีตกแต่งสีสันสดใสด้วยสีน้ำเงินและสีเหลือง พื้นที่สถานีถูกจัดแบ่งหลายส่วน ไล่ตั้งแต่เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วรถไฟ ร้านค้า ห้องน้ำ ห้องรับรองพิเศษ รวมถึงเก้าอี้ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่มารอใช้บริการกระจายไปตามจุดต่าง ๆ อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ขณะที่พื้นที่ชานชาลาจะมีเก้าอี้ให้นั่งคอยเช่นกัน

กลับ มาดู 2 สถานีรถไฟทางคู่ "สถานีประจวบคีรีขันธ์-สถานีชุมพร" ที่ "สนข." มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาออกแบบ แนวคิดคือยังคงรักษาอาคารเดิมไว้โดยไม่แตะหรือต่อเติมโครงสร้างของอาคารเดิม อนุญาตเพียงให้ก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบข้างเท่านั้น

อีก ทั้งวางผังอาคารใหม่บริเวณด้านข้างอาคารเดิมสำหรับใช้ประโยชน์ด้านการอำนวย ความสะดวก เช่น ก่อสร้างสะพานหรือทางลอดรถไฟให้เชื่อมต่อระบบอื่น ๆ และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ที่สำคัญ "สถาปัตยกรรม" ต้องสวยงามไม่แพ้เพื่อนบ้าน เพื่อดึงดูดลูกค้าต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยมากขึ้นในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2012 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ต้องคอยดูผลงานสถาปนิกรถไฟไทย ที่ออกแบบอาคารใหม่ของสถานีหัวหมาก เจ็ดเสมียน ฯลฯ ได้งดงามมาก จะไปสร้างสถานีเวียงจันทน์ (และสถานีปอยเปต ?) เป็นอย่างไรบ้าง แล้วค่อยมาลุ้นสถานีในทางคู่ประจวบ-ชุมพรครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2012 1:02 am    Post subject: Reply with quote

จีนแดงตั้งศูนย์ผลิตรถไฟฟ้าที่ Batu Gajah มูลค่า 400 ล้านริงกิต
จาก หน้าธุรกิจ หนังสือพิมพ์ The Star พุธที่ 18 กรกฎาคม 2012 13:15:00 น. ตามเวลามาเลย์เซีย

นาย Luo Chongfu รองประธานบริษัท CSR Zhuzhou จากจีนแดงประกาศว่า บริษัทลงทุนตั้ง ศูนย์ CSR Asean Rail Centre ที่ Batu Gajah, รัฐ Perak (ห่างจากอิโปห์ไปทางใต้ 30 กิโลเมตร) ถือได้ว่าเป็นศูนย์รถไฟของจีนแดงศูนย์แรกในอาเซียน บนเนื้อที่ 50 เอเคอร์ (125 ไร่) ด้วยเงินลงทุน 400 ล้านริงกิต (4000 ล้านบาท) โดยเฟสแรก จะเสร็จ ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม 2014 (พ.ศ. 2557) โดยศูนย์ดังกล่าวกะผลิตรถไฟฟ้าได้ 100 คัน และซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ได้ 150 คันต่อปี - โดยศูนย์ดังกล่าว จะเป็นทั้งโรงงานผลิต ประกอบทดสอบ ซ่อมบำรุง และ บูรณะ รถไฟฟ้า ทั้งชุดรถ และ สร้างงานให้คนมาเลย์ ได้อย่างน้อย 800 อัตรา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2012 9:20 am    Post subject: Reply with quote

คนขึ้นรถไฟชานเมือง KL Kommuter กันมากขึ้นถึง 130000 คนต่อวัน เพราะ รถไฟฟ้าแบบ 6 ตู้จำนวน 25 ขบวน ขณะที่รถไฟฟ้า 6 ตู้อีก 13 ขบวนที่ตกเข้ามาใหม่ ซึ่งจะเข้าประจำการเดือนหน้า
http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2012/7/23/nation/11680021&sec=nation
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2012 1:09 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการทางคู่ อิโปห์ - ปาดังเบซาร์ที่เริ่มแต่มกราคม 2008 ตอนนี้เสร็จไปแล้ว 85% กะว่าจะเสร็จ สิ้นปี 2014 โดยมีการสร้างสะพานลอย 66 แห่ง ทางลอด 9 แห่งและ สะพาน 74 แห่ง รวมถึงทางตัดข้่ามทางรถไฟอีก 50 แห่งเพื่อแก้ปัญหาทางลักผ่าน โครงการมีที่หยุดรถและ สถานี รวมกัน 23 แห่งซึ่งรวมถึง 7 สถานีใหญ่ - ตอนนี้ยังต้องติดตั้งระบบการเดินรถอย่างใหม่แทนของเดิมไปด้วย ซึ่งเสร็จไปแล้ว 55%
http://www.btimes.com.my/Current_News/BTIMES/articles/20120727005701/Article/index_html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2012 6:43 am    Post subject: Reply with quote

KTMB วางแผนการเงินเพื่อให้ทำกำไรในปีที่ 3 ของแผน โดยปีแรกแลบะปี ที่ 2 ยอมขาดทุนแต่น้อยกว่าที่เป็นอยู่
http://biz.thestar.com.my/news/story.asp?file=/2012/8/7/business/11806788&sec=business
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2012 11:05 am    Post subject: Reply with quote

ชมภาพการสำรวจทางรถไฟเก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ Bukit Timah สิงคโปร์ได้ที่นี่ครับ
Arrow The Forgotten Railway Track in SG 04082012
An Abandon Railway Track used during World War 2
โดยคุณ Patrick Feng 4 ส.ค. 55

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2012 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
KTMB วางแผนการเงินเพื่อให้ทำกำไรในปีที่ 3 ของแผน โดยปีแรกแลบะปี ที่ 2 ยอมขาดทุนแต่น้อยกว่าที่เป็นอยู่
http://biz.thestar.com.my/news/story.asp?file=/2012/8/7/business/11806788&sec=business

อ่านสาเหตุการขาดทุนสิครับ Confused
Quote:
The losses were attributable to high operational cost while maintaining a relatively low fare, and a steep decline in its biggest revenue contributor of freight business.

One of the reasons for its declining freight business was the insufficient train capacity of the State Railway of Thailand to support KTMB's cross-border services.

KTMB also did not have enough electric multiple sets to support its commuter train services.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49 ... 98, 99, 100  Next
Page 48 of 100

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©