RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13260963
ทั้งหมด:13572242
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2020 7:57 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนช่วงสงครามเลิกใหม่ๆ ปี 2490 ทางรถไฟ สายตะวันออกของมลายูโดนรื้อไปทำทางรถไฟสายมรณะ ทำให้ ต้องมีบริการรถขบวน สุไหงโกลก ไปปาดังเบซาร์เพื่อช่วยคนฝั่งกลันตันไปกัวลาลัมเปอร์ได้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3656572737734561&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2020 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายไทยพม่าในมุมมองพม่า
https://www.facebook.com/groups/559025205033826/permalink/721215792148099/
ทางรถไฟสายไทย พม่า ในมุมมองของคนพม่า
https://www.facebook.com/groups/2823264514562208/posts/3502571886631464/
Wisarut wrote:
ทางรถไฟสายมรณะ
โดย ไทยรัฐออนไลน์
8 ธันวาคม 2557 19:45

ทางรถไฟสายไทย-พม่า ถือเป็นเส้นทางขนส่งสำคัญของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และจะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ หากญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะสงคราม แต่ในปัจจุบันทางรถไฟสายนี้เหลือเพียงชื่อ และคำบอกเล่าถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง นับแสนชีวิตต้องจากไปในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ ติดตามรายงานจากคุณไกรโชติ พรหมมิ

Wisarut wrote:
หนองปลาดุก กม. 0 + 000 (64 + 046.55 กม.จากสถานีธนบุรี 80+096.55 กม.จากกรุงเทพ)
กงม้า (คอนม้า) กม. 2 + 000
บ้านโป่งใหม่ กม. 5 + 180
ลูกแก กม. 13 + 380
ท่าเรือน้อย กม. 25 + 890
ท่าม่วง กม. 36 + 900
เขาดิน กม. 43 + 154
กาญจนบุรี (ปากแพรก) กม. 50 + 320
สะพานท่ามะขามที่ กม. 56 + 255.1 ยาว 346.40 เมตร
เขาปูน กม. 57 + 545
วังลาน กม. 68 + 454
บ้านเก่า (บ้านเขา) กม. 87 + 904
ท่ากิเลน กม. 97 + 904
อ้ายหิต (อารูหิตา, ลุ่มสุ่ม) กม. 108 + 140
วังโพ กม. 114 + 040
วังใหญ่ กม. 124 + 850
ท่าเสา (น้ำตก) กม. 130 + 300
ท้องช้าง กม. 139 + 050
ถ้ำผี กม. 147 + 520 (สูงสุด)
หินตก กม. 155 + 030
กันนิ้ว กม. 161 + 400 (ช่องเขาขาด ช่องไฟนรก)
ไทรโยค กม. 167 + 660
กิ่งไทรโยค กม. 171 + 720
ริ่นถิ่น กม. 180 + 530
กุยแซง กม. 190 + 480
หินดาด กม. 197 + 750
ปรังกะสี กม. 208 + 110
ท่าขนุน (ทองผาภูมิ) กม. 218 + 150
น้ำโจนใหญ่ กม. 229 + 140
ท่ามะเยี่ยว (ท่ามะยอ) กม. 236 + 800
ตำรองผาโท้ กม. 244 + 190
เกริงไกร กม. 250 + 130
กองโกยท่า (แก่งคอยท่า) กม. 262 + 580
ทิมองท่า กม. 273 + 060
นิเก (สังขละบุรี) กม. 281 + 880
ซองกะเลีย กม. 294 + 020
สะพานข้ามแม่น้ำซองกะเลีย กม. 294 + 418 ยาว 90 เมตร
จันการายา กม. 303 + 630 (ด่านพระเจดีย์สามองค์ฝั่งพม่า)
อังกานัง กม. 310 + 630
เกียนโด กม. 319 + 880
สะพานไม้ข้ามแม่น้ำเมกาซา กม. 319 + 798 ยาว 56 เมตร (ลำน้ำแม่กษัตริย์)
สะพานไม้ข้ามแม่น้ำซามีที กม. 329 + 678 ยาว 75 เมตร
อาปาลอง กม. 332 + 090
สะพานข้ามแม่น้ำอาปาลอง กม. 333 + 258.20 เป็นสะพานคอนกรีตยาว 50 เมตร
อาปาไร กม. 337 + 250
เมซารี กม. 342 + 830
เมซารีบูน กม. 348 + 660
ลองชี กม. 353 + 770
ตังซึน กม. 357 + 600
ตังบายา กม. 361 + 900
อานากุย กม. 369 + 060
สะพานอานากุย กม. 369 + 839.5 ยาว 60 เมตร
เบกุตัง กม. 374 + 480
เรโบ กม. 384 + 590
กองโนกอย กม. 391 + 021
ราเบา กม. 396 + 300
เวกาเร กม. 406 + 390
ตังเบียวซายาใหม่ กม. 409 + 790
ตังเบียวซายา กม. 414 + 916


ผังย่านสถานีรถไฟบนเส้นทางสายมรณะดูที่นี่
http://www.jwrs.org/woodience/mm009/shindou.pdf


Last edited by Wisarut on 27/02/2023 11:27 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2021 2:02 pm    Post subject: Reply with quote

#ไขข้อสงสัยทางรถไฟสายมรณะ
Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
18 มีนาคม 2564 เวลา 09:13 น.

สิ่งที่คนไทยหลายคนไม่รู้และบางส่วนรู้แต่ไม่หมดจึงทำให้เข้าใจผิดและเมื่อตนเองเข้าใจผิด แล้วมีการพูดบอกเล่าให้คนอื่นฟัง ทำให้เกิดชุดข้อมูลที่ผิดตามมา จึงอยากมาไขข้อสงสัยในวันนี้
1.คนไทยหลายคนรู้เพียงว่าทางรถไฟสายมรณะนั้นสร้างไม่สำเร็จ บางคนรู้เพียงว่าสร้างเสร็จแค่ช่องเขาขาดและโดนระเบิดตรงนั้นเลยสร้างต่อไม่ได้
#ความจริงทางรถไฟสายนี้ถูกสร้างจนแล้วเสร็จ417กิโลเมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1943 ถูกใช้งานจริงเป็นเวลาเกือบ 2 ปีในการทำสงคราม รถไฟจากพม่ามาถึงไทย และไทยก็ไปถึงพม่า
2. บางคนรู้ว่าทางรถไฟสร้างเสร็จ แล้วยุคสมัยเปลี่ยนไปก็มีการสร้างถนนทับทางรถไฟ ถนนที่รถใช้วิ่งทุกวันส่วนใหญ่สร้างบนทางรถไฟ
#ความจริงแล้วทางรถไฟในอดีตมีเพียงไม่ถึง 10% ที่มีถนนในปัจจุบันสร้างทับ นอกนั้นจะอยู่ในพื้นที่ข้างทาง บ้านเรือนประชาชน ไร่นา ป่า ครับ
ความจริงแล้วญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟ และข้างๆทางรถไฟก็มีถนนดินสำหรับรถยนต์วิ่งได้ หรือให้คนเดินเท้า ใช้เกวียนลากของได้ครับ ถนนดินนี้จะวิ่งตามแนวทางรถไฟไปตลอดเลย บางทีจะข้ามทางรถไฟไปทางซ้ายบ้างขวาบ้างตามภูมิประเทศ
ถนนดินเหล่านี้ในช่วงฤดูฝนจะเกิดหล่มโคลนยากแก่การสัญจร ปัจจุบันถนนหลายสายที่สร้างขึ้นในทุกวันนี้ที่เราใช้สัญจร ก็สร้างบนถนนดินเก่าครับ ส่วนทางรถไฟมีน้อยครับที่ถนนสร้างทับแบบยาวๆ ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงสั้นๆ ที่ถนนสร้างพาดผ่านทางรถไฟเก่า
3.การสร้างทางรถไฟมีแค่เชลยศึกตะวันตก
#จริงๆแล้วเชลยศึกตะวันตกเป็นคนกลุ่มเล็กๆ หากเทียบกับกรรมกรเอเชีย ที่เป็นชาวพม่า ชาวไทย ชาวมลายู ชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวลาว
เอาเฉพาะตัวเลขของกรรมกรเอเชียที่เสียชีวิตในการสร้างทางรถไฟมีประมาณ 1 แสนคน ส่วนเชลยศึกทีเพียงหมื่นต้นๆ ซึ่งตัวเลขห่างกัน 10:1 ครับ แต่ที่โลกรับรู้และจดจำ? ก็เพราะความยากลำบากที่เชลยอังกฤษ ออสเตรเลีย ที่รอดชีวิตและบอกเล่าเรื่องราวต่อทำให้เรื่องนี้เป็นที่สนใจของสัลคมโลก
แต่ที่อยู่ในเงามืดและไม่มีคนพูดถึงคือกรรมกรเอเชียกว่าแสนคนที่เสียชีวิตไปในการก่อสร้างทางรถไฟ ไม่มีบันทึกข้อมูลเลยว่าพวกเขาคือใคร มาจากไหน และเสียชีวิตที่ใดและถูกฝังไว้ที่ใดบ้าง จากการสอบถามก่อนที่จะลงสำรวจในบางพื้นที่ ที่ทางรถไฟวิ่งผ่านพบว่า ในการก่อสร้างบ้านหรือโรงงานบางแห่งที่ไม่ไกลกับทางรถไฟ พบโครงกระดูกจำนวนมากฝังในหลุมเดียวกัน ผมก็เชื่อว่าน่าจะเป็นโครงกระดูกของกรรมกรเอเชียเหล่านี้ครับ และพวกเขายังคงถูกฝังอยู่ที่ใดที่หนึ่งตามแนวทางรถไฟสายมรณะ
4.เชลยศึกมีแค่ที่กาญจนบุรีจริงหรือไม่
#จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า เชลยศึกมีอยู่ในหลายจังหวัดครับ หลักๆคือกาญจนบุรี เพรชบุรี(สร้างสนามบิน) ราชบุรี สระบุรี นครปฐม อุบลราชธานี (สร้างสนามบิน) และยังมีอีกหลายจังหวัดครับ
5. ทางรถไฟถูกรื้อออกเมื่อใด?
#การรื้อทางรถไฟครั้งแรกเกิดจากอังกฤษครับ เมื่อชนะสงครามกับญี่ปุ่น ในต้นปี 1946 อังกฤษได้มีคำสั่งให้เชลยศึกญี่ปุ่นรื้อรางรถไฟที่อยู่ชายแดนไทยและพม่าออกจากกัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของอังกฤษในพม่า แต่บางแหล่งก็บอกว่ามีการสั่งให้รื้อทางรถไฟจากสถานีนิเถะ ไปจนถึงซองกาเลีย หลังจากปี 1946 รถไฟก็ไม่สามารถวิ่งต่อไปจนถึงพม่าได้อีก
6.แล้วทางรถไฟที่เหลือหายไปไหน?
#หลังจากสงครามทางรถไฟก็ถูกทิ้งร้างในพื้นที่ป่าเมืองกาญ สภาพป่าเมืองกาญในฤดูร้อนจะเกิดไฟป่าอยู่เป็นประจำทำให้เกิดความเสียหายต่อรางรถไฟ ไม้หมอน และสะพานไม้ เคยมีความพยายามจะรื้อฟื้นใช้งานทางรถไฟสายนี้ จาก รมต.คมนาคม ที่ชื่อ ม.ล.กรี แต่เมื่อ ม.ล.กรีเดินทางตรวจรางรถไฟก็ประสบอุบัติเหตุรถตรวจรางรถไฟตกลงไปในห้วยเกริงกวยทะ จนเป็นเหตุให้ท่านเสียชีวิต และหลังจากนั้นทางการมองเห็นว่าสภาพทางรถไฟและป่าแบบนี้คงไม่คุ้มในการดูแลรักษา จึงไม่มีใครสนใจเส้นทางนี้ เหล็กรางรถไฟชาวบ้านก็เอาไปขาย พวกโบกี้รถไฟเป็นตู้ๆ ก็ตัดเอาเหล็กไปขาย ไม้สะพานก็เอามาทำเสาบ้านหรือของใช้บ้างครับ
ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกน้อยมากครับ จะได้เรียนกันก็ขบวนการเสรีไทย
ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่คนไทยที่เป็นเจ้าของทางรถไฟสายนี้ กลับไม่ได้รับประโยชน์จากทางรถไฟนี้เท่าที่ควร การศึกษาค้นคว้าต่อยอด นำผลงานทางวิชาการมาแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ และการประชาสัมพันธ์ จะยิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้มีมากขึ้น เม็ดเงินจากคนในประเทศและต่างประเทศก็จะไหลเข้าสู่ท้องถิ่นครับ
แต่กลับไม่มีใครให้ความสำคัญ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2021 2:24 am    Post subject: Reply with quote

ป้ายจารึกที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตในระหว่างการสร้างทางรถไฟในพม่า การเริ่มงานก่อสร้างจากฝั่งพม่านั้น เริ่มจากเมืองตันบูซายัต โดยทหารจากกรมรถไฟที่ 5 วางรางจนถึงเหนือสถานี Konkoitaไปเล็กน้อย ปัจจุบันจุดเชื่อมต่อนี้อยู่ในเขื่อนวชิราลงกรณ
Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
19 มิถุนายน 2564 เวลา 19:36 น.

ในข้อความเขียนแปลไทยได้ว่า ทางรถไฟไทย-พม่าเมื่อสร้างแล้วเสร็จ ได้สร้างป้ายจารึกนี้ขึ้นเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในการสร้างทางรถไฟในฝั่งพม่า
กุมภาพันธ์ 1944
ผู้บัญชาการหน่วยก่อสร้างทางรถไฟในพม่า พันเอก ซาซากิ มาโนซุเกะ Sasaki Mannosuke
ด้านหลังมีข้อความ 1 แถวคือ เพื่อรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตในการสร้างทางรถไฟฝั่งพม่า
ป้ายจากรึกนี้อยู่ที่วัดญี่ปุ่น ทางใต้ของเมืองตันบูซายัต ซึ่งในวัดเองก็มีเจดีย์ที่สร้างโดยทหารญี่ปุ่นอยู่ด้วย ก็คือองค์เจดีย์ที่อยู่ในภาพแรกนั้นเอง
ขยายความ
1.ทางรถไฟที่สร้างจากตันบูซายัตมาถึงจุดเชื่อมต่อที่เกริงกวยทะโดยความรับผิดชอบของกรมรถไฟที่ 5 ของญี่ปุ่นมีระยะทางทั้งสิ้น 152.13 กิโลเมตร(ฝั่งไทยของกรมรถไฟที่ 9 สร้าง 262.87 กิโลเมตรจากหนองปลาดุกถึงเกรงกวยทะ)
2.Konkoita ภาษากะเหรี่ยงเรียก เกริงกวยทะ ญี่ปุ่นตั้งชื่อสถานีตามชื่อของคนกะเหรี่ยงครับ แต่เสียงแาจจะเพี้ยนไป ภายหลังคนไทยเรียก เรียกแก่งคอยท่า เกริงกวยทะเป็นชื่อห้วยหนึ่งในบริเวณนั้นที่ไหลลงบรรจบกับแม่น้ำแควน้อย)
ตำแหน่งของวัดญี่ปุ่น
Japan paya - 泰緬連接鉄道緬側建設殉難者之碑
https://maps.app.goo.gl/sBUDAVsYgPNbDske9
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2021 2:26 am    Post subject: Reply with quote

เรื่องเล่าสุสานทหารจีนที่กาญจนบุรี (孤軍墓)
Chinese NRA 國民革命軍
13 มิถุนายน 2563 เวลา 17:03 น.

ผมเชื่อว่ามีหลายคนได้ไปเยี่ยมที่กาญจนบุรีมาบ้างแล้วโดยเฉพาะสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแคว ถ้าเราเดินไปอีกนิดนึงหลังวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิมจะเจอหลุมฝังศพทหารจีนซึ่งสร้างเพื่อไว้อาลัยทหารจีนที่รบแนวหน้าและแรงงานสร้างทางรถไฟ
.
ในช่วงปี1942ทหารจีนที่รบแนวหน้าที่พม่า โดนทหารญี่ปุ่นจับประมาณ30,000นายมาที่กาญจนบุรีมาสร้างทางรถไฟ ในขณะนั้นทหารจีนหลายนายได้ล้มตายมากมายเช่นความหิว โรค ถูกฆ่าและอื่นๆ ตอนที่เครื่องบินทิ้งระเบิดของพันธมิตรทหารญี่ปุ่นบังคับเชลยศึกรวมชาวจีนเป็นโลห์ให้กับสะพานซึ่งพันธมิตรก็ทิ้งระเบิดอยู่ดีทําให้เสียชีวิตกว่า300คน แม่น้ำเปลี่ยนเป็นสีเลือดไม่สามารถบริโภคได้
.
พอผ่าน60กว่าปี ไม่มีใครจนใจทหารจีนที่เสียสละชีวิตและมีแต่สุสานพันธมิตรหรือญี่ปุ่นเอง จนมีสตรีไทยคนนึงบริจาคทรัพย์สินและพื้นที่สร้าง "ศิลาจารึกแห่งการบุกรุกของทหารจีน" ทําให้พวกเราได้เห็นและจดจําถึงทุกวันนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2021 4:34 am    Post subject: Reply with quote

การขุดพบโครงกระดูกกรรมกรเอเชียที่มาร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะประมาณ 500 ศพ ที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อ ปี ค.ศ. 1990 หรือ พ.ศ.2533 (บทความยาวหน่อยแต่อยากให้อ่านให้จบครับ)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=325237405741663&id=110480247217381
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2021 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายมรณะในมุมมองที่ต่างออกไป
https://fb.watch/v/3IpxoP1RJ/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2022 6:56 am    Post subject: Reply with quote

วอนดูแล รถบรรทุกญี่ปุ่น หลักฐานสำคัญ ปวศ. ใช้สร้างทางรถไฟสายมรณะ พบสภาพทรุดโทรม
วันที่ 21 มกราคม 2565 - 14:28 น.

เพจดังแห่แชร์ รถบรรทุกโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ สมัยสงครามโลกที่ญี่ปุ่นบุกไทย อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ขาดการดูแล วอนรัฐเข้ามาบูรณะ ชี้หายากมาก ไม่พบในประเทศอื่น เจอที่ญี่ปุ่น 1 คัน และที่ จ.กาญจนบุรีเท่านั้น เป็นรถหกล้อลากจูงที่ทหารญี่ปุ่นดัดแปลงให้วิ่งบนรางได้


เมื่อวันที่ 21 มกราคม โลกออนไลน์มีการแชร์ภาพจากเพจ Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ บอกเรื่องราวรถบรรทุกที่เคยใช้สมัยสงครามโลก ครั้งญี่ปุ่นบุกไทย เป็นคันสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ อยู่ในสภาพที่ไม่ได้รับการดูแลมากนัก เพจดังกล่าวเล่าว่า

สภาพปัจจุบันอันน่าเศร้าของรถบรรทุกลากจูงแบบ Type 100 คันสุดท้ายในประเทศไทย

ญี่ปุ่นได้ขนเอารถบรรทุก Type100 มายังประเทศไทยเพื่อใช้งานประมาณ 50 คัน

เท่าที่ผมทราบคันนี้น่าจะเป็นคันสุดท้ายในประเทศไทย

แต่ตัวรถขาดการรักษาดูแล ภาพเหล่านี้ได้จากคุณ Yoottana Chomsiriwat ถ่ายเมื่อไม่นานมานี้

จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์หลายๆ ส่วนได้หายไป อาจจะหายไปนานแล้วก็ได้ แต่ของบางอย่างก็ผุพังเสียหายตามกาลเวลา หลังคารถ กระจก ประตู พื้นไม้กระดาน และอุปกรณ์ต่างๆ ขาดการดูแลเอาใจใส่

เห็นแล้วก็น่าเสียดาย ที่ จ.กาญจนบุรี พยายามโปรโมตงานสะพานข้ามแม่น้ำแคว หรือโปรโมตการท่องเที่ยวเกี่ยวกับทางรถไฟสายมรณะมากมาย รายได้ที่ได้จากการท่องเที่ยวนี้ผมว่ามหาศาล แต่กลับปล่อยให้สิ่งสำคัญของประวัติศาสตร์อยู่ในสภาพแบบนี้

อยากวอนขอร้องผู้ที่มีอำนาจหรือผู้ที่ดูแลรถบรรทุก Type100 คันนี้และหัวรถจักรอีกสองหัวที่จอดอยู่ข้างๆ กัน

1.รบกวนบูรณะซ่อมแซมให้ตัวรถอยู่ในสภาพดีขึ้นมากกว่านี้หน่อยจะเป็นพระคุณอย่างสูง ข้อมูลนั้นคงหาไม่ยากถ้าจะทำจริง มีรถตัวอย่างที่สมบูรณ์คันหนึ่งอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ

2.ถ้าบูรณะเสร็จแล้วก็ควรย้ายรถเหล่านี้ไปอยู่ใกล้ๆ สะพานข้ามแม่น้ำแควให้มากขึ้น นักท่องเที่ยวจะได้เห็นและสร้างความสนใจและเข้าใจในประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง


เพจ Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
ลานที่ให้หาบเร่แผงลอยที่อยู่ติดกับสะพาน ในความคิดเห็นของผมควรจะเป็นลานสำหรับจัดแสดงสิ่งของเหล่านี้ คนที่มาเที่ยวจะได้เห็นรถและหัวรถจักรที่ใช้งานจริงในช่วงสงคราม เพราะที่จอดหัวรถจักรและรถบรรทุก Type100 ตรงบริเวณปัจจุบันไกลและไม่เด่นเอาเสียเลย คนมาเที่ยวแทบจะไม่รู้ว่ามีรถพวกนี้อยู่

เงินที่ได้จากการท่องเที่ยวมากมายเข้าจังหวัด ก็ควรจัดสรรงบเพื่อมาดูแต่สิ่งเหล่านี้บ้างนะครับ เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัด และมันเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ

การที่เราปล่อยของเหล่านี้ไว้ในสภาพอย่างที่เห็น มันบ่งบอกอะไรหลายอย่าง มันบ่งบอกว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างแท้จริง หวังแต่กอบโกยเอาแต่ผลประโยชน์เท่านั้น ไม่คิดจะรักษาและอนุรักษ์อย่างจริงจัง

ชาวต่างชาติที่เขาศึกษาข้อมูล เขาอยากเห็นรถคันนี้จริงๆ ก็มีการเดินทางมาชม แต่มาพบในสภาพแบบนี้เขาคงผิดหวังกับการรักษาวัตถุพยานทางประวัติศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐของประเทศเรา

เพจดังกล่าว ยังเล่าประวัติรถบรรทุกรางลากจูง Type100 ของทหารญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่สะพานแม่น้ำแคว กาญจนบุรี ระบุว่า

รถบรรทุกรางแบบ Type100 หรือที่เชลยศึกสัมพันธมิตรเรียกว่า Flying kampong มันมีหน้าที่อะไรบ้างและการใช้งานทำอย่างไร

แรกเริ่มความสนใจผมเกิดเมื่อเห็นรถบรรทุกที่เอาไว้วิ่งบนรางรถไฟได้ ด้วยความที่เป็นคนไม่ค่อยรู้ระบบกลไกรถไฟก็รู้สึกแปลกดี แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร เมื่อไปพิพิธภัณฑ์ Thai burma railway research center หรือ TBRC ใกล้ๆ กับสุสานทหารสัมพันธมิตรในตัวเมืองกาญจนบุรี ก็ได้ข้อมูลเพียงว่า เชลยศึกเรียกมันว่า Flying Kampong


เพจ Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
ซึ่งความเข้าใจของผมคือเชลยศึกที่มานี้ส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย คำว่า Kampong คือหมู่บ้าน หรือบ้านนอก ในภาษามาเลย์ และเขาคงเห็นรถบรรทุกที่ถูกดัดแปลงวิ่งบนรางรถไฟโดยมีหลังคามุงด้านบน ไปพร้อมกับโบกี้ข้างต่ำซึ่งก็มีการทำหลังคา มันจะดูคล้ายๆ เป็นหมู่บ้านเคลื่อนที่ได้ เลยเรียก flying kampong หรือหมู่บ้านบินได้ หรือหมู่บ้านเคลื่อนที่นั่นเอง

รถบรรทุกที่แปลงให้สามารถวิ่งได้บนรางรถไฟ ถือเป็นอะไรที่ว้าวมากสำหรับเชลยศึกและทหารตะวันตกครับ เพราะมันสะดวก รวดเร็ว

รถบรรทุกรางลากจูงในทางรถไฟสายมรณะ ก็จะถูกใช้ในการขนเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่สร้างทางรถไฟ รางเหล็ก ไม้หมอน ใส่โบกี้ขนของแบบข้างต่ำแล้วนำไปยังพื้นที่ที่ต้องการ


อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าการใช้หัวรถจักรไอน้ำวิ่งส่งของที่มีประมาณไม่มากนัก มันสิ้นเปลืองทั้งเชื้อเพลิงและเวลาในการรอให้ไอน้ำมีแรงดันมากพอที่จะขับเคลื่อนรถไฟทั้งขบวน

แต่รถบรรทุกนี้ไม่มีปัญหาครับ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล สตาร์ตได้ก็วิ่งได้เลยจบปัญหา

และปัญหาอีกอย่างในช่วงการสร้างทางรถไฟคือ สะพานบางจุดยังไม่มีการเสริมความแข็งแรงมากพอที่จะรับน้ำหนักหัวรถจักรไอน้ำได้ หากใช้หัวรถจักรไอน้ำส่งของวัสดุก่อสร้าง ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุสะพานพังได้

รถบรรทุกลากจูงแบบ Type 100 จึงมีความเหมาะสมที่สุดในการใช้งานแบบนี้ครับ
.
นอกจากออกแบบให้ขนของแล้ว ยังขนส่งคน ทหาร เชลยศึก ไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่รางรถไฟไปถึง รถที่ใช้ขนส่งคนโดยมากจะมีการทำหลังคาขึ้นมาครับ ทำหลังคาเพื่อบังแดด บังฝน และเมื่อเครื่องบินตรวจการของฝ่ายสัมพันธมิตรบินผ่าน อาจจะพรางตาทำให้นักบินเข้าใจผิดว่าเป็นบ้านคน


เพจ Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
ในช่วงหลังจากสร้างทางรถไฟแล้วเสร็จและเปิดใช้งานแล้ว รถ Type100 ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นรถที่ใช้ในงานซ่อมบำรุงทางรถไฟอยู่ครับ

สิ่งเหล่านี้ทำให้เชลยศึกที่สร้างทางรถไฟในช่วงการก่อสร้าง และทหารสัมพันธมิตรที่เข้ามาหลังสงครามที่ได้พบเห็นต่างทึ่งในไอเดียของญี่ปุ่น

ด้วยความได้เปรียบในการใช้งานของรถบรรทุกลากจูงแบบ Type100
1.รถสามารถใช้ได้ทั้งทางถนนและรถยนต์ หากถนนเป็นหล่มโคลนก็สามารถเอาขึ้นรางรถไฟแล้ววิ่งต่อ

2.ขณะเดียวกันหากต้องส่งของที่ไกลจากทางรถไฟออกไปก็สามารถเปลี่ยนกลับมาใช้ล้อยางและวิ่งตามถนนเข้าไปในพื้นที่ ที่ห่างจากเส้นทางรถไฟได้อีก

ขั้นตอนการนำรถ บรรทุก Type100 ซึ่งมี 6 ล้อมาใช้บนราง
1.นำรถมาจอดคร่อมรางรถไฟ
2.ใช้แม่แรงที่เป็นขาหยัง 4 ตัว ข้างหน้าตัวรถ 2 ตัว ข้างหลังตัวรถ 2 ตัว จับไปที่รางรถไฟและทำการยกตัวรถบรรทุกขึ้น
3.ถอดจานล้อทั้ง 6 ล้อออก
4.ปรับเพลาให้ตรงตำแหน่งของราง
5.ลดระดับแม่แรงลงให้ตัวจานล้อที่เป็นโลหะวางอยู่บนราง (จานล้อโลหะญี่ปุ่นออกแบบมาเป็นพิเศษนะครับ)
6.หลังจากนั้นก็สามารถวิ่งได้ กระบวนการเปลี่ยนจากวิ่งบนถนนมาวิ่งบนรางใช้เวลา ประมาณ 20 นาที

โดยรถบรรทุกรางลากจูงแบบ Type100 สามารถลากตู้บรรทุกสินค้าแบบข้างต่ำที่บรรทุกของเต็มได้ถึง 4-5 คัน (ตามในรูปแรกอะครับโบกี้เปลือยๆ ขอบข้างไม่สูงที่รถบรรทุกลากนั้นแหละ) ตู้บรรทุกสินค้าแบบข้างต่ำนี้เป็นของจากญี่ปุ่นนะครับเขามีชื่อเรียกว่า Type97 light freight car.

รถ type100 เพลาสามารถปรับได้ 3 ขนาด ทั้งขนาดราง 1.524 เมตร ของโซเวียต ราง1.435 ของจีน และราง 1 เมตรในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นเขามีการเตรียมการวางแผนมาอย่างดี ที่จะบุกจีนซึ่งทำสงครามกันมานาน เขาเตรียมที่จะบุกโซเวียตด้วย และยังมีการออกแบบให้เพลามีขนาด 1 เมตร เพื่อที่จะเข้าบุกไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ

แต่เป็นข้อสังเกตว่ารถ type 100 ที่จัดแสดงที่สะพานข้ามแม่น้ำแควและรูปเดิมในระหว่างการถูกใช้งานบนทางรถไฟสายมรณะนี้ มีการดัดแปลงช่วงล่างตรงส่วนล้อหน้าโดยนำแคร่โบกี้รถไฟขนาดเล็ก (ไม่รู้ผมเรียกถูกไหมนะ) มาติดตั้ง เข้าใจว่าเพื่อประโยชน์ในเรื่องของการยึดเกาะรางและเป็นที่สำหรับวางถังน้ำมันสำรอง

จึงพอจะทำความเข้าใจได้ว่า รถที่จัดแสดงที่สะพานข้ามแม่น้ำแควนั้นใช้งานบนเส้นทางรถไฟซะมาก เมื่อดูตามภาพน่าจะไม่มีการนำลงมาขับบนถนนแลัวสลับกลับไปใช้บนราง

และอีกอย่างหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือรูปแทบทั้งหมดจะไม่มีรถคันไหนเลยที่เรามองเห็นล้อยางที่ถูกถอดออกจากตัวรถ จะมีเพียงรูปเดียว คือรูปที่เชลยศึกขนถังน้ำมันขึ้นถ้าเรามองดีๆ จะเห็นว่ามียางที่ถูกถอดออกจากรถ แขวนอยู่ข้างๆ ตัวกระบะรถ

สรุปทั้งรถหัวลากและตัวหางพวงที่จอดอยู่ที่สะพานข้ามแม่น้ำแควทั้งหมดเป็นของญี่ปุ่น

จากการหาข้อมูลแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะที่มาเลเซีย พม่า หรือที่อื่น ไม่พบครับ

เท่าที่พบมีที่ญี่ปุ่น 1 คัน ในสภาพบูรณะแล้วสมบูรณ์เกือบ 100% ที่ไม่ร้อยก็เพราะวิ่งไม่ได้เท่านั้น (แต่ถ้าญี่ปุ่นจะเอาให้วิ่งได้ผมว่าไม่ยาก แต่เขาอยากจอดจัดแสดงมากกว่า) และอีกคันคือจอดอยู่ที่สวนสาธารณะสะพานข้ามแม่น้ำแคว แต่สภาพนี้ไม่รู้จะบอกยังไงดี มันขาดการดูแลรักษาครับ อะไหล่บางชิ้นก็หลุด อะไหล่บางตัวก็หายไป บางส่วนโดยธรรมชาติ บางส่วนโดยน้ำมือมนุษย์

บางคนอาจจะเห็นรถบรรทุกดีเซลหน้าตาคล้ายๆ กันที่วิ่งบนทางรถไฟได้ในต่างประเทศ มันคนละรุ่นกันนะครับ

ญี่ปุ่นนำรถบรรทุกลากจูงแบบ Type100 เข้ามาใช้ที่ไทยประมาณ 50 คัน และตู้ข้างต่ำแบบ Type97 อีกประมาณ 600 โบกี้ ซึ่งเข้าใจว่าส่วนมากถูกใช้งานบนทางรถไฟสายมรณะ

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=448081776790558&id=110480247217381
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2022 2:01 pm    Post subject: Reply with quote

สมัยก่อนมีทางรถไฟสายไทยพม่า ทหารญี่ปุ่น นั่งเรือไปถึงวังโพ ก่อน เดินไปตามถนนลำลองที่นายพรานและพ่อค้าถางป่าไปออกทางช่องบ้องตี้ ครับ
https://www.facebook.com/watch/?v=793044458594922
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2022 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพทหารญี่ปุ่นและเชลยศึกสัมพันธมิตรที่เป็นระดับนายทหารถ่ายรูปร่วมกันในวันที่ 13 ตุลาคม 1943 ที่ค่ายท่ามะขาม กาญจนบุรี
ค่ายท่ามะขามอยู่บริเวณไม่ไกลจากสะพานข้ามแม่น้ำแควครับ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีการก่อสร้างบ้านเรือนไปซะมาก บางส่วนยังเป็นพื้นที่รกร้างแต่เข้าใจว่ามีเจ้าของที่ดินอยู่ครับ
ค่ายท่ามะขามเป็นค่ายสำหรับกักกันเชลยศึก และใช้เป็นที่พักสำหรับเชลยศึกที่ต้องทำงานในการก่อสร้างสะพานไม้และสะพานเหล็ก
ภาพจาก State Library Victoria
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=583446296587438&id=110480247217381
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 8 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©